06.06.2015 Views

การสอบสวนการระบาดของพิษจากสารไนไตรทภายหลั

การสอบสวนการระบาดของพิษจากสารไนไตรทภายหลั

การสอบสวนการระบาดของพิษจากสารไนไตรทภายหลั

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

การสอบสวนการระบาดของพิษจากสารไนไตรท ภายหลังรับประทานไสกรอก<br />

(Outbreak investigation of nitrite toxicity after eating sausage)<br />

พิมพาพร เชื้อบางแกว<br />

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา<br />

ความนํา<br />

ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2550 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไดรับแจง<br />

จากโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาวา มีผูปวยเปนเด็กหญิง อายุ 3 ขวบ มาโรงพยาบาลดวย<br />

อาการตัวออนปวกเปยก ซีดเขียวทั่วทั้งตัว ไมเวนแมกระทั่งริมฝปาก ซึ่งเปนอาการแสดงของภาวะ<br />

Central cyanosis และบงบอกวาเด็กหญิงรายนี้มีภาวะขาดออกซิเจนอยางรุนแรง แพทยผูใหการ<br />

รักษาจึงรีบใหออกซิเจน พรอมกับเปดหลอดเลือดดํา และจากการซักประวัติญาติบอกวาเด็กมี<br />

อาการหลังรับประทานไสกรอก ประมาณ ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง แพทยจึงไดปรึกษาศูนยพิษวิทยา<br />

คณะแพทยศาสตร โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยไดรับคําตอบภาวะนี้มีชื่อเรียก<br />

ทางการแพทยวา “Methemoglobinemia”<br />

เนื้อเรื่อง<br />

ระหวางวันที่ 3 - 11 พฤษภาคม 2550 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา<br />

ไดรับรายงานผูปวยเด็ก 4 ราย เขารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ดวยภาวะ<br />

Methemoglobinemia ผูปวยทุกรายมาโรงพยาบาลดวยอาการหนาซีด ปลายมือปลายเทาและริม<br />

ฝปากเขียว มีประวัติการรับประทานไสกรอกกอนเริ่มเกิดอาการ แพทยสงสัยภาวะพิษจากไนไตรท<br />

สํานักระบาดวิทยา จึงรวมกับสํานักงานปองกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพมหานคร สํานักงาน<br />

สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสํานักอนามัยกรุงเทพมหานคร ดําเนินการสอบสวนโรค<br />

ระหวางวันที่ 13 – 14 พฤษภาคม 2550 โดยมีวัตถุประสงค เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาด<br />

หาสาเหตุของการเกิดโรค และกําหนดมาตรการปองกันควบคุมโรค<br />

รูปแบบการศึกษาเปนการศึกษาเชิงพรรณนา โดยการสัมภาษณผูปวยและผูปกครองถึง<br />

ลักษณะอาการทางคลินิก เวลาที่เริ่มมีอาการ อาหารที่รับประทานกอนเกิดอาการ และผูรวม<br />

รับประทาน ติดตามที่มาของไสกรอกที่สงสัยเปนสาเหตุของการระบาด โดยสัมภาษณผูขายไส<br />

กรอกทั้งรถเข็นและแผงลอย รวมไปถึงตัวแทนจําหนายและโรงงานผลิต เก็บตัวอยางอาหารตอง


สงสัยสงตรวจทางหองปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาระดับของสารไนไตรท ทบทวนเวชระเบียนของ<br />

ผูปวยทั้ง 4 ราย เพื่อสรุปอาการทางคลินิก การดําเนินโรคและผลการตรวจทางหองปฏิบัติการ<br />

คนหาผูปวยเพิ่มเติม โดยประสานงานไปยังโรงพยาบาลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทุกแหง ให<br />

รายงานผูปวยที่สงสัยภาวะ Methemoglobinemia ไดแก ผูปวยที่ไดรับการวินิจฉัยแรกรับที่<br />

โรงพยาบาลเปน Cyanosis, Hypoxemia หรือไดรับการวินิจฉัยเปน Methemoglobinemia<br />

ตั้งแตวันที่ 1 เมษายน 2550 เปนตนมา<br />

ผลการสอบสวน<br />

จากการศึกษาเวชระเบียนผูปวยทั้ง 4 ราย ซึ่งเขารับการรักษาในวันที่ 3, 8, 9 และ 11<br />

