25.02.2015 Views

Download - โรงเรียนนายเรือ

Download - โรงเรียนนายเรือ

Download - โรงเรียนนายเรือ

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ระบบ ตรวจสอบลายนิ้วมือร่วมกับบันทึกภาพถ่ายบนคอมพิวเตอร์ชนิดมือถือ<br />

น.อ.ผศ.นพปฎล ชะนะ ผศ.ฝศษ.รร.นร.<br />

น.ท.ปิยะ ลิ้มสกุล อจ.ฝศษ.รร.นร.<br />

ในขั้นตอนของการบันทึกลายนิ้วมือบุคคลที่เข้าสอบภาควิชาการ เพื่อคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร<br />

ในส่วนของกองทัพเรือนั้นถือว่าเป็นขั้นตอนที่ส าคัญมาก เนื่องจากว่าผู้สมัครสอบอาจจะให้บุคคลอื่นมาท าการสอบ<br />

ข้อเขียนแทน หากเจ้าหน้าที่ไม่ท าการตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ก็จะเปิดโอกาสให้มีการทุจริตโดยการ<br />

สับเปลี่ยนผู้สอบได้ อีกทั้งการบันทึกลายนิ้วมือโดยการใช้ผ้าหมึกพิมพ์ส าหรับประทับตรายาง มาพิมพ์ลายนิ้วมือลง<br />

บนกระดาษนั้นยากแก่การตรวจสอบ และเสียเวลาเป็นอย่างมาก ถ้าหากมีการพัฒนาระบบบันทึกลายนิ้วมือ<br />

ร่วมกับการอ่านหมายเลขประจ าตัวสอบที่เป็นบาร์โค้ดและการถ่ายภาพผู้เข้าสอบ ส าหรับใช้งานบนคอมพิวเตอร์<br />

ชนิดมือถือก็จะท าให้ เจ้าหน้าที่สามารถเก็บหลักฐานในการพิสูจน์ตัวตนของผู้สมัครสอบได้สะดวกรวดเร็วและลด<br />

ข้อผิดพลาดอีกด้วย<br />

๑.ปัญหาและเหตุผล<br />

โดยปกติแล้วเครื่องอ่านและบันทึกลายนิ้วมือแบบทั่วไปที่มีขายตามท้องตลาดผู้ผลิตได้ออกแบบมาใช้<br />

ส าหรับการบันทึก และตรวจสอบลายนิ้วมือเท่านั้น ซึ่งไม่ครอบคลุมงานบางอย่าง ที่จะต้องท าการบันทึกหมายเลข<br />

ประจ าตัวเพื่อการตรวจสอบอย่างรัดกุม หากเราสามารถพัฒนาโปรแกรมบันทึกลายนิ้วมือให้ท างานร่วมกับ<br />

โปรแกรมอ่านบาร์โค้ดและการถ่ายภาพผู้เข้าสอบ เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์แบบมือถือแล้วจะสามารถช่วยให้การ<br />

ตรวจสอบบุคคลได้รัดกุมยิ่งขึ้น ส าหรับการศึกษาในงานวิจัยนี้จะเป็นต้นแบบให้สามารถน าเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในการ<br />

ตรวจสอบบุคคลพลเรือนที่มาเข้าสอบ ในการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือได้<br />

๒. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง<br />

๒.๑ บาร์โค้ด( Barcode)<br />

บาร์โค้ด (Barcode) คือ สัญลักษณ์รหัสแท่งที่ใช้แทนข้อมูลตัวเลขมีลักษณะเป็นแถบมีความหนา-บาง<br />

แตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวเลขที่ก ากับอยู่ข้างล่าง การอ่านข้อมูลจะอาศัยหลักการสะท้อนแสง เพื่ออ่านข้อมูลเข้าเก็บ<br />

ในคอมพิวเตอร์โดยตรงไม่ต้องผ่านการกดปุ่มที่แป้นพิมพ์ ระบบนี้เป็นมาตรฐานสากลที่นิยมใช้กันทั่วโลก การน าเข้า<br />

