22.02.2015 Views

AG-Bio Vol 002.indd - ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร - มหาวิทยาลัย ...

AG-Bio Vol 002.indd - ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร - มหาวิทยาลัย ...

AG-Bio Vol 002.indd - ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร - มหาวิทยาลัย ...

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ปที่ 2 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน พ.ศ. 2553<br />

<strong>Vol</strong>. 2 No. 2 April - June 2010<br />

สัมภาษณ์พิเศษ<br />

การอารักขาพืชระหว่างประเทศ<br />

ตามมาตรการสุขอนามัยพืช<br />

ผลงานเด่น<br />

พืชปลอดโรค<br />

และอาหารปลอดภัย<br />

คุยกับ ผอ.<br />

ศัตรูพืช และความมั่นคงด้านอาหาร<br />

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร<br />

สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา<br />

เรื่องน่ารู้ Ag<strong>Bio</strong>tech<br />

เทคนิคอณูชีววิทยากับมาตรฐาน<br />

มาตรการสุขอนามัยพืชระหว่างประเทศ<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 1<br />

7/20/10 11:31:14 PM


สารบัญ<br />

04 10<br />

04 คุยกับ ผอ. :<br />

ศัตรูพืช<br />

และความมั่นคงด้านอาหาร<br />

06 ผลงานเด่น :<br />

พืชปลอดโรคและอาหารปลอดภัย<br />

08<br />

08 แนะนำสถาบัน :<br />

สถาบันภาคีของศูนย์ความเป็นเลิศ<br />

เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร<br />

<strong>มหาวิทยาลัย</strong>สงขลานครินทร์<br />

10 สัมภาษณ์พิเศษ :<br />

“การอารักขาพืชระหว่างประเทศ<br />

ตามมาตรการสุขอนามัยพืช”<br />

13 PERDO TODAY :<br />

ความเป็นเอตทัคคะทางวิชาการ<br />

ของศูนย์ความเป็นเลิศ<br />

14 เรื่องน่ารู้ Ag<strong>Bio</strong>tech :<br />

เทคนิคอณูชีววิทยากับมาตรฐาน<br />

มาตรการสุขอนามัยพืชระหว่าง<br />

ประเทศ<br />

14<br />

19<br />

18 Ag<strong>Bio</strong>tech Hot News :<br />

ชีวิต (ใกล้จะ) สังเคราะห์ได้?<br />

20 ข่าวกิจกรรม<br />

ติดต่อขอรับข่าวสารฯ ได้ที่<br />

หน่วยประสานงาน : <strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong><br />

ตู้ ปณฝ. 1028 <strong>มหาวิทยาลัย</strong>เกษตรศาสตร์ บางเขน จตุจักร กรุงเทพฯ 10903<br />

สำนักงาน : บางเขน<br />

อาคารพิพิธภัณฑ์แมลง 60 ปี <strong>มหาวิทยาลัย</strong>เกษตรศาสตร์ บางเขน จตุจักร กรุงเทพฯ 10900<br />

โทรศัพท์ 0 2942 8361, 0 2942 7133 โทรสาร 0 2942 8258<br />

สำนักงาน : กำแพงแสน<br />

ชั้น 1 อาคารปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร <strong>มหาวิทยาลัย</strong>เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน<br />

จ.นครปฐม 73140 โทรศัพท์ 0 3428 2494 ถึง 7 โทรสาร 0 3428 2498<br />

www.cab.kps.ku.ac.th<br />

0<br />

บทความและข้อความที่ตีพิมพ์ในข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร เป็นความคิดเห็นส่วนตัวและลิขสิทธิ์ของผู้เขียน<br />

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ไม่มีส่วนรับผิดชอบหรือผูกพันอย่างใด ข้อมูลบางส่วนอาจตีพิมพ์<br />

ผิดพลาด ศูนย์ฯ ยินดีแก้ไขให้ในฉบับต่อไป<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 2<br />