พฤษภาคม 2550 พบวา ทั้งหมดเปนเด็กหญิง อายุระหวาง 3 - 6 ป น้ําหนักตั้งแต 12 - 19<br />

กิโลกรัม เขารับการรักษาที่โรงพยาบาลดวยอาการหนาซีด ปากเขียว ปลายมือปลายเทาเขียว แต<br />

การหายใจปกติ เมื่อเจาะเลือดตรวจ พบวา เลือดเปนสีคล้ําเหมือนสีช็อกโกแลต แพทยไดทําการ<br />

ทดสอบโดยการผานออกซิเจนเขาไปในเลือดที่บรรจุอยูในหลอดทดลอง พบวา เลือดไมเปลี่ยนเปน<br />

สีแดงขึ้น จึงสงสัยภาวะ Methemoglobinemia จากพิษของไนไตรท ผูปวยทุกรายใหประวัติ<br />

รับประทานไสกรอกยางหรือทอดสุก กอนเกิดอาการประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง โดยผูปวย 3 รายแรก<br />

ใหประวัติรับประทานไสกรอกเพียงครั้งเดียว แตผูปวยรายสุดทายรับประทานไสกรอก 2 ครั้งจาก<br />

สองแหลง ในวันเดียวกัน โดยรานคาแผงลอยที่ขายไสกรอกใหผูปวยรับประทานไดระบุยี่หอของ<br />

ไสกรอกที่รับมาขาย รายละเอียดเปนดังตารางที่ 1<br />

ตารางที่ 1 รายละเอียดผูปวยภาวะ Methemoglobinemia หลังรับประทานไสกรอก จังหวัด<br />

พระนครศรีอยุธยา<br />

รายที่ อายุ<br />

(ป)<br />

น้ําหนัก<br />

(กก.)<br />

อําเภอ วัน-เวลาที่<br />

รับประทาน<br />

วัน-เวลาที่<br />

เกิดอาการ<br />

ลักษณะของไสกรอกที่<br />

รับประทาน<br />

ชนิด จํานวน ยี่หอ<br />

ชิ้น<br />

1 3 12 เมือง 3/5/50: 11.00 3/5/50:12.00 Cocktail 9 A<br />

2 3 15 ภาชี 8/5/50:15.00 8/5/50:17.00 Cocktail 6 A<br />

3 3 12 เมือง 9/5/50: 19.00 9/5/50:20.30 Cocktail 6 A<br />

4 6 19 เมือง 11/5/50:10.00 11/5/50 Red<br />

sausage<br />

10 B<br />

18.00 20.00 Hotdog 3 A และ<br />

C


นอกจากผูปวยทั้ง 4 รายนี้ จากการคนหาผูปวยเพิ่มเติมและเฝาระวังผูปวยรายใหม<br />

จังหวัดพระนครศรีอยุธยายังพบผูปวยเพิ่มอีก 7 ราย จากอําเภอเมือง 2 ราย อําเภอเสนา 2 ราย<br />

และอําเภอบางซาย 1 ราย นครหลวง 1 ราย และยังไดรับรายงานผูปวยจากเขตลาดกระบัง<br />

กรุงเทพมหานคร อีก 1 ราย รวมเปนผูปวยทั้งสิ้น 11 ราย ไมมีผูปวยเสียชีวิต ระหวางวันที่ 3<br />

พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2550 โดยผูปวยทุกรายมาโรงพยาบาลดวยอาการเดียวกัน คือ หนาซีด<br />

ปากเขียว ปลายมือปลายเทาเขียว และมีประวัติรับประทานไสกรอกยี่หอ A หรือยี่หอ D กอนเกิด<br />

อาการ สรุปอาการของผูปวยทุกรายไดดังแผนภูมิที่ 1<br />

แผนภูมิที่ 1 รอยละของอาการและอาการแสดงของผูปวย Methemoglobinemia 11 ราย<br />

ตัวเขียว<br />

อาเจียน<br />

ปวดทอง<br />

ซึมลง<br />

อุจจาระรวง<br />

0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100<br />

รอยละ<br />

จากการสอบสวนหาแหลงที่มาของไสกรอกที่ผูปวย 4 รายแรกรับประทาน พบวา มาจากรานคา<br />

แผงลอย 2 แหงในอําเภอพระนครศรีอยุธยา และ 1 แหงในอําเภอภาชี โดยรานคาทั้ง 3 แหงรับไส<br />