ข้อมูลจากรหัสแถบเป็นวิธีที่รวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูลสูง ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้งานได้ดี ในปัจจุบัน<br />

นี้การใช้บาร์โค้ดยังเป็นที่นิยม เนื่องจากมีราคาถูกมีความรวดเร็วและทันสมัยต่อเหตุการณ์<br />

รหัสบาร์โค้ด ประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ ส่วนลายเส้นซึ่งเป็นลายเส้นสีขาว (โปร่งใส) และสีด า มีขนาดความ<br />

กว้างของลายเส้นตามมาตรฐานแต่ละชนิดของบาร์โค้ด ส่วนข้อมูลตัวอักษรเป็นส่วนที่แสดงความหมายของข้อมูล<br />

ลายเส้นส าหรับให้อ่านเข้าใจได้ และส่วนสุดท้ายแถบว่าง (Quiet Zone) เป็นส่วนที่เครื่องอ่านบาร์โค้ดใช้ก าหนด


ขอบเขตของบาร์โค้ด และก าหนดค่าให้กับสีขาว (ความเข้มของการสะท้อนแสงในสีของพื้นผิวแต่ละชนิดที่ใช้แทนสี<br />

ขาว) โดยแต่ละเส้นจะมีความยาวเท่ากันเรียงตามล าดับในแนวนอนจากซ้ายไปขวา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเครื่องอ่าน<br />

บาร์โค้ด (Barcode Scanner) ในการอ่านข้อมูลที่บันทึกไว้<br />

ส าหรับการอ่านรหัสแถบ ใช้หลักการที่ว่า พื้นสว่างจะสะท้อนได้มากกว่าพื้นมืด ดังนั้นเมื่อตัวอ่านถูกกวาด<br />

ไปบนรหัสแถบ ล าแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหัวอ่านจะสะท้อนกลับมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่า มันได้ตกกระทบ<br />

แถบขาวหรือแถบด า แสงสะท้อนกลับเหล่านี้จะถูกดัดแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าโดย โฟโต้ไดโอด (Photodiode) ที่<br />

ติดอยู่ที่หัวอ่าน องค์ประกอบส าคัญของตัวอ่านรหัสแถบก็คือ ขนาดของล าแสงที่ส่งออกมานั้น จะต้องสัมพันธ์กับ<br />

ความละเอียด (Resolution) ของแถบ กล่าวคือ ขนาดของมันจะต้องไม่ใหญ่กว่าความกว้างของแถบด าหรือแถบ<br />

ขาวที่แคบที่สุด ในทางปฏิบัติจะใช้จุดล าแสงที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๐.๒ มม.<br />

๒.๒ ลายนิ้วมือ (Fingerprint)<br />

การสร้างลายผิวบนนิ้วมือถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซมร่างกายมากถึง ๗ ต าแหน่ง และเป็นการ<br />

ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลร่วมด้วย (Polygenic trait, Multifactorial inheritance) ท าให้แต่<br />

ละคนมีเส้นลายนิ้วมือที่แตกต่างกันไป ลักษณะลายเส้นของนิ้วมือมนุษย์ยังไม่มีวิธีการที่จะเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่าง<br />

อื่นได้ เพราะเหตุว่าลายพิมพ์นิ้วมือที่ช ารุดไปด้วยสาเหตุใดก็ตาม จะเกิดขึ้นใหม่ในรูปและสภาพเดิมเสมอ เว้นแต่<br />

จะท าลายให้ลึกลงไปจนถึงต่อมเหงื่อ โดยการเฉือนใต้ผิวหนังออกให้หมด ลายเส้นของนิ้วมือก็จะถูกท าลาย<br />

การที่ลายนิ้วมือมีรูปแบบเฉพาะในแต่ละคน เป็นคุณสมบัติที่ส าคัญอีกอย่างหนึ่งของลายนิ้วมือนั้น ตั้งแต่<br />

เริ่มมีการใช้เก็บและเปรียบเทียบลายนิ้วมือโดยใช้วิธีสมัยใหม่ ยังไม่มีการตรวจพบว่ามีการเหมือนกันของลายนิ้วมือ<br />

