11.07.2015 Views

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

๔ - ๘๔. การเวกชื่อพฤกษศาสตร์ Artabotrys siamensis Miq.ชื่อวงศ์ ANNONACEAEชื่อพื้นเมือง กระดังงัว กระดังงาป่า (ราชบุรี) กระดังงาเถา (ภาคใต้)หนามควายนอน (ชลบุรี)ชื่อสามัญ -นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ พบใกล้ลําธารในที่โล่งหรือบริเวณชายป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ ที่ความสูงจากระดับน้ําทะเล ๕๐-๓๐๐ เมตร ในประเทศไทยพบทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ ต่างประเทศพบที ่พม่าและอินโดนีเซียลักษณะทั่วไปและลักษณะเด่น ไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยได้ไกล๕-๑๕ เมตร ไม่ผลัดใบ ตามลําต้นมีหนามแข็ง มีขนตามกิ่งก้านและใบใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรีกว้าง ๓-๖ เซนติเมตร ยาว ๖-๑๘ เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบมี ๗-๙ คู่ ก้านใบยาว๕-๖มิลลิเมตรดอก ดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก ๑-๓ ดอก ออกบนส่วนโค้งหรือปลายสุดของก้านช่อที่งอเป็นขอเกี่ยว ดอกอ่อนสีเขียว แก่สีเหลืองมีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยง ๓ กลีบ รูปไข่ ปลายกลีบกระดกขึ้น กลีบดอกเรียงสลับกัน ๒ ชั้น ๆ ละ ๓ กลีบ กลีบชั้นนอกรูปขอบขนานกว้าง ๐.๘-๑.๒ เซนติเมตร ยาว ๒.๕ เซนติเมตร กลีบชั้นในมีขนาดเล็กกว่าผล ผลกลุ่ม ก้านช่อผลยาว ๑.๕ เซนติเมตร มีผลย่อย ๔-๑๕ผล รูปกลมรี กว้าง ๑.๘ เซนติเมตร ยาว ๒ เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีเหลือง เมล็ดมี ๑-๒ เมล็ดลักษณะเด่น ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน ดอกเดี่ยวออกบนส่วนโค้งหรือปลายสุดของก้านช่อที่งอเป็นขอเกี่ยว มีกลิ่นหอม กลีบดอกเรียงสลับกัน ๒ ชั้น ๆ ละ ๓ กลีบความสําคัญของพันธุ์ไม้ พรรณไม้ที่พบครั้งแรกของโลกในเมืองไทย ไม้เถาในสกุลการเวกที่มีคําระบุชนิดว่า siamensis ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศไทย สํารวจพบครั้งแรกโดย J.E. Teijsmannชาวเนเธอร์แลนด์ จากจังหวัดกาญจนบุรี (ปิยะ เฉลิมกลิ่น และคณะ,๒๕๕๑)ช่วงการออกดอกและติดผล ออกดอกเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมและมีดอกประปรายตลอดปี ดอกบานวันเดียวแล้วโรยกลีบดอกร่วงในเช้าวันถัดมา ส่งกลิ่นหอมอ่อน ๆ ในช่วงกลางวันและหอมแรงในช่วงพลบค่ํา ผลแก่หลังจากดอกบาน ๔-๕ เดือนการปลูกและการดูแล ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่งควรทําซุ้ม รั้ว หรือค้างให้เลื้อยไต่ ใช้เป็นหลังคาซุ้มบังแสงแดดได้ดี หากปลูกจากกิ่งตอนจะออกดอกได้เร็วกว่าต้นเพาะเมล็ดที ่มักให้ยอดยืดยาว เลื้อยพันเป็นซุ้มหนาและออกดอกได้ช้าการตัดแต่งกิ่งจะช่วยให้ทรงพุ่มโปร่ง ออกดอกมากขึ้นและช่วยลดน้ําหนักของพุ่มใบมิให้มากเกินไปจนซุ้มพังเสียหายได้ชอบแสงแดดตลอดวัน ขึ้นได้ดีในดินร่วน ต้องการน้ําปานกลาง(ปิยะ เฉลิมกลิ่น, ๒๕๕๑)ประโยชน์ทั่วไป ปลูกเป็นไม้ประดับเลื้อยไต่ซุ้ม ให้ร่มเงา มีดอกหอมประโยชน์ด้านการลดมลพิษและข้อมูลอื ่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง-

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!