06.05.2014 Views

Binder

Binder

Binder

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

1<br />

แผ่นดินไหวกับประเทศไทย<br />

1. บทนำ <br />

แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่อง<br />

มาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียด ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาเพื่อปรับสมดุลของ<br />

เปลือกโลกให้คงที่ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายเวลา สถานที่ และความรุนแรงของ<br />

แผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการเกิดของ<br />

แผ่นดินไหวที่แท้จริง เพื่อเป็นแนวทางในการลดความเสียหายที่เกิดขึ้น <br />

<br />

ประเทศไทยไม่อาจจัดอยู่ในเขตที่ปลอดจากแผ่นดินไหวได้ ทั้งนี้เนื่องจากหลักฐานการบันทึก<br />

ประวัติศาสตร์ (historical earthquake data) จดหมายเหตุศิลาจารึกและพงศาวดารได้ ระบุว่า<br />

ประเทศไทยเคยได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวทั ้งขนาดปานกลางจนถึงขนาดใหญ่มาแล้วหลายครั้ง<br />

และยังความเสียหายให้กับพื้นที่ในหลายภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันตก<br />

แผ่นดินไหวครั้งสำคัญเมื่อ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 ตรวจพบมีจุดเหนือศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดน่าน<br />

มีขนาดถึง 6.5 ตามมาตราริกเตอร์ แผ่นดินไหวเช้าตรู่ของวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2526 บริเวณเขื่อน<br />

วชิราลงกรณ จังหวัดกาญจนบุรี มีขนาด 5.9 ตามมาตราริกเตอร์ รู้สึกได้ทั่วทั้งภาคกลางและ<br />

ภาคเหนือ อาคารในกรุงเทพมหานครเสียหายเล็กน้อย และแผ่นดินไหวเกิดที่อำเภอพาน จังหวัด<br />

เชียงราย เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2537 มีขนาด 5.1 ตามมาตราริกเตอร์ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ<br />

โรงพยาบาลอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย นอกจากนี้ ยังมีแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นแล้วมีจุดเหนือศูนย์เกิด<br />

แผ่นดินไหวอยู่ในบริเวณประเทศเพื่อนบ้านแล้วมีผลสั่นสะเทือนมาถึงประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณ<br />

ภาคตะวันตกและภาคเหนือ ข้อมูลที่ได้การเกิดแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้ (instrumental earthquake<br />

data) โดยกรมอุตุนิยมวิทยาทำให้ทราบว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว(epicenter) มีการกระจายตัว<br />

ในแถบพรมแดนไทย-สหภาพพม่า ไทย-ลาว, จีน-สหภาพพม่าหรือในทะเลอันดามัน ซึ่งยังสามารถ<br />

ตรวจวัดได้เป็นประจำจึงแสดงให้เห็นชัดว่าเปลือกโลกในบริเวณแถบดังกล่าวยังมีการเปลี่ยนแปลง<br />

อยู่ (dynamic) อันเป็นผลกระทบที่เกิดจากขบวนการแปรสัณฐาน (tectonic process) อันเป็นผล<br />

สืบเนื่องมาจากการชนกัน (collision) ระหว่างแผ่นเปลือกโลกอินเดีย (Indian lithospheric plate) กับ<br />

แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Eurasian lithospheric plate) นับตั้งแต่ 35-45 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งยังผลให้<br />

บางส่วนแผ่นอินเดียมุดตัว (subdution) ลงไปใต้แผ่นยูเรเซียและการมุดตัวยังคงดำเนินมาจนถึง<br />

ปัจจุบัน<br />

<br />

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและภัยของ<br />

แผ่นดินไหว ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เป็นการรวบรวม วิเคราะห์ และประเมินถึงสาเหตุการ<br />

เกิดแผ่นดินไหว การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก คลื่นแผ่นดินไหว การตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว<br />

_11-0290(001-062).indd 1<br />

3/28/11 9:45:03 PM


2<br />

การหาจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ความร้ายแรงของแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวกับภูมิภาคเอเชีย<br />

ตะวันออกเฉียงใต้ การศึกษาธรณีวิทยาแผ่นดินไหวในประเทศไทย เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศ<br />

ไทยและภูมิภาคใกล้เคียง บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย การเตรียมความพร้อมเพื่อ<br />

รับมือกับแผ่นดินไหว เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับนำไปใช้ในการวางแผนป้องกันและบรรเทาภัยที่<br />

อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยได้รวบรวมข้อมูลด้านแผ่นดินไหวที่มีอยู่แล้วทั้งของกรมทรัพยากรธรณี<br />

และจากหน่วยงานภายนอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ <br />

<br />

นอกจากนี้แล้ว ควรเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับด้านแผ่นดินไหว ให้แก่นักธรณีวิทยา วิศวกร <br />

เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นักอุตุนิยมวิทยา เจ้าหน้าที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น<br />

และประชาชนผู้สนใจ ซึ่งจะเป็นการลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งเป็นการ<br />

เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักวิชาการด้านแผ่นดินไหวด้วย<br />

<br />

2. สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว<br />

สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้น จัดแบ่งได้ 3 ชนิด คือ <br />

1) เกิดจากกระบวนการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก ทำให้เปลือกโลกเกิดการเคลื่อนไหวจน<br />

ทำให้เกิดรอยคดโค้ง รอยเลื่อน รอยแตกและรอยแยกขึ้นบนพื้นโลก แล้วจึงมีการปลดปล่อยพลังงาน<br />

ออกมาในรูปของคลื่นแผ่นดินไหว <br />

2) เกิดจากกระบวนการภูเขาไฟระเบิด (volcanism) โดยการเคลื่อนตัวของหินหนืด (magma)<br />

ใต้ผิวโลกตามเส้นทางสู่ปล่องภูเขาไฟ ก่อนที่จะระเบิดออกมาเป็นหินละลายหลอมเหลว (lava) <br />

สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ <br />

3) เกิดจากการกระทำของมนุษย์ อาทิเช่น การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อน<br />

การระเบิดเพื่อการสำรวจหรือเพื่อการก่อสร้าง <br />

<br />

ปัจจุบันกลไกการเกิดแผ่นดินไหว เท่าที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางมีอยู่ 2 ทฤษฎี คือ<br />

1) ทฤษฎีว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก (dilation source) อธิบายว่า แผ่นดินไหว<br />

เกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการโค้งงออย่างฉับพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจะปลดปล่อย<br />

พลังงานออกมา ในรูปของคลื่นแผ่นดินไหว<br />

2) ทฤษฎีว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ (elastic rebound) อธิบายว่า การสั่นสะเทือนเกิดจาก<br />

การเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน (fault) กล่าวคือเมื่อการเลื่อนตัวถึงจุดหนึ่งวัตถุจะขาดออกจากกัน <br />

พร้อมกับการปลดปล่อยพลังงานออกมารูปแบบหนึ่งและหลังจากนั้นวัตถุจะคืนตัวกลับเข้ารูปเดิม <br />

ทฤษฎีนี้สนับสนุนแนวความคิดที่เชื่อว่า แผ่นดินไหว มีกลไกการกำเนิดเกี่ยวข้องโดยตรงและใกล้ชิด<br />

กับแนวรอยเลื่อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากผลของการแปรสัณฐานของเปลือกโลกโดยตรง โดยเฉพาะ<br />

รอยเลื่อนมีพลัง (active fault) <br />

<br />

<br />

_11-0290(001-062).indd 2<br />

3/28/11 9:45:03 PM


3. การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก<br />

นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาและรวบรวมข้อมูล เพื่อสรุปเป็นทฤษฎีอธิบายสาเหตุการ<br />

เกิดของแผ่นดินไหว ในปัจจุบันทฤษฎีการแปรสัณฐานแบบแผ่น (Plate Tectonics Theory) ได้รับ<br />

การยอมรับมากที่สุด ทฤษฎีนี้พัฒนามาจากทฤษฎีว่าด้วยทวีปเลื่อน (Theory of Continental Drift)<br />

ของอัลเฟรด โลทาร์ เวเกเนอร์ (Alfred Lothar Wegener พ.ศ. 2423 - 2473 นักวิทยาศาสตร์<br />

ชาวเยอรมัน) ซึ่งเสนอไว้เมื่อ พ.ศ. 2455 ต่อมา แฮร์รี แฮมมอนด์ เฮสส์ (Harry Hammond Hess <br />

พ.ศ. 2449 - 2512 นักธรณีวิทยาชาวอเมริกัน) ได้เสนอแนวคิดที่พัฒนาใหม่นี้ในทศวรรษ 2500 <br />

<br />

ทฤษฎีการแปรสัณฐานแบบแผ่น ได้อธิบายว่า ปรากฏการณ์แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนที่<br />

ของเปลือกโลกเป็นขั้นตอนดังนี้ เมื่อโลกแยกตัวจากดวงอาทิตย์มีสภาพเป็นกลุ่มก๊าซร้อน ต่อมา<br />

เย็นตัวลงเป็นของเหลวร้อน บริเวณผิวส่วนนอกเย็นตัวลงได้เร็วกว่าจึงแข็งตัวก่อน ส่วนใจกลาง<br />

ของโลกยังคงหลอมเหลว ประกอบด้วยธาตุโลหะหนัก ในทางธรณีวิทยาได้แบ่งโครงสร้างของโลก<br />

ออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ เรียกว่า เปลือกโลก (crust) เนื้อโลก (mantle) และแก่นโลก (core)<br />

(รูปที่ 1)<br />

3<br />

กิโลเมตร<br />

รูปที่ 1 แบบจำลองโครงสร้างของโลก (คัดลอกจาก http://www.dept.kent.edu/geology/ehlab/<br />

tectonics/tectonics.htm)<br />

_11-0290(001-062).indd 3<br />

3/28/11 9:45:04 PM


4<br />

เปลือกโลกเป็นส่วนที่เป็นของแข็งและเปราะ ห่อหุ้มอยู่ชั้นนอกสุดของโลกจนถึงระดับความลึก<br />

ประมาณ 50 กิโลเมตร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรณีภาคชั้นนอกหรือลิโทสเฟียร์ (Lithosphere) ใต้ชั้น<br />

นี้ลงไปเป็นส่วนบนสุดของชั้นเนื้อโลกอยู่ที่ระดับความลึก 100 ถึง 250 กิโลเมตรเรียกว่า ธรณีภาค<br />

ชั้นกลางหรือแอสเทโนสเฟียร์ (asthenosphere) ที่ระดับความลึก 100 ถึง 350 กิโลเมตร พบว่ามี<br />

ลักษณะเป็นหินละลายหลอมเหลวที่เรียกว่าหินหนืด (magma) มีความอ่อนตัวและยืดหยุ่นได้ใต้จาก<br />

ธรณีภาคชั้นนอกลงไป ยังคงเป็นส่วนที่เป็นเนื้อโลกอยู่ จนกระทั่งถึงระดับความลึกประมาณ 2,900<br />

กิโลเมตรจากผิวโลก จึงเปลี่ยนเป็นชั้นแก่นโลก ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชั้นย่อยคือ แก่นโลกชั้นนอกและแก่น<br />

โลกชั้นใน โดยแก่นโลกชั้นในนั้นจะอยู่ลึกสุดจนถึงจุดศูนย์กลางของโลก ที่ระดับความลึกประมาณ<br />

6,378 กิโลเมตร จากผิวโลก (รูปที่ 2)<br />

รูปที่ 2 การแบ่งส่วนนอกของโลกเป็น 2 ส่วน ตามคุณสมบัติทางกายภาพเป็นธรณีภาค (Lithosphere)<br />

คือชั้นที่ประกอบไปด้วยชั้นเปลือกโลก และส่วนบนของชั้นเนื้อโลก มีคุณสมบัติแข็งและเปราะ<br />

และธรณีภาคชั้นกลาง (Asthenosphere) มีคุณสมบัติอ่อนนุ่มสามารถไหลได้ทำให้เปลือกโลกทวีป<br />

(Continental crust) และเปลือกโลกมหาสมุทร (Oceanic crust) ที่มีความแข็ง วางตัวอยู่บนส่วนธรณี<br />

ภาคชั้นกลาง (Asthenosphere) ได้ (คัดลอกจาก http://www.physicalgeography.net)<br />

_11-0290(001-062).indd 4<br />

3/28/11 9:45:04 PM


5<br />

การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก (Plate motion) เป็นลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี 2<br />

แผ่นที่อยู่ติดกัน สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 รูปแบบ ตามลักษณะการเคลื่อนที่สัมพันธ์กันระหว่าง<br />

แผ่นธรณีทั้งสอง <br />

เปลือกโลกแยกตัว (Divergent plate motion) เนื่องจากมีการดันตัวของหินหนืดขึ้นมาจาก<br />

ชั้นเนื้อโลก เมื่อเย็นตัวลงและแข็งตัวกลายเป็นหินยึดติดกับขอบของแผ่นธรณี กลายเป็นส่วนหนึ่งของ<br />

แผ่นธรณีที่กำลังเคลื่อนที่ (รูปที่ 3)<br />

รูปที่ 3 แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกแยกตัว<br />

(คัดลอกจาก http://www.ac.wwu.edu/~debari/406/lec1.html)<br />

_11-0290(001-062).indd 5<br />

3/28/11 9:45:05 PM


6<br />

เปลือกโลกลู่เข้าหากัน (Convergent plate motion) เป็นบริเวณที่แผ่นธรณีหนึ่งแผ่นมุดตัว<br />

ลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง ตามแนวบริเวณที่เรียกว่าเขตการมุดตัว (subduction zone) เมื่อเปลือกโลกจมตัว<br />

ลงสู่เนื้อโลก จะร้อนขึ้นจนหลอมเหลวกลายเป็นหินหนืด จึงแทรกดันตัวขึ้นสู่ผิวโลกและอาจปะทุเป็น<br />

แนวภูเขาไฟได้ (รูปที่ 4)<br />

รูปที่ 4 แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน โดยที่ <br />

ก) เปลือกโลกทวีปกับเปลือกโลกมหาสมุทร <br />

ข) เปลือกโลกมหาสมุทรกับเปลือกโลกมหาสมุทร <br />

ค) เปลือกโลกทวีปกับเปลือกโลกทวีป <br />

(คัดลอกจากhttp://pubs.usgs.gov/gip/dynamic/dynamic.html)<br />

_11-0290(001-062).indd 6<br />

3/28/11 9:45:06 PM


7<br />

เปลือกโลกเคลื่อนผ่านกัน (Transform plate motion) เป็นบริเวณที่แผ่นธรณีหนึ่งแผ่น<br />

เคลื่อนที่ผ่านกันกับอีกแผ่นหนึ่งทางด้านข้าง ซึ่งก่อให้เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง เช่นรอยเลื่อน<br />

ซานแอนเดรียส (San Andreas fault) ประเทศสหรัฐอเมริกา (รูปที่ 5)<br />

ประเทศเม็กซิโก<br />

รูปที่ 5 แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนที่ผ่านกัน เช่นบริเวณภาคตะวันตก<br />

ของประเทศสหรัฐอเมริกา<br />

(คัดลอกจาก http://www.dept.kent.edu/geology/ehlab/tectonics/tectonics.htm)<br />

_11-0290(001-062).indd 7<br />

3/28/11 9:45:07 PM


8<br />

การเกิดแผ่นดินไหวนั้น ส่วนใหญ่จำกัดอยู่เฉพาะที่ชั้นของเปลือกโลก โดยที่เปลือกโลกไม่ได้<br />

เป็นชิ้นเดียวกันทั้งหมด เนื่องจากเมื่อของเหลวที่ร้อนจัดปะทะชั้นเปลือกโลก ก็จะดันตัวออกมา (รูปที่<br />

6 และรูปที่ 7) แนวรอยแยกของเปลือกโลกจึงเป็นแนวที่เปราะบางและเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว<br />

ภูเขาไฟระเบิดถี่มาก จากการบันทึกประวัติปรากฏการณ์แผ่นดินไหว ทำให้สามารถแบ่งเปลือกโลก<br />

ได้เป็น 13 แผ่น (รูปที่ 8) คือ แผ่นยูเรเชีย (Eurasian Plate) แผ่นแปซิฟิก (Pacific Plate) แผ่นอินเดีย-<br />

ออสเตรเลีย (Indian-Australian Plate) แผ่นฟิลิปปินส์ (Philippines Plate) แผ่นอเมริกาเหนือ (North<br />

American Plate) แผ่นอเมริกาใต้ (South American Plate) แผ่นแอฟริกา (African Plate) แผ่น<br />

แอนตาร์กติก (Antarctic Plate) แผ่นนัซกา (Nazca Plate) แผ่นโคโคส (Cocos Plate) แผ่นแคริบเบียน<br />

(Caribbean Plate) แผ่นฮวนเดฟูกา (Juan de Fuca Plate) และแผ่นอาหรับ (Arabian Plate) <br />

<br />

แผ่นเปลือกโลกที่กล่าวมาแล้วไม่ได้อยู่นิ่ง แต่มีการเคลื่อนที่คล้ายการเคลื่อนย้ายวัตถุบน<br />

สายพานลำเลียงสิ่งของ ผลจากการสำรวจท้องมหาสมุทรในช่วงทศวรรษ 2490 พบว่า มีแนวเทือกเขา<br />

กลางมหาสมุทรรอบโลก (Global Mid Ocean Ridge) ซึ่งมีความยาวกว่า 50,000 กิโลเมตร กว้างกว่า<br />

800 กิโลเมตร และผลจากการศึกษาทางด้านธรณีวิทยาพบว่า หินบริเวณเทือกเขาเหล่านี้<br />

เป็นหินใหม่ที่มีอายุน้อยกว่าหินที่อยู่ในแนวถัดออกมา ที่เกิดเป็นแนวยาวขนานสองด้านกับรอยแตก<br />

กึ่งกลางมหาสมุทร เมื่อหินหนืดภายใต้เปลือกโลกดันออกมาจากกันทีละน้อย ส่งผลให้เกิดการ<br />

เคลื่อนที่ของเปลือกโลกต่างๆ (รูปที่ 9)<br />

รูปที่ 6 โครงสร้างของโลกและการเคลื่อนที่ของกระแสพาความร้อน (Convection currents)<br />

คัดลอกจาก http://www.pubs.usgs.gov/gip/dynamic/dynamic.html<br />

_11-0290(001-062).indd 8<br />

3/28/11 9:45:08 PM


9<br />

รูปที่ 7 แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกและการเคลื่อนที่แบบกระแสพาความร้อน<br />

(Convection currents) (คัดลอกจาก http://www.pubs.usgs.gov/gip/dynamic/dynamic.html)<br />

รูปที่ 8 แสดงแผ่นเปลือกโลกจำนวน 13 แผ่น รวมทั้งทิศทางการเคลื่อนที่และอัตราการ เคลื่อนตัว<br />

(คัดลอกจาก www.indina.edu/geo/116/week7.htm)<br />

_11-0290(001-062).indd 9<br />

3/28/11 9:45:09 PM


10<br />

รูปที่ 9 แสดงการเกิดแนวเทือกเขากลางมหาสมุทร ซึ่งถูกแรงดันจากหินหนืดภายในเปลือกโลก<br />

ดันออกจากกันทีละน้อย ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกต่างๆ<br />

(คัดลอกจาก http://www.clastatela.edu/geology/ehlab/tectonics/seafloor.htm)<br />

4. คลื่นแผ่นดินไหว<br />

ขณะที่เปลือกโลกยึดติดกันอยู่ แรงดันของของเหลวภายใต้เปลือกโลกจะทำให้รอยต่อ<br />

เกิดแรงเค้น (Stress) เปรียบเทียบได้กับการดัดไม้ ซึ่งไม้จะถูกดัดงอและสะสมแรงเค้นไปเรื่อยๆ <br />

จนแรงเค้นเกินจุดแตกหัก ไม้ก็จะหักออกจากกัน ในทำนองเดียวกัน เมื่อเปลือกโลกสะสมแรงเค้น<br />

ถึงจุดแตกหัก เปลือกโลกจะเคลื่อนที่สัมพัทธ์กัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเปลือกโลก<br />

พร้อมทั ้งปลดปล่อยพลังงานออกมา เกิดแรงสั่นสะเทือนเป็นคลื่นแผ่นดินไหว ซึ่งคนเราสามารถรู ้สึกได้<br />

และสร้างความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างทั่วไป <br />

<br />

การส่งผ่านพลังงานที่เปลือกโลกปลดปล่อยจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง เกิดจากการเคลื่อนตัวของ<br />

อนุภาคในชั้นดิน การเคลื่อนตัวของอนุภาคดังที่กล่าวมานี้จะมีลักษณะคล้ายคลื่น จึงเรียกว่า <br />

คลื่นแผ่นดินไหว ซึ่งจะแพร่กระจายจากจุดกำเนิดในทุกทิศทุกทาง คลื่นแผ่นดินไหวแบ่งออกเป็น <br />

2 ประเภทใหญ่ๆ คือคลื่นภายในตัวกลาง (body waves) และคลื่นผิวโลก (surface waves)<br />

_11-0290(001-062).indd 10<br />

3/28/11 9:45:10 PM


11<br />

คลื่นภายในโลกเป็นคลื่นความสั่นสะเทือนที่เดินทางอยู่ภายในโลกแบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิด<br />

ตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและการแกว่งตัว (oscillation) ของอนุภาคตัวกลางขณะที่คลื่น<br />

เคลื่อนที่ผ่านได้แก่<br />

1) คลื่นตามยาวหรือคลื่นปฐมภูมิ (Logitudinal หรือ Primary waves: P-Wave) เป็นคลื่น<br />

ความสั่นสะเทือนที่เคลื่อนที่ออกไปโดยที่อนุภาคหรือมวลสารถูกแรงอัด จนสั่นและขยายตัว (expansion<br />

rarefaction) ไปมาเรื่อยๆ ในทิศทางเดียวกันกับการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นชนิดนี้ยังเรียกได้อีกหลาย<br />

ชื่อ เช่น Dilation waves, Irrotation waves, Push waves เนื่องจากคลื่นเคลื่อนที่ได้เร็ว จึงเดินทางเข้า<br />

เครื่องบันทึกก่อนคลื่นอื่นจึงเรียกว่าคลื่นปฐมภูมิ อนุภาคที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งผ่านคลื่น<br />

ออกไป จะเกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาตร (dilation) ของอนุภาคแผ่รัศมีออกโดยรอบ คลื่นนี้เคลื่อนที่<br />

ด้วยความเร็ว 1.5 - 8 กิโลเมตร/วินาที <br />

2) คลื่นตามขวางหรือคลื่นทุติยภูมิ (Traverse หรือ Secondary waves : S-Wave) เป็นคลื่น<br />

ความสั่นสะเทือนที่เคลื่อนที่ออกไปแล้วทำให้อนุภาคหรือมวลสารที่ถูกแรงเฉือน (shear) เกิดการสั่น<br />

ในแนวที่ตั ้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น บางทีเรียกคลื่นชนิดนี ้ว่า คลื่นหมุน (Rotation waves)<br />

เนื่องจากเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ได้ช้า จึงเดินทางเข้าเครื่องบันทึกได้ช้ากว่าคลื่นปฐมภูมิ จึงเรียกว่าคลื่น<br />

ทุติยภูมิ อนุภาคตัวกลางในการส่งผ่านคลื่นจะไม่แสดงการเปลี่ยนแปลงทางปริมาตร แต่จะเสียรูปไป<br />

(dilation) คลื่นนี้จะเคลื่อนที่ ด้วยความเร็วประมาณร้อยละ 60 - 70 ของคลื่นปฐมภูมิ<br />

คลื่นในตัวกลางทั้งสองชนิดนี้ ทำให้มวลอนุภาคตัวกลางเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (รูปที่ 10) โดย<br />

ปกติคลื่นตามยาวเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าคลื่นตามขวางเกือบสองเท่าและคลื่นตามขวางไม่สามารถ<br />

เคลื่อนที่ของเหลวได้<br />

แรงขยาย แรงอัด จุดสมดุล<br />

คลื่นปฐมภูมิ<br />

ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นปฐมภูมิ<br />

คลื่นทุติยภูมิ<br />

ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นทุติยภูมิ<br />

รูปที่ 10 แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่นในตัวกลางโลก (คัดลอกจาก http://www.geo.mtu.edu/<br />

UPSeis/swave_web.jpg)<br />

_11-0290(001-062).indd 11<br />

3/28/11 9:45:10 PM


12<br />

คลื่นพื้นผิวคือ คลื่นความไหวสะเทือนที่เคลื่อนที่ไปตามผิวโลกหรือขนานไปกับผิวโลก แต่ไม่<br />

ลึกนัก อาจเปลี่ยนแปลงมาจากคลื่นภายในโลกอีกที คลื่นที่สำคัญมี 2 ชนิด คือ<br />

1) คลื่นเรย์ลี (Rayleigh) เป็นคลื่นความสั่นสะเทือนไปตามระนาบ ทำให้อนุภาคตัวกลางสั่น<br />

ในลักษณะวงรี และค่อยๆ ลดลงเมื่ออยู่ห่างจากจุดกำเนิด (retrograde elliptical motion) คลื่นชนิดนี้<br />

ค้นพบโดย ลอร์ด เรย์ลี (Lord Rayleigh) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ มักใช้ชื่อย่อว่า R-wave ทำให้อนุภาค<br />

เกิดการสั่นในแนวดิ่ง (vertical ground motion) <br />

2) คลื่นเลิฟ (Love Waves) เป็นคลื่นความสั่นสะเทือนตามขวางที่ไปตามผิวระนาบ ทำให้<br />

อนุภาคเกิดการสั่นในแนวราบ (horizontal ground motion) ในทิศทางตั้งฉากกับแนวการเคลื่อนที่ ให้<br />

ชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อออร์กาต๊าน เอ็ดเวอร์ ฮุด โลฟ (Augustus Edward Hough Love)<br />

ความเร็วคลื่นขึ้นกับความถ่วงจำเพาะและความแกร่งของตัวกลาง<br />

คลื่นพื้นผิว (รูปที่ 11) ที่มีความยาวคลื่นมาก มักจะปล่อยพลังงานออกมามากกว่าพวกที่มี<br />

ความยาวคลื่นสั้นและยิ่งลึกลงไปความเร็วคลื่นก็จะยิ่งเร็วมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงความเร็วคลื่น<br />

เนื่องจากความยาวคลื่นและความถี่ เรียกว่าการแพร่กระจาย การศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงความเร็ว<br />

คลื่นพื้นผิว ทำให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเปลือกโลก และเนื้อโลกตอนบนได้มากตัวอย่างคลื่น<br />

แผ่นดินไหว (รูปที่ 12)<br />

ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นเรย์ลี<br />

รูปที่ 11 แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่นพื้นผิว (คัดลอกจาก http://www.lamit.ro/images/<br />

earthquake-l-r-waves-passage.jpg)<br />

_11-0290(001-062).indd 12<br />

3/28/11 9:45:11 PM


13<br />

รูปที่ 12 ตัวอย่างการวิเคราะห์ลักษณะของคลื่นแผ่นดินไหวที่เกิดห่างจากเมืองเดนเวอร์ รัฐโคโรราโด<br />

1,000 ไมล์ (คัดลอกจาก http://www.calstatela.edu/faculty/acolvil/quakes/seisgram.jpg)<br />

5. การตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว <br />

คลื่นแผ่นดินไหว (Seismic wave) หรือคลื่นที่ทำให้เกิดอาการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว<br />

ที่ส่งผ่านมายังผิวโลกและสามารถบันทึกไว้ได้ด้วยเครื่องวัดความไหวสะเทือน (Seismometer) ในรูป<br />

ของกราฟแผ่นดินไหว (Seismogram) กราฟแผ่นดินไหวเป็นเส้นขึ้นลงสลับกันแสดงถึงอาการสั่น<br />

สะเทือนของพื้นดินใต้เครื่องวัดแผ่นดินไหวนั้น เครื่องมือวัดความไหวสะเทือนเกิดขั้นครั้งแรกโดย<br />

นักวิทยาศาสตร์ชาวจีน ชื่อ จางเหิง (Chang heng) เมื่อ ค.ศ. 132 ลักษณะคล้ายไหเหล้าทำด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ รอบๆ ไหมีมังกรเล็กๆ 8 ตัว แต่ละตัวหันไปคนละทิศที่ปากมังกรอมลูกทองแดง<br />

ด้านล่างมีกบแปดตัวอ้าปากเงยหน้าขึ้น (รูปที่ 13)<br />

<br />

ข้อมูลคลื่นแผ่นดินไหวทั่วโลก ได้มาจากการติดตั้งเครือข่ายของเครื่องมือตรวจวัดความไหว<br />

สะเทือน ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถทราบถึงขนาดและตำแหน่ง โดยเครื่องมือตรวจวัด<br />

ความไหวสะเทือน มีหลักการทำงานง่ายๆ ประกอบด้วย เครื่องรับความสั่นสะเทือน แปลงสัญญาณ<br />

ความสั่นสะเทือนเป็นสัญญาณไฟฟ้า จากนั้นถูกขยายด้วยระบบขยายสัญญาณและแปลงกลับมา<br />

เป็นการสั่นไหวอีกครั้ง แล้วบันทึกลงบนกระดาษตลอดเวลา (24 ชั่วโมง) พร้อมกับมีการบันทึกเวลา<br />

อย่างต่อเนื่อง ทำให้ทราบว่าคลื่นแผ่นดินไหวเดินทางมาถึงสถานีเมื่อไหร่ รัศมีการตรวจรับคลื่น<br />

แผ่นดินไหวสามารถตรวจรับคลื่นแผ่นดินไหวได้ทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่การคำนวณตำแหน่ง เวลาเกิด<br />

และขนาดแผ่นดินไหว จะคำนวณเฉพาะคลื่นใกล้ ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีไม่เกิน 1,000 กิโลเมตร<br />

<br />

เครื่องมือตรวจวัดไหวสะเทือน ปัจจุบันมี 2 แบบ <br />

1) แบบวัดความเร็วของคลื่นสั่นสะเทือน (Seismograph) เป็นเครื่องมือที่ออกแบบเพื่อตรวจ<br />

วัดความเร็วของคลื่นสั่นสะเทือนของพื้นโลก ซึ่งมีทั้งระบบช่วงคลื่นสั้น (Short-Period Seismograph,<br />

SPS) และช่วงคลื่นยาว (Long-Period Seismograph, LPS) เครื่องมือวัดระบบช่วงคลื่นสั้นสามารถ<br />

ตรวจวัดแผ่นดินไหวในรัศมี 500 กิโลเมตร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับระบบช่วงคลื่นยาวนั้นเป็น<br />

ระบบที่สามารถตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวระยะไกล (Telesism Station) (รูปที่ 14) <br />

_11-0290(001-062).indd 13<br />

3/28/11 9:45:11 PM


14<br />

รูปที่ 13 เครื่องมือวัดความไหวสะเทือนในอดีตมีลักษณะคล้ายไหเหล้า ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ รอบๆ<br />

ไหมีมังกรเล็กๆ 8 ตัว แต่ละตัวหันไปคนละทิศที่ปากมังกรอมลูกทองแดง ด้านล่างมีกบ 8 ตัว<br />

อ้าปากเงยหน้าขึ้น (คัดลอกจาก http://www.tapapa.govt.nz และ http://www.lspace.org/ftp/<br />

images/misc/seismograph.jpg)<br />

2) แบบวัดอัตราเร่งของคลื่นสั่นสะเทือน (Strong Motion Accelerograph, SMA)<br />

เป็นเครื่องมือที่ออกแบบเพื่อใช้วัดการสั่นสะเทือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าอัตราเร่งของพื้นดิน<br />

ในบริเวณนั้น ที่เกิดจากแผ่นดินไหวซึ่งวิศวกรสามารถนำค่าอัตราเร่งนี้ไปใช้ในการออกแบบ<br />

สิ่งก่อสร้าง เพื่อให้มีความปลอดภัยจากการเกิดแผ่นดินไหว <br />

ประเทศไทยเริ่มมีการตรวจวัดแผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. 2506 สถานีตรวจวัดแผ่นดินไหว<br />

แห่งแรกของกรมอุตุนิยมวิทยา ติดตั ้ง ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเข้าร่วมอยู่ในเครือข่ายระบบมาตรฐานโลก<br />

(Worldwide Standardized Seismograph Network : WWSSN) และต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นระบบ<br />

ไอริส (Incorporated Research Institutions of Seismology : IRIS) ซึ่งเป็นเครือข่ายโดยความร่วมมือ<br />

ของสถาบันการศึกษาหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา และบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านทาง<br />

เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทยาได้เพิ่มสถานีตรวจวัดความไหวสะเทือนในจังหวัด<br />

ต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 40 สถานี นอกจากนี้ยังมีหลายหน่วยงานที่ทำการตรวจวัดแผ่นดินไหว<br />

หลายวัตถุประสงค์เช่น สถานีวัดความสั่นสะเทือนของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ มีระบบเครือข่าย<br />

แบบอะเรย์ (Array) เพื่อการตรวจจับการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้พื้นดิน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง<br />

ประเทศไทยมีการตรวจวัดแผ่นดินไหว บริเวณรอบๆ เขื่อน กรมชลประทานมีเครือข่ายตรวจวัด<br />

แผ่นดินไหวบริเวณจังหวัดแพร่ น่าน พิษณุโลก ชุมพร และจังหวัดระนอง เพื่อศึกษาลักษณะการ<br />

เกิดแผ่นดินไหวก่อนการสร้างเขื่อน และกรมโยธาธิการและผังเมืองร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

วิจัยเรื่องการตอบสนองของอาคารจากความไหวสะเทือนของแผ่นดินไหว<br />

_11-0290(001-062).indd 14<br />

3/28/11 9:45:12 PM


15<br />

กรมทรัพยากรธรณี มีเครื่องมือตรวจวัดความไหวสะเทือนช่วงคลื่นสั้น (Short-Period <br />

Seismograph) ที่ติดตั้งคล่อมแนวรอยเลื่อนมีพลังเพื่อตรวจวัดพฤติกรรมการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน<br />

สปริง<br />

การเขยาสปริงในแนวขึ้นลง<br />

โดยมีน้ําหนักอยูดานลาง<br />

เที ยบได กั บการเกิ ด<br />

แผนดินไหวในแนวดิ่ง<br />

เครื่องบันทึก<br />

ความสั่นสะเทือน<br />

สปริง<br />

ปากกา<br />

ตุมถวงน้ําหนัก<br />

ตุมถวงน้ําหนัก<br />

เครื่องบันทึก<br />

ความสั่นสะเทือน<br />

ปากกา<br />

เครื่องวัดความไหวสะเทือนในแนวดิ่ง<br />

เครื่องวัดความไหวสะเทือนในแนวราบ<br />

รูปที่ 14 แสดงรูปแบบเครื่องมือบันทึกความไหวสะเทือนในแนวราบและแนวดิ่ง โดยที่แกนเครื่อง<br />

บันทึกความสั่นสะเทือนจะสามารถบันทึกได้ 24 ชั่วโมง<br />

_11-0290(001-062).indd 15<br />

3/28/11 9:45:12 PM


16<br />

_11-0290(001-062).indd 16<br />

3/28/11 9:45:18 PM


6. การหาจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว <br />

การหาตำแหน่งจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวที่มีความถูกต้องแม่นยำนั้น จะต้องมีเครือข่ายครอบ<br />

คลุมพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหว คือต้องมีสถานีตรวจวัดครอบคลุมจำนวนมาก หลักเกณฑ์อยู่ที่ความรู้<br />

เรื่องคลื่นแผ่นดินไหวที่รู้จักกันดีคือ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวจะมีคลื่นปฐมภูมิ และคลื่นทุติยภูมิ ซึ่งมี<br />

ความเร็วที่ต่างกัน ดังนั้นเมื่อสถานีหนึ่งรับคลื่นทั้งสองแล้ว เวลาที่รับจะต่างกันเนื่องจากความเร็วที่<br />

ไม่เท่ากัน สถานีตรวจวัดต่างๆ ที่ได้รับคลื่นทั้งสองจะสามารถบอกได้ถึงระยะทางของจุดศูนย์เกิด<br />

แผ่นดินไหว แต่จะไม่สามารถบอกถึงทิศทางได้ ดังนั้นสถานีตรวจวัดความไหวสะเทือนต่างๆ จะ<br />

สามารถบอกแต่รัศมีของการเกิดเท่านั้น ยิ่งมากสถานีตรวจวัดความไหวสะเทือนมากเท่าไร ก็จะ<br />

สามารถบอกตำแหน่งจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวที่แม่นยำยิ่งขึ้น <br />

<br />

หลักการหาจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวทั่วๆ ไป คือ ต้องพยายามหาระยะทางจากจุดศูนย์เกิด<br />

แผ่นดินไหว ไปยังสถานีวัดความไหวสะเทือนให้ได้อย่างน้อย 3 สถานี เรียกว่าระยะระหว่างจุดที่เกิด<br />

แผ่นดินไหวไปยังสถานีวัดความไหวสะเทือนว่า Epicenteral Distance ซึ่งสามารถคำนวณหาระยะทาง<br />

ถึงจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวได้ โดยเอาเวลาที่คลื่นตามยาวหรือคลื่นปฐมภูมิมาถึง ลบด้วยเวลาที่คลื่น<br />

ตามขวางหรือคลื่นทุติยภูมิมาถึง (เวลาเป็นวินาที) คูณด้วยแฟกเตอร์ 8 (ความเร็วเฉลี่ยของคลื่น<br />

แผ่นดินไหว มีหน่วยเป็นกิโลเมตร/วินาที) จะได้ระยะทางโดยประมาณเป็นกิโลเมตร <br />

<br />

ระยะทางถึงจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว = (S - P) x 8 <br />

- S คือ เวลาที่คลื่นตามยาวหรือคลื่นปฐมภูมิเคลื่อนที่มาถึง <br />

- P คือ เวลาที่คลื่นตามขวางหรือคลื่นทุติยภูมิเคลื่อนที่มาถึง <br />

<br />

คลื่นแผ่นดินไหวจะเคลื่อนที่ไปรอบโลก ฉะนั ้น หากเรามีเครื่องมือที่ละเอียดเพียงพอ ก็สามารถ<br />

ตรวจวัดการเกิดแผ่นดินไหว จากที่ไหนก็ได้บนโลก (รูปที่ 15 และรูปที่ 16)<br />

<br />

การเกิดแผ่นดินไหวจะมีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนต่างๆ ซึ่งรอยเลื่อนสามารถ<br />

แบ่งโดยใช้การเคลื่อนตัวที่ปรากฏให้เห็น สามารถเรียกชื่อรอยเลื่อนเป็น 5 แบบคือ รอยเลื่อนปรกติ<br />

(Normal fault) รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (Thrust fault) หรือรอยเลื่อนย้อน (Reverse fault) รอยเลื่อนแนว<br />

ระดับแบบเหลื่อมซ้าย (Left-lateral strike slip fault) และรอยเลื่อนแนวระดับแบบเหลื่อมขวา <br />

(Right-lateral strike slip fault) (รูปที่ 17)<br />

<br />

โดยทั่วไปเราเรียกตำแหน่งที่เกิดแผ่นดินไหวจริงๆ ใต้ผิวโลกลึกลงไปว่า จุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว<br />

(Earthquake Focus หรือ Hypocenter) และเรียกตำแหน่งบนพื้นผิวโลกที่คลื่นแผ่นดินไหวเดินทางมา<br />

ถึงก่อนว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (Epicenter) ซึ่งเป็นตำแหน่งบนผิวโลกเหนือจุดที่เกิด<br />

แผ่นดินไหวจริงๆ หรือเป็นจุดตัดบนผิวโลกจากการลากเส้นจากจุดศูนย์กลางของโลกมายังจุดที่เกิด<br />

แผ่นดินไหวและต่อเลยไปตัดผิวโลก (รูปที่ 18) เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้น มักจะมีเหตุการณ์<br />

แผ่นดินไหวตาม (Aftershocks) ในทางธรณีวิทยาเราสามารถแบ่งจุดกำเนิดแผ่นดินไหว หรือการเกิด<br />

แผ่นดินไหวตามความลึกได้ 3 แบบ คือ<br />

17<br />

_11-0290(001-062).indd 17<br />

3/28/11 9:45:18 PM


18<br />

1) แผ่นดินไหวลึก (deep-focus earthquake) เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดอยู่ลึกกว่า 100<br />

กิโลเมตร มักพบในบริเวณที่เปลือกโลกมุดลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง พบใกล้กับแนวร่องทะเลและแนว<br />

ภูเขาไฟ<br />

2) แผ่นดินไหวลึกปานกลาง (intermediate earthquake) เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดอยู่<br />

ระหว่าง 70-100 กิโลเมตร มักพบในบริเวณเปลือกโลกแยกตัว หรือเคลื่อนที่ผ่านกัน เช่น สันกลาง<br />

มหาสมุทรแอตแลนติก<br />

3) แผ่นดินไหวตื้น (shallow earthquake) เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดลึกน้อยกว่า 70 กิโลเมตร <br />

มักพบในบริเวณเดียวกันกับแผ่นดินไหวระดับปานกลาง<br />

ระยะเวลาหลังจากเกิดแผ่นดินไหว (วินาที)<br />

25<br />

20<br />

15<br />

10<br />

5<br />

X<br />

กราฟแผ่นดินไหว<br />

Y<br />

เดนเวอร์ เซนต์จอห์น ลีมา<br />

คลื่นตามขวาง<br />

8 วินาที<br />

3 วินาที<br />

คลื่นตามยาว<br />

Z<br />

12 วินาที<br />

2000 4000 6000 8000 10,000<br />

ระยะทางจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (กิโลเมตร)<br />

รูปที่ 15 ตัวอย่างคลื่นแผ่นดินไหวที่สามารถตรวจวัดได้ (คัดลอกจาก http://www.indiana.edu/~geol116/<br />

week8/wk8.htm)<br />

_11-0290(001-062).indd 18<br />

3/28/11 9:45:19 PM


19<br />

ซานฟรานซิสโก<br />

ซิดนีย์<br />

รูปที่ 16 การหาศูนย์เกิดแผ่นดินไหวจากสถานีจำนวน 3 แห่ง (คัดลอกจาก http://www.calstatela.<br />

edu/faculty/acolvil/quakes/epi_location.jpg)<br />

รูปที่ 17 แบบจำลองการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนแบบต่างๆ ก) รอยเลื่อนปรกติ (Normal fault)<br />

ข) รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (Thrust fault) หรือรอยเลื่อนย้อน (Reverse fault) ค) รอยเลื่อนแนว<br />

ระดับเหลื่อมซ้าย (Left lateral strike-slip fault) และ ง) รอยเลื่อนแนวระดับเหลื่อมขวา <br />

(Right lateral strike-slip fault) (คัดลอกจาก http://www.geology.usgs.org)<br />

_11-0290(001-062).indd 19<br />

3/28/11 9:45:22 PM


20<br />

รูปที่ 18 การกำเนิดแผ่นดินไหว และพลังงานในรูปคลื่นความไหวสะเทือนหรือคลื่นแผ่นดินไหวที่<br />

ปลดปล่อยออกมา (คัดลอกจาก http://www.sci.tsu.ac.th/py371/images/stories/3-12.gif)<br />

ตัวอย่างลักษณะคลื่นแผ่นดินไหว (http://vulcan.wr.usgs.gov/Imgs/Gif/Monitoring/Seismic/quakes.gif)<br />

_11-0290(001-062).indd 20<br />

3/28/11 9:45:23 PM


7. ความร้ายแรงของแผ่นดินไหว<br />

ความร้ายแรงอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหวสามารถบอกได้ในรูปของความรุนแรง (Intensity)<br />

และขนาด (Magnitude) ของแผ่นดินไหว ซึ่งทั้งสองค่านี้แตกต่างกัน และมักจะใช้กันค่อนข้างสับสน <br />

ขนาดของแผ่นดินไหว (Magnitude) เกี่ยวข้องกับปริมาณของพลังงานซึ่งถูกปลดปล่อยออกมา<br />

ณ ตำแหน่งจุดกำเนิดแผ่นดินไหว ค่าขนาดแผ่นดินไหวนี้ขึ้นอยู่กับความสูงของคลื่นแผ่นดินไหว ที่<br />

บันทึกได้ด้วยเครื่องวัดความไหวสะเทือน ขนาดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งจึงมีได้ค่าเดียว ค่าที่บันทึกได้<br />

จากเครื่องวัดความไหวสะเทือน มิได้เป็นหน่วยวัดเพื่อแสดงผลของความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งการ<br />

ตรวจวัดขนาดแผ่นดินไหวเป็นการวัดกำลังหรือพลังงานที่ปลดปล่อยในการเกิดแผ่นดินไหว <br />

มาตราการวัดขนาดแผ่นดินไหวที่รู ้จักดี ได้แก่ มาตราริกเตอร์ ซึ่งเสนอโดย ชาลส์ เอฟ. ริกเตอร์<br />

(Charles F. Richter นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหว ชาวอเมริกัน) ใน พ.ศ. 2478 นายริกเตอร์<br />

ค้นพบว่า การวัดค่าแผ่นดินไหวที่ดีที่สุด ได้แก่ การวัดพลังงานจลน์ที่เกิดขึ้นในขณะเกิดแผ่นดินไหว<br />

บันทึกคลื่นแผ่นดินไหวจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวจำนวนมาก ในงานวิจัยของนายริกเตอร์แสดงให้<br />

เห็นว่า พลังงานแผ่นดินไหวที่สูงกว่าจะทำให้เกิดความสูงคลื่น (amplitude) ที่สูงกว่า เมื่อระยะทาง<br />

ห่างจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเท่ากัน<br />

ขนาดของแผ่นดินไหวเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่บ่งชี้ความร้ายแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น<br />

เมื่อเปรียบเทียบกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ระดับเป็นศูนย์ โดยกำหนดให้แผ่นดินไหวที่เกิดที่ระดับเป็น<br />

ศูนย์มีค่าความสูงของคลื่น 0.001 มิลลิเมตร ที่ระยะทาง 100 กิโลเมตร จากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว<br />

(Epicenter)<br />

สูตรที่ใช้คำนวณคือ<br />

M = log A- log A0<br />

เมื่อ M เป็นขนาดแผ่นดินไหว<br />

A เป็นความสูงของคลื่นสูงสุด<br />

A 0<br />

เป็นความสูงของคลื่นที่ระดับศูนย์<br />

เช่น หากคลื่นแผ่นดินไหวสูงสุดมีค่าความสูงของคลื่นเท่ากับ 10 มิลลิเมตร ที่วัดได้จากสถานี<br />

วัดความไหวสะเทือนที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว 100 กิโลเมตร จะหาขนาดแผ่นดินไหวได้<br />

ดังนี้<br />

M = log 10 - log 0.001<br />

= 1- (-3)<br />

= 4 หน่วย ตามมาตราริกเตอร์<br />

ในทำนองเดียวกันขนาดของแผ่นดินไหวมีความสูงของคลื่นที่สูงสุด 100 มิลลิเมตร ที่ระยะทาง<br />

100 กิโลเมตรจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว จะมีขนาด 5 หน่วย ตามมาตราริกเตอร์ ซึ่งคำนวณได้ดังนี้<br />

M = log 100 - log 0.0001<br />

= 2-(-3)<br />

= 5 หน่วย ตามมาตราริกเตอร์<br />

21<br />

_11-0290(001-062).indd 21<br />

3/28/11 9:45:24 PM


22<br />

ค่า M วัดจากเครื่องมือซึ่งระยะทางมักจะไม่ใช่ 100 กิโลเมตรจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว <br />

ดังนั้นค่าความสูงคลื่นแผ่นดินไหวจะมีค่าอย่างหนึ่ง แต่นักวิชาการแผ่นดินไหวจะแปรเปลี่ยนค่ามา<br />

เป็นระยะที่ 100 กิโลเมตร แล้วจะได้ค่าความสูงคลื่นแผ่นดินไหวอีกค่าหนึ่ง ทำให้หาค่า M ได้ตาม<br />

มาตรฐานของริกเตอร์<br />

<br />

ขนาดของแผ่นดินไหวตามมาตราริกเตอร์นี้ จะบอกได้เป็นตัวเลขจำนวนเต็มและจุดทศนิยม<br />

จะเห็นได้ว่า ค่าขนาดของแผ่นดินไหวจากขนาด 4 หน่วย ตามมาตราริกเตอร์ ไปเป็น 5 หน่วย ตาม<br />

มาตราริกเตอร์ ขนาดต่างกันเพียง 1 ระดับ แต่ขนาดความสูงคลื่นจะต่างกัน 10 เท่า ดังนั้น<br />

หากขนาดต่างกัน 3 ระดับ ความสูงคลื่นจะต่างกันถึง 1,000 เท่า ถ้าคิด เป็นพลังงาน จะมีค่าเป็น (มี<br />

หน่วยเป็นเอิร์ก, Erg) <br />

<br />

11.8 + 1.5M<br />

E = 10<br />

หากคิดเปรียบเทียบพลังงานของขนาดแผ่นดินไหวที่แตกต่างกัน 1 ระดับจะคำนวณได้เป็น<br />

<br />

1.5 (M2 - M1)<br />

E2/E1 = 10<br />

= 31.6 เท่า<br />

<br />

จะเห็นว่าพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาในแต่ละระดับมาตราริกเตอร์ จะประมาณ 30 เท่า ซึ่ง<br />

กันและกัน ดังนั้นถ้าต่างกัน 2 ระดับ พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจะต่างกันถึงประมาณ 900 เท่า<br />

และถ้าต่างกัน 3 ระดับ พลังงานจะมากกว่ากันถึงประมาณ 27,000 เท่า<br />

วิธีการคำนวณหาว่าแผ่นดินไหวมีขนาดเท่าใดนั้น สามารถคำนวณได้ดังนี้ (รูป 19) คือ<br />

1) วัดเวลาที่แตกต่างกันระหว่างคลื่นปฐมภูมิ (P) และคลื่นทุติยภูมิ (S) ออกมาเป็นระยะทาง<br />

เช่น กรณีนี้ได้ 24 วินาที<br />

2) วัดความสูงของการสั่นไหวได้ 23 มิลลิเมตร <br />

3) ถ้ากำหนดจุดลงไปบนมาตราส่วนในรูปที่ 19 ลากเส้นต่ออ่านค่าที่ได้ในมาตราส่วนเส้น<br />

กลางในที่นี้ได้ 5 นั่นคือค่าของขนาดแผ่นดินไหวแสดงได้ดังตารางที่ 1<br />

ตารางที่ 1 แสดงการจำแนกขนาดแผ่นดินไหว<br />

ขนาด (ตามาตราริกเตอร์)<br />

ระดับแผ่นดินไหว<br />

น้อยกว่า 3.0<br />

แผ่นดินไหวขนาดเล็กมาก (Micro)<br />

3.0 – 4.9 แผ่นดินไหวขนาดเล็ก (Minor)<br />

5.0 – 5.9 แผ่นดินไหวขนาดปานกลาง (Moderate)<br />

6.0 – 7.9 แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (Major)<br />

มากกว่า 8.0<br />

แผ่นดินไหวขนาดใหญ่มาก (Great)<br />

_11-0290(001-062).indd 22<br />

3/28/11 9:45:24 PM


23<br />

ความสูงของคลื่น<br />

(มม.)<br />

(วินาที)<br />

เวลาที่คลื่น P และ S เดินทางมาถึง<br />

ระยะทาง<br />

(กม.)<br />

S-P<br />

วินาที<br />

ขนาดแผนดินไหว<br />

ความสูงของคลื่น<br />

(มม.)<br />

รูปที่ 19 วิธีการคำนวณหาขนาดของแผ่นดินไหวอย่างง่าย ณ จุดที่สามารถตรวจวัด<br />

สำหรับการวัดขนาดแผ่นดินไหว ตามมาตราริกเตอร์ เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่วิธีการ<br />

ของนายริกเตอร์ยังไม่แม่นตรงนักในเชิงวิทยาศาสตร์ เพราะวิธีการคำนวณจึงจำกัดไว้เพียงที่แผ่นดิน<br />

ไหวขนาดไม่เกิน 7.0 และใช้กับแผ่นดินไหวในรัศมีไม่เกิน 650 กิโลเมตร ใน พ.ศ. 2520 ฮิรู คะนะโมะริ<br />

(Hiroo Kanamori นักธรณีฟิสิกส์ ชาวญี่ปุ่น) ได้เสนอวิธีวัดพลังงานโดยตรงจากการวัดการเคลื่อนที่<br />

ของรอยเลื่อน มาตราการวัดขนาดของคะนะโมะริ เรียกว่า ขนาดโมเมนต์แผ่นดินไหว (Moment <br />

Magnitude) <br />

<br />

_11-0290(001-062).indd 23<br />

3/28/11 9:45:24 PM


24<br />

ความรุนแรงของแผ่นดินไหว (Intensity) เป็นผลกระทบของแผ่นดินไหวที่มีต่อความรู้สึก<br />

ของคน และความเสียหายของอาคารและสิ่งก่อสร้าง และต่อสิ่งต่างๆ ของธรรมชาติ ความรุนแรงจะ<br />

มากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละแห่งที่ได้รับผลกระทบโดยขึ้นอยู่กับ ระยะทาง ว่าอยู่ห่างไกลจาก<br />

ตำแหน่งจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว มากน้อยเพียงใด และสภาพธรณีวิทยาของพื้นที่นั้นๆ <br />

<br />

ผลกระทบหรือความเสียหายจากแผ่นดินไหวที่เกิดบนผิวโลก เรียกว่าความรุนแรงของแผ่นดินไหว<br />

มาตราวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว กำหนดได้จากความรู้สึกของอาการตอบสนองของผู้คน การ<br />

เคลื่อนที่ของเครื่องเรือน เครื่องใช้ในบ้าน ความเสียหายของปล่องไฟ จนถึงขั้นที่ทุกสิ่งทุกอย่าง<br />

พังพินาศ มาตราวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวเรียกว่า “มาตราเมอร์คัลลี่” (Mercalli) ซึ่งมาตรา<br />

ความรุนแรงเมอร์คัลลีกำหนดขึ ้นครั ้งแรกโดย กวีเซปเป เมอร์คัลลี (Guiseppe Mercalli ชาวอิตาเลียน<br />

นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหวและภูเขาไฟ) ใน พ.ศ. 2445 ต่อมาปรับปรุงโดยแฮร์รี วูด (Harry <br />

Wood นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหว ชาวอเมริกัน) และแฟรงก์ นิวแมนน์ (Frank Neumann นัก<br />

วิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหว ชาวอเมริกัน) ใน พ.ศ. 2474 มาตราความรุนแรงเมอร์คัลลี่ มี 12 ระดับ<br />

(รูปที่ 20) จากระดับความรุนแรงที่น้อยมากจนไม่สามารถรู้สึกได้ ซึ่งต้องตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือ<br />

วัดแผ่นดินไหวเท่านั้น จนถึงขั้นรุนแรงที่สุดจนทุกสิ่งทุกอย่างพังพินาศ หน่วยระดับที่ใช้เป็นตัวเลข<br />

โรมันจัดลำดับขั้นความรุนแรงตามเลขโรมันจาก I-XII ซึ่งสามารถเปรียบเทียบขนาดแผ่นดินไหว<br />

ความรุนแรง และอัตราเร่งของคลื่นแผ่นดินไหวได้ดังตารางที่ 2<br />

ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบขนาดแผ่นดินไหว ความรุนแรง และอัตราเร่งของคลื่นแผ่นดินไหว<br />

ขนาดแผ่นดินไหว<br />

(Magnitude)<br />

ความรุนแรงตามมาตราเมอร์คัลลี่<br />

(Mercalli Intensity)<br />

อัตราเร่งพื้นดิน<br />

(Acceleration, %g)<br />

น้อยกว่า 3.0 I-II ประชาชนไม่รู้สึก แต่เครื่องตรวจวัดได้ น้อยกว่า 0.19<br />

3.0 – 3.9 III ประชาชนอยู่ในบ้านรู้สึกได้ 0.20 – 0.49<br />

4.0 – 4.9 IV-V ประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกได้ 0.50 – 1.90<br />

5.0 – 5.9 VI-VII ประชาชนทุกคนรู้สึกได้ อาคารเสียหายบ้าง 2.00 – 9.90<br />

6.0 – 6.9 VII-VIII ประชาชนตื่นตกใจและอาคารเสียหาย 10.00 – 19.90<br />

ปานกลาง<br />

7.0 – 7.9 IX-X อาคารเสียหายเกือบทั้งหมด 20.00 – 99.00<br />

มากกว่า 8.0 XI-XII ทุกอย่างถูกทำลายเกือบหมด มากกว่า 100.00<br />

g = แรงโน้มถ่วงของโลก, 9.8 เมตร/วินาที<br />

_11-0290(001-062).indd 24<br />

3/28/11 9:45:25 PM


25<br />

<br />

ความรุนแรง สภาพของแผ่นดินไหว ความรุนแรง สภาพของแผ่นดินไหว<br />

I อ่อนมาก<br />

คนธรรมดาจะไม่รู้สึก<br />

แต่เครื่องวัดสามารถ<br />

ตรวจจับได้<br />

VII แรงมาก<br />

ฝาห้องแยก ร้าว <br />

กรุเพดานร่วง<br />

<br />

II อ่อนมาก<br />

คนที่มีความรู้สึกไว<br />

จะรู้สึกว่าแผ่นดินไหว<br />

เล็กน้อย<br />

<br />

VIII ทำลาย <br />

ต้องหยุดขับรถยนต์<br />

ตึกร้าว ปล่องไฟพัง<br />

<br />

III เบา<br />

คนที่อยู่กับที่<br />

รู้สึกว่าพื้นสั่น<br />

<br />

IX ทำลายสูญเสีย<br />

บ้านพังตามแถบ<br />

รอยแยกของแผ่นดิน<br />

ท่อน้ำ ท่อก๊าซ<br />

ขาดเป็นท่อนๆ <br />

<br />

<br />

IV พอประมาณ<br />

คนที่สัญจรไปมา<br />

รู้สึกได้<br />

V ค่อนข้างแรง<br />

คนที่นอนหลับ<br />

ตกใจตื่น<br />

<br />

<br />

X วินาศภัย<br />

แผ่นดินแตกอ้า<br />

ตึกแข็งแรงพัง<br />

รางรถไฟคดโค้ง <br />

ดินลาดเขาเคลื่อนตัว<br />

หรือถล่มลงมา<br />

XI วินาศภัยใหญ่<br />

ตึกถล่ม สะพานขาด <br />

ทางรถไฟ ท่อน้ำและ<br />

สายไฟใต้ดินเสียหาย<br />

แผ่นดินถล่ม น้ำท่วม<br />

<br />

VI แรง<br />

ต้นไม้สั่น บ้านแกว่ง<br />

สิ่งปลูกสร้าง<br />

บางชนิดพัง<br />

<br />

XII มหาวิบัติ<br />

ทุกสิ่งทุกอย่าง<br />

บนพื้นถนนแถบนั้น<br />

เสียหายโดยสิ้นเชิง<br />

พื้นดินเคลื่อนตัว<br />

เป็นลูกคลื่น<br />

รูปที่ 20 ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวตามมาตราเมอร์คัลลี่ (Mercalli) มี 12 ระดับ<br />

_11-0290(001-062).indd 25<br />

3/28/11 9:45:26 PM


26<br />

8. แผ่นดินไหวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />

ภูมิภาคส่วนใหญ่บนพื้นผิวโลกมีแผ่นดินไหวขนาดเล็กหรือปานกลางเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเท่า<br />

นั้น แต่บางภูมิภาคกลับมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่และมีลักษณะเป็น<br />

แนวยาวต่อกันเรียกว่า แนวการไหวสะเทือน (Seismic belts) มักเกิดอยู่บริเวณ 3 แนวนี้คือ (รูปที่ 21)<br />

1) แนวภูเขาไฟและแผ่นดินไหวรอบมหาสมุทรแปซิฟิก หรือเรียกว่า “วงแหวนไฟ” (Ring of fire)<br />

ซึ่งเกิดแผ่นดินไหวประมาณร้อยละ 80<br />

2) แนวภูเขาแอลป์-หิมาลัย เริ่มจากอินโดนีเซียผ่านเกาะสุมาตรา สหภาพพม่า เทือกเขาหิมาลัย<br />

เมดิเตอร์เรเนียนจนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก<br />

3) แนวสันภูเขาไฟกลางมหาสมุทรแอตแลนติก อยู่ตามแนวสันเขากลางมหาสมุทรอินเดีย<br />

เชื่อมกับแนวในด้านตะวันออกของแอฟริกา<br />

รูปที่ 21 แนวการไหวสะเทือน (Seismic belts) มักเกิดขึ ้นเป็นประจำคือแนวภูเขาไฟและแผ่นดินไหวรอบ<br />

มหาสมุทรแปซิฟิก แนวภูเขาแอลป์-หิมาลัย และแนวสันภูเขาไฟกลางมหาสมุทรแอตแลนติก<br />

(คัดลอกจาก http://www.topex.ucsd.edu/es10/lectures/lecture06/plates.gif)<br />

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นย่านแผ่นดินไหวที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยมีเปลือกโลก<br />

ใกล้เคียงกันรวม 4 แผ่น ได้แก่ แผ่นยูเรเชีย แผ่นแปซิฟิก แผ่นอินเดีย-ออสเตรเลีย และแผ่น<br />

ฟิลิปปินส์ อีกทั้งเป็นที่บรรจบกันของแนวแผ่นดินไหว 2 แนวคือ แนวล้อมมหาสมุทรแปซิฟิก และ<br />

แนวแอลป์-หิมาลัย จึงทำให้เกิดแผ่นดินไหวเป็นจำนวนมาก <br />

_11-0290(001-062).indd 26<br />

3/28/11 9:45:27 PM


27<br />

ประเทศไทยตั้งอยู่บนแผ่นยูเรเชีย (รูปที่ 22) ใกล้รอยต่อระหว่างแผ่นยูเรเชียกับแผ่นอินเดีย-<br />

ออสเตรเลีย มีรอยเลื่อน (fault) อยู่ทางภาคตะวันตกและภาคเหนือ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตสหภาพพม่า<br />

และทะเลอันดามัน<br />

ค<br />

ข<br />

ก<br />

รูปที่ 22 ก) แผนที่แสดงธรณีแปรสัณฐานของภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกของสองเปลือกโลก <br />

และการกระจายตัวของรอยเลื่อนต่างๆ ระหว่างโครงร่างเปลือกโลก <br />

ข) แบบจำลองโดยใช้เปลือกโลกอินเดีย-ออสเตรเลีย ชนเปลือกโลกยูเรเชีย<br />

ค) ภาพขยายใกล้ของลักษณะที่ปรากฏเมื่อมีการเกิดการชนกันขึ ้น (tectonic plates) (Tapponnier <br />

และคณะ, 1982)<br />

_11-0290(001-062).indd 27<br />

3/28/11 9:45:27 PM


28<br />

9. การศึกษาธรณีวิทยาแผ่นดินไหวในประเทศไทย<br />

การศึกษาธรณีวิทยาแผ่นดินไหวเป็นการศึกษาถึงลักษณะธรณีแปรสัณฐานยุคใหม่ และ<br />

วิวัฒนาการของโครงสร้างชั้นหิน/ชั้นดิน ว่าเป็นผลมาจากกระบวนการแปรสัณฐานครั้งใหม่<br />

(ตามธรณีกาล) ที่ยังมีพลังในปัจจุบัน แต่ถ้าพูดถึงการมีพลัง (Active tectonics) ย่อมหมายถึงการ<br />

ยังคงมีการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 11,000 ปี (ยุคโฮโลซีน) และลักษณะธรณีสัณฐานที่ปรากฏใน<br />

ปัจจุบันมักเกิดขึ้นมาในช่วงนี้ ดังนั้นลักษณะธรณีสัณฐานต่างๆ ที่ถูกแปรสัณฐานจนเกิดการ<br />

เปลี่ยนแปลงในช่วงที่ยาวไม่เกิน 1.65 ล้านปี (ยุคควอเทอร์นารี) จึงเรียกว่าลักษณะธรณีสัณฐาน<br />

มีศักยภาพมีพลัง (Potentially active tectonics) สำหรับธรณีสัณฐานที่ไม่มีการเคลื่อนตัวใน <br />

1.65 ล้าน จัดเป็นธรณีสัณฐานที่ไม่มีพลัง (Inactive tectonics) และไม่เป็นการง่ายในการหาอายุของ<br />

การแปรสัณฐานเหล่านั้นที่สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหว อย่างไรก็ตามเราอาจพิสูจน์ได้จาก<br />

หลักฐานทางธรณีวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน และการพิจารณาว่าการเลื่อนตัว<br />