อีกทั้งถ้าจะอธิบายด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ก็มีการศึกษาของ Sir Francis Galton (1892)<br />

ซึ่งได้ประมาณไว้ว่า โอกาสที่คนสองคนจะมีลายนิ้วมือเหมือนกันนั้นมีความน่าจะเป็นอยู่ที่ ๑/๖๔,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐<br />

ซึ่งเป็นการประเมินค่าโดยใช้การแบ่งรายละเอียดรูปแบบของลายนิ้วมือออกเป็นส่วนๆ และหาความน่าจะเป็นของ<br />

การซ้ ากันของแต่ละส่วนนั้น แล้วน าความน่าจะเป็นของแต่ละส่วนมาคูณกันเพื่อหาความน่าจะเป็นทั้งหมด<br />

๒.๓ คอมพิวเตอร์ชนิดมือถือ (Handheld Computer) และ ระบบปฏิบัติการ Windows CE<br />

Windows CE เป็นระบบปฏิบัติการ ๓๒ บิต ที่เรียกว่า Embedded Operating System เป็น<br />

ระบบปฏิบัติการส าหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้าไปฝังอยู่ในเครื่องมือเครื่องใช้ ๆเพื่อใช้ควบคุมเครื่องมือ<br />

เครื่องใช้อย่างหุ่นยนต์อุตสาหกรรม หัวจ่ายน้ ามัน เครื่องมือแพทย์ เครื่องเล่นเพลง กล้องถ่ายรูป ฯลฯ<br />

การน าเอา Windows CE มาใช้กับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อควบคุมการท างานของเครื่องมือ ผู้ผลิตจะมี<br />

Platform Builder ซึ่งเป็นเครื่องจ าลองการท างานของสินค้าที่จะผลิตจริง โดยน าเอารหัสโปรแกรมที่ควบคุม<br />

อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เข้ามาประกอบด้วยกัน สร้างเป็นระบบปฏิบัติการเฉพาะส าหรับเครื่องมือแต่ละอย่าง เมื่อ<br />

ทดสอบบน Platform Builder เรียบร้อยแล้ว ผู้ผลิตก็จัดการน าเอาระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมานี้ ไปใส่ลงใน<br />

คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อควบคุมเครื่องมือที่ผลิตขึ้นมา โดยที่เครื่องมือนั้นจะต้องใช้อุปกรณ์ตามที่ก าหนดไว้ เช่น<br />

ใช้ CPU x86 หรือ ARM และมี Boot Loader ไว้เรียกระบบปฏิบัติการขึ้นมาใช้


๓. ขั้นตอนการด าเนินงาน<br />

ส าหรับขั้นตอนในการด าเนินโครงงานนี้ผู้เขียนจะเครื่องมือ Visual Studio 2008 ท าการออกแบบ<br />

โปรแกรมให้สามารถใช้งานได้บนคอมพิวเตอร์ชนิดมือถือของบริษัท Chainway รุ่น C5000Z ซึ่งเป็น Handheld<br />

Computer ที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการ โดยมีคุณลักษณะเฉพาะที่ส าคัญ ดังนี้<br />

CPU : Samsung ARM920T@533 MHz , Memory : 128 MB RAM/1GB Flash , OS : Microsoft<br />

WinCE 6.0 Pro , Wireless Communication, Display : TFT Touch Screen, Fingerprints, Barcode<br />

Scanner , RFID Reader , Camera แสดงดังรูปที่ ๑<br />

Barcode Scanner<br />

Display<br />

RFID Reader<br />

Fingerprint Scanner<br />

Camera<br />

Serial Port<br />

รูปที่ ๑ คอมพิวเตอร์ชนิดมือ รุ่น C5000Z<br />

ในขั้นตอนการออกแบบ ระบบต้องสามารถ ท าการสแกนหมายเลขประจ าตัวสอบซึ่งเป็นบาร์โค้ดรหัส 39<br />

ท าการเก็บบันทึกลายนิ้วมือผู้เข้าสอบ ท าการบันทึกภาพถ่ายลายนิ้วมือ และท าการบันทึกภาพผู้เข้าสอบไว้ใน<br />

