16.08.2016 Views

Better Health magazine

The magazine for patients and friends of Bumrungrad International Hospital, Thailand.

The magazine for patients and friends of Bumrungrad International Hospital, Thailand.

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

+++++ Q & A<br />

Q: หลานสาวเพิ่งเข้าโรงเรียนอนุบาล มีปัญหา<br />

ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะบ่อยๆ จะมีทาง<br />

ป้องกันได้หรือไม่คะ<br />

A: ปัญหานี้พบได้บ่อยในเด็กเล็กที่เพิ่งไปโรงเรียน<br />

โดยเฉพาะในเด็กผู้หญิงซึ่งมีความแตกต่างทาง<br />

สรีระ เพราะเมื่อเด็กไม่คุ้นเคยกับห้องน้ ำ เขาจะกลั้น<br />

ปัสสาวะ ยิ่งถ้าห้องน้ำไม่สะอาดเหมือนที่บ้านก็จะ<br />

ยิ่งรังเกียจแล้วไม่ยอมเข้า บางคนพยายามดื่มน้ำ<br />

น้อยๆ เพื่อจะได้ไม่ปวดปัสสาวะซึ่งทำให้ติดเชื้อ<br />

ได้ง่าย หรือบางครั้งเด็กยังไม่รู้จักวิธีท ำความสะอาด<br />

หลังขับถ่ายทำให้หมักหมมเกิดการติดเชื้อตามมาได้<br />

วิธีป้องกันคือต้องบอกเด็กว่าสาเหตุของโรค<br />

เกิดจากอะไร สอนว่าอย่ากลั้นปัสสาวะและต้อง<br />

ดื่มน้ำให้มากขึ้น หลังการขับถ่ายก็ต้องชำระล้าง<br />

ให้ถูกวิธีจะได้ไม่ต้องมาหาหมออีก ซึ่งส่วนใหญ่<br />

เด็กจะเข้าใจ ส่วนผู้ปกครองก็ควรอาบน้ ำให้เด็กทันที<br />

ที่ถึงบ้าน อย่าปล่อยให้หมักหมมต่อ เท่านี้ก็จะช่วย<br />

ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ค่ะ<br />

ผศ.พญ.พนิดา ดุสิตานนท์ กุมารแพทย์<br />

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไตในเด็ก<br />

ปัญหาสุขภาพจำเป็นต้องได้รับคำตอบจากแพทย์และผู้เชี ่ยวชาญ<br />

เฉพาะทางเท่านั้น ไม่ว่าปัญหาของคุณจะเป็นอะไร <strong>Better</strong> <strong>Health</strong><br />

มีคำตอบที่คุณวางใจในความถูกต้องได้เสมอ<br />

Q: ทราบว่าปัจจุบันแพทย์สามารถผ่าตัดรักษา<br />

มะเร็งเต้านมพร้อมๆ กับเสริมเต้านมใหม่ได้<br />

ในคราวเดียว ไม่ทราบว่าวิธีนี้มีข้อจำกัดหรือ<br />

มีผลข้างเคียงในระยะยาวหรือไม่คะ<br />

A: ก่อนอื่นต้องเรียนว่า การเสริมเต้านมให้กับ<br />

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมนั้นทำได้ 2 วิธีคือ ใช้เนื้อตัวเอง<br />

เช่น บริเวณท้องน้อยหรือหลัง กับการใช้ซิลิโคน<br />

ซึ่งทั้งสองวิธีก็มีข้อจำกัดต่างกัน เช่น การใช้เนื้อ<br />

บริเวณท้องน้อยไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัว<br />

มากเกินไปจนเป็นโรคอ้วน เป็นโรคเบาหวาน<br />

หรือมีปัญหาหลอดเลือด เพราะอาจเกิดอาการ<br />

แทรกซ้อนได้ หรือกรณีใช้เนื้อที่หลัง ถ้าคนผอม<br />

มากมักจะได้เนื้อมาน้อยทำให้รูปร่างไม่สมดุล<br />

ส่วนการใช้ซิลิโคนนั้นไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีก้อน<br />