7/20/10 11:31:31 PM


คุยกับบรรณาธิการ<br />

คณะที่ปรึกษา<br />

พงศ์เทพ อัครธนกุล<br />

วิชัย โฆสิตรัตน<br />

จุลภาค คุ้นวงศ์<br />

พิศาล ศิริธร<br />

พิทยา สรวมศิริ<br />

วัฒนาลัย ปานบ้านเกร็ด<br />

สุมิตรา ภู่วโรดม<br />

เสริมศิริ จันทร์เปรม<br />

พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์<br />

สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์<br />

จรัสศรี นวลศรี<br />

ประวิตร พุทธานนท์<br />

ปิยะดา ตันตสวัสดิ์<br />

พจมาลย์ สุรนิลพงศ์<br />

ดุจฤดี ปานพรหมมินทร์<br />

บรรณาธิการ<br />

สุจินต์ ภัทรภูวดล<br />

ผู้ช่วยบรรณาธิการ<br />

จุฑาเทพ วัชระไชยคุปต์<br />

อรอุบล ชมเดช<br />

กองบรรณาธิการ<br />

จริยา หมื่นแก้ว<br />

ชิตพันธุ์ คติวัฒน์<br />

นุช ศตคุณ<br />

เนตรนภา ปัญญามูล<br />

พรทิพย์ ทองคำ<br />

พรรณทิพย์ กาญจนอุดมการ<br />

พัชรินทร์ จูมี<br />

ศรัณย์พร ทิวจิรกุล<br />

ศรุชา เสนกันหา<br />

สุคณา ศรีทับ<br />

อมรรัตน์ จันทนาอรพินท์<br />

อรอุษา ลาวินิจ<br />

อัญชนา อินทรกำแหง<br />

อัญชลี วงษา<br />

นย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ได้จัดทำข่าวสาร<br />

เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร เป็นฉบับที่ 6 แล้ว ขอขอบคุณท่านผู้อ่านที่ติดตาม<br />

ข่าวสารของเรามาโดยตลอด และต้องขออภัยท่านผู้อ่านที่เราไม่ได้จัดส่งข่าวสาร<br />

ไปให้ เนื่องจากเราจัดพิมพ์ไว้จำนวนจำกัด อย่างไรก็ตาม ศูนย์ฯ ได้รวบรวม<br />

ข่าวสารทุกฉบับให้ท่านอ่านย้อนหลังได้ที่เว็บไซต์ http://www.cab.kps.ku.ac.th<br />

ข่าวสารฉบับนี้พาท่านส่องกล้องลงไปตามหาเชื้อโรคร้ายที่แย่งกินแย่งใช้<br />

ผลผลิตทางการเกษตรกับมนุษย์ เมื่อเราก้าวสู่กระแสโลกาภิวัตน์และการค้า<br />

เสรีทำให้โลกไม่มีพรมแดน ทั้งมนุษย์และเชื้อโรคต่างย้ายถิ่นฐานกันชั่วข้ามคืน<br />

กลายเป็น Global Citizen ทั้งคนทั้งเชื้อโรค ทำให้การระบาดของโรคพืชใน<br />

ประเทศใดประเทศหนึ่งกลับกลายเป็นปัญหาของคนทั้งโลกไปเสียแล้ว<br />

ประเทศไทยมีความพร้อมแค่ไหนในการรับมือกับผู้อพยพที่ไม่ได้รับเชิญเหล่านี้<br />

เราจะได้ติดตามกันในส่วนของคอลัมน์สัมภาษณ์พิเศษจากผู้รับผิดชอบโดยตรง<br />

ของกรมวิชาการเกษตร<br />

ผลงานเด่นฉบับนี้นำเสนองานผลวิจัยของ ผศ.ดร.รัชนี ฮงประยูร และ<br />

นิสิตของศูนย์ฯ ที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานบริการวิชาการให้กับสังคม<br />

เกษตรโดยที่มุ่งมั่นในการตรวจสอบพืชปลอดโรคและอาหารปลอดภัย<br />

คอลัมน์ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้เล่าถึงโครงการวิจัยเชื้อโรคราสนิมข้าวสาลี<br />

ระดับนานาชาติ ซึ่งจะช่วยป้องกันให้ไม่เกิดกลียุคไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังมี<br />

บทความที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคด้านอณูชีววิทยากับมาตรฐานมาตรการ<br />

สุขอนามัยพืชระหว่างประเทศ โดย ผศ.ดร.พิสสวรรณ เจียมสมบัติ และ<br />

รศ.ดร.วิชัย โฆสิตรัตน นำเสนอข่าว Ag<strong>Bio</strong>tech-Hot News งานทดลองที่<br />

อาจนำไปสู่ปรากฏการณ์พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินเรื่อง ชีวิต(ใกล้จะ)สังเคราะห์ได้?<br />

หากท่านผู้อ่านมีความประสงค์จะให้เรานำเสนอข่าวสารฯ ในหัวข้อใด<br />

ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงการเกษตรของไทย ขอเรียนเชิญส่ง E-mail<br />

ติดต่อมาได้เลยค่ะ เรารอรับคำแนะนำด้วยความยินดียิ่ง พบกันใหม่ฉบับหน้า<br />

สวัสดีค่ะ<br />

สุจินต์ ภัทรภูวดล<br />

agrsujp@ku.ac.th<br />

ออกแบบและจัดทำโดย<br />

บริษัท โกลด์ ฟกเกอร์ จำกัด<br />

โทรศัพท์ 0 2883 5163-4<br />

โทรสาร 0 2883 0419<br />

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร<br />

สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา<br />

03<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 3<br />

7/20/10 11:31:32 PM


คุยกับ ผอ.<br />

Èัµรپת<br />

และความมั่นคงด้านอาหาร<br />

04<br />

วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งเกิดขึ้น ที่รู้สึกว่าจะรอดหูรอดตา<br />

แวดวงเกษตรของเรา ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะระยะหลังๆ เราตกข่าว ตกขบวน<br />

รถกันบ่อยๆ เรื่องที่เกิดขึ้นที่ว่า คือ การระบาดของโรค ราสนิมสายพันธุ์ใหม่<br />

ในข้าวสาลี ราสนิมสายพันธุ์ Ug99 พบระบาดออกจากประเทศอูกานดา<br />

ทวีปแอฟริกา ผ่านอียิปต์ เข้าสู่ตะวันออกกลาง กำลังกลัวกันอยู่ว่าจะเลี้ยวขึ้น<br />