หน่วยความจ าชนิดแฟลช (Flash memory) เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้มาเข้าสอบเป็นคนเดียวกับบุคคลที่มา<br />

รายงานตัวเพื่อสอบภาคพละศึกษา โดยเราสามารถแบ่งการพัฒนาโปรแกรมได้ ๔ ส่วนดังนี้ การพัฒนาโปรแกรมใน<br />

ส่วนการสแกนบัตรประจ าตัวสอบ การพัฒนาโปรแกรมในส่วนบันทึกลายนิ้วมือ การพัฒนาโปรแกรมในส่วนการ<br />

ถ่ายภาพผู้เข้าสอบ และ การพัฒนาโปรแกรมในส่วนตรวจสอบลายนิ้วมือและแสดงภาพถ่าย โดยโปรแกรมในส่วน<br />

ของขั้นตอนการเก็บข้อมูลผู้เข้าสอบจะท างานสัมพันธ์กันตามรูปที่ ๒


( )<br />

/<br />

1<br />

รูปที่ ๒ แสดงการท างานของโปรแกรมในขั้นตอนการเก็บบันทึก ลายนิ้วมือและภาพถ่าย<br />

๓.๑ การพัฒนาโปรแกรมในส่วนการสแกนบัตรประจ าตัวสอบ<br />

บัตรประจ าตัวสอบจะประกอบไปด้วยส่วนที่ส าคัญคือ รูปถ่าย และหมายเลขประจ าตัวสอบที่เป็นตัวเลข<br />

และรหัสบาร์โค้ด 39 โดยเจ้าหน้าที่จะท าการสแกนบัตรเพื่ออ่านหมายเลขประจ าตัวสอบเก็บเข้าหน่วยความจ าดัง<br />

แสดงในรูปที่ ๓<br />

รูปที่ ๓ แสดงโปรแกรมในส่วนสแกนบัตรประจ าตัวสอบ<br />

๓.๒ การพัฒนาโปรแกรมในส่วนบันทึกลายนิ้วมือ<br />

เมื่อเจ้าหน้าที่ท าการสแกนบัตรเพื่ออ่านหมายเลขประจ าตัวสอบ ของผู้เข้าสอบแล้วจะปิดโปรแกรมในส่วน<br />

ของการสแกนบัตรประจ าตัวสอบ แล้วท าการเปิดโปรแกรมสแกนลายนิ้วมือ ซึ่งจะปรากฏหมายเลขประจ าตัวสอบ<br />

ของผู้เข้าสอบเพื่อใช้อ้างอิงเวลาบันทึกลายนิ้วมือ โดยโปรแกรมจะท าการตรวจสอบลายนิ้วมือ ๒ ครั้งเพื่อ


เปรียบเทียบ และท าการตรวจหาจุดเด่นเพื่อรวมเป็นไฟล์เดียวก่อนที่จะบันทึกลงในหน่วยความจ าของโมดูล สแกน<br />

นิ้วมือ แสดงในรูปที่ ๔ หรือหากต้องการบันทึกเป็นภาพลายนิ้วมือเพื่อเก็บไว้ตรวจสอบในภายหลัง สามารถท าได้<br />

โดยการกดเมนูภาพลายนิ้วมือเพื่อเก็บบันทึกภาพไว้ใน หน่วยความจ าชนิดแฟลช แสดงในรูปที่ ๕<br />

รูปที่ ๔ แสดงโปรแกรมบันทึกลายนิ้วมือ รูปที่ ๕ แสดงโปรแกรมบันทึกภาพลายนิ้วมือ<br />

๓.๓ การพัฒนาโปรแกรมในส่วนการถ่ายภาพผู้เข้าสอบ<br />

เมื่อเจ้าหน้าที่ท าการสแกนลายนิ้วมือ และบันทึกภาพลายนิ้วมือของผู้เข้าสอบเรียบร้อยแล้วจะท าการปิด<br />

โปรแกรมสแกนลายนิ้วมือและท าการเปิดโปรแกรมถ่ายภาพผู้เข้าสอบเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานอีกอย่างหนึ่งโดย<br />

