แนวทางการจัดทำฯ Cs4.indd - สำนักงานนโยบายและแผน ...

แนวทางการจัดทำฯ Cs4.indd - สำนักงานนโยบายและแผน ... แนวทางการจัดทำฯ Cs4.indd - สำนักงานนโยบายและแผน ...

แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยสำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพฤษภาคม ๒๕๕๖<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมa <strong>Cs4.indd</strong> 1 3/5/2556 15:23:58


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยสารบัญหน้าคำนำบทที่ ๑ บทนำ ๑๑.๑ ประเภทและขนาดของโครงการด้านบริการชุมชนและที่พักอาศัย ๑ที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม๑.๒ ขั้นตอนการพิจารณารายงาน ๕บทที่ ๒ แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ๙โครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๒.๑ รายงานฉบับย่อ ๙๒.๒ รายงานฉบับหลัก ๙๒.๒.๑ บทนำ ๙๒.๒.๒ รายละเอียดโครงการ ๑๐๒.๒.๓ สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ๑๑๒.๒.๔ การประเมินทางเลือกในการดำเนินการ ๑๕๒.๒.๕ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ๑๖ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการ๒.๒.๖ มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ๓๓๒.๒.๗ มาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ๓๔๒.๓ มาตรการขั้นต่ำที่โครงการต้องจัดให้มี ๓๕๒.๔ รายละเอียดขั้นต่ำ สำหรับการจัดทำรายงาน ๓๙d<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 4 3/5/2556 15:24:00


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยบทที่ ๑ บทนำ<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมe <strong>Cs4.indd</strong> 5 3/5/2556 15:24:00


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยf<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 6 3/5/2556 15:24:02


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยบทที่ ๑ บทนำ๑.๑ ประเภทและขนาดของโครงการด้านบริการชุมชนและที่พักอาศัย ที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ (ออกตามความในมาตรา ๔๖แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕) ในเอกสารท้ายประกาศ ๓ ได้กำหนดให้โครงการด้านบริการชุมชนและที่พักอาศัยต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยมีประเภท ขนาด และหลักเกณฑ์ วิธีการระเบียบปฏิบัติ ดังนี้ประเภทโครงการหรือกิจการ ขนาด หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ(๑) อาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ชี่งมีลักษณะที่ตั้งหรือการใช้ประโยชน์ในอาคารอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้(๑.๑) อาคารที่ตั้งอยู ่ริมแม่น้ำ ฝั ่งทะเลทะเลสาบ หรือชายหาด หรือที่อยู่ใกล้หรือในอุทยานแห่งชาติ หรืออุทยานประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นบริเวณที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม(๑.๒) อาคารที่ใช้ในการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งความสูงตั้งแต่ ๒๓ เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกัน ตั้งแต่๑๐,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไปความสูงตั้งแต่ ๒๓ เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกัน ตั้งแต่ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างหรือหากใช้วิธีการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารโดยไม่ยื่นขอรับใบอนุญาตให้เสนอรายงานในขั้นการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างหรือหากใช้วิธีการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารโดยไม่ยื่นขอรับ<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม1 <strong>Cs4.indd</strong> 7 3/5/2556 15:24:02


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยประเภทโครงการหรือกิจการ ขนาด หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ๑๐,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป(๑.๓) อาคารที่ใช้เป็นสำนักงานหรือที่ทำการของเอกชน(๒) การจัดสรรที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน(๓) โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล(๓.๑) กรณีตั้งอยู ่ใกล้แม่น้ำ ฝั ่งทะเลทะเลสาบ หรือชายหาดในระยะ ๕๐ เมตร(๓.๒) กรณีโครงการไม่อยูในข้อ (๓.๑)ความสูงตั้งแต่ ๒๓ เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกัน ตั้งแต่๑๐,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไปจำนวนแปลงย่อยตั้งแต่๕๐๐ แปลง หรือเนื้อที่เกินกว่า ๑๐๐ ไร่ ขึ้นไปที่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ตั้งแต่ ๓๐ เตียงขึ้นไปที่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ตั้งแต่ ๖๐ เตียงขึ้นไปใบอนุญาตให้เสนอรายงานในขั้นการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างหรือหากใช้วิธีการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารโดยไม่ยื่นขอรับใบอนุญาตให้เสนอรายงานในขั้นการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เสนอในขั้นขออนุญาตจัดสรรที่ดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างหรือหากใช้วิธีการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารโดยไม่ยื่นขอรับใบอนุญาตให้เสนอรายงานในขั้นการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างหรือหากใช้วิธีการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารโดยไม่ยื่นขอรับใบอนุญาตให้เสนอรายงานในขั้นการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น2<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 8 3/5/2556 15:24:02


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๑.๒ ขั้นตอนการพิจารณารายงานขั้นตอนการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะเป็นไปตามมาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๓๕ สรุปได้ดังนี้ขั้นตอนการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมกรณีโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ โครงการร่วมกับเอกชนซึ่งต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจจัดทำรายงานตั้งแต่ขั้นศึกษาความเหมาะสมของโครงการคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ฯสผ. สรุปความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเสนอความเห็นคณะรัฐมนตรีบุคคล / สถาบัน ผู้เชี่ยวชาญเสนอความเห็นพิจารณา<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม5 <strong>Cs4.indd</strong> 11 3/5/2556 15:24:02


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย8<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 14 3/5/2556 15:24:03


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยบทที่ ๒แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๒.๑ รายงานฉบับย่อ ประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้๒.๑.๑ ประเภทและขนาดโครงการ พร้อมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง๒.๑.๒ ที่ตั้งโครงการโดยมีภาพและแผนที่ที่ตั้งโครงการ รวมทั้งแผนที่แสดงองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมในบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการตามมาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ หรือมาตราส่วนที่เหมาะสม๒.๑.๓ ทางเลือกที่ตั้งโครงการและวิธีการดำเนินการโครงการพร้อมเหตุผลและข้อพิจารณาในการตัดสินใจเลือกแนวทางที่เสนอ๒.๑.๔ รายงานการแสดงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ พร้อมด้วยมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบดังกล่าว และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามแบบ สผ.๑๒.๒ รายงานฉบับหลัก ประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้๒.๒.๑ บทนำ๑) ที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ เหตุผล และความจำเป็นในการดำเนินโครงการ๒) วัตถุประสงค์ของการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมระบุประเภทและขนาดของโครงการ และขั้นตอนที่เสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายกำหนด๓) ขอบเขตการศึกษา และวิธีการศึกษา ระบุขอบเขตพื้นที่ศึกษาและหัวข้อที่จะศึกษาให้ชัดเจน<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม9 <strong>Cs4.indd</strong> 15 3/5/2556 15:24:03