ยุโรป และอาจเลี้ยวไปจีน และอินเดีย เพราะกระแสลมเป็นตัวช่วยพัดพาเชื้อนี้<br />

ให้ระบาดได้อย่างเร็วและคลุมพื้นที่กว้างขวาง ความรุนแรงของโรคนี้เขย่า<br />

สภาวะความมั่นคงทางอาหารของหลายประเทศ และอาจถึงระดับโลก<br />

ศาสตราจารย์รอนนี่ คอฟแมน นักวิชาการเกษตรอาวุโส แห่ง<strong>มหาวิทยาลัย</strong><br />

คอร์เนลล์ ผู้เคยได้รางวัล World Food Prize ท่านเป็นที่ปรึกษาของศูนย์<br />

เทคโนโลยีชีวภาพเกษตรของเรา เล่าให้ผมฟัง ความว่า ดร.นอร์แมน โบล็อก<br />

นักเกษตรรางวัลโนเบล ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตได้แสดงความเป็นห่วง และ<br />

ฝากฝังเรื่องนี้ให้ประชาคมนักวิชาการเกษตรของโลกตระหนัก สุดท้าย<br />

ดร.โบล็อก กับ ดร.คอฟแมน เสนอโครงการวิจัยแก้ปัญหาโรคราสนิมข้าว<br />

สาลีให้ มูลนิธิบิล-เมลินดา เกทส์ สนับสนุน เพื่อเอาชนะโรคสายพันธุ์<br />

มหากาฬนี้ ผมได้ข่าวมาว่ามูลนิธิฯ อนุมัติเงินวิจัยเฉพาะกิจในโครงการนี้<br />

ร่วมร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เป็นโครงการวิจัยเกษตรขนาดยักษ์ ครอบคลุม<br />

พื้นที่หลายทวีป มี ดร.คอฟแมน เป็นหัวหน้าโครงการ ประสานงานวิจัย<br />

เดินสายทั่วโลก โดยมีศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวสาลีนานาชาติ (CYMMIT) และ<br />

สถาบันวิจัยเกษตรแห่งชาติ จากประเทศต่างๆ จากทุกทวีป ร่วมทีมในการวิจัย<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 4<br />

7/20/10 11:32:03 PM


เรื่องนี้กำลังเกิดขึ้นไกลบ้าน แต่ผมเลือกที่จะหยิบยกมา<br />

เล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นอุทาหรณ์ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ ไม่<br />

ให้นักวิชาการเกษตรไทยตกอยู่ในความประมาท เพราะ<br />

เรื่องการระบาดของโรคพืช โรคสัตว์ แมลงศัตรูพืช และ<br />

แมลงพาหะโรค เป็นเรื่องที่ไม่เล็ก ต้องติดตามให้ดี อยู่ๆ<br />

นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น ให้โรคระบาดมาถึงโดยไม่<br />

เตรียมตัวรับ เกิดหายนะทางเศรษฐกิจ ไร่เฉา<br />

นาล่ม สวนร้าง ฟาร์มเจง ประชากรในประเทศขาดแคลน<br />

อาหาร เกษตรกรถูกผลักจนตกขอบของความยากไร้<br />

ขึ้นมา ก็ต้องถือว่าเป็นความไม่รับผิดชอบของประชาคม<br />

วิชาการเกษตร กรณีโรค-แมลงระบาด เคยเขย่าความอยู่<br />

รอดของหมู่มวลมนุษย์มาแล้วหลายครั้ง ตั้งแต่อาณาจักร<br />

อียิปต์โบราณจวบจนปัจจุบัน แม้แต่ในคัมภีร์ไบเบิ้ลก็ยัง<br />

บันทึกไว้<br />

พวกที่อยู่ในวงการเกษตรรู้ดีว่าสายพันธุ์ของโรค-<br />

แมลงศัตรูพืช ศัตรูสัตว์ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่เคย<br />

คงที่อยู่นิ่ง เฉกเช่นพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั้งมวลบนโลก<br />

ใบนี้ ซึ่งอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อม และระบบเกษตรที่<br />

ไม่เคยคงที่ ทุกครั้งที่ระบบเกษตรเปลี่ยนพันธุ์พืช พันธุ์<br />

สัตว์ เปลี่ยนวิธีปฏิบัติดูแล หรือเขตกรรมกันที ก็เท่ากับ<br />

สร้างเงื่อนไขตัวเร่งไปเปลี่ยนประชากรโรค-แมลงกันที<br />

อีกทั้งน้ำท่วม ฝนแล้ง อากาศชื้น ร้อน เย็น หนาว<br />

กระทบระบบโครงสร้างพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตกันไปหมด<br />