โปรแกรมจะท าการถ่ายภาพและบันทึกชื่อไฟล์ภาพเป็นชื่อเดียวกับหมายเลขประจ าตัวสอบที่สแกนเข้ามาในครั้ง<br />

แรก เพื่อใช้อ้างอิงในให้กับโปรแกรมตรวจสอบภายหลัง แสดงในรูปที่ ๖<br />

รูปที่ ๖ แสดงโปรแกรมบันทึกภาพผู้เข้าสอบ


๓.๔ การพัฒนาโปรแกรมในส่วนตรวจสอบลายนิ้วมือและแสดงภาพถ่าย<br />

โปรแกรมในส่วนการตรวจสอบลายนิ้วมือและแสดงภาพถ่ายนั้น จะใช้ในช่วงการรายงานตัวเพื่อสอบภาค<br />

พละศึกษา โดยผู้ที่สอบผ่านภาควิชาการในรอบแรกจะมารายงานตัวเพื่อสอบพละศึกษา ประมาณ ๕๐๐ คน<br />

เจ้าหน้าที่จะท าการตรวจสอบลายนิ้วมือผู้มารายงานตัว เพื่อแสดงว่าเป็นบุคคลนั้นได้มาสอบภาควิชาการจริง<br />

โปรแกรมจะท าการตรวจสอบ ลายนิ้วมือพร้อมทั้งแสดงภาพถ่ายของผู้เข้าสอบภาควิชาการเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทราบ<br />

แสดงในรูปที่ 7 และในกรณีที่ตรวจสอบไม่พบโปรแกรมจะแสดงในรูปที่ ๘<br />

รูปที่ ๗ แสดงโปรแกรมตรวจสอบพบข้อมูลผู้เข้าสอบ รูปที่ ๘ แสดงโปรแกรมตรวจสอบไม่พบข้อมูลผู้เข้าสอบ<br />

๔. ผลการด าเนินงาน<br />

๔.๑ การทดสอบโปรแกรมในส่วนการบันทึกข้อมูลผู้เข้าสอบ<br />

ส าหรับการทดสอบโปรแกรมในส่วนบันทึกข้อมูลผู้เข้าสอบนั้น ผู้เขียนได้ทดสอบกับนักเรียนนายเรือ<br />

จ านวน ๒๐ นาย และข้าราชการอีกจ านวน ๒๐ นาย โดยท าการสแกนบาร์โค้ดรหัส 39 ที่ได้พิมพ์ขึ้นเอง เพื่อใช้ใน<br />

การทดสอบ ท าการบันทึกลายนิ้วมือลงในโมดูล ท าการเก็บภาพลายนิ้วมือลงในหน่วยความจ าชนิดแฟลช ท าการ<br />

เก็บภาพถ่ายบุคคลลงในหน่วยความจ าชนิดแฟลช เช่นกัน ท าการจับเวลาตั้งแต่กระบวนการสแกนบาร์โค้ด จนถึง<br />

ขั้นตอนบันทึกภาพถ่ายซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายในส่วนการเก็บข้อมูลผู้เข้าสอบ ใช้เวลาทั้งสิ้น ๓๐ วินาที/๑ คน<br />

ตรวจสอบขนาดไฟล์ภาพถ่ายลายนิ้วมือมีขนาด ๗๓ KB เป็นไฟล์ภาพชนิด .BMP (เพื่อความละเอียดในการ<br />

ตรวจสอบ) ตรวจสอบไฟล์ภาพถ่ายผู้เข้าสอบมีขนาด ๑๔ KB เป็นไฟล์ภาพชนิด .JPEG (ไม่ต้องการความละเอียด<br />

มาก) รวมเวลาเก็บข้อมูลบุคคลทั้งหมด ๔๐ คน ใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาที และใช้เนื้อที่เก็บภาพลายนิ้วมือ และ<br />

ภาพถ่ายบุคคลทั้งหมด ๔๐ คน จ านวน ๓.๕ MB ระบบมีเสถียรภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่มีการติดขัดเนื่องจากได้<br />