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๒.๒.๒ รายละเอียดโครงการให้แสดงรายละเอียดที่ชัดเจน เพียงพอ ที่สามารถแสดงภาพรวมของโครงการและสามารถใช้เป็นแนวความคิดประกอบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่คาดว่าจะเกิดขึ้น๑) ประเภทและขนาดของโครงการ แสดงรายละเอียดประเภทและขนาดของโครงการ ขนาดพื้นที่โครงการ จำนวนห้องพัก จำนวนอาคาร หรือจำนวนแปลงจัดสรรที่ดิน หรือจำนวนเตียงสำหรับผู ้ป่วยไว้ค้างคืน พื้นที่และความสูงอาคาร กิจกรรมประกอบ จำนวนผู้พักอาศัยในโครงการ (กรณีโครงการประกอบด้วยโครงการหลายประเภทควรเสนอรายละเอียดความสัมพันธ์หรือส่วนที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของโครงการทั้งหมดอย่างชัดเจน )๒) ที่ตั้งโครงการ แสดงภาพและแผนที่ตั้งโครงการ การเข้าถึงพื้นที่โครงการจากถนนสายหลักที่ปรากฏในแผนที่ของทางราชการ ในมาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐หรือมาตราส่วนที่เหมาะสม ขอบเขตการพัฒนาโครงการ ขอบเขตกรรมสิทธิ์ที่ดินเอกสารสิทธิ์ และผังต่อโฉนด๓) ผังบริเวณ (Lay out) แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในโครงการ ตำแหน่งที่ตั้งของอาคารและกิจกรรมทั้งหมด รวมทั้งระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ของโครงการ๔) รูปแบบอาคารและสิ่งก่อสร้าง แสดงลักษณะ รูปแบบ ความสูง จำนวนและขนาดพื้นที่ของอาคาร ทั้งนี้ ให้ระบุพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ว่าง ร้อยละของพื้นที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุม (Open Space Ratio; OSR) ร้อยละของพื้นที่อาคารปกคลุมดิน (Building Coverage Ratio; BCR) อัตราส่วนพื้นที่ของอาคารทั้งหมดต่อพื้นที่โครงการ (Floor Area Ratio; FAR) รวมทั้งขนาดพื้นที่แต่ละกิจกรรมและพื้นที่ใช้สอย ตลอดจนระยะถอยร่น ระยะห่างของอาคารจากแนวขอบเขตที่ดินหรือแนวชายฝั่งหรือน้ำทะเลขึ้นสูงสุดหรือริมน้ำ (ถ้ามี) พร้อมแผนผัง แบบแปลน รูปตัดและรูปด้านอาคารที่มีผู ้ออกแบบลงนามรับรองประกอบ (ควรแสดงแบบที่มีรายละเอียดชัดเจน และสอดคล้องกับหัวข้อที่ต้องการนำเสนอ)๕) สถานภาพโครงการ แสดงสภาพพื้นที่โครงการในปัจจุบัน และบริเวณข้างเคียงโดยรอบ สิ่งปลูกสร้างเดิมภายในพื้นที่ (ถ้ามี) พร้อมทั้งภาพถ่ายประกอบ10<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 16 3/5/2556 15:24:04


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๖) รายละเอียดช่วงการก่อสร้าง แสดงรายละเอียดแผนงานก่อสร้าง พร้อมแผนภูมิขั้นตอนและระยะเวลาก่อสร้าง การดำเนินงานของโครงการและการจัดแบ่งระยะของโครงการ (ถ้ามี) จำนวนคนงานก่อสร้าง และรายละเอียดเกี่ยวกับบ้านพักคนงาน ทั้งกรณีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โครงการและที่ตั้งอยู่ภายนอก กิจกรรมก่อสร้างในขั้นตอนต่างๆ และการจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม๗) ข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการตรวจสอบความสอดคล้องในการดำเนินโครงการในเบื้องต้น โดยเป็นข้อกำหนดที่มีผลต่อการดำเนินโครงการรูปแบบและความสูงของอาคาร ระยะถอยร่น เช่น กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยผังเมืองรวม กฎหมายว่าด้วยการกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เป็นต้น๒.๒.๓ สภาพแวดล้อมในปัจจุบันให้แสดงรายละเอียดทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและคุณค่าต่างๆ บริเวณพื้นที่โครงการและโดยรอบ ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการและเป็นประเด็นที่มีความสำคัญต่อการประเมินผลกระทบสิ่งแวดด้อม ตามที่ได้ระบุไว้ในขอบเขตการศึกษา๑) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ เช่นภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศ ความลาดชันของพื้นที่ พร้อมแผนที่แสดงเส้นชั้นความสูงของภูมิประเทศ ระยะห่างจากแนวชายฝั ่งหรือน้ำทะเลขึ้นสูงสุด(ถ้ามี)ทรัพยากรดิน ชนิดของดิน ลักษณะของชั้นดิน ความสามารถในการซึมน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ การปนเปี้อนมลพิษธรณีวิทยา โครงสร้างทางธรณีวิทยา การทรุดตัว การเกิดแผ่นดินไหวการเกิดธรณีพิบัติภัย (สึนามิ)อากาศ ข้อมูลสภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน ความเร็วลม และทิศทางตลอดจนคุณภาพและมลพิษทางอากาศ เป็นต้น<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม11 <strong>Cs4.indd</strong> 17 3/5/2556 15:24:04


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยทรัพยากรน้ำ- น้ำผิวดิน ได้แก่ ลักษณะธรณีสัณฐานของแหล่งน้ำ ความลึก รูปแบบการไหลและอัตราการไหลของน้ำผิวดิน แหล่งน้ำสาธารณะต่างๆ ที่มีอยู่ในหรือใกล้หรือที่มีความเชื่อมโยงกับพื้นที่โครงการ เช่น คลองสาธารณะ ลำรางสาธารณะ เป็นต้นการใช้ประโยชน์ของแหล่งน้ำ ความสำคัญ การขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่สำคัญต่างๆเช่น พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ เป็นต้น ตลอดจนคุณภาพน้ำ (โดยแสดงผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดิน) และผลการเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำต่างๆ เช่น มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง เป็นต้น- น้ำใต้ดิน ได้แก่ ลักษณะของชั้นน้ำใต้ดิน การไหลของน้ำใต้ดิน อัตราการให้น้ำ คุณภาพน้ำ ความลึกของน้ำบาดาล อัตราการให้น้ำที่สมดุลย์ของชั้นกักเก็บน้ำที่โครงการจะนำมาใช้ และแผนที่อุทกวิทยา ประกอบด้วย การใช้น้ำใต้ดินของชุมชนบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งแผนผังแสดงตำแหน่งที่ตั้งของแหล่งน้ำ เป็นต้น๒) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านชีวภาพ เช่นบนบก พิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องและข้อมูลจากการสำรวจภาคสนามเกี่ยวกับป่าไม้ พรรณพืช สิ่งมีชีวิตหายากหรืออาจสูญพันธุ์ ความสำคัญ การขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่สำคัญต่างๆ เช่น ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ เป็นต้น ในบริเวณโครงการและโดยรอบที่ตั้งโครงการ พร้อมรูปภาพและแผนที่ประกอบในน้ำ พิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องและข้อมูลจากการสำรวจภาคสนามเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในน้ำ การประมง ของแหล่งน้ำในบริเวณโครงการและโดยรอบที่ตั้งโครงการ ความสำคัญ พร้อมรูปภาพและแผนที่ประกอบ12<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 18 3/5/2556 15:24:04