ที่เราเคยจัดการได้ในวันนี้ อาจจะเป็นเรื่องที่ยาก ที่จะ<br />

จัดการให้อยู่หมัดในวันข้างหน้า คำถามที่ผมมักถาม<br />

พรรคพวกในแวดวงนี้อยู่เนืองๆ ว่า “เรามีความพร้อม<br />

แค่ไหน?” เราติดตามตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงทาง<br />

พันธุศาสตร์ประชากร และการระบาดอย่างใกล้ชิดหรือ<br />

เปล่า? เราเคยเตรียมความพร้อมด้วยการซักซ้อมรับ<br />

สถานการณ์ และทบทวนภาวะแห่งการเตรียมรับ<br />

เหตุการณ์อย่างไร? เรามีข้อมูลไหมว่าเชื้ออะไร สายพันธุ์<br />

อะไรที่เรามี ที่ควรระมัดระวัง จากภายใน? ภายนอก?<br />

เรามีเชื้อพันธุกรรมพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ที่ต้านทานโรคเก็บ<br />

อยู่ในลิ้นชัก ในคลังธนาคารพันธุกรรมคอยให้งัดออกใช้<br />

หรือเปล่า?<br />

ปัจจุบันเครื่องมือและเทคโนโลยีที่จะติดตาม จำแนก<br />

ตรวจสอบ พยากรณ์ มีมากกว่าเมื่อก่อนเยอะ สมัยก่อน<br />

กว่าจะรู้สายพันธุ์ของโรค รู้จักไบโอไทปของแมลง ใช้<br />

เวลานาน แต่เดี๋ยวนี้เครื่องมือทางเทคโนโลยีชีวภาพ<br />

หรือ วิทยาการนวชีวศาสตร์ (New Life Science<br />

Technology) มีให้เราเลือกซื้อมาเปิดกล่อง เปิดกระป๋องใช้<br />

เทคโนโลยีใหม่ๆ ช่วยให้เรารู้ลึกถึงการเรียงตัวของ<br />

โครงสร้างดีเอ็นเอของเชื้อโรคแต่ละสายพันธุ์ เรียกว่า<br />

แม่นยำกว่าเก่าอย่างเทียบไม่ได้ คำถามสุดท้ายที่ผมมี คือ<br />

เรามีคนที่มีทักษะที่จะใช้วิทยาการใหม่ๆ ที่แม่นยำกันหรือ<br />

เปล่า? หน่วยงานที่รับผิดชอบมีที่ไหนบ้าง? มีระดับความ<br />

พร้อมจริงๆ แค่ไหน? ผมขอวานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง<br />

ช่วยสำรวจ ประเมิน ตรอง กันดูหน่อย อย่าปล่อยเลย<br />

ตามเลย ต้องช่วยกันแก้ไขป้องกัน ศูนย์ความเป็นเลิศ<br />

ด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร และ สมาชิกสถาบันเครือ<br />

ข่ายทั้งหลายขอขันอาสาที่จะร่วมมือด้านนี้<br />

พงศ์เทพ อัครธนกุล<br />

05<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 5<br />

7/20/10 11:32:29 PM


ผลงานเด่น<br />

พืชปลอดโรค<br />

และอาหารปลอดภัย<br />

0<br />

ารที่ประเทศไทยเปิดประตูการค้าเสรีกับหลาย<br />

ประเทศในโลก ส่งผลให้เกิดการติดต่อค้าขายผลผลิต<br />

เกษตรเป็นจำนวนมากซึ่งมีมูลค่ามหาศาล อย่างไรก็ตาม<br />

การนำเข้า หรือส่งสินค้าออกไปขายยังต่างประเทศ<br />

มีข้อควรระวังเกี่ยวกับการปนเปื้อนของเชื้อโรคพืช สารพิษ<br />

จากเชื้อรา หรือสารตกค้างต่างๆ ด้วยเหตุนี้จึงมีความ<br />

จำเป็นที่สินค้าที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรจะต้องได้รับ<br />

การตรวจสอบ เพื่อรับรองว่าปลอดเชื้อหรือไม่มีการปนเปื้อน<br />

ของสารพิษหรือสารตกค้าง หรือถ้ามีการปนเปื้อนก็ไม่เกิน<br />

เกณฑ์มาตรฐานที่ประเทศคู่ค้ากำหนด การตรวจสอบที่มี<br />

มาตรฐานมีส่วนช่วยอย่างมากในการลดโอกาส<br />

ของการปนเปื้อนดังกล่าว เช่น การนำเข้าเมล็ดพันธุ์หรือ<br />

ส่วนขยายพันธุ์ของพืชผัก และไม้ดอกชนิดต่างๆ จาก<br />

ต่างประเทศ หากมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคพืชติดมา <br />

ก็จะเป็นแหล่งของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาด<br />

ในแปลงปลูกต่อมาได้ หรืออาจเป็นการนำสาเหตุโรค<br />

ชนิดใหม่ซึ่งยังไม่เคยมีรกรากในประเทศไทยเข้ามา<br />

ก่อความเสียหายทางเศรษฐกิจ ซึ่งผลที่ตามมาคือความ<br />

จำเป็นที่ต้องหาวิธีในการควบคุมโรค ส่งผลให้มีต้นทุน<br />

การผลิตที่สูงขึ้น และเมื่อเกิดโรคแล้วมักทำให้ผลผลิตมี<br />

ปริมาณและคุณภาพต่ำลง ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด<br />

