11.07.2015 Views

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

๔ - ๒๒๑๑. ยางนาชื่อพฤกษศาสตร์ Dipterocarpus alatus Roxb. ex G. Donชื่อวงศ์ DIPTEROCARPACEAEชื่อพื้นเมือง ชันนา ยางตัง (ชุมพร) ยาง ยางขาว ยางแม่น้ํายางหยวก (ทั่วไป) ยางกุง (เลย) ยางควาย (หนองคาย) ยางเนิน (จันทบุรี)ชื่อสามัญ Yangนิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ พบขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณชื้นทั่วไป ชอบขึ้นในที่ลุ่มต่ําริมห้วย ลําธาร และตามหุบเขา จนถึงที่ความสูงจากระดับน้ําทะเล ๓๕๐ เมตร ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ต่างประเทศพบที่บังกลาเทศ พม่า ลาวกัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย (วรดลต์ แจ่มจํารูญ, ๒๕๕๓)ลักษณะทั่วไปและลักษณะเด่น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง ๕๐เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลําต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ําตาลอ่อนหรือเทาอมขาว ค่อนข้างเรียบ อาจแตกเป็นร่องตื้นตามยาวและขวางลําต้น เปลือกในสีน้ําตาลอ่อนอมชมพูใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่หรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง๖–๑๕ เซนติเมตร ยาว ๑๓–๒๕ เซนติเมตร ปลายใบทู่หรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือเว้าเข้า แผ่นใบค่อนข้างหนา ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ยกเว้นเส้นกลางใบ ผิวใบด้านล่างมีขนนุ่ม เส้นแขนงใบข้างละ๑๔–๑๗ เส้น ก้านใบยาว ๔ เซนติเมตร หูใบสีเทาอมเหลือง มีขนนุ่มดอก ช่อดอกแบบช่อกระจะสั้น ออกที ่ง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง สีชมพูกลีบเลี้ยงมีครีบตามยาว ๕ ครีบ ปลายแยกเป็น ๕ แฉก มีขนสีน้ําตาล กลีบดอกมี ๕ กลีบ เกยซ้อนเวียนเป็นรูปกังหัน ดอกบานเต็มที่กว้าง ๒–๓ เซนติเมตรผล เปลือกแข็งเมล็ดเดียว ทรงกลมรี กว้าง ๑.๕-๒ เซนติเมตรยาว ๓–๔ เซนติเมตร มีครีบตามยาว ๕ ครีบ ปีกคู่ยาว ๒ ปีกยาวไม่เกิน ๑๖ เซนติเมตร สีแดงสด ปีกสั้น ๓ ปีกลักษณะเด่น กลีบดอกมี ๕ กลีบ เกยซ้อนเวียนเป็นรูปกังหัน ผลมีครีบตามยาว ๕ ครีบ ปีกยาว ๒ ปีก ปีกสั้น ๓ ปีกความสําคัญของพันธุ์ไม้ พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดอุบลราชธานี (เมธินี ตาฬุมาศสวัสดิ ์ และคณะ, ๒๕๕๒)ช่วงการออกดอกและติดผล ออกดอกเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมติดผลเดือนเมษายนถึงมิถุนายน (เมธินี ตาฬุมาศสวัสดิ ์ และคณะ,๒๕๕๒)การปลูกและการดูแล ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด ชอบดินที่มีอินทรียวัตถุค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ชอบความชื้นปานกลาง ลูกไม้ยางนาชอบขึ้นบริเวณใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่ที่มีแสงแดดส่องถึง(แดดรําไร) เมื่อพ้นระยะลูกไม้ (หลังยางนาอายุ ๑ ปี) ต้องการแสงแดดเต็มวัน การคัดเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่ปลูก ก่อนนําเมล็ดไปเพาะควรนําเมล็ดมาตัดปีกออกก่อน วัสดุที ่ใช้เพาะเมล็ดไม้ปกตินิยมใช้ทรายท้องน้ ําคั่วหรือราดยาฆ่าเชื้อราก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ราทําลายกล้าไม้ที ่จะงอกใหม่ วางเรียงเมล็ดไม้ที่ตัดปีกออกแล้วให้ส่วนที่เป็นปลายรากหงายขึ้นมา (ส่วนที ่เป็นรอยต่อของเมล็ดกับปีก) กดเมล็ดให้จมลงในทรายให้ระดับปลายรากอยู่ในระดับผิวทราย แล้วโรยทับด้วยขลุยมะพร้าวบาง ๆ รดน้ําทุกวันเช้า-เย็น ให้ความชุ่มชื้นพอเพียง เมล็ดใหม่จะงอกหลังจากเพาะแล้ว ๔-๕ วัน จากนั้นจึงทําการย้ายเมล็ดที ่งอกลงในถุงเพาะชําต่อไป วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม ควรทําในช่วงฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน ระยะปลูกที่เหมาะสมควรใช้ระยะห่าง๔x๔ เมตร อัตราการรอดตายสูงมากและเจริญเติบโตได้ดีหลุมปลูกควรมีขนาด ๓๐x๓๐x๓๐ เซนติเมตร ก้นหลุมควรมีดินที ่ร่วนซุยหรืออาจใช้ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุม เมื่อปลูกแล้วควรกลบหลุมให้ได้ระดับผิวดินอย่าให้น้ําขัง (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช, ๒๕๔๖)ประโยชน์ทั่วไป เนื้อไม้แข็งปานกลาง ใช้ในการก่อสร้างทั่วไป ใช้ในการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน ทําเสา ไม้พื้น โครงหลังคา ใช้ทําไม้ระแนง เครื่องเรือนในร่ม ทําไม้อัดและแผ่นใยไม้อัด น้ํามันใช้ทาไม้ยาแนวเรือแทนน้ํามันขี้โล้ได้ ยาเครื่องจักสาน ทําไต้ น้ํามันชักเงาผสมทําหมึกพิมพ์หรือสีทาบ้าน เชื้อเพลิงสําหรับเครื่องจักรดีเซล(เมธินี ตาฬุมาศสวัสดิ์ และคณะ, ๒๕๕๒; ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้, ๒๕๔๒; สุธรรม อารีกุล, ๒๕๕๒ ก) สรรพคุณทางสมุนไพรน้ํามันยาง รักษาโรคเรื้อน หนองใน รักษาแผลเน่าเปื่อย (พงษ์ศักดิ์พลเสนา, ๒๕๕๐ ข; เมธินี ตาฬุมาศสวัสดิ์ และคณะ, ๒๕๕๒;ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้, ๒๕๔๒) เปลือก ฟอกโลหิต แก้ปวดตามข้อแก้ตับอักเสบ ห้ามหนอง น้ํามันยาง ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ อุดฟันแก้ฟันผุ ใบ คุมกําเนิด แก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน (พงษ์ศักดิ์ พลเสนา,๒๕๕๐ ข)ประโยชน์ด้านการลดมลพิษและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องยางนาในช่วงเช้ามีอัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิสูงสุด ๗.๕๒μmol.m -2 .s -1 ในช่วงบ่ายอัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิสูงสุด๖.๔๕ μmol.m -2 .s -1 (ลดาวัลย์ พวงจิตร, ๒๕๔๙)

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!