รอยเลื่อนมีการเลื่อนตัวครั้งใหญ่ที่สุดเมื่อใด นอกจากนั้นการกำหนดอายุว่ารอยเลื่อนนั้นมีพลัง<br />

หรือไม่ยังขึ้นกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ อาทิเช่น กรณีการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ <br />

กำหนดให้รอยเลื่อนมีพลังเลื่อนตัวไม่เกิน 35,000 ปี แต่ถ้าเป็นการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ มักกำหนด<br />

ให้การเลื่อนตัวไม่เกิน 11,000 ปี เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของสังคมมนุษย์ในการใช้ประโยชน์<br />

จากสิ่งก่อสร้างนั้นๆ (ตารางที่ 3)<br />

<br />

ตารางที่ 3 การจัดจำแนกชนิดของรอยเลื่อน (Keller และ Pinter, 1996)<br />

_11-0290(001-062).indd 28<br />

3/28/11 9:45:28 PM


29<br />

การศึกษาด้านธรณีวิทยาแปรสัณฐานและธรณีสัณฐาน เป็นขั้นตอนต่อจากการรวบรวมข้อมูล<br />

พื้นฐานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือทำการแปลความหมายหาแนวเส้นโครงสร้างทาง<br />

ธรณีวิทยาที่ปรากฏบนภาพดาวเทียม โดยทำการแปลความหมายแนวเส้นโครงสร้างและลักษณะทาง<br />

ธรณีสัณฐานที่บ่งชี้ถึงการเลื่อนของรอยเลื่อนที่ผ่านพาดในพื้นที่นั้นๆ ดังนั้นก่อนอื่น จึงจำเป็นต้อง<br />

เข้าใจในลักษณะธรณีสัณฐาน (Burbank and Anderson, 2001) ที่ใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ว่าเป็นรอยเลื่อนที่มี<br />

พลัง (Active fault) ก่อนที่จะทำการคัดเลือกพื้นที่ที่น่าสนใจในการทำการศึกษาขั้นรายละเอียดจาก<br />

การแปลความหมายภาพถ่ายทางอากาศต่อไป ลักษณะธรณีสัณฐานที่บ่งชี้ว่าเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง<br />

ดังนั้นจำเป็นต้องเข้าใจในลักษณะธรณีสัณฐานวิทยา (Keller and Printer, 1996) ที่ใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ว่า<br />

เป็นรอยเลื่อนที่มีพลังก่อน ที่จะทำการคัดเลือกพื้นที่ที่น่าสนใจในการทำการศึกษาธรณีวิทยาแผ่นดิน<br />

ไหวขั้นรายละเอียดจากการแปลความหมายภาพถ่ายทางอากาศต่อไป ลักษณะธรณีสัณฐานที่บ่งชี้ว่า<br />

เป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง (รูปที่ 23) ประกอบด้วย<br />

1) หุบเขาเส้นตรง (linear valley) เกิดจากรอยเลื่อนที่มีการเลื่อนตัวในแนวระดับ (strike slip<br />

fault) เป็นทางน้ำที่มีทิศทางการไหลขนานไปกับแนวของรอยเลื่อน หรือไหลในแนวของรอยเลื่อน <br />

(รูปที่ 23) <br />

2) ผาสามเหลี่ยม (triangular facets) เป็นหน้าผาภูเขาที่มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ที่เกิด<br />

จากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนในแนวดิ่ง แล้วผ่านกระบวนการกัดเซาะของทางน้ำหลายแนวใน<br />

หุบเขาปรับเปลี่ยนหน้าผารอยเลื่อนเดิมเป็นรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยม ให้มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม <br />

(รูปที่ 24)<br />

3) พุน้ำร้อน (hot spring) เป็นปรากฏการณ์ที่น้ำใต้ดินที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติไหลขึ้นมาบน<br />

ผิวดินตามแนวรอยเลื่อนหรือรอยแตกของเปลือกโลก อันเนื่องมาจากรอยเลื่อนตัดผ่านชั้นน้ำใต้ดิน<br />

ที่ได้รับความร้อนจากใต้พิภพ มักพบตามแนวรอยเลื่อนมีพลัง (รูปที่ 23)<br />

4) ธารเหลื่อม (offset streams) เกิดจากรอยเลื่อนที่มีการเลื่อนตัวในแนวระดับ (strike slip<br />

fault) ตัดผ่านทางน้ำที่ไหลตรงๆ จากที่สูงสู่ที่ราบด้านล่างให้เกิดลักษณะธรณีสัณฐานที่เรียกว่าธาร<br />

เหลื่อม โดยไหลตั้งฉากจากแนวทางน้ำเดิมในช่วงที่ไหลตามแนวรอยเลื่อน ซึ่งสามารถวัดระยะของ<br />

การเลื่อนตัวของรอยเลื่อนนั้นๆ ได้ (รูปที่ 25)<br />

_11-0290(001-062).indd 29<br />

3/28/11 9:45:28 PM


30<br />

รูปที่ 23 ลักษณะธรณีสัณฐานวิทยา ที่ใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ในการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนที่มีพลัง <br />

(Burbank and Anderson, 2001)<br />

รูปที่ 24 ก) ผาสามเหลี่ยมของกลุ่มรอยเลื่อนเถิน บริเวณทิวเขาด้านทิศตะวันออกของอำเภอสบปราบ <br />

จังหวัดลำปาง <br />

ข) แสดงพัฒนาหน้าผาสามเหลี่ยมที่เกิดการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนในแนวดิ่งหลายครั้ง <br />

(จาก Fenton และคณะ, 2003)<br />

I เป็นการเลื่อนตัวในแนวดิ่งของรอยเลื่อนปรกติครั้งแรกและได้ผารอยเลื่อน <br />

II ผารอยเลื่อนถูกทางน้ำกัดเซาะเปลี่ยนสภาพเป็นผาสามเหลี่ยม<br />

III ช่วงที่หยุดการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน มีการกัดเซาะในแนวราบบริเวณเชิงเขาของฐานผาสามเหลี่ยม <br />

IV การเกิดเลื่อนตัวซ้ำของรอยเลื่อนเดิมและได้ผารอยเลื่อนขั้นที่สอง <br />

V ผาถูกกัดเซาะโดยทางน้ำได้ผาสามเหลี่ยมขั้นที่สอง <br />

VI เกิดการกัดเซาะในแนวดิ่งของฐานผาสามเหลี่ยมกลายเป็นที่ราบถอยหล่นออกจากตำแหน่งเดิม <br />

(แนวรอยเลื่อน) <br />

VII เกิดการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนอีกครั้งได้ผารอยเลื่อนขั้นที่สาม <br />

VIII เกิดการกัดเซาะของทางน้ำได้เป็นผาสามเหลี่ยม ช่องแคบที่แสดงเป็นตะพักคั่นระหว่างกลุ่มผาสามเหลี่ยม<br />

ระดับต่างๆ บริเวณช่วงเวลาของการหยุดการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนและการพัฒนาผาสามเหลี่ยมซ้อน<br />

กันหลายระดับนี ้ พบว่าผาสามเหลี่ยมชั ้นล่างสุดมีความลาดชันมากกว่าชั ้นที่อยู่ด้านบนๆ ที่เกิดขึ ้นมาก่อน<br />

_11-0290(001-062).indd 30<br />

3/28/11 9:45:29 PM


31<br />

รูปที่ 25 ก) ลักษณะธารเหลื่อมแสดงการเลื่อนในแนวระดับแบบเหลี่ยมขวาของรอยเหลื่อม <br />

San Andreas ในสหรัฐอเมริกา<br />

ข) แบบจำลองลักษณะธรณีสัณฐานธารเหลื่อม (จาก www.ucsb.edu)<br />

5) ผารอยเลื่อน (scarp) หน้าผาชันรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมที่เกิดจากรอยเลื่อนตัดผ่านภูเขา<br />

เกิดได้ทั้งรอยเลื่อนปรกติ (normal fault) รอยเลื่อนย้อนกลับ (reverse fault) และรอยเลื่อนในแนว<br />

ระดับ ทำให้ได้หน้าผาชันสูงจากที่ราบด้านล่างโดยเห็นความแตกต่างระดับของได้ ดังรูปที่ 26 และ<br />

รูปที่ 27<br />

6) ธารหัวขาด (beheaded stream) เกิดจากรอยเลื่อนที่มีการเลื่อนตัวในแนวระดับตัดผ่าน<br />

ทางน้ำเป็นแนวตรงให้ขาดจากทางน้ำเดิม ทำให้ทางน้ำใหม่ไม่มีความต่อเนื่องกับทางน้ำเดิมทำให้ทาง<br />

น้ำส่วนนี้ไม่มีน้ำไหลมาเติมจากต้นน้ำทำให้ปรากฏเป็นลำน้ำแห้งในปัจจุบัน (รูปที่ 28)<br />

7) สันกั้น (shutter ridge) เกิดจากสันเขาถูกรอยเลื่อนตัดผ่าน แล้วทำให้สันเขานั้นมีการ<br />

เลื่อนตัวออกไปจากแนวเดิมมักปรากฏรูปร่างเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่ โดยเกิดจากรอยเลื่อนที่มีการ<br />

เลื่อนตัวในแนวราบ มักเกิดร่วมกับธารเหลื่อม (รูปที่ 29)<br />

8) ตะพักขั้นบันได (bench) เป็นการพัฒนาลักษณะภูมิประเทศต่อเนื่องจากผาสามเหลี่ยม<br />

เมื่อมีรอยเลื่อนปกติ เกิดการเลื่อนขยับตัวในแนวดิ่งอีกครั้งแล้วเกิดการยกตัวขึ้นเกิดเป็นตะพัก<br />

ขั้นบันไดขึ้นบริเวณเชิงเขา โดยอยู่สูงจากลำแม่น้ำ (รูปที่ 30)<br />

9) หุบเขารูปแก้วไวน์ (wine glass) เกิดจากทางน้ำสายเก่าที่มีร่องน้ำกว้างเป็นรูปตัวยู <br />

(U-shape valley) ถูกรอยเลื่อนตัดผ่านและเลื่อนตัวลงในแนวดิ่ง ทำให้ทางน้ำเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำตก<br />

และมีการกัดเซาะในแนวดิ่งบริเวณฐานของร่องท้องน้ำทำให้ได้ร่องน้ำใหม่รูปตัววี (V-shape valley)<br />

เมื่อดูภาพตัดขวางของร่องน้ำพบว่า ด้านบนเป็นร่องน้ำกว้างรูปตัวยูแต่ด้านล่างเป็นร่องน้ำรูปตัววี<br />

ลักษณะคล้ายแก้วไวน์ (รูปที่ 31)<br />

10) หนองหล่ม (sag pond) มีลักษณะเป็นแอ่งที่ลุ่มอยู่ระหว่างกรอบของรอยเลื่อนสองแนว<br />

ที่มีทิศทางของแรงตรงข้ามกัน แล้วเกิดแรงดึงของรอยเลื่อนทำให้มีการยุบตัวของพื้นที่บริเวณ<br />

รอยต่อของรอยเลื่อนลงเกิดเป็นหนองน้ำหรือแอ่งเกิดขึ้น (รูปที่ 32)<br />

_11-0290(001-062).indd 31<br />

3/28/11 9:45:30 PM


32<br />

11) สันแรงดัน (pressure ridge) มักพบในเขตรอยเลื่อน มีลักษณะการเกิดที่มีกระบวนการ<br />

ตรงข้ามกับการเกิดแอ่งหรือหนองน้ำ กล่าวคือมีลักษณะเป็นเนินเล็กๆ ที่ได้รับแรงอัดจากการเคลื่อนที่<br />

ของรอยเลื่อนบริเวณเขตรอยต่อของสองรอยเลื่อน หรือรอยเลื่อนแนวเดียวตรงส่วนคดโค้ง สันแรงดัน<br />

(pressure ridge) มักพบในเขตรอยเลื่อน มีลักษณะการเกิดที่มีกระบวนการตรงข้ามกับการเกิดแอ่ง<br />

หรือหนองน้ำ กล่าวคือมีลักษณะเป็นเนินเล็กๆ ที่ได้รับแรงอัดจากการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อนบริเวณ<br />

เขตรอยต่อของสองรอยเลื่อน หรือรอยเลื่อนแนวเดียวตรงส่วนคดโค้ง รูปที่ 33<br />

12) เนินเขาตีบขนาน (parallel ridge) เป็นเนินเขาไม่สูงแต่ชัน มีความยาวมากกว่าความ<br />

กว้างมากๆ ปรากฏอยู่ภายในรอยเลื่อนที่ขนานกัน 2 รอย และเกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน<br />

ในแนวราบมากกว่าและควบคู่กับแนวดิ่ง<br />

ผารอยเลื่อน<br />

ก<br />

ข<br />

รูปที่ 26 ก) ลักษณะธรณีสัณฐานผารอยเลื่อนที่เกิดจากรอยเลื่อนปรกติ (Normal fault) เส้นทึบ<br />

แสดงแนวรอยเลื่อน (จาก www.seismo.ued.edu) <br />

ข) แบบจำลองแสดงการเกิดผารอยเลื่อน (Keller และ Pinter, 1996)<br />

_11-0290(001-062).indd 32<br />

3/28/11 9:45:30 PM


33<br />

รูปที่ 27 ก) ลักษณะธรณีสัณฐานผารอยเลื่อนจากรอยเลื่อนแบบย้อนมุมต่ำ (Thrust fault) <br />

ของรอยเลื่อนในไต้หวัน <br />

ข) แบบจำลองแสดงการเกิดผารอยเลื่อนแบบย้อนมุมต่ำ (จาก www.seismo.ued.edu)<br />

ก<br />

ข<br />

รูปที่ 28 ก) ลักษณะธารหัวขาด (beheaded stream) เมื่อถูกรอยเลื่อนตัดฉีกขาดออกจากกัน <br />

โดยเส้นทึบแสดงแนวรอยเลื่อน เส้นปะแสดงทางน้ำ (จาก www.seismo.ued.edu) <br />

ข) แบบจำลองการเกิดลักษณะธรณีสัณฐานรูปแบบต่างๆ บ่งชี ้ถึงความมีพลัง (www.gsj.jp)<br />

สันกั้น<br />

ทางน้ําหัวขาด<br />

ตะพักขั้นบันได<br />

หนองหลม สันกั้น<br />

รูปที่<br />

29 รูปที่<br />

30<br />

รูปที่ 29 ลักษณะธรณีสัณฐานสันกั้นและหนองน้ำ จากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนในแนวระดับ<br />

แบบเหลื่อมซ้ายและเส้นทึบแสดงแนวรอยเลื่อน (www.encsci.nan.edu)<br />

รูปที่ 30 ลักษณะธรณีสัณฐานที่เป็นตะพักขั้นบันได (Bench) ของกลุ่มรอยเลื่อนระนอง (เส้นทึบ<br />

แสดงรอยเลื่อน) บริเวณบ้านประชาเสรี อ.สวี จ.ชุมพร (พัชรีภรณ์ หาญพงษ์, 2546)<br />

_11-0290(001-062).indd 33<br />

3/28/11 9:45:31 PM


34<br />

รูปที่ 31 ก) หุบเขารูปแก้วไวน์ที่เกิดจากรอยเลื่อนปรกติตัดผ่านร่องน้ำ ของรอยเลื่อนปัว จังหวัดน่าน <br />

ข) แบบจำลองการเกิดหุบเขารูปแก้วไวน์ (จาก Fenton และคณะ, 1997) <br />

รูปที่ 32 ก) สภาพภูมิประเทศแสดงหนองหล่มที่เกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนแม่จัน<br />

จังหวัดเชียงราย<br />

ข) แบบจำลองทิศทางแนวแรงดึงออกจากกันทำให้พื้นที่ยุบตัวลงเกิดเป็นหนองหล่ม โดย<br />

เส้นทึบแสดงแนวรอยเลื่อน (จาก Keller และ Pinter, 1996)<br />

รูปที่ 33 ก) สภาพเนินเขาหินแกรนิตถูกดันจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน San Jacinto fault ทำให้<br />

เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.8 ริกเตอร์เมื่อ ค.ศ.1968 ทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย<br />

ในสหรัฐอเมริกา (จาก Sylvester, 1986) ข) แบบจำลองทิศทางแนวแรงอัดเข้ามากระทำ<br />

ทำให้พื้นที่ถูกยกตัวสูงขึ้น (จาก Keller และ Pinter, 1996)<br />

_11-0290(001-062).indd 34<br />

3/28/11 9:45:33 PM


35<br />

กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการสำรวจรอยเลื่อนมีพลังพบว่า ประเทศไทยมีแนวรอยเลื่อนที่สำคัญ<br />

3 แนว คือ กลุ่มรอยเลื่อนทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กลุ่มรอยเลื่อนทิศตะวันตก<br />

เฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ และกลุ่มรอยเลื่อนทิศเหนือ-ใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดแผ่นดินไหวที่<br />

มีผลกระทบต่อประเทศไทย ได้แก่ รอยเลื่อนในเขตภาคตะวันตกของประเทศไทย-ภาคตะวันออก<br />

ของสหภาพพม่า ซึ่งได้แก่รอยเลื่อนสกาย และรอยเลื่อนพานหลวง รอยเลื่อนเมย รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์<br />

และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ส่วนในเขตภาคเหนือ ได้แก่ รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน รอยเลื่อนแม่จัน <br />

รอยเลื่อนแม่อิง รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนแม่น้ำยม รอยเลื่อนพะเยา รอยเลื่อน<br />

อุตรดิตถ์ และรอยเลื่อนปัว นอกจากนี้ยังมีรอยเลื่อนอีกสองแนวในเขตภาคใต้ คือรอยเลื่อนระนอง<br />

และรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย และอีกหนึ่งแนวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือรอยเลื่อนท่าแขก <br />

(รูปที่ 34) อนึ่งรอยเลื่อนแม่อิงจัดอยู่ในกลุ่มรอยเลื่อนแม่จัน และรอยเลื่อนแม่น้ำยมจัดอยู่ในกลุ่ม<br />

รอยเลื่อนเถิน<br />

<br />

ที่พาดผ่านพื้นที่ใน 22 จังหวัด ดังนี้<br />

1) กลุ่มรอยเลื่อนแม่จัน เป็นรอยเลื่อนที่มีแนวการวางตัวในทิศทางเกือบทิศตะวันตก-<br />

ตะวันออก ซึ่งค่อนข้างบิดเอียงลงทิศใต้ และขึ้นทิศเหนือเล็กน้อย มีมุมเอียงเทไปทิศเหนือ และมี<br />

ความยาวประมาณ 155 กิโลเมตร พาดผ่านตั้งแต่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่จัน อำเภอ<br />

เชียงแสน และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และต่อเนื่องไปในสาธารณรัฐประชาธิปไตย<br />

ประชาชนลาว มีแหล่งพุน้ำร้อนปรากฏขึ้นตลอดความยาวของรอยเลื่อนนี้ 3 แห่ง รอยเลื่อนนี้ตัดผ่าน<br />

หินแกรนิตยุคไทยแอสซิกเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะหรือพฤติกรรมการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนแม่จันนั้น <br />

พบว่าในปัจจุบันมีการเลื่อนตัวตามแนวระดับเหลื่อมซ้ายเป็นหลัก ตามหลักฐานของธรณีสัณฐาน<br />

ที่สำคัญที่พบ คือ ธารเหลื่อม ที่ปรากฏระยะเหลื่อมของลำห้วยสาขาของน้ำแม่จัน เป็นระยะทางมาก<br />

กว่า 600 เมตร นอกจากนี้ยังพบลักษณะของการเลื่อนตัวออกจากกันของสันเขาที่เรียกว่า <br />

สันเหลื่อม (offset ridge) ธารหัวขาด (behead stream) ผารอยเลื่อน สันกั้น และผาสามเหลี่ยม <br />

เป็นต้น ลักษณะเหล่านี้ปรากฏอย่างชัดเจนมาก ซึ่งแสดงถึงความใหม่ของธรณีสัณฐาน อันบ่งชี้ว่า<br />

เกิดขึ้นมาไม่นานตามธรณีกาล เพราะถ้าระยะเวลาผ่านไปยาวนาน การผุพังสึกกร่อนของหินกลาย<br />

เป็นดินจะปิดทับลบร่องรอยหลักฐานการเกิดแผ่นดินไหวจนหมด จากการตรวจสอบพบว่ารอยเลื่อน<br />

ได้ตัดผ่านเข้าไปในตะกอนปัจจุบัน ซึ่งประเมินการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนแม่จันได้ว่า เคยทำให้เกิด<br />

แผ่นดินไหวขนาด 7.0 ตามมาตราริกเตอร์ เมื่อ 8,100 ปี 4,000 ปี และ 1,500 ปีล่วงมาแล้ว ข้อมูล<br />

ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวจากเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวในกลุ่มรอยเลื่อนนี้พบว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530<br />

เป็นต้นมา เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.0 – 4.0 ตามมาตราริกเตอร์ จำนวน 10 ครั ้ง และมีขนาด 4.0 - 4.5 <br />

ตามมาตราริกเตอร์ จำนวน 3 ครั้ง นอกจากนี ้ยังมีแผ่นดินไหวที่มีศูนย์เกิดนอกประเทศ แต่ส่งผลกระทบ<br />

ในจังหวัดภาคเหนือตอนบน และรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนในอาคารสูงของกรุงเทพมหานคร คือเมื่อ<br />

วันที่ 16 พฤษภาคม 2550 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ตามมาตราริกเตอร์ มีศูนย์เกิดในพื้นที่ <br />

สปป.ลาว มีสาเหตุมาจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนที่อยู่ทิศใต้ของกลุ่มรอยเลื่อนน้ำมาซึ่งยาว<br />

ต่อเนื่องเข้ามาเชื่อมต่อกับกลุ่มรอยเลื่อนแม่จันในประเทศไทยส่งผลกระทบให้ผนังอาคารหลายหลัง <br />

_11-0290(001-062).indd 35<br />

3/28/11 9:45:33 PM


36<br />

รูปที่ 34 แผนที่แสดงรอยเลื่อนมีพลังของประเทศไทย (คัดลอกจาก กรมทรัพยากรธรณี, 2549)<br />

_11-0290(001-062).indd 36<br />

3/28/11 9:45:38 PM


37<br />

สรุปพื้นที่ที่มีรอยเลื่อนมีพลังพาดผ่านของประเทศไทย<br />

ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน<br />

เหนือ เชียงใหม่ 12 35 174<br />

เหนือ เชียงราย 11 25 134<br />

เหนือ แพร่ 7 22 83<br />

เหนือ แม่ฮ่องสอน 5 15 54<br />

เหนือ กำแพงเพชร 3 3 6<br />

เหนือ ตาก 7 20 127<br />

เหนือ น่าน 6 17 68<br />

เหนือ พะเยา 1 1 1<br />

เหนือ พิษณุโลก 2 3 7<br />

เหนือ ลำปาง 5 15 37<br />

เหนือ ลำพูน 3 6 56<br />

เหนือ อุตรดิตถ์ 4 11 62<br />

ใต้ กระบี่ 1 2 3<br />

ใต้ ชุมพร 4 16 56<br />

ใต้ พังงา 5 16 52<br />

ใต้ ระนอง 5 14 85<br />

ใต้ สุราษฏร์ธานี 9 24 76<br />

กลาง กาญจนบุรี 7 31 192<br />

กลาง ประจวบคีรีขันธ์ 4 18 79<br />

กลาง สุพรรณบุรี 1 1 7<br />

ตะวันออกเฉียงเหนือ นครพนม 3 8 28<br />

ตะวันออกเฉียงเหนือ หนองคาย 2 5 19<br />

รวม 22 106 308 1,406<br />

(กรมทรัพยากรธรณี, 2553)<br />

_11-0290(001-062).indd 37<br />

3/28/11 9:45:39 PM


38<br />

ในจังหวัดเชียงรายได้รับความเสียหาย และที่มีความเสียหายมากคือที่เสาอาคารเรียนโรงเรียน<br />

เม็งรายมหาราชวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย สำหรับบริเวณบ้านเวียงหนองหล่ม (เชื่อว่า<br />

เป็นเมืองโยนกนคร) ที่ตั้งอยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่<br />

ระหว่างตอนปลายของรอยเลื่อน 2 แนวดังกล่าวที่วางตัวเหลื่อมกัน พบซากอิฐโบราณของฐานเจดีย์<br />

จำนวนมาก จมอยู่ในหนองน้ำขนาดใหญ่และโผล่ขึ้นมาให้เห็นในฤดูแล้ง ซึ่งลักษณะของหนองน้ำนี้<br />

เกิดจากการยุบตัวอันเนื่องจากการเลื่อนตัวสัมพันธ์กันของสองรอยเลื่อน เมื่อหาอายุของก้อนอิฐ<br />

โบราณเหล่านี้ได้อายุประมาณ 1,000 + 100 ปี ทำให้อนุมานได้ว่ามีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้เกิดขึ้น<br />

บริเวณนี้ไม่เกินหนึ่งพันปีล่วงมาแล้ว ในปี พ.ศ. 2553 กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติม<br />

พบว่า กลุ่มรอยเลื่อนแม่จันมีความยาว 150 กิโลเมตร แบ่งได้เป็น 18 รอยเลื่อนย่อย เคยเกิด<br />

แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเมื่อประมาณ 2,000 ปี ด้วยขนาด 6.4 ตามมาตราริกเตอร์ จากรอยเลื่อน<br />

ย่อยกิ่วสะไต<br />

<br />

2) กลุ่มรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน มีแนวการวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ เริ่มตั้งแต่อำเภอเมือง<br />

แม่ฮ่องสอน ผ่านอำเภอขุนยวม อำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอแม่สะเรียง ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ต่อ<br />

เนื่องลงมาถึงบริเวณอำเภอท่าสองยาง ของจังหวัดตาก มีความยาวประมาณ 200 กิโลเมตร ในพื้นที่<br />

จังหวัดแม่ฮ่องสอนรอยเลื่อนกลุ่มนี้เป็นเส้นเขตแบ่งระหว่างหินมหายุคมีโซโซอิกและหินมหายุคพาลี<br />

โอโซอิก รวมทั้งตัดผ่านตะกอนยุคใหม่ด้วย จากการศึกษาพบว่ารอยเลื่อนแม่ฮ่องสอนมีการเลื่อนตัว<br />

ในแนวดิ่งแบบรอยเลื่อนปรกติ จากหลักฐานธรณีสัณฐานที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ซึ่งพบว่ามีลักษณะ<br />

ของตะพักรอยเลื่อน (fault bench) สองข้างลำน้ำในแอ่งแม่สะเรียงไม่น้อยกว่า 4 ระดับ อย่างชัดเจน<br />

ในบริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ยังพบธรณีสัณฐานของผา<br />

สามเหลี่ยมที่แสดงลักษณะหลายระดับคล้ายขั ้นบันได ทั ้งนี้เป็นผลจากการเลื่อนตัวหลายครั ้งของรอย<br />

เลื่อนในหลายช่วงเวลา อีกลักษณะหนึ่งที่ปรากฏเด่นชัดมากคือลักษณะทางน้ำแบบหุบเขารูปแก้วไวน์<br />

(wine glass valley) ในเขตอำเภอแม่สะเรียง ซึ่งแสดงถึงว่าพื้นที่นี้มีการยกตัวในปัจจุบัน ส่งผลให้ทาง<br />

น้ำปัจจุบันกัดเซาะลงด้านลึกเป็นหลักมากกว่าการกัดเซาะด้านข้าง ในพื้นที่ของรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน<br />

มีแผ่นดินไหวขนาดเล็กและขนาดปานกลาง เกิดขึ้นบ่อยหลายครั้ง ที่สำคัญเป็นเหตุการณ์เมื่อวันที่ 1<br />

มีนาคม 2532 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.1 ตามมาตราริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางในตอนเหนือของรอย<br />

เลื่อนในพื้นที่ของสหภาพพม่า<br />

<br />

ส่งผลกระทบในหลายจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย <br />

3) กลุ่มรอยเลื่อนแม่ทา เป็นกลุ่มรอยเลื่อนที่มีหลายส่วนรอยเลื่อนย่อยยาวต่อเนื่องกัน เมื่อ<br />

ดูภาพรวมแล้วคล้ายอักษรตัวเอส (S-shape) ซึ่งแต่ละส่วนย่อย รอยเลื่อนมีลักษณะการเลื่อนตัวที่<br />

แตกต่างกัน เริ่มจากวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ในบริเวณอำเภอพร้าว ผ่านลงมาในเขตอำเภอดอยสะเก็ด<br />

ของจังหวัดเชียงใหม่ มีการเลื่อนตัวแบบรอยเลื่อนปรกติ แล้วบิดไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ในอำเภอ<br />

สันกำแพง มีการเลื่อนตัวแนวระดับเหลื่อมขวา แล้ววกมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ขนานตามลำน้ำ<br />

แม่ทา ในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน มีการเลื่อนตัวแนวระดับเหลื่อมซ้าย มีความยาวทั ้งหมดประมาณ<br />

110 กิโลเมตร รอยเลื่อนนี้ตัดผ่านชั้นหินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนกลางถึงตอนปลาย และหินแกรนิต<br />

_11-0290(001-062).indd 38<br />

3/28/11 9:45:39 PM


39<br />

ยุคไทรแอสซิก รอยเลื่อนนี้ปรากฏมีพุน้ำร้อนหลายแห่ง เช่น พุน้ำร้อนสันกำแพง เป็นต้น โดยมีความ<br />

สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กบ่อยครั้ง ส่วนเหนือของรอยเลื่อนในเขตอำเภอพร้าว ยังคงมี<br />

แผ่นดินไหวขนาดเล็ก-ขนาดปานกลางเกิดขึ้นเป็นประจำในปัจุจบัน ลักษณะธรณีสัณฐานของ<br />

รอยเลื่อนกลุ่มนี้ คือ ผาสามเหลี่ยม ตะพักรอยเลื่อน และธารเหลื่อม ปรากฏอย่างชัดเจนตลอดแนว <br />

เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งสำคัญเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2549 มีศูนย์เกิดที่อำเภอแม่ริม <br />

จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยขนาดแผ่นดินไหว 5.1 ตามมาตราริกเตอร์ แรงสั่นสะเทือนทำให้บ้านเรือนมีผนัง<br />

ร้าวในหลายอำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ หากย้อนหลังไปในอดีตพบว่าเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2538<br />

เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.2 ตามมาตราริกเตอร์ มีศูนย์เกิดที่อำเภอพร้าว ประชาชนรู้สึกได้ทั่วจังหวัด<br />

เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา และแม่ฮ่องสอน ในปี พ.ศ. 2552 กรมทรัพยากรธรณี <br />

ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า กลุ่มรอยเลื่อนแม่ทามีความยาวประมาณ 180 กิโลเมตร และแบ่งรอย<br />

เลื่อนย่อยออกเป็น 18 รอยเลื่อนย่อย เคยเกิดแผ่นดินไหวครั ้งล่าสุดเมื่อประมาณ 3,000 ปี ด้วยขนาด<br />

<br />

6.8 ตามมาตราริกเตอร์ จากรอยเลื่อนย่อยห้วยแม่สะป๊วด<br />

4) กลุ่มรอยเลื่อนเถิน มีความยาวประมาณ 200 กิโลเมตร ประกอบด้วยส่วนรอยเลื่อนที่มี<br />

ทิศทางการวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ตัดผ่านเข้าไปในบริเวณเชิงเขาของ<br />

รอยต่อระหว่างแอ่งแพร่ และแอ่งลำปาง คือรอยเลื่อนพาดผ่านตั้งแต่อำเภอเมืองแพร่ ลงมาอำเภอ<br />

สูงเม่น อำเภอลอง และอำเภอวังชิ้น ของจังหวัดแพร่ ยาวต่อเนื่องลงมาในพื้นที่อำเภอแม่ทะ อำเภอ<br />

สบปราบ และอำเภอเถิน ของจังหวัดลำปาง กลุ่มรอยเลื่อนนี้แสดงลักษณะโครงสร้าง และธรณี<br />

สัณฐานที่แสดงถึงการเลื่อนตัวครั้งใหม่ๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดผาชันหลายแห่ง การเลื่อนตัวครั้ง<br />

ใหม่จะอยู่บริเวณขอบแอ่งตะกอนเท่านั้น จากภาพดาวเทียมเห็นการเลื่อนตัวในแนวดิ่งเด่นชัด และ<br />

แนวระดับอย่างเช่นลักษณะของธารเหลื่อม ในพื้นที่บ้านมาย อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ทางน้ำที่<br />

ตัดผ่านรอยเลื่อนบริเวณนี้ถูกตัดทำให้เลื่อนตามแนวระดับเหลื่อมซ้าย โดยมีระยะของการเลื่อนตัว<br />

ประมาณ 500 เมตร และในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาพบว่าเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ของกลุ่มรอยเลื่อนเถิน<br />

ด้วยขนาด 3.0 – 5.0 ตามมาตราริกเตอร์ จำนวนมากกว่า 20 ครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่เกิดแผ่นดิน<br />

ไหวค่อนข้างบ่อยมาก และในปี พ.ศ. 2552 กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า กลุ่ม<br />

รอยเลื่อนเถินมีความยาวประมาณ 190 กิโลเมตร และแบ่งรอยเลื่อนย่อยออกเป็น 17 รอยเลื่อนย่อย<br />

เคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเมื่อประมาณ 2,000 ปี ด้วยขนาด 6.9 ตามมาตราริกเตอร์ จาก<br />

รอยเลื่อนย่อยวังขอน ส่วนรอยเลื่อนย่อยแม่น้ำยม เคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเมื่อประมาณ <br />

6,000-5,000<br />

<br />

ปี ด้วยขนาด 6.7 ตามมาตราริกเตอร์ (กรมชลประทาน, 2549)<br />

5) กลุ่มรอยเลื่อนปัว เป็นรอยเลื่อนที่มีการวางตัวเป็นแนวยาวรายรอบด้านทิศตะวันออก<br />

ขอบแอ่งปัว ในจังหวัดน่าน เริ่มตั้งแต่บริเวณตะเข็บชายแดนของประเทศไทย-ลาว เรื่อยลงมาในพื้นที่<br />

ของอำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว และต่อเนื่องถึงอำเภอสันติสุข ของจังหวัดน่าน <br />

มีความยาวประมาณ 70 กิโลเมตร มีทิศทางการวางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีมุมเอียงเทไปทาง<br />

ทิศตะวันตก จัดเป็นรอยเลื่อนปรกติ รอยเลื่อนนี ้ประกอบด้วย 3 ส่วนรอยเลื่อนคือ ส่วนรอยเลื่อนทุ่งช้าง<br />

_11-0290(001-062).indd 39<br />

3/28/11 9:45:40 PM


40<br />

ส่วนรอยเลื่อนปัว และส่วนรอยเลื่อนสันติสุข โดยตอนเหนือบริเวณส่วนรอยเลื่อนทุ่งช้างเป็นแนวค่อน<br />

ข้างตรง ตอนกลางบริเวณส่วนรอยเลื่อนปัวจะโค้งเว้าไปทิศตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนบริเวณส่วนรอย<br />

เลื่อนสันติสุขจะมีลักษณะเป็นแนวตรง จากภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณทิศใต้ของอำเภอทุ่งช้าง พบเนิน<br />

ตะกอนน้ำพารูปพัดถูกตัดโดยรอยเลื่อนอย่างชัดเจนมาก ลักษณะธรณีสัณฐานที่ปรากฏให้เห็นเป็น <br />

ผารอยเลื่อนที่หันหน้าไปทิศตะวันตกที่ค่อยๆ ลดความสูงและความคมชัดลดลงจากพื้นที่ตอนเหนือ<br />

ไปยังตอนใต้ พร้อมทั้งมีลักษณะผาสามเหลี่ยม และหุบเขารูปแก้วไวน์ ในบางบริเวณแสดงการเลื่อน<br />

ตัวของทางน้ำแบบธารเหลื่อมซ้าย ส่วนรอยเลื่อนทุ่งช้างแสดงผารอยเลื่อน 2 ระดับ โดยมีความสูง<br />

ตั้งแต่ 6 - 10 เมตร สำหรับส่วนรอยเลื่อนสันติสุข พบว่าชั้นดินตะกอนยุคใหม่ซึ่งเกิดในชุดลำดับชั้น<br />

กรวดตะกอนน้ำพา และชั้นดินเหนียว ถูกรอยเลื่อนตัดผ่าน จากข้อมูลแผ่นดินไหวพบว่าเมื่อวันที่ 13<br />

พฤษภาคม 2478 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ตามมาตราริกเตอร์ ในบริเวณตะเข็บชายแดนของ<br />

ประเทศไทย-ลาว ซึ่งเชื่อว่าเป็นอิทธิพลของการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนปัว กิตติ ขาววิเศษ (2550) ได้<br />

ทำการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า กลุ่มรอยเลื่อนแม่ทามีความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร และแบ่งรอย<br />

เลื่อนย่อยออกเป็น 14 รอยเลื่อนย่อย น่าจะเคยเกิดการเลื่อนตัวมาแล้วอย่างน้อย 4 ครั้งคือ ครั้งแรก<br />

เมื่อประมาณ 70,000 ปีมาแล้ว ครั้งที่ 2เมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว และครั้งที่ 3 เมื่อประมาณ<br />

2,000 ปีมาแล้ว และครั้งที่ 4 ประมาณเมื่อ 180 ปีมาแล้ว การประเมินของการเกิดคาบอุบัติซ้ำของ<br />

เหตุการณ์แผ่นดินไหว<br />

<br />

พบว่าคาบอุบัติซ้ำของแผ่นดินไหวขนาด 6-7 ริกเตอร์ มีค่า 1,500 -2,000 ปี<br />

6) กลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ เป็นรอยเลื่อนที่มีแนวการวางตัวในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-<br />

ตะวันตกเฉียงใต้ และมีมุมเอียงเทไปทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 140 กิโลเมตร <br />

รอยเลื่อนนี้เริ่มปรากฏตั้งแต่อำเภอฟากท่า ยาวลงมาในพื้นที่อำเภอน้ำปาด อำเภอทองแสนขัน <br />

ของจังหวัดอุตรดิตถ์ และต่อเนื่องถึงอำเภอพิชัย ของจังหวัดพิษณุโลก มีลักษณะของกลุ่มรอยเลื่อน<br />

เป็นแนวยาวและแคบๆ โดยมีความกว้างของเขตรอยเลื่อนไม่เกิน 4 กิโลเมตร ซึ่งพาดผ่านเข้าไปใน<br />

แอ่งตะกอนที่ถูกปิดทับด้วยชั้นหนาของตะกอนน้ำพายุคปัจจุบัน รอยเลื่อนอุตรดิตถ์มีอิทธิพลต่อ<br />

สภาพภูมิประเทศของพื ้นที่นี ้ให้มีความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ได้แก่ พื ้นที่อำเภอฟากท่า มีลักษณะ<br />

เป็นผารอยเลื่อนที่เป็นแนวตรงหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พร้อมทั้งมีผาสามเหลี่ยม<br />

บริเวณบ้านฟากนา ปรากฏฐานของผารอยเลื่อนที่ชันมาก และบริเวณปากห้วยไพร เนินตะกอนน้ำพา<br />

รูปพัดถูกรอยเลื่อนตัดเลื่อนเหลื่อมกันแบบเหลื่อมซ้าย ส่วนพื้นที่บ้านปางหมิ่น อำเภอทองแสนขัน<br />

พบว่าส่วนรอยเลื่อนที่ยาวต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1.5 กิโลเมตร ปรากฏบริเวณรอยต่อของเชิงเขาที่แบ่งชั ้น<br />

ตะพักกับที่ราบลุ่มออกจากกันชัดเจน และมีความแตกต่างระดับของพื้นที่ 2 เมตร นอกจากนี้ยังพบ<br />

ว่ามีธรณีสัณฐานของธารเหลื่อมซ้ายของลำห้วยสาขาของห้วยน้ำลอกเป็นระยะทาง 2 เมตร รอย<br />

เลื่อนนี้มีลักษณะการเลื่อนตัวหลักแบบตามแนวระดับเหลื่อมซ้ายผสมผสานด้วยเลื่อนลงในแนวดิ่ง<br />

แบบปรกติ<br />

กรมชลประทาน (2552) ได้ดำเนินการศึกษาในโครงการศึกษา Dam Break ของเขื่อนแควน้อย<br />

จังหวัดพิษณุโลก โดยได้ทำการศึกษาธรณีวิทยาและแผ่นดินไหว เพื่อสำรวจหารอยเลื่อนที่มีพลังที่<br />

_11-0290(001-062).indd 40<br />

3/28/11 9:45:40 PM


41<br />

อยู่ในพื้นที่โครงการและใกล้เคียง เพื่อใช้ในการคำนวณหาค่าอัตราเร่งสูงสุด (Peak Ground<br />

Acceleration, PGA) บริเวณที่ตั้งเขื่อนแควน้อย ซึ่งค่า PGA นี้จะนำไปใช้ในการตรวจสอบความมั่นคง<br />

ของเขื่อนในกรณีเกิดแผ่นดินไหว ผลการศึกษาพบว่า รอยเลื่อนมีพลังคันโช้งบริเวณใกล้แกนเขื่อน<br />

เป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง เคยมีการเคลื่อนตัวอยู่ระหว่าง 5,900 ปี ถึง 15,600 ปี อัตราการเลื่อนตัว<br />

(slip rate) อยู่ระหว่าง 0.03-0.08 ปี โดยเกิดการเลื่อนตัวมาแล้วอย่างน้อย 4 ครั้ง คาบอุบัติซ้ำที่<br />

น้อยที่สุดประมาณ<br />

<br />

3,000 ปี<br />

7) กลุ่มรอยเลื่อนพะเยา เป็นรอยเลื่อนที่มีสองส่วนรอยเลื่อน คือส่วนเหนือและส่วนใต้<br />

ที่มีแนวการวางตัวแตกต่างกัน และแยกออกจากกันชัดเจน โดยรอยเลื่อนส่วนใต้มีการวางตัวในแนว<br />

เกือบทิศเหนือ-ใต้ ค่อนมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ที่ตัดผ่านด้านทิศตะวันตกของขอบแอ่งพะเยา<br />

บริเวณเขตรอยต่อระหว่างอำเภอพาน อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง<br />

ส่วนรอยเลื่อนนี้มีความยาวประมาณ 35 กิโลเมตร แสดงลักษณะของผารอยเลื่อนหลายแนวและต่อ<br />

เนื่องเป็นแนวตรง หันหน้าไปทิศตะวันออก บริเวณพื้นที่อำเภอเด่นชัยมีหน้าตัดสูง 200 เมตร ทางน้ำ<br />

สาขาต่างๆ ที่ตัดผ่านผารอยเลื่อนนี้ แสดงรอยกัดเซาะลงแนวดิ่งลึกมากจนถึงชั้นหิน และฐาน<br />

ผารอยเลื่อนก็แสดงความชันมากเห็นได้ชัดเจน ซึ่งแสดงว่ายังคงมีพลังไม่หยุดนิ่ง ซึ่งสอดคล้องกับ<br />

กรณีที่เกิดแผ่นดินไหวจนเกิดความเสียหายมากที่สุดที่ประเทศไทยเคยบันทึกประสบกับภัยพิบัติ<br />

แผ่นดินไหว คือเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2537 มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ในเขตอำเภอ<br />

เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย มีความรุนแรงขนาด 5.2 ตามมาตราริกเตอร์ ทำให้เกิดความเสียหาย<br />

อย่างมากกับโรงพยาบาลอำเภอพาน จนต้องทุบทิ้งสร้างใหม่ รวมทั้งวัด และโรงเรียนต่างๆ ใน<br />

อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอีกหลายครั้งตามมาในปี พ.ศ. 2538 และ <br />

พ.ศ. 2539 ในพื ้นที่จังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงราย สำหรับรอยเลื่อนส่วนเหนือ มีการวางตัวในแนว<br />

ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ที่พาดผ่านอำเภอแม่สรวย ถึงอำเภอแม่ลาว ของจังหวัด<br />

เชียงราย ในบริเวณนี้เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กถึงขนาดปานกลาง บ่อยครั้งมากในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา<br />

ในปี พ.ศ. 2553 กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า กลุ่มรอยเลื่อนพะเยามีความยาว<br />

ประมาณ 90 กิโลเมตร และแบ่งรอยเลื่อนย่อยออกเป็น 17 รอยเลื่อนย่อย เคยเกิดแผ่นดินไหวครั้ง<br />

<br />

ล่าสุดเมื่อประมาณ 4,000 ปี ด้วยขนาด 6.7 ตามมาตราริกเตอร์ จากรอยเลื่อนย่อยวังทอง<br />

8) กลุ่มรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ เป็นรอยเลื่อนที่อยู่ด้านทิศตะวันตกของประเทศไทยที่มี<br />

ความสำคัญมากต่อประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นรอยเลื่อนที่อยู่ใกล้กับรอย<br />

เลื่อนพานหลวงในเขตสหภาพพม่า ปรากฏขึ้นบริเวณตะเข็บชายแดนไทย-สหภาพพม่า บริเวณ<br />

ด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรี พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอเมือง และ<br />

สิ้นสุดบริเวณอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี โดยขนานกับลำแม่น้ำแควน้อย มีความยาว<br />

ประมาณ 170 กิโลเมตร ผ่านชั้นหินมหายุคพาลีโอโซอิกและมีโซโซอิก หลักฐานทางธรณีสัณฐาน <br />

ซึ่งแสดงการเกิดการแปรสัณฐานใหม่ เช่น ธารเหลื่อมผารอยเลื่อน ผาสามเหลี่ยม ธารหัวขาด สันกั้น<br />

และหนองหล่ม ที่บ่งชี้ว่า รอยเลื่อนนี้เลื่อนตัวตามแนวระดับเหลื่อมขวาเป็นหลัก นอกจากนี้ยังพบการ<br />

_11-0290(001-062).indd 41<br />

3/28/11 9:45:40 PM


42<br />

กระจายตัวของตำแหน่งพุน้ำร้อนตามแนวรอยเลื่อนหลายแห่ง ภูมิลักษณ์เหล่านี้แสดงถึงการเลื่อนตัว<br />

ของรอยเลื่อนมีพลัง จากการศึกษาประวัติการเลื่อนตัวในโบราณกาลพบว่า พื ้นที่บ้านแก่งแคบ ตำบล<br />

ท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ เคยเกิดแผ่นดินไหวในอดีตมาแล้วด้วยขนาด 6.4 ตามมาตราริกเตอร์<br />

เมื่อประมาณ 1,000 ปีล่วงมาแล้ว และพื้นที่บ้านทิพุเย ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ เคยเกิด<br />

แผ่นดินไหวในอดีตมาแล้วด้วยขนาด 6.4 ตามมาตราริกเตอร์ เมื่อประมาณ 2,000 ปีล่วงมาแล้ว <br />

ซึ่งอนุมานได้ว่ารอยเลื่อนเจดีย์สามองค์มีคาบอุบัติซ้ำของการเลื่อนตัว (Recurrence interval) ที่ก่อให้<br />

เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในรอบ<br />

<br />

1,000 ปี (สุวิทย์ โคสุวรรณ และคณะ, 2550)<br />

9) กลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ เป็นรอยเลื่อนที่พาดผ่านด้านทิศตะวันตกของประเทศไทย<br />

วางตัวในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ค่อนข้างขนานไปกับรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์<br />

โดยที่พาดผ่านพื ้นที่ของประเทศไทยเริ่มที่พื ้นที่ของอำเภออุ ้มผาง จังหวัดตาก พาดผ่านพื ้นที่ของอุทยาน<br />

แห่งชาติห้วยขาแข้ง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ยาวต่อเนื่องลงมาในเขต อำเภอหนองปรือ<br />

อำเภอบ่อพลอย และอำเภอศรีสวัสดิ์ ของจังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอด่านช้าง ของจังหวัดสุพรรณบุรี<br />

และพาดผ่านขนานมากับลำแม่น้ำแควใหญ่ ถึงอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี มีความยาวประมาณ<br />

200 กิโลเมตร รอยเลื่อนนี้ตัดผ่านชั้นหินตั้งแต่มหายุคพาลีโอโซอิกถึงมหายุคมีโซโซอิก ลักษณะธรณี<br />

สัณฐานที่แสดงถึงการแปรสัณฐานใหม่ เช่น ธารเหลื่อม ผาสามเหลี่ยม ธารหัวขาด และหุบเขาเส้น<br />

ตรงจากการศึกษาประวัติการเลื่อนตัวในโบราณกาลพบว่าพื้นที่บ้านทุ่งมะกอก ตำบลองค์พระ<br />

อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี พบชั้นตะกอนแสดงลักษณะการเลื่อนตัวขาดออกจากกันปรากฏ<br />

ในหลุมเปิด ซึ่งประมาณได้ว่ารอยเลื่อนศรีสวัสดิ์นี้เคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวในอดีตมาแล้วด้วย<br />

ขนาด 7.0 ตามมาตราริกเตอร์ เมื่อประมาณ 7,000 ปีล่วงมาแล้ว (สุวิทย์ โคสุวรรณ และคณะ, 2550)<br />

นอกจากนี้เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 ได้เกิดแผ่นดินไหวมีศูนย์เกิดอยู่บริเวณขอบอ่างเก็บน้ำเขื่อน<br />

ศรีนครินทร์ ซึ่งปรากฏตามแนวรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ด้วยขนาด 5.9 ตามมาตราริกเตอร์ และมี<br />

แผ่นดินไหวตาม (Aftershock) เกิดขึ้นอีกมากกว่าร้อยครั้ง <br />

10) กลุ่มรอยเลื่อนเมย รอยเลื่อนนี้มีความสัมพันธ์กับรอยเลื่อนพานหลวงในเขตสหภาพพม่า<br />

โดยเริ่มบริเวณลำน้ำเมย ที่บ้านท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ในแนวทิศตะวันตกเฉียง<br />

เหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ พาดผ่านอำเภอเมือง จังหวัดตาก และสิ้นสุดในพื้นที่อำเภอวังเจ้า จังหวัด<br />

กำแพงเพชร มีความยาวประมาณ 230 กิโลเมตร โดยตัดผ่านหมวดหินมากมายตั้งแต่มหายุค<br />

พรีแคมเบรียนจนถึงยุคมีโซโซอิก มีประวัติการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนบริเวณบ้านท่าสองยาง โดยพบ<br />

ว่ามีธรณีสัณฐานที่สำคัญคือ ธารเหลื่อม สันกั้น หุบเขาเส้นตรง และผารอยเลื่อน ลำห้วยที่พบด้าน<br />

ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านท่าสองยาง ถูกตัดให้หักเหลื่อมจากกันเป็นระยะทาง 500 เมตร และ<br />

บ่งบอกว่าเป็นรอยเลื่อนตามแนวระดับเหลื่อมขวา มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่สำคัญ<br />

อีกครั้งหนึ่งในประเทศไทย คือเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2518 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.6 ตาม<br />

มาตราริกเตอร์ ประชาชนรู้สึกได้หลายหลายจังหวัดในภาคเหนือ รวมทั้งรู้สึกได้ถึงกรุงเทพมหานคร<br />

ในปี พ.ศ. 2550 กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า กลุ่มรอยเลื่อนเมย เคยเกิด<br />

_11-0290(001-062).indd 42<br />

3/28/11 9:45:41 PM


43<br />

แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเมื่อประมาณ 4,000 ปี ด้วยขนาด 6.7 ตามมาตราริกเตอร์ จากรอยเลื่อนย่อย<br />

เขาแม่สอง <br />

<br />

11) กลุ่มรอยเลื่อนระนอง เป็นรอยเลื่อนที่วางตัวตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตก<br />

เฉียงใต้ ประกอบด้วยรอยเลื่อนหลายส่วน เริ่มตั้งแต่ในทะเลอันดามันถึงบริเวณอำเภอเมือง จังหวัด<br />

ระนอง พาดผ่านพื้นที่อำเภอท่าแซะ ของจังหวัดชุมพร และต่อเนื่องไปในพื้นที่อำเภอบางสะพาน<br />

อำเภอทับสะแก อำเภอเมือง และอำเภอกุยบุรี ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และลงอ่าวไทย<br />

บริเวณทิศตะวันออกของอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความยาวเฉพาะส่วนที่<br />

ปรากฏบนแผ่นดินประมาณ 270 กิโลเมตร หินต่างๆ ที่ถูกรอยเลื่อนนี้ตัดผ่านคือ หินตะกอนของ<br />

หมวดหินแก่งกระจานในยุคคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน เป็นส่วนใหญ่ และรองลงมาเป็นหินแกรนิต<br />

ยุคครีเทเชียส ร่วมทั้งตะกอนยุคใหม่ มีลักษณะธรณีสัณฐานที่สำคัญคือ ธารเหลื่อม และผาสาม<br />

เหลื่อม ซึ่งบ่งชี้ว่ารอยเลื่อนระนองมีการเลื่อนตัวตามแนวระดับเหลื่อมซ้าย เหตุการณ์แผ่นดินไหว<br />

ที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับกลุ่มรอยเลื่อนนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2549 ซึ่งมีแผ่นดินไหวขนาด<br />

3.7 - 5.0 ตามมาตราริกเตอร์ จำนวน 5 ครั้ง และในวันที่ 8 ตุลาคม 2549 มีขนาด 4.5 - 5.5 ตาม<br />

มาตราริกเตอร์ จำนวน 2 ครั ้ง ทั ้งสองเหตุการณ์นี้มีศูนย์เกิดในอ่าวไทยด้านทิศตะวันออกของอำเภอ<br />

สามร้อยสามยอด ประชาชนรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือนของพื้นดิน ได้แก่ อำเภอหัวหิน อำเภอสามร้อย<br />

ยอด อำเภอกุยบุรี อำเภอปราณบุรี อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์<br />

และอำเภอชะอำ อำเภอท่ายาง ของจังหวัดเพชรบุรี ในปี พ.ศ. 2551 กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการ<br />

ศึกษาเพิ่มเติมพบว่า กลุ่มรอยเลื่อนระนอง มีการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนย่อยบางสะพาน เมื่อ<br />

ประมาณ 2,000–2,300 ปีล่วงมาแล้ว ด้วยขนาด 7.0 ตามมาตราริกเตอร์ มีอัตราการเลื่อนตัว<br />

ประมาณ 0.27 มิลลิเมตร/ปี <br />

<br />

12) กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย เป็นกลุ่มรอยเลื่อนตามแนวระดับที่วางตัวขนานกับกลุ่มรอย<br />

เลื่อนระนองแบบเหลื่อมซ้ายเช่นเดียวกัน ปรากฏในทะเลอันดามัน บริเวณทิศตะวันออกของจังหวัด<br />

ภูเก็ต และเกาะยาว ในบริเวณอ่าวพังงา รอยเลื่อนยาวต่อเนื่องขึ้นบกบริเวณลำคลองมะรุ่ย อำเภอ<br />

ทับปุด จังหวัดพังงา พาดผ่านต่อเนื่องไปในพื้นที่อำเภอพนม อำเภอคีรีรัฐนิคม อำเภอวิภาวดี และ<br />

อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความยาวเฉพาะส่วนบนแผ่นดินประมาณ 150 กิโลเมตร ซึ่งใน<br />

เขตอำเภอไชยานี้ปรากฏว่ามีแหล่งพุน้ำร้อนหลายแห่งไหลขึ้นมาตามแนวรอยเลื่อนนี้ เป็นรอยเลื่อน<br />

ที่แยกหมวดหินแก่งกระจาน ยุคคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน ออกจากหินยุคเพอร์เมียน และมหา<br />

ยุคมีโซโซอิกเป็นแนวยาวอย่างชัดเจน หลักฐานทางธรณีสัณฐานที่พบ ได้แก่ ธารเหลื่อม ผารอยเลื่อน<br />

ผาสามเหลี่ยม และสันกั้น เป็นต้น จากการศึกษาประวัติการเลื่อนตัวในโบราณกาลพบว่า พื้นที่บ้าน<br />

บางลึก ตำบลพลูเถื่อน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบลักษณะธรณีสัณฐานที่สัมพันธ์กับแนว<br />

รอยเลื่อนคือ ผาสามเหลี่ยม 2 ผา วางตัวในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ – ตะวันตกเฉียงใต้ หันหน้า<br />

ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และลำน้ำสาขาของคลองแหกที่แสดงการหักเลื่อนเป็นระยะทาง <br />

_11-0290(001-062).indd 43<br />

3/28/11 9:45:41 PM


44<br />

95 เมตร ในแนวระดับแบบเหลื่อมซ้าย นอกจากนี้ในร่องสำรวจพบชั้นตะกอนกรวด ชั้นทราย และดิน<br />

เหนียวถูกรอยเลื่อนจำนวน 3 แนว ตัดเลื่อนออกจากกันในแนวดิ่งแบบย้อน ประเมินได้ว่ารอยเลื่อน<br />

ส่วนนี้เคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวในอดีตด้วยขนาด 7.0 ตามมาตราริกเตอร์ เมื่อประมาณ 2,000 ปีล่วง<br />

มาแล้ว (กรมทรัพยากรธรณี, 2551) นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2542 พบว่าได้การเกิดแผ่นดินไหวขนาด<br />

3.1 ตามมาตราริกเตอร์ มีศูนย์เกิดในทะเลด้านทิศตะวันออกของเกาะภูเก็ต<br />

<br />

13) กลุ่มรอยเลื่อนท่าแขก กลุ่มรอยเลื่อนนี้มีแนวการวางตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออก<br />

เฉียงใต้ พาดผ่านขอบที่ราบสูงโคราช ตั้งแต่อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม หรือตรงกันข้ามกับแขวง<br />

ท่าแขก ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผ่านขึ้นมาที่อำเภอท่าอุเทน อำเภอศรีสงคราม<br />

ของจังหวัดนครพนม เรื่อยมาถึงอำเภอบุ่งคล้า ของจังหวัดหนองคาย และต่อเนื่องเข้าไปในดินแดน<br />

ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอีกครั้งหนึ่ง รวมความยาวเฉพาะในส่วนของประเทศไทย<br />

ประมาณ 140 กิโลเมตร รอยเลื่อนนี้ตัดผ่านชั้นหินกลุ่มหินโคราชของมหายุคมีโซโซอิก ลักษณะการ<br />

วางตัวขนานกับกลุ่มรอยเลื่อนแม่น้ำแดง (Red River Fault Zone) ในประเทศเวียดนาม และมีการ<br />

เลื่อนตัวตามแนวระดับเหลื่อมขวา <br />

<br />

10. เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยและภูมิภาคใกล้เคียง<br />

ประเทศไทยมีประวัติการเกิดแผ่นดินไหวมาแต่ในอดีต พงศาวดารโยนกกล่าวว่า อาณาจักร<br />

โยนกซึ่งเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ได้เกิดแผ่นดินไหวหลายครั้ง <br />

ครั้งที่รุนแรงที่สุดทำให้อาณาจักรถึงกับล่มสลาย อาณาจักรโยนกนี้ตั้งอยู่บริเวณละติจูด 20.25<br />

องศาเหนือ และลองจิจูด 100.08 องศาตะวันออก อยู่ในเขตอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ใน<br />

ปัจจุบัน โดยพงศาวดารโยนกได้บันทึกการเกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์<br />

เดือน 7 แรม 7 ค่ำ พ.ศ. 1003 เวลากลางคืนว่า<br />

<br />

“...สุริยอาทิตย์ก็ตกไปแล้ว ก็ได้ยินเสียง เหมือนตั้งแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหวประดุจว่าเวียงโยนก<br />

นครหลวงที่นี้จักเกลื่อนจักพังไปนั้นแล แล้วก็หายไปครั้งหนึ่ง ครั้นถึงมัชฌิมยามก็ดังซ้ำเข้ามาเป็น<br />

คำรบสอง แล้วก็หายนั้นแล ถึงปัจฉิมยามก็ซ้ำดังมาอีกเป็นคำรบสาม หนที่สามนี้ดังยิ่งกว่าทุกครั้ง<br />

ทุกคราวที่ได้ยินมาแล้ว กาลนั้นเวียงโยนกนครหลวงที่นั้นก็ยุบจมลง เกิดเป็นหนองอันใหญ่ ยามนั้น<br />

คนทั้งหลายอันมีในเวียงที่นั้น มีพระมหากษัตริย์เป็นประธาน ก็วินาศฉิบหายตกไปในน้ำที่นั้นสิ้น...” <br />

<br />

ปัจจุบันบริเวณที่ตั้งอาณาจักรโยนกได้กลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ในอำเภอเชียงแสน จังหวัด<br />

เชียงราย ที่ชาวบ้านท้องถิ่นเรียกว่า “หนองลุ่ม”<br />

<br />

ในศิลาจารึกของอาณาจักรสุโขทัยได้บันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้ 2 ครั้ง พงศาวดารของ<br />

กรุงศรีอยุธยาได้มีการบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้ 7 ครั้ง และพงศาวดารของเชียงใหม่ได้บันทึก<br />

เหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้ 4 ครั้ง แผ่นดินไหวครั้งสำคัญที่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเมือง<br />

_11-0290(001-062).indd 44<br />

3/28/11 9:45:41 PM


45<br />

เชียงใหม่ พ.ศ. 2088 ในรัชสมัยพระนางมหาเทวีจิริประภา กษัตริย์องค์ที่ 16 แห่งราชวงศ์เม็งราย<br />

เกิดแผ่นดินไหวทำให้ส่วนยอดของเจดีย์ที่วัดเจดีย์หลวงหักโค่นลงมา ซึ่งเจดีย์องค์นั้นแต่เดิมสูงถึง <br />

86 เมตร หลังจากส่วนยอดได้หักโค่นลงมา จึงเหลือความสูงเพียง 60 เมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้<br />

ไม่ทราบว่ามีศูนย์กลางอยู่ที่ใด (รูปที่ 35)<br />

<br />

จากการศึกษาข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับตำแหน่งจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว และความรุนแรง<br />

ของแผ่นดินไหวที่ได้ข้อมูลจากเครื่องมือวัดแผ่นดินไหว รวบรวมโดยปริญญา นุตาลัย และคณะ <br />

(Nutalaya et al., 1985) ตั ้งแต่ พ.ศ. 1989 ถึง พ.ศ. 2526 กรมอุตุนิยมวิทยา (2547) ตั ้งแต่ พ.ศ. 1926<br />

ถึง พ.ศ. 2546 และกรมทรัพยากรธรณี ได้รวบรวมข้อมูลต่อตั้งแต่ พ.ศ. 2546 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.<br />

2553 ระหว่างเส้นรุ้งที่ 5-20 องศาตะวันออก และเส้นแวงที่ 95-106 องศาเหนือ สามารถตรวจวัด<br />

ได้ประมาณ 573 ครั้ง (รูปที่ 36) สามารถตรวจพบ แผ่นดินไหวขนาด 0-3.0 ตามมาตราริกเตอร์<br />

จำนวน 228 ครั้ง แผ่นดินไหวขนาด 3.01-5.0 ตามมาตราริกเตอร์ จำนวน 296 ครั้ง แผ่นดินไหว<br />

ขนาด 5.01-6.0 ตามมาตราริกเตอร์ จำนวน 43 ครั้ง แผ่นดินไหวขนาด 6.01-7.0 ริกเตอร์ จำนวน 5<br />

ครั้ง สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มากกว่า 7 ริกเตอร์ จำนวน 1 ครั้ง คือเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2473<br />

แผ่นดินไหวขนาด 7.3 ศูนย์กลางแผ่นดินไหวในพม่า แผ่นดินไหวครั้งนี้รู้สึกได้ที่กรุงเทพมหานครด้วย <br />

รูปที่ 35 เกิดแผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. 2088 ทำให้ส่วนยอดของเจดีย์ที่วัดเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่<br />

หักโค่นลงมา แต่เดิมองค์เจดีย์สูงถึง 86 เมตร หลังจากส่วนยอดได้หักโค่นลงมาจึงเหลือ<br />

ความสูงเพียง 60 เมตร (กรมทรัพยากรธรณี, 2549)<br />

_11-0290(001-062).indd 45<br />

3/28/11 9:45:42 PM


46<br />

รูปที่ 36 จุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง<br />

_11-0290(001-062).indd 46<br />

3/28/11 9:45:49 PM


11. บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย<br />

แผ่นดินไหวเป็นเหตุการณ์ธรรมชาติที่ไม่อาจพยากรณ์ได้ อันตรายสำคัญจากแผ่นดินไหวได้แก่<br />

อาคารพังทลายทับผู้ที่อยู่อาศัย และสัญจรไปมา มาตรการป้องกันอันตรายที่ใช้อยู่ทั่วไป ได้แก่ การ<br />

