11.07.2015 Views

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ชื่อพฤกษศาสตร์ Mangifera indica L.ชื่อวงศ์ ANACARDIACEAEชื่อพื้นเมือง มะม่วง มะม่วงบ้าน (ทั่วไป) มะม่วงสวน (ภาคกลาง)ชื่อสามัญ Mango treeนิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ พบขึ้นประปรายตามป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณผสมใกล้ ๆ ลําห้วย ที่ความสูงจากระดับน้ําทะเลไม่เกิน ๗๐๐ เมตร ส่วนมากปลูกเป็นไม้ผลทั่ว ๆ ไปตามบริเวณที ่อยู่อาศัยหรือสวนขนาดใหญ่ และมีพันธุ์ต่าง ๆ(varieties) ในประเทศไทย ประมาณ ๑๐๐ พันธุ์ (สุรีย์ ภูมิภมร,อนันต์ คําคง, ๒๕๔๐)ลักษณะทั่วไปและลักษณะเด่น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ ๑๐–๔๐ เมตร ไม่ผลัดใบ ทรงต้นสูงจากโคนต้นถึงกิ่งแรกสั้น เรือนยอดโปร่ง เปลือกเรียบสีน้ําตาลปนเทาอ่อน ๆ กิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มกลมกว้างๆ แน่นทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยงใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปยาวรี รูปขอบขนานแคบหรือรูปหอกขนาดใบกว้าง ๓–๑๐ เซนติเมตร ยาว ๑๖–๔๕ เซนติเมตร โคนใบสอบหรือมน ปลายใบเป็นติ่งแหลมค่อนข้างยาว เนื้อใบหนาเกลี้ยงเป็นมันสีเขียวเข้ม ใบอ่อนจะออกสีม่วงอ่อน เส้นแขนงใบมี ๒๐–๓๐ คู่เส้นเรียวโค้งเป็นระเบียบ ก้านใบเรียวยาว ๒.๕–๑๓ เซนติเมตรโคนก้านบวมดอก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้ สีขาวนวลหรือสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง แต่ละช่อยาว ๑๘–๓๐ เซนติเมตร ตามก้านช่อมีขนนุ่มดอกย่อยมีขนาดเล็กประมาณ ๒ มิลลิเมตร ดอกเพศผู้กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกอย่างละ ๔–๕ กลีบ กลีบรองกลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่ งอเป็นกระพุ้ง ขนาด ๑.๒–๓.๕ มิลลิเมตร กลีบดอกมนขนาด ๒–๓.๕ มิลลิเมตร สีเหลืองอ่อน มีเส้นสีเหลืองหรือสีแดงบริเวณโคนกลีบ เกสรเพศผู้ ๕ อัน มีเพียง ๑ อัน ที่ไม่เป็นหมัน อับเรณูสีม่วง รังไข่กลมผล ผลเดี่ยว แบบผลเมล็ดเดียวแข็ง ลักษณะผลแตกต่างกันตามพันธุ์คือ กลม กลมรี รูปไต หรือรูปปิระมิด กว้าง ๔–๑๐ เซนติเมตร ยาว๕–๒๐ เซนติเมตร ผลอ่อนมีน้ํายางมาก ผลยังไม่สุกมีเปลือกสีเขียวเมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีส้ม กลิ่นหอม มีเนื้อเยื่อหุ้มและเป็นเส้นใยมากภายในผลมีเมล็ด ๑ เมล็ดลักษณะเด่น ดอกออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง สีขาวนวลหรือสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ผลแบบผลเมล็ดเดียวแข็งความสําคัญของพันธุ์ไม้ -ช่วงการออกดอกและติดผล ออกดอกเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ติดผลเดือนมกราคมถึงมีนาคม ผลแก่เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม(สุรีย์ ภูมิภมร, อนันต์ คําคง, ๒๕๔๐)๔ - ๔๒. มะม่วงป่าการปลูกและการดูแล ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง(สุธรรม อารีกุล, ๒๕๕๒ ข) การให้น้ําหลังจากการปลูกใหม่ ๆถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ําทุกวัน และค่อย ๆ ห่างขึ้น เช่น ๓-๔ วันต่อครั้ง