มะเร็งขนาดใหญ่ มีขนาดเต้านมใหญ่ หรือผู้ป่วย<br />

ที่มีข้อบ่งชี้ว่าต้องฉายแสงหลังการผ่าตัด ในบาง<br />

รายอาจจำเป็นต้องใช้เนื้อตัวเองร่วมกับซิลิโคน<br />

ส่วนผลข้างเคียงนั้น เนื่องจากเป็นการผ่าตัด<br />

ใหญ่ที่ใช้เวลานานกว่าปกติ โอกาสติดเชื้อหรือมี<br />

เลือดออกก็จะมากตามไปด้วย ดังนั้นจึงไม่เหมาะ<br />

กับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหลายโรค หรือผู้ป่วย<br />

สูงอายุ และในกรณีของการใช้ซิลิโคนนั้น ในระยะ<br />

ยาวอาจมีปัญหาพังผืดเช่นเดียวกับการเสริม<br />

เต้านมเพื่อความงาม นอกจากนี้ การที่ต้องตัดเนื้อ<br />

เต้านมของผู้ป่วยออกทั้งหมดทำให้เหลือผิวหนัง<br />

ค่อนข้างบาง เมื่อใส่ซิลิโคนเข้าไปก็จะไม่ได้<br />

รูปลักษณ์และสัมผัสที่เป็นธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม<br />

ผู้ป่วยต้องเข้าใจว่าหลักการของเราคือ ความ<br />

ปลอดภัยจากโรคมะเร็งต้องมาก่อนความสวยงาม<br />

ผศ.พญ.เยาวนุช คงด่าน ศัลยแพทย์<br />

ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา<br />

Q: ผมเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ปัจจุบันไม่ได้<br />

อ้วนมาก แต่คุณหมอก็บอกให้ลดน้ำหนัก ซึ่งผม<br />

ยังลดไม่ได้สักที ถ้าปล่อยให้น้ำหนักเกินต่อไป<br />

จะเป็นอันตรายหรือไม่ และถ้าลดจะต้องลดลง<br />

มากแค่ไหนครับ<br />

A: ไม่ได้อ้วนมากก็อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจว่าไม่มี<br />

ปัญหานะครับ เพราะบางครั้งไขมันก็อยู่ในพุง<br />

ซึ่งอันตรายกว่าไขมันส่วนอื่นเสียอีก เพราะฉะนั้น<br />

คนอ้วนลงพุงจะอันตรายกว่าคนอ้วนที่สะโพก เช่น<br />

มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่า<br />

การที่คุณหมอแนะนำให้ลดน้ำหนักก็แสดงว่า<br />

น้ำหนักเกิน ซึ่งเป็นบ่อเกิดของโรคมากมาย เช่น<br />

โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคสมอง โรคไขมัน<br />

ในเลือด โรคความดันโลหิตสูง ไขมันเกาะตับ<br />

ทำให้ตับแข็ง ตามมาด้วยโรคข้อ ปวดเมื่อยเนื้อตัว<br />

เรียกว่าความอ้วนนำพามาได้ทุกโรค แต่จะต้อง<br />

ลดลงแค่ไหนก็ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป<br />

การแก้ไขโรคอ้วนต้องอาศัยพลังใจของ<br />

ผู้ป่วยเอง คนรอบข้างจะบอกจะบังคับอย่างไร<br />

ก็ไม่มีทางสำเร็จถ้าผู้ป่วยไม่ตั้งใจจริง แต่ถ้า<br />

ตั้งใจจริงและต้องการคนช่วย แพทย์ช่วยได้<br />

แน่นอนครับ เรามีโปรแกรมลดน้ำหนักเพื่อป้องกัน<br />

โรคเบาหวานและความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ<br />

มีเครื่องมือที่จูงใจให้ผู้ป่วยปฏิบัติตาม ซึ่งเมื่อ<br />

เริ่มทำได้ก็จะมีกำลังใจที่จะทำต่อไป<br />

ผศ.นพ.วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์<br />

อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบต่อมไร้ท่อ<br />

(เบาหวาน) และเมตาบอลิสม<br />

28

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!