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๓) คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เช่นการใช้ประโยชน์ที่ดิน แสดงสภาพการใช้ที่ดินบริเวณโครงการและโดยรอบ การใช้ที่ดินตามข้อกำหนดผังเมือง รวมทั้งกฎหมายหรือข้อบังคับเฉพาะพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น เขตควบคุมมลพิษ เขตควบคุมอาคาร เขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม เขตป่าอนุรักษ์ เขตอุทยานแห่งชาติ แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์เป็นต้น พร้อมแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศในมาตราส่วนที่เหมาะสมและชัดเจนการใช้น้ำ แหล่งน้ำใช้ ปริมาณการใช้น้ำของชุมชนโดยรอบ ปัญหาการใช้น้ำทั้งนี้ ควรมีแผนที่ระบุแหล่งน้ำใช้สำคัญของชุมชนประกอบการจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล ระบบจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลของชุมชน การให้บริการบำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล และความสามารถในการให้บริการของหน่วยงานท้องถิ่น แผนผังแสดงระบบรวบรวมน้ำเสียและพื้นที่เขตบริการบำบัดน้ำเสียรวม สภาพปัญหา (ถ้ามี)การระบายน้ำและการป้องกันน้ำท่วม ระบบระบายน้ำของพื้นที่โดยรอบโดยแสดงทิศทางและเส้นทางระบายน้ำ ความลาดชันของสภาพพื้นที่ ปัญหาการระบายน้ำและข้อมูลการเกิดน้ำท่วมของชุมชน ตลอดจนการป้องกันน้ำท่วมของพื้นที่ดังกล่าวการจัดการมูลฝอย การกำจัดมูลฝอยของชุมชนโดยรอบ การให้บริการเก็บรวบรวมและกำจัดมูลฝอยของหน่วยงานท้องถิ่น แหล่งกำจัดมูลฝอย ขีดความสามารถตลอดจนสภาพปัญหาในการให้บริการ<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม13 <strong>Cs4.indd</strong> 19 3/5/2556 15:24:05


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยการจราจร ระบบการจราจรบริเวณโดยรอบ ขนาดของเขตทางและผิวจราจร จำนวนช่องทางการเดินรถ ผลสำรวจปริมาณจราจรในเส้นทางคมนาคมที่ต่อเนื่องกับโครงการ ตลอดจนระบบขนส่งมวลชนบริเวณใกล้เคียง พร้อมทั้งแผนผังแสดงระบบจราจรโดยรอบไฟฟ้า แหล่งจ่ายไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้าของชุมชนโดยรอบ สภาพปัญหาการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)๔) คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต เช่นสังคมและเศรษฐกิจ สำรวจและศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมและเศรษฐกิจของชุมชน โดยกำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษาให้ชัดเจน เช่น จำนวนประชากรอาชีพ รายได้ การศึกษา สภาพชุมชน การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การพัฒนาโครงการและความคิดเห็นต่อโครงการ ทั้งนี้ การสำรวจข้อมูลให้เป็นไปตามหลักวิชาการสุนทรียภาพ แหล่งธรรมชาติที่สำคัญ แหล่งอนุรักษ์ธรรมชาติและศิลปกรรมโบราณสถาน โบราณวัตถุ แหล่งโบราณคดีหรือสิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญหรือมีคุณค่าในบริเวณโดยรอบ พร้อมภาพถ่ายสถานที่ดังกล่าว และแผนที่แสดงระยะห่างจากที่ตั้งโครงการ14<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 20 3/5/2556 15:24:07


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยสาธารณสุข ข้อมูลสถิติการเจ็บป่วย อัตราการตาย สาเหตุ ข้อมูลสถานพยาบาลหรือบริการสาธารณสุขของชุมชนโดยรอบ แผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงทางสุขภาพและสังคม เช่น โรงเรียน วัด เป็นต้นการป้องกันอัคคีภัยและภัยธรรมชาติ การให้บริการด้านการป้องกันอัคคีภัยสาธารณะ การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ได้แก่ สถานที่ดับเพลิงสถานีตำรวจ เป็นต้น แผนการดำเนินการของส่วนราชการ หรือหน่วยงานท้องถิ่นในการระงับเหตุอัคคีภัยหรือภัยธรรมชาติ พร้อมแสดงแผนที่ตั้งของพื้นที่และเส้นทางการอพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัยกรณีเกิดอัคคีภัยหรือภัยธรรมชาติ (ถ้ามี)๒.๒.๔ การประเมินทางเลือกในการดำเนินการต้องเสนอทางเลือก ซึ่งอาจเป็นทั้งทางเลือกที่ตั้งโครงการหรือวิธีการดำเนินโครงการ โดยทางเลือกที่เสนอทุกทางเลือกจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีเหตุผลว่าบรรลุเป้าหมายและความจำเป็นในการมีโครงการหรือไม่มีโครงการอย่างไร มีมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบในทุกทางเลือก และจะต้องระบุทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดที่จะดำเนินโครงการ พร้อมแสดงเหตุผลและความจำเป็นประกอบทั้งนี้ การประเมินทางเลือกโครงการ ให้พิจารณาว่าการพัฒนาโครงการในแต่ละทางเลือกที่เสนอมามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกด้านต่างๆ อย่างไร และพิจารณาว่าปัจจัยภายนอก มีผลกระทบต่อการพัฒนาโครงการแต่ละทางเลือกอย่างไรและเสนอทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม15 <strong>Cs4.indd</strong> 21 3/5/2556 15:24:07


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๒.๒.๕ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขี้นจากกิจกรรมการดำเนินโครงการ ให้แยกเป็นผลกระทบระหว่างการก่อสร้างและระหว่างเปิดดำเนินโครงการทั้งที่เป็นผลกระทบทางตรง และผลกระทบทางอ้อมต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม หรือคุณค่าต่างๆ ให้สอดคล้องตามหัวข้อที่เสนอไว้ในข้อ ๒.๒.๓ ซึ่งมีหลักการประเมินผลกระทบในลักษณะการเปรียบเทียบระหว่างการมีและการไม่มีโครงการ๑) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพภูมิประเทศ๑) แสดงรายละเอียดการปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่โครงการ การขุดหรือตัดหรือปรับถมดิน ภายในพื้นที่โครงการ ที่ทำให้สภาพภูมิประเทศมีการเปลี่ยนแปลง๒) ประเมินผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศเดิมพร้อมแผนที่แสดงเส้นชั้นความสูงของภูมิประเทศเปรียบเทียบก่อนและหลังมีโครงการทรัพยากรดิน๑) แสดงรายละเอียดปริมาณดินที่ขุดออกหรือนำมาปรับถมพื้นที่โครงการ แหล่งดินเพื่อการปรับถม และแหล่งทิ้งดิน๒) ประเมินผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะและความอุดมสมบูรณ์ของดิน16<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 22 3/5/2556 15:24:08


