16.08.2016 Views

Better Health magazine

The magazine for patients and friends of Bumrungrad International Hospital, Thailand.

The magazine for patients and friends of Bumrungrad International Hospital, Thailand.

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ผศ.นพ.วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์<br />

อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบ<br />

ต่อมไร้ท่อ (เบาหวาน) และเมตาบอลิสม<br />

ผศ.นพ.วราภณ หัวหน้าหน่วยต่อมไร้ท่อ<br />

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จบการศึกษาจากคณะ<br />

แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้น<br />

ได้เลือกศึกษาต่อเฉพาะทางในสาขาโรคระบบ<br />

ต่อมไร้ท่อ เบาหวาน และเมตาบอลิสม ที่University<br />

of California, Davis School of Medicine<br />

ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนจะกลับมาสอนนิสิต<br />

แพทย์จุฬาฯ กว่า 6 ปี และแม้จะร่วมงานกับ<br />

บำรุงราษฎร์อย่างเต็มตัวตั้งแต่ปี2548 แต่คุณหมอ<br />

ก็ยังคงปลีกเวลาไปทำหน้าที่อาจารย์พิเศษจนถึง<br />

ทุกวันนี้<br />

การทำงานของแพทย์<br />

โรคระบบต่อมไร้ท่อ<br />

โรคหลักๆ ที่เราดูแลอยู่ในขณะนี้เป็นโรค<br />

เบาหวานร้อยละ 60 อีกร้อยละ 20 เป็นเรื่องของ<br />

ไทรอยด์ ส่วนที่เหลือก็เป็นโรคที่เกี่ยวกับต่อม<br />

ใต้สมอง ต่อมหมวกไต เช่น เรื่องความสูง<br />

ความอ้วน กระดูกบาง กระดูกพรุน ดังนั้น ผู้ป่วย<br />

ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องดูแลกันต่อเนื่อง<br />

เป็นเวลานาน บางคนดูแลกันจนอายุ 90 กว่าก็มี<br />

ซึ่งจำเป็น เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีปัญหาภาวะ<br />

แทรกซ้อน อย่างเบาหวานก็มักจะมาพร้อมกับ<br />

โรคอ้วน ความดัน ไขมันในเลือดสูง บางรายมี<br />

โรคหัวใจ โรคสมองซ่อนอยู่ เมื่อตรวจละเอียดถึง<br />

ได้พบ หลายครั้งที่พบว่ามีเนื้องอกของลำไส้ ปอด<br />

เต้านมร่วมด้วย ซึ่งถ้าไม่ได้ดูกันต่อเนื่องก็อาจจะ<br />

ไม่ได้ตรวจ<br />

การร่วมงานกับบำรุงราษฎร์<br />

ที่นี่เราทำงานเป็นทีม มีทั้งแพทย์ พยาบาล<br />

ด้านโรคเบาหวานโดยเฉพาะ มีโภชนากร เภสัชกร<br />

และนักกายภาพบำบัดมาช่วยกันดูแลผู้ป่วย ซึ่ง<br />

เราทำกันมานานและได้รับการรับรองมาตรฐาน<br />

(Clinical Care Program Certification: CCPC)<br />

ในการรักษาโรคเบาหวานจากองค์กร Joint Commission<br />

International (JCI) สหรัฐอเมริกา เป็นครั้งที่<br />

3 ติดต่อกันแล้วจากการตรวจสอบมาตรฐาน<br />

ทุกๆ 3 ปี ถ้าไม่มีทีมงานที่ดีคงผ่านมาไม่ได้<br />

หลักคิดในการทำงาน<br />

วิชาชีพนี้เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ฉะนั้นต้อง<br />

ทำงานอย่างรอบคอบที่สุดและคิดเสมอว่าเรา<br />

ดูแลผู้ป่วยเหมือนญาติพี่น้องของเราคนหนึ่ง<br />

นอกจากนี้ยังต้องหมั่นหาความรู้เพิ่มเติม เพราะ<br />

สิ่งที่เราเคยรู้ถึงตอนนี้อาจจะล้าสมัยไปแล้ว<br />

สุดท้ายคือต้องเปิดใจรับฟังผู้ป่วย ถ้าเราไม่ฟัง<br />

ก็จะไม่สามารถช่วยเขาได้อย่างเต็มที่<br />

ผศ.พญ.เยาวนุช คงด่าน<br />

ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์<br />

มะเร็งวิทยา<br />

เมื่อพูดถึงแพทย์ผู้ชำนาญการรักษาผู้ป่วย<br />

มะเร็งเต้านม ชื่อของผศ.พญ.เยาวนุช คงด่าน<br />

เป็นอีกชื่อหนึ่งที่มักได้ยินอยู่เสมอเพราะนอกจากจะ<br />

ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่บำรุงราษฎร์แล้ว คุณหมอ<br />

ยังเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาศัลยศาสตร์เต้านม<br />

และต่อมไร้ท่อ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล<br />

รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งให้การรักษา<br />

และผลิตแพทย์ฝีมือดีจำนวนมากอีกด้วย<br />

การทำงานในฐานะศัลยแพทย์<br />

ด้านมะเร็งเต้านม<br />

การรักษาผู้ป่วยมะเร็งไม่เหมือนการผ่าตัด<br />

รักษาโรคอื่น เพราะเมื่อผู้ป่วยทราบว่าตัวเอง<br />

เป็นมะเร็ง เขาจะรู้สึกว่าแผนการที่วางไว้ในชีวิต<br />

ถูกทำลายไปหมด สภาพจิตใจย่ำแย่ทันที ซึ่ง<br />

แพทย์ต้องมีวิธีจัดการตรงนี้ คือต้องค่อยๆ คุย<br />

หมอจะบอกผู้ป่วยหลายคนว่าในความโชคร้าย<br />

ยังมีโชคดี คือโชคร้ายที่เป็นมะเร็ง แต่โชคดีที่<br />

เป็นมะเร็งเต้านม เพราะวิธีการรักษาในปัจจุบัน<br />

เปลี่ยนไปมากแล้ว ไม่ได้น่ากลัวเหมือนในอดีต<br />

วิธีการรักษาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร<br />

สมัยก่อน เมื่อพบว่าเป็นมะเร็งเต้านม แพทย์<br />

มักจะตัดเต้านมทิ้ง แต่หมอได้มีโอกาสคุยกับ<br />

ผู้ป่วยรายหนึ่งซึ่งเล่าให้ฟังว่าตั้งแต่ตัดเต้านมไป<br />

ความสัมพันธ์ระหว่างสามี-ภรรยาก็ห่างเหินเพราะ<br />

สามีรู้สึกว่าเขาพิการ ตอนนั้นต้องเรียกว่าเป็น<br />

จุดเปลี่ยนของหมอเลย คือคิดว่าต้องทำอะไร<br />

สักอย่าง เลยไปเวิร์คช็อปช่วงสั้นๆ ที่อิตาลีซึ่ง<br />

มีชื่อเสียงเรื่องการเสริมเต้านม และกลายเป็นที่มา<br />

ของการพยายามผ่าตัดแบบเก็บเต้านม ส่วนใน<br />

รายที่เก็บไม่ได้ก็จะทำเต้านมใหม่เสริมให้ใน<br />

คราวเดียว เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น<br />

ปรัชญาในการทำงาน<br />

ประการแรกคือต้องซื่อสัตย์ซื่อตรงในวิชาชีพ<br />

อย่างมะเร็งเต้านม หมอจะบอกว่าถ้าเก็บเต้านม<br />

ได้ให้เก็บ ถ้าเก็บไม่ได้จำเป็นต้องตัด ก็ต้องคุย<br />

กับผู้ป่วยว่าจะเสริมหรือไม่ เราจะไม่ชักชวนให้ตัด<br />

แล้วค่อยเสริมเอา เพราะเป็นการทำเรื่องใหญ่<br />

โดยไม่จำเป็นโดยที่ผลการรักษาใกล้เคียงกัน<br />

ประการที่สองคือในการรักษาต้องมองไปที่ตัว<br />

ผลลัพธ์ว่าสุดท้ายแล้วผู้ป่วยควรจะเป็นอย่างไร<br />

แล้วกำหนดแผนการรักษาตามนั้น สุดท้ายคือ<br />

หมอเชื่อเรื่องการสร้างคน จะพยายามถ่ายทอด<br />

ความรู้หรือเทคนิคการผ่าตัดให้กับทีมงานและ<br />

แพทย์ด้วยกันให้ได้มากที่สุด เพื่อจะได้มาช่วยกัน<br />

ช่วยเหลือผู้ป่วยอีกต่อหนึ่ง<br />

21

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!