กำหนดพื้นที่ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว จัดแบ่งพื้นที่ออกตามระดับความเสี่ยง และกำหนดมาตรฐาน<br />

การออกแบบก่อสร้างอาคารในแต่ละพื้นที่ ให้มีความต้านทานแผ่นดินไหวที่เหมาะสม<br />

<br />

กรมทรัพยากรธรณีได้จัดทำแผนที่บริเวณความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2<br />

พ.ศ. 2548 ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลของแนวรอยเลื่อนมีพลัง ลักษณะธรณีวิทยา ความถี่และขนาด<br />

แผ่นดินไหวที่เกิดในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้วิศวกรใช้ในการออกแบบก่อสร้าง<br />

อาคารที่ต้องคำนึงถึงค่าความปลอดภัยให้เพียงพอ (รูปที่ 37)<br />

<br />

สำหรับกรุงเทพมหานครเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่นกว่า 8 ล้านคน <br />

มีอาคารสูงเป็นจำนวนมาก ในช่วงเวลา 2 ศตวรรษที่ผ่านมา มีการบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่<br />

สามารถรู้สึกได้มากกว่า 20 ครั้ง ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจทำให้ตระหนกตกใจ แต่ก็ยังไม่เคยสร้างความ<br />

เสียหาย เมื่อพิจารณาด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในเขตที่มีความเสี่ยงต่อภัย<br />

แผ่นดินไหวระดับต่ำ สำหรับรอยเลื่อนมีพลังที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างออกไป 120 - 300 กิโลเมตร ซึ่งเป็น<br />

รอยเลื่อนที่มีรอบของการกำเนิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ประมาณ 1,000 ปี ส่วนรอยเลื่อนที่มีการ<br />

เคลื่อนไหวในรอบประมาณ 100 ปี อยู่ห่างออกไป 400 – 1,000 กิโลเมตร <br />

<br />

ในปัจจุบันได้มีงานวิจัยในประเทศไทยที่นำข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหวที่มีอยู่ทั้งในประเทศไทย<br />

และประเทศใกล้เคียง มาประมวลและวิเคราะห์ สร้างเป็นแผนที่ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของ<br />

ประเทศไทย โดยจัดพื้นที่ตามระดับอัตราเร่งสูงสุดของแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้น โดยหลักเกณฑ์ที่ใช้<br />

จะใกล้เคียงกับกฎหมายควบคุมอาคาร (Uniform Building Code หรือ UBC) ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา<br />

การจัดพื้นที่ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 ระดับจากระดับ 0 ถึงระดับ 4 โดยระดับ 0 หมายถึง พื้นที่<br />

ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว และระดับ 4 เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด กล่าวคือมีแผ่นดินไหวขนาด<br />

ใหญ่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง (รูปที่ 38)<br />

<br />

ในการออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหว โดยทั่วไปจะยอมให้อาคารมีการโยกไหวจนตัวอาคาร<br />

แตกร้าวเสียหายได้ แต่จะต้องไม่พังทลายลงมา การออกแบบโครงสร้างอาคารให้ต้านทานการสั่น<br />

สะเทือน จากแผ่นดินไหวเป็นเรื่องยาก เพราะจะต้องคำนึงถึงพฤติกรรมทางพลศาสตร์ในสภาวะที่มี<br />

การเปลี่ยนรูปร่างเกินพิกัดยืดหยุ่น (Elastic Limit) หลักการออกแบบตามมาตรฐานที่ใช้อยู่ทั่วไปจึง<br />

ปรับให้ง่ายขึ้น โดยกำหนดให้ออกแบบให้โครงสร้างสามารถรับแรงในแนวราบได้ในระดับที่กำหนด<br />

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ออกแบบต้องพิจารณารูปร่างสัดส่วน โครงสร้างให้มีความสมมาตร สามารถโยก<br />

ไหวได้โดยไม่บิดตัว นอกจากนี้ จะต้องคำนึง ถึงการจัดรายละเอียด เช่น การเสริมเหล็กให้โครงสร้าง<br />

สามารถดูดซับพลังงานได้ดี <br />

47<br />

_11-0290(001-062).indd 47<br />

3/28/11 9:45:49 PM


48<br />

แผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผนดินไหวของประเทศไทย<br />

(ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๘)<br />

รูปที่ 37 แสดงแผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผนดินไหวของประเทศไทย (กรมทรัพยากรธรณี, 2548)<br />

_11-0290(001-062).indd 48<br />

3/28/11 9:45:56 PM


49<br />

รูปที่ 38 แผนที่แสดงระดับความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวและโซนเสี่ยงภัยตามเกณฑ์ของ UBC ตัวเลข<br />

คืออัตราส่วนระหว่างอัตราเร่งสูงสุดในแนบราบของแผ่นดินไหวต่ออัตราเร่งของสนาม<br />

โน้มถ่วงโลก โดยที่โอกาสเกิดแผ่นดินไหวในรอบ 50 ปี มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว 10% <br />

(เป็นหนึ่ง วานิชชัย, 2537)<br />

_11-0290(001-062).indd 49<br />

3/28/11 9:45:56 PM


50<br />

การเกิดแผ่นดินไหว นอกจากจะทำให้อาคารโยกไหวแล้ว แผ่นดินไหวอาจทำให้พื้นดินมีสภาพ<br />

คล้ายของเหลวและสูญเสียกำลังรับน้ำหนักโดยสิ้นเชิง สภาพการณ์เช่นนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดิน<br />

ไหวในบริเวณที่มีสภาพดินเป็นชั้นทรายที่อิ่มตัวด้วยน้ำใต้ดิน การที่ดินมีสภาพคล้ายของเหลวเกิดจาก<br />

การที่พื้นดินได้รับแรงกระแทกจากแรงไหวสะเทือนของแผ่นดินไหว ภายใต้แรงกระทำดังกล่าว <br />

แรงดันน้ำระหว่างมวลดินจะสูงกว่าแรงดันระหว่างมวลดิน ซึ่งทำให้ดินสูญเสียกำลังเฉือน ในสภาพ<br />

เช่นนี้ อาจเกิดสภาวะทรายดูด หรือดินไหลในแนวราบเช่นเดียวกับของเหลวสิ่งก่อสร้างอาจจมหรือ<br />

ทรุดตัวลง <br />

<br />

จากการศึกษาถึงความเสียหายของโครงสร้างที่เกิดจากการเกิดแผ่นดินไหว พบว่า มีโครงสร้าง<br />

จำนวนมากเสียหายจากการที่พื้นดินกลายสภาพคล้ายของเหลวขณะเกิดแผ่นดินไหว ตัวอย่างเช่น <br />

แผ่นดินไหวที่ประเทศชิลีในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2503 แผ่นดินไหวที่ประเทศเม็กซิโกในวันที่ 26<br />

สิงหาคม พ.ศ. 2502 และแผ่นดินไหวที่มลรัฐอะแลสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. 2507 <br />

<br />

มาตรการสำคัญในการสร้างความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่ใน<br />

เขตพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว คือการกำหนดให้วิศวกรออกแบบอาคารต่างๆ ให้สามารถต้านทานแรง<br />

สั่นสะเทือนแผ่นดินไหวได้ การกำหนดดังกล่าวคือการออกกฎหมายบังคับใช้ในการออกแบบและ<br />

ก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงภัย จากความพยายามของหลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยงข้องทำให้มีกฎกระทรวง<br />

มหาดไทย ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522<br />

ออกมาบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2540 ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาพบว่าประเทศไทยได้รับผลกระทบและมี<br />

ความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวกว่าที่ได้ทำการศึกษามาในอดีต โดยเฉพาะเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่<br />

26 ธันวาคม 2547 ทำให้นักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ให้ความสำคัญกับกฎกระทรวงมหาดไทย<br />

ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) เป็นอย่างมาก จึงได้เสนอให้มีการแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวให้มีความ<br />

เหมาะสมในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น<br />

<br />

โดยการแก้ไขกฎกระทรวงในครั้งนี้ สืบเนื่องจากผลการศึกษาพบว่าพื้นที่กรุงเทพมหานครและ<br />

ปริมณฑลเป็นชั้นดินอ่อน ซึ่งส่งผลให้เกิดการขยายแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ทำให้อาคารใน<br />

บริเวณดังกล่าวมีความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวระยะไกล ประกอบกับพื้นที่ภาคใต้บางส่วนของประเทศ<br />

ไทยตั้งอยู่บนรอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ซึ่งมีการสั่นสะเทือนอยู่บ่อยครั้งทำให้อาคาร<br />

ในบริเวณดังกล่าวมีความเสี่ยงจากภัยแผ่นดินไหว ประกอบกับหลักเกณฑ์การรับน้ำหนัก ความ<br />

ต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของ<br />

แผ่นดินไหว ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติ<br />

ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ไม่ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าว และไม่<br />

สามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวได้ตามมาตรฐานสากล ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัย<br />

จึงมีการขยายพื้นที่การควบคุมอาคาร รวมทั้งปรับปรุงหลักเกณฑ์การรับน้ำหนัก ความต้านทาน<br />

ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว <br />

ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น<br />

_11-0290(001-062).indd 50<br />

3/28/11 9:45:56 PM


51<br />

กฎกระทรวงมหาดไทย (กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและ<br />

พื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550, ภาคผนวก)<br />

สามารถสรุปได้ดังนี้<br />

(1) การเพิ่มเติมพื้นที่ควบคุมและจัดแบ่งเขตพื้นที่ใหม่ คือ<br />

“บริเวณเฝ้าระวัง” หมายถึง พื้นที่หรือบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่<br />

จังหวัดกระบี่ จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง จังหวัดสงขลา และจังหวัด<br />

สุราษฎร์ธานี รวม 7 จังหวัด<br />

“บริเวณที่ 1” หมายถึง พื้นที่หรือบริเวณที่เป็นดินอ่อนมากที่อาจได้รับผลกระทบจาก<br />

แผ่นดินไหวระยะไกล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ<br />

และจังหวัดสมุทรสาคร รวม 5 จังหวัด <br />

“บริเวณที่ 2” หมายถึง พื้นที่หรือบริเวณที่อยู่ใกล้รอยเลื่อนที่อาจได้รับผลกระทบจาก<br />

แผ่นดินไหว ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดน่าน<br />

จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน รวม 10 จังหวัด<br />

(2) การจัดกลุ่มประเภทอาคารควบคุมให้มีความชัดเจนมากขึ้น <br />

- กำหนดประเภทอาคารควบคุมตามบริเวณ เนื่องจากผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่มี<br />

ต่ออาคารประเภทต่างๆ ในแต่ละเขตมีความแตกต่างกัน<br />

- สะพาน ทางยกระดับที่มีช่วงระหว่างศูนย์กลางตอม่อยาวตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป <br />

- เขื่อนเก็บกักน้ำ เขื่อนทดน้ำ หรือฝายทดน้ำ ที่ตัวเขื่อนหรือตัวฝายมีความสูงตั้งแต่<br />

10 เมตรขึ้นไป<br />

ทั้งนี้ กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้เล็งเห็นว่าหากมีมาตรฐานการออกแบบที่ถูกต้องจะเป็น<br />

ประโยชน์แก่วิศวกรผู้ออกแบบ จึงได้จัดทำมาตรฐานเพื่อเพิ่มเติมรายละเอียดการคำนวณออกแบบ<br />

ในกฎกระทรวงให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น<br />

ตัวอย่างคลื่นแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 (คัดลอกจาก http://www.dnr.state.oh.us/<br />

Portats/10/ohioseis/earthquakes/sumatra/tsunami.gif)<br />

_11-0290(001-062).indd 51<br />

3/28/11 9:45:57 PM


52<br />

12. การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับแผ่นดินไหว<br />

นอกจากการป้องกันการพังทลายของอาคารแล้ว มาตรการเตรียมพร้อมและการเตรียมรับ<br />

สถานการณ์ฉุกเฉินหลังเกิดเหตุ ก็มีส่วนช่วยบรรเทาความเสียหายได้บ้าง สำหรับคำแนะนำการ<br />

ป้องกันอันตรายจากแผ่นดินไหว<br />

การเตรียมพร้อม <br />

1) ควรมีไฟฉาย ถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และแจ้งให้ทุกคน ทราบว่า<br />

เก็บไว้ที่ไหน <br />

2) ควรศึกษาการปฐมพยาบาลขั้นต้น เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน <br />

3) ควรทราบตำแหน่งวาล์วปิดถังแก๊ส ปิดน้ำ และตำแหน่งสะพานไฟฟ้าสำหรับตัดกระแส<br />

ไฟฟ้า และทุกคนในบ้านควรจะ ทราบวิธีการปิดวาล์วถังแก๊ส และยกสะพานไฟฟ้า <br />

4) อย่าวางของหนักไว้บนชั้นหรือหิ้งสูงๆ เพราะเมื่อมีการสั่นไหว สิ่งของอาจตกลงมาเป็น<br />

อันตรายต่อคนในบ้าน <br />

5) ผูกเครื่องใช้ให้แน่นกับพื้น และยึดเครื่องประดับบ้านหนักๆ เช่น ตู้ถ้วยชาม ไว้กับผนัง <br />

6) ควรวางแผนการในกรณีที่ทุกคนอาจต้องพลัดพรากจากกัน ว่าจะกลับมารวมกันที่ไหน<br />

อย่างไร <br />

เมื่อเกิดแผ่นดินไหว <br />

1) อยู่อย่างสงบ ควบคุมสติ อย่าตื่นตกใจ ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ให้<br />

อยู่นอกบ้าน ส่วนใหญ่คนที่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้า - ออกจากบ้าน <br />

2) ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้ยืนอยู่ในส่วนของ บ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง และควรอยู่ห่างจากหน้าต่าง<br />

และประตูที่จะออกข้างนอก <br />

3) ถ้าอยู่ในที่โล่ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าหรือสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ที่อาจตกลงมา <br />

4) อย่าใช้เทียนไข ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่ใน บริเวณนั้น <br />

5) ถ้ากำลังอยู่ในรถยนต์ ให้หยุดรถ และอยู่ในรถต่อไปจนกว่าการสั่นสะเทือนจะ หยุดลง <br />

6) ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว <br />

7) หากอยู่ใกล้ชายทะเล ให้อยู่ห่างจาก ฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง <br />

เมื่ออาการสั่นไหวสงบลง <br />

1) ควรตรวจดูตัวเองและคนใกล้เคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ถ้ามีการบาดเจ็บ ให้ทำการ<br />

ปฐมพยาบาลก่อน หากว่าบาดเจ็บมาก ให้นำส่งสถานพยาบาลต่อไป <br />

2) ควรรีบออกจากตึกที่เสียหาย เพื่อความปลอดภัยจากอาคารถล่มทับ <br />

3) ควรตรวจท่อน้ำ แก๊ส และสายไฟฟ้า หากพบส่วนที่เสียหาย ปิดวาล์วน้ำหรือถังแก๊ส และ<br />

ยกสะพานไฟฟ้า <br />

4) ตรวจแก๊สรั่วโดยการดมกลิ่น ถ้าได้ กลิ่นแก๊ส ให้เปิดหน้าต่างและประตูทุกบาน รีบออก<br />

จากบ้าน และแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง <br />

5) เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ถ้าไม่จำเป็น เพราะอาจจะใช้ส่งข่าว <br />

_11-0290(001-062).indd 52<br />

3/28/11 9:45:57 PM


53<br />

6) อย่ากดน้ำล้างโถส้วมจนกว่าจะตรวจสอบว่า มีสิ่งตกค้างอยู่ในท่อระบายหรือไม่ <br />

7) สวมรองเท้าหุ้มส้น เพื่อป้องกันเศษแก้วและสิ่งปรักหักพังทิ่มแทง <br />

เตรียมรับมือแผ่นดินไหว<br />

13. แผ่นดินไหว ภัยที่ไม่อาจพยากรณ์<br />

ในสมัยโบราณ หลายประเทศในโลก มีตำนานที่ใช้อธิบายถึงปรากฏการณ์แผ่นดินไหว นิยาย<br />

ปรัมปราของชาวฮินดูบอกว่า มีช้างแปดเชือกหนุนผืนแผ่นดินอยู่ เมื่อมันสะบัดหัว ก็จะทำให้เกิด<br />

แผ่นดินไหวขึ้น ชาวมองโกเลียเชื่อว่ามีกบยักษ์นอนหลับหนุนโลก หากมันตื่นขึ้น และขยับตัวเมื่อไร <br />

ก็จะเกิดแผ่นดินไหวเมื่อนั้น ไทยเรามีปลาอานนท์ ส่วนญี่ปุ่นก็มีปลาดุกยักษ์นามาสุ ที่ถูกเทพเจ้า<br />

สั่งให้ทำหน้าที่หนุนผืนแผ่นดินไว้ ปัจจุบันเรามีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ที่สามารถอธิบาย<br />

ปรากฏการณ์นี้ได้ชัดเจน โดยไม่ต้องอาศัยเพียงจินตนาการเช่นคนยุคก่อน เรารู้สาเหตุของการเกิด<br />

แผ่นดินไหว รู้ถึงระดับแรงสั่นสะเทือนของมัน รวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ อีกมาก แต่ถึง<br />

กระนั้นเราก็ยังไม่อาจหาคำตอบที่สำคัญที่สุด เกี่ยวกับแผ่นดินไหว<br />

_11-0290(001-062).indd 53<br />

3/28/11 9:45:59 PM


54<br />

ญี่ปุ่นเองเป็นประเทศหนึ่งที่ถูกคุกคามทั้งจากแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และคลื่นสึนามิ เนื่อง<br />

จากทำเลที่ตั้งนอกจากจะเป็นเกาะแล้ว ยังตั้งอยู่บนสี่แยกอันตราย สี่แยกที่ว่านี้ก็คือรอยต่อของ<br />

เปลือกโลกสี่แผ่น อันได้แก่ แผ่นยูเรเชีย แผ่นฟิลิปปินส์ แผ่นอเมริกาเหนือ และแผ่นแปซิฟิก รอยต่อ<br />

ระหว่างแผ่นเป็นลักษณะมุดตัวซ้อนกัน โดยแผ่นมหาสมุทรที่มีความหนาแน่นมากกว่า มุดเข้าไปใต้<br />

แผ่นทวีป ทำให้พื้นที่ประเทศญี่ปุ่นมีพร้อมทั้งแนวภูเขาไฟที่มีพลัง และรอยเลื่อนมีพลังหลายแห่ง<br />

จากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก อันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผ่นดินไหว<br />

ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับแผ่นดินไหว และได้ลงทุนศึกษา<br />

ค้นคว้าวิจัย เรื่องแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง โดยหวังว่าความรู้ที่ได้จะช่วยทำนาย และเตือนภัยแผ่น<br />

ดินไหวล่วงหน้าได้ แต่จนถึงในปัจจุบันก็ยังไม่สำเร็จ ทั้งนี้เพราะถึงแม้การเกิดแผ่นดินไหวทุกครั้ง <br />

จะมีจุดศูนย์กลางของการเกิด ซึ่งเรียกว่า “จุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว” และมีรอบของการเกิดแผ่นดิน<br />

ไหวที่เรียกว่า “คาบอุบัติซ้ำ” ที่น่าจะทำให้สามารถพยากรณ์ การเกิดแผ่นดินไหวล่วงหน้าได้ <br />

แต่เนื่องจากรอยเลื่อนตัวหนึ่ง จะพบจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ตลอดแนว<br />

รอยเลื่อน ทั้งยังเกิดในเวลาที่ต่างกัน การพยากรณ์โดยยึดจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว และคาบอุบัติซ้ำ<br />

จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ โดยทั่วไปแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ซึ่งมีรอบการเกิดสั้นจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งทั่วโลก <br />

ขณะที่การเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งรอบการเกิดยาวนานกว่า (อาจนับเป็นร้อยหรือพันๆ ปี) <br />

จะเกิดขึ้นนานๆ ครั้ง ทว่าแต่ละครั้งก็จะก่อความเสียหายอย่างรุนแรง<br />

อย่างไรก็ตาม ความพยายามของมนุษย์ก็ไม่จบสิ้นลงง่ายๆ ปัจจุบันยังมีการศึกษาวิจัยใน<br />

แนวทางอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การวัดค่าความเครียดความเค้นของเปลือกโลก วัดก๊าซเรดอน วัดการ<br />

เปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กโลก รวมถึงการบันทึกประวัติการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนต่างๆ <br />

ตามความยาวทั้งหมด และแผ่นดินไหวที่เกิดต่อเนื่อง แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่ประสบความสำเร็จนัก<br />

ด้วยเหตุนี้การศึกษาแผ่นดินไหว จึงมุ่งไปสู่การวางแผนรับมือ เมื่อเกิดอุบัติภัยมากกว่าการ<br />

พยากรณ์ล่วงหน้า ที่ญี่ปุ่นมีการออกแบบอาคารสำนักงาน ที่ลดแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวลงได้<br />

ถึงร้อยละ 65 ตัวอาคารจะมีการถ่ายน้ำหนัก จากระบบไฮโดรริก โดยปรับตำแหน่ง และควบคุมการ<br />

ถ่ายน้ำหนักด้วยคอมพิวเตอร์ ในลักษณะที่คล้ายกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อของคน ที่ยืนโหนอยู่<br />

บนรถเมล์ ส่วนที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ก็มีการออกแบบสร้างอาคารโรงพยาบาล ที่ลด<br />

แรงสั่นสะเทือน มีการวางระบบท่อไฟฟ้า และท่อแก๊สที่ยืดหยุ่น เพื่อให้โรงพยาบาลยังคงเหลือรอด<br />

อยู่ เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว<br />

นอกจากนี้ยังมีการค้นคิดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่จะช่วยประเมินความเสียหายจากแผ่นดิน<br />

ไหวที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องคอย การรายงานผลสำรวจความเสียหาย<br />

ตามขั้นตอนอย่างเป็นทางการ และสามารถดำเนินการช่วยเหลือ ผู้ได้รับความเดือดร้อนได้อย่าง<br />

ทันท่วงที ยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า EPEDAT (Early Post Earthquake Damage <br />

Assessment Tool) โปรแกรมจะคำนวณความเสียหายตามขนาดแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น โดย<br />

จะประเมินและแสดงตำแหน่งอาคาร ที่อาจจะถล่มลงมา รวมทั้งจุดที่อาจจะมีผู้บาดเจ็บจาก<br />

อาคารถล่ม<br />

_11-0290(001-062).indd 54<br />

3/28/11 9:45:59 PM


55<br />

ช่วงเวลา 24 ชั่วโมงหลังเกิดแผ่นดินไหว เป็นชั่วโมงเร่งด่วนที่จะช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เพราะผู้<br />

เคราะห์ร้ายจะมีโอกาสรอดชีวิตสูง การกู้ภัยสากลของอังกฤษ ได้ทดลองนำอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี<br />

สูงมาใช้ในการกู้ภัย เช่น นำกล้องไฟเบอร์ออปติกขนาดเล็ก ที่ใช้ในทางการแพทย์หย่อนลงไป <br />

ตามซอกของอาคาร เพื่อส่องหาผู้รอดชีวิต หรือใช้เครื่องวัดเสียงอัลตราโซนิก ที่ช่วยให้ได้ยิน <br />

แม้กระทั่งเสียงที่เบาที่สุดอย่างเสียงเคาะเบาๆ ในระยะห่างไปหลายเมตร เสียงเหล่านี้สำคัญมาก<br />

เพราะในการช่วยเหลือ มักได้ยินเสียงก่อนจะมองเห็นตัว อุปกรณ์ดังกล่าวนี้ได้นำไปใช้กู้ภัยที่เมือง<br />

โกเบ ประเทศญี่ปุ่นมาแล้ว<br />

สำหรับประเทศไทยเอง ได้มีโหรราศาสตร์ ผู้รู้ต่างๆ พากันทำนายว่าจะเกิดแผ่นดินไหวขนาด<br />

ใหญ่ ช่วงปลายปี พ.ศ. 2553 ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิซัดเข้าฝั่งดังเช่นเหตุการณ์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม<br />

2547 ผลสุดท้ายแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวก็ไม่ได้เกิดขึ้น แต่กลับส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยว<br />

ของ 6 จังหวัดฝั่งทะเลอันดามันเป็นอย่างมาก เมื่อกลับมาศึกษาข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่<br />

ที่เคยเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะพบว่าพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่<br />

และก่อเกิดให้เกิดคลื่นสึนามิได้นั้นประกอบด้วยพื้นที่ 4 พื้นที่ คือ 1) พื้นที่เกาะนิโคบาร์ 2) พื้นที่<br />

เกาะสุมาตราตอนกลาง 3) พื้นที่เกาะสุมาตราตอนใต้ และ 4)พื้นที่ตอนใต้ของประเทศเวียดนาม <br />

รูปที่ 39 พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />

_11-0290(001-062).indd 55<br />

3/28/11 9:46:00 PM


56<br />

กรมทรัพยากรธรณี ได้ดำเนินการจัดทำแบบจำลองการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิด<br />

คลื่นสึนามิในพื้นที่ 1 และพื้นที่ 4 พบว่า บริเวณพื้นที่ 1 หากเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ริกเตอร์<br />

คลื่นสึนามิจะพัดเข้าฝั่งประเทศไทย พื้นที่แรกที่เกาะเมี่ยง จังหวัดพังงา ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 20 นาที<br />

ที่จังหวัดภูเก็ตใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง <br />

รูปที่ 40 แบบจำลองการเกิดสึนามิ กรณีเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ริกเตอร์ บริเวณพื้นที่ 1<br />

_11-0290(001-062).indd 56<br />

3/28/11 9:46:01 PM


57<br />

สำหรับพื้นที่ที่ 4 นั้น หากเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.5 ริกเตอร์ คลื่นสึนามิจะพัดเข้าฝั่ง<br />

ประเทศไทย บริเวณจังหวัดปัตตานี ใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง และคลื่นจะเข้าฝั่งบริเวณ<br />

กรุงเทพมหานคร ใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่<br />

ก่อให้เกิดคลื่นสึนามินั้น สามารถแจ้งเตือนภัยได้ล่วงหน้า ขอให้ประชาชนรับฟังข่าวสารจากประกาศ<br />

ของทางราชการให้ดี อย่างได้ตื่นตระหนกกับกระแสข่าวลือต่างๆ สามารถสอบถามรายละเอียด<br />

ระบบเตือนภัยได้ที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (http://www.ndwc.go.th/)<br />

รูปที่ 41 แบบจำลองการเกิดสึนามิ กรณีเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.5 ริกเตอร์ บริเวณพื้นที่ 4<br />

_11-0290(001-062).indd 57<br />

3/28/11 9:46:02 PM


58<br />

14. บทสรุป<br />

แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจาก<br />

การปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลก เพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้<br />

คงที่ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายเวลา สถานที่ และความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่<br />

จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการเกิดของแผ่นดินไหว<br />

ที่แท้จริง เพื่อเป็นแนวทางในการลดความเสียหายที่เกิดขึ้น <br />

สำหรับประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการสำรวจรอยเลื่อนมีพลังซึ่งเป็นบริเวณที่เกี่ยว<br />

ข้องกับแผ่นดินไหวพบว่า ประเทศไทยมีแนวรอยเลื่อนมีพลังจำนวน 13 รอยเลื่อนด้วยกัน ประกอบด้วย<br />

รอยเลื่อนเมย รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน รอยเลื่อนแม่จัน<br />

(และรอยเลื่อนแม่อิง) รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนเถิน(และรอยเลื่อนแม่น้ำยม) รอยเลื่อนพะเยา <br />

รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ รอยเลื่อนปัว รอยเลื่อนระนอง รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย และรอยเลื่อนท่าแขก โดย<br />

รอยเลื่อนมีพลังดังกล่าวพาดผ่านพื้นที่ 22 จังหวัดด้วยกัน กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการสำรวจ<br />

ธรณีวิทยาแผ่นดินไหวในเบื้องต้นแล้วบางส่วน พบว่าแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นในอดีตน้อยกว่า 7.0 <br />

จัดเป็นแผ่นดินไหวค่อนข้างใหญ่ (Strong) แต่อย่างไรก็ตาม กรมทรัพยากรธรณี ยังมีความจำเป็น<br />

ต้องทำการศึกษาให้ครบทุกส่วนของรอยเลื่อนและนำเสนอสู่ประชาชนเพื่อให้ทราบว่า บริเวณใดบ้าง<br />

ในพื้นที่ 22 จังหวัด ที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวรุนแรงมากน้อยอย่างไร เพื่อสร้างความ<br />

เชื่อมั่นและเตรียมความพร้อมในการบรรเทาภัยแผ่นดินไหวแก่ประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จะนำ<br />

ไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการออกแบบอาคาร การวางผังเมืองและสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ ให้<br />

สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวได้อย่างปลอดภัย ตามกฎกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดการรับ<br />

น้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่น<br />

สะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550 ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ของกรม<br />

โยธาธิการและผังเมือง นอกจากนี ้ ยังเป็นข้อมูลสำหรับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ<br />

และสิ่งแวดล้อม กรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน การไฟฟ้า<br />

ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการ<br />

ศึกษาต่างๆ บริษัทเอกชนและประชาชนผู้สนใจ ในการจัดทำแผนการบรรเทาภัยแผ่นดินไหว <br />

<br />

_11-0290(001-062).indd 58<br />

3/28/11 9:46:03 PM


15. เอกสารอ้างอิง<br />

กฎกระทรวงมหาดไทย (กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและ<br />

พื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550)<br />

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550<br />

กรมทรัพยากรธรณี, 2548, แผนที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย<br />

กรมทรัพยากรธรณี, 2549, แผ่นดินไหว 13 ธันวาคม 2549 ขนาด 5.1 ริกเตอร์, 20 หน้า<br />

กรมทรัพยากรธรณี, 2550, การศึกษาคาบอุบัติซ้ำในพื้นที่ที่แสดงร่องรอยการเคลื่อนตัวของรอย<br />

เลื่อนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร ตาก (รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอนและรอยเลื่อนเมย) <br />

รายงานฉบับสมบูรณ์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรธรณี <br />

กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, 228 หน้า<br />

กรมทรัพยากรธรณี, 2551, การศึกษาคาบอุบัติซ้ำในพื้นที่ที่แสดงร่องรอยการเคลื่อนตัวของรอย<br />

เลื่อนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา และภูเก็ต (รอยเลื่อน<br />

ระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย) รายงานฉบับสมบูรณ์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ<br />

สิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรธรณี กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, 248 หน้า<br />

กรมทรัพยากรธรณี, 2552, การศึกษาคาบอุบัติซ้ำในพื้นที่ที่แสดงร่องรอยการเคลื่อนตัวของ<br />

รอยเลื่อนในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแพร่ (รอยเลื่อนแม่ทา และรอยเลื่อนเถิน) <br />

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรธรณี กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, <br />

322 หน้า<br />

กรมทรัพยากรธรณี, 2553, การศึกษาคาบอุบัติซ้ำในพื้นที่ที่แสดงร่องรอยการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน<br />

มีพลังใน จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และพะเยา(กลุ่มรอยเลื่อนแม่จันและกลุ่มรอยเลื่อนพะเยา)<br />

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรธรณี กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, <br />

392 หน้า<br />

กรมชลประทาน, 2549, งานขุดและศึกษารอยเลื่อนแม่น้ำยม บริเวณเขื่อนแก่งเสือเต้น อำเภอสอง <br />

จังหวัดแพร่, รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์, กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, <br />

174 หน้า<br />

กรมชลประทาน, 2552, โครงการศึกษา Dam Break เขื่อนแควน้อย จังหวัดพิษณุโลก, รายงานสรุป<br />

สำหรับผู้บริหาร, กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์<br />

กรมอุตุนิยมวิทยา, 2547, การสร้างฐานข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ด้วยเครือข่ายสถานีวัด<br />

แผ่นดินไหว, รายงานฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)<br />

ปรีชา สายทองและ สุวิทย์ โคสุวรรณ, 2551, แผ่นดินไหวกับประเทศไทย, รายงานวิชาการ ฉบับ<br />

ที่ กธส. 4/2550, กรมทรัพยากรธรณี กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, 60 หน้า<br />

พัชรีภรณ์ หาญพงษ์, 2546, ลักษณะธรณีสัณฐานวิทยาของกลุ่มรอยเลื่อนระนอง, มหาวิทยาลัย<br />

ขอนแก่น, รายงานโครงการพิเศษ ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี<br />

59<br />

_11-0290(001-062).indd 59<br />

3/28/11 9:46:03 PM


60<br />

เป็นหนึ่ง วานิชชัย และ อาเด ลิซานโตโน (2537), การวิเคราะห์ความเสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวสำหรับ <br />

ประเทศไทย, วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2537, วิศวกรรมสถาน<br />

แห่งประเทศไทยฯ, หน้า 30-52<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั้งที่ 13/2551 (30 มีนาคม <br />

2551), ราชบัณฑิตยสถาน, เขื่อนอุบลรัตน์ ขอนแก่น.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั้งที่ 12/2551 (25 มีนาคม <br />

2551), ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั ้งที่ 11/2551 (18 มีนาคม 2551), <br />

ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั ้งที่ 10/2551 (11 มีนาคม 2551), <br />

ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั ้งที่ 9/2551 (11 มีนาคม 2551), <br />

ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั้งที่ 8/2551 (26 กุมภาพันธ์ <br />

2551), ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั้งที่ 7/2551 (19 กุมภาพันธ์<br />

2551), ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั้งที่ 6/2551 (12 กุมภาพันธ์<br />

2551), ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั้งที่ 5/2551 (5 กุมภาพันธ์<br />

2551), ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

ราชบัณฑิตยสถาน, 2544, พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร:<br />

ราชบัณฑิตยสถาน, 384 หน้า.<br />

สุวิทย์ โคสุวรรณ, ปรีชา สายทอง, วีระชาติ วิเวกวิน และเอกชัย แก้วมาตย์, 2550, แผ่นดินไหว<br />

โบราณของกลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี, รายงานวิชาการ ฉบับ<br />

ที่ กธส. 4/2550, กรมทรัพยากรธรณี กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, 80 หน้า<br />

Abbott, P. L. 2004. Natural Disasters. 4 th ed. New York: The McGraw-Hall, 460pp.<br />

Khaowiset, K., 2007, Neotectonic along Tha Pua Fault in Changwat Nan, Northtern Thailand: <br />

Evidence from Remote Sensing and Thermoluminescence Dating, Master’s Thesis. <br />

Department of Geology, Faculty of Science, Chulalongkorn University: 244pp.<br />

Nutalaya, P., Sodsri, S., and Arnold, E.P., 1985, Series on Seismology Volume II Thailand: <br />

Southeast Asia Association of Seismology and Earthquake Engineering, 403 p.<br />

_11-0290(001-062).indd 60<br />

3/28/11 9:46:03 PM


61<br />

Fenton, C. H. Charusiri, P. Hinthong, C. Lumjuan, A. and Mangkonkarn, B. 1997. Late <br />

Quaternary faulting in northern Thailand. In: Proceedings of the International Conference <br />

on Stratigraphy and Tectonic Evolution of Southeast Asia and the South Pacific, Bangkok, <br />

Department of Mineral Resources, August: 436-452.<br />

Tapponnier, P. Peltzer, G. Armijo, R. Le Dain, A. and Coobbold, P. 1982. Propagating Extrusion <br />

Tectonics in Asia: New insights from simple experiments with plasticine. Geology, <br />

v. 10: 611-616.<br />

http://www.ac.wwu.edu/~debari /406/lec1.html<br />

http://www.calstatela.edu/faculty/acolvil/quakes/epi_location.jpg<br />

http://www.clastatela.edu/geology/ehlab/tectonics/seafloor.htm<br />

http://www.calstatela.edu/faculty/acolvil/quakes/seisgram.jpg<br />

http://www.dept.kent.edu/geology/ehlab/tectonics/tectonics.htm<br />

http://www.dmr.go.th<br />

http://www.geology.usgs.org<br />

http://www.geo.mtu.edu/UPSeis/swave_web.jpg<br />

http://www.indiana.edu/~geol116/week8/wk8.htm<br />

http://www.lamit.ro/images/earthquake-l-r-waves-passage.jpg<br />

http://www.lspace.org/ftp/images/misc/seismograph.jpg<br />

http://www.physicalgeography.net<br />

http://www.pubs.usgs.gov/gip/dynamic/dynamic.html<br />

http://www.sci.tsu.ac.th/py371/images/stories/3-12.gif<br />

http://www.tapapa.govt.nz <br />

http://www.topex.ucsd.edu/es10/lectures/lecture06/plates.gif<br />

_11-0290(001-062).indd 61<br />

3/28/11 9:46:03 PM


62<br />

แผนที่แสดงตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-2553 ขนาดตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไป<br />

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ<br />

ถนนราชวิถี<br />

ซอยโยธี<br />

ถนนพญาไท สี่แยก พญาไท<br />

สี่แยก ตึกชัย ถนนพระราม 6 สี่แยกศรีอยุธยา<br />

โรงพยาบาล<br />

รามาธิบดี<br />

องค์การเภสัชกรรม<br />

โรงพยาบาลราชวิถี<br />

โรงพยาบาลเด็ก<br />

มหาวิทยาลัย<br />

มหิดล<br />

กระทรวง กรมทรัพยากรธรณี<br />

อุตสาหกรรม<br />

โรงพยาบาล<br />

สงฆ์<br />

ทธ.<br />

กระทรวงการ<br />

ต่างประเทศ<br />

ถนนศรีอยุธยา<br />

กรมทางหลวง<br />

สน.พญาไท<br />

โรงเรียน<br />

อำนวยศิลป์<br />

โทรศัพท์ 0 2621 9801 โทรสาร 0 2621 9795<br />

www.dmr.go.th<br />

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม<br />

_11-0290(001-062).indd 62<br />

3/28/11 9:46:07 PM


อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี นางพรทิพย์ ปั่นเจริญ<br />

รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี<br />

รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี<br />

นายนพพล ศรีสุข<br />

นายทศพร นุชอนงค์<br />

ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย นายเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์<br />

ผู้อำนวยการส่วนวิจัยรอยเลื่อนมีพลัง นายสุวิทย์ โคสุวรรณ<br />

เขียนเรื่อง<br />

นายปรีชา สายทอง<br />

นายสุวิทย์ โคสุวรรณ<br />

<br />

<br />

พิมพ์ครั้งที่ 1 จำนวน 5,000 เล่ม กุมภาพันธ์ 2554<br />

จัดพิมพ์โดย<br />

พิมพ์ที่<br />

สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย<br />

กรมทรัพยากรธรณี 75/10 ถนนพระราม 6 <br />

เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400<br />

โทรศัพท์ 0 2621 9801<br />

โทรสาร 0 2621 9795<br />

บริษัท ธนาเพรส จำกัด กรุงเทพฯ<br />

โทรศัพท์ 0 2215 7220 <br />

โทรสาร 0 2214 0038<br />

<br />

แผนที่แสดงตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-2553 ขนาดตั้งแต่ 5 ริกเตอร์ขึ้นไป<br />

<br />

เอกสารฉบับนี้เป็นลิขสิทธิ์ของกรมทรัพยากรธรณี<br />

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


คำนำ<br />

แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่อง<br />

มาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาเพื่อปรับสมดุลของ<br />

เปลือกโลกให้คงที่ แผ่นดินไหวเป็นสิ่งที่เราทุกคนในยุคปัจจุบันนี้ ได้รับรู้ถึงข่าวสารอย่างรวดเร็ว <br />

ว่าเกิดแผ่นดินไหวที่ไหนบ้างของโลก แม้แต่ในประเทศไทยของเราเอง ทำให้ประชาชนทุกคนได้<br />

ตระหนักถึงความเป็นจริงว่าแผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ใกล้ตัว อย่างหนึ่ง ดังเหตุการณ์แผ่นดินไหว<br />

ขนาด 9.1 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่บริเวณนอกชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงเหนือของ<br />

เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย คนไทยได้รู้จักกับพิบัติภัยทางธรรมชาติอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ <br />

“สึนามิ” ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก ดังนั้น เราต้องเรียนรู้และเข้าถึงภัย<br />

ธรรมชาติ “แผ่นดินไหว” ว่ามีสาเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถ<br />

ทำนายเวลา สถานที่ และความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นจึงควรศึกษา<br />

เรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการเกิดของแผ่นดินไหวที่แท้จริง เพื่อเป็นแนวทางในการลดความ<br />

เสียหายที่เกิดขึ้น <br />

กรมทรัพยากรธรณี จึงได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ “แผ่นดินไหวกับประเทศไทย” ฉบับนี้<br />

ขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านแผ่นดินไหวและการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับแผ่นดิน<br />

ไหวที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างง่าย ให้แก่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน<br />

ตลอดจนประชาชนทั่วไป ในการเตรียมความพร้อม กรณีฉุกเฉิน ให้รับมือกับพิบัติภัยแผ่นดินไหว<br />

อันอาจเกิดขึ้นได้<br />

(นางพรทิพย์ ปั่นเจริญ)<br />

อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี<br />

กุมภาพันธ์ 2554<br />

_11-0290(00).indd 1<br />

3/28/11 9:40:12 PM


สารบัญ<br />

หน้า<br />

1. บทนำ.............................................................................................................................. 1<br />

2. สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว......................................................................................... 2<br />

3. การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก............................................................................................. 3<br />

4. คลื่นแผ่นดินไหว............................................................................................................... 10<br />

5. การตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว............................................................................................ 13<br />

6. การหาจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว.......................................................................................... 16<br />

7. ความร้ายแรงของแผ่นดินไหว........................................................................................... 20<br />

8. แผ่นดินไหวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.................................................................. 25<br />

9. การศึกษาธรณีวิทยาแผ่นดินไหวในประเทศไทย................................................................ 27<br />

10. เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยและภูมิภาคใกล้เคียง................................................ 43<br />

11. บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย...................................................................... 4 6<br />

12. การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับแผ่นดินไหว............................................................... 5 1<br />

13. แผ่นดินไหว ภัยที่ไม่อาจพยากรณ์..................................................................................... 52<br />

14. บทสรุป............................................................................................................................ 57<br />

15. เอกสารอ้างอิง................................................................................................................. 58<br />

_11-0290(00).indd 2<br />

3/28/11 9:40:12 PM


1<br />

แผ่นดินไหวกับประเทศไทย<br />

1. บทนำ <br />

แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่อง<br />

มาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียด ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาเพื่อปรับสมดุลของ<br />

เปลือกโลกให้คงที่ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายเวลา สถานที่ และความรุนแรงของ<br />

แผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการเกิดของ<br />

แผ่นดินไหวที่แท้จริง เพื่อเป็นแนวทางในการลดความเสียหายที่เกิดขึ้น <br />

<br />

ประเทศไทยไม่อาจจัดอยู่ในเขตที่ปลอดจากแผ่นดินไหวได้ ทั้งนี้เนื่องจากหลักฐานการบันทึก<br />

ประวัติศาสตร์ (historical earthquake data) จดหมายเหตุศิลาจารึกและพงศาวดารได้ ระบุว่า<br />

ประเทศไทยเคยได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวทั ้งขนาดปานกลางจนถึงขนาดใหญ่มาแล้วหลายครั้ง<br />

และยังความเสียหายให้กับพื้นที่ในหลายภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันตก<br />

แผ่นดินไหวครั้งสำคัญเมื่อ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 ตรวจพบมีจุดเหนือศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดน่าน<br />

มีขนาดถึง 6.5 ตามมาตราริกเตอร์ แผ่นดินไหวเช้าตรู่ของวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2526 บริเวณเขื่อน<br />

วชิราลงกรณ จังหวัดกาญจนบุรี มีขนาด 5.9 ตามมาตราริกเตอร์ รู้สึกได้ทั่วทั้งภาคกลางและ<br />

ภาคเหนือ อาคารในกรุงเทพมหานครเสียหายเล็กน้อย และแผ่นดินไหวเกิดที่อำเภอพาน จังหวัด<br />

เชียงราย เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2537 มีขนาด 5.1 ตามมาตราริกเตอร์ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ<br />

โรงพยาบาลอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย นอกจากนี้ ยังมีแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นแล้วมีจุดเหนือศูนย์เกิด<br />

แผ่นดินไหวอยู่ในบริเวณประเทศเพื่อนบ้านแล้วมีผลสั่นสะเทือนมาถึงประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณ<br />

ภาคตะวันตกและภาคเหนือ ข้อมูลที่ได้การเกิดแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้ (instrumental earthquake<br />

data) โดยกรมอุตุนิยมวิทยาทำให้ทราบว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว(epicenter) มีการกระจายตัว<br />

ในแถบพรมแดนไทย-สหภาพพม่า ไทย-ลาว, จีน-สหภาพพม่าหรือในทะเลอันดามัน ซึ่งยังสามารถ<br />

ตรวจวัดได้เป็นประจำจึงแสดงให้เห็นชัดว่าเปลือกโลกในบริเวณแถบดังกล่าวยังมีการเปลี่ยนแปลง<br />

อยู่ (dynamic) อันเป็นผลกระทบที่เกิดจากขบวนการแปรสัณฐาน (tectonic process) อันเป็นผล<br />

สืบเนื่องมาจากการชนกัน (collision) ระหว่างแผ่นเปลือกโลกอินเดีย (Indian lithospheric plate) กับ<br />

แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Eurasian lithospheric plate) นับตั้งแต่ 35-45 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งยังผลให้<br />

บางส่วนแผ่นอินเดียมุดตัว (subdution) ลงไปใต้แผ่นยูเรเซียและการมุดตัวยังคงดำเนินมาจนถึง<br />

ปัจจุบัน<br />

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและภัยของ<br />

แผ่นดินไหว ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เป็นการรวบรวม วิเคราะห์ และประเมินถึงสาเหตุการ<br />

เกิดแผ่นดินไหว การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก คลื่นแผ่นดินไหว การตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว<br />

_11-0290(001-062).indd 1<br />

3/28/11 9:45:03 PM


2<br />

การหาจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ความร้ายแรงของแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวกับภูมิภาคเอเชีย<br />

ตะวันออกเฉียงใต้ การศึกษาธรณีวิทยาแผ่นดินไหวในประเทศไทย เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศ<br />

ไทยและภูมิภาคใกล้เคียง บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย การเตรียมความพร้อมเพื่อ<br />

รับมือกับแผ่นดินไหว เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับนำไปใช้ในการวางแผนป้องกันและบรรเทาภัยที่<br />

อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยได้รวบรวมข้อมูลด้านแผ่นดินไหวที่มีอยู่แล้วทั้งของกรมทรัพยากรธรณี<br />

และจากหน่วยงานภายนอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ <br />

<br />

นอกจากนี้แล้ว ควรเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับด้านแผ่นดินไหว ให้แก่นักธรณีวิทยา วิศวกร <br />

เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นักอุตุนิยมวิทยา เจ้าหน้าที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น<br />

และประชาชนผู้สนใจ ซึ่งจะเป็นการลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งเป็นการ<br />

เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักวิชาการด้านแผ่นดินไหวด้วย<br />

2. สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว<br />

สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้น จัดแบ่งได้ 3 ชนิด คือ <br />

1) เกิดจากกระบวนการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก ทำให้เปลือกโลกเกิดการเคลื่อนไหวจน<br />

ทำให้เกิดรอยคดโค้ง รอยเลื่อน รอยแตกและรอยแยกขึ้นบนพื้นโลก แล้วจึงมีการปลดปล่อยพลังงาน<br />

ออกมาในรูปของคลื่นแผ่นดินไหว <br />

2) เกิดจากกระบวนการภูเขาไฟระเบิด (volcanism) โดยการเคลื่อนตัวของหินหนืด (magma)<br />

ใต้ผิวโลกตามเส้นทางสู่ปล่องภูเขาไฟ ก่อนที่จะระเบิดออกมาเป็นหินละลายหลอมเหลว (lava) <br />

สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ <br />

3) เกิดจากการกระทำของมนุษย์ อาทิเช่น การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อน<br />

การระเบิดเพื่อการสำรวจหรือเพื่อการก่อสร้าง <br />

<br />

ปัจจุบันกลไกการเกิดแผ่นดินไหว เท่าที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางมีอยู่ 2 ทฤษฎี คือ<br />

1) ทฤษฎีว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก (dilation source) อธิบายว่า แผ่นดินไหว<br />

เกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการโค้งงออย่างฉับพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจะปลดปล่อย<br />

พลังงานออกมา ในรูปของคลื่นแผ่นดินไหว<br />

2) ทฤษฎีว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ (elastic rebound) อธิบายว่า การสั่นสะเทือนเกิดจาก<br />

การเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน (fault) กล่าวคือเมื่อการเลื่อนตัวถึงจุดหนึ่งวัตถุจะขาดออกจากกัน <br />

พร้อมกับการปลดปล่อยพลังงานออกมารูปแบบหนึ่งและหลังจากนั้นวัตถุจะคืนตัวกลับเข้ารูปเดิม <br />

ทฤษฎีนี้สนับสนุนแนวความคิดที่เชื่อว่า แผ่นดินไหว มีกลไกการกำเนิดเกี่ยวข้องโดยตรงและใกล้ชิด<br />

กับแนวรอยเลื่อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากผลของการแปรสัณฐานของเปลือกโลกโดยตรง โดยเฉพาะ<br />

รอยเลื่อนมีพลัง (active fault) <br />

_11-0290(001-062).indd 2<br />

3/28/11 9:45:03 PM


3. การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก<br />

นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาและรวบรวมข้อมูล เพื่อสรุปเป็นทฤษฎีอธิบายสาเหตุการ<br />

เกิดของแผ่นดินไหว ในปัจจุบันทฤษฎีการแปรสัณฐานแบบแผ่น (Plate Tectonics Theory) ได้รับ<br />

การยอมรับมากที่สุด ทฤษฎีนี้พัฒนามาจากทฤษฎีว่าด้วยทวีปเลื่อน (Theory of Continental Drift)<br />

ของอัลเฟรด โลทาร์ เวเกเนอร์ (Alfred Lothar Wegener พ.ศ. 2423 - 2473 นักวิทยาศาสตร์<br />

ชาวเยอรมัน) ซึ่งเสนอไว้เมื่อ พ.ศ. 2455 ต่อมา แฮร์รี แฮมมอนด์ เฮสส์ (Harry Hammond Hess <br />

พ.ศ. 2449 - 2512 นักธรณีวิทยาชาวอเมริกัน) ได้เสนอแนวคิดที่พัฒนาใหม่นี้ในทศวรรษ 2500 <br />

<br />

ทฤษฎีการแปรสัณฐานแบบแผ่น ได้อธิบายว่า ปรากฏการณ์แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนที่<br />

ของเปลือกโลกเป็นขั้นตอนดังนี้ เมื่อโลกแยกตัวจากดวงอาทิตย์มีสภาพเป็นกลุ่มก๊าซร้อน ต่อมา<br />

เย็นตัวลงเป็นของเหลวร้อน บริเวณผิวส่วนนอกเย็นตัวลงได้เร็วกว่าจึงแข็งตัวก่อน ส่วนใจกลาง<br />

ของโลกยังคงหลอมเหลว ประกอบด้วยธาตุโลหะหนัก ในทางธรณีวิทยาได้แบ่งโครงสร้างของโลก<br />

ออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ เรียกว่า เปลือกโลก (crust) เนื้อโลก (mantle) และแก่นโลก (core)<br />

(รูปที่ 1)<br />

3<br />

กิโลเมตร<br />

รูปที่ 1 แบบจำลองโครงสร้างของโลก (คัดลอกจาก http://www.dept.kent.edu/geology/ehlab/<br />

tectonics/tectonics.htm)<br />

_11-0290(001-062).indd 3<br />

3/28/11 9:45:04 PM


4<br />

เปลือกโลกเป็นส่วนที่เป็นของแข็งและเปราะ ห่อหุ้มอยู่ชั้นนอกสุดของโลกจนถึงระดับความลึก<br />

ประมาณ 50 กิโลเมตร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรณีภาคชั้นนอกหรือลิโทสเฟียร์ (Lithosphere) ใต้ชั้น<br />

นี้ลงไปเป็นส่วนบนสุดของชั้นเนื้อโลกอยู่ที่ระดับความลึก 100 ถึง 250 กิโลเมตรเรียกว่า ธรณีภาค<br />

ชั้นกลางหรือแอสเทโนสเฟียร์ (asthenosphere) ที่ระดับความลึก 100 ถึง 350 กิโลเมตร พบว่ามี<br />

ลักษณะเป็นหินละลายหลอมเหลวที่เรียกว่าหินหนืด (magma) มีความอ่อนตัวและยืดหยุ่นได้ใต้จาก<br />

ธรณีภาคชั้นนอกลงไป ยังคงเป็นส่วนที่เป็นเนื้อโลกอยู่ จนกระทั่งถึงระดับความลึกประมาณ 2,900<br />

กิโลเมตรจากผิวโลก จึงเปลี่ยนเป็นชั้นแก่นโลก ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชั้นย่อยคือ แก่นโลกชั้นนอกและแก่น<br />

โลกชั้นใน โดยแก่นโลกชั้นในนั้นจะอยู่ลึกสุดจนถึงจุดศูนย์กลางของโลก ที่ระดับความลึกประมาณ<br />

6,378 กิโลเมตร จากผิวโลก (รูปที่ 2)<br />

รูปที่ 2 การแบ่งส่วนนอกของโลกเป็น 2 ส่วน ตามคุณสมบัติทางกายภาพเป็นธรณีภาค (Lithosphere)<br />

คือชั้นที่ประกอบไปด้วยชั้นเปลือกโลก และส่วนบนของชั้นเนื้อโลก มีคุณสมบัติแข็งและเปราะ<br />

และธรณีภาคชั้นกลาง (Asthenosphere) มีคุณสมบัติอ่อนนุ่มสามารถไหลได้ทำให้เปลือกโลกทวีป<br />

(Continental crust) และเปลือกโลกมหาสมุทร (Oceanic crust) ที่มีความแข็ง วางตัวอยู่บนส่วนธรณี<br />

ภาคชั้นกลาง (Asthenosphere) ได้ (คัดลอกจาก http://www.physicalgeography.net)<br />

_11-0290(001-062).indd 4<br />

3/28/11 9:45:04 PM


6<br />

เปลือกโลกลู่เข้าหากัน (Convergent plate motion) เป็นบริเวณที่แผ่นธรณีหนึ่งแผ่นมุดตัว<br />

ลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง ตามแนวบริเวณที่เรียกว่าเขตการมุดตัว (subduction zone) เมื่อเปลือกโลกจมตัว<br />

ลงสู่เนื้อโลก จะร้อนขึ้นจนหลอมเหลวกลายเป็นหินหนืด จึงแทรกดันตัวขึ้นสู่ผิวโลกและอาจปะทุเป็น<br />

แนวภูเขาไฟได้ (รูปที่ 4)<br />

รูปที่ 4 แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน โดยที่ <br />

ก) เปลือกโลกทวีปกับเปลือกโลกมหาสมุทร <br />

ข) เปลือกโลกมหาสมุทรกับเปลือกโลกมหาสมุทร <br />

ค) เปลือกโลกทวีปกับเปลือกโลกทวีป <br />

(คัดลอกจากhttp://pubs.usgs.gov/gip/dynamic/dynamic.html)<br />

_11-0290(001-062).indd 6<br />

3/28/11 9:45:06 PM


7<br />

เปลือกโลกเคลื่อนผ่านกัน (Transform plate motion) เป็นบริเวณที่แผ่นธรณีหนึ่งแผ่น<br />

เคลื่อนที่ผ่านกันกับอีกแผ่นหนึ่งทางด้านข้าง ซึ่งก่อให้เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง เช่นรอยเลื่อน<br />

ซานแอนเดรียส (San Andreas fault) ประเทศสหรัฐอเมริกา (รูปที่ 5)<br />

ประเทศเม็กซิโก<br />

รูปที่ 5 แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนที่ผ่านกัน เช่นบริเวณภาคตะวันตก<br />

ของประเทศสหรัฐอเมริกา<br />

(คัดลอกจาก http://www.dept.kent.edu/geology/ehlab/tectonics/tectonics.htm)<br />

_11-0290(001-062).indd 7<br />

3/28/11 9:45:07 PM


8<br />

การเกิดแผ่นดินไหวนั้น ส่วนใหญ่จำกัดอยู่เฉพาะที่ชั้นของเปลือกโลก โดยที่เปลือกโลกไม่ได้<br />

เป็นชิ้นเดียวกันทั้งหมด เนื่องจากเมื่อของเหลวที่ร้อนจัดปะทะชั้นเปลือกโลก ก็จะดันตัวออกมา (รูปที่<br />

6 และรูปที่ 7) แนวรอยแยกของเปลือกโลกจึงเป็นแนวที่เปราะบางและเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว<br />

ภูเขาไฟระเบิดถี่มาก จากการบันทึกประวัติปรากฏการณ์แผ่นดินไหว ทำให้สามารถแบ่งเปลือกโลก<br />

ได้เป็น 13 แผ่น (รูปที่ 8) คือ แผ่นยูเรเชีย (Eurasian Plate) แผ่นแปซิฟิก (Pacific Plate) แผ่นอินเดีย-<br />

ออสเตรเลีย (Indian-Australian Plate) แผ่นฟิลิปปินส์ (Philippines Plate) แผ่นอเมริกาเหนือ (North<br />

American Plate) แผ่นอเมริกาใต้ (South American Plate) แผ่นแอฟริกา (African Plate) แผ่น<br />

แอนตาร์กติก (Antarctic Plate) แผ่นนัซกา (Nazca Plate) แผ่นโคโคส (Cocos Plate) แผ่นแคริบเบียน<br />

(Caribbean Plate) แผ่นฮวนเดฟูกา (Juan de Fuca Plate) และแผ่นอาหรับ (Arabian Plate) <br />

แผ่นเปลือกโลกที่กล่าวมาแล้วไม่ได้อยู่นิ่ง แต่มีการเคลื่อนที่คล้ายการเคลื่อนย้ายวัตถุบน<br />

สายพานลำเลียงสิ่งของ ผลจากการสำรวจท้องมหาสมุทรในช่วงทศวรรษ 2490 พบว่า มีแนวเทือกเขา<br />

กลางมหาสมุทรรอบโลก (Global Mid Ocean Ridge) ซึ่งมีความยาวกว่า 50,000 กิโลเมตร กว้างกว่า<br />

800 กิโลเมตร และผลจากการศึกษาทางด้านธรณีวิทยาพบว่า หินบริเวณเทือกเขาเหล่านี้<br />

เป็นหินใหม่ที่มีอายุน้อยกว่าหินที่อยู่ในแนวถัดออกมา ที่เกิดเป็นแนวยาวขนานสองด้านกับรอยแตก<br />

กึ่งกลางมหาสมุทร เมื่อหินหนืดภายใต้เปลือกโลกดันออกมาจากกันทีละน้อย ส่งผลให้เกิดการ<br />

เคลื่อนที่ของเปลือกโลกต่างๆ (รูปที่ 9)<br />

รูปที่ 6 โครงสร้างของโลกและการเคลื่อนที่ของกระแสพาความร้อน (Convection currents)<br />

คัดลอกจาก http://www.pubs.usgs.gov/gip/dynamic/dynamic.html<br />

_11-0290(001-062).indd 8<br />

3/28/11 9:45:08 PM


9<br />

รูปที่ 7 แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกและการเคลื่อนที่แบบกระแสพาความร้อน<br />

(Convection currents) (คัดลอกจาก http://www.pubs.usgs.gov/gip/dynamic/dynamic.html)<br />

รูปที่ 8 แสดงแผ่นเปลือกโลกจำนวน 13 แผ่น รวมทั้งทิศทางการเคลื่อนที่และอัตราการ เคลื่อนตัว<br />

(คัดลอกจาก www.indina.edu/geo/116/week7.htm)<br />

_11-0290(001-062).indd 9<br />

3/28/11 9:45:09 PM


10<br />

รูปที่ 9 แสดงการเกิดแนวเทือกเขากลางมหาสมุทร ซึ่งถูกแรงดันจากหินหนืดภายในเปลือกโลก<br />

ดันออกจากกันทีละน้อย ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกต่างๆ<br />

(คัดลอกจาก http://www.clastatela.edu/geology/ehlab/tectonics/seafloor.htm)<br />

4. คลื่นแผ่นดินไหว<br />

ขณะที่เปลือกโลกยึดติดกันอยู่ แรงดันของของเหลวภายใต้เปลือกโลกจะทำให้รอยต่อ<br />

เกิดแรงเค้น (Stress) เปรียบเทียบได้กับการดัดไม้ ซึ่งไม้จะถูกดัดงอและสะสมแรงเค้นไปเรื่อยๆ <br />

จนแรงเค้นเกินจุดแตกหัก ไม้ก็จะหักออกจากกัน ในทำนองเดียวกัน เมื่อเปลือกโลกสะสมแรงเค้น<br />

ถึงจุดแตกหัก เปลือกโลกจะเคลื่อนที่สัมพัทธ์กัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเปลือกโลก<br />

พร้อมทั ้งปลดปล่อยพลังงานออกมา เกิดแรงสั่นสะเทือนเป็นคลื่นแผ่นดินไหว ซึ่งคนเราสามารถรู ้สึกได้<br />

และสร้างความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างทั่วไป <br />

<br />

การส่งผ่านพลังงานที่เปลือกโลกปลดปล่อยจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง เกิดจากการเคลื่อนตัวของ<br />

อนุภาคในชั้นดิน การเคลื่อนตัวของอนุภาคดังที่กล่าวมานี้จะมีลักษณะคล้ายคลื่น จึงเรียกว่า <br />

คลื่นแผ่นดินไหว ซึ่งจะแพร่กระจายจากจุดกำเนิดในทุกทิศทุกทาง คลื่นแผ่นดินไหวแบ่งออกเป็น <br />

2 ประเภทใหญ่ๆ คือคลื่นภายในตัวกลาง (body waves) และคลื่นผิวโลก (surface waves)<br />

_11-0290(001-062).indd 10<br />

3/28/11 9:45:10 PM


11<br />

คลื่นภายในโลกเป็นคลื่นความสั่นสะเทือนที่เดินทางอยู่ภายในโลกแบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิด<br />

ตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและการแกว่งตัว (oscillation) ของอนุภาคตัวกลางขณะที่คลื่น<br />

เคลื่อนที่ผ่านได้แก่<br />

1) คลื่นตามยาวหรือคลื่นปฐมภูมิ (Logitudinal หรือ Primary waves: P-Wave) เป็นคลื่น<br />

ความสั่นสะเทือนที่เคลื่อนที่ออกไปโดยที่อนุภาคหรือมวลสารถูกแรงอัด จนสั่นและขยายตัว (expansion<br />

rarefaction) ไปมาเรื่อยๆ ในทิศทางเดียวกันกับการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นชนิดนี้ยังเรียกได้อีกหลาย<br />

ชื่อ เช่น Dilation waves, Irrotation waves, Push waves เนื่องจากคลื่นเคลื่อนที่ได้เร็ว จึงเดินทางเข้า<br />

เครื่องบันทึกก่อนคลื่นอื่นจึงเรียกว่าคลื่นปฐมภูมิ อนุภาคที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งผ่านคลื่น<br />

ออกไป จะเกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาตร (dilation) ของอนุภาคแผ่รัศมีออกโดยรอบ คลื่นนี้เคลื่อนที่<br />

ด้วยความเร็ว 1.5 - 8 กิโลเมตร/วินาที <br />

2) คลื่นตามขวางหรือคลื่นทุติยภูมิ (Traverse หรือ Secondary waves : S-Wave) เป็นคลื่น<br />

ความสั่นสะเทือนที่เคลื่อนที่ออกไปแล้วทำให้อนุภาคหรือมวลสารที่ถูกแรงเฉือน (shear) เกิดการสั่น<br />

ในแนวที่ตั ้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น บางทีเรียกคลื่นชนิดนี ้ว่า คลื่นหมุน (Rotation waves)<br />

เนื่องจากเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ได้ช้า จึงเดินทางเข้าเครื่องบันทึกได้ช้ากว่าคลื่นปฐมภูมิ จึงเรียกว่าคลื่น<br />

ทุติยภูมิ อนุภาคตัวกลางในการส่งผ่านคลื่นจะไม่แสดงการเปลี่ยนแปลงทางปริมาตร แต่จะเสียรูปไป<br />

(dilation) คลื่นนี้จะเคลื่อนที่ ด้วยความเร็วประมาณร้อยละ 60 - 70 ของคลื่นปฐมภูมิ<br />

