13.07.2015 Views

Press Release

Press Release

Press Release

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

สนช. ผนึกกําลัง วช. และ GTZ ผลักแผนที่นําทางระยะ 5 ปยกระดับอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทยสูเวทีโลก<strong>Press</strong> <strong>Release</strong>เลขที่ 73/1 ถ. พระรามที่ 6 แขวงทุงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท 02-644 6000 โทรสาร 02-644 8443 - 4 เว็บไซต: www.nia.or.thสํานักงานนวัตกรรมแหงชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี ยกรางแผนที่นําทางแหงชาติเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกยอยสลายไดทางชีวภาพตามนโยบายปรับโครงสรางเศรษฐกิจในกลุมอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต (New Wave Industries) โดยในระยะแรกไดรวมมือกับหนวยงานทั้งภายในประเทศและตางประเทศ เชน วช. และ GTZ ในการผลักดันและสนับสนุนใหเกิดการดําเนินงานภายใตแผนที่นําทางดังกลาวไดอยางรวดเร็วและมีประสิทธิภาพกรุงเทพฯ 23 มกราคม 2550: สํานักงานนวัตกรรมแหงชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีรวมกับ สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแหงชาติ (วช.) และองคการความรวมมือทางวิชาการแหงสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี (German Technical Cooperation; GTZ) ยกรางการจัดทําแผนที่นําทางแหงชาติระยะ 5 ป ในการพัฒนาอุตสาหกรรมยอยสลายไดทางชีวภาพ เพื่อประกาศแนวทางดําเนินงานเชิงรุกภายใตความรวมมือระหวางภาครัฐและเอกชนอยางเขมแข็งที่จะผลักดันใหประเทศไทยครองความเปนผูนําทางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพในภูมิภาคนายศุภชัย หลอโลหการ ผูอํานวยการ สนช. กลาววา “ตลอด 2 ปที่ผานมา สนช. ไดมุงเนนในการพัฒนานวัตกรรมเชิงยุทธศาสตรในสาขาธุรกิจชีวภาพ โดยเฉพาะอยางยิ่งในการพัฒนาโครงการนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพหรือ BIOPLASTICS ซึ่งมีเปาหมายในการนําเทคโนโลยีชีวภาพระดับสูงมาใชในการผลิตพลาสติกชีวภาพจากวัตถุดิบทางธรรมชาติของประเทศ อาทิ มันสําปะหลังหรือออย ทั้งนี้คณะอนุกรรมการปรับโครงสรางเศรษฐกิจของประเทศ และที่ประชุมคณะทํางานสํานักปลัดกระทรวงวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี ไดมอบหมายใหสํานักงานนวัตกรรมแหงชาติ เปนเจาภาพหลักในการจัดทําแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ตามนโยบายปรับโครงสรางเศรษฐกิจในกลุมอุตสาหกรรมเพื่ออนาคตโดยแผนดังกลาวจะเสนอตอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติงบประมาณสนับสนุนการดําเนินงานตามแผนที่นําทางดังกลาวในระยะเวลา 5 ป (2550 – 2554) เปนวงเงินรวมทั้งสิ้น 2,000 ลานบาท เพื่อใชเปนยุทธศาสตรระดับชาติในการเรงสรางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ซึ่งนอกจากจะเปนการสรางมูลคาเพิ่มใหกับวัตถุดิบดานการเกษตรและอุตสาหกรรมพลาสติกไดอยางกาวกระโดดแลวยังเปนเครื่องมือที่สําคัญในการแกปญหาสิ่งแวดลอมของประเทศ”ดร. ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี กลาววา “หากรัฐบาลสามารถกําหนดนโยบายและมาตรการในการสนับสนุนใหเกิดความรวมมือระหวางหนวยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการดําเนินตามแผนที่นําทางนี้ในระยะ 5 ป ผลที่คาดวาจะเกิดขึ้นประกอบดวย 3 ประเด็นหลัก คือ1) เชิงเทคโนโลยี ซึ่งไดแกการมีเทคโนโลยีการผลิตพลาสติกยอยสลายไดทางชีวภาพของประเทศและเกิดทรัพยสินทางปญญาของประเทศ โดยอาจมีมูลคาทางเศรษฐกิจสูงถึง 500 ลานบาท 2) เชิงธุรกิจ


