11.07.2015 Views

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

๔ - ๒๖๑๓. ยางแดงชื่อพฤกษศาสตร์ Dipterocarpus turbinatus C. F. Gaertn.ชื่อวงศ์ DIPTEROCARPACEAEชื่อพื้นเมือง ยางแคง (เพชรบูรณ์) ยางใบเลื่อมยางหนู (เชียงราย) ยางหยวก (หนองคาย)ชื่อสามัญ -นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ ตามป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งทั่วไป ที่ความสูงจากระดับน้ําทะเล ๓๐๐–๑,๐๐๐เมตร ต่างประเทศพบที ่อินเดียถึงคาบสมุทรอินโดจีนลักษณะทั่วไปและลักษณะเด่น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง ๔๐เมตร ผลัดใบแต่ผลิใบใหม่ไว เรือนยอดเป็นพุ่ม ลําต้นเปลาตรงไม่มีพูพอนเปลือกหนา แตกเป็นสะเก็ดห้อยย้อยลง สีเทาแกมน้ําตาล เปลือกในสีน้ําตาลแกมเหลือง หรือน้ําตาลอมแดง กิ่งอ่อนเกลี้ยง หูใบ มีขนสากสีเทาใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง ๙–๑๒เซนติเมตร ยาว ๑๗–๒๔ เซนติเมตร โคนใบมนกว้าง ปลายใบทู่หรือเป็นติ่งแหลม แผ่นใบหนา เกลี้ยง ผิวใบด้านบนเป็นมันและออกสีน้ําตาลคล้ําเมื่อใบแห้ง ขอบใบหยักเป็นคลื่นห่าง ๆ เส้นใบ๑๖–๑๙ คู่ ก้านใบยาว ๓–๓.๕ เซนติเมตรดอก สีขาวแกมชมพู ออกรวมเป็นช่อสั้นตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่งหลอดโคนกลีบเลี้ยง เรียบ อาจมีขนบ้างประปราย ส่วนโคนกลีบดอกเกยซ้อนเวียนกันเป็นรูปกังหัน ตอนปลายมี ๕ กลีบ เกสรเพศผู้มี ๒๐–๒๕ อันผล รูปรีผิวเกลี้ยง ยาว ๒–๒.๕ เซนติเมตร ปีกยาว ๒ ปีก ยาวถึง๑๒ เซนติเมตร ปีกสั้น ๓ ปีก ยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวตัวผล สีแดงลักษณะเด่น ส่วนโคนกลีบดอกเกยซ้อนเวียนกันเป็นรูปกังหันผลรูปรี ปีกยาว ๒ ปีก ยาว ปีกสั้น ๓ ปีก ยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวตัวผล สีแดงความสําคัญของพันธุ์ไม้ -ช่วงการออกดอกและติดผล ออกดอกเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคมออกผลเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน (องค์การสวนพฤกษศาสตร์,๒๕๕๔ ก)การปลูกและการดูแล ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ควรปลูกในที ่มีการระบายน้ําดี เมล็ดที ่นํามาเพาะไม่ควรมีอายุเกิน ๑๐ วันหลังจากร่วงจากต้น การปลูกในระยะแรกต้องมีร่มเงาบังแดดและมีความชุ่มชื้นพอควร (จําลอง เพ็งคล้าย, ชวลิต นิยมธรรม, ๒๕๔๒)ประโยชน์ทั่วไป ไม้แข็งแต่การใช้งานไม่ทนทานในที่โล่งแจ้ง มักใช้ทําสิ่งก่อสร้างที่หยาบ ๆ เป็นไม้อัดที ่ใช้ทางการค้า น้ํามันจากเนื้อไม้คล้ายยางนา Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don แต่มีความแตกต่างกันที่คุณภาพ ยางใช้รักษาเนื้อไม้ไผ่ น้ํามันใช้ผสมหมึก รักษาแผลพุพอง แผลเปื่อย ขี้กลาก และโรคติดเชื้อทางผิวหนัง (ไซมอน การ์ดเนอร์ และคณะ, ๒๕๔๓) เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน (องค์การสวนพฤกษศาสตร์, ๒๕๕๔ ก) สรรพคุณน้ํามันจากเนื้อไม้ รักษาแผลพุพอง แผลเปื่อย ขี้กลาก และโรคติดเชื้อทางผิวหนัง (หน่วยปฏิบัติการวิจัยเคมีสารสนเทศ, ๒๕๕๔)ประโยชน์ด้านการลดมลพิษและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องยางแดงในช่วงเช้ามีอัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิสูงสุด ๕.๖๖μmol.m -2 .s -1 ในช่วงบ่ายอัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิสูงสุด๔.๓๙ μmol.m -2 .s -1 (ลดาวัลย์ พวงจิตร, ๒๕๔๙)

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!