ออกแบบโปรแกรมทั้งสี่ส่วนให้ท างานทีละโปรแกรมไม่เปิดพร้อมกันทั้งสี่โปรแกรม เนื่องจากระบบมีหน่วยความจ า<br />

เพียง ๑๒๘ MB


๔.๒ การทดสอบโปรแกรมในส่วนการตรวจสอบลายนิ้วมือ<br />

ในการทดสอบโปรแกรมในส่วนการตรวจสอบลายนิ้วมือ ผู้เขียนได้ทดสอบกับนักเรียนนายเรือจ านวน ๒๐<br />

นาย และข้าราชการอีกจ านวน ๒๐ นาย เหมือนกับขั้นตอนบันทึกข้อมูล ท าการจับเวลาตั้งแต่กระบวนการสแกน<br />

นิ้วมือเพื่อตรวจสอบใช้เวลาทั้งสิ้น ๓ วินาที/คน รวมเวลาตรวจสอบบุคคลจ านวน ๔๐ นาย ใช้เวลาประมาณ ๔<br />

นาที ระบบมีเสถียรภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่มีการติดขัดเนื่องจากได้ออกแบบโปรแกรมไม่ให้ท างานพร้อมกัน และคืน<br />

ทรัพยากรให้กับระบบทุกครั้งที่ปิดการใช้งาน<br />

๕.สรุปผลการด าเนินงานและข้อเสนอแนะ<br />

๕.๑ สรุปผลการด าเนินงาน<br />

จากผลการด าเนินงานผู้เขียนคิดว่าในช่วงการเก็บข้อมูลผู้เข้าสอบ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน การสแกนบัตร<br />

ประจ าตัวสอบ การบันทึกลายนิ้วมือ การบันทึกภาพลายนิ้วมือ และการถ่ายภาพผู้เข้าสอบใช้เวลาค่อนข้างมาก<br />

เนื่องจากว่าเสียเวลาในส่วนการจัดวางต าแน่งนิ้วมือของผู้เข้าสอบให้เหมาะสมและการบันทึกภาพลายนิ้วมือถึง ๒๐<br />

วินาที เพื่อท าการแปลงไฟล์ภาพให้เป็นไฟล์ภาพชนิด .BMP ส่วนการบันทึกลายนิ้วมือลงบนตัวโมดูลสแกนนิ้วมือ<br />

นั้นจะจ ากัดอยู่ที่ ๑๐๒๔ คน (เป็นข้อจ ากัดของตัวโมดูลสแกนนิ้วมือ) ในส่วนของหน่วยความจ าชนิดแฟลช ที่ใช้เก็บ<br />

ภาพลายนิ้วมือ และภาพถ่ายจะจ ากัดอยู่ที่ 1 GB นั่นหมายถึงเราสามารถบันทึกข้อมูลของบุคคลที่เป็นภาพ<br />

ลายนิ้วมือ และภาพถ่ายได้ประมาณ ๑๑,๔๐๐ คน แต่จะถูกจ ากัดที่ตัวโมดูลสแกนนิ้วมือซึ่งจ ากัดอยู่ที่ ๑๐๒๔ คน<br />

๕.๒ ข้อเสนอแนะ<br />

จากข้อมูลของคณะอนุกรรมการรับสมัคร ฯ พบว่าในแต่ละปีจะมีบุคคล ที่เป็นฝาแฝดมาสอบเข้าเป็น<br />

นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ ประมาณปีละ 80 คู่ ซึ่งเจ้าหน้าที่คุมสอบจะต้องท าการตรวจบัตร<br />

ประชาชน และหมายเลขประจ าตัวสอบอย่างรอบคอบ แต่ก็มีโอกาสที่จะผิดพลาดได้ในการสอบแทนกัน ประกอบ<br />

กับผลการทดลองพบว่ามีช่วงเวลาที่จ ากัดในการเก็บบันทึกข้อมูลผู้เข้าสอบที่มีจ านวนมาก ซึ่งควรจะเก็บบันทึก<br />

ข้อมูลผู้เข้าสอบให้เสร็จสิ้นภายใน ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที หลังจากเริ่มท าการสอบ และข้อจ ากัดของตัวโมดูลสแกนนิ้ว<br />