คลื่นในตัวกลางทั้งสองชนิดนี้ ทำให้มวลอนุภาคตัวกลางเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (รูปที่ 10) โดย<br />

ปกติคลื่นตามยาวเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าคลื่นตามขวางเกือบสองเท่าและคลื่นตามขวางไม่สามารถ<br />

เคลื่อนที่ของเหลวได้<br />

แรงขยาย แรงอัด จุดสมดุล<br />

คลื่นปฐมภูมิ<br />

ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นปฐมภูมิ<br />

คลื่นทุติยภูมิ<br />

ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นทุติยภูมิ<br />

รูปที่ 10 แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่นในตัวกลางโลก (คัดลอกจาก http://www.geo.mtu.edu/<br />

UPSeis/swave_web.jpg)<br />

_11-0290(001-062).indd 11<br />

3/28/11 9:45:10 PM


12<br />

คลื่นพื้นผิวคือ คลื่นความไหวสะเทือนที่เคลื่อนที่ไปตามผิวโลกหรือขนานไปกับผิวโลก แต่ไม่<br />

ลึกนัก อาจเปลี่ยนแปลงมาจากคลื่นภายในโลกอีกที คลื่นที่สำคัญมี 2 ชนิด คือ<br />

1) คลื่นเรย์ลี (Rayleigh) เป็นคลื่นความสั่นสะเทือนไปตามระนาบ ทำให้อนุภาคตัวกลางสั่น<br />

ในลักษณะวงรี และค่อยๆ ลดลงเมื่ออยู่ห่างจากจุดกำเนิด (retrograde elliptical motion) คลื่นชนิดนี้<br />

ค้นพบโดย ลอร์ด เรย์ลี (Lord Rayleigh) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ มักใช้ชื่อย่อว่า R-wave ทำให้อนุภาค<br />

เกิดการสั่นในแนวดิ่ง (vertical ground motion) <br />

2) คลื่นเลิฟ (Love Waves) เป็นคลื่นความสั่นสะเทือนตามขวางที่ไปตามผิวระนาบ ทำให้<br />

อนุภาคเกิดการสั่นในแนวราบ (horizontal ground motion) ในทิศทางตั้งฉากกับแนวการเคลื่อนที่ ให้<br />

ชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อออร์กาต๊าน เอ็ดเวอร์ ฮุด โลฟ (Augustus Edward Hough Love)<br />

ความเร็วคลื่นขึ้นกับความถ่วงจำเพาะและความแกร่งของตัวกลาง<br />

คลื่นพื้นผิว (รูปที่ 11) ที่มีความยาวคลื่นมาก มักจะปล่อยพลังงานออกมามากกว่าพวกที่มี<br />

ความยาวคลื่นสั้นและยิ่งลึกลงไปความเร็วคลื่นก็จะยิ่งเร็วมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงความเร็วคลื่น<br />

เนื่องจากความยาวคลื่นและความถี่ เรียกว่าการแพร่กระจาย การศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงความเร็ว<br />

คลื่นพื้นผิว ทำให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเปลือกโลก และเนื้อโลกตอนบนได้มากตัวอย่างคลื่น<br />

แผ่นดินไหว (รูปที่ 12)<br />

ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นเรย์ลี<br />

รูปที่ 11 แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่นพื้นผิว (คัดลอกจาก http://www.lamit.ro/images/<br />

earthquake-l-r-waves-passage.jpg)<br />

_11-0290(001-062).indd 12<br />

3/28/11 9:45:11 PM


13<br />

รูปที่ 12 ตัวอย่างการวิเคราะห์ลักษณะของคลื่นแผ่นดินไหวที่เกิดห่างจากเมืองเดนเวอร์ รัฐโคโรราโด<br />

1,000 ไมล์ (คัดลอกจาก http://www.calstatela.edu/faculty/acolvil/quakes/seisgram.jpg)<br />

5. การตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว <br />

คลื่นแผ่นดินไหว (Seismic wave) หรือคลื่นที่ทำให้เกิดอาการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว<br />

ที่ส่งผ่านมายังผิวโลกและสามารถบันทึกไว้ได้ด้วยเครื่องวัดความไหวสะเทือน (Seismometer) ในรูป<br />

ของกราฟแผ่นดินไหว (Seismogram) กราฟแผ่นดินไหวเป็นเส้นขึ้นลงสลับกันแสดงถึงอาการสั่น<br />

สะเทือนของพื้นดินใต้เครื่องวัดแผ่นดินไหวนั้น เครื่องมือวัดความไหวสะเทือนเกิดขั้นครั้งแรกโดย<br />

นักวิทยาศาสตร์ชาวจีน ชื่อ จางเหิง (Chang heng) เมื่อ ค.ศ. 132 ลักษณะคล้ายไหเหล้าทำด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ รอบๆ ไหมีมังกรเล็กๆ 8 ตัว แต่ละตัวหันไปคนละทิศที่ปากมังกรอมลูกทองแดง<br />

ด้านล่างมีกบแปดตัวอ้าปากเงยหน้าขึ้น (รูปที่ 13)<br />

ข้อมูลคลื่นแผ่นดินไหวทั่วโลก ได้มาจากการติดตั้งเครือข่ายของเครื่องมือตรวจวัดความไหว<br />

สะเทือน ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถทราบถึงขนาดและตำแหน่ง โดยเครื่องมือตรวจวัด<br />

ความไหวสะเทือน มีหลักการทำงานง่ายๆ ประกอบด้วย เครื่องรับความสั่นสะเทือน แปลงสัญญาณ<br />

ความสั่นสะเทือนเป็นสัญญาณไฟฟ้า จากนั้นถูกขยายด้วยระบบขยายสัญญาณและแปลงกลับมา<br />

เป็นการสั่นไหวอีกครั้ง แล้วบันทึกลงบนกระดาษตลอดเวลา (24 ชั่วโมง) พร้อมกับมีการบันทึกเวลา<br />

อย่างต่อเนื่อง ทำให้ทราบว่าคลื่นแผ่นดินไหวเดินทางมาถึงสถานีเมื่อไหร่ รัศมีการตรวจรับคลื่น<br />

แผ่นดินไหวสามารถตรวจรับคลื่นแผ่นดินไหวได้ทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่การคำนวณตำแหน่ง เวลาเกิด<br />

และขนาดแผ่นดินไหว จะคำนวณเฉพาะคลื่นใกล้ ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีไม่เกิน 1,000 กิโลเมตร<br />

เครื่องมือตรวจวัดไหวสะเทือน ปัจจุบันมี 2 แบบ <br />

1) แบบวัดความเร็วของคลื่นสั่นสะเทือน (Seismograph) เป็นเครื่องมือที่ออกแบบเพื่อตรวจ<br />

วัดความเร็วของคลื่นสั่นสะเทือนของพื้นโลก ซึ่งมีทั้งระบบช่วงคลื่นสั้น (Short-Period Seismograph,<br />

SPS) และช่วงคลื่นยาว (Long-Period Seismograph, LPS) เครื่องมือวัดระบบช่วงคลื่นสั้นสามารถ<br />

ตรวจวัดแผ่นดินไหวในรัศมี 500 กิโลเมตร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับระบบช่วงคลื่นยาวนั้นเป็น<br />

ระบบที่สามารถตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวระยะไกล (Telesism Station) (รูปที่ 14) <br />

_11-0290(001-062).indd 13<br />

3/28/11 9:45:11 PM


14<br />

รูปที่ 13 เครื่องมือวัดความไหวสะเทือนในอดีตมีลักษณะคล้ายไหเหล้า ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ รอบๆ<br />

ไหมีมังกรเล็กๆ 8 ตัว แต่ละตัวหันไปคนละทิศที่ปากมังกรอมลูกทองแดง ด้านล่างมีกบ 8 ตัว<br />

อ้าปากเงยหน้าขึ้น (คัดลอกจาก http://www.tapapa.govt.nz และ http://www.lspace.org/ftp/<br />

images/misc/seismograph.jpg)<br />

2) แบบวัดอัตราเร่งของคลื่นสั่นสะเทือน (Strong Motion Accelerograph, SMA)<br />

เป็นเครื่องมือที่ออกแบบเพื่อใช้วัดการสั่นสะเทือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าอัตราเร่งของพื้นดิน<br />

ในบริเวณนั้น ที่เกิดจากแผ่นดินไหวซึ่งวิศวกรสามารถนำค่าอัตราเร่งนี้ไปใช้ในการออกแบบ<br />

สิ่งก่อสร้าง เพื่อให้มีความปลอดภัยจากการเกิดแผ่นดินไหว <br />

ประเทศไทยเริ่มมีการตรวจวัดแผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. 2506 สถานีตรวจวัดแผ่นดินไหว<br />

แห่งแรกของกรมอุตุนิยมวิทยา ติดตั ้ง ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเข้าร่วมอยู่ในเครือข่ายระบบมาตรฐานโลก<br />

(Worldwide Standardized Seismograph Network : WWSSN) และต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นระบบ<br />

ไอริส (Incorporated Research Institutions of Seismology : IRIS) ซึ่งเป็นเครือข่ายโดยความร่วมมือ<br />

ของสถาบันการศึกษาหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา และบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านทาง<br />

เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทยาได้เพิ่มสถานีตรวจวัดความไหวสะเทือนในจังหวัด<br />

ต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 40 สถานี นอกจากนี้ยังมีหลายหน่วยงานที่ทำการตรวจวัดแผ่นดินไหว<br />

หลายวัตถุประสงค์เช่น สถานีวัดความสั่นสะเทือนของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ มีระบบเครือข่าย<br />

แบบอะเรย์ (Array) เพื่อการตรวจจับการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้พื้นดิน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง<br />

ประเทศไทยมีการตรวจวัดแผ่นดินไหว บริเวณรอบๆ เขื่อน กรมชลประทานมีเครือข่ายตรวจวัด<br />

แผ่นดินไหวบริเวณจังหวัดแพร่ น่าน พิษณุโลก ชุมพร และจังหวัดระนอง เพื่อศึกษาลักษณะการ<br />

เกิดแผ่นดินไหวก่อนการสร้างเขื่อน และกรมโยธาธิการและผังเมืองร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

วิจัยเรื่องการตอบสนองของอาคารจากความไหวสะเทือนของแผ่นดินไหว<br />

_11-0290(001-062).indd 14<br />

3/28/11 9:45:12 PM


15<br />

กรมทรัพยากรธรณี มีเครื่องมือตรวจวัดความไหวสะเทือนช่วงคลื่นสั้น (Short-Period <br />

Seismograph) ที่ติดตั้งคล่อมแนวรอยเลื่อนมีพลังเพื่อตรวจวัดพฤติกรรมการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน<br />

สปริง<br />

การเขยาสปริงในแนวขึ้นลง<br />

โดยมีน้ําหนักอยูดานลาง<br />

เที ยบได กั บการเกิ ด<br />

แผนดินไหวในแนวดิ่ง<br />

เครื่องบันทึก<br />

ความสั่นสะเทือน<br />

สปริง<br />

ปากกา<br />

ตุมถวงน้ําหนัก<br />

ตุมถวงน้ําหนัก<br />

เครื่องบันทึก<br />

ความสั่นสะเทือน<br />

ปากกา<br />

เครื่องวัดความไหวสะเทือนในแนวดิ่ง<br />

เครื่องวัดความไหวสะเทือนในแนวราบ<br />

รูปที่ 14 แสดงรูปแบบเครื่องมือบันทึกความไหวสะเทือนในแนวราบและแนวดิ่ง โดยที่แกนเครื่อง<br />

บันทึกความสั่นสะเทือนจะสามารถบันทึกได้ 24 ชั่วโมง<br />

_11-0290(001-062).indd 15<br />

3/28/11 9:45:12 PM


16<br />

_11-0290(001-062).indd 16<br />

3/28/11 9:45:18 PM


6. การหาจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว <br />

การหาตำแหน่งจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวที่มีความถูกต้องแม่นยำนั้น จะต้องมีเครือข่ายครอบ<br />

คลุมพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหว คือต้องมีสถานีตรวจวัดครอบคลุมจำนวนมาก หลักเกณฑ์อยู่ที่ความรู้<br />

เรื่องคลื่นแผ่นดินไหวที่รู้จักกันดีคือ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวจะมีคลื่นปฐมภูมิ และคลื่นทุติยภูมิ ซึ่งมี<br />

ความเร็วที่ต่างกัน ดังนั้นเมื่อสถานีหนึ่งรับคลื่นทั้งสองแล้ว เวลาที่รับจะต่างกันเนื่องจากความเร็วที่<br />

ไม่เท่ากัน สถานีตรวจวัดต่างๆ ที่ได้รับคลื่นทั้งสองจะสามารถบอกได้ถึงระยะทางของจุดศูนย์เกิด<br />

แผ่นดินไหว แต่จะไม่สามารถบอกถึงทิศทางได้ ดังนั้นสถานีตรวจวัดความไหวสะเทือนต่างๆ จะ<br />

สามารถบอกแต่รัศมีของการเกิดเท่านั้น ยิ่งมากสถานีตรวจวัดความไหวสะเทือนมากเท่าไร ก็จะ<br />

สามารถบอกตำแหน่งจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวที่แม่นยำยิ่งขึ้น <br />

<br />

หลักการหาจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวทั่วๆ ไป คือ ต้องพยายามหาระยะทางจากจุดศูนย์เกิด<br />

แผ่นดินไหว ไปยังสถานีวัดความไหวสะเทือนให้ได้อย่างน้อย 3 สถานี เรียกว่าระยะระหว่างจุดที่เกิด<br />

แผ่นดินไหวไปยังสถานีวัดความไหวสะเทือนว่า Epicenteral Distance ซึ่งสามารถคำนวณหาระยะทาง<br />

ถึงจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวได้ โดยเอาเวลาที่คลื่นตามยาวหรือคลื่นปฐมภูมิมาถึง ลบด้วยเวลาที่คลื่น<br />

ตามขวางหรือคลื่นทุติยภูมิมาถึง (เวลาเป็นวินาที) คูณด้วยแฟกเตอร์ 8 (ความเร็วเฉลี่ยของคลื่น<br />

แผ่นดินไหว มีหน่วยเป็นกิโลเมตร/วินาที) จะได้ระยะทางโดยประมาณเป็นกิโลเมตร <br />

<br />

ระยะทางถึงจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว = (S - P) x 8 <br />

- S คือ เวลาที่คลื่นตามยาวหรือคลื่นปฐมภูมิเคลื่อนที่มาถึง <br />

- P คือ เวลาที่คลื่นตามขวางหรือคลื่นทุติยภูมิเคลื่อนที่มาถึง <br />

<br />

คลื่นแผ่นดินไหวจะเคลื่อนที่ไปรอบโลก ฉะนั ้น หากเรามีเครื่องมือที่ละเอียดเพียงพอ ก็สามารถ<br />

ตรวจวัดการเกิดแผ่นดินไหว จากที่ไหนก็ได้บนโลก (รูปที่ 15 และรูปที่ 16)<br />

การเกิดแผ่นดินไหวจะมีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนต่างๆ ซึ่งรอยเลื่อนสามารถ<br />

แบ่งโดยใช้การเคลื่อนตัวที่ปรากฏให้เห็น สามารถเรียกชื่อรอยเลื่อนเป็น 5 แบบคือ รอยเลื่อนปรกติ<br />

(Normal fault) รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (Thrust fault) หรือรอยเลื่อนย้อน (Reverse fault) รอยเลื่อนแนว<br />

ระดับแบบเหลื่อมซ้าย (Left-lateral strike slip fault) และรอยเลื่อนแนวระดับแบบเหลื่อมขวา <br />

(Right-lateral strike slip fault) (รูปที่ 17)<br />

โดยทั่วไปเราเรียกตำแหน่งที่เกิดแผ่นดินไหวจริงๆ ใต้ผิวโลกลึกลงไปว่า จุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว<br />

(Earthquake Focus หรือ Hypocenter) และเรียกตำแหน่งบนพื้นผิวโลกที่คลื่นแผ่นดินไหวเดินทางมา<br />

ถึงก่อนว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (Epicenter) ซึ่งเป็นตำแหน่งบนผิวโลกเหนือจุดที่เกิด<br />

แผ่นดินไหวจริงๆ หรือเป็นจุดตัดบนผิวโลกจากการลากเส้นจากจุดศูนย์กลางของโลกมายังจุดที่เกิด<br />

แผ่นดินไหวและต่อเลยไปตัดผิวโลก (รูปที่ 18) เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้น มักจะมีเหตุการณ์<br />

แผ่นดินไหวตาม (Aftershocks) ในทางธรณีวิทยาเราสามารถแบ่งจุดกำเนิดแผ่นดินไหว หรือการเกิด<br />

แผ่นดินไหวตามความลึกได้ 3 แบบ คือ<br />

17<br />

_11-0290(001-062).indd 17<br />

3/28/11 9:45:18 PM


18<br />

1) แผ่นดินไหวลึก (deep-focus earthquake) เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดอยู่ลึกกว่า 100<br />

กิโลเมตร มักพบในบริเวณที่เปลือกโลกมุดลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง พบใกล้กับแนวร่องทะเลและแนว<br />

ภูเขาไฟ<br />

2) แผ่นดินไหวลึกปานกลาง (intermediate earthquake) เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดอยู่<br />

ระหว่าง 70-100 กิโลเมตร มักพบในบริเวณเปลือกโลกแยกตัว หรือเคลื่อนที่ผ่านกัน เช่น สันกลาง<br />

มหาสมุทรแอตแลนติก<br />

3) แผ่นดินไหวตื้น (shallow earthquake) เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดลึกน้อยกว่า 70 กิโลเมตร <br />

มักพบในบริเวณเดียวกันกับแผ่นดินไหวระดับปานกลาง<br />

ระยะเวลาหลังจากเกิดแผ่นดินไหว (วินาที)<br />

25<br />

20<br />

15<br />

10<br />

5<br />

X<br />

กราฟแผ่นดินไหว<br />

Y<br />

เดนเวอร์ เซนต์จอห์น ลีมา<br />

คลื่นตามขวาง<br />

8 วินาที<br />

3 วินาที<br />

คลื่นตามยาว<br />

Z<br />

12 วินาที<br />

2000 4000 6000 8000 10,000<br />

ระยะทางจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (กิโลเมตร)<br />

รูปที่ 15 ตัวอย่างคลื่นแผ่นดินไหวที่สามารถตรวจวัดได้ (คัดลอกจาก http://www.indiana.edu/~geol116/<br />

week8/wk8.htm)<br />

_11-0290(001-062).indd 18<br />

3/28/11 9:45:19 PM


19<br />

ซานฟรานซิสโก<br />

ซิดนีย์<br />

รูปที่ 16 การหาศูนย์เกิดแผ่นดินไหวจากสถานีจำนวน 3 แห่ง (คัดลอกจาก http://www.calstatela.<br />

edu/faculty/acolvil/quakes/epi_location.jpg)<br />

รูปที่ 17 แบบจำลองการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนแบบต่างๆ ก) รอยเลื่อนปรกติ (Normal fault)<br />

ข) รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (Thrust fault) หรือรอยเลื่อนย้อน (Reverse fault) ค) รอยเลื่อนแนว<br />

ระดับเหลื่อมซ้าย (Left lateral strike-slip fault) และ ง) รอยเลื่อนแนวระดับเหลื่อมขวา <br />

(Right lateral strike-slip fault) (คัดลอกจาก http://www.geology.usgs.org)<br />

_11-0290(001-062).indd 19<br />

3/28/11 9:45:22 PM


20<br />

รูปที่ 18 การกำเนิดแผ่นดินไหว และพลังงานในรูปคลื่นความไหวสะเทือนหรือคลื่นแผ่นดินไหวที่<br />

ปลดปล่อยออกมา (คัดลอกจาก http://www.sci.tsu.ac.th/py371/images/stories/3-12.gif)<br />

ตัวอย่างลักษณะคลื่นแผ่นดินไหว (http://vulcan.wr.usgs.gov/Imgs/Gif/Monitoring/Seismic/quakes.gif)<br />

_11-0290(001-062).indd 20<br />

3/28/11 9:45:23 PM


7. ความร้ายแรงของแผ่นดินไหว<br />

ความร้ายแรงอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหวสามารถบอกได้ในรูปของความรุนแรง (Intensity)<br />

และขนาด (Magnitude) ของแผ่นดินไหว ซึ่งทั้งสองค่านี้แตกต่างกัน และมักจะใช้กันค่อนข้างสับสน <br />

ขนาดของแผ่นดินไหว (Magnitude) เกี่ยวข้องกับปริมาณของพลังงานซึ่งถูกปลดปล่อยออกมา<br />

ณ ตำแหน่งจุดกำเนิดแผ่นดินไหว ค่าขนาดแผ่นดินไหวนี้ขึ้นอยู่กับความสูงของคลื่นแผ่นดินไหว ที่<br />

บันทึกได้ด้วยเครื่องวัดความไหวสะเทือน ขนาดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งจึงมีได้ค่าเดียว ค่าที่บันทึกได้<br />

จากเครื่องวัดความไหวสะเทือน มิได้เป็นหน่วยวัดเพื่อแสดงผลของความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งการ<br />

ตรวจวัดขนาดแผ่นดินไหวเป็นการวัดกำลังหรือพลังงานที่ปลดปล่อยในการเกิดแผ่นดินไหว <br />

มาตราการวัดขนาดแผ่นดินไหวที่รู ้จักดี ได้แก่ มาตราริกเตอร์ ซึ่งเสนอโดย ชาลส์ เอฟ. ริกเตอร์<br />

(Charles F. Richter นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหว ชาวอเมริกัน) ใน พ.ศ. 2478 นายริกเตอร์<br />

ค้นพบว่า การวัดค่าแผ่นดินไหวที่ดีที่สุด ได้แก่ การวัดพลังงานจลน์ที่เกิดขึ้นในขณะเกิดแผ่นดินไหว<br />

บันทึกคลื่นแผ่นดินไหวจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวจำนวนมาก ในงานวิจัยของนายริกเตอร์แสดงให้<br />

เห็นว่า พลังงานแผ่นดินไหวที่สูงกว่าจะทำให้เกิดความสูงคลื่น (amplitude) ที่สูงกว่า เมื่อระยะทาง<br />

ห่างจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเท่ากัน<br />

ขนาดของแผ่นดินไหวเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่บ่งชี้ความร้ายแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น<br />

เมื่อเปรียบเทียบกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ระดับเป็นศูนย์ โดยกำหนดให้แผ่นดินไหวที่เกิดที่ระดับเป็น<br />

ศูนย์มีค่าความสูงของคลื่น 0.001 มิลลิเมตร ที่ระยะทาง 100 กิโลเมตร จากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว<br />

(Epicenter)<br />

สูตรที่ใช้คำนวณคือ<br />

M = log A- log A0<br />

เมื่อ M เป็นขนาดแผ่นดินไหว<br />

A เป็นความสูงของคลื่นสูงสุด<br />

A 0<br />

เป็นความสูงของคลื่นที่ระดับศูนย์<br />

เช่น หากคลื่นแผ่นดินไหวสูงสุดมีค่าความสูงของคลื่นเท่ากับ 10 มิลลิเมตร ที่วัดได้จากสถานี<br />

วัดความไหวสะเทือนที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว 100 กิโลเมตร จะหาขนาดแผ่นดินไหวได้<br />

ดังนี้<br />

M = log 10 - log 0.001<br />

= 1- (-3)<br />

= 4 หน่วย ตามมาตราริกเตอร์<br />

ในทำนองเดียวกันขนาดของแผ่นดินไหวมีความสูงของคลื่นที่สูงสุด 100 มิลลิเมตร ที่ระยะทาง<br />

100 กิโลเมตรจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว จะมีขนาด 5 หน่วย ตามมาตราริกเตอร์ ซึ่งคำนวณได้ดังนี้<br />

M = log 100 - log 0.0001<br />

= 2-(-3)<br />

= 5 หน่วย ตามมาตราริกเตอร์<br />

21<br />

_11-0290(001-062).indd 21<br />

3/28/11 9:45:24 PM


23<br />

ความสูงของคลื่น<br />

(มม.)<br />

(วินาที)<br />

เวลาที่คลื่น P และ S เดินทางมาถึง<br />

ระยะทาง<br />

(กม.)<br />

S-P<br />

วินาที<br />

ขนาดแผนดินไหว<br />

ความสูงของคลื่น<br />

(มม.)<br />

รูปที่ 19 วิธีการคำนวณหาขนาดของแผ่นดินไหวอย่างง่าย ณ จุดที่สามารถตรวจวัด<br />

สำหรับการวัดขนาดแผ่นดินไหว ตามมาตราริกเตอร์ เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่วิธีการ<br />

ของนายริกเตอร์ยังไม่แม่นตรงนักในเชิงวิทยาศาสตร์ เพราะวิธีการคำนวณจึงจำกัดไว้เพียงที่แผ่นดิน<br />

ไหวขนาดไม่เกิน 7.0 และใช้กับแผ่นดินไหวในรัศมีไม่เกิน 650 กิโลเมตร ใน พ.ศ. 2520 ฮิรู คะนะโมะริ<br />

(Hiroo Kanamori นักธรณีฟิสิกส์ ชาวญี่ปุ่น) ได้เสนอวิธีวัดพลังงานโดยตรงจากการวัดการเคลื่อนที่<br />

ของรอยเลื่อน มาตราการวัดขนาดของคะนะโมะริ เรียกว่า ขนาดโมเมนต์แผ่นดินไหว (Moment <br />

Magnitude) <br />

_11-0290(001-062).indd 23<br />

3/28/11 9:45:24 PM


24<br />

ความรุนแรงของแผ่นดินไหว (Intensity) เป็นผลกระทบของแผ่นดินไหวที่มีต่อความรู้สึก<br />

ของคน และความเสียหายของอาคารและสิ่งก่อสร้าง และต่อสิ่งต่างๆ ของธรรมชาติ ความรุนแรงจะ<br />

มากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละแห่งที่ได้รับผลกระทบโดยขึ้นอยู่กับ ระยะทาง ว่าอยู่ห่างไกลจาก<br />

ตำแหน่งจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว มากน้อยเพียงใด และสภาพธรณีวิทยาของพื้นที่นั้นๆ <br />

<br />

ผลกระทบหรือความเสียหายจากแผ่นดินไหวที่เกิดบนผิวโลก เรียกว่าความรุนแรงของแผ่นดินไหว<br />

มาตราวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว กำหนดได้จากความรู้สึกของอาการตอบสนองของผู้คน การ<br />

เคลื่อนที่ของเครื่องเรือน เครื่องใช้ในบ้าน ความเสียหายของปล่องไฟ จนถึงขั้นที่ทุกสิ่งทุกอย่าง<br />

พังพินาศ มาตราวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวเรียกว่า “มาตราเมอร์คัลลี่” (Mercalli) ซึ่งมาตรา<br />

ความรุนแรงเมอร์คัลลีกำหนดขึ ้นครั ้งแรกโดย กวีเซปเป เมอร์คัลลี (Guiseppe Mercalli ชาวอิตาเลียน<br />

นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหวและภูเขาไฟ) ใน พ.ศ. 2445 ต่อมาปรับปรุงโดยแฮร์รี วูด (Harry <br />

Wood นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหว ชาวอเมริกัน) และแฟรงก์ นิวแมนน์ (Frank Neumann นัก<br />

วิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหว ชาวอเมริกัน) ใน พ.ศ. 2474 มาตราความรุนแรงเมอร์คัลลี่ มี 12 ระดับ<br />

(รูปที่ 20) จากระดับความรุนแรงที่น้อยมากจนไม่สามารถรู้สึกได้ ซึ่งต้องตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือ<br />

วัดแผ่นดินไหวเท่านั้น จนถึงขั้นรุนแรงที่สุดจนทุกสิ่งทุกอย่างพังพินาศ หน่วยระดับที่ใช้เป็นตัวเลข<br />

โรมันจัดลำดับขั้นความรุนแรงตามเลขโรมันจาก I-XII ซึ่งสามารถเปรียบเทียบขนาดแผ่นดินไหว<br />

ความรุนแรง และอัตราเร่งของคลื่นแผ่นดินไหวได้ดังตารางที่ 2<br />

ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบขนาดแผ่นดินไหว ความรุนแรง และอัตราเร่งของคลื่นแผ่นดินไหว<br />

ขนาดแผ่นดินไหว<br />

(Magnitude)<br />

ความรุนแรงตามมาตราเมอร์คัลลี่<br />

(Mercalli Intensity)<br />

อัตราเร่งพื้นดิน<br />

(Acceleration, %g)<br />

น้อยกว่า 3.0 I-II ประชาชนไม่รู้สึก แต่เครื่องตรวจวัดได้ น้อยกว่า 0.19<br />

3.0 – 3.9 III ประชาชนอยู่ในบ้านรู้สึกได้ 0.20 – 0.49<br />

4.0 – 4.9 IV-V ประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกได้ 0.50 – 1.90<br />

5.0 – 5.9 VI-VII ประชาชนทุกคนรู้สึกได้ อาคารเสียหายบ้าง 2.00 – 9.90<br />

6.0 – 6.9 VII-VIII ประชาชนตื่นตกใจและอาคารเสียหาย 10.00 – 19.90<br />

ปานกลาง<br />

7.0 – 7.9 IX-X อาคารเสียหายเกือบทั้งหมด 20.00 – 99.00<br />

มากกว่า 8.0 XI-XII ทุกอย่างถูกทำลายเกือบหมด มากกว่า 100.00<br />

g = แรงโน้มถ่วงของโลก, 9.8 เมตร/วินาที<br />

_11-0290(001-062).indd 24<br />

3/28/11 9:45:25 PM


25<br />

<br />

ความรุนแรง สภาพของแผ่นดินไหว ความรุนแรง สภาพของแผ่นดินไหว<br />

I อ่อนมาก<br />

คนธรรมดาจะไม่รู้สึก<br />

แต่เครื่องวัดสามารถ<br />

ตรวจจับได้<br />

VII แรงมาก<br />

ฝาห้องแยก ร้าว <br />

กรุเพดานร่วง<br />

<br />

II อ่อนมาก<br />

คนที่มีความรู้สึกไว<br />

จะรู้สึกว่าแผ่นดินไหว<br />

เล็กน้อย<br />

<br />

VIII ทำลาย <br />

ต้องหยุดขับรถยนต์<br />

ตึกร้าว ปล่องไฟพัง<br />

<br />

III เบา<br />

คนที่อยู่กับที่<br />

รู้สึกว่าพื้นสั่น<br />

<br />

IX ทำลายสูญเสีย<br />

บ้านพังตามแถบ<br />

รอยแยกของแผ่นดิน<br />

ท่อน้ำ ท่อก๊าซ<br />

ขาดเป็นท่อนๆ <br />

<br />

<br />

IV พอประมาณ<br />

คนที่สัญจรไปมา<br />

รู้สึกได้<br />

V ค่อนข้างแรง<br />

คนที่นอนหลับ<br />

ตกใจตื่น<br />

<br />

<br />

X วินาศภัย<br />

แผ่นดินแตกอ้า<br />

ตึกแข็งแรงพัง<br />

รางรถไฟคดโค้ง <br />

ดินลาดเขาเคลื่อนตัว<br />

หรือถล่มลงมา<br />

XI วินาศภัยใหญ่<br />

ตึกถล่ม สะพานขาด <br />

ทางรถไฟ ท่อน้ำและ<br />

สายไฟใต้ดินเสียหาย<br />

แผ่นดินถล่ม น้ำท่วม<br />

<br />

VI แรง<br />

ต้นไม้สั่น บ้านแกว่ง<br />

สิ่งปลูกสร้าง<br />

บางชนิดพัง<br />

<br />

XII มหาวิบัติ<br />

ทุกสิ่งทุกอย่าง<br />

บนพื้นถนนแถบนั้น<br />

เสียหายโดยสิ้นเชิง<br />

พื้นดินเคลื่อนตัว<br />

เป็นลูกคลื่น<br />

รูปที่ 20 ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวตามมาตราเมอร์คัลลี่ (Mercalli) มี 12 ระดับ<br />

_11-0290(001-062).indd 25<br />

3/28/11 9:45:26 PM


26<br />

8. แผ่นดินไหวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />

ภูมิภาคส่วนใหญ่บนพื้นผิวโลกมีแผ่นดินไหวขนาดเล็กหรือปานกลางเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเท่า<br />

นั้น แต่บางภูมิภาคกลับมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่และมีลักษณะเป็น<br />

แนวยาวต่อกันเรียกว่า แนวการไหวสะเทือน (Seismic belts) มักเกิดอยู่บริเวณ 3 แนวนี้คือ (รูปที่ 21)<br />

1) แนวภูเขาไฟและแผ่นดินไหวรอบมหาสมุทรแปซิฟิก หรือเรียกว่า “วงแหวนไฟ” (Ring of fire)<br />

ซึ่งเกิดแผ่นดินไหวประมาณร้อยละ 80<br />

2) แนวภูเขาแอลป์-หิมาลัย เริ่มจากอินโดนีเซียผ่านเกาะสุมาตรา สหภาพพม่า เทือกเขาหิมาลัย<br />

เมดิเตอร์เรเนียนจนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก<br />

3) แนวสันภูเขาไฟกลางมหาสมุทรแอตแลนติก อยู่ตามแนวสันเขากลางมหาสมุทรอินเดีย<br />

เชื่อมกับแนวในด้านตะวันออกของแอฟริกา<br />

รูปที่ 21 แนวการไหวสะเทือน (Seismic belts) มักเกิดขึ ้นเป็นประจำคือแนวภูเขาไฟและแผ่นดินไหวรอบ<br />

มหาสมุทรแปซิฟิก แนวภูเขาแอลป์-หิมาลัย และแนวสันภูเขาไฟกลางมหาสมุทรแอตแลนติก<br />

(คัดลอกจาก http://www.topex.ucsd.edu/es10/lectures/lecture06/plates.gif)<br />

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นย่านแผ่นดินไหวที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยมีเปลือกโลก<br />

ใกล้เคียงกันรวม 4 แผ่น ได้แก่ แผ่นยูเรเชีย แผ่นแปซิฟิก แผ่นอินเดีย-ออสเตรเลีย และแผ่น<br />

ฟิลิปปินส์ อีกทั้งเป็นที่บรรจบกันของแนวแผ่นดินไหว 2 แนวคือ แนวล้อมมหาสมุทรแปซิฟิก และ<br />

แนวแอลป์-หิมาลัย จึงทำให้เกิดแผ่นดินไหวเป็นจำนวนมาก <br />

_11-0290(001-062).indd 26<br />

3/28/11 9:45:27 PM


27<br />

ประเทศไทยตั้งอยู่บนแผ่นยูเรเชีย (รูปที่ 22) ใกล้รอยต่อระหว่างแผ่นยูเรเชียกับแผ่นอินเดีย-<br />

ออสเตรเลีย มีรอยเลื่อน (fault) อยู่ทางภาคตะวันตกและภาคเหนือ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตสหภาพพม่า<br />

และทะเลอันดามัน<br />

ค<br />

ข<br />

ก<br />

รูปที่ 22 ก) แผนที่แสดงธรณีแปรสัณฐานของภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกของสองเปลือกโลก <br />

และการกระจายตัวของรอยเลื่อนต่างๆ ระหว่างโครงร่างเปลือกโลก <br />

ข) แบบจำลองโดยใช้เปลือกโลกอินเดีย-ออสเตรเลีย ชนเปลือกโลกยูเรเชีย<br />

ค) ภาพขยายใกล้ของลักษณะที่ปรากฏเมื่อมีการเกิดการชนกันขึ ้น (tectonic plates) (Tapponnier <br />

และคณะ, 1982)<br />

_11-0290(001-062).indd 27<br />

3/28/11 9:45:27 PM


28<br />

9. การศึกษาธรณีวิทยาแผ่นดินไหวในประเทศไทย<br />

การศึกษาธรณีวิทยาแผ่นดินไหวเป็นการศึกษาถึงลักษณะธรณีแปรสัณฐานยุคใหม่ และ<br />

วิวัฒนาการของโครงสร้างชั้นหิน/ชั้นดิน ว่าเป็นผลมาจากกระบวนการแปรสัณฐานครั้งใหม่<br />

(ตามธรณีกาล) ที่ยังมีพลังในปัจจุบัน แต่ถ้าพูดถึงการมีพลัง (Active tectonics) ย่อมหมายถึงการ<br />

ยังคงมีการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 11,000 ปี (ยุคโฮโลซีน) และลักษณะธรณีสัณฐานที่ปรากฏใน<br />

ปัจจุบันมักเกิดขึ้นมาในช่วงนี้ ดังนั้นลักษณะธรณีสัณฐานต่างๆ ที่ถูกแปรสัณฐานจนเกิดการ<br />

เปลี่ยนแปลงในช่วงที่ยาวไม่เกิน 1.65 ล้านปี (ยุคควอเทอร์นารี) จึงเรียกว่าลักษณะธรณีสัณฐาน<br />

มีศักยภาพมีพลัง (Potentially active tectonics) สำหรับธรณีสัณฐานที่ไม่มีการเคลื่อนตัวใน <br />

1.65 ล้าน จัดเป็นธรณีสัณฐานที่ไม่มีพลัง (Inactive tectonics) และไม่เป็นการง่ายในการหาอายุของ<br />

การแปรสัณฐานเหล่านั้นที่สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหว อย่างไรก็ตามเราอาจพิสูจน์ได้จาก<br />

หลักฐานทางธรณีวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน และการพิจารณาว่าการเลื่อนตัว<br />

รอยเลื่อนมีการเลื่อนตัวครั้งใหญ่ที่สุดเมื่อใด นอกจากนั้นการกำหนดอายุว่ารอยเลื่อนนั้นมีพลัง<br />

หรือไม่ยังขึ้นกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ อาทิเช่น กรณีการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ <br />

กำหนดให้รอยเลื่อนมีพลังเลื่อนตัวไม่เกิน 35,000 ปี แต่ถ้าเป็นการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ มักกำหนด<br />

ให้การเลื่อนตัวไม่เกิน 11,000 ปี เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของสังคมมนุษย์ในการใช้ประโยชน์<br />

จากสิ่งก่อสร้างนั้นๆ (ตารางที่ 3)<br />

ตารางที่ 3 การจัดจำแนกชนิดของรอยเลื่อน (Keller และ Pinter, 1996)<br />

_11-0290(001-062).indd 28<br />

3/28/11 9:45:28 PM


29<br />

การศึกษาด้านธรณีวิทยาแปรสัณฐานและธรณีสัณฐาน เป็นขั้นตอนต่อจากการรวบรวมข้อมูล<br />

พื้นฐานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือทำการแปลความหมายหาแนวเส้นโครงสร้างทาง<br />

ธรณีวิทยาที่ปรากฏบนภาพดาวเทียม โดยทำการแปลความหมายแนวเส้นโครงสร้างและลักษณะทาง<br />

ธรณีสัณฐานที่บ่งชี้ถึงการเลื่อนของรอยเลื่อนที่ผ่านพาดในพื้นที่นั้นๆ ดังนั้นก่อนอื่น จึงจำเป็นต้อง<br />

เข้าใจในลักษณะธรณีสัณฐาน (Burbank and Anderson, 2001) ที่ใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ว่าเป็นรอยเลื่อนที่มี<br />

พลัง (Active fault) ก่อนที่จะทำการคัดเลือกพื้นที่ที่น่าสนใจในการทำการศึกษาขั้นรายละเอียดจาก<br />

การแปลความหมายภาพถ่ายทางอากาศต่อไป ลักษณะธรณีสัณฐานที่บ่งชี้ว่าเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง<br />

ดังนั้นจำเป็นต้องเข้าใจในลักษณะธรณีสัณฐานวิทยา (Keller and Printer, 1996) ที่ใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ว่า<br />

เป็นรอยเลื่อนที่มีพลังก่อน ที่จะทำการคัดเลือกพื้นที่ที่น่าสนใจในการทำการศึกษาธรณีวิทยาแผ่นดิน<br />

ไหวขั้นรายละเอียดจากการแปลความหมายภาพถ่ายทางอากาศต่อไป ลักษณะธรณีสัณฐานที่บ่งชี้ว่า<br />

เป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง (รูปที่ 23) ประกอบด้วย<br />

1) หุบเขาเส้นตรง (linear valley) เกิดจากรอยเลื่อนที่มีการเลื่อนตัวในแนวระดับ (strike slip<br />

fault) เป็นทางน้ำที่มีทิศทางการไหลขนานไปกับแนวของรอยเลื่อน หรือไหลในแนวของรอยเลื่อน <br />

(รูปที่ 23) <br />

2) ผาสามเหลี่ยม (triangular facets) เป็นหน้าผาภูเขาที่มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ที่เกิด<br />

จากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนในแนวดิ่ง แล้วผ่านกระบวนการกัดเซาะของทางน้ำหลายแนวใน<br />

หุบเขาปรับเปลี่ยนหน้าผารอยเลื่อนเดิมเป็นรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยม ให้มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม <br />

(รูปที่ 24)<br />

3) พุน้ำร้อน (hot spring) เป็นปรากฏการณ์ที่น้ำใต้ดินที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติไหลขึ้นมาบน<br />

ผิวดินตามแนวรอยเลื่อนหรือรอยแตกของเปลือกโลก อันเนื่องมาจากรอยเลื่อนตัดผ่านชั้นน้ำใต้ดิน<br />

ที่ได้รับความร้อนจากใต้พิภพ มักพบตามแนวรอยเลื่อนมีพลัง (รูปที่ 23)<br />

4) ธารเหลื่อม (offset streams) เกิดจากรอยเลื่อนที่มีการเลื่อนตัวในแนวระดับ (strike slip<br />

fault) ตัดผ่านทางน้ำที่ไหลตรงๆ จากที่สูงสู่ที่ราบด้านล่างให้เกิดลักษณะธรณีสัณฐานที่เรียกว่าธาร<br />

เหลื่อม โดยไหลตั้งฉากจากแนวทางน้ำเดิมในช่วงที่ไหลตามแนวรอยเลื่อน ซึ่งสามารถวัดระยะของ<br />

การเลื่อนตัวของรอยเลื่อนนั้นๆ ได้ (รูปที่ 25)<br />

_11-0290(001-062).indd 29<br />

3/28/11 9:45:28 PM


30<br />

รูปที่ 23 ลักษณะธรณีสัณฐานวิทยา ที่ใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ในการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนที่มีพลัง <br />

(Burbank and Anderson, 2001)<br />

รูปที่ 24 ก) ผาสามเหลี่ยมของกลุ่มรอยเลื่อนเถิน บริเวณทิวเขาด้านทิศตะวันออกของอำเภอสบปราบ <br />

จังหวัดลำปาง <br />

ข) แสดงพัฒนาหน้าผาสามเหลี่ยมที่เกิดการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนในแนวดิ่งหลายครั้ง <br />

(จาก Fenton และคณะ, 2003)<br />

I เป็นการเลื่อนตัวในแนวดิ่งของรอยเลื่อนปรกติครั้งแรกและได้ผารอยเลื่อน <br />

II ผารอยเลื่อนถูกทางน้ำกัดเซาะเปลี่ยนสภาพเป็นผาสามเหลี่ยม<br />

III ช่วงที่หยุดการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน มีการกัดเซาะในแนวราบบริเวณเชิงเขาของฐานผาสามเหลี่ยม <br />

IV การเกิดเลื่อนตัวซ้ำของรอยเลื่อนเดิมและได้ผารอยเลื่อนขั้นที่สอง <br />

V ผาถูกกัดเซาะโดยทางน้ำได้ผาสามเหลี่ยมขั้นที่สอง <br />

VI เกิดการกัดเซาะในแนวดิ่งของฐานผาสามเหลี่ยมกลายเป็นที่ราบถอยหล่นออกจากตำแหน่งเดิม <br />

(แนวรอยเลื่อน) <br />

VII เกิดการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนอีกครั้งได้ผารอยเลื่อนขั้นที่สาม <br />

VIII เกิดการกัดเซาะของทางน้ำได้เป็นผาสามเหลี่ยม ช่องแคบที่แสดงเป็นตะพักคั่นระหว่างกลุ่มผาสามเหลี่ยม<br />

ระดับต่างๆ บริเวณช่วงเวลาของการหยุดการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนและการพัฒนาผาสามเหลี่ยมซ้อน<br />

กันหลายระดับนี ้ พบว่าผาสามเหลี่ยมชั ้นล่างสุดมีความลาดชันมากกว่าชั ้นที่อยู่ด้านบนๆ ที่เกิดขึ ้นมาก่อน<br />

_11-0290(001-062).indd 30<br />

3/28/11 9:45:29 PM


31<br />

รูปที่ 25 ก) ลักษณะธารเหลื่อมแสดงการเลื่อนในแนวระดับแบบเหลี่ยมขวาของรอยเหลื่อม <br />

San Andreas ในสหรัฐอเมริกา<br />

ข) แบบจำลองลักษณะธรณีสัณฐานธารเหลื่อม (จาก www.ucsb.edu)<br />

5) ผารอยเลื่อน (scarp) หน้าผาชันรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมที่เกิดจากรอยเลื่อนตัดผ่านภูเขา<br />

เกิดได้ทั้งรอยเลื่อนปรกติ (normal fault) รอยเลื่อนย้อนกลับ (reverse fault) และรอยเลื่อนในแนว<br />

ระดับ ทำให้ได้หน้าผาชันสูงจากที่ราบด้านล่างโดยเห็นความแตกต่างระดับของได้ ดังรูปที่ 26 และ<br />

รูปที่ 27<br />

6) ธารหัวขาด (beheaded stream) เกิดจากรอยเลื่อนที่มีการเลื่อนตัวในแนวระดับตัดผ่าน<br />

ทางน้ำเป็นแนวตรงให้ขาดจากทางน้ำเดิม ทำให้ทางน้ำใหม่ไม่มีความต่อเนื่องกับทางน้ำเดิมทำให้ทาง<br />

น้ำส่วนนี้ไม่มีน้ำไหลมาเติมจากต้นน้ำทำให้ปรากฏเป็นลำน้ำแห้งในปัจจุบัน (รูปที่ 28)<br />

7) สันกั้น (shutter ridge) เกิดจากสันเขาถูกรอยเลื่อนตัดผ่าน แล้วทำให้สันเขานั้นมีการ<br />

เลื่อนตัวออกไปจากแนวเดิมมักปรากฏรูปร่างเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่ โดยเกิดจากรอยเลื่อนที่มีการ<br />

เลื่อนตัวในแนวราบ มักเกิดร่วมกับธารเหลื่อม (รูปที่ 29)<br />

8) ตะพักขั้นบันได (bench) เป็นการพัฒนาลักษณะภูมิประเทศต่อเนื่องจากผาสามเหลี่ยม<br />

เมื่อมีรอยเลื่อนปกติ เกิดการเลื่อนขยับตัวในแนวดิ่งอีกครั้งแล้วเกิดการยกตัวขึ้นเกิดเป็นตะพัก<br />

ขั้นบันไดขึ้นบริเวณเชิงเขา โดยอยู่สูงจากลำแม่น้ำ (รูปที่ 30)<br />

9) หุบเขารูปแก้วไวน์ (wine glass) เกิดจากทางน้ำสายเก่าที่มีร่องน้ำกว้างเป็นรูปตัวยู <br />

(U-shape valley) ถูกรอยเลื่อนตัดผ่านและเลื่อนตัวลงในแนวดิ่ง ทำให้ทางน้ำเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำตก<br />

และมีการกัดเซาะในแนวดิ่งบริเวณฐานของร่องท้องน้ำทำให้ได้ร่องน้ำใหม่รูปตัววี (V-shape valley)<br />

เมื่อดูภาพตัดขวางของร่องน้ำพบว่า ด้านบนเป็นร่องน้ำกว้างรูปตัวยูแต่ด้านล่างเป็นร่องน้ำรูปตัววี<br />

ลักษณะคล้ายแก้วไวน์ (รูปที่ 31)<br />

10) หนองหล่ม (sag pond) มีลักษณะเป็นแอ่งที่ลุ่มอยู่ระหว่างกรอบของรอยเลื่อนสองแนว<br />

ที่มีทิศทางของแรงตรงข้ามกัน แล้วเกิดแรงดึงของรอยเลื่อนทำให้มีการยุบตัวของพื้นที่บริเวณ<br />

รอยต่อของรอยเลื่อนลงเกิดเป็นหนองน้ำหรือแอ่งเกิดขึ้น (รูปที่ 32)<br />

_11-0290(001-062).indd 31<br />

3/28/11 9:45:30 PM


32<br />

11) สันแรงดัน (pressure ridge) มักพบในเขตรอยเลื่อน มีลักษณะการเกิดที่มีกระบวนการ<br />

ตรงข้ามกับการเกิดแอ่งหรือหนองน้ำ กล่าวคือมีลักษณะเป็นเนินเล็กๆ ที่ได้รับแรงอัดจากการเคลื่อนที่<br />

ของรอยเลื่อนบริเวณเขตรอยต่อของสองรอยเลื่อน หรือรอยเลื่อนแนวเดียวตรงส่วนคดโค้ง สันแรงดัน<br />

(pressure ridge) มักพบในเขตรอยเลื่อน มีลักษณะการเกิดที่มีกระบวนการตรงข้ามกับการเกิดแอ่ง<br />

หรือหนองน้ำ กล่าวคือมีลักษณะเป็นเนินเล็กๆ ที่ได้รับแรงอัดจากการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อนบริเวณ<br />

เขตรอยต่อของสองรอยเลื่อน หรือรอยเลื่อนแนวเดียวตรงส่วนคดโค้ง รูปที่ 33<br />

12) เนินเขาตีบขนาน (parallel ridge) เป็นเนินเขาไม่สูงแต่ชัน มีความยาวมากกว่าความ<br />

กว้างมากๆ ปรากฏอยู่ภายในรอยเลื่อนที่ขนานกัน 2 รอย และเกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน<br />

ในแนวราบมากกว่าและควบคู่กับแนวดิ่ง<br />

ผารอยเลื่อน<br />

ก<br />

ข<br />

รูปที่ 26 ก) ลักษณะธรณีสัณฐานผารอยเลื่อนที่เกิดจากรอยเลื่อนปรกติ (Normal fault) เส้นทึบ<br />

แสดงแนวรอยเลื่อน (จาก www.seismo.ued.edu) <br />

ข) แบบจำลองแสดงการเกิดผารอยเลื่อน (Keller และ Pinter, 1996)<br />

_11-0290(001-062).indd 32<br />

3/28/11 9:45:30 PM


33<br />

รูปที่ 27 ก) ลักษณะธรณีสัณฐานผารอยเลื่อนจากรอยเลื่อนแบบย้อนมุมต่ำ (Thrust fault) <br />

ของรอยเลื่อนในไต้หวัน <br />

ข) แบบจำลองแสดงการเกิดผารอยเลื่อนแบบย้อนมุมต่ำ (จาก www.seismo.ued.edu)<br />

ก<br />

ข<br />

รูปที่ 28 ก) ลักษณะธารหัวขาด (beheaded stream) เมื่อถูกรอยเลื่อนตัดฉีกขาดออกจากกัน <br />

โดยเส้นทึบแสดงแนวรอยเลื่อน เส้นปะแสดงทางน้ำ (จาก www.seismo.ued.edu) <br />

ข) แบบจำลองการเกิดลักษณะธรณีสัณฐานรูปแบบต่างๆ บ่งชี ้ถึงความมีพลัง (www.gsj.jp)<br />

สันกั้น<br />

ทางน้ําหัวขาด<br />

ตะพักขั้นบันได<br />

หนองหลม สันกั้น<br />

รูปที่<br />

29 รูปที่<br />

30<br />

รูปที่ 29 ลักษณะธรณีสัณฐานสันกั้นและหนองน้ำ จากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนในแนวระดับ<br />

แบบเหลื่อมซ้ายและเส้นทึบแสดงแนวรอยเลื่อน (www.encsci.nan.edu)<br />

รูปที่ 30 ลักษณะธรณีสัณฐานที่เป็นตะพักขั้นบันได (Bench) ของกลุ่มรอยเลื่อนระนอง (เส้นทึบ<br />

แสดงรอยเลื่อน) บริเวณบ้านประชาเสรี อ.สวี จ.ชุมพร (พัชรีภรณ์ หาญพงษ์, 2546)<br />

_11-0290(001-062).indd 33<br />

3/28/11 9:45:31 PM


34<br />

รูปที่ 31 ก) หุบเขารูปแก้วไวน์ที่เกิดจากรอยเลื่อนปรกติตัดผ่านร่องน้ำ ของรอยเลื่อนปัว จังหวัดน่าน <br />

ข) แบบจำลองการเกิดหุบเขารูปแก้วไวน์ (จาก Fenton และคณะ, 1997) <br />

รูปที่ 32 ก) สภาพภูมิประเทศแสดงหนองหล่มที่เกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนแม่จัน<br />

จังหวัดเชียงราย<br />

ข) แบบจำลองทิศทางแนวแรงดึงออกจากกันทำให้พื้นที่ยุบตัวลงเกิดเป็นหนองหล่ม โดย<br />

เส้นทึบแสดงแนวรอยเลื่อน (จาก Keller และ Pinter, 1996)<br />

รูปที่ 33 ก) สภาพเนินเขาหินแกรนิตถูกดันจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน San Jacinto fault ทำให้<br />

เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.8 ริกเตอร์เมื่อ ค.ศ.1968 ทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย<br />

ในสหรัฐอเมริกา (จาก Sylvester, 1986) ข) แบบจำลองทิศทางแนวแรงอัดเข้ามากระทำ<br />

ทำให้พื้นที่ถูกยกตัวสูงขึ้น (จาก Keller และ Pinter, 1996)<br />

_11-0290(001-062).indd 34<br />

3/28/11 9:45:33 PM


35<br />

กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการสำรวจรอยเลื่อนมีพลังพบว่า ประเทศไทยมีแนวรอยเลื่อนที่สำคัญ<br />

3 แนว คือ กลุ่มรอยเลื่อนทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กลุ่มรอยเลื่อนทิศตะวันตก<br />

เฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ และกลุ่มรอยเลื่อนทิศเหนือ-ใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดแผ่นดินไหวที่<br />

มีผลกระทบต่อประเทศไทย ได้แก่ รอยเลื่อนในเขตภาคตะวันตกของประเทศไทย-ภาคตะวันออก<br />

ของสหภาพพม่า ซึ่งได้แก่รอยเลื่อนสกาย และรอยเลื่อนพานหลวง รอยเลื่อนเมย รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์<br />

และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ส่วนในเขตภาคเหนือ ได้แก่ รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน รอยเลื่อนแม่จัน <br />

รอยเลื่อนแม่อิง รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนแม่น้ำยม รอยเลื่อนพะเยา รอยเลื่อน<br />

อุตรดิตถ์ และรอยเลื่อนปัว นอกจากนี้ยังมีรอยเลื่อนอีกสองแนวในเขตภาคใต้ คือรอยเลื่อนระนอง<br />

และรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย และอีกหนึ่งแนวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือรอยเลื่อนท่าแขก <br />

(รูปที่ 34) อนึ่งรอยเลื่อนแม่อิงจัดอยู่ในกลุ่มรอยเลื่อนแม่จัน และรอยเลื่อนแม่น้ำยมจัดอยู่ในกลุ่ม<br />

รอยเลื่อนเถิน ที่พาดผ่านพื้นที่ใน 22 จังหวัด ดังนี้<br />

1) กลุ่มรอยเลื่อนแม่จัน เป็นรอยเลื่อนที่มีแนวการวางตัวในทิศทางเกือบทิศตะวันตก-<br />

ตะวันออก ซึ่งค่อนข้างบิดเอียงลงทิศใต้ และขึ้นทิศเหนือเล็กน้อย มีมุมเอียงเทไปทิศเหนือ และมี<br />

ความยาวประมาณ 155 กิโลเมตร พาดผ่านตั้งแต่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่จัน อำเภอ<br />

เชียงแสน และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และต่อเนื่องไปในสาธารณรัฐประชาธิปไตย<br />

ประชาชนลาว มีแหล่งพุน้ำร้อนปรากฏขึ้นตลอดความยาวของรอยเลื่อนนี้ 3 แห่ง รอยเลื่อนนี้ตัดผ่าน<br />

หินแกรนิตยุคไทยแอสซิกเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะหรือพฤติกรรมการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนแม่จันนั้น <br />

พบว่าในปัจจุบันมีการเลื่อนตัวตามแนวระดับเหลื่อมซ้ายเป็นหลัก ตามหลักฐานของธรณีสัณฐาน<br />

ที่สำคัญที่พบ คือ ธารเหลื่อม ที่ปรากฏระยะเหลื่อมของลำห้วยสาขาของน้ำแม่จัน เป็นระยะทางมาก<br />

กว่า 600 เมตร นอกจากนี้ยังพบลักษณะของการเลื่อนตัวออกจากกันของสันเขาที่เรียกว่า <br />

สันเหลื่อม (offset ridge) ธารหัวขาด (behead stream) ผารอยเลื่อน สันกั้น และผาสามเหลี่ยม <br />

เป็นต้น ลักษณะเหล่านี้ปรากฏอย่างชัดเจนมาก ซึ่งแสดงถึงความใหม่ของธรณีสัณฐาน อันบ่งชี้ว่า<br />

เกิดขึ้นมาไม่นานตามธรณีกาล เพราะถ้าระยะเวลาผ่านไปยาวนาน การผุพังสึกกร่อนของหินกลาย<br />

เป็นดินจะปิดทับลบร่องรอยหลักฐานการเกิดแผ่นดินไหวจนหมด จากการตรวจสอบพบว่ารอยเลื่อน<br />

ได้ตัดผ่านเข้าไปในตะกอนปัจจุบัน ซึ่งประเมินการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนแม่จันได้ว่า เคยทำให้เกิด<br />

แผ่นดินไหวขนาด 7.0 ตามมาตราริกเตอร์ เมื่อ 8,100 ปี 4,000 ปี และ 1,500 ปีล่วงมาแล้ว ข้อมูล<br />

ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวจากเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวในกลุ่มรอยเลื่อนนี้พบว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530<br />

เป็นต้นมา เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.0 – 4.0 ตามมาตราริกเตอร์ จำนวน 10 ครั ้ง และมีขนาด 4.0 - 4.5 <br />

ตามมาตราริกเตอร์ จำนวน 3 ครั้ง นอกจากนี ้ยังมีแผ่นดินไหวที่มีศูนย์เกิดนอกประเทศ แต่ส่งผลกระทบ<br />

ในจังหวัดภาคเหนือตอนบน และรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนในอาคารสูงของกรุงเทพมหานคร คือเมื่อ<br />

วันที่ 16 พฤษภาคม 2550 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ตามมาตราริกเตอร์ มีศูนย์เกิดในพื้นที่ <br />

สปป.ลาว มีสาเหตุมาจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนที่อยู่ทิศใต้ของกลุ่มรอยเลื่อนน้ำมาซึ่งยาว<br />

ต่อเนื่องเข้ามาเชื่อมต่อกับกลุ่มรอยเลื่อนแม่จันในประเทศไทยส่งผลกระทบให้ผนังอาคารหลายหลัง <br />

_11-0290(001-062).indd 35<br />

3/28/11 9:45:33 PM


36<br />

รูปที่ 34 แผนที่แสดงรอยเลื่อนมีพลังของประเทศไทย (คัดลอกจาก กรมทรัพยากรธรณี, 2549)<br />

_11-0290(001-062).indd 36<br />

3/28/11 9:45:38 PM


37<br />

สรุปพื้นที่ที่มีรอยเลื่อนมีพลังพาดผ่านของประเทศไทย<br />

ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน<br />

เหนือ เชียงใหม่ 12 35 174<br />

เหนือ เชียงราย 11 25 134<br />

เหนือ แพร่ 7 22 83<br />

เหนือ แม่ฮ่องสอน 5 15 54<br />

เหนือ กำแพงเพชร 3 3 6<br />

เหนือ ตาก 7 20 127<br />

เหนือ น่าน 6 17 68<br />

เหนือ พะเยา 1 1 1<br />

เหนือ พิษณุโลก 2 3 7<br />

เหนือ ลำปาง 5 15 37<br />

เหนือ ลำพูน 3 6 56<br />

เหนือ อุตรดิตถ์ 4 11 62<br />

ใต้ กระบี่ 1 2 3<br />

ใต้ ชุมพร 4 16 56<br />

ใต้ พังงา 5 16 52<br />

ใต้ ระนอง 5 14 85<br />

ใต้ สุราษฏร์ธานี 9 24 76<br />

กลาง กาญจนบุรี 7 31 192<br />

กลาง ประจวบคีรีขันธ์ 4 18 79<br />

กลาง สุพรรณบุรี 1 1 7<br />

ตะวันออกเฉียงเหนือ นครพนม 3 8 28<br />

ตะวันออกเฉียงเหนือ หนองคาย 2 5 19<br />

รวม 22 106 308 1,406<br />

(กรมทรัพยากรธรณี, 2553)<br />

_11-0290(001-062).indd 37<br />

3/28/11 9:45:39 PM


38<br />

ในจังหวัดเชียงรายได้รับความเสียหาย และที่มีความเสียหายมากคือที่เสาอาคารเรียนโรงเรียน<br />

เม็งรายมหาราชวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย สำหรับบริเวณบ้านเวียงหนองหล่ม (เชื่อว่า<br />

เป็นเมืองโยนกนคร) ที่ตั้งอยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่<br />

ระหว่างตอนปลายของรอยเลื่อน 2 แนวดังกล่าวที่วางตัวเหลื่อมกัน พบซากอิฐโบราณของฐานเจดีย์<br />

จำนวนมาก จมอยู่ในหนองน้ำขนาดใหญ่และโผล่ขึ้นมาให้เห็นในฤดูแล้ง ซึ่งลักษณะของหนองน้ำนี้<br />

เกิดจากการยุบตัวอันเนื่องจากการเลื่อนตัวสัมพันธ์กันของสองรอยเลื่อน เมื่อหาอายุของก้อนอิฐ<br />

โบราณเหล่านี้ได้อายุประมาณ 1,000 + 100 ปี ทำให้อนุมานได้ว่ามีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้เกิดขึ้น<br />

บริเวณนี้ไม่เกินหนึ่งพันปีล่วงมาแล้ว ในปี พ.ศ. 2553 กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติม<br />

พบว่า กลุ่มรอยเลื่อนแม่จันมีความยาว 150 กิโลเมตร แบ่งได้เป็น 18 รอยเลื่อนย่อย เคยเกิด<br />

แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเมื่อประมาณ 2,000 ปี ด้วยขนาด 6.4 ตามมาตราริกเตอร์ จากรอยเลื่อน<br />

ย่อยกิ่วสะไต<br />

2) กลุ่มรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน มีแนวการวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ เริ่มตั้งแต่อำเภอเมือง<br />

แม่ฮ่องสอน ผ่านอำเภอขุนยวม อำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอแม่สะเรียง ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ต่อ<br />

เนื่องลงมาถึงบริเวณอำเภอท่าสองยาง ของจังหวัดตาก มีความยาวประมาณ 200 กิโลเมตร ในพื้นที่<br />

จังหวัดแม่ฮ่องสอนรอยเลื่อนกลุ่มนี้เป็นเส้นเขตแบ่งระหว่างหินมหายุคมีโซโซอิกและหินมหายุคพาลี<br />

โอโซอิก รวมทั้งตัดผ่านตะกอนยุคใหม่ด้วย จากการศึกษาพบว่ารอยเลื่อนแม่ฮ่องสอนมีการเลื่อนตัว<br />

ในแนวดิ่งแบบรอยเลื่อนปรกติ จากหลักฐานธรณีสัณฐานที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ซึ่งพบว่ามีลักษณะ<br />

ของตะพักรอยเลื่อน (fault bench) สองข้างลำน้ำในแอ่งแม่สะเรียงไม่น้อยกว่า 4 ระดับ อย่างชัดเจน<br />

ในบริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ยังพบธรณีสัณฐานของผา<br />

สามเหลี่ยมที่แสดงลักษณะหลายระดับคล้ายขั ้นบันได ทั ้งนี้เป็นผลจากการเลื่อนตัวหลายครั ้งของรอย<br />

เลื่อนในหลายช่วงเวลา อีกลักษณะหนึ่งที่ปรากฏเด่นชัดมากคือลักษณะทางน้ำแบบหุบเขารูปแก้วไวน์<br />

(wine glass valley) ในเขตอำเภอแม่สะเรียง ซึ่งแสดงถึงว่าพื้นที่นี้มีการยกตัวในปัจจุบัน ส่งผลให้ทาง<br />

น้ำปัจจุบันกัดเซาะลงด้านลึกเป็นหลักมากกว่าการกัดเซาะด้านข้าง ในพื้นที่ของรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน<br />