อุตสาหกรรม ไดแก การเกิดธุรกิจอุตสาหกรรม โดยมีมูลคาการลงทุนถึง 3,000 ลานบาท และทําใหเกิดผลิตภัณฑยอยสลายไดทางชีวภาพที่มีมูลคาผลิตภัณฑสูงถึง 1,500 ลานบาท และ 3) เชิงสิ่งแวดลอม ซึ่งเนนถึงการตระหนักถึงการใชพลาสติกยอยสลายไดทางชีวภาพเพื่ออนุรักษสิ่งแวดลอม เกิดคานิยมในการใชผลิตภัณฑ และ ลดปญหาขยะพลาสติก หรือปญหาที่เกิดจากมลพิษในการเผาขยะที่ยอยสลายไมไดสูงถึง500 ลานบาท“การพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพนับเปนมิติใหมของการใชกลยุทธการบริหารจัดการนวัตกรรมมากําหนดแนวทางการสรางอุตสาหกรรมแหงอนาคตที่สําคัญของประเทศ ซึ่งนอกจากจะเปนธุรกิจนวัตกรรมซึ่งสรางโอกาสใหมทางเศรษฐกิจใหกับประเทศไทยในตลาดโลกแลว ยังเปนอุตสาหกรรมที่เปนมิตรตอสิ่งแวดลอมเปนอยางยิ่งทั้งนี้ กลยุทธการดําเนินงาน 4 ดานหลักในแผนที่นําทางแหงชาติเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกยอยสลายไดทางชีวภาพ ประกอบดวย1. การสรางความพรอมดานวัตถุดิบมันสําปะหลัง2. การเรงรัดสรางเทคโนโลยีของประเทศจากการวิจัยและพัฒนาแบบมุงเปา3. การสนับสนุนใหเกิดการลงทุนของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพตั้งแตระดับตนน้ําและปลายน้ํา4. การสรางโครงสรางพื้นฐานดานกฎหมาย ดานสิ่งแวดลอม มาตรการดานภาษี รวมทั้งมาตรฐานผลิตภัณฑและการทดสอบพลาสติกชีวภาพเปนนวัตกรรมดานวัสดุใหมของโลกที่ผลิตขึ้นไดโดยใชวัตถุดิบจากพืช เชน แปงมันสําปะหลัง แปงขาวโพด หรือน้ําตาล มาเปลี่ยนใหเปนเม็ดพลาสติกชีวภาพดวยเทคโนโลยีชีวภาพระดับสูง และสามารถขึ้นรูปเปนผลิตภัณฑพลาสติกนานาชนิด เชน บรรจุภัณฑ ภาชนะ ชิ้นสวนอุปกรณไฟฟาและอิเล็กทรอนิกส และชิ้นสวนรถยนต เปนตน โดยมีคุณสมบัติเดนที่สําคัญ คือ เปนพลาสติกที่ผลิตขึ้นจากวัตถุดิบธรรมชาติที่สรางขึ้นใหมได (Renewable resources) และสามารถยอยสลายไดเองตามธรรมชาติ (biodegradable) ดังนั้น พลาสติกชีวภาพจึงนับวาเปนนวัตกรรมสําคัญที่สามารถปฏิวัติอุตสาหกรรมเกษตรใหเปนอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพซึ่งใชผลิตภัณฑทดแทนพลาสติกปจจุบัน ซึ่งยอยสลายยากและกอใหเกิดปญหาขยะลนโลกปจจุบัน ปริมาณการใชและแนวโนมการเติบโตของตลาดพลาสติกชีวภาพของโลกอยูในระดับสูงมาก โดยมีอัตราการเจริญเติบโตดานการตลาดในระยะ 1-2 ป ที่ผานมาอยางรวดเร็วประมาณรอยละ 50 โดยมีปริมาณความตองการของตลาดโลกสูงถึง 500,000 ตันตอป สนช. ไดประเมินและวิเคราะหจุดแข็งและศักยภาพของประเทศไทย ในดานความพรอมของการผลิตมันสําปะหลังไดปละ 20 ลานตัน เพื่อนําไปผลิตเปนแปงมันสําปะหลังคุณภาพดี สําหรับใชเปนวัตถุดิบที่มีความเหมาะสมตอการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพระดับตนน้ําในราคาที่สามารถแขงขันไดในตลาดโลก