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๓) กรณีโครงการผลิตน้ำใช้เอง ให้แสดงรายละเอียดวิธีการ และแผนผังขั้นตอนการปรับปรุง การกำจัดตะกอนหรือของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำ และเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำเพื่อการบริโภค๔) กรณีใช้น้ำบาดาล ให้ตรวจสอบเขตพื้นที่วิกฤตน้ำบาดาล แสดงผลการทดสอบความสามารถในการให้น้ำของบ่อบาดาล (Yield) อัตราการสูบน้ำคุณภาพน้ำ เอกสารการอนุญาตขุดเจาะและใช้น้ำบาดาล (ถ้ามี) แผนผังแสดงที่ตั้งของบ่อบาดาล รวมทั้งประเมินผลกระทบจากการใช้น้ำบาดาลของโครงการต่อบ่อบาดาลข้างเคียงการจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล๑) แสดงรายละเอียดปริมาณและลักษณะน้ำเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละกิจกรรมของโครงการ และแผนผังแสดง Mass Balance ของน้ำ๒) แสดงรายละเอียดระบบบำบัดน้ำเสีย โดยระบุชนิด รูปแบบ และขั้นตอนการบำบัด แบบแปลนระบบบำบัดน้ำเสีย ผังแสดงตำแหน่งที่ตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย แนวเส้นท่อรวบรวมน้ำเสีย รูปตัดแนวตั้งทางชลศาสตร์ (Hydraulic Profile)รายการคำนวณ รวมทั้งเอกสารการรับรองของวิศวกรผู้ออกแบบ พร้อมทั้งประเมินประสิทธิภาพในการบำบัดของระบบบำบัดน้ำเสีย๓) ประเมินความเหมาะสมของระบบบำบัดน้ำเสียที่เลือกใช้ โดยพิจารณาการบริหารจัดการในการควบคุมดูแลให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ค่าลงทุนก่อสร้าง และค่าใช้จ่ายในการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย (InvestmentCost and Operating Cost)20<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 26 3/5/2556 15:24:11


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยการระบายน้ำและการป้องกันน้ำท่วม๑) แสดงรายละเอียดระบบระบายน้ำภายในพื้นที่โครงการ พร้อมทั้งแผนที่แสดงแนวท่อระบายน้ำฝน น้ำเสีย น้ำทิ้ง และจุดที่ระบายน้ำออกสู่ภายนอกพื้นที่โครงการ ตลอดจนระบบการชะลอน้ำของโครงการ๒) ประเมินอัตราการระบายน้ำออกจากพื้นที่โครงการเปรียบเทียบระหว่างสภาพเดิมก่อนมีโครงการและหลังมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่เพื่อพัฒนาโครงการ(ให้พิจารณาทั้งปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำทิ้ง)- กรณีที่ฝนตกหนัก คิดปริมาณน้ำฝนจากค่าอัตราฝนตกสูงสุดในชั่วโมงแรก (Front Concentration) และสิ้นสุดใน ๓ ชั่วโมง หรือใช้วิธีคำนวณอื่นทำนองเดียวกัน เช่น Modified Rational Method (การนำข้อมูลมาใช้อ้างอิงให้อธิบายเหตุผลประกอบการเลือกใช้ค่าสัมประสิทธิ์นั้นๆ)- พื้นที่ที่อยู่อาศัยให้ใช้คาบอุบัติ (Return Period) ไม่ต่ำกว่า ๕ ปีหรือตัวเลขอื่น ตามรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา เช่น อัตราฝนตกสูงสุดในกรุงเทพมหานคร (๗๐ มม./ชม.)- ค่าสัมประสิทธิ์การไหลนอง (Runoff Coefficient) ให้คิดตามสภาพการพัฒนาสิ่งก่อสร้างและพื้นผิวดิน22<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 28 3/5/2556 15:24:14


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๓) กรณีที่โครงการตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาน้ำท่วมหรือระบบระบายน้ำของเมืองไม่สามารถรองรับได้ หรือมีการระบายน้ำลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ร่องระบายน้ำ หรือรางระบายน้ำ ให้มีมาตรการควบคุมการระบายน้ำออกจากพื้นที่โครงการ โดยอัตราการระบายน้ำต้องไม่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากสภาพเดิมก่อนการพัฒนาสิ่งก่อสร้างบนพื้นที่โครงการ หากค่าอัตราการระบายน้ำสูงกว่าเดิมจะต้องจัดให้มีการชะลอหรือหน่วงน้ำภายในโครงการหรือวิธีอื่นใดที่สามารถลดอัตราการระบายน้ำ (ลูกบาศก์เมตร/วินาที) จากพื้นที่โครงการให้ลดเหลือเท่าเดิม๔) กรณีที่มีการเก็บกักน้ำบางส่วนในเส้นท่อระบายน้ำภายในโครงการจะต้องแสดงรายละเอียดและรายการคำนวณ ตลอดจนระดับน้ำ แนวเส้นท่อในส่วนที่เก็บกัก พร้อมทั้งแสดงมาตรการป้องกันการตกค้างสะสมของตะกอนดินทราย และมูลฝอยที่ไหลมากับน้ำเสียหรือน้ำฝนในเส้นท่อ๕) กรณีที่ท่อระบายน้ำของโครงการรองรับน้ำเสียที่ยังมิได้ผ่านการบำบัดห้ามมิให้มีการหน่วงน้ำโดยใช้วิธีการเก็บกักหรือหน่วงน้ำในเส้นท่อดังกล่าว และไม่ให้ระบายออกสู ่ภายนอกโครงการ (ท่อระบายน้ำนั้นจะถือว่าเป็นท่อระบายน้ำเสียซึ่งน้ำต้องไหลด้วยความเร็วไม่น้อยกว่า ๐.๖ เมตร/วินาที และออกแบบตามหลักวิชาการระบบท่อน้ำเสีย (Sewerage System Design)<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม23 <strong>Cs4.indd</strong> 29 3/5/2556 15:24:16


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๖) กรณีที่โครงการระบายน้ำลงสู่ระบบระบายน้ำของเมือง- ให้ประเมินความสามารถในการรองรับปริมาณน้ำที่ระบายออกจากพื้นที่โครงการ โดยมีรายละเอียดและผังแสดงแนวเส้นท่อ จุดที่ระบายออกสู่ภายนอกพื้นที่โครงการ หรือจุดระบายลงสู่ท่อระบายน้ำของเมือง- ให้มีการควบคุมอัตราการระบายน้ำออกจากพื้นที่โครงการ โดยพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การไหลนองไม่ต่ำกว่าค่าที่ใช้ในการออกแบบท่อระบายน้ำหรือพิจารณาตามความเป็นจริง เช่น ใน กทม. พิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ไม่ต่ำกว่า๐.๖ เนื่องจากการออกแบบท่อระบายน้ำ กทม. ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ ๐.๖ และกำหนดอัตราการระบายน้ำ ๓ ลูกบาศก์เมตร/วินาที๗) กรณีที่ระบายน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้วและได้ตามมาตรฐานการระบายน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ- ให้แสดงรายละเอียดทางกายภาพของแหล่งน้ำธรรมชาติที่รองรับน้ำทิ้งจากโครงการ ตำแหน่งที่ระบายน้ำทิ้ง- ให้แสดงลักษณะและปริมาณน้ำทิ้งที่ระบายออกสู่ภายนอกโครงการ และค่า BOD Loading- ให้พิจารณาคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำและการใช้ประโยชน์ ลักษณะทางกายภาพ และสัณฐานของแหล่งน้ำ (เช่น ความลึก ความกว้าง อัตราการไหลของน้ำในฤดูแล้ง และฤดูฝน เป็นต้น) พร้อมทั้งระบบการแบ่งประเภทคุณภาพน้ำตามการใช้ประโยชน์ของแหล่งน้ำ (ถ้ามี)- ประเมินผลกระทบจากการระบายน้ำทิ้งของโครงการ โดยแสดงการคำนวณคุณภาพน้ำของแหล่งรองรับน้ำทิ้งที่เปลี่ยนแปลงและจัดทำ DO Sag-Curve24<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 30 3/5/2556 15:24:18