รวมทั้งอาจลดความน่าเชื่อถือของผู้ผลิตลงได้ ส่วน<br />

ผลกระทบที่สามารถเห็นได้จากการส่งออก คือ ถ้าพบว่า<br />

มีการปนเปื้อนเชื้อโรคในรายการที่มีข้อห้าม รวมทั้งการ<br />

ปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อราที่เป็นอันตราย เช่น <br />

อะฟลาทอกซิน โอคราทอกซิน ฟูโมนิซิน ซีราลีโนน<br />

เป็นต้น สินค้าเหล่านี้จะไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้<br />

ขาดความน่าเชื่อถือ และสินค้าเหล่านั้นอาจถูกปฏิเสธจาก<br />

ประเทศปลายทาง ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ<br />

ได้อย่างคาดไม่ถึง <br />

ด้วยเหตุนี้การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยใน<br />

การตรวจสอบผลผลิตเกษตรให้มีมาตรฐาน จึงมีความ<br />

จำเป็นเร่งด่วน ทั้งนี้เพราะการแข่งขันในเวทีการค้าโลก<br />

มีสูงมาก ทุกประเทศที่ไม่มีความพร้อมในการตรวจสอบ<br />

จะมีโอกาสเสียเปรียบ และเสียโอกาสได้ตลอดเวลา<br />

การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการ<br />

พัฒนาวิธีการตรวจสอบ นับเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความ<br />

ก้าวหน้าในการพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันมี<br />

การนำไปใช้งานอย่างกว้างขวาง สำหรับการตรวจสอบ<br />

เชื้อสาเหตุโรคพืช เทคนิคที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่ เทคนิค<br />

ทางซีรัมวิทยา โดยการนำแอนติบอดีที่มีความจำเพาะต่อ<br />

เชื้อโรคพืชนั้นๆ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย หรือสารพิษต่างๆ<br />

มาพัฒนาวิธีการตรวจสอบ รูปแบบที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน<br />

ได้แก่ Enzyme-linked Immunosorbent Assay<br />

(ELISA) และ Immunochromatographic Strip (ICS)<br />

เป็นต้น <br />

<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 6<br />

7/20/10 11:32:30 PM


ห้องปฏิบัติการซีรัมวิทยาและตรวจวินิจฉัย<br />

<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> อาคารปฏิบัติการวิจัย<br />

เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร <strong>มหาวิทยาลัย</strong><br />

เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยบุคลากรจาก<br />

ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน และนิสิตระดับ<br />

บัณฑิตศึกษาในหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ภายใต้<br />

การนำของ ผศ.ดร. รัชนี ฮงประยูร ได้ศึกษาและ<br />

พัฒนาวิธีการตรวจสอบเชื้อสาเหตุโรคพืช และสารพิษ<br />

จากเชื้อรามาอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลงานการผลิต<br />

