11.07.2015 Views

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฉบับวิชาการ - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

๔ - ๓๔๑๗. ก่อขี้ริ้วชื่อพฤกษศาสตร์ Lithocarpus falconeri (Kurz) Rehderชื่อวงศ์ FAGACEAEชื่อพื้นเมือง กาปูน (สตูล) ปัน (ยะลา)ชื่อสามัญ -นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ ขึ้นตามป่าเหล่า ป่าใสใหม่ ป่าดิบใกล้แหล่งน้ํา ที่ความสูงจากระดับน้ําทะเล ๕๐–๑๐๐ เมตร ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ต่างประเทศพบที่ประเทศพม่าและมาเลเซีย (จําลอง เพ็งคล้าย และคณะ, ๒๕๔๙)แตกต่างจาก ราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๓๘) กล่าวว่า พบทางภาคใต้ลักษณะทั่วไปและลักษณะเด่น ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูง ๗–๒๐ เมตร ตาใบรูปไข่ มีขนปกคลุม กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม มีช่องอากาศค่อนข้างหนาแน่น เปลือกลําต้นสีเทาถึงน้ําตาลคล้ํา แตกเป็นร่องเป็นสะเก็ดตามยาว เปลือกในสีน้ําตาลแกมชมพู ผิวด้านในมีสันยาวและกดเนื้อไม้ กระพี้สีขาวหรือเหลืองอ่อนใบ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอกกลับ กว้าง ๔–๑๐ เซนติเมตรยาว ๑๒–๓๕ เซนติเมตร โคนมนหรือสอบแคบเล็กน้อย ปลายเรียวแหลมหรือแหลมทู่ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาถึงหนาคล้ายแผ่นหนัง ใบอ่อนด้านบนสีเขียวอ่อนมีขนประปราย เมื่อแก่ผิวเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างสีจาง เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบนูนเด่นทางด้านล่าง และถูกกดเป็นร่องทางด้านบน เส้นแขนงใบข้างละ๙–๑๑ เส้น เส้นโค้งอ่อนและมักเชื่อมติดกับเส้นถัดขึ้นไปใกล้ขอบใบ เส้นใบย่อยแบบร่างแห สังเกตเห็นได้ทางด้านล่าง ก้านใบอวบยาว ๑–๑.๕ เซนติเมตรดอก ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียแยกต่างช่อหรือร่วมช่อเดียวกันในกรณีร่วมช่อ กลุ่มของดอกเพศเมียจะอยู่ทางโคนช่อ ช่อออกตามปลายกิ่งและตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง มีขนสีน้ําตาล ช่อดอกเพศผู้ส่วนใหญ่ไม่แยกแขนง ช่อยาว ๑๐-๓๐ เซนติเมตรประกอบด้วยดอกขนาดเล็ก สีขาวแกมเหลือง กลิ่นหอมอ่อนติดกระจายหรือเป็นกระจุก ๆ ละ ๒–๓ ดอก มีกลีบเลี้ยงหรือกลีบรวมที่โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น ๖ แฉก ๆ ยาวประมาณ ๒/๓ ของความยาวกลีบ มีขนนุ่มหนาแน่นทั้งสองด้านมีเกสรเพศผู้ ๑๒ อัน ผิวเกลี้ยง และมีรังไข่ที่ไม่เจริญรูปกลมแป้นขนาดเล็ก มีขนปกคลุมตรงกลาง ช่อดอกเพศเมียส่วนใหญ่เป็นช่อเดี ่ยวไม่แยกแขนง ช่อยาว ๑๐–๑๗ เซนติเมตร ดอกติดกระจายลักษณะทั่วไปคล้ายดอกเพศผู้ มีเกสรเพศผู้เป็นหมัน ๑๒ อันรังไข่รูปป้อม มี ๓ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๒ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียปลายถ่างออกจากกัน ๓–๔ อันผล รูปไข่หรือรูปกรวยคว่ํา เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕–๒ เซนติเมตร(รวมทั้งกาบหุ้มผล) ก้านผลเห็นไม่ชัด ติดกระจายตามช่อที่ยาว ๑๕–๒๕เซนติเมตร กาบไม่เชื่อมติดและไม่แยกเมื่อผลแก่จัด กาบหุ้มผลรูปถ้วย หุ้ม ๑/๔ ถึง ๑/๓ ของความยาวตัวผล ขอบกาบม้วนลงเล็กน้อย ผิวกาบเป็นเกล็ดบาง ติดเรียงสลับ ผิวเกล็ดด้านในติดแน่นกับกาบ ยกเว้นปลายแหลมที่โค้งออก แต่ละกาบมีผล ๑ ผล รูปไข่หรือรูปกรวยคว่ํา (จําลอง เพ็งคล้าย และคณะ, ๒๕๔๙)ลักษณะเด่น ใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอกกลับ ผลรูปไข่หรือรูปกรวยคว่ํา กาบหุ้มผลรูปถ้วย หุ้ม ๑/๔ ถึง ๑/๓ ของความยาวตัวผลขอบกาบม้วนลงเล็กน้อย ผิวกาบเป็นเกล็ดบาง ติดเรียงสลับความสําคัญของพันธุ์ไม้ -ช่วงการออกดอกและติดผล ออกดอกเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนติดผลเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน (จําลอง เพ็งคล้าย และคณะ, ๒๕๔๙)การปลูกและการดูแล ไม่พบข้อมูลการศึกษาวิธีขยายพันธุ์ของก่อขี้ริ้ว แต่มีการศึกษาของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (๒๕๔๙)ศึกษาก่อหม่น Lithocarpus elegans (Bl.) Hatus. ex Soep. เก็บเมล็ดที ่ร่วงอยู่บนพื้นในเดือนกันยายน แกะกาบหุ้มผลออก ใส่ลงในน้ําเพื่อแยกเมล็ดดี (เมล็ดที่จม) นํามาเพาะลงในถาดเพาะวางไว้ในที ่มีแสงรําไร ใช้ตะแกรงลวดคลุมเพื่อป้องกันการเข้าทําลายของหนูเมล็ดงอกช้าและทยอยงอกจนถึง ๒๗๐ วัน (ค่ากลางระยะพักตัว๑๔๐ วัน) อัตราการงอกสูงร้อยละ ๕๐-๗๐ ทยอยย้ายกล้าเมื่อมีใบแท้คู่แรก กล้าไม้โตช้าในระยะแรกแต่เร่งการเจริญได้โดยให้ปุ๋ยกล้าไม้สูงได้ขนาดปลูกในฤดูปลูกที่สองหลังเก็บเมล็ด (ระยะเวลาในเรือนเพาะชํานับจากเริ่มเพาะเมล็ดถึงวันที่ปลูกลงแปลงปลูก๒๑ เดือน) อาจใช้ทั้งผลปลูกโดยตรง เช่น การเพาะพืชในวงศ์ก่อ(Fagaceae) หรือพืชที่มีผลและเมล็ดหลายเมล็ดอยู่รวมกันในเปลือกชั้นในที่มีลักษณะแข็ง (endocarp) ซึ่งเรียกผลลักษณะนี้ว่าไพรีน (pyrene) (หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า, ๒๕๔๙)ประโยชน์ทั่วไป ก่อมีเนื้อไม้แข็งทนทานและมีลายสวยงาม ใช้ในการก่อสร้าง ต่อเรือ ทําถังเก็บสุรา ใช้ประกอบเครื่องเรือนชั้นดีใช้ในการเพาะเลี้ยงเห็ดหอม ทําฟืนและถ่าน ไม้ให้ความร้อนสูงในประเทศไทยไม่นิยมใช้ในการก่อสร้าง เพราะไม้ก่อของไทยหลังจากตัดฟัน มักจะแตกกลางเนื่องจากมีความชื้นสูง นอกจากบางชนิด เช่น ก่อแดง (Castanopsis hystrix DC.) ที ่ใช้กันบ้างในบางท้องที ่ ผลของไม้ก่อทุกชนิดเป็นอาหารของสัตว์ป่า เช่น เก้งกวาง หมี หมูป่า กระรอก และนกบางชนิด เปลือกก่อมีแทนนินสูงใช้ในการฟอกย้อมหนังได้ดี (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๓๘)ประโยชน์ด้านการลดมลพิษและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง-

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!