จนกว่าต้นมะม่วงจะตั้งตัวได้ การให้น้ําเป็นสิ่งจําเป็นอย่างหนึ่งในการปลูกเพื่อให้ผลได้อย่างเต็มที ่ การให้น้ําอย่างเพียงพอจะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตอย่างสม่ําเสมอ ไม่ชะงักการเจริญเติบโตทําให้ได้ผลเร็วขึ้น การปลูกในที่ที ่น้ําไม่อุดมสมบูรณ์ควรจะกะเวลาปลูกให้ดี ให้ต้นกล้าได้รับน้ําฝนนานที่สุด เพื่อต้นจะได้ตั้งตัวได้ก่อนที่จะถึงฤดูแล้ง การกําจัดวัชพืชต้องทําอยู่เสมอ เพราะวัชพืชต่าง ๆ จะคอยแย่งน้ ําและอาหาร และการปล่อยให้แปลงปลูกรกรุกรังจะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของโรคแมลงต่าง ๆ ที ่จะทําลายต้นมะม่วงอีกด้วย การกําจัดวัชพืช ทําได้หลายวิธี เช่น การถางด้วยจอบ การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชแซม การใช้สารเคมีและการคลุมดินด้วยวัสดุคลุมดินต่าง ๆ เป็นต้น การจะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความสะดวกและเหมาะสมของแต่ละราย เช่น ถ้ามีแรงงานเพียงพอ ควรปลูกพืชแซมแล้วเก็บเกี่ยวผลผลิตไปเรื่อย ๆหรือใช้วิธีไถพรวนดิน กําจัดหญ้าอยู่เสมอ แต่ถ้ามีแรงงานไม่พอควรใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน เพราะพืชคลุมดินปลูกครั้งเดียว สามารถอยู่ได้หลายปี การใส่ปุ๋ย มะม่วงชอบดินที่โปร่ง ร่วนซุย การระบายน้ ําและอากาศของดินดี จึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น พวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักให้เป็นประจําทุก ๆ ปี เพื่อปรับปรุงดินให้ร่วนซุยเหมาะต่อการเจริญเติบโตของต้นมะม่วง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อาจใส่ปีละสองครั้ง คือต้นฝนและปลายฝน ปุ๋ยอินทรีย์นี้แม้จะมีธาตุอาหารที่พืชต้องการไม่มากนัก แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อดินในด้านอื่น ๆ นอกจากจะช่วยทําให้ดินดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ปุ๋ยเคมีที ่ใส่ลงไปนั้นถูกนํามาใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๔๑)ประโยชน์ทั่วไป พันธุ์ไม้ที่สามารถปลูกริมตลิ่งที่อยู่ถัดสูงเข้ามาไม่ได้ถูกน้ําท่วมเป็นประจําทุกปี แต่ทนทานต่อความชื้นสูง ทนทานต่อระดับน้ําใต้ดินสูง และทนต่อน้ําท่วมหลาก แต่ไม่แช่ขังเป็นเวลานาน(สํานักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม, ๒๕๔๙) ใบอ่อนและผลใช้รับประทาน ใบแก่ ใช้ในการทําสีย้อมสีเหลือง เนื้อไม้ ใช้ก่อสร้างที่อยู่อาศัย (สุรีย์ ภูมิภมร, อนันต์ คําคง, ๒๕๔๐) สรรพคุณทางสมุนไพรเปลือก ดอก และเนื้อในเมล็ด แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้อาเจียน ใบ รักษาโรคเกี่ยวกับคอและไอ ลําต้นและน้ํายางจากผล แก้คัน รักษาโรคผิวหนังผล บํารุงกําลัง ขับปัสสาวะ (พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, ๒๕๕๐ ข)ประโยชน์ด้านการลดมลพิษและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมะม่วงป่ามีความสามารถในการจับฝุ่นละอองได้ในระดับปานกลางเมื่อเปรียบเทียบกับพืชอื่นที่ศึกษา สามารถจับฝุ่นละอองร้อยละ๑๒.๒๕ (Central Pollution Control Board, 2007)

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!