ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

11.07.2015 Views

๔ - ๑๗ก.ข.ค.แคแสด Spathodea campanulata P. Beauv. ก. ต้น, ข. ดอก, ค. ผล (ฝัก)ที่มา จังหวัดฉะเชิงเทรา

๔ - ๑๘๙. สนทะเลชื่อพฤกษศาสตร์ Casuarina equisetifolia J. R. & G.Forst.ชื่อวงศ์ CASUARINACEAEชื่อพื้นเมือง กู (นราธิวาส)ชื่อสามัญ Beefwood, Common ironwood, Queensland swampoak, Sea oakนิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ สนทะเลเป็นไม้พื้นเมืองของไทยพบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติบนหาดทราย ชายทะเลทั่วไปที่ความสูงจากระดับน้ําทะเลจนถึง ๑,๕๐๐ เมตร ต่างประเทศพบที่ชายฝั่งตอนเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลียตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่อินโดนีเซีย มาเลเซียอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน จนถึงโพลีนีเซียลักษณะทั่วไปและลักษณะเด่น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง ๑๐-๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ ลําต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ําตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆใบ ใบเดี่ยว เรียงเป็นวงกลม มีลักษณะเป็นเกล็ด (scale leaf)รูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ข้อละ ๖-๘ ใบ สีเหลืองอมเขียวดอก ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ดอกเพศผู้สีขาว เกสรสีน้ําตาลรูปกระบองเรียว ออกตามปลายกิ่ง ยาว ๑-๓ เซนติเมตร ดอกบานเต็มที่กว้าง ๑ มิลลิเมตร ดอกเพศเมียสีแดงออกตามลําต้นใกล้ปลายกิ่ง รูปทรงกระบองหรือเกือบกลม ช่อดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นกว้าง ๔-๕ มิลลิเมตร ดอกย่อยไม่มีก้านก้านช่อดอกยาวประมาณ ๑ เซนติเมตรผล ผลแห้งแตก เป็นผลรวม ทรงกลม ขนาด ๑-๑.๕ เซนติเมตรสีเขียวอมเหลือง เมื่อแก่จะแตกตามรอยประสาน เมล็ดกลมรียาว ๖-๗ มิลลิเมตร มีปีกที่ปลายเมล็ดลักษณะเด่น ใบเดี่ยว เรียงเป็นวงกลม มีลักษณะเป็นเกล็ด(scale leaf) รูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ข้อละ ๖-๘ ใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้นความสําคัญของพันธุ์ไม้ -ช่วงการออกดอกและติดผล ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ติดผลเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมการปลูกและการดูแล ใช้วิธีการขยายพันธุ์จากเมล็ด เนื่องจากเป็นวิธีการที่สะดวกและสามารถขยายพันธุ์ได้จํานวนมาก ๆแต่อย่างไรก็ตาม สนทะเลสามารถขยายพันธุ์โดยการปักชําหรือตอนกิ่งได้แต่ไม่เป็นที่นิยมกัน สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในดินเปรี้ยวและดินเลว ทนทานต่อสภาพที่มีหินปูนและดินเค็มเล็กน้อยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสนทะเลเป็นพันธุ์ไม้ที่มีรากเป็นปม (nodule)ซึ่งทําหน้าที่ containing nitrogen-fixing actomycete microorganismsแต่สนทะเลไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ในดินที่แน่น หรือดินที่เป็นดินเหนียว ในพื้นที่ที ่มีน้ําขังเป็นครั้งคราวก็พอจะทนทานอยู่ได้สามารถขึ้นได้ดีในดินที่มีความชื้นมาก เช่น ดินบริเวณชายฝั่งทะเลถึงแม้ว่าสภาพอากาศจะมีช่วงแล้งในปีหนึ่ง ๖-๗ เดือน ก็สามารถทนได้ แต่ถ้าความชื้นในดินน้อยเมื่อพบกับสภาพอากาศแห้งแล้งติดต่อกันยาวนาน สนทะเลก็อาจตายได้ (พิทยา เพชรมาก และคณะ,๒๕๓๖) สามารถขึ้นได้ดีในท้องถิ่นที่มีอากาศอบอุ่น ไปจนถึงท้องถิ่นที ่มีอากาศร้อน ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ๑๐-๓๕ องศาเซลเซียส และเป็นไม้ที่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของอากาศในโซนร้อนได้ดี แต่ไม่ชอบอากาศที่หนาวจัดจนเป็นเกล็ดน้ําแข็ง (frost) สามารถเจริญงอกงาม ปริมาณน้ําฝนตั้งแต่๗๐๐–๒,๐๐๐ มิลลิเมตร/ปีประโยชน์ทั่วไป ใช้ในการก่อสร้าง ทําเชื้อเพลิง ทํากระดาษฟอกหนัง เลี้ยงสัตว์ ปลูกเป็นไม้ประดับ สรรพคุณทางสมุนไพรเปลือก แก้บิด แก้ท้องร่วง สมานแผล แก้โรคเหน็บชา ทําให้ประจําเดือนมาปกติ ใบ ขับปัสสาวะ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง เมล็ดแก้ปวดศีรษะ (พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, ๒๕๕๐ ข)ประโยชน์ด้านการลดมลพิษและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องปลูกเป็นแนวกันลม สามารถต้านทานลมได้ดี (พิทยา เพชรมากและคณะ, ๒๕๓๖)

