16.08.2016 Views

Better Health magazine

The magazine for patients and friends of Bumrungrad International Hospital, Thailand.

The magazine for patients and friends of Bumrungrad International Hospital, Thailand.

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

คือมีเสียงดังในข้อและเป็นเสียงที่สัมพันธ์กับการ<br />

เคลื่อนไหว เกิดขึ้นต่อเนื่อง ไม่ได้เกิดครั้งเดียว<br />

แล้วหายไป ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดข้อ ซึ่งหากปวดมาก<br />

เข่าจะบวมเนื่องจากเกิดการอักเสบภายในข้อ<br />

เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์บางท่านอาจรักษาด้วยการ<br />

ดูดนำ้ำในข้อออกซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยหายปวดได้ แต่<br />

ไม่ได้หมายความว่าข้อเข่าจะหายเสื่อม”<br />

ในกรณีที่ข้อเข่าเสื่อมมาก เข่าจะเริ่มผิดรูป<br />

คือเริ่มโก่ง อาจเป็นการโก่งออกหรือโก่งเข้าใน<br />

ลักษณะของเข่าชนกันก็ได้ โดยผู้ป่วยจะรู้สึกปวด<br />

ทุกครั้งที่เดิน เนื่องจากกระดูกอ่อนที่ทำาหน้าที่<br />

รองรับแรงกระแทกและช่วยให้เคลื่อนไหวได้อย่าง<br />

ลื่นไหลมีความหนาลดลงจนกระทั่งหมดไป<br />

กระดูกจึงชนกันทำาให้เจ็บมาก<br />

สำาหรับข้อสะโพกเสื่อมนั้น จะเห็นอาการบวม<br />

ได้ไม่ชัดเจนเพราะเป็นข้อที่อยู่ลึก แต่ผู้ป่วยจะรู้สึก<br />

ปวดขณะเคลื่อนไหว เช่น ขณะลุกขึ้นยืน เมื่อข้อ<br />

สะโพกเสื่อมมากขึ้น ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวไม่คล่อง<br />

และทำาได้ในวงแคบลง นั่นคือเริ่มเดินแบบก้าว<br />

สั้นๆ ซึ่งหากปล่อยไว้ ข้อสะโพกที่เสื่อมจะเริ่มติด<br />

ทำาให้ขยับได้ลำาบากมากขึ้น<br />

การรักษาโรคข้อเสื่อม<br />

เพราะไม่มีวิธีการรักษาใดที ่จะเปลี่ยนข้อที่<br />

เสื ่อมแล้วให้กลับมาเป็นข้อที่แข็งแรงดังเดิมได้<br />

จุดมุ่งหมายของแพทย์จึงเป็นความพยายามที่จะ<br />

รักษาสภาพข้อเข่ากับข้อสะโพกของผู้ป่วยเอาไว้ให้<br />

นานที่สุด ซึ่งในเบื้องต้นแพทย์จะแนะนำาให้แก้ไข<br />

ที่สาเหตุของโรคและรักษาอาการควบคู่กันไป<br />

เช่น ลดนำ้ำหนัก ปรับท่าทางการนั่ง หมั่นบริหาร<br />

กล้ามเนื้อบริเวณข้อสะโพกกับข้อเข่า รวมถึงดูแล<br />

ร่างกายให้กระดูกแข็งแรง และเมื่อมีอาการปวด<br />

ก็จะรักษาด้วยการใช้ยาก่อน ซึ่งในระยะแรกนี้<br />

ยาที่ใช้มักประกอบด้วย<br />

+ ยารักษาตามอาการ เช่น อาการอักเสบ อาการ<br />

ปวด อาการกล้ามเนื้อเกร็งตัว เป็นต้น<br />

+ ยาบำารุงหรือช่วยยับยั้งการทำาลายของกระดูก<br />

อ่อนภายในข้อ เช่น กลูโคซามีนซัลเฟต<br />

กลูโคซามีนผสมคอนดรอยติน และไดอะเซอรีน<br />

ซึ่งจำาเป็นต้องได้รับคำาแนะนำาจากแพทย์ก่อน<br />

รับประทาน<br />

“นอกจากนี้ยังมีการฉีดนำ้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียม<br />

เพื่อให้ข้อเสียดสีน้อยลง แต่หากพยายามทุกทาง<br />

แล้วอาการของผู้ป่วยยังไม่ดีขึ้น หรือผู้ป่วยยัง<br />

รู้สึกรับกับสภาพที่เป็นอยู่ไม่ได้ ก็จะนำามาสู่การพิจารณาแนวทางการ<br />

รักษาขั้นต่อไป ซึ่งก็คือการผ่าตัด”<br />

อย่างไรก็ดี นอ.พิเศษ นพ.จำารูญเกียรติ อธิบายว่าในการผ่าตัดนั้น<br />

แพทย์จำาเป็นต้องพิจารณาข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้ประกอบด้วย คือ<br />

1. ผู้ป่วยต้องมีอาการที่ได้พยายามรักษาโดยไม่ผ่าตัดแล้ว แต่ไม่เป็นผล<br />

2. เมื่อเอกซเรย์แล้วพบว่าข้อนั้นอยู่ในขั้นที่ต้องผ่า เพราะแม้ผู้ป่วยจะ<br />

ปวดมากแต่หากข้อยังไม่เสื่อมสภาพจนถึงขั้นผ่า แพทย์อาจไม่<br />

พิจารณาผ่าให้<br />

3. อายุของผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เนื่องจากข้อเทียมมีอายุการ<br />

ใช้งานประมาณ 10-20 ปี หากผู้ป่วยมีอายุน้อย ก็มีความเป็นไปได้<br />

ที่จะต้องผ่าตัดแก้ไขอีกครั้ง ดังนั้น แพทย์จึงมักไม่ผ่าตัดให้กับผู้ป่วย<br />

ที่อายุตำ่ำกว่า 50 ปี เพราะนอกจากอายุน้อยแล้วผู้ป่วยกลุ่มนี้ยัง<br />

อยู่ในวัยที่ต้องใช้งานข้อหนักและยิ่งทำาให้ข้อเทียมสึกหรอเร็วขึ้น<br />

ทั้งนี้ อาจมีผู้ป่วยบางประเภทที่จำาเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแม้จะ<br />

มีอายุน้อย เช่น ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น<br />

เมื่อต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม<br />

ในการผ่าตัดรักษาโรคข้อเสื่อมนั้นสามารถทำาได้ 2 กรณี คือ กรณี<br />

ไม่ใช้ข้อเทียม เช่น การตัดต่อกระดูกเพื่อแก้ไขอาการขาโก่งโดย<br />

ไม่เปลี่ยนข้อ และกรณีใช้ข้อเทียม ซึ่งทำาได้หลายวิธี ได้แก่<br />

+ การผ่าตัดด้วยวิธีดั้งเดิม (conventional surgery) เป็นกระบวนการ<br />

ผ่าตัดที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์ผู้ทำาการผ่าตัด<br />

เนื่องจากอาจมีโอกาสคลาดเคลื่อนซึ่งจะส่งผลต่ออายุการใช้งาน<br />

ของข้อเทียมได้<br />

+ การผ่าตัดด้วยเทคนิคที่มีแผลผ่าตัดขนาดเล็ก (minimally invasive<br />

surgery) เป็นการผ่าตัดที่กระทบต่อกล้ามเนื้อรอบๆ น้อยลง ขนาดแผล<br />

เล็กลง และผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับวิธีผ่าตัดแบบดั้งเดิม<br />

5

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!