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยการจัดการมูลฝอย๑) ประเมินปริมาณมูลฝอยจากกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ โดยแบ่งตามประเภทมูลฝอย๒) ประเมินปริมาณกากของเสียอันตราย เช่น สารเคมีที่ใช้ในกิจกรรมโรงพยาบาล สารกัมมันตรังสี ยาที่หมดอายุ ฯลฯ พร้อมระบุชนิดและอันตรายของกากของเสียนั้น๓) แสดงรายละเอียดวิธีการคัดแยกมูลฝอย การจัดเก็บรวบรวมและขนถ่ายมูลฝอย ภาชนะรองรับมูลฝอย และห้องพักมูลฝอยรวม เช่น ขนาด จำนวนตำแหน่งที่ตั้ง ระยะเวลาในการเก็บกักมูลฝอย การบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นบริเวณจุดรวบรวมมูลฝอย พร้อมทั้งประเมินความเพียงพอและเหมาะสม รวมทั้งผลกระทบด้านเหตุเดือดร้อนรำคาญ และสุขอนามัย ต่อผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียงห้องพักมูลฝอยรวม๔) ประเมินปริมาณกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียและกากไขมัน(Grease) และแสดงรายละเอียดวิธีการจัดการมูลฝอยประเภทกากตะกอนและกากไขมัน วิธีการกำจัด ความถี่ ในการกำจัด สถานที่กำจัด วิธีการนำไปใช้ประโยชน์ (ถ้ามี)<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม25 <strong>Cs4.indd</strong> 31 3/5/2556 15:24:20


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๕) ประเมินความสามารถของหน่วยงานที่ให้บริการเก็บขนและกำจัดมูลฝอยของโครงการ โดยพิจารณาผู ้รับผิดชอบ ระยะเวลา เส้นทางและวิธีการกำจัดสภาพปัญหาในการดำเนินการเก็บขน และกำจัดมูลฝอยในปัจจุบัน ปริมาณมูลฝอยที่ท้องถิ่นรับบริการเก็บขนและกำจัด๖) กรณีโครงการโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ให้แสดงรายละเอียดวิธีการจัดการและการเก็บรวบรวมมูลฝอย โดยต้องแยกประเภทมูลฝอยติดเชื้อและต้องมีการฆ่าเชื้อโรคก่อน (ให้ระบุรายละเอียดวิธีการฆ่าเชื้อโรคที่เลือกใช้ และแสดงเอกสารอ้างอิง) การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การจัดการมูลฝอยประเภทกากของเสียอันตราย รวมทั้งสารเคมีที่ใช้ในกิจกรรมของโรงพยาบาล ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยเคร่งครัด๗) กรณีที่โครงการกำจัดมูลฝอยเอง ให้เสนอรายละเอียดและประเมินผลกระทบจากการดำเนินงานหรือกระบวนการกำจัดมูลฝอย26<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 32 3/5/2556 15:24:20


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยพลังงานและไฟฟ้า๑) ประเมินปริมาณการใช้ไฟฟ้า โดยพิจารณากิจกรรมและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ๒) แสดงรายละเอียดแหล่งไฟฟ้า ไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน พร้อมระบุชนิดและปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้๓) แสดงตำแหน่งหม้อแปลงไฟฟ้าภายในโครงการ และประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้อยู่อาศัยหรือผู้สัญจรผ่านบริเวณหม้อแปลงดังกล่าว๔) กรณีที่ผลิตไฟฟ้าใช้ภายในโครงการ ให้เสนอรายละเอียดกระบวนการผลิตพลังงานหรือเชื้อเพลิงที่ใช้ รวมทั้งสารพิษที่เกิดขึ้นและการกำจัดสารพิษนั้น๕) แสดงรายละเอียดมาตรการและวิธีการในการประหยัดไฟฟ้าและพลังงานของโครงการ ตั้งแต่การออกแบบ การวางผัง การเลือกใช้วัสดุทั้งภายในและภายนอก การใช้งานและการบำรุงรักษาการสื่อสาร๑) เสนอรายละเอียดอุปกรณ์และระบบการสื่อสาร ทั้งภายในโครงการและภายนอก รวมทั้งระบบการติดต่อสื่อสารกรณีฉุกเฉิน๒) ประเมินผลกระทบจากสิ่งก่อสร้างภายในโครงการต่อการบดบังสัญญาณคลื่นวิทยุ และโทรทัศน์ บริเวณโดยรอบโครงการ28<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 34 3/5/2556 15:24:32


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๔) คุณค่าคุณภาพชีวิตสังคมและเศรษฐกิจ๑) ประเมินผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาโครงการต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางสังคม เศรษฐกิจ วิถีชีวิต สภาพความเป็นอยู ่และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของประชาชน รวมทั้งผลกระทบต่อการเพิ่มจำนวนประชากรในชุมชน อาชีพพฤติกรรมทางสังคม เป็นต้น๒) ดำเนินการตามแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชน และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคม ที่<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนด ทั้งนี้ ให้อธิบายว่าโครงการได้ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดอย่างไรโดยละเอียด รวมทั้งมีการนำความเห็นของประชาชนที่ได้จากการดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชนมาดำเนินการอย่างไร และเจ้าของโครงการได้ตอบสนองต่อความเห็นของประชาชนอย่างไรบ้าง๓) กรณีพื้นที่โดยรอบโครงการในรัศมี ๑ กิโลเมตร มีสถานทูต สถานเอกอัครราชทูต ให้แสดงระยะห่างจากที่ตั้งโครงการ และแผนผัง พร้อมทั้งประเมินผลกระทบจากการดำเนินโครงการ โดยพิจารณาด้านความปลอดภัยและข้อปฏิบัติอื่นๆ ตามอนุสัญญูากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต พ.ศ.๒๕๐๔ และพระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางทูต พ.ศ. ๒๕๒๗ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง หรือข้อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้มีการสอบถามความคิดเห็นจากสถานทูตดังกล่าวอย่างเป็นทางการ๔) ให้แสดงข้อมูลของพื้นที่อ่อนไหว ที่ตั้งอยู่ในรัศมี ๑ กิโลเมตรจากที่ตั้งโครงการ เช่น วัด โรงเรียน เป็นต้น ลักษณะกิจกรรม จำนวนประชากรของพื้นที่อ่อนไหว และแผนที่ที่ระบุระยะห่างจากโครงการ พร้อมทั้งประเมินผลกระทบจากการดำเนินโครงการ รวมทั้งการดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มีการสอบถามความคิดเห็นจากตัวแทนของพื้นที่อ่อนไหวดังกล่าวด้วย๕) กรณีเกิดการร้องเรียนต่อโครงการในระหว่างการจัดทำหรือพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้โครงการดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อหาข้อยุติร่วมกัน โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ สอบถามประเด็นข้อห่วงกังวลของ<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม29 <strong>Cs4.indd</strong> 35 3/5/2556 15:24:32