จุดแข็งที่สําคัญอีกดานหนึ่งของประเทศไทย คือ มีอุตสาหกรรมพลาสติกปลายน้ําที่แข็งแกรงเปนอันดับ 1ในเอเชียและอันดับ 8 ในโลก นั่นคือ ศักยภาพดานเครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิต ทําใหสามารถรองรับการใชวัตถุดิบเม็ดพลาสติกชีวภาพในระดับตนน้ําในประเทศไดอยางครบวงจร หากการดําเนินโครงการพลาสติกชีวภาพประสบผลสําเร็จ จะสงผลใหประเทศไทยสามารถแขงขันในตลาดโลกไดอยางครบวงจรซึ่งยังมีชองวางและโอกาสดานการตลาดอีกมากนอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีความพรอมดานนักวิทยาศาสตรและนักวิจัยในประเทศไมต่ํากวา 200 คนที่มีศักยภาพในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลาสติกชีวภาพตั้งแตระดับตนน้ําถึงปลายน้ํา ซึ่งจะทําใหประเทศไทยมีโอกาสกาวทันเทคโนโลยีของตางประเทศ ตลอดจนมีศักยภาพสูงในการดูดซับหรือรับการถายทอดเทคโนโลยีที่สามารถนํามาใชในเชิงพาณิชยไดทันทียอนกลับไปในป 2545 สนช. ไดใหการสนับสนุน ใหเกิดการรวมกลุมอุตสาหกรรมจัดตั้งเปนชมรมพลาสติกชีวภาพไทย (Thai BioPlastic Society, TBS) โดยไดรวมมือกันแสวงหาและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนํามาใชในการลงทุนผลิตพลาสติกชีวภาพได รวมทั้งการจัดทํารางมาตรฐานผลิตภัณฑพลาสติกชีวภาพที่ยอยสลายไดพรอมทั้งเปนแหลงรวบรวมและแลกเปลี่ยนขอมูลระหวางนักวิชาการและนักอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพใหเกิดขึ้นไดอยางรวดเร็วจากการดําเนินงานดังกลาวอยางตอเนื่องทําให สนช. ไดรับความไววางใจจากรัฐบาลในการจัดทําแผนที่นําทางดานพลาสติกชีวภาพขึ้น โดยในระยะแรกของการดําเนินงาน สนช. ไดรวมกับ วช. จัดทําโครงการสานเกลียววิจัยคูนวัตกรรม (Research and Innovation Helix Programme) เพื่อเรงรัดในการสรรหาและใหการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาที่มีความจําเปนตอการนําไปใชในการผลิตผลิตภัณฑพลาสติกชีวภาพในภาคอุตสาหกรรมอยางเรงดวน นอกจากนี้ สนช. ไดพัฒนาความรวมมือกับ GTZ ซึ่งไดใหการสนับสนุนดานวิชาการและการพัฒนาธุรกิจภายใตแผนงานเสริมสรางขีดความสามารถในการแขงขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม##########สอบถามขอมูลเพิ่มเติมติดตอสํานักงานนวัตกรรมแหงชาติคุณ อาศยา ศิริเอาทารย โทรศัพท 0- 2644- 6000 ตอ 123 อีเมล: asaya@nia.or.thบริษัท เอพีพีอาร มีเดีย จํากัดพัชราวดี สุทธิกูล โทรศัพท 0 – 2655- 6633 / 081-817- 7094 อีเมล: patchawawadee@apprmedia.comบุษกร ศรีสงเคราะห โทรศัพท o – 2655- 6633 / 081-911- 0931 อีเมล: busakorn@apprmedia.com

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!