มีแผ่นดินไหวขนาดเล็กและขนาดปานกลาง เกิดขึ้นบ่อยหลายครั้ง ที่สำคัญเป็นเหตุการณ์เมื่อวันที่ 1<br />

มีนาคม 2532 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.1 ตามมาตราริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางในตอนเหนือของรอย<br />

เลื่อนในพื้นที่ของสหภาพพม่า<br />

<br />

ส่งผลกระทบในหลายจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย <br />

3) กลุ่มรอยเลื่อนแม่ทา เป็นกลุ่มรอยเลื่อนที่มีหลายส่วนรอยเลื่อนย่อยยาวต่อเนื่องกัน เมื่อ<br />

ดูภาพรวมแล้วคล้ายอักษรตัวเอส (S-shape) ซึ่งแต่ละส่วนย่อย รอยเลื่อนมีลักษณะการเลื่อนตัวที่<br />

แตกต่างกัน เริ่มจากวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ในบริเวณอำเภอพร้าว ผ่านลงมาในเขตอำเภอดอยสะเก็ด<br />

ของจังหวัดเชียงใหม่ มีการเลื่อนตัวแบบรอยเลื่อนปรกติ แล้วบิดไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ในอำเภอ<br />

สันกำแพง มีการเลื่อนตัวแนวระดับเหลื่อมขวา แล้ววกมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ขนานตามลำน้ำ<br />

แม่ทา ในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน มีการเลื่อนตัวแนวระดับเหลื่อมซ้าย มีความยาวทั ้งหมดประมาณ<br />

110 กิโลเมตร รอยเลื่อนนี้ตัดผ่านชั้นหินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนกลางถึงตอนปลาย และหินแกรนิต<br />

_11-0290(001-062).indd 38<br />

3/28/11 9:45:39 PM


39<br />

ยุคไทรแอสซิก รอยเลื่อนนี้ปรากฏมีพุน้ำร้อนหลายแห่ง เช่น พุน้ำร้อนสันกำแพง เป็นต้น โดยมีความ<br />

สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กบ่อยครั้ง ส่วนเหนือของรอยเลื่อนในเขตอำเภอพร้าว ยังคงมี<br />

แผ่นดินไหวขนาดเล็ก-ขนาดปานกลางเกิดขึ้นเป็นประจำในปัจุจบัน ลักษณะธรณีสัณฐานของ<br />

รอยเลื่อนกลุ่มนี้ คือ ผาสามเหลี่ยม ตะพักรอยเลื่อน และธารเหลื่อม ปรากฏอย่างชัดเจนตลอดแนว <br />

เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งสำคัญเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2549 มีศูนย์เกิดที่อำเภอแม่ริม <br />

จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยขนาดแผ่นดินไหว 5.1 ตามมาตราริกเตอร์ แรงสั่นสะเทือนทำให้บ้านเรือนมีผนัง<br />

ร้าวในหลายอำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ หากย้อนหลังไปในอดีตพบว่าเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2538<br />

เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.2 ตามมาตราริกเตอร์ มีศูนย์เกิดที่อำเภอพร้าว ประชาชนรู้สึกได้ทั่วจังหวัด<br />

เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา และแม่ฮ่องสอน ในปี พ.ศ. 2552 กรมทรัพยากรธรณี <br />

ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า กลุ่มรอยเลื่อนแม่ทามีความยาวประมาณ 180 กิโลเมตร และแบ่งรอย<br />

เลื่อนย่อยออกเป็น 18 รอยเลื่อนย่อย เคยเกิดแผ่นดินไหวครั ้งล่าสุดเมื่อประมาณ 3,000 ปี ด้วยขนาด<br />

6.8 ตามมาตราริกเตอร์ จากรอยเลื่อนย่อยห้วยแม่สะป๊วด<br />

4) กลุ่มรอยเลื่อนเถิน มีความยาวประมาณ 200 กิโลเมตร ประกอบด้วยส่วนรอยเลื่อนที่มี<br />

ทิศทางการวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ตัดผ่านเข้าไปในบริเวณเชิงเขาของ<br />

รอยต่อระหว่างแอ่งแพร่ และแอ่งลำปาง คือรอยเลื่อนพาดผ่านตั้งแต่อำเภอเมืองแพร่ ลงมาอำเภอ<br />

สูงเม่น อำเภอลอง และอำเภอวังชิ้น ของจังหวัดแพร่ ยาวต่อเนื่องลงมาในพื้นที่อำเภอแม่ทะ อำเภอ<br />

สบปราบ และอำเภอเถิน ของจังหวัดลำปาง กลุ่มรอยเลื่อนนี้แสดงลักษณะโครงสร้าง และธรณี<br />

สัณฐานที่แสดงถึงการเลื่อนตัวครั้งใหม่ๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดผาชันหลายแห่ง การเลื่อนตัวครั้ง<br />

ใหม่จะอยู่บริเวณขอบแอ่งตะกอนเท่านั้น จากภาพดาวเทียมเห็นการเลื่อนตัวในแนวดิ่งเด่นชัด และ<br />

แนวระดับอย่างเช่นลักษณะของธารเหลื่อม ในพื้นที่บ้านมาย อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ทางน้ำที่<br />

ตัดผ่านรอยเลื่อนบริเวณนี้ถูกตัดทำให้เลื่อนตามแนวระดับเหลื่อมซ้าย โดยมีระยะของการเลื่อนตัว<br />

ประมาณ 500 เมตร และในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาพบว่าเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ของกลุ่มรอยเลื่อนเถิน<br />

ด้วยขนาด 3.0 – 5.0 ตามมาตราริกเตอร์ จำนวนมากกว่า 20 ครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่เกิดแผ่นดิน<br />

ไหวค่อนข้างบ่อยมาก และในปี พ.ศ. 2552 กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า กลุ่ม<br />

รอยเลื่อนเถินมีความยาวประมาณ 190 กิโลเมตร และแบ่งรอยเลื่อนย่อยออกเป็น 17 รอยเลื่อนย่อย<br />

เคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเมื่อประมาณ 2,000 ปี ด้วยขนาด 6.9 ตามมาตราริกเตอร์ จาก<br />

รอยเลื่อนย่อยวังขอน ส่วนรอยเลื่อนย่อยแม่น้ำยม เคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเมื่อประมาณ <br />

6,000-5,000 ปี ด้วยขนาด 6.7 ตามมาตราริกเตอร์ (กรมชลประทาน, 2549)<br />

5) กลุ่มรอยเลื่อนปัว เป็นรอยเลื่อนที่มีการวางตัวเป็นแนวยาวรายรอบด้านทิศตะวันออก<br />

ขอบแอ่งปัว ในจังหวัดน่าน เริ่มตั้งแต่บริเวณตะเข็บชายแดนของประเทศไทย-ลาว เรื่อยลงมาในพื้นที่<br />

ของอำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว และต่อเนื่องถึงอำเภอสันติสุข ของจังหวัดน่าน <br />

มีความยาวประมาณ 70 กิโลเมตร มีทิศทางการวางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีมุมเอียงเทไปทาง<br />

ทิศตะวันตก จัดเป็นรอยเลื่อนปรกติ รอยเลื่อนนี ้ประกอบด้วย 3 ส่วนรอยเลื่อนคือ ส่วนรอยเลื่อนทุ่งช้าง<br />

_11-0290(001-062).indd 39<br />

3/28/11 9:45:40 PM


40<br />

ส่วนรอยเลื่อนปัว และส่วนรอยเลื่อนสันติสุข โดยตอนเหนือบริเวณส่วนรอยเลื่อนทุ่งช้างเป็นแนวค่อน<br />

ข้างตรง ตอนกลางบริเวณส่วนรอยเลื่อนปัวจะโค้งเว้าไปทิศตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนบริเวณส่วนรอย<br />

เลื่อนสันติสุขจะมีลักษณะเป็นแนวตรง จากภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณทิศใต้ของอำเภอทุ่งช้าง พบเนิน<br />

ตะกอนน้ำพารูปพัดถูกตัดโดยรอยเลื่อนอย่างชัดเจนมาก ลักษณะธรณีสัณฐานที่ปรากฏให้เห็นเป็น <br />

ผารอยเลื่อนที่หันหน้าไปทิศตะวันตกที่ค่อยๆ ลดความสูงและความคมชัดลดลงจากพื้นที่ตอนเหนือ<br />

ไปยังตอนใต้ พร้อมทั้งมีลักษณะผาสามเหลี่ยม และหุบเขารูปแก้วไวน์ ในบางบริเวณแสดงการเลื่อน<br />

ตัวของทางน้ำแบบธารเหลื่อมซ้าย ส่วนรอยเลื่อนทุ่งช้างแสดงผารอยเลื่อน 2 ระดับ โดยมีความสูง<br />

ตั้งแต่ 6 - 10 เมตร สำหรับส่วนรอยเลื่อนสันติสุข พบว่าชั้นดินตะกอนยุคใหม่ซึ่งเกิดในชุดลำดับชั้น<br />

กรวดตะกอนน้ำพา และชั้นดินเหนียว ถูกรอยเลื่อนตัดผ่าน จากข้อมูลแผ่นดินไหวพบว่าเมื่อวันที่ 13<br />

พฤษภาคม 2478 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ตามมาตราริกเตอร์ ในบริเวณตะเข็บชายแดนของ<br />

ประเทศไทย-ลาว ซึ่งเชื่อว่าเป็นอิทธิพลของการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนปัว กิตติ ขาววิเศษ (2550) ได้<br />

ทำการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า กลุ่มรอยเลื่อนแม่ทามีความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร และแบ่งรอย<br />

เลื่อนย่อยออกเป็น 14 รอยเลื่อนย่อย น่าจะเคยเกิดการเลื่อนตัวมาแล้วอย่างน้อย 4 ครั้งคือ ครั้งแรก<br />

เมื่อประมาณ 70,000 ปีมาแล้ว ครั้งที่ 2เมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว และครั้งที่ 3 เมื่อประมาณ<br />

2,000 ปีมาแล้ว และครั้งที่ 4 ประมาณเมื่อ 180 ปีมาแล้ว การประเมินของการเกิดคาบอุบัติซ้ำของ<br />

เหตุการณ์แผ่นดินไหว พบว่าคาบอุบัติซ้ำของแผ่นดินไหวขนาด 6-7 ริกเตอร์ มีค่า 1,500 -2,000 ปี<br />

6) กลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ เป็นรอยเลื่อนที่มีแนวการวางตัวในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-<br />

ตะวันตกเฉียงใต้ และมีมุมเอียงเทไปทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 140 กิโลเมตร <br />

รอยเลื่อนนี้เริ่มปรากฏตั้งแต่อำเภอฟากท่า ยาวลงมาในพื้นที่อำเภอน้ำปาด อำเภอทองแสนขัน <br />

ของจังหวัดอุตรดิตถ์ และต่อเนื่องถึงอำเภอพิชัย ของจังหวัดพิษณุโลก มีลักษณะของกลุ่มรอยเลื่อน<br />

เป็นแนวยาวและแคบๆ โดยมีความกว้างของเขตรอยเลื่อนไม่เกิน 4 กิโลเมตร ซึ่งพาดผ่านเข้าไปใน<br />

แอ่งตะกอนที่ถูกปิดทับด้วยชั้นหนาของตะกอนน้ำพายุคปัจจุบัน รอยเลื่อนอุตรดิตถ์มีอิทธิพลต่อ<br />

สภาพภูมิประเทศของพื ้นที่นี ้ให้มีความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ได้แก่ พื ้นที่อำเภอฟากท่า มีลักษณะ<br />

เป็นผารอยเลื่อนที่เป็นแนวตรงหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พร้อมทั้งมีผาสามเหลี่ยม<br />

บริเวณบ้านฟากนา ปรากฏฐานของผารอยเลื่อนที่ชันมาก และบริเวณปากห้วยไพร เนินตะกอนน้ำพา<br />

รูปพัดถูกรอยเลื่อนตัดเลื่อนเหลื่อมกันแบบเหลื่อมซ้าย ส่วนพื้นที่บ้านปางหมิ่น อำเภอทองแสนขัน<br />

พบว่าส่วนรอยเลื่อนที่ยาวต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1.5 กิโลเมตร ปรากฏบริเวณรอยต่อของเชิงเขาที่แบ่งชั ้น<br />

ตะพักกับที่ราบลุ่มออกจากกันชัดเจน และมีความแตกต่างระดับของพื้นที่ 2 เมตร นอกจากนี้ยังพบ<br />

ว่ามีธรณีสัณฐานของธารเหลื่อมซ้ายของลำห้วยสาขาของห้วยน้ำลอกเป็นระยะทาง 2 เมตร รอย<br />

เลื่อนนี้มีลักษณะการเลื่อนตัวหลักแบบตามแนวระดับเหลื่อมซ้ายผสมผสานด้วยเลื่อนลงในแนวดิ่ง<br />

แบบปรกติ<br />

กรมชลประทาน (2552) ได้ดำเนินการศึกษาในโครงการศึกษา Dam Break ของเขื่อนแควน้อย<br />

จังหวัดพิษณุโลก โดยได้ทำการศึกษาธรณีวิทยาและแผ่นดินไหว เพื่อสำรวจหารอยเลื่อนที่มีพลังที่<br />

_11-0290(001-062).indd 40<br />

3/28/11 9:45:40 PM


41<br />

อยู่ในพื้นที่โครงการและใกล้เคียง เพื่อใช้ในการคำนวณหาค่าอัตราเร่งสูงสุด (Peak Ground<br />

Acceleration, PGA) บริเวณที่ตั้งเขื่อนแควน้อย ซึ่งค่า PGA นี้จะนำไปใช้ในการตรวจสอบความมั่นคง<br />

ของเขื่อนในกรณีเกิดแผ่นดินไหว ผลการศึกษาพบว่า รอยเลื่อนมีพลังคันโช้งบริเวณใกล้แกนเขื่อน<br />

เป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง เคยมีการเคลื่อนตัวอยู่ระหว่าง 5,900 ปี ถึง 15,600 ปี อัตราการเลื่อนตัว<br />

(slip rate) อยู่ระหว่าง 0.03-0.08 ปี โดยเกิดการเลื่อนตัวมาแล้วอย่างน้อย 4 ครั้ง คาบอุบัติซ้ำที่<br />

น้อยที่สุดประมาณ 3,000 ปี<br />

7) กลุ่มรอยเลื่อนพะเยา เป็นรอยเลื่อนที่มีสองส่วนรอยเลื่อน คือส่วนเหนือและส่วนใต้<br />

ที่มีแนวการวางตัวแตกต่างกัน และแยกออกจากกันชัดเจน โดยรอยเลื่อนส่วนใต้มีการวางตัวในแนว<br />

เกือบทิศเหนือ-ใต้ ค่อนมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ที่ตัดผ่านด้านทิศตะวันตกของขอบแอ่งพะเยา<br />

บริเวณเขตรอยต่อระหว่างอำเภอพาน อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง<br />

ส่วนรอยเลื่อนนี้มีความยาวประมาณ 35 กิโลเมตร แสดงลักษณะของผารอยเลื่อนหลายแนวและต่อ<br />

เนื่องเป็นแนวตรง หันหน้าไปทิศตะวันออก บริเวณพื้นที่อำเภอเด่นชัยมีหน้าตัดสูง 200 เมตร ทางน้ำ<br />

สาขาต่างๆ ที่ตัดผ่านผารอยเลื่อนนี้ แสดงรอยกัดเซาะลงแนวดิ่งลึกมากจนถึงชั้นหิน และฐาน<br />

ผารอยเลื่อนก็แสดงความชันมากเห็นได้ชัดเจน ซึ่งแสดงว่ายังคงมีพลังไม่หยุดนิ่ง ซึ่งสอดคล้องกับ<br />

กรณีที่เกิดแผ่นดินไหวจนเกิดความเสียหายมากที่สุดที่ประเทศไทยเคยบันทึกประสบกับภัยพิบัติ<br />

แผ่นดินไหว คือเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2537 มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ในเขตอำเภอ<br />

เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย มีความรุนแรงขนาด 5.2 ตามมาตราริกเตอร์ ทำให้เกิดความเสียหาย<br />

อย่างมากกับโรงพยาบาลอำเภอพาน จนต้องทุบทิ้งสร้างใหม่ รวมทั้งวัด และโรงเรียนต่างๆ ใน<br />

อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอีกหลายครั้งตามมาในปี พ.ศ. 2538 และ <br />

พ.ศ. 2539 ในพื ้นที่จังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงราย สำหรับรอยเลื่อนส่วนเหนือ มีการวางตัวในแนว<br />

ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ที่พาดผ่านอำเภอแม่สรวย ถึงอำเภอแม่ลาว ของจังหวัด<br />

เชียงราย ในบริเวณนี้เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กถึงขนาดปานกลาง บ่อยครั้งมากในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา<br />

ในปี พ.ศ. 2553 กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า กลุ่มรอยเลื่อนพะเยามีความยาว<br />

ประมาณ 90 กิโลเมตร และแบ่งรอยเลื่อนย่อยออกเป็น 17 รอยเลื่อนย่อย เคยเกิดแผ่นดินไหวครั้ง<br />

ล่าสุดเมื่อประมาณ 4,000 ปี ด้วยขนาด 6.7 ตามมาตราริกเตอร์ จากรอยเลื่อนย่อยวังทอง<br />

8) กลุ่มรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ เป็นรอยเลื่อนที่อยู่ด้านทิศตะวันตกของประเทศไทยที่มี<br />

ความสำคัญมากต่อประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นรอยเลื่อนที่อยู่ใกล้กับรอย<br />

เลื่อนพานหลวงในเขตสหภาพพม่า ปรากฏขึ้นบริเวณตะเข็บชายแดนไทย-สหภาพพม่า บริเวณ<br />

ด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรี พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอเมือง และ<br />

สิ้นสุดบริเวณอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี โดยขนานกับลำแม่น้ำแควน้อย มีความยาว<br />

ประมาณ 170 กิโลเมตร ผ่านชั้นหินมหายุคพาลีโอโซอิกและมีโซโซอิก หลักฐานทางธรณีสัณฐาน <br />

ซึ่งแสดงการเกิดการแปรสัณฐานใหม่ เช่น ธารเหลื่อมผารอยเลื่อน ผาสามเหลี่ยม ธารหัวขาด สันกั้น<br />

และหนองหล่ม ที่บ่งชี้ว่า รอยเลื่อนนี้เลื่อนตัวตามแนวระดับเหลื่อมขวาเป็นหลัก นอกจากนี้ยังพบการ<br />

_11-0290(001-062).indd 41<br />

3/28/11 9:45:40 PM


42<br />

กระจายตัวของตำแหน่งพุน้ำร้อนตามแนวรอยเลื่อนหลายแห่ง ภูมิลักษณ์เหล่านี้แสดงถึงการเลื่อนตัว<br />

ของรอยเลื่อนมีพลัง จากการศึกษาประวัติการเลื่อนตัวในโบราณกาลพบว่า พื ้นที่บ้านแก่งแคบ ตำบล<br />

ท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ เคยเกิดแผ่นดินไหวในอดีตมาแล้วด้วยขนาด 6.4 ตามมาตราริกเตอร์<br />

เมื่อประมาณ 1,000 ปีล่วงมาแล้ว และพื้นที่บ้านทิพุเย ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ เคยเกิด<br />

แผ่นดินไหวในอดีตมาแล้วด้วยขนาด 6.4 ตามมาตราริกเตอร์ เมื่อประมาณ 2,000 ปีล่วงมาแล้ว <br />

ซึ่งอนุมานได้ว่ารอยเลื่อนเจดีย์สามองค์มีคาบอุบัติซ้ำของการเลื่อนตัว (Recurrence interval) ที่ก่อให้<br />

เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในรอบ 1,000 ปี (สุวิทย์ โคสุวรรณ และคณะ, 2550)<br />

9) กลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ เป็นรอยเลื่อนที่พาดผ่านด้านทิศตะวันตกของประเทศไทย<br />

วางตัวในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ค่อนข้างขนานไปกับรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์<br />

โดยที่พาดผ่านพื ้นที่ของประเทศไทยเริ่มที่พื ้นที่ของอำเภออุ ้มผาง จังหวัดตาก พาดผ่านพื ้นที่ของอุทยาน<br />

แห่งชาติห้วยขาแข้ง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ยาวต่อเนื่องลงมาในเขต อำเภอหนองปรือ<br />

อำเภอบ่อพลอย และอำเภอศรีสวัสดิ์ ของจังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอด่านช้าง ของจังหวัดสุพรรณบุรี<br />

และพาดผ่านขนานมากับลำแม่น้ำแควใหญ่ ถึงอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี มีความยาวประมาณ<br />

200 กิโลเมตร รอยเลื่อนนี้ตัดผ่านชั้นหินตั้งแต่มหายุคพาลีโอโซอิกถึงมหายุคมีโซโซอิก ลักษณะธรณี<br />

สัณฐานที่แสดงถึงการแปรสัณฐานใหม่ เช่น ธารเหลื่อม ผาสามเหลี่ยม ธารหัวขาด และหุบเขาเส้น<br />

ตรงจากการศึกษาประวัติการเลื่อนตัวในโบราณกาลพบว่าพื้นที่บ้านทุ่งมะกอก ตำบลองค์พระ<br />

อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี พบชั้นตะกอนแสดงลักษณะการเลื่อนตัวขาดออกจากกันปรากฏ<br />

ในหลุมเปิด ซึ่งประมาณได้ว่ารอยเลื่อนศรีสวัสดิ์นี้เคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวในอดีตมาแล้วด้วย<br />

ขนาด 7.0 ตามมาตราริกเตอร์ เมื่อประมาณ 7,000 ปีล่วงมาแล้ว (สุวิทย์ โคสุวรรณ และคณะ, 2550)<br />

นอกจากนี้เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 ได้เกิดแผ่นดินไหวมีศูนย์เกิดอยู่บริเวณขอบอ่างเก็บน้ำเขื่อน<br />

ศรีนครินทร์ ซึ่งปรากฏตามแนวรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ด้วยขนาด 5.9 ตามมาตราริกเตอร์ และมี<br />

แผ่นดินไหวตาม (Aftershock) เกิดขึ้นอีกมากกว่าร้อยครั้ง <br />

10) กลุ่มรอยเลื่อนเมย รอยเลื่อนนี้มีความสัมพันธ์กับรอยเลื่อนพานหลวงในเขตสหภาพพม่า<br />

โดยเริ่มบริเวณลำน้ำเมย ที่บ้านท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ในแนวทิศตะวันตกเฉียง<br />

เหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ พาดผ่านอำเภอเมือง จังหวัดตาก และสิ้นสุดในพื้นที่อำเภอวังเจ้า จังหวัด<br />

กำแพงเพชร มีความยาวประมาณ 230 กิโลเมตร โดยตัดผ่านหมวดหินมากมายตั้งแต่มหายุค<br />

พรีแคมเบรียนจนถึงยุคมีโซโซอิก มีประวัติการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนบริเวณบ้านท่าสองยาง โดยพบ<br />

ว่ามีธรณีสัณฐานที่สำคัญคือ ธารเหลื่อม สันกั้น หุบเขาเส้นตรง และผารอยเลื่อน ลำห้วยที่พบด้าน<br />

ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านท่าสองยาง ถูกตัดให้หักเหลื่อมจากกันเป็นระยะทาง 500 เมตร และ<br />

บ่งบอกว่าเป็นรอยเลื่อนตามแนวระดับเหลื่อมขวา มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่สำคัญ<br />

อีกครั้งหนึ่งในประเทศไทย คือเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2518 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.6 ตาม<br />

มาตราริกเตอร์ ประชาชนรู้สึกได้หลายหลายจังหวัดในภาคเหนือ รวมทั้งรู้สึกได้ถึงกรุงเทพมหานคร<br />

ในปี พ.ศ. 2550 กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า กลุ่มรอยเลื่อนเมย เคยเกิด<br />

_11-0290(001-062).indd 42<br />

3/28/11 9:45:41 PM


43<br />

แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเมื่อประมาณ 4,000 ปี ด้วยขนาด 6.7 ตามมาตราริกเตอร์ จากรอยเลื่อนย่อย<br />

เขาแม่สอง <br />

<br />

11) กลุ่มรอยเลื่อนระนอง เป็นรอยเลื่อนที่วางตัวตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตก<br />

เฉียงใต้ ประกอบด้วยรอยเลื่อนหลายส่วน เริ่มตั้งแต่ในทะเลอันดามันถึงบริเวณอำเภอเมือง จังหวัด<br />

ระนอง พาดผ่านพื้นที่อำเภอท่าแซะ ของจังหวัดชุมพร และต่อเนื่องไปในพื้นที่อำเภอบางสะพาน<br />

อำเภอทับสะแก อำเภอเมือง และอำเภอกุยบุรี ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และลงอ่าวไทย<br />

บริเวณทิศตะวันออกของอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความยาวเฉพาะส่วนที่<br />

ปรากฏบนแผ่นดินประมาณ 270 กิโลเมตร หินต่างๆ ที่ถูกรอยเลื่อนนี้ตัดผ่านคือ หินตะกอนของ<br />

หมวดหินแก่งกระจานในยุคคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน เป็นส่วนใหญ่ และรองลงมาเป็นหินแกรนิต<br />

ยุคครีเทเชียส ร่วมทั้งตะกอนยุคใหม่ มีลักษณะธรณีสัณฐานที่สำคัญคือ ธารเหลื่อม และผาสาม<br />

เหลื่อม ซึ่งบ่งชี้ว่ารอยเลื่อนระนองมีการเลื่อนตัวตามแนวระดับเหลื่อมซ้าย เหตุการณ์แผ่นดินไหว<br />

ที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับกลุ่มรอยเลื่อนนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2549 ซึ่งมีแผ่นดินไหวขนาด<br />

3.7 - 5.0 ตามมาตราริกเตอร์ จำนวน 5 ครั้ง และในวันที่ 8 ตุลาคม 2549 มีขนาด 4.5 - 5.5 ตาม<br />

มาตราริกเตอร์ จำนวน 2 ครั ้ง ทั ้งสองเหตุการณ์นี้มีศูนย์เกิดในอ่าวไทยด้านทิศตะวันออกของอำเภอ<br />

สามร้อยสามยอด ประชาชนรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือนของพื้นดิน ได้แก่ อำเภอหัวหิน อำเภอสามร้อย<br />

ยอด อำเภอกุยบุรี อำเภอปราณบุรี อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์<br />

และอำเภอชะอำ อำเภอท่ายาง ของจังหวัดเพชรบุรี ในปี พ.ศ. 2551 กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการ<br />

ศึกษาเพิ่มเติมพบว่า กลุ่มรอยเลื่อนระนอง มีการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนย่อยบางสะพาน เมื่อ<br />

ประมาณ 2,000–2,300 ปีล่วงมาแล้ว ด้วยขนาด 7.0 ตามมาตราริกเตอร์ มีอัตราการเลื่อนตัว<br />

ประมาณ 0.27 มิลลิเมตร/ปี <br />

<br />

12) กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย เป็นกลุ่มรอยเลื่อนตามแนวระดับที่วางตัวขนานกับกลุ่มรอย<br />

เลื่อนระนองแบบเหลื่อมซ้ายเช่นเดียวกัน ปรากฏในทะเลอันดามัน บริเวณทิศตะวันออกของจังหวัด<br />

ภูเก็ต และเกาะยาว ในบริเวณอ่าวพังงา รอยเลื่อนยาวต่อเนื่องขึ้นบกบริเวณลำคลองมะรุ่ย อำเภอ<br />

ทับปุด จังหวัดพังงา พาดผ่านต่อเนื่องไปในพื้นที่อำเภอพนม อำเภอคีรีรัฐนิคม อำเภอวิภาวดี และ<br />

อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความยาวเฉพาะส่วนบนแผ่นดินประมาณ 150 กิโลเมตร ซึ่งใน<br />

เขตอำเภอไชยานี้ปรากฏว่ามีแหล่งพุน้ำร้อนหลายแห่งไหลขึ้นมาตามแนวรอยเลื่อนนี้ เป็นรอยเลื่อน<br />

ที่แยกหมวดหินแก่งกระจาน ยุคคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน ออกจากหินยุคเพอร์เมียน และมหา<br />

ยุคมีโซโซอิกเป็นแนวยาวอย่างชัดเจน หลักฐานทางธรณีสัณฐานที่พบ ได้แก่ ธารเหลื่อม ผารอยเลื่อน<br />

ผาสามเหลี่ยม และสันกั้น เป็นต้น จากการศึกษาประวัติการเลื่อนตัวในโบราณกาลพบว่า พื้นที่บ้าน<br />

บางลึก ตำบลพลูเถื่อน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบลักษณะธรณีสัณฐานที่สัมพันธ์กับแนว<br />

รอยเลื่อนคือ ผาสามเหลี่ยม 2 ผา วางตัวในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ – ตะวันตกเฉียงใต้ หันหน้า<br />

ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และลำน้ำสาขาของคลองแหกที่แสดงการหักเลื่อนเป็นระยะทาง <br />

_11-0290(001-062).indd 43<br />

3/28/11 9:45:41 PM


44<br />

95 เมตร ในแนวระดับแบบเหลื่อมซ้าย นอกจากนี้ในร่องสำรวจพบชั้นตะกอนกรวด ชั้นทราย และดิน<br />

เหนียวถูกรอยเลื่อนจำนวน 3 แนว ตัดเลื่อนออกจากกันในแนวดิ่งแบบย้อน ประเมินได้ว่ารอยเลื่อน<br />

ส่วนนี้เคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวในอดีตด้วยขนาด 7.0 ตามมาตราริกเตอร์ เมื่อประมาณ 2,000 ปีล่วง<br />

มาแล้ว (กรมทรัพยากรธรณี, 2551) นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2542 พบว่าได้การเกิดแผ่นดินไหวขนาด<br />

3.1 ตามมาตราริกเตอร์ มีศูนย์เกิดในทะเลด้านทิศตะวันออกของเกาะภูเก็ต<br />

13) กลุ่มรอยเลื่อนท่าแขก กลุ่มรอยเลื่อนนี้มีแนวการวางตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออก<br />

เฉียงใต้ พาดผ่านขอบที่ราบสูงโคราช ตั้งแต่อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม หรือตรงกันข้ามกับแขวง<br />

ท่าแขก ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผ่านขึ้นมาที่อำเภอท่าอุเทน อำเภอศรีสงคราม<br />

ของจังหวัดนครพนม เรื่อยมาถึงอำเภอบุ่งคล้า ของจังหวัดหนองคาย และต่อเนื่องเข้าไปในดินแดน<br />

ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอีกครั้งหนึ่ง รวมความยาวเฉพาะในส่วนของประเทศไทย<br />

ประมาณ 140 กิโลเมตร รอยเลื่อนนี้ตัดผ่านชั้นหินกลุ่มหินโคราชของมหายุคมีโซโซอิก ลักษณะการ<br />

วางตัวขนานกับกลุ่มรอยเลื่อนแม่น้ำแดง (Red River Fault Zone) ในประเทศเวียดนาม และมีการ<br />

เลื่อนตัวตามแนวระดับเหลื่อมขวา <br />

<br />

10. เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยและภูมิภาคใกล้เคียง<br />

ประเทศไทยมีประวัติการเกิดแผ่นดินไหวมาแต่ในอดีต พงศาวดารโยนกกล่าวว่า อาณาจักร<br />

โยนกซึ่งเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ได้เกิดแผ่นดินไหวหลายครั้ง <br />

ครั้งที่รุนแรงที่สุดทำให้อาณาจักรถึงกับล่มสลาย อาณาจักรโยนกนี้ตั้งอยู่บริเวณละติจูด 20.25<br />

องศาเหนือ และลองจิจูด 100.08 องศาตะวันออก อยู่ในเขตอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ใน<br />

ปัจจุบัน โดยพงศาวดารโยนกได้บันทึกการเกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์<br />

เดือน 7 แรม 7 ค่ำ พ.ศ. 1003 เวลากลางคืนว่า<br />

<br />

“...สุริยอาทิตย์ก็ตกไปแล้ว ก็ได้ยินเสียง เหมือนตั้งแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหวประดุจว่าเวียงโยนก<br />

นครหลวงที่นี้จักเกลื่อนจักพังไปนั้นแล แล้วก็หายไปครั้งหนึ่ง ครั้นถึงมัชฌิมยามก็ดังซ้ำเข้ามาเป็น<br />

คำรบสอง แล้วก็หายนั้นแล ถึงปัจฉิมยามก็ซ้ำดังมาอีกเป็นคำรบสาม หนที่สามนี้ดังยิ่งกว่าทุกครั้ง<br />

ทุกคราวที่ได้ยินมาแล้ว กาลนั้นเวียงโยนกนครหลวงที่นั้นก็ยุบจมลง เกิดเป็นหนองอันใหญ่ ยามนั้น<br />

คนทั้งหลายอันมีในเวียงที่นั้น มีพระมหากษัตริย์เป็นประธาน ก็วินาศฉิบหายตกไปในน้ำที่นั้นสิ้น...” <br />

ปัจจุบันบริเวณที่ตั้งอาณาจักรโยนกได้กลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ในอำเภอเชียงแสน จังหวัด<br />

เชียงราย ที่ชาวบ้านท้องถิ่นเรียกว่า “หนองลุ่ม”<br />

ในศิลาจารึกของอาณาจักรสุโขทัยได้บันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้ 2 ครั้ง พงศาวดารของ<br />

กรุงศรีอยุธยาได้มีการบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้ 7 ครั้ง และพงศาวดารของเชียงใหม่ได้บันทึก<br />

เหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้ 4 ครั้ง แผ่นดินไหวครั้งสำคัญที่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเมือง<br />

_11-0290(001-062).indd 44<br />

3/28/11 9:45:41 PM


45<br />

เชียงใหม่ พ.ศ. 2088 ในรัชสมัยพระนางมหาเทวีจิริประภา กษัตริย์องค์ที่ 16 แห่งราชวงศ์เม็งราย<br />

เกิดแผ่นดินไหวทำให้ส่วนยอดของเจดีย์ที่วัดเจดีย์หลวงหักโค่นลงมา ซึ่งเจดีย์องค์นั้นแต่เดิมสูงถึง <br />

86 เมตร หลังจากส่วนยอดได้หักโค่นลงมา จึงเหลือความสูงเพียง 60 เมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้<br />

ไม่ทราบว่ามีศูนย์กลางอยู่ที่ใด (รูปที่ 35)<br />

จากการศึกษาข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับตำแหน่งจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว และความรุนแรง<br />

ของแผ่นดินไหวที่ได้ข้อมูลจากเครื่องมือวัดแผ่นดินไหว รวบรวมโดยปริญญา นุตาลัย และคณะ <br />

(Nutalaya et al., 1985) ตั ้งแต่ พ.ศ. 1989 ถึง พ.ศ. 2526 กรมอุตุนิยมวิทยา (2547) ตั ้งแต่ พ.ศ. 1926<br />

ถึง พ.ศ. 2546 และกรมทรัพยากรธรณี ได้รวบรวมข้อมูลต่อตั้งแต่ พ.ศ. 2546 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.<br />

2553 ระหว่างเส้นรุ้งที่ 5-20 องศาตะวันออก และเส้นแวงที่ 95-106 องศาเหนือ สามารถตรวจวัด<br />

ได้ประมาณ 573 ครั้ง (รูปที่ 36) สามารถตรวจพบ แผ่นดินไหวขนาด 0-3.0 ตามมาตราริกเตอร์<br />

จำนวน 228 ครั้ง แผ่นดินไหวขนาด 3.01-5.0 ตามมาตราริกเตอร์ จำนวน 296 ครั้ง แผ่นดินไหว<br />

ขนาด 5.01-6.0 ตามมาตราริกเตอร์ จำนวน 43 ครั้ง แผ่นดินไหวขนาด 6.01-7.0 ริกเตอร์ จำนวน 5<br />

ครั้ง สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มากกว่า 7 ริกเตอร์ จำนวน 1 ครั้ง คือเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2473<br />

แผ่นดินไหวขนาด 7.3 ศูนย์กลางแผ่นดินไหวในพม่า แผ่นดินไหวครั้งนี้รู้สึกได้ที่กรุงเทพมหานครด้วย <br />

รูปที่ 35 เกิดแผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. 2088 ทำให้ส่วนยอดของเจดีย์ที่วัดเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่<br />

หักโค่นลงมา แต่เดิมองค์เจดีย์สูงถึง 86 เมตร หลังจากส่วนยอดได้หักโค่นลงมาจึงเหลือ<br />

ความสูงเพียง 60 เมตร (กรมทรัพยากรธรณี, 2549)<br />

_11-0290(001-062).indd 45<br />

3/28/11 9:45:42 PM


46<br />

รูปที่ 36 จุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง<br />

_11-0290(001-062).indd 46<br />

3/28/11 9:45:49 PM


11. บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย<br />

แผ่นดินไหวเป็นเหตุการณ์ธรรมชาติที่ไม่อาจพยากรณ์ได้ อันตรายสำคัญจากแผ่นดินไหวได้แก่<br />

อาคารพังทลายทับผู้ที่อยู่อาศัย และสัญจรไปมา มาตรการป้องกันอันตรายที่ใช้อยู่ทั่วไป ได้แก่ การ<br />

กำหนดพื้นที่ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว จัดแบ่งพื้นที่ออกตามระดับความเสี่ยง และกำหนดมาตรฐาน<br />

การออกแบบก่อสร้างอาคารในแต่ละพื้นที่ ให้มีความต้านทานแผ่นดินไหวที่เหมาะสม<br />

กรมทรัพยากรธรณีได้จัดทำแผนที่บริเวณความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2<br />

พ.ศ. 2548 ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลของแนวรอยเลื่อนมีพลัง ลักษณะธรณีวิทยา ความถี่และขนาด<br />

แผ่นดินไหวที่เกิดในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้วิศวกรใช้ในการออกแบบก่อสร้าง<br />

อาคารที่ต้องคำนึงถึงค่าความปลอดภัยให้เพียงพอ (รูปที่ 37)<br />

สำหรับกรุงเทพมหานครเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่นกว่า 8 ล้านคน <br />

มีอาคารสูงเป็นจำนวนมาก ในช่วงเวลา 2 ศตวรรษที่ผ่านมา มีการบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่<br />

สามารถรู้สึกได้มากกว่า 20 ครั้ง ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจทำให้ตระหนกตกใจ แต่ก็ยังไม่เคยสร้างความ<br />

เสียหาย เมื่อพิจารณาด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในเขตที่มีความเสี่ยงต่อภัย<br />

แผ่นดินไหวระดับต่ำ สำหรับรอยเลื่อนมีพลังที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างออกไป 120 - 300 กิโลเมตร ซึ่งเป็น<br />

รอยเลื่อนที่มีรอบของการกำเนิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ประมาณ 1,000 ปี ส่วนรอยเลื่อนที่มีการ<br />

เคลื่อนไหวในรอบประมาณ 100 ปี อยู่ห่างออกไป 400 – 1,000 กิโลเมตร <br />

<br />

ในปัจจุบันได้มีงานวิจัยในประเทศไทยที่นำข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหวที่มีอยู่ทั้งในประเทศไทย<br />

และประเทศใกล้เคียง มาประมวลและวิเคราะห์ สร้างเป็นแผนที่ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของ<br />

ประเทศไทย โดยจัดพื้นที่ตามระดับอัตราเร่งสูงสุดของแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้น โดยหลักเกณฑ์ที่ใช้<br />

จะใกล้เคียงกับกฎหมายควบคุมอาคาร (Uniform Building Code หรือ UBC) ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา<br />

การจัดพื้นที่ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 ระดับจากระดับ 0 ถึงระดับ 4 โดยระดับ 0 หมายถึง พื้นที่<br />

ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว และระดับ 4 เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด กล่าวคือมีแผ่นดินไหวขนาด<br />

ใหญ่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง (รูปที่ 38)<br />

ในการออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหว โดยทั่วไปจะยอมให้อาคารมีการโยกไหวจนตัวอาคาร<br />

แตกร้าวเสียหายได้ แต่จะต้องไม่พังทลายลงมา การออกแบบโครงสร้างอาคารให้ต้านทานการสั่น<br />

สะเทือน จากแผ่นดินไหวเป็นเรื่องยาก เพราะจะต้องคำนึงถึงพฤติกรรมทางพลศาสตร์ในสภาวะที่มี<br />

การเปลี่ยนรูปร่างเกินพิกัดยืดหยุ่น (Elastic Limit) หลักการออกแบบตามมาตรฐานที่ใช้อยู่ทั่วไปจึง<br />

ปรับให้ง่ายขึ้น โดยกำหนดให้ออกแบบให้โครงสร้างสามารถรับแรงในแนวราบได้ในระดับที่กำหนด<br />

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ออกแบบต้องพิจารณารูปร่างสัดส่วน โครงสร้างให้มีความสมมาตร สามารถโยก<br />

ไหวได้โดยไม่บิดตัว นอกจากนี้ จะต้องคำนึง ถึงการจัดรายละเอียด เช่น การเสริมเหล็กให้โครงสร้าง<br />

สามารถดูดซับพลังงานได้ดี <br />

47<br />

_11-0290(001-062).indd 47<br />

3/28/11 9:45:49 PM


48<br />

แผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผนดินไหวของประเทศไทย<br />

(ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๘)<br />

รูปที่ 37 แสดงแผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผนดินไหวของประเทศไทย (กรมทรัพยากรธรณี, 2548)<br />

_11-0290(001-062).indd 48<br />

3/28/11 9:45:56 PM


49<br />

รูปที่ 38 แผนที่แสดงระดับความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวและโซนเสี่ยงภัยตามเกณฑ์ของ UBC ตัวเลข<br />

คืออัตราส่วนระหว่างอัตราเร่งสูงสุดในแนบราบของแผ่นดินไหวต่ออัตราเร่งของสนาม<br />

โน้มถ่วงโลก โดยที่โอกาสเกิดแผ่นดินไหวในรอบ 50 ปี มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว 10% <br />

(เป็นหนึ่ง วานิชชัย, 2537)<br />

_11-0290(001-062).indd 49<br />

3/28/11 9:45:56 PM


50<br />

การเกิดแผ่นดินไหว นอกจากจะทำให้อาคารโยกไหวแล้ว แผ่นดินไหวอาจทำให้พื้นดินมีสภาพ<br />

คล้ายของเหลวและสูญเสียกำลังรับน้ำหนักโดยสิ้นเชิง สภาพการณ์เช่นนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดิน<br />

ไหวในบริเวณที่มีสภาพดินเป็นชั้นทรายที่อิ่มตัวด้วยน้ำใต้ดิน การที่ดินมีสภาพคล้ายของเหลวเกิดจาก<br />

การที่พื้นดินได้รับแรงกระแทกจากแรงไหวสะเทือนของแผ่นดินไหว ภายใต้แรงกระทำดังกล่าว <br />

แรงดันน้ำระหว่างมวลดินจะสูงกว่าแรงดันระหว่างมวลดิน ซึ่งทำให้ดินสูญเสียกำลังเฉือน ในสภาพ<br />

เช่นนี้ อาจเกิดสภาวะทรายดูด หรือดินไหลในแนวราบเช่นเดียวกับของเหลวสิ่งก่อสร้างอาจจมหรือ<br />

ทรุดตัวลง <br />

<br />

จากการศึกษาถึงความเสียหายของโครงสร้างที่เกิดจากการเกิดแผ่นดินไหว พบว่า มีโครงสร้าง<br />

จำนวนมากเสียหายจากการที่พื้นดินกลายสภาพคล้ายของเหลวขณะเกิดแผ่นดินไหว ตัวอย่างเช่น <br />

แผ่นดินไหวที่ประเทศชิลีในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2503 แผ่นดินไหวที่ประเทศเม็กซิโกในวันที่ 26<br />

สิงหาคม พ.ศ. 2502 และแผ่นดินไหวที่มลรัฐอะแลสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. 2507 <br />

มาตรการสำคัญในการสร้างความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่ใน<br />

เขตพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว คือการกำหนดให้วิศวกรออกแบบอาคารต่างๆ ให้สามารถต้านทานแรง<br />

สั่นสะเทือนแผ่นดินไหวได้ การกำหนดดังกล่าวคือการออกกฎหมายบังคับใช้ในการออกแบบและ<br />

ก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงภัย จากความพยายามของหลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยงข้องทำให้มีกฎกระทรวง<br />

มหาดไทย ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522<br />

ออกมาบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2540 ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาพบว่าประเทศไทยได้รับผลกระทบและมี<br />

ความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวกว่าที่ได้ทำการศึกษามาในอดีต โดยเฉพาะเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่<br />

26 ธันวาคม 2547 ทำให้นักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ให้ความสำคัญกับกฎกระทรวงมหาดไทย<br />

ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) เป็นอย่างมาก จึงได้เสนอให้มีการแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวให้มีความ<br />

เหมาะสมในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น<br />

โดยการแก้ไขกฎกระทรวงในครั้งนี้ สืบเนื่องจากผลการศึกษาพบว่าพื้นที่กรุงเทพมหานครและ<br />

ปริมณฑลเป็นชั้นดินอ่อน ซึ่งส่งผลให้เกิดการขยายแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ทำให้อาคารใน<br />

บริเวณดังกล่าวมีความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวระยะไกล ประกอบกับพื้นที่ภาคใต้บางส่วนของประเทศ<br />

ไทยตั้งอยู่บนรอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ซึ่งมีการสั่นสะเทือนอยู่บ่อยครั้งทำให้อาคาร<br />

ในบริเวณดังกล่าวมีความเสี่ยงจากภัยแผ่นดินไหว ประกอบกับหลักเกณฑ์การรับน้ำหนัก ความ<br />

ต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของ<br />

แผ่นดินไหว ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติ<br />

ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ไม่ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าว และไม่<br />

สามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวได้ตามมาตรฐานสากล ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัย<br />

จึงมีการขยายพื้นที่การควบคุมอาคาร รวมทั้งปรับปรุงหลักเกณฑ์การรับน้ำหนัก ความต้านทาน<br />

ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว <br />

ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น<br />

_11-0290(001-062).indd 50<br />

3/28/11 9:45:56 PM


51<br />

กฎกระทรวงมหาดไทย (กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและ<br />

พื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550, ภาคผนวก)<br />

สามารถสรุปได้ดังนี้<br />

(1) การเพิ่มเติมพื้นที่ควบคุมและจัดแบ่งเขตพื้นที่ใหม่ คือ<br />

“บริเวณเฝ้าระวัง” หมายถึง พื้นที่หรือบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่<br />

จังหวัดกระบี่ จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง จังหวัดสงขลา และจังหวัด<br />

สุราษฎร์ธานี รวม 7 จังหวัด<br />

“บริเวณที่ 1” หมายถึง พื้นที่หรือบริเวณที่เป็นดินอ่อนมากที่อาจได้รับผลกระทบจาก<br />

แผ่นดินไหวระยะไกล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ<br />

และจังหวัดสมุทรสาคร รวม 5 จังหวัด <br />

“บริเวณที่ 2” หมายถึง พื้นที่หรือบริเวณที่อยู่ใกล้รอยเลื่อนที่อาจได้รับผลกระทบจาก<br />

แผ่นดินไหว ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดน่าน<br />

จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน รวม 10 จังหวัด<br />

(2) การจัดกลุ่มประเภทอาคารควบคุมให้มีความชัดเจนมากขึ้น <br />

- กำหนดประเภทอาคารควบคุมตามบริเวณ เนื่องจากผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่มี<br />

ต่ออาคารประเภทต่างๆ ในแต่ละเขตมีความแตกต่างกัน<br />

- สะพาน ทางยกระดับที่มีช่วงระหว่างศูนย์กลางตอม่อยาวตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป <br />

- เขื่อนเก็บกักน้ำ เขื่อนทดน้ำ หรือฝายทดน้ำ ที่ตัวเขื่อนหรือตัวฝายมีความสูงตั้งแต่<br />

10 เมตรขึ้นไป<br />

ทั้งนี้ กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้เล็งเห็นว่าหากมีมาตรฐานการออกแบบที่ถูกต้องจะเป็น<br />

ประโยชน์แก่วิศวกรผู้ออกแบบ จึงได้จัดทำมาตรฐานเพื่อเพิ่มเติมรายละเอียดการคำนวณออกแบบ<br />

ในกฎกระทรวงให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น<br />

ตัวอย่างคลื่นแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 (คัดลอกจาก http://www.dnr.state.oh.us/<br />

Portats/10/ohioseis/earthquakes/sumatra/tsunami.gif)<br />

_11-0290(001-062).indd 51<br />

3/28/11 9:45:57 PM


53<br />

6) อย่ากดน้ำล้างโถส้วมจนกว่าจะตรวจสอบว่า มีสิ่งตกค้างอยู่ในท่อระบายหรือไม่ <br />

7) สวมรองเท้าหุ้มส้น เพื่อป้องกันเศษแก้วและสิ่งปรักหักพังทิ่มแทง <br />

เตรียมรับมือแผ่นดินไหว<br />

13. แผ่นดินไหว ภัยที่ไม่อาจพยากรณ์<br />

ในสมัยโบราณ หลายประเทศในโลก มีตำนานที่ใช้อธิบายถึงปรากฏการณ์แผ่นดินไหว นิยาย<br />

ปรัมปราของชาวฮินดูบอกว่า มีช้างแปดเชือกหนุนผืนแผ่นดินอยู่ เมื่อมันสะบัดหัว ก็จะทำให้เกิด<br />

แผ่นดินไหวขึ้น ชาวมองโกเลียเชื่อว่ามีกบยักษ์นอนหลับหนุนโลก หากมันตื่นขึ้น และขยับตัวเมื่อไร <br />

ก็จะเกิดแผ่นดินไหวเมื่อนั้น ไทยเรามีปลาอานนท์ ส่วนญี่ปุ่นก็มีปลาดุกยักษ์นามาสุ ที่ถูกเทพเจ้า<br />

สั่งให้ทำหน้าที่หนุนผืนแผ่นดินไว้ ปัจจุบันเรามีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ที่สามารถอธิบาย<br />

ปรากฏการณ์นี้ได้ชัดเจน โดยไม่ต้องอาศัยเพียงจินตนาการเช่นคนยุคก่อน เรารู้สาเหตุของการเกิด<br />

แผ่นดินไหว รู้ถึงระดับแรงสั่นสะเทือนของมัน รวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ อีกมาก แต่ถึง<br />

กระนั้นเราก็ยังไม่อาจหาคำตอบที่สำคัญที่สุด เกี่ยวกับแผ่นดินไหว<br />

_11-0290(001-062).indd 53<br />

3/28/11 9:45:59 PM


54<br />

ญี่ปุ่นเองเป็นประเทศหนึ่งที่ถูกคุกคามทั้งจากแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และคลื่นสึนามิ เนื่อง<br />

จากทำเลที่ตั้งนอกจากจะเป็นเกาะแล้ว ยังตั้งอยู่บนสี่แยกอันตราย สี่แยกที่ว่านี้ก็คือรอยต่อของ<br />

เปลือกโลกสี่แผ่น อันได้แก่ แผ่นยูเรเชีย แผ่นฟิลิปปินส์ แผ่นอเมริกาเหนือ และแผ่นแปซิฟิก รอยต่อ<br />

ระหว่างแผ่นเป็นลักษณะมุดตัวซ้อนกัน โดยแผ่นมหาสมุทรที่มีความหนาแน่นมากกว่า มุดเข้าไปใต้<br />

แผ่นทวีป ทำให้พื้นที่ประเทศญี่ปุ่นมีพร้อมทั้งแนวภูเขาไฟที่มีพลัง และรอยเลื่อนมีพลังหลายแห่ง<br />

จากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก อันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผ่นดินไหว<br />

ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับแผ่นดินไหว และได้ลงทุนศึกษา<br />

ค้นคว้าวิจัย เรื่องแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง โดยหวังว่าความรู้ที่ได้จะช่วยทำนาย และเตือนภัยแผ่น<br />

ดินไหวล่วงหน้าได้ แต่จนถึงในปัจจุบันก็ยังไม่สำเร็จ ทั้งนี้เพราะถึงแม้การเกิดแผ่นดินไหวทุกครั้ง <br />

จะมีจุดศูนย์กลางของการเกิด ซึ่งเรียกว่า “จุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว” และมีรอบของการเกิดแผ่นดิน<br />

ไหวที่เรียกว่า “คาบอุบัติซ้ำ” ที่น่าจะทำให้สามารถพยากรณ์ การเกิดแผ่นดินไหวล่วงหน้าได้ <br />

แต่เนื่องจากรอยเลื่อนตัวหนึ่ง จะพบจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ตลอดแนว<br />

รอยเลื่อน ทั้งยังเกิดในเวลาที่ต่างกัน การพยากรณ์โดยยึดจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว และคาบอุบัติซ้ำ<br />

จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ โดยทั่วไปแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ซึ่งมีรอบการเกิดสั้นจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งทั่วโลก <br />

ขณะที่การเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งรอบการเกิดยาวนานกว่า (อาจนับเป็นร้อยหรือพันๆ ปี) <br />

จะเกิดขึ้นนานๆ ครั้ง ทว่าแต่ละครั้งก็จะก่อความเสียหายอย่างรุนแรง<br />

อย่างไรก็ตาม ความพยายามของมนุษย์ก็ไม่จบสิ้นลงง่ายๆ ปัจจุบันยังมีการศึกษาวิจัยใน<br />

แนวทางอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การวัดค่าความเครียดความเค้นของเปลือกโลก วัดก๊าซเรดอน วัดการ<br />

เปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กโลก รวมถึงการบันทึกประวัติการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนต่างๆ <br />

ตามความยาวทั้งหมด และแผ่นดินไหวที่เกิดต่อเนื่อง แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่ประสบความสำเร็จนัก<br />

ด้วยเหตุนี้การศึกษาแผ่นดินไหว จึงมุ่งไปสู่การวางแผนรับมือ เมื่อเกิดอุบัติภัยมากกว่าการ<br />

พยากรณ์ล่วงหน้า ที่ญี่ปุ่นมีการออกแบบอาคารสำนักงาน ที่ลดแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวลงได้<br />

ถึงร้อยละ 65 ตัวอาคารจะมีการถ่ายน้ำหนัก จากระบบไฮโดรริก โดยปรับตำแหน่ง และควบคุมการ<br />

ถ่ายน้ำหนักด้วยคอมพิวเตอร์ ในลักษณะที่คล้ายกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อของคน ที่ยืนโหนอยู่<br />

บนรถเมล์ ส่วนที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ก็มีการออกแบบสร้างอาคารโรงพยาบาล ที่ลด<br />

แรงสั่นสะเทือน มีการวางระบบท่อไฟฟ้า และท่อแก๊สที่ยืดหยุ่น เพื่อให้โรงพยาบาลยังคงเหลือรอด<br />

อยู่ เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว<br />

นอกจากนี้ยังมีการค้นคิดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่จะช่วยประเมินความเสียหายจากแผ่นดิน<br />

ไหวที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องคอย การรายงานผลสำรวจความเสียหาย<br />

ตามขั้นตอนอย่างเป็นทางการ และสามารถดำเนินการช่วยเหลือ ผู้ได้รับความเดือดร้อนได้อย่าง<br />

ทันท่วงที ยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า EPEDAT (Early Post Earthquake Damage <br />

Assessment Tool) โปรแกรมจะคำนวณความเสียหายตามขนาดแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น โดย<br />

จะประเมินและแสดงตำแหน่งอาคาร ที่อาจจะถล่มลงมา รวมทั้งจุดที่อาจจะมีผู้บาดเจ็บจาก<br />

อาคารถล่ม<br />

_11-0290(001-062).indd 54<br />

3/28/11 9:45:59 PM


55<br />

ช่วงเวลา 24 ชั่วโมงหลังเกิดแผ่นดินไหว เป็นชั่วโมงเร่งด่วนที่จะช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เพราะผู้<br />

เคราะห์ร้ายจะมีโอกาสรอดชีวิตสูง การกู้ภัยสากลของอังกฤษ ได้ทดลองนำอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี<br />

สูงมาใช้ในการกู้ภัย เช่น นำกล้องไฟเบอร์ออปติกขนาดเล็ก ที่ใช้ในทางการแพทย์หย่อนลงไป <br />

ตามซอกของอาคาร เพื่อส่องหาผู้รอดชีวิต หรือใช้เครื่องวัดเสียงอัลตราโซนิก ที่ช่วยให้ได้ยิน <br />

แม้กระทั่งเสียงที่เบาที่สุดอย่างเสียงเคาะเบาๆ ในระยะห่างไปหลายเมตร เสียงเหล่านี้สำคัญมาก<br />

เพราะในการช่วยเหลือ มักได้ยินเสียงก่อนจะมองเห็นตัว อุปกรณ์ดังกล่าวนี้ได้นำไปใช้กู้ภัยที่เมือง<br />

โกเบ ประเทศญี่ปุ่นมาแล้ว<br />

สำหรับประเทศไทยเอง ได้มีโหรราศาสตร์ ผู้รู้ต่างๆ พากันทำนายว่าจะเกิดแผ่นดินไหวขนาด<br />

ใหญ่ ช่วงปลายปี พ.ศ. 2553 ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิซัดเข้าฝั่งดังเช่นเหตุการณ์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม<br />

2547 ผลสุดท้ายแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวก็ไม่ได้เกิดขึ้น แต่กลับส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยว<br />

ของ 6 จังหวัดฝั่งทะเลอันดามันเป็นอย่างมาก เมื่อกลับมาศึกษาข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่<br />

ที่เคยเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะพบว่าพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่<br />

และก่อเกิดให้เกิดคลื่นสึนามิได้นั้นประกอบด้วยพื้นที่ 4 พื้นที่ คือ 1) พื้นที่เกาะนิโคบาร์ 2) พื้นที่<br />

เกาะสุมาตราตอนกลาง 3) พื้นที่เกาะสุมาตราตอนใต้ และ 4)พื้นที่ตอนใต้ของประเทศเวียดนาม <br />

รูปที่ 39 พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />

_11-0290(001-062).indd 55<br />

3/28/11 9:46:00 PM


56<br />

กรมทรัพยากรธรณี ได้ดำเนินการจัดทำแบบจำลองการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิด<br />

คลื่นสึนามิในพื้นที่ 1 และพื้นที่ 4 พบว่า บริเวณพื้นที่ 1 หากเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ริกเตอร์<br />

คลื่นสึนามิจะพัดเข้าฝั่งประเทศไทย พื้นที่แรกที่เกาะเมี่ยง จังหวัดพังงา ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 20 นาที<br />

ที่จังหวัดภูเก็ตใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง <br />

รูปที่ 40 แบบจำลองการเกิดสึนามิ กรณีเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ริกเตอร์ บริเวณพื้นที่ 1<br />

_11-0290(001-062).indd 56<br />

3/28/11 9:46:01 PM


58<br />

14. บทสรุป<br />

แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจาก<br />

การปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลก เพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้<br />

คงที่ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายเวลา สถานที่ และความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่<br />

จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการเกิดของแผ่นดินไหว<br />

ที่แท้จริง เพื่อเป็นแนวทางในการลดความเสียหายที่เกิดขึ้น <br />

สำหรับประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการสำรวจรอยเลื่อนมีพลังซึ่งเป็นบริเวณที่เกี่ยว<br />

ข้องกับแผ่นดินไหวพบว่า ประเทศไทยมีแนวรอยเลื่อนมีพลังจำนวน 13 รอยเลื่อนด้วยกัน ประกอบด้วย<br />

รอยเลื่อนเมย รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน รอยเลื่อนแม่จัน<br />

(และรอยเลื่อนแม่อิง) รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนเถิน(และรอยเลื่อนแม่น้ำยม) รอยเลื่อนพะเยา <br />

รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ รอยเลื่อนปัว รอยเลื่อนระนอง รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย และรอยเลื่อนท่าแขก โดย<br />

รอยเลื่อนมีพลังดังกล่าวพาดผ่านพื้นที่ 22 จังหวัดด้วยกัน กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการสำรวจ<br />

ธรณีวิทยาแผ่นดินไหวในเบื้องต้นแล้วบางส่วน พบว่าแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นในอดีตน้อยกว่า 7.0 <br />

จัดเป็นแผ่นดินไหวค่อนข้างใหญ่ (Strong) แต่อย่างไรก็ตาม กรมทรัพยากรธรณี ยังมีความจำเป็น<br />

ต้องทำการศึกษาให้ครบทุกส่วนของรอยเลื่อนและนำเสนอสู่ประชาชนเพื่อให้ทราบว่า บริเวณใดบ้าง<br />

ในพื้นที่ 22 จังหวัด ที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวรุนแรงมากน้อยอย่างไร เพื่อสร้างความ<br />

เชื่อมั่นและเตรียมความพร้อมในการบรรเทาภัยแผ่นดินไหวแก่ประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จะนำ<br />

ไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการออกแบบอาคาร การวางผังเมืองและสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ ให้<br />

สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวได้อย่างปลอดภัย ตามกฎกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดการรับ<br />

น้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่น<br />

สะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550 ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ของกรม<br />

โยธาธิการและผังเมือง นอกจากนี ้ ยังเป็นข้อมูลสำหรับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ<br />

และสิ่งแวดล้อม กรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน การไฟฟ้า<br />

ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการ<br />

ศึกษาต่างๆ บริษัทเอกชนและประชาชนผู้สนใจ ในการจัดทำแผนการบรรเทาภัยแผ่นดินไหว <br />

<br />

_11-0290(001-062).indd 58<br />

3/28/11 9:46:03 PM


15. เอกสารอ้างอิง<br />

กฎกระทรวงมหาดไทย (กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและ<br />

พื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550)<br />

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550<br />

กรมทรัพยากรธรณี, 2548, แผนที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย<br />

กรมทรัพยากรธรณี, 2549, แผ่นดินไหว 13 ธันวาคม 2549 ขนาด 5.1 ริกเตอร์, 20 หน้า<br />

กรมทรัพยากรธรณี, 2550, การศึกษาคาบอุบัติซ้ำในพื้นที่ที่แสดงร่องรอยการเคลื่อนตัวของรอย<br />

เลื่อนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร ตาก (รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอนและรอยเลื่อนเมย) <br />

รายงานฉบับสมบูรณ์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรธรณี <br />

กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, 228 หน้า<br />

กรมทรัพยากรธรณี, 2551, การศึกษาคาบอุบัติซ้ำในพื้นที่ที่แสดงร่องรอยการเคลื่อนตัวของรอย<br />

เลื่อนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา และภูเก็ต (รอยเลื่อน<br />

ระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย) รายงานฉบับสมบูรณ์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ<br />

สิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรธรณี กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, 248 หน้า<br />

กรมทรัพยากรธรณี, 2552, การศึกษาคาบอุบัติซ้ำในพื้นที่ที่แสดงร่องรอยการเคลื่อนตัวของ<br />

รอยเลื่อนในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแพร่ (รอยเลื่อนแม่ทา และรอยเลื่อนเถิน) <br />

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรธรณี กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, <br />

322 หน้า<br />

กรมทรัพยากรธรณี, 2553, การศึกษาคาบอุบัติซ้ำในพื้นที่ที่แสดงร่องรอยการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน<br />

มีพลังใน จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และพะเยา(กลุ่มรอยเลื่อนแม่จันและกลุ่มรอยเลื่อนพะเยา)<br />

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรธรณี กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, <br />

392 หน้า<br />

กรมชลประทาน, 2549, งานขุดและศึกษารอยเลื่อนแม่น้ำยม บริเวณเขื่อนแก่งเสือเต้น อำเภอสอง <br />

จังหวัดแพร่, รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์, กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, <br />

174 หน้า<br />

กรมชลประทาน, 2552, โครงการศึกษา Dam Break เขื่อนแควน้อย จังหวัดพิษณุโลก, รายงานสรุป<br />

สำหรับผู้บริหาร, กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์<br />

กรมอุตุนิยมวิทยา, 2547, การสร้างฐานข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ด้วยเครือข่ายสถานีวัด<br />

แผ่นดินไหว, รายงานฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)<br />

ปรีชา สายทองและ สุวิทย์ โคสุวรรณ, 2551, แผ่นดินไหวกับประเทศไทย, รายงานวิชาการ ฉบับ<br />

ที่ กธส. 4/2550, กรมทรัพยากรธรณี กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, 60 หน้า<br />

พัชรีภรณ์ หาญพงษ์, 2546, ลักษณะธรณีสัณฐานวิทยาของกลุ่มรอยเลื่อนระนอง, มหาวิทยาลัย<br />