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยผู้ร้องเรียน รวมทั้งชี้แจงมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมในประเด็นที่ผู้ร้องเรียนห่วงกังวลทั้งนี้ ให้ดำเนินการดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม และให้เสนอรายละเอียดผลการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน และแสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ไว้ในรายงานฯ เพื่อประกอบการพิจารณาสุนทรียภาพ๑) แสดงรายละเอียดจำนวนอาคาร ความสูง ลักษณะและรูปแบบอาคารตำแหน่งที่ตั้งอาคาร กลุ่มอาคารและสิ่งก่อสร้าง แนวหรือระยะถอยร่น ตลอดจนการตกแต่งและสีของอาคาร และการจัดภูมิสถาปัตย์ พร้อมแสดงผังและภาพประกอบ(สิ่งปลูกสร้างภายในโครงการ)๒) แสดงรายละเอียดของพื้นที่สีเขียวภายในโครงการ ซึ่งต้องจัดไว้เพื่อการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และผังภูมิสถาปัตย์ที่มีสถาปนิกรับรองพร้อมประเมินความเพียงพอต่อจำนวนประชากรในโครงการ ความเหมาะสมของชนิดพรรณไม้กับสภาพพื้นที่ตั้งของโครงการ รวมทั้งประเมินความสอดคล้องกับเกณฑ์การจัดพื้นที่สีเขียวตามมาตรการขั้นต่ำที่โครงการต้องจัดให้มี โดยแสดงตารางเปรียบเทียบเกณฑ์ที่กำหนดและการจัดพื้นที่สีเขียวของโครงการเพื่อประกอบการพิจารณาให้ชัดเจน (พิจารณาหัวข้อ ๒.๓.๑ ประกอบ)๓) ประเมินผลกระทบด้านสุนทรียภาพ และทัศนียภาพ ทั้งภายในโครงการและการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมของสภาพแวดล้อมบริเวณโดยรอบ โดยพิจารณาความสอดคล้องกลมกลืนของสภาพแวดล้อมและสิ่งก่อสร้างในโครงการ พร้อมทั้งแสดงภาพเชิงซ้อนประกอบหรือภาพ Graphic ที่สามารถให้เห็นสภาพปัจจุบันและหลังจากพัฒนาโครงการแล้วในมุมมองต่างๆ๔) ประเมินผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาโครงการต่อแหล่งธรรมชาติสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะ แหล่งอนุรักษ์ โบราณสถาน โบราณวัตถุแหล่งสำคัญและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี (ถ้ามี) จากรูปแบบภูมิสถาปัตย์ขนาดและความสูง รวมทั้งระยะถอยร่นของสิ่งก่อสร้างของโครงการที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและคุณค่าของแหล่งดังกล่าว30<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 36 3/5/2556 15:24:32


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๕) ในกรณีที่ผลการประเมินเบื้องต้นพบว่าการก่อสร้างหรือดำเนินโครงการมีผลกระทบต่อวัด โบราณสถาน โบราณวัตถุ แหล่งสำคัญและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ให้มีการสอบถามความเห็นในประเด็นผลกระทบดังกล่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมทั้งเสนอมาตรการที่เหมาะสมในการลดผลกระทบดังกล่าว๖) ในกรณีโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ให้แสดงรายละเอียดของห้องเก็บศพ และเส้นทางการเคลี่อนย้ายศพ ทั้งนี้ ให้พิจารณาจัดไว้ในบริเวณที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านจิตใจและทัศนียภาพ พร้อมเสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบอย่างเหมาะสมสาธารณสุขและสุขภาพ๑) ประเมินผลกระทบจากการพัฒนาโครงการต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ รวมทั้งคนงานก่อสร้าง- พิจารณาผลกระทบในเขตพื้นที่โครงการ เช่น เหตุเดือดร้อนรำคาญจากห้องพักมูลฝอยรวม ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น- สำหรับช่วงก่อสร้าง ให้ประเมินผลกระทบและอันตรายจากกิจกรรมการก่อสร้าง รวมทั้งอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในงานก่อสร้าง๒) ดำเนินการตามแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพที่<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนด<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม31 <strong>Cs4.indd</strong> 37 3/5/2556 15:24:34


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยการป้องกันอัคคีภัยและความปลอดภัย๑) แสดงรายละเอียดระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย เช่น ชนิดหรือประเภทอุปกรณ์ที่ใช้ ชนิดและสารเคมีของถังดับเพลิง จำนวน ที่ว่างรอบอาคารเพื่อให้รถดับเพลิงวิ่ง เป็นต้น และแผนผังแสดงตำแหน่งที่ตั้งของอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย รวมทั้งสัญญาณเตือนภัยและทางหนีไฟ และการสำรองน้ำสำหรับใช้ดับเพลิงและประเมินประสิทธิภาพของระบบป้องกันอัคคีภัย ตลอดจนความสอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องจัดเตรียมไว้ให้ครบถ้วนและมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด๒) ประเมินโอกาสที่จะเกิดอัคคีภัยและแหล่งที่จะเกิดอัคคีภัย รวมทั้งผลกระทบต่อบริเวณใกล้เคียง โดยพิจารณากิจกรรมการใช้อาคารและสภาพบริเวณโดยรอบ รวมทั้งจุดอับที่รถดับเพลิงไม่สามารถเข้าถึงได้ พร้อมเสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ๓) แสดงแผนฉุกเฉินกรณีเกิดอัคคีภัย แผนตรวจสอบและเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์และบุคลากร พร้อมทั้งแผนผังเส้นทางอพยพหนีไฟภายในอาคารมายังจุดรวมพลที่ปลอดภัยภายในโครงการ กรณีโครงการโรงพยาบาล ให้พิจารณาปัญหาการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย กรณีเกิดเพลิงไหม้ด้วย๔) ประเมินความพร้อม ขีดความสามารถและศักยภาพการให้บริการดับเพลิงของหน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่โครงการ หรือหน่วยงานท้องถิ่นในกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้32<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 38 3/5/2556 15:24:34


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๒.๒.๖ มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากผลการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในแต่ละหัวข้อ ให้นำมาพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ตามหลักวิชาการและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ สามารถติดตามตรวจสอบการปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อควบคุมมิให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือเกิดขึ้นน้อยที่สุดโดยคำนึงถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ ค่าใช้จ่าย การควบคุมดูแล เป็นต้น ชึ่งเจ้าของโครงการหรือผู ้ประกอบการต้องรับทราบ ยอมรับและสามารถนำไปปฏิบัติได้ทั้งนี้ เนื่องจากมาตรการฯ ที่เสนอไว้ในรายงานฯ ถือเป็นเงื่อนไขที่เจ้าของโครงการจะต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยมีรายละเอียดดังนี้๒.๖.๑ มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและคุณค่าต่างๆ ตามหัวข้อที่ได้ประเมินผลกระทบ โดยระบุรายละเอียดมาตรการฯทั้งหมด วิธีดำเนินการ แผนการปฏิบัติ ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ ระยะเวลาดำเนินการและผู้รับผิดชอบ รวมทั้งการควบคุม ดูแล การเตรียมอุปกรณ์สำรอง เป็นต้นทั้งนี้ ให้นำเสนอรายละเอียดตามแบบ สผ. ๑ ซึ่งจะต้องแสดงผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญพร้อมด้วยมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยแยกเป็นมาตรการฯ ระหว่างการก่อสร้างและระหว่างดำเนินการให้ชัดเจน๒.๖.๒ กรณีที่คาดว่าจะเกิดความเสียหายที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ให้เสนอแผนการชดเชยความเสียหายดังกล่าว<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม33 <strong>Cs4.indd</strong> 39 3/5/2556 15:24:34


่แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๒.๒.๗ มาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมการกำหนดมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและคุณค่าต่างๆ ตามหัวข้อที่ได้มีการประเมินผลกระทบและเสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมไว้ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังผลกระทบสิ่งแวดล้อมและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น และใช้เป็นข้อมูลในการประเมินตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายหลังการดำเนินโครงการ (Post Evaluation) เพื่อนำไปสูการปรับปรุงและแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งมาตรการติดตามตรวจสอบควรมีรายละเอียดชัดเจน ได้แก่ วิธีการตรวจสอบ ดัชนีที่ตรวจสอบ ตำแหน่ง/สถานที่ ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ ผู้รับผิดชอบ เป็นต้น และเจ้าของโครงการจะต้องรายงานผลการติดตามตรวจสอบให้<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเป็นประจำปีละ ๒ ครั้ง ตามแนวทางการเสนอรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการฯ ที่<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนด34<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 40 3/5/2556 15:24:35


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๒.๓ มาตรการขั้นต่ำที่โครงการต้องจัดให้มี๒.๓.๑ การจัดให้มีพื้นที่สีเขียว๑) อาคารอยู่อาศัยรวม โรงแรมและโรงพยาบาล- ต้องจัดให้มีพื้นที่สีเขียวเพื่อการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยมีสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวต่อผู้อยู่อาศัยภายในโครงการ ไม่น้อยกว่า๑ ตารางเมตรต่อ ๑ คน และต้องจัดให้มีพื้นที่สีเขียวบริเวณชั้นล่างไม่น้อยกว่าร้อยละ๕๐ ของพื้นที่สีเขียวที่ต้องจัดให้มีตามเกณฑ์ ทั้งนี้ ต้องเป็นไม้ยืนต้นไม่น้อยกว่าร้อยละ๕๐ ของพื้นที่สีเขียวชั้นล่างที่ต้องจัดให้มีตามเกณฑ์ พร้อมทั้งแสดงรายการคำนวณและแผนผังภูมิสถาปัตย์ของโครงการที่ระบุรายละเอียดของพื้นที่สีเขียวให้ชัดเจนโดยมีภูมิสถาปนิกลงนามรับรอง อนึ่ง หากจัดพื้นที่สีเขียวบนอาคารจะต้องเป็นพื้นที่สีเขียวที่ผู้พักอาศัยทุกคนสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้- ต้องจัดให้มีพื้นที่สีเขียวยั่งยืนใน “ที่ว่าง” ที่โครงการต้องจัดให้มีตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ โดยกำหนดให้มีพื้นที่สีเขียวยั่งยืนอย่างน้อยร้อยละ ๕๐ ของที่ว่างที่ต้องจัดให้มีตามเกณฑ์กำหนดดังกล่าว (ตามแผนปฏิบัติการเชิงนโยบายด้านการจัดการพื้นที่สีเขียวชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๐เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ และคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ เมื่อวันที่ ๑๐กรกฎาคม ๒๕๕๐)<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม35 <strong>Cs4.indd</strong> 41 3/5/2556 15:24:44


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๒) อาคารที่ใช้ในการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง และอาคารที่ใช้เป็นสำนักงานหรือที่ทำการของเอกชน- ต้องจัดให้มีพื้นที่สีเขียวยั่งยืนใน “ที่ว่าง” ที่โครงการต้องจัดให้มีตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ โดยกำหนดให้มีพื้นที่สีเขียวยั่งยืนอย่างน้อยร้อยละ ๕๐ ของที่ว่างที่ต้องจัดให้มีตามเกณฑ์กำหนดดังกล่าว (ตามแผนปฏิบัติการเชิงนโยบายด้านการจัดการพื้นที่สีเขียวชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๐เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ และคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ เมื่อวันที่ ๑๐กรกฎาคม ๒๕๕๐)๓) โครงการจัดสรรที่ดิน- ต้องจัดให้มีพื้นที่สีเขียวในลักษณะเป็นสวนสาธารณะ ที่มีขนาดพื้นที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕ ของพื้นที่จำหน่าย และต้องเป็นพื้นที่ปลูกไม้ยืนต้นไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ของพื้นที่สีเขียวดังกล่าว36<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 42 3/5/2556 15:24:48


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๒.๓.๒ การป้องกันอัคคีภัย (พื้นที่จุดรวมพลเบื้องต้น)- อาคารอยู ่อาศัยรวม โรงแรม โรงพยาบาล อาคารที่ใช้ในการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง และอาคารที่ใช้เป็นสำนักงานหรือที่ทำการของเอกชน ต้องจัดให้มีจุดรวมพลเบื้องต้นกรณีเกิดเพลิงไหม้ภายในพื้นที่โครงการที่สามารถอพยพผู ้พักอาศัยภายในอาคารหรือผู ้ใช้อาคารไปได้โดยสะดวกและปลอดภัย ตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยก่อนที่จะเคลื่อนย้ายไปสู่จุดรวมพลในพื้นที่สาธารณะภายนอกโครงการ โดยต้องมีสัดส่วนของพื้นที่จุดรวมพลต่อผู ้พักอาศัยภายในโครงการหรือผู ้ใช้อาคาร ไม่น้อยกว่า ๐.๒๕ ตารางเมตรต่อ ๑ คน ทั้งนี้ ให้แสดงเส้นทางการอพยพหนีไฟประกอบด้วย๒.๓.๓ การชะลอน้ำฝน (การหน่วงน้ำ)- ต้องมีมาตรการชะลอน้ำฝน (การหน่วงน้ำ) โดยการควบคุมอัตราการระบายน้ำฝนและน้ำทิ้งออกจากโครงการ ไม่ให้มากกว่าอัตราการระบายน้ำของพื้นที่โครงการก่อนมีโครงการ โดยให้แสดงรายการคำนวณอัตราการระบายน้ำก่อนและหลังมีโครงการ และระบบชะลอน้ำของโครงการ ที่มีวิศวกรลงนามรับรองประกอบไว้ในรายงานด้วย๒.๓.๔ การก่อสร้างรั้ว- กรณีมีคูคลองธรรมชาติหรือแหล่งน้ำสาธารณะประโยชน์อยู่ติดพื้นที่โครงการ ให้ก่อสร้างรั้วของโครงการบริเวณที่ติดกับคูคลองธรรมชาติหรือแหล่งน้ำสาธารณะดังกล่าว ให้มีลักษณะเป็นรั้วโปร่งอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของความสูงของรั้วทั้งหมด และจัดภูมิสถาปัตย์ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ พร้อมแสดงแผนผังและแบบแปลนประกอบให้ชัดเจน<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม37 <strong>Cs4.indd</strong> 43 3/5/2556 15:24:48


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๒.๓.๕ การอนุรักษ์พลังงาน- ต้องจัดให้มีมาตรการและวิธีการในการประหยัดไฟฟ้าและพลังงานของโครงการตั้งแต่การออกแบบ การวางผัง การเลือกใช้วัสดุทั้งภายในและภายนอกการใช้งานและการบำรุงรักษา โดยแยกเป็นมาตรการที่เจ้าของโครงการเป็นผู ้ปฏิบัติและมาตรการรณรงค์ให้ผู ้พักอาศัยหรือผู ้ใช้อาคารปฏิบัติ รวมทั้งดำเนินการให้สอดคล้องตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน๒.๓.๖ การบำบัดน้ำเสีย- ในกรณีที่โครงการตั้งอยู ่ในพื้นที่ให้บริการรวบรวมและบำบัดน้ำเสียรวมของหน่วยงานท้องถิ่น ให้พิจารณาใช้บริการบำบัดน้ำเสียรวมดังกล่าว แทนการบำบัดเอง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์พลังงาน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียและการดูแลรักษา ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติในการใช้บริการตามที่หน่วยงานท้องถิ่นกำหนด38<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 44 3/5/2556 15:24:48