มือจ ากัดอยู่ที่ ๑๐๒๔ คน จากข้อจ ากัดดังกล่าวผู้เขียนมีแนวความคิดในการเก็บบันทึกข้อมูลผู้เข้าสอบเป็น ๒<br />

แนวทาง ดังนี้<br />

แนวทางที่แรก<br />

ขั้นตอนที่ ๑. เก็บบันทึกหมายเลขประจ าตัวสอบโดยการสแกนบาร์โค้ด และท าการถ่ายรูปผู้เข้าสอบ<br />

เพื่อเป็นหลักฐานในการแสดงตนในวันสอบภาคพละศึกษาเฉพาะผู้เข้าสอบที่ไม่ได้มีคู่แฝด ซึ่งจะใช้เวลาในการเก็บ<br />

ข้อมูล ๕ วินาที/คน ในกรณีที่มีผู้เข้าสอบ ๑๘,๐๐๐ คน จะใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที ส าหรับเครื่อง<br />

บันทึก ๒๐ เครื่อง<br />

ขั้นตอนที่ ๒. เก็บบันทึกหมายเลขประจ าตัวสอบ เก็บบันทึกลายนิ้วมือ และถ่ายรูปผู้เข้าสอบที่เป็นแฝด<br />

ทั้งหมดประมาณ ๑๖๐ คน เพื่อเป็นหลักฐานในการแสดงตนในวันสอบภาคพละศึกษา<br />

ข้อดีคือ ผู้เข้าสอบทั้งหมดถูกบันทึกภาพไว้เพื่อตรวจสอบ ข้อเสียคือ ใช้งบประมาณมากในการจัดหาเครื่อง


แนวทางที่สอง<br />

ท าการเก็บบันทึกลายนิ้วมือผู้เข้าสอบทั่วไปที่ไม่ใช่คู่แฝด โดยใช้หมึกพิมพ์เหมือนที่เคยท า ส่วนคู่แฝดให้ใช้<br />

เครื่องบันทึกลายนิ้วมือ และถ่ายภาพเก็บไว้เพื่อตรวจสอบในวันสอบภาคพละศึกษา<br />

ข้อดีคือ ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณมาก ข้อเสียคือ เจ้าหน้าที่ต้องมีความรอบคอบในการตรวจสอบ บัตรประจ าตัว<br />

ว่าผู้เข้าสอบมีใบหน้าตรงกับรูปในบัตรประจ าตัวหรือไม่<br />

สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณ คณะกรรมการวิจัย<strong>โรงเรียนนายเรือ</strong> ที่กรุณาสนับสนุนงบประมาณในการ<br />

ท างานวิจัย และ<strong>โรงเรียนนายเรือ</strong>สถานที่ให้ความรู้กับผู้เขียนมาโดยตลอด ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะ<br />

เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านที่สนใจในการน าเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ ปิดช่องว่างให้มากที่สุด<br />

ที่อาจท าให้เกิดปัญหาได้ เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพสูงสุด<br />

บรรณานุกรม<br />

[๑] พรศิลป์ พฤทธิวงศ์, การพิมพ์รหัสบาร์โค้ดบนสติ๊กเกอร์ฯ , วารสารวิทยบริการ ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๑<br />

มกราคม-เมษายน ๒๕๕๑<br />

[๒] ณัฐพงษ์ ประภาศิริ, วราภรณ์ ค าป้อ ,ระบบตรวจสอบการระบุตัวตนนักศึกษาโดยใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือ<br />

โครงงานคอมพิวเตอร์ ประจ าปีการศึกษา ๒๕๕๔ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์,มหาวิทยาลัยพายัพ<br />

[๓] C5000Z Mobile Data Terminal User’s Manual,2011 by Chainway Information Technology<br />

Co., Limited.<br />

[๔] C5000W API Instructions, Chainway Information Technology Co., Limited.<br />

[๕] Windows embedded ce 6.0 fundamentals, by Stanislav Pavlov; Pavel Belevsky, Microsoft

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!