11.07.2015 Views

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

๔ - ๑๒๖. อโศกอินเดีย (อโศกเซนคาเบรียล)ชื่อพฤกษศาสตร์ Polyalthia longifolia (Sonn.) Thwaitesชื่อวงศ์ ANNONACEAEชื่อพื้นเมือง อโศกเซนคาเบรียล (กรุงเทพฯ)ชื่อสามัญ Cemetery-tree, Mast-tree, Ashoka, Asokaนิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ เป็นไม้ต่างประเทศมีถิ่นกําเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ในประเทศไทยปลูกขึ้นได้ทั่วทุกภาคลักษณะทั่วไปและลักษณะเด่น ไม้ต้น สูงถึง ๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบลําต้นเปลาตรง เรือนยอดทรงกระบอกเป็นแท่งเรียวสูง ปลายกิ่งห้อยย้อยใบ ใบเดี ่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก กว้าง ๓.๕-๕ เซนติเมตร ยาว๑๘-๒๖ เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมเป็นติ่ง โคนแหลมหรือกลมมน ขอบใบเป็นคลื่น แผ่นใบคล้ายหนัง เป็นมัน ใบแก่ผิวใบเกลี้ยง เส้นแขนงใบมี ๑๕-๒๐ คู่ เห็นไม่ชัดเจนทั้งสองด้านก้านใบยาว ๐.๗-๑ เซนติเมตรดอก ช่อดอกแบบช่อกระจะหรือช่อซี่ร่ม ออกที่กิ่งหรือง่ามใบ สีเขียวแกมเหลือง ก้านช่อดอกสั้น ก้านดอกย่อยยาว กลีบเลี้ยง ๓ กลีบรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ โคนเชื่อมติดกัน ผิวด้านนอกมีขนกลีบดอกเรียงสลับกัน ๒ ชั้น ๆ ละ ๓ กลีบรูปใบหอกปลายเรียวแหลม กว้าง ๑.๕-๒ เซนติเมตร ยาว ๒-๒.๕ เซนติเมตรกลีบชั้นในมีขนาดใหญ่กว่ากลีบชั้นนอกเล็กน้อย เกสรเพศเมียหลายอัน มีขนตรงปลาย ไม่มีก้านยอดเกสรเพศเมีย เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอัดแน่นเป็นก้อนกลมผล ผลกลุ่ม มีผลย่อย ๔-๘ ผล รูปกลมแกมรูปไข่ ผิวเกลี้ยงเมื่อสุกสีม่วง มีเมล็ดเดียวลักษณะเด่น เรือนยอดทรงกระบอกเป็นแท่งเรียวสูง ขอบใบเป็นคลื่น กลีบดอกเรียงสลับกัน ๒ ชั้น ๆ ละ ๓ กลีบ เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอัดแน่นเป็นก้อนกลมความสําคัญของพันธุ์ไม้ -ช่วงการออกดอกและติดผล ดอกบานเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ผลแก่หลังจากดอกบาน ๔-๕ เดือนการปลูกและการดูแล ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปลูกลงแปลงกลางแจ้ง ชอบแสงแดดตลอดวัน ต้องการน้ําปานกลาง(ปิยะ เฉลิมกลิ่น, ๒๕๔๘)ประโยชน์ทั่วไป ปลูกเป็นไม้ประดับตามแนวรั้ว (ปิยะ เฉลิมกลิ่น,๒๕๔๘)ประโยชน์ด้านการลดมลพิษและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอโศกอินเดียมีความสามารถในการจับฝุ่นละอองได้ในระดับสูงเมื่อเปรียบเทียบกับพืชอื่นที่ศึกษา สามารถจับฝุ่นละอองร้อยละ๒๙.๘๔ (Central Pollution Control Board, 2007)

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!