แอนติบอดีหลายรูปแบบ ได้แก่ โพลีโคลนอลแอนติบอดี<br />

โมโนโคลนอลแอนติบอดี เช่น แอนติบอดีที่จำเพาะต่อ<br />

เชื้อไวรัสสาเหตุโรคพืช ได้แก่ Tobacco mosaic virus<br />

(TMV), Cucumber mosaic virus (CMV), Potato<br />

virus Y (PVY), Cymbidium mosaic virus (CymMV),<br />

Odontoglossum ringspot virus (ORSV), Cucumber<br />

green mottle mosaic virus (CGMMV), Sugarcane<br />

mosaic virus (SCMV), Maize chlorotic mottle virus<br />

(MCMV), Papaya ringspot virus (PRSV) และ<br />

Tospoviruses หลายชนิด แอนติบอดีที่จำเพาะต่อเชื้อ<br />

แบคทีเรีย เช่น Erwinia spp., Xanthomonas spp.,<br />

Ralstonia solanacearum, Acidovorax avenae และ<br />

แอนติบอดีที่จำเพาะต่อสารพิษจากเชื้อรา ได้แก่<br />

Aflatoxin, Zearalenone และ Ochratoxin A รวมทั้ง<br />

การสร้างห้องสมุดรีคอมบิแนนท์แอนติบอดีโดยการ<br />

แสดงออกของยีนแอนติบอดีบนอนุภาคของฝาจ (phage<br />

display) เพื่อเป็นแหล่งของยีนแอนติบอดีสำหรับการใช้<br />

งานต่อไป <br />

<br />

นอกจากนี้ยังได้พัฒนาวิธีการตรวจสอบเชื้อสาเหตุโรค<br />

ชนิดต่างๆ จากแอนติบอดีที่มีคุณภาพเหล่านี้ รวมทั้งการ<br />

พัฒนาชุดตรวจสอบแบบรวดเร็วอีกหลายชนิด เช่น KU-<br />

ZEA-1 ซึ่งเป็นชุดตรวจสอบสารพิษซีราลีโนน โดยใช้<br />

หลักการของปฏิกิริยา ELISA การพัฒนาชุดตรวจสอบ<br />

ICS ที่จำเพาะต่อเชื้อ CMV, CGMMV, TMV และ<br />

CymMV เป็นต้น ก้าวต่อไปของห้องปฏิบัติการ คือการ<br />

ทดสอบชุดตรวจสอบที่ผลิตขึ้นเพื่อให้มีมาตรฐาน<br />

และเป็นที่ยอมรับ ซึ่งจะนำไปสู่การใช้งานภายในประเทศ<br />

เป็นการลดการนำเข้าชุดตรวจสอบที่มีราคาแพงจาก<br />

ต่างประเทศ ช่วยลดต้นทุนของการตรวจสอบและต้นทุน<br />

การผลิต นอกจากนั้นการผลิตชุดตรวจสอบสารพิษจาก<br />

เชื้อราเพื่อใช้เองภายในประเทศ ยังสนับสนุนการเฝ้าระวัง<br />

การปนเปื้อนของสารพิษในอาหาร ซึ่งส่งผลดีในภาพรวม<br />

ทั้งด้านเศรษฐกิจและสุขภาพของผู้บริโภคอีกด้วย <br />

0<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 7<br />

7/20/10 11:32:34 PM


แนะนำสถาบัน<br />

สถาบันภาคีของ<br />

ศูนย์ความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร <br />

<strong>มหาวิทยาลัย</strong>สงขลานครินทร์<br />

หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เข้าร่วมเป็นสถาบันภาคีของศูนย์ความเป็นเลิศด้าน<br />

เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และ<br />

เทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ<br />

เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 ดำเนินการโดยคณะทรัพยากรธรรมชาติ และได้<br />

ขยายความร่วมมือไปยังคณะอุตสาหกรรมเกษตร ใน พ.ศ. 2552 โดยได้รับการ<br />

สนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ตลอดจน<br />

ครุภัณฑ์บางส่วน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับงานวิจัยในโครงการที่มีอยู่<br />

รวมทั้งเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับประยุกต์ใช้ในงาน<br />

วิจัยทางด้านการเกษตร และการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ๆ <br />

0<br />

สำหรับกลุ่มงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนมีดังต่อไปนี้<br />

1. งานวิจัยด้านพืช<br />

การใช้เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ และขยายพันธุ์พืช เช่นการขยาย<br />

พันธ์ุปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี และยางพาราพันธุ์ที่เหมาะสมในการใช้เป็นต้นตอโดยวิธีการเพาะ<br />

เลี้ยงเนื้อเยื่อ ศึกษาเทคนิคพันธุวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน การใช้<br />

เครื่องหมายโมเลกุลในด้านต่างๆ เช่นศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ผล<br />

พื้นเมืองในภาคใต้ ใช้ในการคัดเลือกยางพาราพันธุ์ต้นตอที่ทนทานโรคราก ศึกษาการ<br />

แสดงออกของยีนและโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างน้ำยางเพื่อใช้ในการคัดเลือกพันธุ์<br />

ยางพารา เป็นต้น<br />

<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 8<br />

7/20/10 11:32:43 PM


2. งานวิจัยด้านจุลินทรีย์<br />

การคัดเลือกและการพัฒนาจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ<br />

เพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และส่งเสริมการ<br />

เจริญเติบโตของพืช เช่น จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต<br />

จุลินทรีย์ย่อยสลายเซลลูโลส จุลินทรีย์ผลิตอินโดลอะซิติก<br />

แอซิด (IAA) เป็นต้น การศึกษาและคัดเลือกจุลินทรีย์เพื่อ<br />

ควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี เช่น การใช้ Bacillus megaterium<br />

ควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าว การใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์<br />

ควบคุมโรครากเน่าใบจุดของผักสลัด ตลอดจนการพัฒนา<br />

สูตรสำเร็จของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ สะดวกและ<br />

ปลอดภัยเพื่อใช้ในการค้า<br />

<br />

3. งานวิจัยด้านสัตว์บก<br />

การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้<br />

ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในภาคใต้ที่มี<br />

ศักยภาพเป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น การใช้เยื่อใน<br />

ลำต้นสาคูเป็นแหล่งพลังงานในอาหารโคและแพะ การใช้<br />

กากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันทดแทนข้าวโพดบดในอาหาร<br />

โคและแพะ การใช้ทางใบปาล์มน้ำมันหมักเป็นอาหารโค<br />

และแพะ การใช้เอ็นไซม์ในอาหารผสมสำเร็จที่ใช้ทางใบ<br />

ปาล์มน้ำมันหมักเป็นแหล่งอาหารหยาบ โดยเน้นผลที่มี<br />

ต่อการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะของสัตว์ รูปแบบของ<br />

ขบวนการหมักในกระเพาะรูเมน ชนิดและจำนวน<br />

ประชากรจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน การสังเคราะห์<br />

