11.07.2015 Views

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

๔ - ๑๐๐๕๐. สํารอง (พุงทะลาย)ชื่อพฤกษศาสตร์ Scaphium affine (Mast.) Pierreชื่อวงศ์ STERCULIACEAEชื่อพื้นเมือง จอง หมากจอง (อุบลราชธานี) พุงทะลาย (กรุงเทพฯ)ชื่อสามัญ Pung ta hai (จีน)นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ ในป่าดิบทางภาคตะวันออก(บริเวณอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย จังหวัดอุบลราชธานี)ภาคตะวันออกเฉียงใต้ (บริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยองจันทบุรี และตราด) และภาคใต้ (บริเวณจังหวัดยะลา) ที่ความสูงจากระดับน้ําทะเล ๘๐-๗๐๐ เมตร ในต่างประเทศพบที ่ กัมพูชาลาว และเวียดนาม (พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, ๒๕๕๐ ก)ลักษณะทั่วไปและลักษณะเด่น ไม้ต้น ขนาดใหญ่ สูงได้ถึง ๔๐เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยเจดีย์ถึงกลม ลําต้นเปลาตรง โคนต้นเป็นพูพอน สูงถึง ๒ เมตร เปลือกนอกสีน้ําตาลเทาอ่อน แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว เปลือกในสีน้ําตาลอมส้ม ยอดอ่อนสีน้ําตาลอมแดง มีขนสีสนิมปกคลุม มีหูใบ รูปลิ่มแคบ มีขนสีสนิมปกคลุมใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่ถึงรูปขอบขนานแกมไข่ กว้าง ๗-๑๐เซนติเมตร ยาว ๑๓-๒๒ เซนติเมตร โคนใบเว้าเล็กน้อยหรือรูปลิ ่มถึงตัด ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม ใบเกลี้ยง คล้ายแผ่นหนังเส้นแขนงใบ ๔-๘ คู่ ใบของไม้หนุ่ม (อายุ ๒-๑๐ ปี) มี ๓-๕ แฉกก้านใบยาว ๕-๒๑ เซนติเมตรดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ยาว ๑๔-๒๐ เซนติเมตร (ช่อดอกที่ติดใกล้ปลายยอดอาจยาวเพียง ๓ เซนติเมตร) ออกตามง่ามใบหรือปลายยอด ตั้งตรง ดอกอัดแน่น วงกลีบรวม รูประฆังเส้นผ่านศูนย์กลาง ๕-๗ มิลลิเมตร มีกลีบรวบ (tepal) ๕ กลีบกว้าง ๑.๕-๒ มิลลิเมตร ยาว ๓-๔ มิลลิเมตร สีขาวอมเขียวมีขนสั้นนุ่ม ก้านชูเกสรร่วมตั้งตรงผล แห้งแตกด้านเดียว คล้ายรูปเรือ กว้าง ๕-๖ เซนติเมตรยาว ๑๘-๒๐ เซนติเมตร เมล็ดทรงรี กว้าง ๑.๔-๒ เซนติเมตรยาว ๓-๓.๕ เซนติเมตร เมล็ด (เมื่อล้างวุ้นออกแล้ว) ทรงรีกว้าง ๑.๒-๑.๕ เซนติเมตร ยาว ๑.๘-๒.๕ เซนติเมตรลักษณะเด่น กลีบรวบ ๕ กลีบ สีขาวอมเขียว มีขนสั้นนุ่มก้านชูเกสรร่วมตั้งตรงความสําคัญของพันธุ์ไม้ แม้ว่าสํารองจะเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยรู้จักมาหลายร้อยปี แต่จากการศึกษาของ พงษ์ศักดิ์พลเสนา (๒๕๕๐ ก) เมื่ออ้างอิงจากเอกสารเรื่อง คู่มือจําแนกความแตกต่างระหว่างสํารองกับสํารองกะโหลก พบว่า ยังไม่เคยมีผู้ใดรายงานทางพฤกษศาสตร์ว่าพบพืชชนิดนี้ ในประเทศไทยมาก่อน จึงส่งตีพิมพ์ในวารสาร Thai Forest Bulletin (Botany)เล่มที่ ๓๕ ค.ศ. ๒๐๐๗ ประกาศเป็นพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของไทย(new record)ช่วงการออกดอกและติดผล ออกดอกเดือนธันวาคมถึงมกราคม ผลแก่เดือนเมษายนการปลูกและการดูแล ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและเสียบยอด ใช้กิ่งสํารองเสียบบนตอสํารองกะโหลก (พงษ์ศักดิ์พลเสนา, ๒๕๕๐ ก)ประโยชน์ทั่วไป ใช้เป็นเครื่องดื่ม เป็นยารักษาโรค ใช้ก่อสร้างเครื่องเรือนและเครื่องใช้ต่างๆ เนื้อไม้จัดเป็นกึ่งไม้เนื้ออ่อนและไม้เนื้อแข็ง ค่อนข้างหยาบ ในมาเลเซีย ใช้ทําไม้บาง ไม้อัดแต่ต้องใช้ภายใน เป็นพืชอาหารสัตว์ ปลูกเพื่ออนุรักษ์ต้นน้ําลําธารและสิ ่งแวดล้อม ปลูกเป็นไม้ประดับ (พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, ๒๕๕๐ ก)สรรพคุณทางสมุนไพร ผล แช่น้ําให้พองตัว แก้ไอ ขับเสมหะสมานลําไส้ แก้ร้อนใน กระหายน้ํา วางบนตารักษาอาการตาอักเสบ (พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, ๒๕๕๐ ข)ประโยชน์ด้านการลดมลพิษและข้อมูลอื ่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง-

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!