ขอนแก่น, รายงานโครงการพิเศษ ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี<br />

59<br />

_11-0290(001-062).indd 59<br />

3/28/11 9:46:03 PM


60<br />

เป็นหนึ่ง วานิชชัย และ อาเด ลิซานโตโน (2537), การวิเคราะห์ความเสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวสำหรับ <br />

ประเทศไทย, วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2537, วิศวกรรมสถาน<br />

แห่งประเทศไทยฯ, หน้า 30-52<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั้งที่ 13/2551 (30 มีนาคม <br />

2551), ราชบัณฑิตยสถาน, เขื่อนอุบลรัตน์ ขอนแก่น.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั้งที่ 12/2551 (25 มีนาคม <br />

2551), ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั ้งที่ 11/2551 (18 มีนาคม 2551), <br />

ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั ้งที่ 10/2551 (11 มีนาคม 2551), <br />

ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั ้งที่ 9/2551 (11 มีนาคม 2551), <br />

ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั้งที่ 8/2551 (26 กุมภาพันธ์ <br />

2551), ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั้งที่ 7/2551 (19 กุมภาพันธ์<br />

2551), ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั้งที่ 6/2551 (12 กุมภาพันธ์<br />

2551), ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั้งที่ 5/2551 (5 กุมภาพันธ์<br />

2551), ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

ราชบัณฑิตยสถาน, 2544, พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร:<br />

ราชบัณฑิตยสถาน, 384 หน้า.<br />

สุวิทย์ โคสุวรรณ, ปรีชา สายทอง, วีระชาติ วิเวกวิน และเอกชัย แก้วมาตย์, 2550, แผ่นดินไหว<br />

โบราณของกลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี, รายงานวิชาการ ฉบับ<br />

ที่ กธส. 4/2550, กรมทรัพยากรธรณี กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, 80 หน้า<br />

Abbott, P. L. 2004. Natural Disasters. 4 th ed. New York: The McGraw-Hall, 460pp.<br />

Khaowiset, K., 2007, Neotectonic along Tha Pua Fault in Changwat Nan, Northtern Thailand: <br />

Evidence from Remote Sensing and Thermoluminescence Dating, Master’s Thesis. <br />

Department of Geology, Faculty of Science, Chulalongkorn University: 244pp.<br />

Nutalaya, P., Sodsri, S., and Arnold, E.P., 1985, Series on Seismology Volume II Thailand: <br />

Southeast Asia Association of Seismology and Earthquake Engineering, 403 p.<br />

_11-0290(001-062).indd 60<br />

3/28/11 9:46:03 PM


61<br />

Fenton, C. H. Charusiri, P. Hinthong, C. Lumjuan, A. and Mangkonkarn, B. 1997. Late <br />

Quaternary faulting in northern Thailand. In: Proceedings of the International Conference <br />

on Stratigraphy and Tectonic Evolution of Southeast Asia and the South Pacific, Bangkok, <br />

Department of Mineral Resources, August: 436-452.<br />

Tapponnier, P. Peltzer, G. Armijo, R. Le Dain, A. and Coobbold, P. 1982. Propagating Extrusion <br />

Tectonics in Asia: New insights from simple experiments with plasticine. Geology, <br />

v. 10: 611-616.<br />

http://www.ac.wwu.edu/~debari /406/lec1.html<br />

http://www.calstatela.edu/faculty/acolvil/quakes/epi_location.jpg<br />

http://www.clastatela.edu/geology/ehlab/tectonics/seafloor.htm<br />

http://www.calstatela.edu/faculty/acolvil/quakes/seisgram.jpg<br />

http://www.dept.kent.edu/geology/ehlab/tectonics/tectonics.htm<br />

http://www.dmr.go.th<br />

http://www.geology.usgs.org<br />

http://www.geo.mtu.edu/UPSeis/swave_web.jpg<br />

http://www.indiana.edu/~geol116/week8/wk8.htm<br />

http://www.lamit.ro/images/earthquake-l-r-waves-passage.jpg<br />

http://www.lspace.org/ftp/images/misc/seismograph.jpg<br />

http://www.physicalgeography.net<br />

http://www.pubs.usgs.gov/gip/dynamic/dynamic.html<br />

http://www.sci.tsu.ac.th/py371/images/stories/3-12.gif<br />

http://www.tapapa.govt.nz <br />

http://www.topex.ucsd.edu/es10/lectures/lecture06/plates.gif<br />

_11-0290(001-062).indd 61<br />

3/28/11 9:46:03 PM


62<br />

แผนที่แสดงตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-2553 ขนาดตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไป<br />

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ<br />

ถนนราชวิถี<br />

ซอยโยธี<br />

ถนนพญาไท สี่แยก พญาไท<br />

สี่แยก ตึกชัย ถนนพระราม 6 สี่แยกศรีอยุธยา<br />

โรงพยาบาล<br />

รามาธิบดี<br />

องค์การเภสัชกรรม<br />

โรงพยาบาลราชวิถี<br />

โรงพยาบาลเด็ก<br />

มหาวิทยาลัย<br />

มหิดล<br />

กระทรวง กรมทรัพยากรธรณี<br />

อุตสาหกรรม<br />

โรงพยาบาล<br />

สงฆ์<br />

ทธ.<br />

กระทรวงการ<br />

ต่างประเทศ<br />

ถนนศรีอยุธยา<br />

กรมทางหลวง<br />

สน.พญาไท<br />

โรงเรียน<br />

อำนวยศิลป์<br />

โทรศัพท์ 0 2621 9801 โทรสาร 0 2621 9795<br />

www.dmr.go.th<br />

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม<br />

_11-0290(001-062).indd 62<br />

3/28/11 9:46:07 PM


แผ่นดินไหว<br />

กับประเทศไทย


คำนำ<br />

แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่อง<br />

มาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาเพื่อปรับสมดุลของ<br />

เปลือกโลกให้คงที่ แผ่นดินไหวเป็นสิ่งที่เราทุกคนในยุคปัจจุบันนี้ ได้รับรู้ถึงข่าวสารอย่างรวดเร็ว<br />

ว่าเกิดแผ่นดินไหวที่ไหนบ้างของโลก แม้แต่ในประเทศไทยของเราเอง ทำให้ประชาชนทุกคนได้<br />

ตระหนักถึงความเป็นจริงว่าแผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ใกล้ตัว อย่างหนึ่ง ดังเหตุการณ์แผ่นดินไหว<br />

ขนาด 9.1 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่บริเวณนอกชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงเหนือของ<br />

เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย คนไทยได้รู้จักกับพิบัติภัยทางธรรมชาติอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ<br />

“สึนามิ” ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก ดังนั้น เราต้องเรียนรู้และเข้าถึงภัย<br />

ธรรมชาติ “แผ่นดินไหว” ว่ามีสาเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถ<br />

ทำนายเวลา สถานที่ และความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นจึงควรศึกษา<br />

เรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการเกิดของแผ่นดินไหวที่แท้จริง เพื่อเป็นแนวทางในการลดความ<br />

เสียหายที่เกิดขึ้น<br />

กรมทรัพยากรธรณี จึงได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ “แผ่นดินไหวกับประเทศไทย” ฉบับนี้<br />

ขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านแผ่นดินไหวและการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับ<br />

แผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างง่าย ให้แก่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา<br />

ภาคเอกชนตลอดจนประชาชนทั่วไป ในการเตรียมความพร้อม กรณีฉุกเฉิน ให้รับมือกับพิบัติภัย<br />

แผ่นดินไหวอันอาจเกิดขึ้นได้<br />

(นางพรทิพย์ ปั่นเจริญ)<br />

อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี<br />

กุมภาพันธ์ 2554<br />

_11-0290(00).indd 1<br />

4/1/11 4:33:06 AM


สารบัญ<br />

หน้า<br />

1. บทนำ .............................................................................................................................. 1<br />

2. สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว ......................................................................................... 2<br />

3. การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก ............................................................................................. 3<br />

4. คลื่นแผ่นดินไหว ............................................................................................................... 10<br />

5. การตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว ........................................................................................... 13<br />

6. การหาจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว .......................................................................................... 17<br />

7. ความร้ายแรงของแผ่นดินไหว ........................................................................................... 21<br />

8. แผ่นดินไหวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ................................................................. 26<br />

9. การศึกษาธรณีวิทยาแผ่นดินไหวในประเทศไทย ................................................................ 28<br />

10. เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยและภูมิภาคใกล้เคียง ................................................ 44<br />

11. บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย ...................................................................... 4 7<br />

12. การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับแผ่นดินไหว ............................................................... 5 2<br />

13. แผ่นดินไหว ภัยที่ไม่อาจพยากรณ์..................................................................................... 53<br />

14. บทสรุป ........................................................................................................................... 58<br />

15. เอกสารอ้างอิง ................................................................................................................. 59<br />

_11-0290(00).indd 2<br />

4/1/11 4:33:06 AM


คำนำ<br />

แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่อง<br />

มาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาเพื่อปรับสมดุลของ<br />

เปลือกโลกให้คงที่ แผ่นดินไหวเป็นสิ่งที่เราทุกคนในยุคปัจจุบันนี้ ได้รับรู้ถึงข่าวสารอย่างรวดเร็ว<br />

ว่าเกิดแผ่นดินไหวที่ไหนบ้างของโลก แม้แต่ในประเทศไทยของเราเอง ทำให้ประชาชนทุกคนได้<br />

ตระหนักถึงความเป็นจริงว่าแผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ใกล้ตัว อย่างหนึ่ง ดังเหตุการณ์แผ่นดินไหว<br />

ขนาด 9.1 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่บริเวณนอกชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงเหนือของ<br />

เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย คนไทยได้รู้จักกับพิบัติภัยทางธรรมชาติอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ<br />

“สึนามิ” ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก ดังนั้น เราต้องเรียนรู้และเข้าถึงภัย<br />

ธรรมชาติ “แผ่นดินไหว” ว่ามีสาเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถ<br />

ทำนายเวลา สถานที่ และความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นจึงควรศึกษา<br />

เรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการเกิดของแผ่นดินไหวที่แท้จริง เพื่อเป็นแนวทางในการลดความ<br />

เสียหายที่เกิดขึ้น<br />

กรมทรัพยากรธรณี จึงได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ “แผ่นดินไหวกับประเทศไทย” ฉบับนี้<br />

ขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านแผ่นดินไหวและการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับ<br />

แผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างง่าย ให้แก่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา<br />

ภาคเอกชนตลอดจนประชาชนทั่วไป ในการเตรียมความพร้อม กรณีฉุกเฉิน ให้รับมือกับพิบัติภัย<br />

แผ่นดินไหวอันอาจเกิดขึ้นได้<br />

(นางพรทิพย์ ปั่นเจริญ)<br />

อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี<br />

กุมภาพันธ์ 2554<br />

_11-0290(00).indd 1<br />

4/1/11 4:33:06 AM


สารบัญ<br />

หน้า<br />

1. บทนำ .............................................................................................................................. 1<br />

2. สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว ......................................................................................... 2<br />

3. การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก ............................................................................................. 3<br />

4. คลื่นแผ่นดินไหว ............................................................................................................... 10<br />

5. การตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว ........................................................................................... 13<br />

6. การหาจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว .......................................................................................... 17<br />

7. ความร้ายแรงของแผ่นดินไหว ........................................................................................... 21<br />

8. แผ่นดินไหวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ................................................................. 26<br />

9. การศึกษาธรณีวิทยาแผ่นดินไหวในประเทศไทย ................................................................ 28<br />

10. เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยและภูมิภาคใกล้เคียง ................................................ 44<br />

11. บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย ...................................................................... 4 7<br />

12. การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับแผ่นดินไหว ............................................................... 5 2<br />

13. แผ่นดินไหว ภัยที่ไม่อาจพยากรณ์..................................................................................... 53<br />

14. บทสรุป ........................................................................................................................... 58<br />

15. เอกสารอ้างอิง ................................................................................................................. 59<br />

_11-0290(00).indd 2<br />

4/1/11 4:33:06 AM


5<br />

การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก (Plate motion) เป็นลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี 2<br />

แผ่นที่อยู่ติดกัน สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 รูปแบบ ตามลักษณะการเคลื่อนที่สัมพันธ์กันระหว่าง<br />

แผ่นธรณีทั้งสอง <br />

เปลือกโลกแยกตัว (Divergent plate motion) เนื่องจากมีการดันตัวของหินหนืดขึ้นมาจาก<br />

ชั้นเนื้อโลก เมื่อเย็นตัวลงและแข็งตัวกลายเป็นหินยึดติดกับขอบของแผ่นธรณี กลายเป็นส่วนหนึ่งของ<br />

แผ่นธรณีที่กำลังเคลื่อนที่ (รูปที่ 3)<br />

รูปที่ 3 แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกแยกตัว<br />

(คัดลอกจาก http://www.ac.wwu.edu/~debari/406/lec1.html)<br />

_11-0290(001-062).indd 5<br />

4/2/11 1:37:18 PM


57<br />

สำหรับพื้นที่ที่ 4 นั้น หากเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.5 ริกเตอร์ คลื่นสึนามิจะพัดเข้าฝั่ง<br />

ประเทศไทย บริเวณจังหวัดปัตตานี ใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง และคลื่นจะเข้าฝั่งบริเวณ<br />

กรุงเทพมหานคร ใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่<br />

ก่อให้เกิดคลื่นสึนามินั้น สามารถแจ้งเตือนภัยได้ล่วงหน้า ขอให้ประชาชนรับฟังข่าวสารจากประกาศ<br />

ของทางราชการให้ดี อย่าตื่นตระหนกกับกระแสข่าวลือต่างๆ สามารถสอบถามรายละเอียด<br />

ระบบเตือนภัยได้ที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (http://www.ndwc.go.th/)<br />

รูปที่ 41 แบบจำลองการเกิดสึนามิ กรณีเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.5 ริกเตอร์ บริเวณพื้นที่ 4<br />

_11-0290(001-062).indd 57<br />

4/2/11 1:38:20 PM


22<br />

ค่า M วัดจากเครื่องมือซึ่งระยะทางมักจะไม่ใช่ 100 กิโลเมตรจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว<br />

ดังนั้นค่าความสูงคลื่นแผ่นดินไหวจะมีค่าอย่างหนึ่ง แต่นักวิชาการแผ่นดินไหวจะแปรเปลี่ยนค่ามา<br />

เป็นระยะที่ 100 กิโลเมตร แล้วจะได้ค่าความสูงคลื่นแผ่นดินไหวอีกค่าหนึ่ง ทำให้หาค่า M ได้ตาม<br />

มาตรฐานของริกเตอร์<br />

ขนาดของแผ่นดินไหวตามมาตราริกเตอร์นี้ จะบอกได้เป็นตัวเลขจำนวนเต็มและจุดทศนิยม<br />

จะเห็นได้ว่า ค่าขนาดของแผ่นดินไหวจากขนาด 4 หน่วย ตามมาตราริกเตอร์ ไปเป็น 5 หน่วย ตาม<br />

มาตราริกเตอร์ ขนาดต่างกันเพียง 1 ระดับ แต่ขนาดความสูงคลื่นจะต่างกัน 10 เท่า ดังนั้น<br />

หากขนาดต่างกัน 3 ระดับ ความสูงคลื่นจะต่างกันถึง 1,000 เท่า ถ้าคิด เป็นพลังงาน จะมีค่าเป็น (มี<br />

หน่วยเป็นเอิร์ก, Erg)<br />

11.8 + 1.5M<br />

E = 10<br />

หากคิดเปรียบเทียบพลังงานของขนาดแผ่นดินไหวที่แตกต่างกัน 1 ระดับจะคำนวณได้เป็น<br />

E2/E1 = 10<br />

= 31.6 เท่า<br />

1.5 (M2 - M1)<br />

จะเห็นว่าพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาในแต่ละระดับมาตราริกเตอร์ จะประมาณ 30 เท่า ซึ่ง<br />

กันและกัน ดังนั้นถ้าต่างกัน 2 ระดับ พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจะต่างกันถึงประมาณ 900 เท่า<br />

และถ้าต่างกัน 3 ระดับ พลังงานจะมากกว่ากันถึงประมาณ 27,000 เท่า<br />

วิธีการคำนวณหาว่าแผ่นดินไหวมีขนาดเท่าใดนั้น สามารถคำนวณได้ดังนี้ (รูป 19) คือ<br />

1) วัดเวลาที่แตกต่างกันระหว่างคลื่นปฐมภูมิ (P) และคลื่นทุติยภูมิ (S) ออกมาเป็นระยะทาง<br />

เช่น กรณีนี้ได้ 24 วินาที<br />

2) วัดความสูงของการสั่นไหวได้ 23 มิลลิเมตร<br />

3) ถ้ากำหนดจุดลงไปบนมาตราส่วนในรูปที่ 19 ลากเส้นต่ออ่านค่าที่ได้ในมาตราส่วนเส้น<br />

กลางในที่นี้ได้ 5 นั่นคือค่าของขนาดแผ่นดินไหวแสดงได้ดังตารางที่ 1<br />

ตารางที่ 1 แสดงการจำแนกขนาดแผ่นดินไหว<br />

ขนาด (ตามมาตราริกเตอร์)<br />

ระดับแผ่นดินไหว<br />

น้อยกว่า 3.0<br />

แผ่นดินไหวขนาดเล็กมาก<br />

3.0 – 4.9 แผ่นดินไหวขนาดเล็ก<br />

5.0 – 5.9 แผ่นดินไหวขนาดปานกลาง<br />

6.0 – 7.9 แผ่นดินไหวขนาดใหญ่<br />

มากกว่า 8.0<br />

แผ่นดินไหวขนาดใหญ่มาก<br />

_11-0290(001-062).indd 22<br />

4/2/11 1:37:38 PM


52<br />

12. การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับแผ่นดินไหว<br />

นอกจากการป้องกันการพังทลายของอาคารแล้ว มาตรการเตรียมพร้อมและการเตรียมรับ<br />

สถานการณ์ฉุกเฉินหลังเกิดเหตุ ก็มีส่วนช่วยบรรเทาความเสียหายได้บ้าง สำหรับคำแนะนำการ<br />

ป้องกันอันตรายจากแผ่นดินไหว<br />

การเตรียมพร้อม<br />

1) ควรมีไฟฉาย ถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และแจ้งให้ทุกคน ทราบว่า<br />

เก็บไว้ที่ไหน<br />

2) ควรศึกษาการปฐมพยาบาลขั้นต้น เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน<br />

3) ควรทราบตำแหน่งวาล์วปิดถังแก๊ส ปิดน้ำ และตำแหน่งสะพานไฟฟ้าสำหรับตัดกระแส<br />

ไฟฟ้า และทุกคนในบ้านควรจะ ทราบวิธีการปิดวาล์วถังแก๊ส และยกสะพานไฟฟ้า<br />

4) อย่าวางของหนักไว้บนชั้นหรือหิ้งสูงๆ เพราะเมื่อมีการสั่นไหว สิ่งของอาจตกลงมาเป็น<br />

อันตรายต่อคนในบ้าน<br />

5) ผูกเครื่องใช้ให้แน่นกับพื้น และยึดเครื่องประดับบ้านหนักๆ เช่น ตู้ถ้วยชาม ไว้กับผนัง<br />

6) ควรวางแผนการในกรณีที่ทุกคนอาจต้องพลัดพรากจากกัน ว่าจะกลับมารวมกันที่ไหน<br />

อย่างไร<br />

เมื่อเกิดแผ่นดินไหว<br />

1) อยู่อย่างสงบ ควบคุมสติ อย่าตื่นตกใจ ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ให้<br />

อยู่นอกบ้าน ส่วนใหญ่คนที่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้า - ออกจากบ้าน<br />

2) ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้ยืนอยู่ในส่วนของ บ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง และควรอยู่ห่างจากหน้าต่าง<br />

และประตูที่จะออกข้างนอก<br />

3) ถ้าอยู่ในที่โล่ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าหรือสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ที่อาจตกลงมา<br />

4) อย่าใช้เทียนไข ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่ใน บริเวณนั้น<br />

5) ถ้ากำลังอยู่ในรถยนต์ ให้หยุดรถ และอยู่ในรถต่อไปจนกว่าการสั่นสะเทือนจะ หยุดลง<br />

6) ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว<br />

7) หากอยู่ใกล้ชายทะเล ให้อยู่ห่างจาก ฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง<br />

เมื่ออาการสั่นไหวสงบลง<br />

1) ควรตรวจดูตัวเองและคนใกล้เคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ถ้ามีการบาดเจ็บ ให้ทำการ<br />

ปฐมพยาบาลก่อน หากว่าบาดเจ็บมาก ให้นำส่งสถานพยาบาลต่อไป<br />

2) ควรรีบออกจากตึกที่เสียหาย เพื่อความปลอดภัยจากอาคารถล่มทับ<br />

3) ควรตรวจท่อน้ำ แก๊ส และสายไฟฟ้า หากพบส่วนที่เสียหาย ปิดวาล์วน้ำหรือถังแก๊ส และ<br />

ยกสะพานไฟฟ้า<br />

4) ตรวจแก๊สรั่วโดยการดมกลิ่น ถ้าได้ กลิ่นแก๊ส ให้เปิดหน้าต่างและประตูทุกบาน รีบออก<br />

จากบ้าน และแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง<br />

5) เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ถ้าไม่จำเป็น<br />

_11-0290(001-062).indd 52<br />

4/2/11 1:38:15 PM


กรมทรัพยากรธรณี<br />

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม<br />

กรมทรัพยากรธรณี กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ<br />

สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีภารกิจหลักในการอนุรักษ์ คุ้มครอง กำกับดูแล และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ <br />

และความหลากหลายทางชีวภาพ ทางน้ำ ทะเลและชายฝั่ง ดินและแร่ รวมทั้งกำหนดกฎหมาย <br />

ระเบียบ มาตรการ และมาตรฐานการอนุรักษ์และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจน<br />

ประเมินผลและติดตามสถานภาพทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ<br />

วิสัยทัศน์<br />

บริหารจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน<br />

เพื่อประโยชน์สุขแก่สังคมโดยรวม<br />

พันธกิจ<br />

จัดการด้านธรณีวิทยา ทรัพยากรธรณี ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย<br />

โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน <br />

ภารกิจหลัก<br />

กรมทรัพยากรธรณี มีภารกิจเกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟูและบริหารจัดการด้าน<br />

ธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการสำรวจ ตรวจสอบสภาพธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี การ<br />

ประเมินศักยภาพแหล่งทรัพยากรธรณี การกำหนด และกำกับดูแลเขตฟื้นที่สงวนและอนุรักษ์<br />

ทรัพยากรธรณี เพื่อการพัฒนาทรัพยากรธรณี คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน<br />

ค่านิยมร่วมของกรมทรัพยากรธรณี<br />

คุณธรรมนำความรู้ (Moral Principle) <br />

เชี่ยวชาญงานในหน้าที่ (Specialist) <br />

รับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) <br />

เอกภาพและบูรณาภาพแห่งองค์กร (Unity Spiritual) <br />

วัฒนธรรมองค์กร<br />

“รับผิดชอบ ใฝ่เรียนรู้ ส่งเสริมคนดี เน้นการมีส่วนร่วมและจิตวิญญาณแห่งองค์กร”<br />

แผ่นดินไหว<br />

กับประเทศไทย<br />

กรมทรัพยากรธรณ<br />

ี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล<br />

้อม


อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี<br />

<br />

นางพรทิพย์ ปั่นเจริญ<br />

รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี<br />

<br />

นายนพพล ศรีสุข<br />

รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี<br />

<br />

นายทศพร นุชอนงค์<br />

ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย นายเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์<br />

<br />

<br />

ผู้อำนวยการส่วนวิจัยรอยเลื่อนมีพลัง นายสุวิทย์ โคสุวรรณ<br />

<br />

เขียนเรื่อง<br />

นายปรีชา สายทอง<br />

นายสุวิทย์ โคสุวรรณ<br />

<br />

<br />

พิมพ์ครั้งที่ 1 จำนวน 5,000 เล่ม กุมภาพันธ์ 2554<br />

<br />

จัดพิมพ์โดย<br />

<br />

<br />

พิมพ์ที่<br />

<br />

<br />

<br />

สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย<br />

กรมทรัพยากรธรณี 75/10 ถนนพระราม 6 <br />

เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400<br />

โทรศัพท์ 0 2621 9801<br />

โทรสาร 0 2621 9795<br />

บริษัท ธนาเพรส จำกัด กรุงเทพฯ<br />

โทรศัพท์ 0 2215 7220 <br />

โทรสาร 0 2214 0038<br />

เอกสารฉบับนี้เป็นลิขสิทธิ์ของกรมทรัพยากรธรณี<br />

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม<br />

<br />

<br />

<br />

แผนที่แสดงตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-2553 ขนาดตั้งแต่ 5 ริกเตอร์ขึ้นไป


กรมทรัพยากรธรณี<br />

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม<br />

กรมทรัพยากรธรณี กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ<br />

สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีภารกิจหลักในการอนุรักษ์ คุ้มครอง กำกับดูแล และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ <br />

และความหลากหลายทางชีวภาพ ทางน้ำ ทะเลและชายฝั่ง ดินและแร่ รวมทั้งกำหนดกฎหมาย <br />

ระเบียบ มาตรการ และมาตรฐานการอนุรักษ์และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจน<br />

ประเมินผลและติดตามสถานภาพทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ<br />

วิสัยทัศน์<br />

บริหารจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน<br />

เพื่อประโยชน์สุขแก่สังคมโดยรวม<br />

พันธกิจ<br />

จัดการด้านธรณีวิทยา ทรัพยากรธรณี ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย<br />

โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน <br />

ภารกิจหลัก<br />

กรมทรัพยากรธรณี มีภารกิจเกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟูและบริหารจัดการด้าน<br />

ธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการสำรวจ ตรวจสอบสภาพธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี การ<br />

ประเมินศักยภาพแหล่งทรัพยากรธรณี การกำหนด และกำกับดูแลเขตฟื้นที่สงวนและอนุรักษ์<br />

ทรัพยากรธรณี เพื่อการพัฒนาทรัพยากรธรณี คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน<br />

ค่านิยมร่วมของกรมทรัพยากรธรณี<br />

คุณธรรมนำความรู้ (Moral Principle) <br />

เชี่ยวชาญงานในหน้าที่ (Specialist) <br />

รับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) <br />

เอกภาพและบูรณาภาพแห่งองค์กร (Unity Spiritual) <br />

วัฒนธรรมองค์กร<br />

“รับผิดชอบ ใฝ่เรียนรู้ ส่งเสริมคนดี เน้นการมีส่วนร่วมและจิตวิญญาณแห่งองค์กร”<br />

แผ่นดินไหว<br />

กับประเทศไทย<br />

กรมทรัพยากรธรณ<br />

ี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล<br />

้อม


1<br />

แผ่นดินไหวกับประเทศไทย<br />

1. บทนำ <br />

แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่อง<br />

มาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียด ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาเพื่อปรับสมดุลของ<br />

เปลือกโลกให้คงที่ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายเวลา สถานที่ และความรุนแรงของ<br />

แผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการเกิดของ<br />

แผ่นดินไหวที่แท้จริง เพื่อเป็นแนวทางในการลดความเสียหายที่เกิดขึ้น <br />

<br />

ประเทศไทยไม่อาจจัดอยู่ในเขตที่ปลอดจากแผ่นดินไหวได้ ทั้งนี้เนื่องจากหลักฐานการบันทึก<br />

ประวัติศาสตร์ (historical earthquake data) จดหมายเหตุศิลาจารึกและพงศาวดารได้ ระบุว่า<br />

ประเทศไทยเคยได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวทั ้งขนาดปานกลางจนถึงขนาดใหญ่มาแล้วหลายครั้ง<br />

และยังความเสียหายให้กับพื้นที่ในหลายภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันตก<br />

แผ่นดินไหวครั้งสำคัญเมื่อ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 ตรวจพบมีจุดเหนือศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดน่าน<br />

มีขนาดถึง 6.5 ตามมาตราริกเตอร์ แผ่นดินไหวเช้าตรู่ของวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2526 บริเวณเขื่อน<br />

วชิราลงกรณ จังหวัดกาญจนบุรี มีขนาด 5.9 ตามมาตราริกเตอร์ รู้สึกได้ทั่วทั้งภาคกลางและ<br />

ภาคเหนือ อาคารในกรุงเทพมหานครเสียหายเล็กน้อย และแผ่นดินไหวเกิดที่อำเภอพาน จังหวัด<br />

เชียงราย เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2537 มีขนาด 5.1 ตามมาตราริกเตอร์ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ<br />

โรงพยาบาลอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย นอกจากนี้ ยังมีแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นแล้วมีจุดเหนือศูนย์เกิด<br />

แผ่นดินไหวอยู่ในบริเวณประเทศเพื่อนบ้านแล้วมีผลสั่นสะเทือนมาถึงประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณ<br />

ภาคตะวันตกและภาคเหนือ ข้อมูลที่ได้การเกิดแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้ (instrumental earthquake<br />

data) โดยกรมอุตุนิยมวิทยาทำให้ทราบว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว(epicenter) มีการกระจายตัว<br />

ในแถบพรมแดนไทย-สหภาพพม่า ไทย-ลาว, จีน-สหภาพพม่าหรือในทะเลอันดามัน ซึ่งยังสามารถ<br />

ตรวจวัดได้เป็นประจำจึงแสดงให้เห็นชัดว่าเปลือกโลกในบริเวณแถบดังกล่าวยังมีการเปลี่ยนแปลง<br />

อยู่ (dynamic) อันเป็นผลกระทบที่เกิดจากขบวนการแปรสัณฐาน (tectonic process) อันเป็นผล<br />

สืบเนื่องมาจากการชนกัน (collision) ระหว่างแผ่นเปลือกโลกอินเดีย (Indian lithospheric plate) กับ<br />

แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Eurasian lithospheric plate) นับตั้งแต่ 35-45 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งยังผลให้<br />

บางส่วนแผ่นอินเดียมุดตัว (subdution) ลงไปใต้แผ่นยูเรเซียและการมุดตัวยังคงดำเนินมาจนถึง<br />

ปัจจุบัน<br />

<br />

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและภัยของ<br />

แผ่นดินไหว ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เป็นการรวบรวม วิเคราะห์ และประเมินถึงสาเหตุการ<br />

เกิดแผ่นดินไหว การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก คลื่นแผ่นดินไหว การตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว<br />

_11-0290(001-062).indd 1<br />

3/28/11 9:45:03 PM


2<br />

การหาจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ความร้ายแรงของแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวกับภูมิภาคเอเชีย<br />

ตะวันออกเฉียงใต้ การศึกษาธรณีวิทยาแผ่นดินไหวในประเทศไทย เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศ<br />

ไทยและภูมิภาคใกล้เคียง บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย การเตรียมความพร้อมเพื่อ<br />

รับมือกับแผ่นดินไหว เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับนำไปใช้ในการวางแผนป้องกันและบรรเทาภัยที่<br />

อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยได้รวบรวมข้อมูลด้านแผ่นดินไหวที่มีอยู่แล้วทั้งของกรมทรัพยากรธรณี<br />

และจากหน่วยงานภายนอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ <br />

<br />

นอกจากนี้แล้ว ควรเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับด้านแผ่นดินไหว ให้แก่นักธรณีวิทยา วิศวกร <br />

เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นักอุตุนิยมวิทยา เจ้าหน้าที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น<br />

และประชาชนผู้สนใจ ซึ่งจะเป็นการลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งเป็นการ<br />

เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักวิชาการด้านแผ่นดินไหวด้วย<br />

<br />

2. สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว<br />

สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้น จัดแบ่งได้ 3 ชนิด คือ <br />

1) เกิดจากกระบวนการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก ทำให้เปลือกโลกเกิดการเคลื่อนไหวจน<br />

ทำให้เกิดรอยคดโค้ง รอยเลื่อน รอยแตกและรอยแยกขึ้นบนพื้นโลก แล้วจึงมีการปลดปล่อยพลังงาน<br />

ออกมาในรูปของคลื่นแผ่นดินไหว <br />

2) เกิดจากกระบวนการภูเขาไฟระเบิด (volcanism) โดยการเคลื่อนตัวของหินหนืด (magma)<br />

ใต้ผิวโลกตามเส้นทางสู่ปล่องภูเขาไฟ ก่อนที่จะระเบิดออกมาเป็นหินละลายหลอมเหลว (lava) <br />

สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ <br />

3) เกิดจากการกระทำของมนุษย์ อาทิเช่น การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อน<br />

การระเบิดเพื่อการสำรวจหรือเพื่อการก่อสร้าง <br />

<br />

ปัจจุบันกลไกการเกิดแผ่นดินไหว เท่าที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางมีอยู่ 2 ทฤษฎี คือ<br />

1) ทฤษฎีว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก (dilation source) อธิบายว่า แผ่นดินไหว<br />

เกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการโค้งงออย่างฉับพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจะปลดปล่อย<br />

พลังงานออกมา ในรูปของคลื่นแผ่นดินไหว<br />

2) ทฤษฎีว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ (elastic rebound) อธิบายว่า การสั่นสะเทือนเกิดจาก<br />

การเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน (fault) กล่าวคือเมื่อการเลื่อนตัวถึงจุดหนึ่งวัตถุจะขาดออกจากกัน <br />

พร้อมกับการปลดปล่อยพลังงานออกมารูปแบบหนึ่งและหลังจากนั้นวัตถุจะคืนตัวกลับเข้ารูปเดิม <br />

ทฤษฎีนี้สนับสนุนแนวความคิดที่เชื่อว่า แผ่นดินไหว มีกลไกการกำเนิดเกี่ยวข้องโดยตรงและใกล้ชิด<br />

กับแนวรอยเลื่อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากผลของการแปรสัณฐานของเปลือกโลกโดยตรง โดยเฉพาะ<br />

รอยเลื่อนมีพลัง (active fault) <br />

<br />

<br />

_11-0290(001-062).indd 2<br />

3/28/11 9:45:03 PM


3. การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก<br />

นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาและรวบรวมข้อมูล เพื่อสรุปเป็นทฤษฎีอธิบายสาเหตุการ<br />

เกิดของแผ่นดินไหว ในปัจจุบันทฤษฎีการแปรสัณฐานแบบแผ่น (Plate Tectonics Theory) ได้รับ<br />

การยอมรับมากที่สุด ทฤษฎีนี้พัฒนามาจากทฤษฎีว่าด้วยทวีปเลื่อน (Theory of Continental Drift)<br />

ของอัลเฟรด โลทาร์ เวเกเนอร์ (Alfred Lothar Wegener พ.ศ. 2423 - 2473 นักวิทยาศาสตร์<br />

ชาวเยอรมัน) ซึ่งเสนอไว้เมื่อ พ.ศ. 2455 ต่อมา แฮร์รี แฮมมอนด์ เฮสส์ (Harry Hammond Hess <br />

พ.ศ. 2449 - 2512 นักธรณีวิทยาชาวอเมริกัน) ได้เสนอแนวคิดที่พัฒนาใหม่นี้ในทศวรรษ 2500 <br />

<br />

ทฤษฎีการแปรสัณฐานแบบแผ่น ได้อธิบายว่า ปรากฏการณ์แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนที่<br />

ของเปลือกโลกเป็นขั้นตอนดังนี้ เมื่อโลกแยกตัวจากดวงอาทิตย์มีสภาพเป็นกลุ่มก๊าซร้อน ต่อมา<br />

เย็นตัวลงเป็นของเหลวร้อน บริเวณผิวส่วนนอกเย็นตัวลงได้เร็วกว่าจึงแข็งตัวก่อน ส่วนใจกลาง<br />

ของโลกยังคงหลอมเหลว ประกอบด้วยธาตุโลหะหนัก ในทางธรณีวิทยาได้แบ่งโครงสร้างของโลก<br />

ออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ เรียกว่า เปลือกโลก (crust) เนื้อโลก (mantle) และแก่นโลก (core)<br />

(รูปที่ 1)<br />

3<br />

กิโลเมตร<br />

รูปที่ 1 แบบจำลองโครงสร้างของโลก (คัดลอกจาก http://www.dept.kent.edu/geology/ehlab/<br />

tectonics/tectonics.htm)<br />

_11-0290(001-062).indd 3<br />

3/28/11 9:45:04 PM


4<br />

เปลือกโลกเป็นส่วนที่เป็นของแข็งและเปราะ ห่อหุ้มอยู่ชั้นนอกสุดของโลกจนถึงระดับความลึก<br />

ประมาณ 50 กิโลเมตร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรณีภาคชั้นนอกหรือลิโทสเฟียร์ (Lithosphere) ใต้ชั้น<br />

นี้ลงไปเป็นส่วนบนสุดของชั้นเนื้อโลกอยู่ที่ระดับความลึก 100 ถึง 250 กิโลเมตรเรียกว่า ธรณีภาค<br />

ชั้นกลางหรือแอสเทโนสเฟียร์ (asthenosphere) ที่ระดับความลึก 100 ถึง 350 กิโลเมตร พบว่ามี<br />

ลักษณะเป็นหินละลายหลอมเหลวที่เรียกว่าหินหนืด (magma) มีความอ่อนตัวและยืดหยุ่นได้ใต้จาก<br />

ธรณีภาคชั้นนอกลงไป ยังคงเป็นส่วนที่เป็นเนื้อโลกอยู่ จนกระทั่งถึงระดับความลึกประมาณ 2,900<br />

กิโลเมตรจากผิวโลก จึงเปลี่ยนเป็นชั้นแก่นโลก ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชั้นย่อยคือ แก่นโลกชั้นนอกและแก่น<br />

โลกชั้นใน โดยแก่นโลกชั้นในนั้นจะอยู่ลึกสุดจนถึงจุดศูนย์กลางของโลก ที่ระดับความลึกประมาณ<br />

6,378 กิโลเมตร จากผิวโลก (รูปที่ 2)<br />

รูปที่ 2 การแบ่งส่วนนอกของโลกเป็น 2 ส่วน ตามคุณสมบัติทางกายภาพเป็นธรณีภาค (Lithosphere)<br />

คือชั้นที่ประกอบไปด้วยชั้นเปลือกโลก และส่วนบนของชั้นเนื้อโลก มีคุณสมบัติแข็งและเปราะ<br />

และธรณีภาคชั้นกลาง (Asthenosphere) มีคุณสมบัติอ่อนนุ่มสามารถไหลได้ทำให้เปลือกโลกทวีป<br />

(Continental crust) และเปลือกโลกมหาสมุทร (Oceanic crust) ที่มีความแข็ง วางตัวอยู่บนส่วนธรณี<br />

ภาคชั้นกลาง (Asthenosphere) ได้ (คัดลอกจาก http://www.physicalgeography.net)<br />

_11-0290(001-062).indd 4<br />

3/28/11 9:45:04 PM


5<br />

การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก (Plate motion) เป็นลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี 2<br />

แผ่นที่อยู่ติดกัน สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 รูปแบบ ตามลักษณะการเคลื่อนที่สัมพันธ์กันระหว่าง<br />

แผ่นธรณีทั้งสอง <br />

เปลือกโลกแยกตัว (Divergent plate motion) เนื่องจากมีการดันตัวของหินหนืดขึ้นมาจาก<br />

ชั้นเนื้อโลก เมื่อเย็นตัวลงและแข็งตัวกลายเป็นหินยึดติดกับขอบของแผ่นธรณี กลายเป็นส่วนหนึ่งของ<br />

แผ่นธรณีที่กำลังเคลื่อนที่ (รูปที่ 3)<br />

รูปที่ 3 แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกแยกตัว<br />

(คัดลอกจาก http://www.ac.wwu.edu/~debari/406/lec1.html)<br />

_11-0290(001-062).indd 5<br />

3/28/11 9:45:05 PM


6<br />

เปลือกโลกลู่เข้าหากัน (Convergent plate motion) เป็นบริเวณที่แผ่นธรณีหนึ่งแผ่นมุดตัว<br />

ลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง ตามแนวบริเวณที่เรียกว่าเขตการมุดตัว (subduction zone) เมื่อเปลือกโลกจมตัว<br />

ลงสู่เนื้อโลก จะร้อนขึ้นจนหลอมเหลวกลายเป็นหินหนืด จึงแทรกดันตัวขึ้นสู่ผิวโลกและอาจปะทุเป็น<br />

แนวภูเขาไฟได้ (รูปที่ 4)<br />

รูปที่ 4 แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน โดยที่ <br />

ก) เปลือกโลกทวีปกับเปลือกโลกมหาสมุทร <br />

ข) เปลือกโลกมหาสมุทรกับเปลือกโลกมหาสมุทร <br />

ค) เปลือกโลกทวีปกับเปลือกโลกทวีป <br />

(คัดลอกจากhttp://pubs.usgs.gov/gip/dynamic/dynamic.html)<br />

_11-0290(001-062).indd 6<br />

3/28/11 9:45:06 PM


7<br />

เปลือกโลกเคลื่อนผ่านกัน (Transform plate motion) เป็นบริเวณที่แผ่นธรณีหนึ่งแผ่น<br />

เคลื่อนที่ผ่านกันกับอีกแผ่นหนึ่งทางด้านข้าง ซึ่งก่อให้เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง เช่นรอยเลื่อน<br />

ซานแอนเดรียส (San Andreas fault) ประเทศสหรัฐอเมริกา (รูปที่ 5)<br />

ประเทศเม็กซิโก<br />

รูปที่ 5 แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนที่ผ่านกัน เช่นบริเวณภาคตะวันตก<br />

ของประเทศสหรัฐอเมริกา<br />

(คัดลอกจาก http://www.dept.kent.edu/geology/ehlab/tectonics/tectonics.htm)<br />

_11-0290(001-062).indd 7<br />

3/28/11 9:45:07 PM


8<br />

การเกิดแผ่นดินไหวนั้น ส่วนใหญ่จำกัดอยู่เฉพาะที่ชั้นของเปลือกโลก โดยที่เปลือกโลกไม่ได้<br />

เป็นชิ้นเดียวกันทั้งหมด เนื่องจากเมื่อของเหลวที่ร้อนจัดปะทะชั้นเปลือกโลก ก็จะดันตัวออกมา (รูปที่<br />

6 และรูปที่ 7) แนวรอยแยกของเปลือกโลกจึงเป็นแนวที่เปราะบางและเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว<br />

ภูเขาไฟระเบิดถี่มาก จากการบันทึกประวัติปรากฏการณ์แผ่นดินไหว ทำให้สามารถแบ่งเปลือกโลก<br />

ได้เป็น 13 แผ่น (รูปที่ 8) คือ แผ่นยูเรเชีย (Eurasian Plate) แผ่นแปซิฟิก (Pacific Plate) แผ่นอินเดีย-<br />

ออสเตรเลีย (Indian-Australian Plate) แผ่นฟิลิปปินส์ (Philippines Plate) แผ่นอเมริกาเหนือ (North<br />

American Plate) แผ่นอเมริกาใต้ (South American Plate) แผ่นแอฟริกา (African Plate) แผ่น<br />

แอนตาร์กติก (Antarctic Plate) แผ่นนัซกา (Nazca Plate) แผ่นโคโคส (Cocos Plate) แผ่นแคริบเบียน<br />

(Caribbean Plate) แผ่นฮวนเดฟูกา (Juan de Fuca Plate) และแผ่นอาหรับ (Arabian Plate) <br />

<br />

แผ่นเปลือกโลกที่กล่าวมาแล้วไม่ได้อยู่นิ่ง แต่มีการเคลื่อนที่คล้ายการเคลื่อนย้ายวัตถุบน<br />

สายพานลำเลียงสิ่งของ ผลจากการสำรวจท้องมหาสมุทรในช่วงทศวรรษ 2490 พบว่า มีแนวเทือกเขา<br />

กลางมหาสมุทรรอบโลก (Global Mid Ocean Ridge) ซึ่งมีความยาวกว่า 50,000 กิโลเมตร กว้างกว่า<br />

800 กิโลเมตร และผลจากการศึกษาทางด้านธรณีวิทยาพบว่า หินบริเวณเทือกเขาเหล่านี้<br />

เป็นหินใหม่ที่มีอายุน้อยกว่าหินที่อยู่ในแนวถัดออกมา ที่เกิดเป็นแนวยาวขนานสองด้านกับรอยแตก<br />

กึ่งกลางมหาสมุทร เมื่อหินหนืดภายใต้เปลือกโลกดันออกมาจากกันทีละน้อย ส่งผลให้เกิดการ<br />

เคลื่อนที่ของเปลือกโลกต่างๆ (รูปที่ 9)<br />

รูปที่ 6 โครงสร้างของโลกและการเคลื่อนที่ของกระแสพาความร้อน (Convection currents)<br />

คัดลอกจาก http://www.pubs.usgs.gov/gip/dynamic/dynamic.html<br />

_11-0290(001-062).indd 8<br />

3/28/11 9:45:08 PM


9<br />

รูปที่ 7 แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกและการเคลื่อนที่แบบกระแสพาความร้อน<br />

(Convection currents) (คัดลอกจาก http://www.pubs.usgs.gov/gip/dynamic/dynamic.html)<br />

รูปที่ 8 แสดงแผ่นเปลือกโลกจำนวน 13 แผ่น รวมทั้งทิศทางการเคลื่อนที่และอัตราการ เคลื่อนตัว<br />

(คัดลอกจาก www.indina.edu/geo/116/week7.htm)<br />

_11-0290(001-062).indd 9<br />

3/28/11 9:45:09 PM


10<br />

รูปที่ 9 แสดงการเกิดแนวเทือกเขากลางมหาสมุทร ซึ่งถูกแรงดันจากหินหนืดภายในเปลือกโลก<br />

ดันออกจากกันทีละน้อย ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกต่างๆ<br />

(คัดลอกจาก http://www.clastatela.edu/geology/ehlab/tectonics/seafloor.htm)<br />

4. คลื่นแผ่นดินไหว<br />

ขณะที่เปลือกโลกยึดติดกันอยู่ แรงดันของของเหลวภายใต้เปลือกโลกจะทำให้รอยต่อ<br />

เกิดแรงเค้น (Stress) เปรียบเทียบได้กับการดัดไม้ ซึ่งไม้จะถูกดัดงอและสะสมแรงเค้นไปเรื่อยๆ <br />

จนแรงเค้นเกินจุดแตกหัก ไม้ก็จะหักออกจากกัน ในทำนองเดียวกัน เมื่อเปลือกโลกสะสมแรงเค้น<br />

ถึงจุดแตกหัก เปลือกโลกจะเคลื่อนที่สัมพัทธ์กัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเปลือกโลก<br />

พร้อมทั ้งปลดปล่อยพลังงานออกมา เกิดแรงสั่นสะเทือนเป็นคลื่นแผ่นดินไหว ซึ่งคนเราสามารถรู ้สึกได้<br />

และสร้างความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างทั่วไป <br />

<br />

การส่งผ่านพลังงานที่เปลือกโลกปลดปล่อยจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง เกิดจากการเคลื่อนตัวของ<br />

อนุภาคในชั้นดิน การเคลื่อนตัวของอนุภาคดังที่กล่าวมานี้จะมีลักษณะคล้ายคลื่น จึงเรียกว่า <br />

คลื่นแผ่นดินไหว ซึ่งจะแพร่กระจายจากจุดกำเนิดในทุกทิศทุกทาง คลื่นแผ่นดินไหวแบ่งออกเป็น <br />

2 ประเภทใหญ่ๆ คือคลื่นภายในตัวกลาง (body waves) และคลื่นผิวโลก (surface waves)<br />

_11-0290(001-062).indd 10<br />

3/28/11 9:45:10 PM


11<br />

คลื่นภายในโลกเป็นคลื่นความสั่นสะเทือนที่เดินทางอยู่ภายในโลกแบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิด<br />

ตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและการแกว่งตัว (oscillation) ของอนุภาคตัวกลางขณะที่คลื่น<br />

เคลื่อนที่ผ่านได้แก่<br />

1) คลื่นตามยาวหรือคลื่นปฐมภูมิ (Logitudinal หรือ Primary waves: P-Wave) เป็นคลื่น<br />

ความสั่นสะเทือนที่เคลื่อนที่ออกไปโดยที่อนุภาคหรือมวลสารถูกแรงอัด จนสั่นและขยายตัว (expansion<br />

rarefaction) ไปมาเรื่อยๆ ในทิศทางเดียวกันกับการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นชนิดนี้ยังเรียกได้อีกหลาย<br />

ชื่อ เช่น Dilation waves, Irrotation waves, Push waves เนื่องจากคลื่นเคลื่อนที่ได้เร็ว จึงเดินทางเข้า<br />

เครื่องบันทึกก่อนคลื่นอื่นจึงเรียกว่าคลื่นปฐมภูมิ อนุภาคที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งผ่านคลื่น<br />

ออกไป จะเกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาตร (dilation) ของอนุภาคแผ่รัศมีออกโดยรอบ คลื่นนี้เคลื่อนที่<br />

ด้วยความเร็ว 1.5 - 8 กิโลเมตร/วินาที <br />

2) คลื่นตามขวางหรือคลื่นทุติยภูมิ (Traverse หรือ Secondary waves : S-Wave) เป็นคลื่น<br />

ความสั่นสะเทือนที่เคลื่อนที่ออกไปแล้วทำให้อนุภาคหรือมวลสารที่ถูกแรงเฉือน (shear) เกิดการสั่น<br />

ในแนวที่ตั ้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น บางทีเรียกคลื่นชนิดนี ้ว่า คลื่นหมุน (Rotation waves)<br />

เนื่องจากเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ได้ช้า จึงเดินทางเข้าเครื่องบันทึกได้ช้ากว่าคลื่นปฐมภูมิ จึงเรียกว่าคลื่น<br />

ทุติยภูมิ อนุภาคตัวกลางในการส่งผ่านคลื่นจะไม่แสดงการเปลี่ยนแปลงทางปริมาตร แต่จะเสียรูปไป<br />

(dilation) คลื่นนี้จะเคลื่อนที่ ด้วยความเร็วประมาณร้อยละ 60 - 70 ของคลื่นปฐมภูมิ<br />

คลื่นในตัวกลางทั้งสองชนิดนี้ ทำให้มวลอนุภาคตัวกลางเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (รูปที่ 10) โดย<br />

ปกติคลื่นตามยาวเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าคลื่นตามขวางเกือบสองเท่าและคลื่นตามขวางไม่สามารถ<br />

เคลื่อนที่ของเหลวได้<br />

แรงขยาย แรงอัด จุดสมดุล<br />

คลื่นปฐมภูมิ<br />

ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นปฐมภูมิ<br />

คลื่นทุติยภูมิ<br />

ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นทุติยภูมิ<br />

รูปที่ 10 แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่นในตัวกลางโลก (คัดลอกจาก http://www.geo.mtu.edu/<br />

UPSeis/swave_web.jpg)<br />

_11-0290(001-062).indd 11<br />

3/28/11 9:45:10 PM


12<br />

คลื่นพื้นผิวคือ คลื่นความไหวสะเทือนที่เคลื่อนที่ไปตามผิวโลกหรือขนานไปกับผิวโลก แต่ไม่<br />

ลึกนัก อาจเปลี่ยนแปลงมาจากคลื่นภายในโลกอีกที คลื่นที่สำคัญมี 2 ชนิด คือ<br />

1) คลื่นเรย์ลี (Rayleigh) เป็นคลื่นความสั่นสะเทือนไปตามระนาบ ทำให้อนุภาคตัวกลางสั่น<br />

ในลักษณะวงรี และค่อยๆ ลดลงเมื่ออยู่ห่างจากจุดกำเนิด (retrograde elliptical motion) คลื่นชนิดนี้<br />

ค้นพบโดย ลอร์ด เรย์ลี (Lord Rayleigh) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ มักใช้ชื่อย่อว่า R-wave ทำให้อนุภาค<br />

เกิดการสั่นในแนวดิ่ง (vertical ground motion) <br />

2) คลื่นเลิฟ (Love Waves) เป็นคลื่นความสั่นสะเทือนตามขวางที่ไปตามผิวระนาบ ทำให้<br />

อนุภาคเกิดการสั่นในแนวราบ (horizontal ground motion) ในทิศทางตั้งฉากกับแนวการเคลื่อนที่ ให้<br />

ชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อออร์กาต๊าน เอ็ดเวอร์ ฮุด โลฟ (Augustus Edward Hough Love)<br />

ความเร็วคลื่นขึ้นกับความถ่วงจำเพาะและความแกร่งของตัวกลาง<br />

คลื่นพื้นผิว (รูปที่ 11) ที่มีความยาวคลื่นมาก มักจะปล่อยพลังงานออกมามากกว่าพวกที่มี<br />

ความยาวคลื่นสั้นและยิ่งลึกลงไปความเร็วคลื่นก็จะยิ่งเร็วมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงความเร็วคลื่น<br />

เนื่องจากความยาวคลื่นและความถี่ เรียกว่าการแพร่กระจาย การศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงความเร็ว<br />

คลื่นพื้นผิว ทำให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเปลือกโลก และเนื้อโลกตอนบนได้มากตัวอย่างคลื่น<br />

แผ่นดินไหว (รูปที่ 12)<br />

ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นเรย์ลี<br />

รูปที่ 11 แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่นพื้นผิว (คัดลอกจาก http://www.lamit.ro/images/<br />

earthquake-l-r-waves-passage.jpg)<br />

_11-0290(001-062).indd 12<br />

3/28/11 9:45:11 PM


13<br />

รูปที่ 12 ตัวอย่างการวิเคราะห์ลักษณะของคลื่นแผ่นดินไหวที่เกิดห่างจากเมืองเดนเวอร์ รัฐโคโรราโด<br />

1,000 ไมล์ (คัดลอกจาก http://www.calstatela.edu/faculty/acolvil/quakes/seisgram.jpg)<br />

5. การตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว <br />

คลื่นแผ่นดินไหว (Seismic wave) หรือคลื่นที่ทำให้เกิดอาการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว<br />

ที่ส่งผ่านมายังผิวโลกและสามารถบันทึกไว้ได้ด้วยเครื่องวัดความไหวสะเทือน (Seismometer) ในรูป<br />

ของกราฟแผ่นดินไหว (Seismogram) กราฟแผ่นดินไหวเป็นเส้นขึ้นลงสลับกันแสดงถึงอาการสั่น<br />

สะเทือนของพื้นดินใต้เครื่องวัดแผ่นดินไหวนั้น เครื่องมือวัดความไหวสะเทือนเกิดขั้นครั้งแรกโดย<br />

นักวิทยาศาสตร์ชาวจีน ชื่อ จางเหิง (Chang heng) เมื่อ ค.ศ. 132 ลักษณะคล้ายไหเหล้าทำด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ รอบๆ ไหมีมังกรเล็กๆ 8 ตัว แต่ละตัวหันไปคนละทิศที่ปากมังกรอมลูกทองแดง<br />

ด้านล่างมีกบแปดตัวอ้าปากเงยหน้าขึ้น (รูปที่ 13)<br />

<br />

ข้อมูลคลื่นแผ่นดินไหวทั่วโลก ได้มาจากการติดตั้งเครือข่ายของเครื่องมือตรวจวัดความไหว<br />

สะเทือน ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถทราบถึงขนาดและตำแหน่ง โดยเครื่องมือตรวจวัด<br />

ความไหวสะเทือน มีหลักการทำงานง่ายๆ ประกอบด้วย เครื่องรับความสั่นสะเทือน แปลงสัญญาณ<br />

ความสั่นสะเทือนเป็นสัญญาณไฟฟ้า จากนั้นถูกขยายด้วยระบบขยายสัญญาณและแปลงกลับมา<br />

เป็นการสั่นไหวอีกครั้ง แล้วบันทึกลงบนกระดาษตลอดเวลา (24 ชั่วโมง) พร้อมกับมีการบันทึกเวลา<br />

อย่างต่อเนื่อง ทำให้ทราบว่าคลื่นแผ่นดินไหวเดินทางมาถึงสถานีเมื่อไหร่ รัศมีการตรวจรับคลื่น<br />

แผ่นดินไหวสามารถตรวจรับคลื่นแผ่นดินไหวได้ทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่การคำนวณตำแหน่ง เวลาเกิด<br />

และขนาดแผ่นดินไหว จะคำนวณเฉพาะคลื่นใกล้ ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีไม่เกิน 1,000 กิโลเมตร<br />

<br />

เครื่องมือตรวจวัดไหวสะเทือน ปัจจุบันมี 2 แบบ <br />

1) แบบวัดความเร็วของคลื่นสั่นสะเทือน (Seismograph) เป็นเครื่องมือที่ออกแบบเพื่อตรวจ<br />

วัดความเร็วของคลื่นสั่นสะเทือนของพื้นโลก ซึ่งมีทั้งระบบช่วงคลื่นสั้น (Short-Period Seismograph,<br />

SPS) และช่วงคลื่นยาว (Long-Period Seismograph, LPS) เครื่องมือวัดระบบช่วงคลื่นสั้นสามารถ<br />

ตรวจวัดแผ่นดินไหวในรัศมี 500 กิโลเมตร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับระบบช่วงคลื่นยาวนั้นเป็น<br />

ระบบที่สามารถตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวระยะไกล (Telesism Station) (รูปที่ 14) <br />

_11-0290(001-062).indd 13<br />

3/28/11 9:45:11 PM


14<br />

รูปที่ 13 เครื่องมือวัดความไหวสะเทือนในอดีตมีลักษณะคล้ายไหเหล้า ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ รอบๆ<br />

ไหมีมังกรเล็กๆ 8 ตัว แต่ละตัวหันไปคนละทิศที่ปากมังกรอมลูกทองแดง ด้านล่างมีกบ 8 ตัว<br />

อ้าปากเงยหน้าขึ้น (คัดลอกจาก http://www.tapapa.govt.nz และ http://www.lspace.org/ftp/<br />

images/misc/seismograph.jpg)<br />

2) แบบวัดอัตราเร่งของคลื่นสั่นสะเทือน (Strong Motion Accelerograph, SMA)<br />

เป็นเครื่องมือที่ออกแบบเพื่อใช้วัดการสั่นสะเทือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าอัตราเร่งของพื้นดิน<br />

ในบริเวณนั้น ที่เกิดจากแผ่นดินไหวซึ่งวิศวกรสามารถนำค่าอัตราเร่งนี้ไปใช้ในการออกแบบ<br />

สิ่งก่อสร้าง เพื่อให้มีความปลอดภัยจากการเกิดแผ่นดินไหว <br />

ประเทศไทยเริ่มมีการตรวจวัดแผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. 2506 สถานีตรวจวัดแผ่นดินไหว<br />

แห่งแรกของกรมอุตุนิยมวิทยา ติดตั ้ง ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเข้าร่วมอยู่ในเครือข่ายระบบมาตรฐานโลก<br />

(Worldwide Standardized Seismograph Network : WWSSN) และต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นระบบ<br />

ไอริส (Incorporated Research Institutions of Seismology : IRIS) ซึ่งเป็นเครือข่ายโดยความร่วมมือ<br />

ของสถาบันการศึกษาหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา และบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านทาง<br />

เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทยาได้เพิ่มสถานีตรวจวัดความไหวสะเทือนในจังหวัด<br />

ต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 40 สถานี นอกจากนี้ยังมีหลายหน่วยงานที่ทำการตรวจวัดแผ่นดินไหว<br />

หลายวัตถุประสงค์เช่น สถานีวัดความสั่นสะเทือนของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ มีระบบเครือข่าย<br />

แบบอะเรย์ (Array) เพื่อการตรวจจับการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้พื้นดิน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง<br />

ประเทศไทยมีการตรวจวัดแผ่นดินไหว บริเวณรอบๆ เขื่อน กรมชลประทานมีเครือข่ายตรวจวัด<br />

แผ่นดินไหวบริเวณจังหวัดแพร่ น่าน พิษณุโลก ชุมพร และจังหวัดระนอง เพื่อศึกษาลักษณะการ<br />

เกิดแผ่นดินไหวก่อนการสร้างเขื่อน และกรมโยธาธิการและผังเมืองร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

วิจัยเรื่องการตอบสนองของอาคารจากความไหวสะเทือนของแผ่นดินไหว<br />

_11-0290(001-062).indd 14<br />

3/28/11 9:45:12 PM


15<br />

กรมทรัพยากรธรณี มีเครื่องมือตรวจวัดความไหวสะเทือนช่วงคลื่นสั้น (Short-Period <br />

Seismograph) ที่ติดตั้งคล่อมแนวรอยเลื่อนมีพลังเพื่อตรวจวัดพฤติกรรมการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน<br />

สปริง<br />

การเขยาสปริงในแนวขึ้นลง<br />

โดยมีน้ําหนักอยูดานลาง<br />

เที ยบได กั บการเกิ ด<br />

แผนดินไหวในแนวดิ่ง<br />

เครื่องบันทึก<br />

ความสั่นสะเทือน<br />

สปริง<br />

ปากกา<br />

ตุมถวงน้ําหนัก<br />

ตุมถวงน้ําหนัก<br />

เครื่องบันทึก<br />

ความสั่นสะเทือน<br />

ปากกา<br />

เครื่องวัดความไหวสะเทือนในแนวดิ่ง<br />

เครื่องวัดความไหวสะเทือนในแนวราบ<br />

รูปที่ 14 แสดงรูปแบบเครื่องมือบันทึกความไหวสะเทือนในแนวราบและแนวดิ่ง โดยที่แกนเครื่อง<br />

บันทึกความสั่นสะเทือนจะสามารถบันทึกได้ 24 ชั่วโมง<br />

_11-0290(001-062).indd 15<br />

3/28/11 9:45:12 PM


16<br />

_11-0290(001-062).indd 16<br />

3/28/11 9:45:18 PM


6. การหาจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว <br />

การหาตำแหน่งจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวที่มีความถูกต้องแม่นยำนั้น จะต้องมีเครือข่ายครอบ<br />

คลุมพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหว คือต้องมีสถานีตรวจวัดครอบคลุมจำนวนมาก หลักเกณฑ์อยู่ที่ความรู้<br />

เรื่องคลื่นแผ่นดินไหวที่รู้จักกันดีคือ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวจะมีคลื่นปฐมภูมิ และคลื่นทุติยภูมิ ซึ่งมี<br />

ความเร็วที่ต่างกัน ดังนั้นเมื่อสถานีหนึ่งรับคลื่นทั้งสองแล้ว เวลาที่รับจะต่างกันเนื่องจากความเร็วที่<br />

ไม่เท่ากัน สถานีตรวจวัดต่างๆ ที่ได้รับคลื่นทั้งสองจะสามารถบอกได้ถึงระยะทางของจุดศูนย์เกิด<br />

แผ่นดินไหว แต่จะไม่สามารถบอกถึงทิศทางได้ ดังนั้นสถานีตรวจวัดความไหวสะเทือนต่างๆ จะ<br />

สามารถบอกแต่รัศมีของการเกิดเท่านั้น ยิ่งมากสถานีตรวจวัดความไหวสะเทือนมากเท่าไร ก็จะ<br />

สามารถบอกตำแหน่งจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวที่แม่นยำยิ่งขึ้น <br />

<br />

หลักการหาจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวทั่วๆ ไป คือ ต้องพยายามหาระยะทางจากจุดศูนย์เกิด<br />

แผ่นดินไหว ไปยังสถานีวัดความไหวสะเทือนให้ได้อย่างน้อย 3 สถานี เรียกว่าระยะระหว่างจุดที่เกิด<br />

แผ่นดินไหวไปยังสถานีวัดความไหวสะเทือนว่า Epicenteral Distance ซึ่งสามารถคำนวณหาระยะทาง<br />

ถึงจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวได้ โดยเอาเวลาที่คลื่นตามยาวหรือคลื่นปฐมภูมิมาถึง ลบด้วยเวลาที่คลื่น<br />

ตามขวางหรือคลื่นทุติยภูมิมาถึง (เวลาเป็นวินาที) คูณด้วยแฟกเตอร์ 8 (ความเร็วเฉลี่ยของคลื่น<br />

แผ่นดินไหว มีหน่วยเป็นกิโลเมตร/วินาที) จะได้ระยะทางโดยประมาณเป็นกิโลเมตร <br />

<br />

ระยะทางถึงจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว = (S - P) x 8 <br />

- S คือ เวลาที่คลื่นตามยาวหรือคลื่นปฐมภูมิเคลื่อนที่มาถึง <br />

- P คือ เวลาที่คลื่นตามขวางหรือคลื่นทุติยภูมิเคลื่อนที่มาถึง <br />

<br />

คลื่นแผ่นดินไหวจะเคลื่อนที่ไปรอบโลก ฉะนั ้น หากเรามีเครื่องมือที่ละเอียดเพียงพอ ก็สามารถ<br />