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๒.๔ รายละเอียดขั้นต่ำสำหรับการจัดทำรายงาน๒.๔.๑ จำนวนประชากรของโครงการ๑) อาคารอยู่อาศัยรวม ให้ประเมินจำนวนผู้พักอาศัย โดยพิจารณาจากพื้นที่ใช้สอยแต่ละหน่วย (ห้อง) กรณีที่พื้นที่ใช้สอยไม่เกิน ๓๕ ตารางเมตร ให้คิดผู้พักอาศัย ๓ คน และกรณีที่พื้นที่ใช้สอยเกินกว่า ๓๕ ตารางเมตร ให้คิดผู้พักอาศัย๕ คนขึ้นไป รวมทั้งจำนวนพนักงาน (มาตรฐานที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดของการเคหะแห่งชาติ กำหนดมาตรฐานพื้นที่ใช้สอยเบื้องต้น สำหรับ ๕ คน ต้องไม่ต่ำกว่า ๓๓ ตารางเมตร)๒) โรงแรม ให้ประเมินจำนวนผู ้ใช้บริการ ตามอัตรารองรับที่โครงการจะดำเนินการจริง รวมทั้งจำนวนพนักงานของโครงการ๓) โรงพยาบาล ให้ประเมินจำนวนผู ้ใช้บริการ ตามจำนวนเตียงผู ้ป่วยค้างคืน รวมทั้งจำนวนบุคลากรของโรงพยาบาล๔) จัดสรรที่ดิน ให้ประเมินจำนวนผู้พักอาศัย ไม่น้อยกว่า ๕ คน ต่อ๑ แปลงที่พักอาศัย๕) อาคารที่ใช้ในการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง และอาคารที่ใช้เป็นสำนักงานหรือที่ทำการของเอกชน ให้ประเมินจำนวนผู้ใช้บริการ ตามอัตรารองรับที่โครงการจะดำเนินการจริง รวมทั้งจำนวนพนักงานของโครงการ<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม39 <strong>Cs4.indd</strong> 45 3/5/2556 15:24:50


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๒.๔.๒ ปริมาณน้ำใช้๑) อาคารที่อยู่อาศัยรวม และจัดสรรที่ดิน ตามที่เกิดขึ้นจริงแต่ต้องไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ลิตร/คน/วัน๒) โรงแรม ตามที่เกิดขึ้นจริงแต่ต้องไม่น้อยกว่า ๗๕๐ ลิตร/ห้อง/วัน๓) โรงพยาบาล ตามที่เกิดขึ้นจริงแต่ต้องไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ลิตร/เตียง/วัน๔) สำหรับกิจกรรมอื่น ตามที่เกิดขึ้นจริงแต่ต้องไม่น้อยกว่าเกณฑ์ดังนี้- สโมสร/นันทนาการ ๓๐ ลิตร/คน/วัน- อาคารสำนักงาน ๓๘๐ ลิตร/วัน/๑๐๐ ตารางเมตร- ห้องอาหาร ๕๐ ลิตร/คน/วัน- ห้องประชุม ๑๐ ลิตร/ที่นั่ง/วัน40<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 46 3/5/2556 15:24:53


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย๒.๔.๓ ปริมาณและลักษณะน้ำเสีย๑) ปริมาณน้ำเสีย ให้คำนวณจากปริมาณน้ำใช้ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ของปริมาณน้ำใช้)๒) ค่า BOD ของน้ำเสีย ณ แหล่งกำเนิดก่อนผ่านกระบวนการบำบัดใดๆ ไม่น้อยกว่า ๒๕๐ มิลลิกรัม/ลิตร๒.๔.๔ ปริมาณขยะมูลฝอย๑) อาคารอยู่อาศัยรวม จัดสรรที่ดิน โรงแรม ให้เตรียมการไว้สำหรับขยะมูลฝอย ไม่น้อยกว่า ๓ ลิตร/คน/วัน หรือ ๑ กิโลกรัม/คน/วัน๒) โรงพยาบาล ให้เตรียมการไว้สำหรับมูลฝอยติดเชื้อไม่น้อยกว่า ๐.๓กิโลกรัม/เตียง/วัน และมูลฝอยทั่วไปไม่น้อยกว่า ๑ กิโลกรัม/เตียง/วัน๓) การประเมินปริมาณขยะมูลฝอยจากกิจกรรมอื่นๆ เช่น ภัตตาคารอาคารสำนักงาน เป็นต้น ให้พิจารณาตามที่เกิดขึ้นจริงอย่างสมเหตุสมผล พร้อมแสดงเอกสารที่ใช้อ้างอิง<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม41 <strong>Cs4.indd</strong> 47 3/5/2556 15:24:53


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยเอกสารอ้างอิงประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบ ปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (๒๕๕๕, ๒๔ เมษายน)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๙๗ ง<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>สิ่งแวดล้อม (๒๕๔๑) แนวทางในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (รายละเอียดขั้นต่ำ) สำหรับโครงการด้านที่พักอาศัย บริการชุมชน และสถานที่พักตากอากาศ กรุงเทพมหานคร กลุ่มงานโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย กองวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>สิ่งแวดล้อม (๒๕๔๒) แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการที่พักอาศัย บริการชุมชนและสถานที่พักตากอากาศ กรุงเทพมหานคร กลุ่มงานโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย กองวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>สิ่งแวดล้อม (๒๕๔๒) แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโรงพยาบาลและสถานพยาบาลกรุงเทพมหานคร กลุ ่มงานโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย กองวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (๒๕๕๕) ระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย กรุงเทพมหานครกลุ ่มพัฒนาระบบและติดตามตรวจสอบ สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม42<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 48 3/5/2556 15:24:53


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัยที่ปรึกษา นายสันติ บุญประคับนายนพดล ธิยะใจนายพงศ์บุณย์ ปองทองนางรวีวรรณ ภูริเดชนางปิยนันท์ โศภนคณาภรณ์คณะผู้ดำเนินการ นางอินทิรา เอื้อมลฉัตรนางสาวญาณิศา ศิริพรกิตตินางรสริน อมรพิทักษ์พันธ์นางพรรณนิภา สืบสิงห์นายพงษ์ศักดิ์ เอื้อสุวรรณานายสัญญา สืบสิงห์นางสาวศิริกาญจน์ ชลพิทักษ์วงศ์พิมพ์ครั้งที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่มISBN 978-616-316-069-0การอ้างอิง <strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม๒๕๕๖, แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย ; กรุงเทพฯจัดพิมพ์และเผยแพร่โดย <strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม๖๐/๑ ซอยพิบูลวัฒนา ๗ ถนนพระรามที่ ๖ แขวงสามเสนในเขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ออกแบบและพิมพ์โดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด บี.วี.ออฟเช็ตโทรศัพท์ ๐๘๑ ๖๕๒ ๓๗๗๙<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม43 <strong>Cs4.indd</strong> 49 3/5/2556 15:24:54


แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริการชุมชนและที่พักอาศัย46<strong>สำนักงานนโยบายและแผน</strong>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <strong>Cs4.indd</strong> 52 3/5/2556 15:24:54

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!