11.07.2015 Views

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

๔ - ๖๓. มะม่วงช้างเหยียบชื่อพฤกษศาสตร์ Mangifera sylvatica Roxb.ชื่อวงศ์ ANACARDIACEAEชื่อพื้นเมือง มะม่วงขี้ใต้ มะม่วงแป๊บ (ภาคเหนือ)ส้มม่วงกล้วย (ภาคใต้)ชื่อสามัญ -นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ พบขึ้นประปรายตามป่าดงดิบที่ใกล้ลําห้วยทั่ว ๆ ไป ที่ความสูงจากระดับน้ําทะเล๕๐–๑,๕๐๐ เมตร (สุรีย์ ภูมิภมร, อนันต์ คําคง, ๒๕๔๐) ในต่างประเทศพบที่เนปาล อัสสัม พม่า หมู่เกาะอันดามัน (ไซมอน การ์ดเนอร์และคณะ, ๒๕๔๓)ลักษณะทั่วไปและลักษณะเด่น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง ๑๕–๓๕ เมตร ไม่ผลัดใบ ลําต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง ๆ ทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยง เปลือกสีน้ําตาลปนเทา แตกเป็นร่องตื้น ๆ ไปตามยาวลําต้น เปลือกในสีน้ําตาลปนแดงใบ ใบเดี่ยว เรียงแบบวนรอบ รูปหอกหรือรูปขอบขนานขนาดกว้าง ๔–๗ เซนติเมตร ยาว ๑๔–๓๐ เซนติเมตร โคนใบมนปลายใบเรียวและหยักเป็นติ่งแหลมทู่ ๆ ผิวบนเขียวเข้มและเป็นมัน เส้นแขนงใบ ๑๔–๒๔ คู่ เส้นโค้ง ขอบใบเรียบหรือหยักเป็นคลื่น ก้านใบเรียว ยาว ๓–๗ เซนติเมตร โคนก้านบวมดอก ช่อดอกตั้งขึ้น สีเหลืองอ่อนหรือขาวปนชมพูอ่อน มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง มีทั้งดอกเพศผู้และดอกสมบูรณ์เพศ แต่ละช่อยาว ๑๑–๒๒ เซนติเมตร กลีบเลี้ยงปลายแหลม ๕ กลีบ ขนาด ๒-๓ มิลลิเมตร กลีบดอกมี ๕ กลีบยาว ๖ มิลลิเมตร ปลายแหลมมีสัน ๓ สันด้านใน เมื่อเริ ่มบานกลีบตรงแล้วค่อย ๆ โค้งไปด้านหลัง ดอกเพศผู้มีเกสรตัวผู้ที่ไม่เป็นหมัน ๑ อัน มีอับเรณูเป็นรูปขอบขนาน ดอกสมบูรณ์เพศมีเกสรตัวผู้ที ่ไม่เป็นหมัน ๑ อัน และที่เป็นหมัน ๓-๔ อันก้านเกสรตัวเมีย ๑ อัน ที่เรียวยาวกว่ากลีบดอก หมอนรองดอกบางเป็นรูปถ้วยผล รูปร่างแบบมะม่วง ขนาด ๕-๗.๕ เซนติเมตร ผลแก่สีเหลืองอมส้ม มีชั้นหุ้มเมล็ดแข็งที ่ข้างนอกเป็นเส้นใยลักษณะเด่น ผลรูปร่างแบบมะม่วง ขนาด ๕-๗.๕ เซนติเมตรผลแก่สีเหลืองอมส้ม มีชั้นหุ้มเมล็ดแข็งที ่ข้างนอกเป็นเส้นใยความสําคัญของพันธุ์ไม้ -ช่วงการออกดอกและติดผล ออกดอกเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ติดผลเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ผลแก่ประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม (สุรีย์ ภูมิภมร, อนันต์ คําคง,๒๕๔๐)การปลูกและการดูแล ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่งประโยชน์ทั่วไป ผลใช้รับประทานได้ (ไซมอน การ์ดเนอร์ และคณะ,๒๕๔๓) ผลใช้รับประทานได้ เนื้อไม้ใช้ทําสิ ่งก่อสร้างภายในร่ม (สุรีย์ภูมิภมร, อนันต์ คําคง, ๒๕๔๐)ประโยชน์ด้านการลดมลพิษและข้อมูลอื ่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง-

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!