11.07.2015 Views

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

่๔ - ๙๖๔๘. ค้อ (ตะคร้อ)ชื่อพฤกษศาสตร์ Schleichera oleosa (Lour.) Okenชื่อวงศ์ SAPINDACEAEชื่อพื้นเมือง กาซ้อง ค้อ (กาญจนบุรี) คอส้ม (เลย) เคาะ(นครพนม พิษณุโลก) เคาะจ้ก มะเคาะ มะจ้ก มะโจ้ก(ภาคเหนือ) ตะคร้อไข่ (ภาคกลาง)ชื่อสามัญ Ceylon oak, Lac treeนิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ พบขึ้นตามป่าเต็งรังป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า ที่ความสูงจากระดับน้ําทะเล ๑๐๐-๙๐๐เมตร ในประเทศไทยพบแทบทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ต่างประเทศพบที่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน อินโดนีเซีย (สมรานสุดดี, ๒๕๕๒ ก)ลักษณะทั่วไปและลักษณะเด่น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงได้ถึง ๔๐ เมตร ผลัดใบ เรือนยอดทรงรูปไข่ทึบ แตกกิ่งต่ําลําต้นสั้น มักบิดเป็นปุ่มปมและพูพอน เปลือกสีน้ําตาลแดงหรือน้ําตาลเทา แตกเป็นสะเก็ดหนา กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีเทาใบ ประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงเวียนสลับ มีใบย่อย ๒–๔ คู่เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง ๕–๘ เซนติเมตร ยาว ๙–๒๗เซนติเมตร ปลายใบมนมีติ่งแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบหนาใบอ่อนสีแดงเรื ่อ ๆ มีขนตามเส้นใบ ใบแก่เกลี้ยง ขอบใบเป็นคลื่นเส้นแขนงใบข้างละ ๘–๑๖ เส้น ก้านช่อใบ ๕–๑๐ เซนติเมตรผิวใบด้านบนค่อนข้างเกลี้ยง ด้านล่างมีขนดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งสีขาวอมเขียว ช่อดอกยาว ๒๐-๓๐ เซนติเมตร กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ไม่มีกลีบดอก ดอกสมบูรณ์เพศ เกสรเพศผู้๖-๘ อัน ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น ๓ แฉก ดอกบานเต็มทีกว้าง ๕–๘ มิลลิเมตรผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ทรงไข่แกมขอบขนาน กว้าง๐.๕–๑ เซนติเมตร ยาว ๑–๓ เซนติเมตร ปลายและโคนผลแหลมเปลือกเรียบและเกลี้ยง ผลสุกสีน้ําตาล ผิวเกลี้ยง เนื้อในสีเหลือง ฉ่ําน้ําหุ้มเมล็ด ๑-๒ เมล็ด เมล็ดรูปไข่ลักษณะเด่น กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ไม่มีกลีบดอก ผลสุกเนื้อในสีเหลือง ฉ่ําน้ําหุ้มเมล็ดความสําคัญของพันธุ์ไม้ -การปลูกและการดูแล ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและแยกหน่อ (สุธรรม อารีกุล, ๒๕๕๒ ค)ช่วงการออกดอกและติดผล ออกดอกเดือนมีนาคมถึงเมษายนออกผลเดือนมีนาคมถึงสิงหาคม แตกต่างจาก ประนอมจันทรโณทัย (๒๕๕๐) กล่าวว่า ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมประโยชน์ทั่วไป เนื้อไม้ทําล้อเกวียน เพลารถ เครื่องไถ ด้ามเครื่องมือ ใบอ่อน ทําให้สุกรับประทานเป็นเครื่องเคียง เยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุก รับประทานได้ น้ํามันจากเมล็ด ใช้ในการทําอาหารใช้แต่งผม ทําผ้าบาติก (สมราน สุดดี, ๒๕๕๒ ก) เปลือกใช้ย้อมสี ใบอ่อน กินเป็นผัก เยื่อหุ้มเมล็ด กินได้ เมล็ด นํามาสกัดเอาน้ํามัน (ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สํานักวิชาการป่าไม้, ๒๕๔๒) ปลูกเพื่อเลี้ยงครั่ง เนื้อไม้ ใช้ทําเครื่องมือทางการเกษตร เช่น ลูกหีบน้ํามัน ลูกหีบอ้อย สากตําข้าวดุมล้อเกวียน ผลแก่ รับประทานได้ มีรสเปรี้ยว (สุรชัย มัจฉาชีพ,๒๕๔๑) เนื้อไม้ ใช้ในการอุตสาหกรรมไม้ ทําฟืนและถ่าน(ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สํานักวิชาการป่าไม้, ๒๕๔๒; สุรีย์ภูมิภมร, อนันต์ คําคง, ๒๕๔๐) สรรพคุณทางสมุนไพร เปลือกสมานท้อง แก้ท้องเสีย (พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, ๒๕๕๐ ข; สมรานสุดดี, ๒๕๕๒ ก; สุรชัย มัจฉาชีพ, ๒๕๔๑) น้ํามันเมล็ด แก้ผมร่วง(พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, ๒๕๕๐ ข; สุรชัย มัจฉาชีพ, ๒๕๔๑) เปลือกแก้ฝีหนอง ขับน้ํานมในสตรีหลังคลอดบุตร (พงษ์ศักดิ์ พลเสนา,๒๕๕๐ ข) น้ํามันจากเมล็ด ใช้แก้อาการคัน แก้สิว อาการติดเชื้อทางผิวหนัง (สมราน สุดดี, ๒๕๕๒ ก)ประโยชน์ด้านการลดมลพิษและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง-

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!