ตรวจวัดการเกิดแผ่นดินไหว จากที่ไหนก็ได้บนโลก (รูปที่ 15 และรูปที่ 16)<br />

<br />

การเกิดแผ่นดินไหวจะมีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนต่างๆ ซึ่งรอยเลื่อนสามารถ<br />

แบ่งโดยใช้การเคลื่อนตัวที่ปรากฏให้เห็น สามารถเรียกชื่อรอยเลื่อนเป็น 5 แบบคือ รอยเลื่อนปรกติ<br />

(Normal fault) รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (Thrust fault) หรือรอยเลื่อนย้อน (Reverse fault) รอยเลื่อนแนว<br />

ระดับแบบเหลื่อมซ้าย (Left-lateral strike slip fault) และรอยเลื่อนแนวระดับแบบเหลื่อมขวา <br />

(Right-lateral strike slip fault) (รูปที่ 17)<br />

<br />

โดยทั่วไปเราเรียกตำแหน่งที่เกิดแผ่นดินไหวจริงๆ ใต้ผิวโลกลึกลงไปว่า จุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว<br />

(Earthquake Focus หรือ Hypocenter) และเรียกตำแหน่งบนพื้นผิวโลกที่คลื่นแผ่นดินไหวเดินทางมา<br />

ถึงก่อนว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (Epicenter) ซึ่งเป็นตำแหน่งบนผิวโลกเหนือจุดที่เกิด<br />

แผ่นดินไหวจริงๆ หรือเป็นจุดตัดบนผิวโลกจากการลากเส้นจากจุดศูนย์กลางของโลกมายังจุดที่เกิด<br />

แผ่นดินไหวและต่อเลยไปตัดผิวโลก (รูปที่ 18) เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้น มักจะมีเหตุการณ์<br />

แผ่นดินไหวตาม (Aftershocks) ในทางธรณีวิทยาเราสามารถแบ่งจุดกำเนิดแผ่นดินไหว หรือการเกิด<br />

แผ่นดินไหวตามความลึกได้ 3 แบบ คือ<br />

17<br />

_11-0290(001-062).indd 17<br />

3/28/11 9:45:18 PM


18<br />

1) แผ่นดินไหวลึก (deep-focus earthquake) เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดอยู่ลึกกว่า 100<br />

กิโลเมตร มักพบในบริเวณที่เปลือกโลกมุดลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง พบใกล้กับแนวร่องทะเลและแนว<br />

ภูเขาไฟ<br />

2) แผ่นดินไหวลึกปานกลาง (intermediate earthquake) เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดอยู่<br />

ระหว่าง 70-100 กิโลเมตร มักพบในบริเวณเปลือกโลกแยกตัว หรือเคลื่อนที่ผ่านกัน เช่น สันกลาง<br />

มหาสมุทรแอตแลนติก<br />

3) แผ่นดินไหวตื้น (shallow earthquake) เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดลึกน้อยกว่า 70 กิโลเมตร <br />

มักพบในบริเวณเดียวกันกับแผ่นดินไหวระดับปานกลาง<br />

ระยะเวลาหลังจากเกิดแผ่นดินไหว (วินาที)<br />

25<br />

20<br />

15<br />

10<br />

5<br />

X<br />

กราฟแผ่นดินไหว<br />

Y<br />

เดนเวอร์ เซนต์จอห์น ลีมา<br />

คลื่นตามขวาง<br />

8 วินาที<br />

3 วินาที<br />

คลื่นตามยาว<br />

Z<br />

12 วินาที<br />

2000 4000 6000 8000 10,000<br />

ระยะทางจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (กิโลเมตร)<br />

รูปที่ 15 ตัวอย่างคลื่นแผ่นดินไหวที่สามารถตรวจวัดได้ (คัดลอกจาก http://www.indiana.edu/~geol116/<br />

week8/wk8.htm)<br />

_11-0290(001-062).indd 18<br />

3/28/11 9:45:19 PM


19<br />

ซานฟรานซิสโก<br />

ซิดนีย์<br />

รูปที่ 16 การหาศูนย์เกิดแผ่นดินไหวจากสถานีจำนวน 3 แห่ง (คัดลอกจาก http://www.calstatela.<br />

edu/faculty/acolvil/quakes/epi_location.jpg)<br />

รูปที่ 17 แบบจำลองการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนแบบต่างๆ ก) รอยเลื่อนปรกติ (Normal fault)<br />

ข) รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (Thrust fault) หรือรอยเลื่อนย้อน (Reverse fault) ค) รอยเลื่อนแนว<br />

ระดับเหลื่อมซ้าย (Left lateral strike-slip fault) และ ง) รอยเลื่อนแนวระดับเหลื่อมขวา <br />

(Right lateral strike-slip fault) (คัดลอกจาก http://www.geology.usgs.org)<br />

_11-0290(001-062).indd 19<br />

3/28/11 9:45:22 PM


20<br />

รูปที่ 18 การกำเนิดแผ่นดินไหว และพลังงานในรูปคลื่นความไหวสะเทือนหรือคลื่นแผ่นดินไหวที่<br />

ปลดปล่อยออกมา (คัดลอกจาก http://www.sci.tsu.ac.th/py371/images/stories/3-12.gif)<br />

ตัวอย่างลักษณะคลื่นแผ่นดินไหว (http://vulcan.wr.usgs.gov/Imgs/Gif/Monitoring/Seismic/quakes.gif)<br />

_11-0290(001-062).indd 20<br />

3/28/11 9:45:23 PM


7. ความร้ายแรงของแผ่นดินไหว<br />

ความร้ายแรงอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหวสามารถบอกได้ในรูปของความรุนแรง (Intensity)<br />

และขนาด (Magnitude) ของแผ่นดินไหว ซึ่งทั้งสองค่านี้แตกต่างกัน และมักจะใช้กันค่อนข้างสับสน <br />

ขนาดของแผ่นดินไหว (Magnitude) เกี่ยวข้องกับปริมาณของพลังงานซึ่งถูกปลดปล่อยออกมา<br />

ณ ตำแหน่งจุดกำเนิดแผ่นดินไหว ค่าขนาดแผ่นดินไหวนี้ขึ้นอยู่กับความสูงของคลื่นแผ่นดินไหว ที่<br />

บันทึกได้ด้วยเครื่องวัดความไหวสะเทือน ขนาดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งจึงมีได้ค่าเดียว ค่าที่บันทึกได้<br />

จากเครื่องวัดความไหวสะเทือน มิได้เป็นหน่วยวัดเพื่อแสดงผลของความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งการ<br />

ตรวจวัดขนาดแผ่นดินไหวเป็นการวัดกำลังหรือพลังงานที่ปลดปล่อยในการเกิดแผ่นดินไหว <br />

มาตราการวัดขนาดแผ่นดินไหวที่รู ้จักดี ได้แก่ มาตราริกเตอร์ ซึ่งเสนอโดย ชาลส์ เอฟ. ริกเตอร์<br />

(Charles F. Richter นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหว ชาวอเมริกัน) ใน พ.ศ. 2478 นายริกเตอร์<br />

ค้นพบว่า การวัดค่าแผ่นดินไหวที่ดีที่สุด ได้แก่ การวัดพลังงานจลน์ที่เกิดขึ้นในขณะเกิดแผ่นดินไหว<br />

บันทึกคลื่นแผ่นดินไหวจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวจำนวนมาก ในงานวิจัยของนายริกเตอร์แสดงให้<br />

เห็นว่า พลังงานแผ่นดินไหวที่สูงกว่าจะทำให้เกิดความสูงคลื่น (amplitude) ที่สูงกว่า เมื่อระยะทาง<br />

ห่างจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเท่ากัน<br />

ขนาดของแผ่นดินไหวเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่บ่งชี้ความร้ายแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น<br />

เมื่อเปรียบเทียบกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ระดับเป็นศูนย์ โดยกำหนดให้แผ่นดินไหวที่เกิดที่ระดับเป็น<br />

ศูนย์มีค่าความสูงของคลื่น 0.001 มิลลิเมตร ที่ระยะทาง 100 กิโลเมตร จากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว<br />

(Epicenter)<br />

สูตรที่ใช้คำนวณคือ<br />

M = log A- log A0<br />

เมื่อ M เป็นขนาดแผ่นดินไหว<br />

A เป็นความสูงของคลื่นสูงสุด<br />

A 0<br />

เป็นความสูงของคลื่นที่ระดับศูนย์<br />

เช่น หากคลื่นแผ่นดินไหวสูงสุดมีค่าความสูงของคลื่นเท่ากับ 10 มิลลิเมตร ที่วัดได้จากสถานี<br />

วัดความไหวสะเทือนที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว 100 กิโลเมตร จะหาขนาดแผ่นดินไหวได้<br />

ดังนี้<br />

M = log 10 - log 0.001<br />

= 1- (-3)<br />

= 4 หน่วย ตามมาตราริกเตอร์<br />

ในทำนองเดียวกันขนาดของแผ่นดินไหวมีความสูงของคลื่นที่สูงสุด 100 มิลลิเมตร ที่ระยะทาง<br />

100 กิโลเมตรจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว จะมีขนาด 5 หน่วย ตามมาตราริกเตอร์ ซึ่งคำนวณได้ดังนี้<br />

M = log 100 - log 0.0001<br />

= 2-(-3)<br />

= 5 หน่วย ตามมาตราริกเตอร์<br />

21<br />

_11-0290(001-062).indd 21<br />

3/28/11 9:45:24 PM


22<br />

ค่า M วัดจากเครื่องมือซึ่งระยะทางมักจะไม่ใช่ 100 กิโลเมตรจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว <br />

ดังนั้นค่าความสูงคลื่นแผ่นดินไหวจะมีค่าอย่างหนึ่ง แต่นักวิชาการแผ่นดินไหวจะแปรเปลี่ยนค่ามา<br />

เป็นระยะที่ 100 กิโลเมตร แล้วจะได้ค่าความสูงคลื่นแผ่นดินไหวอีกค่าหนึ่ง ทำให้หาค่า M ได้ตาม<br />

มาตรฐานของริกเตอร์<br />

<br />

ขนาดของแผ่นดินไหวตามมาตราริกเตอร์นี้ จะบอกได้เป็นตัวเลขจำนวนเต็มและจุดทศนิยม<br />

จะเห็นได้ว่า ค่าขนาดของแผ่นดินไหวจากขนาด 4 หน่วย ตามมาตราริกเตอร์ ไปเป็น 5 หน่วย ตาม<br />

มาตราริกเตอร์ ขนาดต่างกันเพียง 1 ระดับ แต่ขนาดความสูงคลื่นจะต่างกัน 10 เท่า ดังนั้น<br />

หากขนาดต่างกัน 3 ระดับ ความสูงคลื่นจะต่างกันถึง 1,000 เท่า ถ้าคิด เป็นพลังงาน จะมีค่าเป็น (มี<br />

หน่วยเป็นเอิร์ก, Erg) <br />

<br />

11.8 + 1.5M<br />

E = 10<br />

หากคิดเปรียบเทียบพลังงานของขนาดแผ่นดินไหวที่แตกต่างกัน 1 ระดับจะคำนวณได้เป็น<br />

<br />

1.5 (M2 - M1)<br />

E2/E1 = 10<br />

= 31.6 เท่า<br />

<br />

จะเห็นว่าพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาในแต่ละระดับมาตราริกเตอร์ จะประมาณ 30 เท่า ซึ่ง<br />

กันและกัน ดังนั้นถ้าต่างกัน 2 ระดับ พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจะต่างกันถึงประมาณ 900 เท่า<br />

และถ้าต่างกัน 3 ระดับ พลังงานจะมากกว่ากันถึงประมาณ 27,000 เท่า<br />

วิธีการคำนวณหาว่าแผ่นดินไหวมีขนาดเท่าใดนั้น สามารถคำนวณได้ดังนี้ (รูป 19) คือ<br />

1) วัดเวลาที่แตกต่างกันระหว่างคลื่นปฐมภูมิ (P) และคลื่นทุติยภูมิ (S) ออกมาเป็นระยะทาง<br />

เช่น กรณีนี้ได้ 24 วินาที<br />

2) วัดความสูงของการสั่นไหวได้ 23 มิลลิเมตร <br />

3) ถ้ากำหนดจุดลงไปบนมาตราส่วนในรูปที่ 19 ลากเส้นต่ออ่านค่าที่ได้ในมาตราส่วนเส้น<br />

กลางในที่นี้ได้ 5 นั่นคือค่าของขนาดแผ่นดินไหวแสดงได้ดังตารางที่ 1<br />

ตารางที่ 1 แสดงการจำแนกขนาดแผ่นดินไหว<br />

ขนาด (ตามาตราริกเตอร์)<br />

ระดับแผ่นดินไหว<br />

น้อยกว่า 3.0<br />

แผ่นดินไหวขนาดเล็กมาก (Micro)<br />

3.0 – 4.9 แผ่นดินไหวขนาดเล็ก (Minor)<br />

5.0 – 5.9 แผ่นดินไหวขนาดปานกลาง (Moderate)<br />

6.0 – 7.9 แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (Major)<br />

มากกว่า 8.0<br />

แผ่นดินไหวขนาดใหญ่มาก (Great)<br />

_11-0290(001-062).indd 22<br />

3/28/11 9:45:24 PM


23<br />

ความสูงของคลื่น<br />

(มม.)<br />

(วินาที)<br />

เวลาที่คลื่น P และ S เดินทางมาถึง<br />

ระยะทาง<br />

(กม.)<br />

S-P<br />

วินาที<br />

ขนาดแผนดินไหว<br />

ความสูงของคลื่น<br />

(มม.)<br />

รูปที่ 19 วิธีการคำนวณหาขนาดของแผ่นดินไหวอย่างง่าย ณ จุดที่สามารถตรวจวัด<br />

สำหรับการวัดขนาดแผ่นดินไหว ตามมาตราริกเตอร์ เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่วิธีการ<br />

ของนายริกเตอร์ยังไม่แม่นตรงนักในเชิงวิทยาศาสตร์ เพราะวิธีการคำนวณจึงจำกัดไว้เพียงที่แผ่นดิน<br />

ไหวขนาดไม่เกิน 7.0 และใช้กับแผ่นดินไหวในรัศมีไม่เกิน 650 กิโลเมตร ใน พ.ศ. 2520 ฮิรู คะนะโมะริ<br />

(Hiroo Kanamori นักธรณีฟิสิกส์ ชาวญี่ปุ่น) ได้เสนอวิธีวัดพลังงานโดยตรงจากการวัดการเคลื่อนที่<br />

ของรอยเลื่อน มาตราการวัดขนาดของคะนะโมะริ เรียกว่า ขนาดโมเมนต์แผ่นดินไหว (Moment <br />

Magnitude) <br />

<br />

_11-0290(001-062).indd 23<br />

3/28/11 9:45:24 PM


24<br />

ความรุนแรงของแผ่นดินไหว (Intensity) เป็นผลกระทบของแผ่นดินไหวที่มีต่อความรู้สึก<br />

ของคน และความเสียหายของอาคารและสิ่งก่อสร้าง และต่อสิ่งต่างๆ ของธรรมชาติ ความรุนแรงจะ<br />

มากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละแห่งที่ได้รับผลกระทบโดยขึ้นอยู่กับ ระยะทาง ว่าอยู่ห่างไกลจาก<br />

ตำแหน่งจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว มากน้อยเพียงใด และสภาพธรณีวิทยาของพื้นที่นั้นๆ <br />

<br />

ผลกระทบหรือความเสียหายจากแผ่นดินไหวที่เกิดบนผิวโลก เรียกว่าความรุนแรงของแผ่นดินไหว<br />

มาตราวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว กำหนดได้จากความรู้สึกของอาการตอบสนองของผู้คน การ<br />

เคลื่อนที่ของเครื่องเรือน เครื่องใช้ในบ้าน ความเสียหายของปล่องไฟ จนถึงขั้นที่ทุกสิ่งทุกอย่าง<br />

พังพินาศ มาตราวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวเรียกว่า “มาตราเมอร์คัลลี่” (Mercalli) ซึ่งมาตรา<br />

ความรุนแรงเมอร์คัลลีกำหนดขึ ้นครั ้งแรกโดย กวีเซปเป เมอร์คัลลี (Guiseppe Mercalli ชาวอิตาเลียน<br />

นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหวและภูเขาไฟ) ใน พ.ศ. 2445 ต่อมาปรับปรุงโดยแฮร์รี วูด (Harry <br />

Wood นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหว ชาวอเมริกัน) และแฟรงก์ นิวแมนน์ (Frank Neumann นัก<br />

วิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหว ชาวอเมริกัน) ใน พ.ศ. 2474 มาตราความรุนแรงเมอร์คัลลี่ มี 12 ระดับ<br />

(รูปที่ 20) จากระดับความรุนแรงที่น้อยมากจนไม่สามารถรู้สึกได้ ซึ่งต้องตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือ<br />

วัดแผ่นดินไหวเท่านั้น จนถึงขั้นรุนแรงที่สุดจนทุกสิ่งทุกอย่างพังพินาศ หน่วยระดับที่ใช้เป็นตัวเลข<br />

โรมันจัดลำดับขั้นความรุนแรงตามเลขโรมันจาก I-XII ซึ่งสามารถเปรียบเทียบขนาดแผ่นดินไหว<br />

ความรุนแรง และอัตราเร่งของคลื่นแผ่นดินไหวได้ดังตารางที่ 2<br />

ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบขนาดแผ่นดินไหว ความรุนแรง และอัตราเร่งของคลื่นแผ่นดินไหว<br />

ขนาดแผ่นดินไหว<br />

(Magnitude)<br />

ความรุนแรงตามมาตราเมอร์คัลลี่<br />

(Mercalli Intensity)<br />

อัตราเร่งพื้นดิน<br />

(Acceleration, %g)<br />

น้อยกว่า 3.0 I-II ประชาชนไม่รู้สึก แต่เครื่องตรวจวัดได้ น้อยกว่า 0.19<br />

3.0 – 3.9 III ประชาชนอยู่ในบ้านรู้สึกได้ 0.20 – 0.49<br />

4.0 – 4.9 IV-V ประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกได้ 0.50 – 1.90<br />

5.0 – 5.9 VI-VII ประชาชนทุกคนรู้สึกได้ อาคารเสียหายบ้าง 2.00 – 9.90<br />

6.0 – 6.9 VII-VIII ประชาชนตื่นตกใจและอาคารเสียหาย 10.00 – 19.90<br />

ปานกลาง<br />

7.0 – 7.9 IX-X อาคารเสียหายเกือบทั้งหมด 20.00 – 99.00<br />

มากกว่า 8.0 XI-XII ทุกอย่างถูกทำลายเกือบหมด มากกว่า 100.00<br />

g = แรงโน้มถ่วงของโลก, 9.8 เมตร/วินาที<br />

_11-0290(001-062).indd 24<br />

3/28/11 9:45:25 PM


25<br />

<br />

ความรุนแรง สภาพของแผ่นดินไหว ความรุนแรง สภาพของแผ่นดินไหว<br />

I อ่อนมาก<br />

คนธรรมดาจะไม่รู้สึก<br />

แต่เครื่องวัดสามารถ<br />

ตรวจจับได้<br />

VII แรงมาก<br />

ฝาห้องแยก ร้าว <br />

กรุเพดานร่วง<br />

<br />

II อ่อนมาก<br />

คนที่มีความรู้สึกไว<br />

จะรู้สึกว่าแผ่นดินไหว<br />

เล็กน้อย<br />

<br />

VIII ทำลาย <br />

ต้องหยุดขับรถยนต์<br />

ตึกร้าว ปล่องไฟพัง<br />

<br />

III เบา<br />

คนที่อยู่กับที่<br />

รู้สึกว่าพื้นสั่น<br />

<br />

IX ทำลายสูญเสีย<br />

บ้านพังตามแถบ<br />

รอยแยกของแผ่นดิน<br />

ท่อน้ำ ท่อก๊าซ<br />

ขาดเป็นท่อนๆ <br />

<br />

<br />

IV พอประมาณ<br />

คนที่สัญจรไปมา<br />

รู้สึกได้<br />

V ค่อนข้างแรง<br />

คนที่นอนหลับ<br />

ตกใจตื่น<br />

<br />

<br />

X วินาศภัย<br />

แผ่นดินแตกอ้า<br />

ตึกแข็งแรงพัง<br />

รางรถไฟคดโค้ง <br />

ดินลาดเขาเคลื่อนตัว<br />

หรือถล่มลงมา<br />

XI วินาศภัยใหญ่<br />

ตึกถล่ม สะพานขาด <br />

ทางรถไฟ ท่อน้ำและ<br />

สายไฟใต้ดินเสียหาย<br />

แผ่นดินถล่ม น้ำท่วม<br />

<br />

VI แรง<br />

ต้นไม้สั่น บ้านแกว่ง<br />

สิ่งปลูกสร้าง<br />

บางชนิดพัง<br />

<br />

XII มหาวิบัติ<br />

ทุกสิ่งทุกอย่าง<br />

บนพื้นถนนแถบนั้น<br />

เสียหายโดยสิ้นเชิง<br />

พื้นดินเคลื่อนตัว<br />

เป็นลูกคลื่น<br />

รูปที่ 20 ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวตามมาตราเมอร์คัลลี่ (Mercalli) มี 12 ระดับ<br />

_11-0290(001-062).indd 25<br />

3/28/11 9:45:26 PM


26<br />

8. แผ่นดินไหวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />

ภูมิภาคส่วนใหญ่บนพื้นผิวโลกมีแผ่นดินไหวขนาดเล็กหรือปานกลางเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเท่า<br />

นั้น แต่บางภูมิภาคกลับมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่และมีลักษณะเป็น<br />

แนวยาวต่อกันเรียกว่า แนวการไหวสะเทือน (Seismic belts) มักเกิดอยู่บริเวณ 3 แนวนี้คือ (รูปที่ 21)<br />

1) แนวภูเขาไฟและแผ่นดินไหวรอบมหาสมุทรแปซิฟิก หรือเรียกว่า “วงแหวนไฟ” (Ring of fire)<br />

ซึ่งเกิดแผ่นดินไหวประมาณร้อยละ 80<br />

2) แนวภูเขาแอลป์-หิมาลัย เริ่มจากอินโดนีเซียผ่านเกาะสุมาตรา สหภาพพม่า เทือกเขาหิมาลัย<br />

เมดิเตอร์เรเนียนจนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก<br />

3) แนวสันภูเขาไฟกลางมหาสมุทรแอตแลนติก อยู่ตามแนวสันเขากลางมหาสมุทรอินเดีย<br />

เชื่อมกับแนวในด้านตะวันออกของแอฟริกา<br />

รูปที่ 21 แนวการไหวสะเทือน (Seismic belts) มักเกิดขึ ้นเป็นประจำคือแนวภูเขาไฟและแผ่นดินไหวรอบ<br />

มหาสมุทรแปซิฟิก แนวภูเขาแอลป์-หิมาลัย และแนวสันภูเขาไฟกลางมหาสมุทรแอตแลนติก<br />

(คัดลอกจาก http://www.topex.ucsd.edu/es10/lectures/lecture06/plates.gif)<br />

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นย่านแผ่นดินไหวที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยมีเปลือกโลก<br />

ใกล้เคียงกันรวม 4 แผ่น ได้แก่ แผ่นยูเรเชีย แผ่นแปซิฟิก แผ่นอินเดีย-ออสเตรเลีย และแผ่น<br />

ฟิลิปปินส์ อีกทั้งเป็นที่บรรจบกันของแนวแผ่นดินไหว 2 แนวคือ แนวล้อมมหาสมุทรแปซิฟิก และ<br />

แนวแอลป์-หิมาลัย จึงทำให้เกิดแผ่นดินไหวเป็นจำนวนมาก <br />

_11-0290(001-062).indd 26<br />

3/28/11 9:45:27 PM


27<br />

ประเทศไทยตั้งอยู่บนแผ่นยูเรเชีย (รูปที่ 22) ใกล้รอยต่อระหว่างแผ่นยูเรเชียกับแผ่นอินเดีย-<br />

ออสเตรเลีย มีรอยเลื่อน (fault) อยู่ทางภาคตะวันตกและภาคเหนือ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตสหภาพพม่า<br />

และทะเลอันดามัน<br />

ค<br />

ข<br />

ก<br />

รูปที่ 22 ก) แผนที่แสดงธรณีแปรสัณฐานของภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกของสองเปลือกโลก <br />

และการกระจายตัวของรอยเลื่อนต่างๆ ระหว่างโครงร่างเปลือกโลก <br />

ข) แบบจำลองโดยใช้เปลือกโลกอินเดีย-ออสเตรเลีย ชนเปลือกโลกยูเรเชีย<br />

ค) ภาพขยายใกล้ของลักษณะที่ปรากฏเมื่อมีการเกิดการชนกันขึ ้น (tectonic plates) (Tapponnier <br />

และคณะ, 1982)<br />

_11-0290(001-062).indd 27<br />

3/28/11 9:45:27 PM


28<br />

9. การศึกษาธรณีวิทยาแผ่นดินไหวในประเทศไทย<br />

การศึกษาธรณีวิทยาแผ่นดินไหวเป็นการศึกษาถึงลักษณะธรณีแปรสัณฐานยุคใหม่ และ<br />

วิวัฒนาการของโครงสร้างชั้นหิน/ชั้นดิน ว่าเป็นผลมาจากกระบวนการแปรสัณฐานครั้งใหม่<br />

(ตามธรณีกาล) ที่ยังมีพลังในปัจจุบัน แต่ถ้าพูดถึงการมีพลัง (Active tectonics) ย่อมหมายถึงการ<br />

ยังคงมีการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 11,000 ปี (ยุคโฮโลซีน) และลักษณะธรณีสัณฐานที่ปรากฏใน<br />

ปัจจุบันมักเกิดขึ้นมาในช่วงนี้ ดังนั้นลักษณะธรณีสัณฐานต่างๆ ที่ถูกแปรสัณฐานจนเกิดการ<br />

เปลี่ยนแปลงในช่วงที่ยาวไม่เกิน 1.65 ล้านปี (ยุคควอเทอร์นารี) จึงเรียกว่าลักษณะธรณีสัณฐาน<br />

มีศักยภาพมีพลัง (Potentially active tectonics) สำหรับธรณีสัณฐานที่ไม่มีการเคลื่อนตัวใน <br />

1.65 ล้าน จัดเป็นธรณีสัณฐานที่ไม่มีพลัง (Inactive tectonics) และไม่เป็นการง่ายในการหาอายุของ<br />

การแปรสัณฐานเหล่านั้นที่สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหว อย่างไรก็ตามเราอาจพิสูจน์ได้จาก<br />

หลักฐานทางธรณีวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน และการพิจารณาว่าการเลื่อนตัว<br />

รอยเลื่อนมีการเลื่อนตัวครั้งใหญ่ที่สุดเมื่อใด นอกจากนั้นการกำหนดอายุว่ารอยเลื่อนนั้นมีพลัง<br />

หรือไม่ยังขึ้นกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ อาทิเช่น กรณีการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ <br />

กำหนดให้รอยเลื่อนมีพลังเลื่อนตัวไม่เกิน 35,000 ปี แต่ถ้าเป็นการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ มักกำหนด<br />

ให้การเลื่อนตัวไม่เกิน 11,000 ปี เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของสังคมมนุษย์ในการใช้ประโยชน์<br />

จากสิ่งก่อสร้างนั้นๆ (ตารางที่ 3)<br />

<br />

ตารางที่ 3 การจัดจำแนกชนิดของรอยเลื่อน (Keller และ Pinter, 1996)<br />

_11-0290(001-062).indd 28<br />

3/28/11 9:45:28 PM


29<br />

การศึกษาด้านธรณีวิทยาแปรสัณฐานและธรณีสัณฐาน เป็นขั้นตอนต่อจากการรวบรวมข้อมูล<br />

พื้นฐานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือทำการแปลความหมายหาแนวเส้นโครงสร้างทาง<br />

ธรณีวิทยาที่ปรากฏบนภาพดาวเทียม โดยทำการแปลความหมายแนวเส้นโครงสร้างและลักษณะทาง<br />

ธรณีสัณฐานที่บ่งชี้ถึงการเลื่อนของรอยเลื่อนที่ผ่านพาดในพื้นที่นั้นๆ ดังนั้นก่อนอื่น จึงจำเป็นต้อง<br />

เข้าใจในลักษณะธรณีสัณฐาน (Burbank and Anderson, 2001) ที่ใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ว่าเป็นรอยเลื่อนที่มี<br />

พลัง (Active fault) ก่อนที่จะทำการคัดเลือกพื้นที่ที่น่าสนใจในการทำการศึกษาขั้นรายละเอียดจาก<br />

การแปลความหมายภาพถ่ายทางอากาศต่อไป ลักษณะธรณีสัณฐานที่บ่งชี้ว่าเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง<br />

ดังนั้นจำเป็นต้องเข้าใจในลักษณะธรณีสัณฐานวิทยา (Keller and Printer, 1996) ที่ใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ว่า<br />

เป็นรอยเลื่อนที่มีพลังก่อน ที่จะทำการคัดเลือกพื้นที่ที่น่าสนใจในการทำการศึกษาธรณีวิทยาแผ่นดิน<br />

ไหวขั้นรายละเอียดจากการแปลความหมายภาพถ่ายทางอากาศต่อไป ลักษณะธรณีสัณฐานที่บ่งชี้ว่า<br />

เป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง (รูปที่ 23) ประกอบด้วย<br />

1) หุบเขาเส้นตรง (linear valley) เกิดจากรอยเลื่อนที่มีการเลื่อนตัวในแนวระดับ (strike slip<br />

fault) เป็นทางน้ำที่มีทิศทางการไหลขนานไปกับแนวของรอยเลื่อน หรือไหลในแนวของรอยเลื่อน <br />

(รูปที่ 23) <br />

2) ผาสามเหลี่ยม (triangular facets) เป็นหน้าผาภูเขาที่มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ที่เกิด<br />

จากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนในแนวดิ่ง แล้วผ่านกระบวนการกัดเซาะของทางน้ำหลายแนวใน<br />

หุบเขาปรับเปลี่ยนหน้าผารอยเลื่อนเดิมเป็นรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยม ให้มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม <br />

(รูปที่ 24)<br />

3) พุน้ำร้อน (hot spring) เป็นปรากฏการณ์ที่น้ำใต้ดินที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติไหลขึ้นมาบน<br />

ผิวดินตามแนวรอยเลื่อนหรือรอยแตกของเปลือกโลก อันเนื่องมาจากรอยเลื่อนตัดผ่านชั้นน้ำใต้ดิน<br />

ที่ได้รับความร้อนจากใต้พิภพ มักพบตามแนวรอยเลื่อนมีพลัง (รูปที่ 23)<br />

4) ธารเหลื่อม (offset streams) เกิดจากรอยเลื่อนที่มีการเลื่อนตัวในแนวระดับ (strike slip<br />

fault) ตัดผ่านทางน้ำที่ไหลตรงๆ จากที่สูงสู่ที่ราบด้านล่างให้เกิดลักษณะธรณีสัณฐานที่เรียกว่าธาร<br />

เหลื่อม โดยไหลตั้งฉากจากแนวทางน้ำเดิมในช่วงที่ไหลตามแนวรอยเลื่อน ซึ่งสามารถวัดระยะของ<br />

การเลื่อนตัวของรอยเลื่อนนั้นๆ ได้ (รูปที่ 25)<br />

_11-0290(001-062).indd 29<br />

3/28/11 9:45:28 PM


30<br />

รูปที่ 23 ลักษณะธรณีสัณฐานวิทยา ที่ใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ในการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนที่มีพลัง <br />

(Burbank and Anderson, 2001)<br />

รูปที่ 24 ก) ผาสามเหลี่ยมของกลุ่มรอยเลื่อนเถิน บริเวณทิวเขาด้านทิศตะวันออกของอำเภอสบปราบ <br />

จังหวัดลำปาง <br />

ข) แสดงพัฒนาหน้าผาสามเหลี่ยมที่เกิดการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนในแนวดิ่งหลายครั้ง <br />

(จาก Fenton และคณะ, 2003)<br />

I เป็นการเลื่อนตัวในแนวดิ่งของรอยเลื่อนปรกติครั้งแรกและได้ผารอยเลื่อน <br />

II ผารอยเลื่อนถูกทางน้ำกัดเซาะเปลี่ยนสภาพเป็นผาสามเหลี่ยม<br />

III ช่วงที่หยุดการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน มีการกัดเซาะในแนวราบบริเวณเชิงเขาของฐานผาสามเหลี่ยม <br />

IV การเกิดเลื่อนตัวซ้ำของรอยเลื่อนเดิมและได้ผารอยเลื่อนขั้นที่สอง <br />

V ผาถูกกัดเซาะโดยทางน้ำได้ผาสามเหลี่ยมขั้นที่สอง <br />

VI เกิดการกัดเซาะในแนวดิ่งของฐานผาสามเหลี่ยมกลายเป็นที่ราบถอยหล่นออกจากตำแหน่งเดิม <br />

(แนวรอยเลื่อน) <br />

VII เกิดการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนอีกครั้งได้ผารอยเลื่อนขั้นที่สาม <br />

VIII เกิดการกัดเซาะของทางน้ำได้เป็นผาสามเหลี่ยม ช่องแคบที่แสดงเป็นตะพักคั่นระหว่างกลุ่มผาสามเหลี่ยม<br />

ระดับต่างๆ บริเวณช่วงเวลาของการหยุดการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนและการพัฒนาผาสามเหลี่ยมซ้อน<br />

กันหลายระดับนี ้ พบว่าผาสามเหลี่ยมชั ้นล่างสุดมีความลาดชันมากกว่าชั ้นที่อยู่ด้านบนๆ ที่เกิดขึ ้นมาก่อน<br />

_11-0290(001-062).indd 30<br />

3/28/11 9:45:29 PM


31<br />

รูปที่ 25 ก) ลักษณะธารเหลื่อมแสดงการเลื่อนในแนวระดับแบบเหลี่ยมขวาของรอยเหลื่อม <br />

San Andreas ในสหรัฐอเมริกา<br />

ข) แบบจำลองลักษณะธรณีสัณฐานธารเหลื่อม (จาก www.ucsb.edu)<br />

5) ผารอยเลื่อน (scarp) หน้าผาชันรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมที่เกิดจากรอยเลื่อนตัดผ่านภูเขา<br />

เกิดได้ทั้งรอยเลื่อนปรกติ (normal fault) รอยเลื่อนย้อนกลับ (reverse fault) และรอยเลื่อนในแนว<br />

ระดับ ทำให้ได้หน้าผาชันสูงจากที่ราบด้านล่างโดยเห็นความแตกต่างระดับของได้ ดังรูปที่ 26 และ<br />

รูปที่ 27<br />

6) ธารหัวขาด (beheaded stream) เกิดจากรอยเลื่อนที่มีการเลื่อนตัวในแนวระดับตัดผ่าน<br />

ทางน้ำเป็นแนวตรงให้ขาดจากทางน้ำเดิม ทำให้ทางน้ำใหม่ไม่มีความต่อเนื่องกับทางน้ำเดิมทำให้ทาง<br />

น้ำส่วนนี้ไม่มีน้ำไหลมาเติมจากต้นน้ำทำให้ปรากฏเป็นลำน้ำแห้งในปัจจุบัน (รูปที่ 28)<br />

7) สันกั้น (shutter ridge) เกิดจากสันเขาถูกรอยเลื่อนตัดผ่าน แล้วทำให้สันเขานั้นมีการ<br />

เลื่อนตัวออกไปจากแนวเดิมมักปรากฏรูปร่างเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่ โดยเกิดจากรอยเลื่อนที่มีการ<br />

เลื่อนตัวในแนวราบ มักเกิดร่วมกับธารเหลื่อม (รูปที่ 29)<br />

8) ตะพักขั้นบันได (bench) เป็นการพัฒนาลักษณะภูมิประเทศต่อเนื่องจากผาสามเหลี่ยม<br />

เมื่อมีรอยเลื่อนปกติ เกิดการเลื่อนขยับตัวในแนวดิ่งอีกครั้งแล้วเกิดการยกตัวขึ้นเกิดเป็นตะพัก<br />

ขั้นบันไดขึ้นบริเวณเชิงเขา โดยอยู่สูงจากลำแม่น้ำ (รูปที่ 30)<br />

9) หุบเขารูปแก้วไวน์ (wine glass) เกิดจากทางน้ำสายเก่าที่มีร่องน้ำกว้างเป็นรูปตัวยู <br />

(U-shape valley) ถูกรอยเลื่อนตัดผ่านและเลื่อนตัวลงในแนวดิ่ง ทำให้ทางน้ำเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำตก<br />

และมีการกัดเซาะในแนวดิ่งบริเวณฐานของร่องท้องน้ำทำให้ได้ร่องน้ำใหม่รูปตัววี (V-shape valley)<br />

เมื่อดูภาพตัดขวางของร่องน้ำพบว่า ด้านบนเป็นร่องน้ำกว้างรูปตัวยูแต่ด้านล่างเป็นร่องน้ำรูปตัววี<br />

ลักษณะคล้ายแก้วไวน์ (รูปที่ 31)<br />

10) หนองหล่ม (sag pond) มีลักษณะเป็นแอ่งที่ลุ่มอยู่ระหว่างกรอบของรอยเลื่อนสองแนว<br />

ที่มีทิศทางของแรงตรงข้ามกัน แล้วเกิดแรงดึงของรอยเลื่อนทำให้มีการยุบตัวของพื้นที่บริเวณ<br />

รอยต่อของรอยเลื่อนลงเกิดเป็นหนองน้ำหรือแอ่งเกิดขึ้น (รูปที่ 32)<br />

_11-0290(001-062).indd 31<br />

3/28/11 9:45:30 PM


32<br />

11) สันแรงดัน (pressure ridge) มักพบในเขตรอยเลื่อน มีลักษณะการเกิดที่มีกระบวนการ<br />

ตรงข้ามกับการเกิดแอ่งหรือหนองน้ำ กล่าวคือมีลักษณะเป็นเนินเล็กๆ ที่ได้รับแรงอัดจากการเคลื่อนที่<br />

ของรอยเลื่อนบริเวณเขตรอยต่อของสองรอยเลื่อน หรือรอยเลื่อนแนวเดียวตรงส่วนคดโค้ง สันแรงดัน<br />

(pressure ridge) มักพบในเขตรอยเลื่อน มีลักษณะการเกิดที่มีกระบวนการตรงข้ามกับการเกิดแอ่ง<br />

หรือหนองน้ำ กล่าวคือมีลักษณะเป็นเนินเล็กๆ ที่ได้รับแรงอัดจากการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อนบริเวณ<br />

เขตรอยต่อของสองรอยเลื่อน หรือรอยเลื่อนแนวเดียวตรงส่วนคดโค้ง รูปที่ 33<br />

12) เนินเขาตีบขนาน (parallel ridge) เป็นเนินเขาไม่สูงแต่ชัน มีความยาวมากกว่าความ<br />

กว้างมากๆ ปรากฏอยู่ภายในรอยเลื่อนที่ขนานกัน 2 รอย และเกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน<br />

ในแนวราบมากกว่าและควบคู่กับแนวดิ่ง<br />

ผารอยเลื่อน<br />

ก<br />

ข<br />

รูปที่ 26 ก) ลักษณะธรณีสัณฐานผารอยเลื่อนที่เกิดจากรอยเลื่อนปรกติ (Normal fault) เส้นทึบ<br />

แสดงแนวรอยเลื่อน (จาก www.seismo.ued.edu) <br />

ข) แบบจำลองแสดงการเกิดผารอยเลื่อน (Keller และ Pinter, 1996)<br />

_11-0290(001-062).indd 32<br />

3/28/11 9:45:30 PM


33<br />

รูปที่ 27 ก) ลักษณะธรณีสัณฐานผารอยเลื่อนจากรอยเลื่อนแบบย้อนมุมต่ำ (Thrust fault) <br />

ของรอยเลื่อนในไต้หวัน <br />

ข) แบบจำลองแสดงการเกิดผารอยเลื่อนแบบย้อนมุมต่ำ (จาก www.seismo.ued.edu)<br />

ก<br />

ข<br />

รูปที่ 28 ก) ลักษณะธารหัวขาด (beheaded stream) เมื่อถูกรอยเลื่อนตัดฉีกขาดออกจากกัน <br />

โดยเส้นทึบแสดงแนวรอยเลื่อน เส้นปะแสดงทางน้ำ (จาก www.seismo.ued.edu) <br />

ข) แบบจำลองการเกิดลักษณะธรณีสัณฐานรูปแบบต่างๆ บ่งชี ้ถึงความมีพลัง (www.gsj.jp)<br />

สันกั้น<br />

ทางน้ําหัวขาด<br />

ตะพักขั้นบันได<br />

หนองหลม สันกั้น<br />

รูปที่<br />

29 รูปที่<br />

30<br />

รูปที่ 29 ลักษณะธรณีสัณฐานสันกั้นและหนองน้ำ จากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนในแนวระดับ<br />

แบบเหลื่อมซ้ายและเส้นทึบแสดงแนวรอยเลื่อน (www.encsci.nan.edu)<br />

รูปที่ 30 ลักษณะธรณีสัณฐานที่เป็นตะพักขั้นบันได (Bench) ของกลุ่มรอยเลื่อนระนอง (เส้นทึบ<br />

แสดงรอยเลื่อน) บริเวณบ้านประชาเสรี อ.สวี จ.ชุมพร (พัชรีภรณ์ หาญพงษ์, 2546)<br />

_11-0290(001-062).indd 33<br />

3/28/11 9:45:31 PM


34<br />

รูปที่ 31 ก) หุบเขารูปแก้วไวน์ที่เกิดจากรอยเลื่อนปรกติตัดผ่านร่องน้ำ ของรอยเลื่อนปัว จังหวัดน่าน <br />

ข) แบบจำลองการเกิดหุบเขารูปแก้วไวน์ (จาก Fenton และคณะ, 1997) <br />

รูปที่ 32 ก) สภาพภูมิประเทศแสดงหนองหล่มที่เกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนแม่จัน<br />

จังหวัดเชียงราย<br />

ข) แบบจำลองทิศทางแนวแรงดึงออกจากกันทำให้พื้นที่ยุบตัวลงเกิดเป็นหนองหล่ม โดย<br />

เส้นทึบแสดงแนวรอยเลื่อน (จาก Keller และ Pinter, 1996)<br />

รูปที่ 33 ก) สภาพเนินเขาหินแกรนิตถูกดันจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน San Jacinto fault ทำให้<br />

เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.8 ริกเตอร์เมื่อ ค.ศ.1968 ทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย<br />

ในสหรัฐอเมริกา (จาก Sylvester, 1986) ข) แบบจำลองทิศทางแนวแรงอัดเข้ามากระทำ<br />

ทำให้พื้นที่ถูกยกตัวสูงขึ้น (จาก Keller และ Pinter, 1996)<br />

_11-0290(001-062).indd 34<br />

3/28/11 9:45:33 PM


35<br />

กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการสำรวจรอยเลื่อนมีพลังพบว่า ประเทศไทยมีแนวรอยเลื่อนที่สำคัญ<br />

3 แนว คือ กลุ่มรอยเลื่อนทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กลุ่มรอยเลื่อนทิศตะวันตก<br />

เฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ และกลุ่มรอยเลื่อนทิศเหนือ-ใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดแผ่นดินไหวที่<br />

มีผลกระทบต่อประเทศไทย ได้แก่ รอยเลื่อนในเขตภาคตะวันตกของประเทศไทย-ภาคตะวันออก<br />

ของสหภาพพม่า ซึ่งได้แก่รอยเลื่อนสกาย และรอยเลื่อนพานหลวง รอยเลื่อนเมย รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์<br />

และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ส่วนในเขตภาคเหนือ ได้แก่ รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน รอยเลื่อนแม่จัน <br />

รอยเลื่อนแม่อิง รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนแม่น้ำยม รอยเลื่อนพะเยา รอยเลื่อน<br />

อุตรดิตถ์ และรอยเลื่อนปัว นอกจากนี้ยังมีรอยเลื่อนอีกสองแนวในเขตภาคใต้ คือรอยเลื่อนระนอง<br />

และรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย และอีกหนึ่งแนวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือรอยเลื่อนท่าแขก <br />

(รูปที่ 34) อนึ่งรอยเลื่อนแม่อิงจัดอยู่ในกลุ่มรอยเลื่อนแม่จัน และรอยเลื่อนแม่น้ำยมจัดอยู่ในกลุ่ม<br />

รอยเลื่อนเถิน<br />

<br />

ที่พาดผ่านพื้นที่ใน 22 จังหวัด ดังนี้<br />

1) กลุ่มรอยเลื่อนแม่จัน เป็นรอยเลื่อนที่มีแนวการวางตัวในทิศทางเกือบทิศตะวันตก-<br />

ตะวันออก ซึ่งค่อนข้างบิดเอียงลงทิศใต้ และขึ้นทิศเหนือเล็กน้อย มีมุมเอียงเทไปทิศเหนือ และมี<br />

ความยาวประมาณ 155 กิโลเมตร พาดผ่านตั้งแต่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่จัน อำเภอ<br />

เชียงแสน และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และต่อเนื่องไปในสาธารณรัฐประชาธิปไตย<br />

ประชาชนลาว มีแหล่งพุน้ำร้อนปรากฏขึ้นตลอดความยาวของรอยเลื่อนนี้ 3 แห่ง รอยเลื่อนนี้ตัดผ่าน<br />

หินแกรนิตยุคไทยแอสซิกเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะหรือพฤติกรรมการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนแม่จันนั้น <br />

พบว่าในปัจจุบันมีการเลื่อนตัวตามแนวระดับเหลื่อมซ้ายเป็นหลัก ตามหลักฐานของธรณีสัณฐาน<br />

ที่สำคัญที่พบ คือ ธารเหลื่อม ที่ปรากฏระยะเหลื่อมของลำห้วยสาขาของน้ำแม่จัน เป็นระยะทางมาก<br />

กว่า 600 เมตร นอกจากนี้ยังพบลักษณะของการเลื่อนตัวออกจากกันของสันเขาที่เรียกว่า <br />

สันเหลื่อม (offset ridge) ธารหัวขาด (behead stream) ผารอยเลื่อน สันกั้น และผาสามเหลี่ยม <br />

เป็นต้น ลักษณะเหล่านี้ปรากฏอย่างชัดเจนมาก ซึ่งแสดงถึงความใหม่ของธรณีสัณฐาน อันบ่งชี้ว่า<br />

เกิดขึ้นมาไม่นานตามธรณีกาล เพราะถ้าระยะเวลาผ่านไปยาวนาน การผุพังสึกกร่อนของหินกลาย<br />

เป็นดินจะปิดทับลบร่องรอยหลักฐานการเกิดแผ่นดินไหวจนหมด จากการตรวจสอบพบว่ารอยเลื่อน<br />

ได้ตัดผ่านเข้าไปในตะกอนปัจจุบัน ซึ่งประเมินการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนแม่จันได้ว่า เคยทำให้เกิด<br />

แผ่นดินไหวขนาด 7.0 ตามมาตราริกเตอร์ เมื่อ 8,100 ปี 4,000 ปี และ 1,500 ปีล่วงมาแล้ว ข้อมูล<br />

ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวจากเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวในกลุ่มรอยเลื่อนนี้พบว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530<br />

เป็นต้นมา เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.0 – 4.0 ตามมาตราริกเตอร์ จำนวน 10 ครั ้ง และมีขนาด 4.0 - 4.5 <br />

ตามมาตราริกเตอร์ จำนวน 3 ครั้ง นอกจากนี ้ยังมีแผ่นดินไหวที่มีศูนย์เกิดนอกประเทศ แต่ส่งผลกระทบ<br />

ในจังหวัดภาคเหนือตอนบน และรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนในอาคารสูงของกรุงเทพมหานคร คือเมื่อ<br />

วันที่ 16 พฤษภาคม 2550 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ตามมาตราริกเตอร์ มีศูนย์เกิดในพื้นที่ <br />

สปป.ลาว มีสาเหตุมาจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนที่อยู่ทิศใต้ของกลุ่มรอยเลื่อนน้ำมาซึ่งยาว<br />

ต่อเนื่องเข้ามาเชื่อมต่อกับกลุ่มรอยเลื่อนแม่จันในประเทศไทยส่งผลกระทบให้ผนังอาคารหลายหลัง <br />

_11-0290(001-062).indd 35<br />

3/28/11 9:45:33 PM


36<br />

รูปที่ 34 แผนที่แสดงรอยเลื่อนมีพลังของประเทศไทย (คัดลอกจาก กรมทรัพยากรธรณี, 2549)<br />

_11-0290(001-062).indd 36<br />

3/28/11 9:45:38 PM


37<br />

สรุปพื้นที่ที่มีรอยเลื่อนมีพลังพาดผ่านของประเทศไทย<br />

ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน<br />

เหนือ เชียงใหม่ 12 35 174<br />

เหนือ เชียงราย 11 25 134<br />

เหนือ แพร่ 7 22 83<br />

เหนือ แม่ฮ่องสอน 5 15 54<br />

เหนือ กำแพงเพชร 3 3 6<br />

เหนือ ตาก 7 20 127<br />

เหนือ น่าน 6 17 68<br />

เหนือ พะเยา 1 1 1<br />

เหนือ พิษณุโลก 2 3 7<br />

เหนือ ลำปาง 5 15 37<br />

เหนือ ลำพูน 3 6 56<br />

เหนือ อุตรดิตถ์ 4 11 62<br />

ใต้ กระบี่ 1 2 3<br />

ใต้ ชุมพร 4 16 56<br />

ใต้ พังงา 5 16 52<br />

ใต้ ระนอง 5 14 85<br />

ใต้ สุราษฏร์ธานี 9 24 76<br />

กลาง กาญจนบุรี 7 31 192<br />

กลาง ประจวบคีรีขันธ์ 4 18 79<br />

กลาง สุพรรณบุรี 1 1 7<br />

ตะวันออกเฉียงเหนือ นครพนม 3 8 28<br />

ตะวันออกเฉียงเหนือ หนองคาย 2 5 19<br />

รวม 22 106 308 1,406<br />

(กรมทรัพยากรธรณี, 2553)<br />

_11-0290(001-062).indd 37<br />

3/28/11 9:45:39 PM


38<br />

ในจังหวัดเชียงรายได้รับความเสียหาย และที่มีความเสียหายมากคือที่เสาอาคารเรียนโรงเรียน<br />

เม็งรายมหาราชวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย สำหรับบริเวณบ้านเวียงหนองหล่ม (เชื่อว่า<br />

เป็นเมืองโยนกนคร) ที่ตั้งอยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่<br />

ระหว่างตอนปลายของรอยเลื่อน 2 แนวดังกล่าวที่วางตัวเหลื่อมกัน พบซากอิฐโบราณของฐานเจดีย์<br />

จำนวนมาก จมอยู่ในหนองน้ำขนาดใหญ่และโผล่ขึ้นมาให้เห็นในฤดูแล้ง ซึ่งลักษณะของหนองน้ำนี้<br />

เกิดจากการยุบตัวอันเนื่องจากการเลื่อนตัวสัมพันธ์กันของสองรอยเลื่อน เมื่อหาอายุของก้อนอิฐ<br />

โบราณเหล่านี้ได้อายุประมาณ 1,000 + 100 ปี ทำให้อนุมานได้ว่ามีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้เกิดขึ้น<br />

บริเวณนี้ไม่เกินหนึ่งพันปีล่วงมาแล้ว ในปี พ.ศ. 2553 กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติม<br />

พบว่า กลุ่มรอยเลื่อนแม่จันมีความยาว 150 กิโลเมตร แบ่งได้เป็น 18 รอยเลื่อนย่อย เคยเกิด<br />

แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเมื่อประมาณ 2,000 ปี ด้วยขนาด 6.4 ตามมาตราริกเตอร์ จากรอยเลื่อน<br />

ย่อยกิ่วสะไต<br />

<br />

2) กลุ่มรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน มีแนวการวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ เริ่มตั้งแต่อำเภอเมือง<br />

แม่ฮ่องสอน ผ่านอำเภอขุนยวม อำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอแม่สะเรียง ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ต่อ<br />

เนื่องลงมาถึงบริเวณอำเภอท่าสองยาง ของจังหวัดตาก มีความยาวประมาณ 200 กิโลเมตร ในพื้นที่<br />

จังหวัดแม่ฮ่องสอนรอยเลื่อนกลุ่มนี้เป็นเส้นเขตแบ่งระหว่างหินมหายุคมีโซโซอิกและหินมหายุคพาลี<br />

โอโซอิก รวมทั้งตัดผ่านตะกอนยุคใหม่ด้วย จากการศึกษาพบว่ารอยเลื่อนแม่ฮ่องสอนมีการเลื่อนตัว<br />

ในแนวดิ่งแบบรอยเลื่อนปรกติ จากหลักฐานธรณีสัณฐานที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ซึ่งพบว่ามีลักษณะ<br />

ของตะพักรอยเลื่อน (fault bench) สองข้างลำน้ำในแอ่งแม่สะเรียงไม่น้อยกว่า 4 ระดับ อย่างชัดเจน<br />

ในบริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ยังพบธรณีสัณฐานของผา<br />

สามเหลี่ยมที่แสดงลักษณะหลายระดับคล้ายขั ้นบันได ทั ้งนี้เป็นผลจากการเลื่อนตัวหลายครั ้งของรอย<br />

เลื่อนในหลายช่วงเวลา อีกลักษณะหนึ่งที่ปรากฏเด่นชัดมากคือลักษณะทางน้ำแบบหุบเขารูปแก้วไวน์<br />

(wine glass valley) ในเขตอำเภอแม่สะเรียง ซึ่งแสดงถึงว่าพื้นที่นี้มีการยกตัวในปัจจุบัน ส่งผลให้ทาง<br />

น้ำปัจจุบันกัดเซาะลงด้านลึกเป็นหลักมากกว่าการกัดเซาะด้านข้าง ในพื้นที่ของรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน<br />

มีแผ่นดินไหวขนาดเล็กและขนาดปานกลาง เกิดขึ้นบ่อยหลายครั้ง ที่สำคัญเป็นเหตุการณ์เมื่อวันที่ 1<br />

มีนาคม 2532 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.1 ตามมาตราริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางในตอนเหนือของรอย<br />

เลื่อนในพื้นที่ของสหภาพพม่า<br />

<br />

ส่งผลกระทบในหลายจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย <br />

3) กลุ่มรอยเลื่อนแม่ทา เป็นกลุ่มรอยเลื่อนที่มีหลายส่วนรอยเลื่อนย่อยยาวต่อเนื่องกัน เมื่อ<br />

ดูภาพรวมแล้วคล้ายอักษรตัวเอส (S-shape) ซึ่งแต่ละส่วนย่อย รอยเลื่อนมีลักษณะการเลื่อนตัวที่<br />

แตกต่างกัน เริ่มจากวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ในบริเวณอำเภอพร้าว ผ่านลงมาในเขตอำเภอดอยสะเก็ด<br />

ของจังหวัดเชียงใหม่ มีการเลื่อนตัวแบบรอยเลื่อนปรกติ แล้วบิดไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ในอำเภอ<br />

สันกำแพง มีการเลื่อนตัวแนวระดับเหลื่อมขวา แล้ววกมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ขนานตามลำน้ำ<br />

แม่ทา ในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน มีการเลื่อนตัวแนวระดับเหลื่อมซ้าย มีความยาวทั ้งหมดประมาณ<br />

110 กิโลเมตร รอยเลื่อนนี้ตัดผ่านชั้นหินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนกลางถึงตอนปลาย และหินแกรนิต<br />

_11-0290(001-062).indd 38<br />

3/28/11 9:45:39 PM


39<br />

ยุคไทรแอสซิก รอยเลื่อนนี้ปรากฏมีพุน้ำร้อนหลายแห่ง เช่น พุน้ำร้อนสันกำแพง เป็นต้น โดยมีความ<br />

สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กบ่อยครั้ง ส่วนเหนือของรอยเลื่อนในเขตอำเภอพร้าว ยังคงมี<br />

แผ่นดินไหวขนาดเล็ก-ขนาดปานกลางเกิดขึ้นเป็นประจำในปัจุจบัน ลักษณะธรณีสัณฐานของ<br />

รอยเลื่อนกลุ่มนี้ คือ ผาสามเหลี่ยม ตะพักรอยเลื่อน และธารเหลื่อม ปรากฏอย่างชัดเจนตลอดแนว <br />

เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งสำคัญเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2549 มีศูนย์เกิดที่อำเภอแม่ริม <br />

จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยขนาดแผ่นดินไหว 5.1 ตามมาตราริกเตอร์ แรงสั่นสะเทือนทำให้บ้านเรือนมีผนัง<br />

ร้าวในหลายอำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ หากย้อนหลังไปในอดีตพบว่าเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2538<br />

เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.2 ตามมาตราริกเตอร์ มีศูนย์เกิดที่อำเภอพร้าว ประชาชนรู้สึกได้ทั่วจังหวัด<br />

เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา และแม่ฮ่องสอน ในปี พ.ศ. 2552 กรมทรัพยากรธรณี <br />

ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า กลุ่มรอยเลื่อนแม่ทามีความยาวประมาณ 180 กิโลเมตร และแบ่งรอย<br />

เลื่อนย่อยออกเป็น 18 รอยเลื่อนย่อย เคยเกิดแผ่นดินไหวครั ้งล่าสุดเมื่อประมาณ 3,000 ปี ด้วยขนาด<br />

<br />

6.8 ตามมาตราริกเตอร์ จากรอยเลื่อนย่อยห้วยแม่สะป๊วด<br />

4) กลุ่มรอยเลื่อนเถิน มีความยาวประมาณ 200 กิโลเมตร ประกอบด้วยส่วนรอยเลื่อนที่มี<br />

ทิศทางการวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ตัดผ่านเข้าไปในบริเวณเชิงเขาของ<br />

รอยต่อระหว่างแอ่งแพร่ และแอ่งลำปาง คือรอยเลื่อนพาดผ่านตั้งแต่อำเภอเมืองแพร่ ลงมาอำเภอ<br />

สูงเม่น อำเภอลอง และอำเภอวังชิ้น ของจังหวัดแพร่ ยาวต่อเนื่องลงมาในพื้นที่อำเภอแม่ทะ อำเภอ<br />

สบปราบ และอำเภอเถิน ของจังหวัดลำปาง กลุ่มรอยเลื่อนนี้แสดงลักษณะโครงสร้าง และธรณี<br />

สัณฐานที่แสดงถึงการเลื่อนตัวครั้งใหม่ๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดผาชันหลายแห่ง การเลื่อนตัวครั้ง<br />

ใหม่จะอยู่บริเวณขอบแอ่งตะกอนเท่านั้น จากภาพดาวเทียมเห็นการเลื่อนตัวในแนวดิ่งเด่นชัด และ<br />

แนวระดับอย่างเช่นลักษณะของธารเหลื่อม ในพื้นที่บ้านมาย อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ทางน้ำที่<br />

ตัดผ่านรอยเลื่อนบริเวณนี้ถูกตัดทำให้เลื่อนตามแนวระดับเหลื่อมซ้าย โดยมีระยะของการเลื่อนตัว<br />

ประมาณ 500 เมตร และในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาพบว่าเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ของกลุ่มรอยเลื่อนเถิน<br />

ด้วยขนาด 3.0 – 5.0 ตามมาตราริกเตอร์ จำนวนมากกว่า 20 ครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่เกิดแผ่นดิน<br />

ไหวค่อนข้างบ่อยมาก และในปี พ.ศ. 2552 กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า กลุ่ม<br />

รอยเลื่อนเถินมีความยาวประมาณ 190 กิโลเมตร และแบ่งรอยเลื่อนย่อยออกเป็น 17 รอยเลื่อนย่อย<br />

เคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเมื่อประมาณ 2,000 ปี ด้วยขนาด 6.9 ตามมาตราริกเตอร์ จาก<br />

รอยเลื่อนย่อยวังขอน ส่วนรอยเลื่อนย่อยแม่น้ำยม เคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเมื่อประมาณ <br />

6,000-5,000<br />

<br />

ปี ด้วยขนาด 6.7 ตามมาตราริกเตอร์ (กรมชลประทาน, 2549)<br />

5) กลุ่มรอยเลื่อนปัว เป็นรอยเลื่อนที่มีการวางตัวเป็นแนวยาวรายรอบด้านทิศตะวันออก<br />

ขอบแอ่งปัว ในจังหวัดน่าน เริ่มตั้งแต่บริเวณตะเข็บชายแดนของประเทศไทย-ลาว เรื่อยลงมาในพื้นที่<br />

ของอำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว และต่อเนื่องถึงอำเภอสันติสุข ของจังหวัดน่าน <br />

มีความยาวประมาณ 70 กิโลเมตร มีทิศทางการวางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีมุมเอียงเทไปทาง<br />

ทิศตะวันตก จัดเป็นรอยเลื่อนปรกติ รอยเลื่อนนี ้ประกอบด้วย 3 ส่วนรอยเลื่อนคือ ส่วนรอยเลื่อนทุ่งช้าง<br />

_11-0290(001-062).indd 39<br />

3/28/11 9:45:40 PM


40<br />

ส่วนรอยเลื่อนปัว และส่วนรอยเลื่อนสันติสุข โดยตอนเหนือบริเวณส่วนรอยเลื่อนทุ่งช้างเป็นแนวค่อน<br />

ข้างตรง ตอนกลางบริเวณส่วนรอยเลื่อนปัวจะโค้งเว้าไปทิศตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนบริเวณส่วนรอย<br />

เลื่อนสันติสุขจะมีลักษณะเป็นแนวตรง จากภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณทิศใต้ของอำเภอทุ่งช้าง พบเนิน<br />

ตะกอนน้ำพารูปพัดถูกตัดโดยรอยเลื่อนอย่างชัดเจนมาก ลักษณะธรณีสัณฐานที่ปรากฏให้เห็นเป็น <br />

ผารอยเลื่อนที่หันหน้าไปทิศตะวันตกที่ค่อยๆ ลดความสูงและความคมชัดลดลงจากพื้นที่ตอนเหนือ<br />

ไปยังตอนใต้ พร้อมทั้งมีลักษณะผาสามเหลี่ยม และหุบเขารูปแก้วไวน์ ในบางบริเวณแสดงการเลื่อน<br />

ตัวของทางน้ำแบบธารเหลื่อมซ้าย ส่วนรอยเลื่อนทุ่งช้างแสดงผารอยเลื่อน 2 ระดับ โดยมีความสูง<br />

ตั้งแต่ 6 - 10 เมตร สำหรับส่วนรอยเลื่อนสันติสุข พบว่าชั้นดินตะกอนยุคใหม่ซึ่งเกิดในชุดลำดับชั้น<br />

กรวดตะกอนน้ำพา และชั้นดินเหนียว ถูกรอยเลื่อนตัดผ่าน จากข้อมูลแผ่นดินไหวพบว่าเมื่อวันที่ 13<br />

พฤษภาคม 2478 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ตามมาตราริกเตอร์ ในบริเวณตะเข็บชายแดนของ<br />

ประเทศไทย-ลาว ซึ่งเชื่อว่าเป็นอิทธิพลของการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนปัว กิตติ ขาววิเศษ (2550) ได้<br />

ทำการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า กลุ่มรอยเลื่อนแม่ทามีความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร และแบ่งรอย<br />

เลื่อนย่อยออกเป็น 14 รอยเลื่อนย่อย น่าจะเคยเกิดการเลื่อนตัวมาแล้วอย่างน้อย 4 ครั้งคือ ครั้งแรก<br />

เมื่อประมาณ 70,000 ปีมาแล้ว ครั้งที่ 2เมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว และครั้งที่ 3 เมื่อประมาณ<br />

2,000 ปีมาแล้ว และครั้งที่ 4 ประมาณเมื่อ 180 ปีมาแล้ว การประเมินของการเกิดคาบอุบัติซ้ำของ<br />

เหตุการณ์แผ่นดินไหว<br />

<br />

พบว่าคาบอุบัติซ้ำของแผ่นดินไหวขนาด 6-7 ริกเตอร์ มีค่า 1,500 -2,000 ปี<br />

6) กลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ เป็นรอยเลื่อนที่มีแนวการวางตัวในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-<br />

ตะวันตกเฉียงใต้ และมีมุมเอียงเทไปทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 140 กิโลเมตร <br />