กรอกมาจาก ผูจัดจําหนายรายเดียวกันในอําเภอพระนครศรีอยุธยา คือ บริษัท A โดยเปนผูจัด<br />

จําหนายใหบริษัทแหงหนึ่ง หมู 4 ถนนประชารวมใจ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร เปนผูผลิต<br />

บนฉลากบรรจุพบเครื่องหมาย ฮาลาล แตไมมีเลขทะเบียนของสํานักงานคณะกรรมการอาหาร<br />

และยา โรงงานดังกลาวมีการผลิตไสกรอกและแยกบรรจุหีบหอเปนสองยี่หอ คือ ยี่หอ D สงขายที่<br />

ตลาดมีนบุรี ตลาดคลองสามวา และตลาดไท และยี่หอ A สงใหผูจัดจําหนายเฉพาะที่จังหวัด<br />

พระนครศรีอยุธยา การดําเนินการผลิตไมถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร และมีการใสผงวัตถุกันเสียและ<br />

เรงสี ลักษณะเปนผงสีขาว เรียกวา “ผงแพ็ค” ในขั้นตอนการผลิต โดยไมทราบวาเปนโซเดียมไน<br />

ไตรท และไมทราบคามาตรฐานที่องคการอาหารและยากําหนด<br />

ผลการตรวจทางหองปฏิบัติการของตัวอยางไสกรอกจากรานคาที่ผูปวยไปซื้อรับประทาน<br />

ทั้งสิ้น 5 ตัวอยาง และ “ผงแพ็ค” โดยกรมวิทยาศาสตรการแพทย เปนดังนี้


1. ไสกรอกสงสัยจากผูปวยรายแรก (Cocktail ยี่หอ A) พบ Sodium nitrite 3,137.25 มก./กก.<br />

2. ไสกรอกสงสัยจากผูปวยรายที่ 2 (Cocktail ยี่หอ A) พบ Sodium nitrite 3,544.06 มก./กก.<br />

3. ไสกรอกสงสัยจากผูปวยรายที่ 4 (Hotdog ยี่หอ A) พบ Sodium nitrite 3,340.20 มก./กก.<br />

4. ไสกรอกสงสัยจากผูปวยรายที่ 4 (Red sausage ยี่หอ B) พบ Sodium nitrite 30.91 มก./กก.<br />

5. ไสกรอกสงสัยจากผูปวยรายที่ 4 (Hotdog ยี่หอ C) พบ Sodium nitrite 18.17 มก./กก.<br />

6. ผงแพ็ค พบเปน Sodium nitrite 90.8% w/w<br />

เรื่อง<br />

หมายเหตุ คามาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2547 (ฉบับที่ 281)<br />

วัตถุเจือปนอาหาร กําหนดใหมีโซเดียมไนไตรทไมเกิน 125 มก./กก.<br />

มาตรการในการควบคุมโรคที่ไดดําเนินการ<br />

1. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไดแจงทุกโรงพยาบาลในจังหวัด<br />

พระนครศรีอยุธยา ใหทําการคนหาผูปวยเพิ่มเติมและเฝาระวังผูปวยรายใหม ซึ่งพบผูปวยเพิ่มเติม<br />

ขางตน<br />

2. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดําเนินการเก็บไสกรอกทั้งสองยี่หอ<br />

ที่ผลิตโดยบริษัทดังกลาว ออกจากตลาด<br />

3. สํานักอนามัย กรุงเทพมหานคร เก็บไสกรอกทั้งสองยี่หอที่ผลิตโดยบริษัทดังกลาว<br />

ออกจากตลาด รวมกับสํานักงานเขตคลองสามวาและสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา<br />

ดําเนินการปดโรงงานผลิตจนกวาจะมีการปรับปรุงใหไดมาตรฐานตอไป<br />

สรุปและอภิปรายผล<br />

จากการสอบสวนโรคและผลการตรวจทางหองปฏิบัติการสามารถยืนยันไดวา การระบาด<br />

ในครั้งนี้ มีสาเหตุมาจากสารไนไตรทที่ผสมในไสกรอกเพื่อใชถนอมอาหาร ผลิตโดยบริษัทแหง<br />

หนึ่ง และจัดจําหนายโดยบริษัท A<br />

ไนเตรท/ไนไตรท เปนอนินทรียเคมีที่พบไดในแหลงธรรมชาติ เชน ในดิน ในน้ํา ของ<br />

เสียจากสัตว ซึ่งเกิดจากการยอยสลายสารอินทรียไนโตรเจนโดยจุลินทรีย นอกจากนี้ ยังพบใน<br />