โปรตีนของจุลินทรีย์ ตลอดจนสมรรถภาพการผลิต<br />

ของสัตว์<br />

<br />

4. งานวิจัยด้านสัตว์น้ำ<br />

การวิจัยด้านสัตว์น้ำมีหัวข้อหลักที่ศึกษา 2 หัวข้อคือ<br />

1) การวิจัยโรคสัตว์น้ำ โดยจะเน้นปรสิตที่ก่อให้เกิดโรค<br />

ระบาดที่รุนแรงเช่น การศึกษาสายวิวัฒนาการและการ<br />

จัดจำแนกปรสิตกลุ่ม Myxosporidia ในปลาทะเล และ<br />

กลุ่ม Actinosporea ในปลาเศรษฐกิจของไทย และโรค<br />

สไปโรนิวคลีโอซีสที่สร้างความเสียหายให้กับธุรกิจปลา<br />

สวยงาม 2) การวิจัยด้านอาหารสัตว์น้ำ ดำเนินการวิจัย<br />

ในหลายด้านเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่เช่น การศึกษา<br />

แหล่งโปรตีนทดแทนจากสาหร่ายทะเลได้แก่ สาหร่าย<br />

ผมนางและสาหร่ายไส้ไก่เพื่อลดปริมาณการใช้ปลาป่นใน<br />

อาหารปลานิลแดงแปลงเพศ การศึกษาประสิทธิภาพการ<br />

ย่อยโปรตีนในกุ้งขาววานาไมที่มีผลจากคุณภาพโปรตีน<br />

และไขมัน ผลของชนิดและระดับของคาร์โบไฮเดรตต่อ<br />

การใช้ประโยชน์และการแสดงออกของยีนในปลากะพงขาว<br />

การศึกษาผลของสารพิษที่มีการปลอมปนในอาหาร<br />

สัตว์น้ำ เช่น เมลามีนและสารพิษเทโทรโดทอกซินใน<br />

ปลาปักเป้าที่ใช้ทำปลาป่น การศึกษาผลของชนิดและระดับ<br />

ของคาร์โบไฮเดรตต่อการใช้ประโยชน์และการทำงานของ<br />

เอนไซม์ในระบบทางเดินอาหารในปลากะพงขาว รวมไป<br />

ถึงการพัฒนาอาหารสำหรับใช้อนุบาลปลากะพงขาว<br />

วัยอ่อน<br />

<br />

งานบริการวิชาการ<br />

จากงานวิจัยสู่บริการวิชาการมีหลายรูปแบบ เช่น<br />

การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชใน<br />

งานวันเกษตรภาคใต้เป็นประจำเกือบทุกปี การจัดฝึก<br />

อบรมเบื้องต้นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและการสกัด<br />

ดีเอ็นเอจากใบพืช สำหรับนักเรียนระดับมัธยมต้นและ<br />

ปลายจากโรงเรียนในพื้นที่ การฝึกอบรมหลักสูตรภูมิคุ้มกัน<br />

วิทยากับการวิจัยด้านอาหารสัตว์น้ำ ให้แก่นักวิชาการและ<br />

ผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทเอกชน อบรมความรู้ในการ<br />

ผลิตอาหารปลาให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงปลาในจังหวัด<br />

สงขลาและจังหวัดใกล้เคียง เป็นต้น<br />

<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 9<br />

7/20/10 11:32:55 PM


10<br />

สัมภาษณ์พิเศษ<br />

“การอารักขาพืชระหว่างประเทศ<br />

ตามมาตรการสุขอนามัยพืช”<br />

คุณ อุดร อุณหวุฒิ<br />

ผู้เชี่ยวชาญด้านกักกันพืช กรมวิชาการเกษตร <br />

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์<br />

<br />

คำถาม : อนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่าง<br />

ประเทศ (International Plant Protection<br />

Convention, IPPC) มีความสำคัญอย่างไรกับการค้า<br />

ผลิตผลเกษตรในตลาดโลก<br />

<br />

อนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศ<br />

เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านอารักขาพืชซึ่งมีข้อ<br />

ผูกพันทางกฎหมาย บริหารจัดการโดย “องค์การอาหาร<br />

และเกษตรแห่งสหประชาชาติ” แต่ดำเนินการโดยอาศัย<br />

ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลของประเทศสมาชิกและ<br />

องค์การอารักขาพืชส่วนภูมิภาค เป้าหมายของอนุสัญญา<br />

ว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศ คือ การร่วมมือ<br />

กันดำเนินงานเพื่อป้องกันการแพร่กระจายและการเข้ามา<br />

ของศัตรูของพืชและผลิตผลพืช และส่งเสริมให้มีการใช้<br />

มาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมในการควบคุมศัตรูเหล่านั้น<br />

โดยขัดขวางต่อการค้าให้น้อยที่สุด อนุสัญญาว่าด้วยการ<br />

อารักขาพืชเป็นหนึ่งในสามองค์การที่ได้รับการยอมรับ<br />

ภายใต้ความตกลงขององค์การการค้าโลก คือ “ความ<br />

ตกลงว่าด้วยการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและ<br />

สุขอนามัยพืช” (Agreement for the Application on<br />

Sanitary and Phytosanitary Measures, SPS<br />

Agreement) ซึ่งความตกลงดังกล่าวกำหนดให้สมาชิก<br />

องค์การการค้าโลกมีสิทธิที่จะใช้มาตรการสุขอนามัยและ<br />

สุขอนามัยพืชเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อคุ้มครองชีวิต หรือ<br />