๔ - ๑๘๙. สนทะเลชื่อพฤกษศาสตร์ Casuarina equisetifolia J. R. & G.Forst.ชื่อวงศ์ CASUARINACEAEชื่อพื้นเมือง กู (นราธิวาส)ชื่อสามัญ Beefwood, Common ironwood, Queensland swampoak, Sea oakนิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ สนทะเลเป็นไม้พื้นเมืองของไทยพบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติบนหาดทราย ชายทะเลทั่วไปที่ความสูงจากระดับน้ําทะเลจนถึง ๑,๕๐๐ เมตร ต่างประเทศพบที่ชายฝั่งตอนเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลียตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่อินโดนีเซีย มาเลเซียอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน จนถึงโพลีนีเซียลักษณะทั่วไปและลักษณะเด่น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง ๑๐-๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ ลําต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ําตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆใบ ใบเดี่ยว เรียงเป็นวงกลม มีลักษณะเป็นเกล็ด (scale leaf)รูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ข้อละ ๖-๘ ใบ สีเหลืองอมเขียวดอก ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ดอกเพศผู้สีขาว เกสรสีน้ําตาลรูปกระบองเรียว ออกตามปลายกิ่ง ยาว ๑-๓ เซนติเมตร ดอกบานเต็มที่กว้าง ๑ มิลลิเมตร ดอกเพศเมียสีแดงออกตามลําต้นใกล้ปลายกิ่ง รูปทรงกระบองหรือเกือบกลม ช่อดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นกว้าง ๔-๕ มิลลิเมตร ดอกย่อยไม่มีก้านก้านช่อดอกยาวประมาณ ๑ เซนติเมตรผล ผลแห้งแตก เป็นผลรวม ทรงกลม ขนาด ๑-๑.๕ เซนติเมตรสีเขียวอมเหลือง เมื่อแก่จะแตกตามรอยประสาน เมล็ดกลมรียาว ๖-๗ มิลลิเมตร มีปีกที่ปลายเมล็ดลักษณะเด่น ใบเดี่ยว เรียงเป็นวงกลม มีลักษณะเป็นเกล็ด(scale leaf) รูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ข้อละ ๖-๘ ใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้นความสําคัญของพันธุ์ไม้ -ช่วงการออกดอกและติดผล ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ติดผลเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมการปลูกและการดูแล ใช้วิธีการขยายพันธุ์จากเมล็ด เนื่องจากเป็นวิธีการที่สะดวกและสามารถขยายพันธุ์ได้จํานวนมาก ๆแต่อย่างไรก็ตาม สนทะเลสามารถขยายพันธุ์โดยการปักชําหรือตอนกิ่งได้แต่ไม่เป็นที่นิยมกัน สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในดินเปรี้ยวและดินเลว ทนทานต่อสภาพที่มีหินปูนและดินเค็มเล็กน้อยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสนทะเลเป็นพันธุ์ไม้ที่มีรากเป็นปม (nodule)ซึ่งทําหน้าที่ containing nitrogen-fixing actomycete microorganismsแต่สนทะเลไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ในดินที่แน่น หรือดินที่เป็นดินเหนียว ในพื้นที่ที ่มีน้ําขังเป็นครั้งคราวก็พอจะทนทานอยู่ได้สามารถขึ้นได้ดีในดินที่มีความชื้นมาก เช่น ดินบริเวณชายฝั่งทะเลถึงแม้ว่าสภาพอากาศจะมีช่วงแล้งในปีหนึ่ง ๖-๗ เดือน ก็สามารถทนได้ แต่ถ้าความชื้นในดินน้อยเมื่อพบกับสภาพอากาศแห้งแล้งติดต่อกันยาวนาน สนทะเลก็อาจตายได้ (พิทยา เพชรมาก และคณะ,๒๕๓๖) สามารถขึ้นได้ดีในท้องถิ่นที่มีอากาศอบอุ่น ไปจนถึงท้องถิ่นที ่มีอากาศร้อน ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ๑๐-๓๕ องศาเซลเซียส และเป็นไม้ที่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของอากาศในโซนร้อนได้ดี แต่ไม่ชอบอากาศที่หนาวจัดจนเป็นเกล็ดน้ําแข็ง (frost) สามารถเจริญงอกงาม ปริมาณน้ําฝนตั้งแต่๗๐๐–๒,๐๐๐ มิลลิเมตร/ปีประโยชน์ทั่วไป ใช้ในการก่อสร้าง ทําเชื้อเพลิง ทํากระดาษฟอกหนัง เลี้ยงสัตว์ ปลูกเป็นไม้ประดับ สรรพคุณทางสมุนไพรเปลือก แก้บิด แก้ท้องร่วง สมานแผล แก้โรคเหน็บชา ทําให้ประจําเดือนมาปกติ ใบ ขับปัสสาวะ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง เมล็ดแก้ปวดศีรษะ (พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, ๒๕๕๐ ข)ประโยชน์ด้านการลดมลพิษและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องปลูกเป็นแนวกันลม สามารถต้านทานลมได้ดี (พิทยา เพชรมากและคณะ, ๒๕๓๖)

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!