รอยเลื่อนนี้เริ่มปรากฏตั้งแต่อำเภอฟากท่า ยาวลงมาในพื้นที่อำเภอน้ำปาด อำเภอทองแสนขัน <br />

ของจังหวัดอุตรดิตถ์ และต่อเนื่องถึงอำเภอพิชัย ของจังหวัดพิษณุโลก มีลักษณะของกลุ่มรอยเลื่อน<br />

เป็นแนวยาวและแคบๆ โดยมีความกว้างของเขตรอยเลื่อนไม่เกิน 4 กิโลเมตร ซึ่งพาดผ่านเข้าไปใน<br />

แอ่งตะกอนที่ถูกปิดทับด้วยชั้นหนาของตะกอนน้ำพายุคปัจจุบัน รอยเลื่อนอุตรดิตถ์มีอิทธิพลต่อ<br />

สภาพภูมิประเทศของพื ้นที่นี ้ให้มีความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ได้แก่ พื ้นที่อำเภอฟากท่า มีลักษณะ<br />

เป็นผารอยเลื่อนที่เป็นแนวตรงหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พร้อมทั้งมีผาสามเหลี่ยม<br />

บริเวณบ้านฟากนา ปรากฏฐานของผารอยเลื่อนที่ชันมาก และบริเวณปากห้วยไพร เนินตะกอนน้ำพา<br />

รูปพัดถูกรอยเลื่อนตัดเลื่อนเหลื่อมกันแบบเหลื่อมซ้าย ส่วนพื้นที่บ้านปางหมิ่น อำเภอทองแสนขัน<br />

พบว่าส่วนรอยเลื่อนที่ยาวต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1.5 กิโลเมตร ปรากฏบริเวณรอยต่อของเชิงเขาที่แบ่งชั ้น<br />

ตะพักกับที่ราบลุ่มออกจากกันชัดเจน และมีความแตกต่างระดับของพื้นที่ 2 เมตร นอกจากนี้ยังพบ<br />

ว่ามีธรณีสัณฐานของธารเหลื่อมซ้ายของลำห้วยสาขาของห้วยน้ำลอกเป็นระยะทาง 2 เมตร รอย<br />

เลื่อนนี้มีลักษณะการเลื่อนตัวหลักแบบตามแนวระดับเหลื่อมซ้ายผสมผสานด้วยเลื่อนลงในแนวดิ่ง<br />

แบบปรกติ<br />

กรมชลประทาน (2552) ได้ดำเนินการศึกษาในโครงการศึกษา Dam Break ของเขื่อนแควน้อย<br />

จังหวัดพิษณุโลก โดยได้ทำการศึกษาธรณีวิทยาและแผ่นดินไหว เพื่อสำรวจหารอยเลื่อนที่มีพลังที่<br />

_11-0290(001-062).indd 40<br />

3/28/11 9:45:40 PM


41<br />

อยู่ในพื้นที่โครงการและใกล้เคียง เพื่อใช้ในการคำนวณหาค่าอัตราเร่งสูงสุด (Peak Ground<br />

Acceleration, PGA) บริเวณที่ตั้งเขื่อนแควน้อย ซึ่งค่า PGA นี้จะนำไปใช้ในการตรวจสอบความมั่นคง<br />

ของเขื่อนในกรณีเกิดแผ่นดินไหว ผลการศึกษาพบว่า รอยเลื่อนมีพลังคันโช้งบริเวณใกล้แกนเขื่อน<br />

เป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง เคยมีการเคลื่อนตัวอยู่ระหว่าง 5,900 ปี ถึง 15,600 ปี อัตราการเลื่อนตัว<br />

(slip rate) อยู่ระหว่าง 0.03-0.08 ปี โดยเกิดการเลื่อนตัวมาแล้วอย่างน้อย 4 ครั้ง คาบอุบัติซ้ำที่<br />

น้อยที่สุดประมาณ<br />

<br />

3,000 ปี<br />

7) กลุ่มรอยเลื่อนพะเยา เป็นรอยเลื่อนที่มีสองส่วนรอยเลื่อน คือส่วนเหนือและส่วนใต้<br />

ที่มีแนวการวางตัวแตกต่างกัน และแยกออกจากกันชัดเจน โดยรอยเลื่อนส่วนใต้มีการวางตัวในแนว<br />

เกือบทิศเหนือ-ใต้ ค่อนมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ที่ตัดผ่านด้านทิศตะวันตกของขอบแอ่งพะเยา<br />

บริเวณเขตรอยต่อระหว่างอำเภอพาน อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง<br />

ส่วนรอยเลื่อนนี้มีความยาวประมาณ 35 กิโลเมตร แสดงลักษณะของผารอยเลื่อนหลายแนวและต่อ<br />

เนื่องเป็นแนวตรง หันหน้าไปทิศตะวันออก บริเวณพื้นที่อำเภอเด่นชัยมีหน้าตัดสูง 200 เมตร ทางน้ำ<br />

สาขาต่างๆ ที่ตัดผ่านผารอยเลื่อนนี้ แสดงรอยกัดเซาะลงแนวดิ่งลึกมากจนถึงชั้นหิน และฐาน<br />

ผารอยเลื่อนก็แสดงความชันมากเห็นได้ชัดเจน ซึ่งแสดงว่ายังคงมีพลังไม่หยุดนิ่ง ซึ่งสอดคล้องกับ<br />

กรณีที่เกิดแผ่นดินไหวจนเกิดความเสียหายมากที่สุดที่ประเทศไทยเคยบันทึกประสบกับภัยพิบัติ<br />

แผ่นดินไหว คือเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2537 มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ในเขตอำเภอ<br />

เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย มีความรุนแรงขนาด 5.2 ตามมาตราริกเตอร์ ทำให้เกิดความเสียหาย<br />

อย่างมากกับโรงพยาบาลอำเภอพาน จนต้องทุบทิ้งสร้างใหม่ รวมทั้งวัด และโรงเรียนต่างๆ ใน<br />

อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอีกหลายครั้งตามมาในปี พ.ศ. 2538 และ <br />

พ.ศ. 2539 ในพื ้นที่จังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงราย สำหรับรอยเลื่อนส่วนเหนือ มีการวางตัวในแนว<br />

ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ที่พาดผ่านอำเภอแม่สรวย ถึงอำเภอแม่ลาว ของจังหวัด<br />

เชียงราย ในบริเวณนี้เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กถึงขนาดปานกลาง บ่อยครั้งมากในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา<br />

ในปี พ.ศ. 2553 กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า กลุ่มรอยเลื่อนพะเยามีความยาว<br />

ประมาณ 90 กิโลเมตร และแบ่งรอยเลื่อนย่อยออกเป็น 17 รอยเลื่อนย่อย เคยเกิดแผ่นดินไหวครั้ง<br />

<br />

ล่าสุดเมื่อประมาณ 4,000 ปี ด้วยขนาด 6.7 ตามมาตราริกเตอร์ จากรอยเลื่อนย่อยวังทอง<br />

8) กลุ่มรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ เป็นรอยเลื่อนที่อยู่ด้านทิศตะวันตกของประเทศไทยที่มี<br />

ความสำคัญมากต่อประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นรอยเลื่อนที่อยู่ใกล้กับรอย<br />

เลื่อนพานหลวงในเขตสหภาพพม่า ปรากฏขึ้นบริเวณตะเข็บชายแดนไทย-สหภาพพม่า บริเวณ<br />

ด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรี พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอเมือง และ<br />

สิ้นสุดบริเวณอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี โดยขนานกับลำแม่น้ำแควน้อย มีความยาว<br />

ประมาณ 170 กิโลเมตร ผ่านชั้นหินมหายุคพาลีโอโซอิกและมีโซโซอิก หลักฐานทางธรณีสัณฐาน <br />

ซึ่งแสดงการเกิดการแปรสัณฐานใหม่ เช่น ธารเหลื่อมผารอยเลื่อน ผาสามเหลี่ยม ธารหัวขาด สันกั้น<br />

และหนองหล่ม ที่บ่งชี้ว่า รอยเลื่อนนี้เลื่อนตัวตามแนวระดับเหลื่อมขวาเป็นหลัก นอกจากนี้ยังพบการ<br />

_11-0290(001-062).indd 41<br />

3/28/11 9:45:40 PM


42<br />

กระจายตัวของตำแหน่งพุน้ำร้อนตามแนวรอยเลื่อนหลายแห่ง ภูมิลักษณ์เหล่านี้แสดงถึงการเลื่อนตัว<br />

ของรอยเลื่อนมีพลัง จากการศึกษาประวัติการเลื่อนตัวในโบราณกาลพบว่า พื ้นที่บ้านแก่งแคบ ตำบล<br />

ท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ เคยเกิดแผ่นดินไหวในอดีตมาแล้วด้วยขนาด 6.4 ตามมาตราริกเตอร์<br />

เมื่อประมาณ 1,000 ปีล่วงมาแล้ว และพื้นที่บ้านทิพุเย ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ เคยเกิด<br />

แผ่นดินไหวในอดีตมาแล้วด้วยขนาด 6.4 ตามมาตราริกเตอร์ เมื่อประมาณ 2,000 ปีล่วงมาแล้ว <br />

ซึ่งอนุมานได้ว่ารอยเลื่อนเจดีย์สามองค์มีคาบอุบัติซ้ำของการเลื่อนตัว (Recurrence interval) ที่ก่อให้<br />

เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในรอบ<br />

<br />

1,000 ปี (สุวิทย์ โคสุวรรณ และคณะ, 2550)<br />

9) กลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ เป็นรอยเลื่อนที่พาดผ่านด้านทิศตะวันตกของประเทศไทย<br />

วางตัวในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ค่อนข้างขนานไปกับรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์<br />

โดยที่พาดผ่านพื ้นที่ของประเทศไทยเริ่มที่พื ้นที่ของอำเภออุ ้มผาง จังหวัดตาก พาดผ่านพื ้นที่ของอุทยาน<br />

แห่งชาติห้วยขาแข้ง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ยาวต่อเนื่องลงมาในเขต อำเภอหนองปรือ<br />

อำเภอบ่อพลอย และอำเภอศรีสวัสดิ์ ของจังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอด่านช้าง ของจังหวัดสุพรรณบุรี<br />

และพาดผ่านขนานมากับลำแม่น้ำแควใหญ่ ถึงอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี มีความยาวประมาณ<br />

200 กิโลเมตร รอยเลื่อนนี้ตัดผ่านชั้นหินตั้งแต่มหายุคพาลีโอโซอิกถึงมหายุคมีโซโซอิก ลักษณะธรณี<br />

สัณฐานที่แสดงถึงการแปรสัณฐานใหม่ เช่น ธารเหลื่อม ผาสามเหลี่ยม ธารหัวขาด และหุบเขาเส้น<br />

ตรงจากการศึกษาประวัติการเลื่อนตัวในโบราณกาลพบว่าพื้นที่บ้านทุ่งมะกอก ตำบลองค์พระ<br />

อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี พบชั้นตะกอนแสดงลักษณะการเลื่อนตัวขาดออกจากกันปรากฏ<br />

ในหลุมเปิด ซึ่งประมาณได้ว่ารอยเลื่อนศรีสวัสดิ์นี้เคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวในอดีตมาแล้วด้วย<br />

ขนาด 7.0 ตามมาตราริกเตอร์ เมื่อประมาณ 7,000 ปีล่วงมาแล้ว (สุวิทย์ โคสุวรรณ และคณะ, 2550)<br />

นอกจากนี้เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 ได้เกิดแผ่นดินไหวมีศูนย์เกิดอยู่บริเวณขอบอ่างเก็บน้ำเขื่อน<br />

ศรีนครินทร์ ซึ่งปรากฏตามแนวรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ด้วยขนาด 5.9 ตามมาตราริกเตอร์ และมี<br />

แผ่นดินไหวตาม (Aftershock) เกิดขึ้นอีกมากกว่าร้อยครั้ง <br />

10) กลุ่มรอยเลื่อนเมย รอยเลื่อนนี้มีความสัมพันธ์กับรอยเลื่อนพานหลวงในเขตสหภาพพม่า<br />

โดยเริ่มบริเวณลำน้ำเมย ที่บ้านท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ในแนวทิศตะวันตกเฉียง<br />

เหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ พาดผ่านอำเภอเมือง จังหวัดตาก และสิ้นสุดในพื้นที่อำเภอวังเจ้า จังหวัด<br />

กำแพงเพชร มีความยาวประมาณ 230 กิโลเมตร โดยตัดผ่านหมวดหินมากมายตั้งแต่มหายุค<br />

พรีแคมเบรียนจนถึงยุคมีโซโซอิก มีประวัติการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนบริเวณบ้านท่าสองยาง โดยพบ<br />

ว่ามีธรณีสัณฐานที่สำคัญคือ ธารเหลื่อม สันกั้น หุบเขาเส้นตรง และผารอยเลื่อน ลำห้วยที่พบด้าน<br />

ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านท่าสองยาง ถูกตัดให้หักเหลื่อมจากกันเป็นระยะทาง 500 เมตร และ<br />

บ่งบอกว่าเป็นรอยเลื่อนตามแนวระดับเหลื่อมขวา มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่สำคัญ<br />

อีกครั้งหนึ่งในประเทศไทย คือเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2518 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.6 ตาม<br />

มาตราริกเตอร์ ประชาชนรู้สึกได้หลายหลายจังหวัดในภาคเหนือ รวมทั้งรู้สึกได้ถึงกรุงเทพมหานคร<br />

ในปี พ.ศ. 2550 กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า กลุ่มรอยเลื่อนเมย เคยเกิด<br />

_11-0290(001-062).indd 42<br />

3/28/11 9:45:41 PM


43<br />

แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเมื่อประมาณ 4,000 ปี ด้วยขนาด 6.7 ตามมาตราริกเตอร์ จากรอยเลื่อนย่อย<br />

เขาแม่สอง <br />

<br />

11) กลุ่มรอยเลื่อนระนอง เป็นรอยเลื่อนที่วางตัวตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตก<br />

เฉียงใต้ ประกอบด้วยรอยเลื่อนหลายส่วน เริ่มตั้งแต่ในทะเลอันดามันถึงบริเวณอำเภอเมือง จังหวัด<br />

ระนอง พาดผ่านพื้นที่อำเภอท่าแซะ ของจังหวัดชุมพร และต่อเนื่องไปในพื้นที่อำเภอบางสะพาน<br />

อำเภอทับสะแก อำเภอเมือง และอำเภอกุยบุรี ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และลงอ่าวไทย<br />

บริเวณทิศตะวันออกของอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความยาวเฉพาะส่วนที่<br />

ปรากฏบนแผ่นดินประมาณ 270 กิโลเมตร หินต่างๆ ที่ถูกรอยเลื่อนนี้ตัดผ่านคือ หินตะกอนของ<br />

หมวดหินแก่งกระจานในยุคคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน เป็นส่วนใหญ่ และรองลงมาเป็นหินแกรนิต<br />

ยุคครีเทเชียส ร่วมทั้งตะกอนยุคใหม่ มีลักษณะธรณีสัณฐานที่สำคัญคือ ธารเหลื่อม และผาสาม<br />

เหลื่อม ซึ่งบ่งชี้ว่ารอยเลื่อนระนองมีการเลื่อนตัวตามแนวระดับเหลื่อมซ้าย เหตุการณ์แผ่นดินไหว<br />

ที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับกลุ่มรอยเลื่อนนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2549 ซึ่งมีแผ่นดินไหวขนาด<br />

3.7 - 5.0 ตามมาตราริกเตอร์ จำนวน 5 ครั้ง และในวันที่ 8 ตุลาคม 2549 มีขนาด 4.5 - 5.5 ตาม<br />

มาตราริกเตอร์ จำนวน 2 ครั ้ง ทั ้งสองเหตุการณ์นี้มีศูนย์เกิดในอ่าวไทยด้านทิศตะวันออกของอำเภอ<br />

สามร้อยสามยอด ประชาชนรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือนของพื้นดิน ได้แก่ อำเภอหัวหิน อำเภอสามร้อย<br />

ยอด อำเภอกุยบุรี อำเภอปราณบุรี อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์<br />

และอำเภอชะอำ อำเภอท่ายาง ของจังหวัดเพชรบุรี ในปี พ.ศ. 2551 กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการ<br />

ศึกษาเพิ่มเติมพบว่า กลุ่มรอยเลื่อนระนอง มีการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนย่อยบางสะพาน เมื่อ<br />

ประมาณ 2,000–2,300 ปีล่วงมาแล้ว ด้วยขนาด 7.0 ตามมาตราริกเตอร์ มีอัตราการเลื่อนตัว<br />

ประมาณ 0.27 มิลลิเมตร/ปี <br />

<br />

12) กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย เป็นกลุ่มรอยเลื่อนตามแนวระดับที่วางตัวขนานกับกลุ่มรอย<br />

เลื่อนระนองแบบเหลื่อมซ้ายเช่นเดียวกัน ปรากฏในทะเลอันดามัน บริเวณทิศตะวันออกของจังหวัด<br />

ภูเก็ต และเกาะยาว ในบริเวณอ่าวพังงา รอยเลื่อนยาวต่อเนื่องขึ้นบกบริเวณลำคลองมะรุ่ย อำเภอ<br />

ทับปุด จังหวัดพังงา พาดผ่านต่อเนื่องไปในพื้นที่อำเภอพนม อำเภอคีรีรัฐนิคม อำเภอวิภาวดี และ<br />

อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความยาวเฉพาะส่วนบนแผ่นดินประมาณ 150 กิโลเมตร ซึ่งใน<br />

เขตอำเภอไชยานี้ปรากฏว่ามีแหล่งพุน้ำร้อนหลายแห่งไหลขึ้นมาตามแนวรอยเลื่อนนี้ เป็นรอยเลื่อน<br />

ที่แยกหมวดหินแก่งกระจาน ยุคคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน ออกจากหินยุคเพอร์เมียน และมหา<br />

ยุคมีโซโซอิกเป็นแนวยาวอย่างชัดเจน หลักฐานทางธรณีสัณฐานที่พบ ได้แก่ ธารเหลื่อม ผารอยเลื่อน<br />

ผาสามเหลี่ยม และสันกั้น เป็นต้น จากการศึกษาประวัติการเลื่อนตัวในโบราณกาลพบว่า พื้นที่บ้าน<br />

บางลึก ตำบลพลูเถื่อน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบลักษณะธรณีสัณฐานที่สัมพันธ์กับแนว<br />

รอยเลื่อนคือ ผาสามเหลี่ยม 2 ผา วางตัวในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ – ตะวันตกเฉียงใต้ หันหน้า<br />

ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และลำน้ำสาขาของคลองแหกที่แสดงการหักเลื่อนเป็นระยะทาง <br />

_11-0290(001-062).indd 43<br />

3/28/11 9:45:41 PM


44<br />

95 เมตร ในแนวระดับแบบเหลื่อมซ้าย นอกจากนี้ในร่องสำรวจพบชั้นตะกอนกรวด ชั้นทราย และดิน<br />

เหนียวถูกรอยเลื่อนจำนวน 3 แนว ตัดเลื่อนออกจากกันในแนวดิ่งแบบย้อน ประเมินได้ว่ารอยเลื่อน<br />

ส่วนนี้เคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวในอดีตด้วยขนาด 7.0 ตามมาตราริกเตอร์ เมื่อประมาณ 2,000 ปีล่วง<br />

มาแล้ว (กรมทรัพยากรธรณี, 2551) นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2542 พบว่าได้การเกิดแผ่นดินไหวขนาด<br />

3.1 ตามมาตราริกเตอร์ มีศูนย์เกิดในทะเลด้านทิศตะวันออกของเกาะภูเก็ต<br />

<br />

13) กลุ่มรอยเลื่อนท่าแขก กลุ่มรอยเลื่อนนี้มีแนวการวางตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออก<br />

เฉียงใต้ พาดผ่านขอบที่ราบสูงโคราช ตั้งแต่อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม หรือตรงกันข้ามกับแขวง<br />

ท่าแขก ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผ่านขึ้นมาที่อำเภอท่าอุเทน อำเภอศรีสงคราม<br />

ของจังหวัดนครพนม เรื่อยมาถึงอำเภอบุ่งคล้า ของจังหวัดหนองคาย และต่อเนื่องเข้าไปในดินแดน<br />

ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอีกครั้งหนึ่ง รวมความยาวเฉพาะในส่วนของประเทศไทย<br />

ประมาณ 140 กิโลเมตร รอยเลื่อนนี้ตัดผ่านชั้นหินกลุ่มหินโคราชของมหายุคมีโซโซอิก ลักษณะการ<br />

วางตัวขนานกับกลุ่มรอยเลื่อนแม่น้ำแดง (Red River Fault Zone) ในประเทศเวียดนาม และมีการ<br />

เลื่อนตัวตามแนวระดับเหลื่อมขวา <br />

<br />

10. เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยและภูมิภาคใกล้เคียง<br />

ประเทศไทยมีประวัติการเกิดแผ่นดินไหวมาแต่ในอดีต พงศาวดารโยนกกล่าวว่า อาณาจักร<br />

โยนกซึ่งเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ได้เกิดแผ่นดินไหวหลายครั้ง <br />

ครั้งที่รุนแรงที่สุดทำให้อาณาจักรถึงกับล่มสลาย อาณาจักรโยนกนี้ตั้งอยู่บริเวณละติจูด 20.25<br />

องศาเหนือ และลองจิจูด 100.08 องศาตะวันออก อยู่ในเขตอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ใน<br />

ปัจจุบัน โดยพงศาวดารโยนกได้บันทึกการเกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์<br />

เดือน 7 แรม 7 ค่ำ พ.ศ. 1003 เวลากลางคืนว่า<br />

<br />

“...สุริยอาทิตย์ก็ตกไปแล้ว ก็ได้ยินเสียง เหมือนตั้งแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหวประดุจว่าเวียงโยนก<br />

นครหลวงที่นี้จักเกลื่อนจักพังไปนั้นแล แล้วก็หายไปครั้งหนึ่ง ครั้นถึงมัชฌิมยามก็ดังซ้ำเข้ามาเป็น<br />

คำรบสอง แล้วก็หายนั้นแล ถึงปัจฉิมยามก็ซ้ำดังมาอีกเป็นคำรบสาม หนที่สามนี้ดังยิ่งกว่าทุกครั้ง<br />

ทุกคราวที่ได้ยินมาแล้ว กาลนั้นเวียงโยนกนครหลวงที่นั้นก็ยุบจมลง เกิดเป็นหนองอันใหญ่ ยามนั้น<br />

คนทั้งหลายอันมีในเวียงที่นั้น มีพระมหากษัตริย์เป็นประธาน ก็วินาศฉิบหายตกไปในน้ำที่นั้นสิ้น...” <br />

<br />

ปัจจุบันบริเวณที่ตั้งอาณาจักรโยนกได้กลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ในอำเภอเชียงแสน จังหวัด<br />

เชียงราย ที่ชาวบ้านท้องถิ่นเรียกว่า “หนองลุ่ม”<br />

<br />

ในศิลาจารึกของอาณาจักรสุโขทัยได้บันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้ 2 ครั้ง พงศาวดารของ<br />

กรุงศรีอยุธยาได้มีการบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้ 7 ครั้ง และพงศาวดารของเชียงใหม่ได้บันทึก<br />

เหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้ 4 ครั้ง แผ่นดินไหวครั้งสำคัญที่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเมือง<br />

_11-0290(001-062).indd 44<br />

3/28/11 9:45:41 PM


45<br />

เชียงใหม่ พ.ศ. 2088 ในรัชสมัยพระนางมหาเทวีจิริประภา กษัตริย์องค์ที่ 16 แห่งราชวงศ์เม็งราย<br />

เกิดแผ่นดินไหวทำให้ส่วนยอดของเจดีย์ที่วัดเจดีย์หลวงหักโค่นลงมา ซึ่งเจดีย์องค์นั้นแต่เดิมสูงถึง <br />

86 เมตร หลังจากส่วนยอดได้หักโค่นลงมา จึงเหลือความสูงเพียง 60 เมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้<br />

ไม่ทราบว่ามีศูนย์กลางอยู่ที่ใด (รูปที่ 35)<br />

<br />

จากการศึกษาข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับตำแหน่งจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว และความรุนแรง<br />

ของแผ่นดินไหวที่ได้ข้อมูลจากเครื่องมือวัดแผ่นดินไหว รวบรวมโดยปริญญา นุตาลัย และคณะ <br />

(Nutalaya et al., 1985) ตั ้งแต่ พ.ศ. 1989 ถึง พ.ศ. 2526 กรมอุตุนิยมวิทยา (2547) ตั ้งแต่ พ.ศ. 1926<br />

ถึง พ.ศ. 2546 และกรมทรัพยากรธรณี ได้รวบรวมข้อมูลต่อตั้งแต่ พ.ศ. 2546 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.<br />

2553 ระหว่างเส้นรุ้งที่ 5-20 องศาตะวันออก และเส้นแวงที่ 95-106 องศาเหนือ สามารถตรวจวัด<br />

ได้ประมาณ 573 ครั้ง (รูปที่ 36) สามารถตรวจพบ แผ่นดินไหวขนาด 0-3.0 ตามมาตราริกเตอร์<br />

จำนวน 228 ครั้ง แผ่นดินไหวขนาด 3.01-5.0 ตามมาตราริกเตอร์ จำนวน 296 ครั้ง แผ่นดินไหว<br />

ขนาด 5.01-6.0 ตามมาตราริกเตอร์ จำนวน 43 ครั้ง แผ่นดินไหวขนาด 6.01-7.0 ริกเตอร์ จำนวน 5<br />

ครั้ง สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มากกว่า 7 ริกเตอร์ จำนวน 1 ครั้ง คือเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2473<br />

แผ่นดินไหวขนาด 7.3 ศูนย์กลางแผ่นดินไหวในพม่า แผ่นดินไหวครั้งนี้รู้สึกได้ที่กรุงเทพมหานครด้วย <br />

รูปที่ 35 เกิดแผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. 2088 ทำให้ส่วนยอดของเจดีย์ที่วัดเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่<br />

หักโค่นลงมา แต่เดิมองค์เจดีย์สูงถึง 86 เมตร หลังจากส่วนยอดได้หักโค่นลงมาจึงเหลือ<br />

ความสูงเพียง 60 เมตร (กรมทรัพยากรธรณี, 2549)<br />

_11-0290(001-062).indd 45<br />

3/28/11 9:45:42 PM


46<br />

รูปที่ 36 จุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง<br />

_11-0290(001-062).indd 46<br />

3/28/11 9:45:49 PM


11. บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย<br />

แผ่นดินไหวเป็นเหตุการณ์ธรรมชาติที่ไม่อาจพยากรณ์ได้ อันตรายสำคัญจากแผ่นดินไหวได้แก่<br />

อาคารพังทลายทับผู้ที่อยู่อาศัย และสัญจรไปมา มาตรการป้องกันอันตรายที่ใช้อยู่ทั่วไป ได้แก่ การ<br />

กำหนดพื้นที่ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว จัดแบ่งพื้นที่ออกตามระดับความเสี่ยง และกำหนดมาตรฐาน<br />

การออกแบบก่อสร้างอาคารในแต่ละพื้นที่ ให้มีความต้านทานแผ่นดินไหวที่เหมาะสม<br />

<br />

กรมทรัพยากรธรณีได้จัดทำแผนที่บริเวณความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2<br />

พ.ศ. 2548 ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลของแนวรอยเลื่อนมีพลัง ลักษณะธรณีวิทยา ความถี่และขนาด<br />

แผ่นดินไหวที่เกิดในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้วิศวกรใช้ในการออกแบบก่อสร้าง<br />

อาคารที่ต้องคำนึงถึงค่าความปลอดภัยให้เพียงพอ (รูปที่ 37)<br />

<br />

สำหรับกรุงเทพมหานครเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่นกว่า 8 ล้านคน <br />

มีอาคารสูงเป็นจำนวนมาก ในช่วงเวลา 2 ศตวรรษที่ผ่านมา มีการบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่<br />

สามารถรู้สึกได้มากกว่า 20 ครั้ง ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจทำให้ตระหนกตกใจ แต่ก็ยังไม่เคยสร้างความ<br />

เสียหาย เมื่อพิจารณาด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในเขตที่มีความเสี่ยงต่อภัย<br />

แผ่นดินไหวระดับต่ำ สำหรับรอยเลื่อนมีพลังที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างออกไป 120 - 300 กิโลเมตร ซึ่งเป็น<br />

รอยเลื่อนที่มีรอบของการกำเนิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ประมาณ 1,000 ปี ส่วนรอยเลื่อนที่มีการ<br />

เคลื่อนไหวในรอบประมาณ 100 ปี อยู่ห่างออกไป 400 – 1,000 กิโลเมตร <br />

<br />

ในปัจจุบันได้มีงานวิจัยในประเทศไทยที่นำข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหวที่มีอยู่ทั้งในประเทศไทย<br />

และประเทศใกล้เคียง มาประมวลและวิเคราะห์ สร้างเป็นแผนที่ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของ<br />

ประเทศไทย โดยจัดพื้นที่ตามระดับอัตราเร่งสูงสุดของแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้น โดยหลักเกณฑ์ที่ใช้<br />

จะใกล้เคียงกับกฎหมายควบคุมอาคาร (Uniform Building Code หรือ UBC) ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา<br />

การจัดพื้นที่ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 ระดับจากระดับ 0 ถึงระดับ 4 โดยระดับ 0 หมายถึง พื้นที่<br />

ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว และระดับ 4 เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด กล่าวคือมีแผ่นดินไหวขนาด<br />

ใหญ่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง (รูปที่ 38)<br />

<br />

ในการออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหว โดยทั่วไปจะยอมให้อาคารมีการโยกไหวจนตัวอาคาร<br />

แตกร้าวเสียหายได้ แต่จะต้องไม่พังทลายลงมา การออกแบบโครงสร้างอาคารให้ต้านทานการสั่น<br />

สะเทือน จากแผ่นดินไหวเป็นเรื่องยาก เพราะจะต้องคำนึงถึงพฤติกรรมทางพลศาสตร์ในสภาวะที่มี<br />

การเปลี่ยนรูปร่างเกินพิกัดยืดหยุ่น (Elastic Limit) หลักการออกแบบตามมาตรฐานที่ใช้อยู่ทั่วไปจึง<br />

ปรับให้ง่ายขึ้น โดยกำหนดให้ออกแบบให้โครงสร้างสามารถรับแรงในแนวราบได้ในระดับที่กำหนด<br />

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ออกแบบต้องพิจารณารูปร่างสัดส่วน โครงสร้างให้มีความสมมาตร สามารถโยก<br />

ไหวได้โดยไม่บิดตัว นอกจากนี้ จะต้องคำนึง ถึงการจัดรายละเอียด เช่น การเสริมเหล็กให้โครงสร้าง<br />

สามารถดูดซับพลังงานได้ดี <br />

47<br />

_11-0290(001-062).indd 47<br />

3/28/11 9:45:49 PM


48<br />

แผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผนดินไหวของประเทศไทย<br />

(ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๘)<br />

รูปที่ 37 แสดงแผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผนดินไหวของประเทศไทย (กรมทรัพยากรธรณี, 2548)<br />

_11-0290(001-062).indd 48<br />

3/28/11 9:45:56 PM


49<br />

รูปที่ 38 แผนที่แสดงระดับความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวและโซนเสี่ยงภัยตามเกณฑ์ของ UBC ตัวเลข<br />

คืออัตราส่วนระหว่างอัตราเร่งสูงสุดในแนบราบของแผ่นดินไหวต่ออัตราเร่งของสนาม<br />

โน้มถ่วงโลก โดยที่โอกาสเกิดแผ่นดินไหวในรอบ 50 ปี มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว 10% <br />

(เป็นหนึ่ง วานิชชัย, 2537)<br />

_11-0290(001-062).indd 49<br />

3/28/11 9:45:56 PM


50<br />

การเกิดแผ่นดินไหว นอกจากจะทำให้อาคารโยกไหวแล้ว แผ่นดินไหวอาจทำให้พื้นดินมีสภาพ<br />

คล้ายของเหลวและสูญเสียกำลังรับน้ำหนักโดยสิ้นเชิง สภาพการณ์เช่นนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดิน<br />

ไหวในบริเวณที่มีสภาพดินเป็นชั้นทรายที่อิ่มตัวด้วยน้ำใต้ดิน การที่ดินมีสภาพคล้ายของเหลวเกิดจาก<br />

การที่พื้นดินได้รับแรงกระแทกจากแรงไหวสะเทือนของแผ่นดินไหว ภายใต้แรงกระทำดังกล่าว <br />

แรงดันน้ำระหว่างมวลดินจะสูงกว่าแรงดันระหว่างมวลดิน ซึ่งทำให้ดินสูญเสียกำลังเฉือน ในสภาพ<br />

เช่นนี้ อาจเกิดสภาวะทรายดูด หรือดินไหลในแนวราบเช่นเดียวกับของเหลวสิ่งก่อสร้างอาจจมหรือ<br />

ทรุดตัวลง <br />

<br />

จากการศึกษาถึงความเสียหายของโครงสร้างที่เกิดจากการเกิดแผ่นดินไหว พบว่า มีโครงสร้าง<br />

จำนวนมากเสียหายจากการที่พื้นดินกลายสภาพคล้ายของเหลวขณะเกิดแผ่นดินไหว ตัวอย่างเช่น <br />

แผ่นดินไหวที่ประเทศชิลีในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2503 แผ่นดินไหวที่ประเทศเม็กซิโกในวันที่ 26<br />

สิงหาคม พ.ศ. 2502 และแผ่นดินไหวที่มลรัฐอะแลสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. 2507 <br />

<br />

มาตรการสำคัญในการสร้างความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่ใน<br />

เขตพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว คือการกำหนดให้วิศวกรออกแบบอาคารต่างๆ ให้สามารถต้านทานแรง<br />

สั่นสะเทือนแผ่นดินไหวได้ การกำหนดดังกล่าวคือการออกกฎหมายบังคับใช้ในการออกแบบและ<br />

ก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงภัย จากความพยายามของหลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยงข้องทำให้มีกฎกระทรวง<br />

มหาดไทย ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522<br />

ออกมาบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2540 ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาพบว่าประเทศไทยได้รับผลกระทบและมี<br />

ความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวกว่าที่ได้ทำการศึกษามาในอดีต โดยเฉพาะเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่<br />

26 ธันวาคม 2547 ทำให้นักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ให้ความสำคัญกับกฎกระทรวงมหาดไทย<br />

ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) เป็นอย่างมาก จึงได้เสนอให้มีการแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวให้มีความ<br />

เหมาะสมในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น<br />

<br />

โดยการแก้ไขกฎกระทรวงในครั้งนี้ สืบเนื่องจากผลการศึกษาพบว่าพื้นที่กรุงเทพมหานครและ<br />

ปริมณฑลเป็นชั้นดินอ่อน ซึ่งส่งผลให้เกิดการขยายแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ทำให้อาคารใน<br />

บริเวณดังกล่าวมีความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวระยะไกล ประกอบกับพื้นที่ภาคใต้บางส่วนของประเทศ<br />

ไทยตั้งอยู่บนรอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ซึ่งมีการสั่นสะเทือนอยู่บ่อยครั้งทำให้อาคาร<br />

ในบริเวณดังกล่าวมีความเสี่ยงจากภัยแผ่นดินไหว ประกอบกับหลักเกณฑ์การรับน้ำหนัก ความ<br />

ต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของ<br />

แผ่นดินไหว ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติ<br />

ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ไม่ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าว และไม่<br />

สามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวได้ตามมาตรฐานสากล ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัย<br />

จึงมีการขยายพื้นที่การควบคุมอาคาร รวมทั้งปรับปรุงหลักเกณฑ์การรับน้ำหนัก ความต้านทาน<br />

ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว <br />

ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น<br />

_11-0290(001-062).indd 50<br />

3/28/11 9:45:56 PM


51<br />

กฎกระทรวงมหาดไทย (กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและ<br />

พื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550, ภาคผนวก)<br />

สามารถสรุปได้ดังนี้<br />

(1) การเพิ่มเติมพื้นที่ควบคุมและจัดแบ่งเขตพื้นที่ใหม่ คือ<br />

“บริเวณเฝ้าระวัง” หมายถึง พื้นที่หรือบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่<br />

จังหวัดกระบี่ จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง จังหวัดสงขลา และจังหวัด<br />

สุราษฎร์ธานี รวม 7 จังหวัด<br />

“บริเวณที่ 1” หมายถึง พื้นที่หรือบริเวณที่เป็นดินอ่อนมากที่อาจได้รับผลกระทบจาก<br />

แผ่นดินไหวระยะไกล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ<br />

และจังหวัดสมุทรสาคร รวม 5 จังหวัด <br />

“บริเวณที่ 2” หมายถึง พื้นที่หรือบริเวณที่อยู่ใกล้รอยเลื่อนที่อาจได้รับผลกระทบจาก<br />

แผ่นดินไหว ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดน่าน<br />

จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน รวม 10 จังหวัด<br />

(2) การจัดกลุ่มประเภทอาคารควบคุมให้มีความชัดเจนมากขึ้น <br />

- กำหนดประเภทอาคารควบคุมตามบริเวณ เนื่องจากผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่มี<br />

ต่ออาคารประเภทต่างๆ ในแต่ละเขตมีความแตกต่างกัน<br />

- สะพาน ทางยกระดับที่มีช่วงระหว่างศูนย์กลางตอม่อยาวตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป <br />

- เขื่อนเก็บกักน้ำ เขื่อนทดน้ำ หรือฝายทดน้ำ ที่ตัวเขื่อนหรือตัวฝายมีความสูงตั้งแต่<br />

10 เมตรขึ้นไป<br />

ทั้งนี้ กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้เล็งเห็นว่าหากมีมาตรฐานการออกแบบที่ถูกต้องจะเป็น<br />

ประโยชน์แก่วิศวกรผู้ออกแบบ จึงได้จัดทำมาตรฐานเพื่อเพิ่มเติมรายละเอียดการคำนวณออกแบบ<br />

ในกฎกระทรวงให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น<br />

ตัวอย่างคลื่นแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 (คัดลอกจาก http://www.dnr.state.oh.us/<br />

Portats/10/ohioseis/earthquakes/sumatra/tsunami.gif)<br />

_11-0290(001-062).indd 51<br />

3/28/11 9:45:57 PM


52<br />

12. การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับแผ่นดินไหว<br />

นอกจากการป้องกันการพังทลายของอาคารแล้ว มาตรการเตรียมพร้อมและการเตรียมรับ<br />

สถานการณ์ฉุกเฉินหลังเกิดเหตุ ก็มีส่วนช่วยบรรเทาความเสียหายได้บ้าง สำหรับคำแนะนำการ<br />

ป้องกันอันตรายจากแผ่นดินไหว<br />

การเตรียมพร้อม <br />

1) ควรมีไฟฉาย ถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และแจ้งให้ทุกคน ทราบว่า<br />

เก็บไว้ที่ไหน <br />

2) ควรศึกษาการปฐมพยาบาลขั้นต้น เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน <br />

3) ควรทราบตำแหน่งวาล์วปิดถังแก๊ส ปิดน้ำ และตำแหน่งสะพานไฟฟ้าสำหรับตัดกระแส<br />

ไฟฟ้า และทุกคนในบ้านควรจะ ทราบวิธีการปิดวาล์วถังแก๊ส และยกสะพานไฟฟ้า <br />

4) อย่าวางของหนักไว้บนชั้นหรือหิ้งสูงๆ เพราะเมื่อมีการสั่นไหว สิ่งของอาจตกลงมาเป็น<br />

อันตรายต่อคนในบ้าน <br />

5) ผูกเครื่องใช้ให้แน่นกับพื้น และยึดเครื่องประดับบ้านหนักๆ เช่น ตู้ถ้วยชาม ไว้กับผนัง <br />

6) ควรวางแผนการในกรณีที่ทุกคนอาจต้องพลัดพรากจากกัน ว่าจะกลับมารวมกันที่ไหน<br />

อย่างไร <br />

เมื่อเกิดแผ่นดินไหว <br />

1) อยู่อย่างสงบ ควบคุมสติ อย่าตื่นตกใจ ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ให้<br />

อยู่นอกบ้าน ส่วนใหญ่คนที่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้า - ออกจากบ้าน <br />

2) ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้ยืนอยู่ในส่วนของ บ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง และควรอยู่ห่างจากหน้าต่าง<br />

และประตูที่จะออกข้างนอก <br />

3) ถ้าอยู่ในที่โล่ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าหรือสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ที่อาจตกลงมา <br />

4) อย่าใช้เทียนไข ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่ใน บริเวณนั้น <br />

5) ถ้ากำลังอยู่ในรถยนต์ ให้หยุดรถ และอยู่ในรถต่อไปจนกว่าการสั่นสะเทือนจะ หยุดลง <br />

6) ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว <br />

7) หากอยู่ใกล้ชายทะเล ให้อยู่ห่างจาก ฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง <br />

เมื่ออาการสั่นไหวสงบลง <br />

1) ควรตรวจดูตัวเองและคนใกล้เคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ถ้ามีการบาดเจ็บ ให้ทำการ<br />

ปฐมพยาบาลก่อน หากว่าบาดเจ็บมาก ให้นำส่งสถานพยาบาลต่อไป <br />

2) ควรรีบออกจากตึกที่เสียหาย เพื่อความปลอดภัยจากอาคารถล่มทับ <br />

3) ควรตรวจท่อน้ำ แก๊ส และสายไฟฟ้า หากพบส่วนที่เสียหาย ปิดวาล์วน้ำหรือถังแก๊ส และ<br />

ยกสะพานไฟฟ้า <br />

4) ตรวจแก๊สรั่วโดยการดมกลิ่น ถ้าได้ กลิ่นแก๊ส ให้เปิดหน้าต่างและประตูทุกบาน รีบออก<br />

จากบ้าน และแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง <br />

5) เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ถ้าไม่จำเป็น เพราะอาจจะใช้ส่งข่าว <br />

_11-0290(001-062).indd 52<br />

3/28/11 9:45:57 PM


53<br />

6) อย่ากดน้ำล้างโถส้วมจนกว่าจะตรวจสอบว่า มีสิ่งตกค้างอยู่ในท่อระบายหรือไม่ <br />

7) สวมรองเท้าหุ้มส้น เพื่อป้องกันเศษแก้วและสิ่งปรักหักพังทิ่มแทง <br />

เตรียมรับมือแผ่นดินไหว<br />

13. แผ่นดินไหว ภัยที่ไม่อาจพยากรณ์<br />

ในสมัยโบราณ หลายประเทศในโลก มีตำนานที่ใช้อธิบายถึงปรากฏการณ์แผ่นดินไหว นิยาย<br />

ปรัมปราของชาวฮินดูบอกว่า มีช้างแปดเชือกหนุนผืนแผ่นดินอยู่ เมื่อมันสะบัดหัว ก็จะทำให้เกิด<br />

แผ่นดินไหวขึ้น ชาวมองโกเลียเชื่อว่ามีกบยักษ์นอนหลับหนุนโลก หากมันตื่นขึ้น และขยับตัวเมื่อไร <br />

ก็จะเกิดแผ่นดินไหวเมื่อนั้น ไทยเรามีปลาอานนท์ ส่วนญี่ปุ่นก็มีปลาดุกยักษ์นามาสุ ที่ถูกเทพเจ้า<br />

สั่งให้ทำหน้าที่หนุนผืนแผ่นดินไว้ ปัจจุบันเรามีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ที่สามารถอธิบาย<br />

ปรากฏการณ์นี้ได้ชัดเจน โดยไม่ต้องอาศัยเพียงจินตนาการเช่นคนยุคก่อน เรารู้สาเหตุของการเกิด<br />

แผ่นดินไหว รู้ถึงระดับแรงสั่นสะเทือนของมัน รวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ อีกมาก แต่ถึง<br />

กระนั้นเราก็ยังไม่อาจหาคำตอบที่สำคัญที่สุด เกี่ยวกับแผ่นดินไหว<br />

_11-0290(001-062).indd 53<br />

3/28/11 9:45:59 PM


54<br />

ญี่ปุ่นเองเป็นประเทศหนึ่งที่ถูกคุกคามทั้งจากแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และคลื่นสึนามิ เนื่อง<br />

จากทำเลที่ตั้งนอกจากจะเป็นเกาะแล้ว ยังตั้งอยู่บนสี่แยกอันตราย สี่แยกที่ว่านี้ก็คือรอยต่อของ<br />

เปลือกโลกสี่แผ่น อันได้แก่ แผ่นยูเรเชีย แผ่นฟิลิปปินส์ แผ่นอเมริกาเหนือ และแผ่นแปซิฟิก รอยต่อ<br />

ระหว่างแผ่นเป็นลักษณะมุดตัวซ้อนกัน โดยแผ่นมหาสมุทรที่มีความหนาแน่นมากกว่า มุดเข้าไปใต้<br />

แผ่นทวีป ทำให้พื้นที่ประเทศญี่ปุ่นมีพร้อมทั้งแนวภูเขาไฟที่มีพลัง และรอยเลื่อนมีพลังหลายแห่ง<br />

จากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก อันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผ่นดินไหว<br />

ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับแผ่นดินไหว และได้ลงทุนศึกษา<br />

ค้นคว้าวิจัย เรื่องแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง โดยหวังว่าความรู้ที่ได้จะช่วยทำนาย และเตือนภัยแผ่น<br />

ดินไหวล่วงหน้าได้ แต่จนถึงในปัจจุบันก็ยังไม่สำเร็จ ทั้งนี้เพราะถึงแม้การเกิดแผ่นดินไหวทุกครั้ง <br />

จะมีจุดศูนย์กลางของการเกิด ซึ่งเรียกว่า “จุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว” และมีรอบของการเกิดแผ่นดิน<br />

ไหวที่เรียกว่า “คาบอุบัติซ้ำ” ที่น่าจะทำให้สามารถพยากรณ์ การเกิดแผ่นดินไหวล่วงหน้าได้ <br />

แต่เนื่องจากรอยเลื่อนตัวหนึ่ง จะพบจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ตลอดแนว<br />

รอยเลื่อน ทั้งยังเกิดในเวลาที่ต่างกัน การพยากรณ์โดยยึดจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว และคาบอุบัติซ้ำ<br />

จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ โดยทั่วไปแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ซึ่งมีรอบการเกิดสั้นจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งทั่วโลก <br />

ขณะที่การเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งรอบการเกิดยาวนานกว่า (อาจนับเป็นร้อยหรือพันๆ ปี) <br />

จะเกิดขึ้นนานๆ ครั้ง ทว่าแต่ละครั้งก็จะก่อความเสียหายอย่างรุนแรง<br />

อย่างไรก็ตาม ความพยายามของมนุษย์ก็ไม่จบสิ้นลงง่ายๆ ปัจจุบันยังมีการศึกษาวิจัยใน<br />

แนวทางอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การวัดค่าความเครียดความเค้นของเปลือกโลก วัดก๊าซเรดอน วัดการ<br />

เปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กโลก รวมถึงการบันทึกประวัติการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนต่างๆ <br />

ตามความยาวทั้งหมด และแผ่นดินไหวที่เกิดต่อเนื่อง แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่ประสบความสำเร็จนัก<br />

ด้วยเหตุนี้การศึกษาแผ่นดินไหว จึงมุ่งไปสู่การวางแผนรับมือ เมื่อเกิดอุบัติภัยมากกว่าการ<br />

พยากรณ์ล่วงหน้า ที่ญี่ปุ่นมีการออกแบบอาคารสำนักงาน ที่ลดแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวลงได้<br />

ถึงร้อยละ 65 ตัวอาคารจะมีการถ่ายน้ำหนัก จากระบบไฮโดรริก โดยปรับตำแหน่ง และควบคุมการ<br />

ถ่ายน้ำหนักด้วยคอมพิวเตอร์ ในลักษณะที่คล้ายกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อของคน ที่ยืนโหนอยู่<br />

บนรถเมล์ ส่วนที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ก็มีการออกแบบสร้างอาคารโรงพยาบาล ที่ลด<br />

แรงสั่นสะเทือน มีการวางระบบท่อไฟฟ้า และท่อแก๊สที่ยืดหยุ่น เพื่อให้โรงพยาบาลยังคงเหลือรอด<br />

อยู่ เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว<br />

นอกจากนี้ยังมีการค้นคิดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่จะช่วยประเมินความเสียหายจากแผ่นดิน<br />

ไหวที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องคอย การรายงานผลสำรวจความเสียหาย<br />

ตามขั้นตอนอย่างเป็นทางการ และสามารถดำเนินการช่วยเหลือ ผู้ได้รับความเดือดร้อนได้อย่าง<br />

ทันท่วงที ยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า EPEDAT (Early Post Earthquake Damage <br />

Assessment Tool) โปรแกรมจะคำนวณความเสียหายตามขนาดแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น โดย<br />

จะประเมินและแสดงตำแหน่งอาคาร ที่อาจจะถล่มลงมา รวมทั้งจุดที่อาจจะมีผู้บาดเจ็บจาก<br />

อาคารถล่ม<br />

_11-0290(001-062).indd 54<br />

3/28/11 9:45:59 PM


55<br />

ช่วงเวลา 24 ชั่วโมงหลังเกิดแผ่นดินไหว เป็นชั่วโมงเร่งด่วนที่จะช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เพราะผู้<br />

เคราะห์ร้ายจะมีโอกาสรอดชีวิตสูง การกู้ภัยสากลของอังกฤษ ได้ทดลองนำอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี<br />

สูงมาใช้ในการกู้ภัย เช่น นำกล้องไฟเบอร์ออปติกขนาดเล็ก ที่ใช้ในทางการแพทย์หย่อนลงไป <br />

ตามซอกของอาคาร เพื่อส่องหาผู้รอดชีวิต หรือใช้เครื่องวัดเสียงอัลตราโซนิก ที่ช่วยให้ได้ยิน <br />

แม้กระทั่งเสียงที่เบาที่สุดอย่างเสียงเคาะเบาๆ ในระยะห่างไปหลายเมตร เสียงเหล่านี้สำคัญมาก<br />

เพราะในการช่วยเหลือ มักได้ยินเสียงก่อนจะมองเห็นตัว อุปกรณ์ดังกล่าวนี้ได้นำไปใช้กู้ภัยที่เมือง<br />

โกเบ ประเทศญี่ปุ่นมาแล้ว<br />

สำหรับประเทศไทยเอง ได้มีโหรราศาสตร์ ผู้รู้ต่างๆ พากันทำนายว่าจะเกิดแผ่นดินไหวขนาด<br />

ใหญ่ ช่วงปลายปี พ.ศ. 2553 ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิซัดเข้าฝั่งดังเช่นเหตุการณ์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม<br />

2547 ผลสุดท้ายแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวก็ไม่ได้เกิดขึ้น แต่กลับส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยว<br />

ของ 6 จังหวัดฝั่งทะเลอันดามันเป็นอย่างมาก เมื่อกลับมาศึกษาข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่<br />

ที่เคยเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะพบว่าพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่<br />

และก่อเกิดให้เกิดคลื่นสึนามิได้นั้นประกอบด้วยพื้นที่ 4 พื้นที่ คือ 1) พื้นที่เกาะนิโคบาร์ 2) พื้นที่<br />

เกาะสุมาตราตอนกลาง 3) พื้นที่เกาะสุมาตราตอนใต้ และ 4)พื้นที่ตอนใต้ของประเทศเวียดนาม <br />

รูปที่ 39 พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />

_11-0290(001-062).indd 55<br />

3/28/11 9:46:00 PM


56<br />

กรมทรัพยากรธรณี ได้ดำเนินการจัดทำแบบจำลองการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิด<br />

คลื่นสึนามิในพื้นที่ 1 และพื้นที่ 4 พบว่า บริเวณพื้นที่ 1 หากเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ริกเตอร์<br />

คลื่นสึนามิจะพัดเข้าฝั่งประเทศไทย พื้นที่แรกที่เกาะเมี่ยง จังหวัดพังงา ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 20 นาที<br />

ที่จังหวัดภูเก็ตใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง <br />

รูปที่ 40 แบบจำลองการเกิดสึนามิ กรณีเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ริกเตอร์ บริเวณพื้นที่ 1<br />

_11-0290(001-062).indd 56<br />

3/28/11 9:46:01 PM


57<br />

สำหรับพื้นที่ที่ 4 นั้น หากเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.5 ริกเตอร์ คลื่นสึนามิจะพัดเข้าฝั่ง<br />

ประเทศไทย บริเวณจังหวัดปัตตานี ใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง และคลื่นจะเข้าฝั่งบริเวณ<br />

กรุงเทพมหานคร ใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่<br />

ก่อให้เกิดคลื่นสึนามินั้น สามารถแจ้งเตือนภัยได้ล่วงหน้า ขอให้ประชาชนรับฟังข่าวสารจากประกาศ<br />

ของทางราชการให้ดี อย่างได้ตื่นตระหนกกับกระแสข่าวลือต่างๆ สามารถสอบถามรายละเอียด<br />

ระบบเตือนภัยได้ที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (http://www.ndwc.go.th/)<br />

รูปที่ 41 แบบจำลองการเกิดสึนามิ กรณีเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.5 ริกเตอร์ บริเวณพื้นที่ 4<br />

_11-0290(001-062).indd 57<br />

3/28/11 9:46:02 PM


58<br />

14. บทสรุป<br />

แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจาก<br />

การปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลก เพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้<br />

คงที่ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายเวลา สถานที่ และความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่<br />

จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการเกิดของแผ่นดินไหว<br />

ที่แท้จริง เพื่อเป็นแนวทางในการลดความเสียหายที่เกิดขึ้น <br />

สำหรับประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการสำรวจรอยเลื่อนมีพลังซึ่งเป็นบริเวณที่เกี่ยว<br />

ข้องกับแผ่นดินไหวพบว่า ประเทศไทยมีแนวรอยเลื่อนมีพลังจำนวน 13 รอยเลื่อนด้วยกัน ประกอบด้วย<br />

รอยเลื่อนเมย รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน รอยเลื่อนแม่จัน<br />

(และรอยเลื่อนแม่อิง) รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนเถิน(และรอยเลื่อนแม่น้ำยม) รอยเลื่อนพะเยา <br />

รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ รอยเลื่อนปัว รอยเลื่อนระนอง รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย และรอยเลื่อนท่าแขก โดย<br />

รอยเลื่อนมีพลังดังกล่าวพาดผ่านพื้นที่ 22 จังหวัดด้วยกัน กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการสำรวจ<br />

ธรณีวิทยาแผ่นดินไหวในเบื้องต้นแล้วบางส่วน พบว่าแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นในอดีตน้อยกว่า 7.0 <br />

จัดเป็นแผ่นดินไหวค่อนข้างใหญ่ (Strong) แต่อย่างไรก็ตาม กรมทรัพยากรธรณี ยังมีความจำเป็น<br />

ต้องทำการศึกษาให้ครบทุกส่วนของรอยเลื่อนและนำเสนอสู่ประชาชนเพื่อให้ทราบว่า บริเวณใดบ้าง<br />

ในพื้นที่ 22 จังหวัด ที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวรุนแรงมากน้อยอย่างไร เพื่อสร้างความ<br />

เชื่อมั่นและเตรียมความพร้อมในการบรรเทาภัยแผ่นดินไหวแก่ประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จะนำ<br />

ไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการออกแบบอาคาร การวางผังเมืองและสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ ให้<br />

สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวได้อย่างปลอดภัย ตามกฎกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดการรับ<br />

น้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่น<br />

สะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550 ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ของกรม<br />

โยธาธิการและผังเมือง นอกจากนี ้ ยังเป็นข้อมูลสำหรับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ<br />

และสิ่งแวดล้อม กรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน การไฟฟ้า<br />

ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการ<br />

ศึกษาต่างๆ บริษัทเอกชนและประชาชนผู้สนใจ ในการจัดทำแผนการบรรเทาภัยแผ่นดินไหว <br />

<br />

_11-0290(001-062).indd 58<br />

3/28/11 9:46:03 PM


15. เอกสารอ้างอิง<br />

กฎกระทรวงมหาดไทย (กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและ<br />

พื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550)<br />

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550<br />

กรมทรัพยากรธรณี, 2548, แผนที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย<br />

กรมทรัพยากรธรณี, 2549, แผ่นดินไหว 13 ธันวาคม 2549 ขนาด 5.1 ริกเตอร์, 20 หน้า<br />

กรมทรัพยากรธรณี, 2550, การศึกษาคาบอุบัติซ้ำในพื้นที่ที่แสดงร่องรอยการเคลื่อนตัวของรอย<br />

เลื่อนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร ตาก (รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอนและรอยเลื่อนเมย) <br />

รายงานฉบับสมบูรณ์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรธรณี <br />

กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, 228 หน้า<br />

กรมทรัพยากรธรณี, 2551, การศึกษาคาบอุบัติซ้ำในพื้นที่ที่แสดงร่องรอยการเคลื่อนตัวของรอย<br />

เลื่อนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา และภูเก็ต (รอยเลื่อน<br />

ระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย) รายงานฉบับสมบูรณ์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ<br />

สิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรธรณี กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, 248 หน้า<br />

กรมทรัพยากรธรณี, 2552, การศึกษาคาบอุบัติซ้ำในพื้นที่ที่แสดงร่องรอยการเคลื่อนตัวของ<br />

รอยเลื่อนในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแพร่ (รอยเลื่อนแม่ทา และรอยเลื่อนเถิน) <br />

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรธรณี กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, <br />

322 หน้า<br />

กรมทรัพยากรธรณี, 2553, การศึกษาคาบอุบัติซ้ำในพื้นที่ที่แสดงร่องรอยการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน<br />

มีพลังใน จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และพะเยา(กลุ่มรอยเลื่อนแม่จันและกลุ่มรอยเลื่อนพะเยา)<br />

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรธรณี กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, <br />

392 หน้า<br />

กรมชลประทาน, 2549, งานขุดและศึกษารอยเลื่อนแม่น้ำยม บริเวณเขื่อนแก่งเสือเต้น อำเภอสอง <br />

จังหวัดแพร่, รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์, กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, <br />

174 หน้า<br />

กรมชลประทาน, 2552, โครงการศึกษา Dam Break เขื่อนแควน้อย จังหวัดพิษณุโลก, รายงานสรุป<br />

สำหรับผู้บริหาร, กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์<br />

กรมอุตุนิยมวิทยา, 2547, การสร้างฐานข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ด้วยเครือข่ายสถานีวัด<br />

แผ่นดินไหว, รายงานฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)<br />

ปรีชา สายทองและ สุวิทย์ โคสุวรรณ, 2551, แผ่นดินไหวกับประเทศไทย, รายงานวิชาการ ฉบับ<br />

ที่ กธส. 4/2550, กรมทรัพยากรธรณี กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, 60 หน้า<br />

พัชรีภรณ์ หาญพงษ์, 2546, ลักษณะธรณีสัณฐานวิทยาของกลุ่มรอยเลื่อนระนอง, มหาวิทยาลัย<br />

ขอนแก่น, รายงานโครงการพิเศษ ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี<br />

59<br />

_11-0290(001-062).indd 59<br />

3/28/11 9:46:03 PM


60<br />

เป็นหนึ่ง วานิชชัย และ อาเด ลิซานโตโน (2537), การวิเคราะห์ความเสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวสำหรับ <br />

ประเทศไทย, วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2537, วิศวกรรมสถาน<br />

แห่งประเทศไทยฯ, หน้า 30-52<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั้งที่ 13/2551 (30 มีนาคม <br />

2551), ราชบัณฑิตยสถาน, เขื่อนอุบลรัตน์ ขอนแก่น.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั้งที่ 12/2551 (25 มีนาคม <br />

2551), ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั ้งที่ 11/2551 (18 มีนาคม 2551), <br />

ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั ้งที่ 10/2551 (11 มีนาคม 2551), <br />

ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั ้งที่ 9/2551 (11 มีนาคม 2551), <br />

ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั้งที่ 8/2551 (26 กุมภาพันธ์ <br />

2551), ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั้งที่ 7/2551 (19 กุมภาพันธ์<br />

2551), ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั้งที่ 6/2551 (12 กุมภาพันธ์<br />

2551), ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ครั้งที่ 5/2551 (5 กุมภาพันธ์<br />

2551), ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร.<br />

ราชบัณฑิตยสถาน, 2544, พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร:<br />

ราชบัณฑิตยสถาน, 384 หน้า.<br />

สุวิทย์ โคสุวรรณ, ปรีชา สายทอง, วีระชาติ วิเวกวิน และเอกชัย แก้วมาตย์, 2550, แผ่นดินไหว<br />

โบราณของกลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี, รายงานวิชาการ ฉบับ<br />

ที่ กธส. 4/2550, กรมทรัพยากรธรณี กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, 80 หน้า<br />

Abbott, P. L. 2004. Natural Disasters. 4 th ed. New York: The McGraw-Hall, 460pp.<br />

Khaowiset, K., 2007, Neotectonic along Tha Pua Fault in Changwat Nan, Northtern Thailand: <br />

Evidence from Remote Sensing and Thermoluminescence Dating, Master’s Thesis. <br />

Department of Geology, Faculty of Science, Chulalongkorn University: 244pp.<br />

Nutalaya, P., Sodsri, S., and Arnold, E.P., 1985, Series on Seismology Volume II Thailand: <br />

Southeast Asia Association of Seismology and Earthquake Engineering, 403 p.<br />

_11-0290(001-062).indd 60<br />

3/28/11 9:46:03 PM


61<br />

Fenton, C. H. Charusiri, P. Hinthong, C. Lumjuan, A. and Mangkonkarn, B. 1997. Late <br />

Quaternary faulting in northern Thailand. In: Proceedings of the International Conference <br />

on Stratigraphy and Tectonic Evolution of Southeast Asia and the South Pacific, Bangkok, <br />

Department of Mineral Resources, August: 436-452.<br />

Tapponnier, P. Peltzer, G. Armijo, R. Le Dain, A. and Coobbold, P. 1982. Propagating Extrusion <br />

Tectonics in Asia: New insights from simple experiments with plasticine. Geology, <br />

v. 10: 611-616.<br />

http://www.ac.wwu.edu/~debari /406/lec1.html<br />

http://www.calstatela.edu/faculty/acolvil/quakes/epi_location.jpg<br />

http://www.clastatela.edu/geology/ehlab/tectonics/seafloor.htm<br />

http://www.calstatela.edu/faculty/acolvil/quakes/seisgram.jpg<br />

http://www.dept.kent.edu/geology/ehlab/tectonics/tectonics.htm<br />

http://www.dmr.go.th<br />

http://www.geology.usgs.org<br />

http://www.geo.mtu.edu/UPSeis/swave_web.jpg<br />

http://www.indiana.edu/~geol116/week8/wk8.htm<br />

http://www.lamit.ro/images/earthquake-l-r-waves-passage.jpg<br />

http://www.lspace.org/ftp/images/misc/seismograph.jpg<br />

http://www.physicalgeography.net<br />

http://www.pubs.usgs.gov/gip/dynamic/dynamic.html<br />

http://www.sci.tsu.ac.th/py371/images/stories/3-12.gif<br />

http://www.tapapa.govt.nz <br />

http://www.topex.ucsd.edu/es10/lectures/lecture06/plates.gif<br />

_11-0290(001-062).indd 61<br />

3/28/11 9:46:03 PM


62<br />

แผนที่แสดงตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-2553 ขนาดตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไป<br />

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ<br />

ถนนราชวิถี<br />

ซอยโยธี<br />

ถนนพญาไท สี่แยก พญาไท<br />

สี่แยก ตึกชัย ถนนพระราม 6 สี่แยกศรีอยุธยา<br />

โรงพยาบาล<br />

รามาธิบดี<br />

องค์การเภสัชกรรม<br />

โรงพยาบาลราชวิถี<br />

โรงพยาบาลเด็ก<br />

มหาวิทยาลัย<br />

มหิดล<br />

กระทรวง กรมทรัพยากรธรณี<br />

อุตสาหกรรม<br />

โรงพยาบาล<br />

สงฆ์<br />

ทธ.<br />

กระทรวงการ<br />

ต่างประเทศ<br />

ถนนศรีอยุธยา<br />

กรมทางหลวง<br />

สน.พญาไท<br />

โรงเรียน<br />

อำนวยศิลป์<br />

โทรศัพท์ 0 2621 9801 โทรสาร 0 2621 9795<br />

www.dmr.go.th<br />

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม<br />

_11-0290(001-062).indd 62<br />

3/28/11 9:46:07 PM

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!