11.07.2015 Views

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

๔ - ๙๐๔๕. กะพ้อชื่อพฤกษศาสตร์ Licuala spinosa Thunb.ชื่อวงศ์ PALMAEชื่อพื้นเมือง กะพ้อเขียว พ้อ (ภาคใต้) กะพ้อหนาม (ภาคกลาง)ชื่อสามัญ Mangrove fan palm (ปิยะ เฉลิมกลิ่น, ๒๕๕๐ ข)นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ ขึ้นตามชายป่า ในที่น้ําขังจนถึงริมทะเล ในประเทศไทยพบทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๓๘) พบตามลําธารในป่าดงดิบชื้นและที ่ลุ่มน้ําขังในป่าพรุ (สุรีย์ ภูมิภมร, อนันต์คําคง, ๒๕๔๐)ลักษณะทั่วไปและลักษณะเด่น ปาล์มแตกกอ สูงได้ถึง ๕เมตร ลําต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๕-๘ เซนติเมตร บางครั้งอยู่รวมกันแน่น ทําให้ดูทึบ รอยกาบใบเห็นไม่ชัดนัก มักมีกาบใบที่ไม่หลุดร่วงปกคลุมอยู่ใบ ใบประกอบแบบนิ้วมือ รูปพัด ลักษณะคล้ายฝ่ามือ เรียงเวียนสลับ ขอบใบหยักเว้าลึกถึงสะดือ แตกเป็นใบย่อย ๘–๑๒ใบ แผ่นใบแผ่กว้าง ๑ เมตร ก้านใบยาว ๐.๕๐–๑.๕๐ เมตรสีเขียว ขอบก้านใบมีหนามแข็งและยาวโค้ง ใบย่อยรูปแถบปลายเบี้ยว และเว้าเป็นหางปลา โคนสอบ ออกเป็นกลุ่มชิดกันที่ปลายก้านใบ โคนก้านใบมีเส้นใยประสานกันหุ้มหนาแน่นกาบใบเล็กเป็นหลอด สีเขียวดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ช่อดอกสมบูรณ์เพศ ๕–๗ ช่อห้อยลง ออกระหว่างกาบใบ ยาว ๒ เมตร ดอกไม่มีก้าน กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย เมื่อดอกเจริญขึ้นกลีบเลี้ยงจะฉีกออกทางด้านข้าง กลีบดอกรูปคนโท โคนติดกัน ปลายแยกเป็น ๓ แฉกเกสรเพศผู้ ๖ อัน ติดกันเป็นวงรอบกลีบดอก เกสรเพศเมียเล็กรังไข่ตอนบนตัดแบนผล รูปกลม ขนาด ๑ เซนติเมตร เมื่อสุกสีแดง เมล็ดกลมลักษณะเด่น ใบประกอบ รูปพัด ลักษณะคล้ายฝ่ามือ ขอบก้านใบมีหนามแข็งและยาวโค้งความสําคัญของพันธุ์ไม้ -ช่วงการออกดอกและติดผล ออกดอกเดือนธันวาคมถึงมีนาคม ผลแก่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน (สุรีย์ ภูมิภมร, อนันต์คําคง, ๒๕๔๐) ต่างจากราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๓๘) ที่กล่าวว่าออกดอกและติดผลเกือบตลอดปีการปลูกและการดูแล ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ใช้เวลา๖-๘ เดือน จึงงอก ช่วงประดับที่สวยงามมีความสูง ๐.๕-๑.๕๐เมตร ขึ้นได้ดีทั้งที่ร่มรําไรหรือที่ได้รับแสงแดดตลอดวัน (ปิยะเฉลิมกลิ่น, ๒๕๕๐ ข)ประโยชน์ทั่วไป เหมาะสําหรับปลูกเป็นไม้กระถางหรือปลูกลงแปลงในที่ร่มรําไรหรือกลางแจ้ง (ปิยะ เฉลิมกลิ่น, ๒๕๕๐ ข)นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั้งในร่มและกลางแจ้ง ชาวบ้านนิยมตัดใบอ่อนที ่ยังไม่คลี ่มาฉีกออกให้เหลือแต่ใบจริง นํามาห่อข้าวเหนียวผัดใส่ถั่วขาวหรือถั่วดํา นําไปนึ่ง ได้เป็นข้าวต้มมัดหรือตูป๊ะ(ภาษายาวีแปลว่า ข้าวต้มมัดใบกะพ้อ) รับประทานเป็นอาหารว่าง(พูนศักดิ์ วัชรากร, ๒๕๔๘) ยอดอ่อน รับประทานได้ ลําต้นใช้ทําเสารั้วและใช้ทําสิ ่งก่อสร้างชั่วคราว ใบแก่ ใช้ห่อของและมุงหลังคา (สุรีย์ ภูมิภมร, อนันต์ คําคง, ๒๕๔๐) ลําต้นแก่จัดใช้ทําเครื่องเรือน เช่น ทําบ้าน สะพาน เสารั้ว ยอดอ่อนใช้ประกอบอาหาร คล้ายยอดมะพร้าว เช่น ทําแกงเลียง แกงส้มใบอ่อน ใช้ห่อขนม (ข้าวต้มมัดใบกะพ้อ) ทํางานประดิษฐ์ เช่นงานจักสาน ใช้แทนเชือกผูกสิ่งของได้ ใบแก่ ใช้ทําหลังคาแทนหลังคามุงจากได้ ก้านใบแก่ ใช้สานทํากระด้ง แทนไม้ไผ่ได้ประโยชน์ด้านการลดมลพิษและข้อมูลอื ่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง-

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!