แหลงที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย เชน ปุยสังเคราะห ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม มีการ<br />

นําสารไนเตรทและไนไตรทมาเปนสารปรุงแตงอาหารเพื่อทําใหเนื้อสัตวมีสีแดงสด และเปอยยุย<br />

ใชเปนวัตถุกันเสียในปลาชอนแหง แหนม หมูยอ ไสกรอก โดยคามาตรฐานตามประกาศ<br />

กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2547 (ฉบับที่ 281) เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร กําหนดใหมี โซเดียมไน<br />

ไตรทไมเกิน 125 มก.ตอ 1 กก. การรับประทานอาหารที่มีสารไนไตรทเกินปริมาณที่กําหนด<br />

อาจทําใหเกิดภาวะ methemoglobinemia ซึ่งเปนภาวะที่รางกายมี methemoglobin เกินกวาที่


จะกําจัดได methemoglobin เปน hemoglobin ชนิดที่ทํางานโดยการจับ oxygen ไมได<br />

เปรียบเสมือนขาด hemoglobin สวนที่ปกติไป ถาระดับ methemoglobin สูงมาก อาการของ<br />

โรคนี้ก็จะมากขึ้นตามไปดวย ผูปวยที่ไดรับสารพิษ เขาไปทางปาก มักจะมีอาการเร็วภายใน 1<br />

ชั่วโมง<br />

จากขอมูลเฝาระวังโรคทางหองปฏิบัติการของ กรมวิทยาศาสตรการแพทย รวมถึงขอมูล<br />

เฝาระวังโรคของสํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ในระยะเวลา 10 ป (ตั้งแตป พ.ศ. 2541 ถึง<br />

ปจจุบัน) พบวา มีการรายงานผูปวย จํานวน 4 เหตุการณ มีผูปวย 34 ราย ไมมีรายงานผูปวย<br />

เสียชีวิต โดยอาหารที่เปนสาเหตุของการเกิดโรค ไดแก กวยเตี๋ยวราดหนาหมู ไสกรอก แหนม<br />

และไกทอด ดังนั้นสํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค จึงไดประสานสํานักงานคณะกรรมการ<br />

อาหารและยาเพื่อกําหนดมาตรการในการสุมตรวจอาหารและควบคุมปริมาณการใชสารไนไตรท<br />

และไนเตรทในอาหารตอไป<br />

เอกสารอางอิง<br />

1. Ramathibodi poison center. Methemoglobinemia. [on line]. [cited on 2008<br />

Jan 14]; Available from; URL:http://www.ra.mahidol.ac.th/poisoncenter<br />

2. Department of medical science. สารระเหยไนไตรท. [on line]. [cited on 2008<br />

Jan 14]; Available from; URL:http://webdb.dmsc.moph.go.th<br />

ขอขอบคุณ<br />

- โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา<br />

- กองพัฒนาศักยภาพผูบริโภค สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา<br />

- กองสุขาภิบาลอาหาร สํานักอนามัยกรุงเทพมหานคร<br />

- กองสุขาภิบาลสิ่งแวดลอม สํานักอนามัยกรุงเทพมหานคร<br />

- ฝายสิ่งแวดลอมและสุขาภิบาล สํานักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร<br />

- กรมวิทยาศาสตรการแพทย กระทรวงสาธารณสุข<br />

ทีมสอบสวนโรค<br />

1. นางพิมพาพร เชื้อบางแกว สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา<br />

2. นางพรทิพย วิโรจนแสงอรุณ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา<br />

3. นายสุกิจ เขมาภากรณ สํานักงานสาธารณสุขอําเภอพระนครศรีอยุธยา


4. นางขวัญใจ จิตรภักดี สํานักงานปองกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพมหานคร<br />

5. นางสุภัทรา สุขเกษม สํานักงานปองกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพมหานคร<br />

6. นางลัดดา โภคาวัฒนา สํานักอนามัยกรุงเทพมหานคร<br />

7. วาที่ รต. ประดิษฐ มณีโชติ สํานักอนามัยกรุงเทพมหานคร<br />

8. น.สพ. ถนอม นอยหมอ สํานักระบาดวิทยา<br />

9. พญ. ดารินทร อารียโชคชัย สํานักระบาดวิทยา

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!