สุขภาพ ของมนุษย์ สัตว์ หรือพืช บนพื้นฐานของหลัก<br />

การวิทยาศาสตร์ และการทำให้มาตรการสุขอนามัยและ<br />

สุขอนามัยพืชอยู่บนพื้นฐานที่กลมกลืนกันอย่างมากที่สุด<br />

เท่าที่จะทำได้นั้น สมาชิกจะกำหนดมาตรการสุขอนามัย<br />

หรือสุขอนามัยพืชตามมาตรฐานระหว่างประเทศ <br />

อนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศได้<br />

พัฒนา “มาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุข<br />

อนามัยพืช” (International Standard for<br />

Phytosanitary Measures, ISPMs) จนถึงปัจจุบันได้<br />

ตีพิมพ์ มาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุข<br />

อนามัยพืชแล้ว 32 มาตรฐาน เพื่อสนับสนุนการค้า<br />

ระหว่างประเทศ เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้ใช้เป็นแนว<br />

ปฏิบัติในการกำหนดมาตรการสุขอนามัยพืชที่ไม่เข้มงวด<br />

เกินความจำเป็นจนกลายเป็นการกีดกันทางการค้า<br />

ตัวอย่างของมาตรฐานที่มีความสำคัญต่อการค้า<br />

ระหว่างประเทศ เช่น มาตรฐานฉบับที่ 1 เรื่อง <br />

หลักการสุขอนามัยพืชเพื่อปกป้องพืชและการบังคับใช้<br />

มาตรการสุขอนามัยพืชในทางการค้าระหว่างประเทศ<br />

(Phytosanitary principles for the protection of<br />

plants and the application of phytosanitary<br />

measures in international trade) ได้กำหนดหลักการ<br />

ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องพืชซึ่งรวมถึงพืชปลูก พืชป่า<br />

และพืชน้ำ โดยการใช้มาตรการสุขอนามัยพืชเกี่ยวเนื่อง<br />

กับการเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศของคน สินค้า และ<br />

ยานพาหนะ จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น อนุสัญญาว่าด้วย<br />

การอารักขาพืชระหว่างประเทศจึงมีบทบาทสำคัญ<br />

อย่างยิ่งต่อการช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการค้าสินค้า<br />

เกษตรระหว่างประเทศ ในขณะที่ยังคงสามารถปกป้อง<br />

พืชจากการทำลายของศัตรูพืชร้ายแรงชนิดใหม่ซึ่งเกิดขึ้น<br />

จากการค้าระหว่างประเทศ<br />

<br />

คำถาม: มาตรการสุขอนามัยพืชของประเทศไทยมีผล<br />

อย่างไรกับการเปิดเขตการค้าเสรี<br />

<br />

ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการทำความตกลง<br />

เขตการค้าเสรีกับหลายประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น<br />

ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ รวมถึงประเทศสมาชิกใน<br />

กลุ่มอาเซียน นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังอยู่<br />

ในขั้นตอนของการเจรจา ในส่วนของการดำเนินการด้าน<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 10<br />

7/20/10 11:33:04 PM


สุขอนามัยพืชได้มีการจัดตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญ (Expert working group)<br />

ด้านสุขอนามัยพืช เพื่อเป็นเวทีสำหรับการเจรจาสำหรับการเปิดตลาดสินค้าเกษตร<br />

และการแก้ไขปัญหาด้านสุขอนามัยพืช สำหรับในกลุ่มประเทศอาเซียนได้มีการตั้ง<br />

คณะทำงาน ASEAN Expert Working Group on Harmonization of<br />

Phytosanitary Measures (ASEAN EWG-PS) เพื่อวางมาตรการและกฎระเบียบ<br />

ด้านสุขอนามัยพืชในการนำเข้าและส่งออกสินค้าพืชให้เป็นแนวทางเดียวกันใน<br />

ภูมิภาคอาเซียน โดยได้ดำเนินการกับพืชหลายชนิดที่มีปริมาณการค้าเป็นจำนวน<br />

มากในระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น ข้าว มะม่วง มันฝรั่งสำหรับการบริโภค<br />

ดอกกล้วยไม้เดนโดรเบียม ส้ม ทุเรียน กล้วย เมล็ดปาล์มน้ำมัน ข้าวโพด และ<br />

ข้าวเปลือก เป็นต้น หลังจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของสินค้าเหล่านี้แล้ว<br />

จะมีการจัดทำคำแนะนำสำหรับการนำเข้าเพื่อให้ประเทศสมาชิกพิจารณานำไปใช้<br />

สำหรับการกำหนดมาตรการสุขอนามัยพืชของแต่ละประเทศต่อไป ประเทศไทยยัง<br />

มีความร่วมมือกับกลุ่มประเทศอาเซียนในความพยายามจัดตั้ง ASEAN Regional<br />

Diagnostic Networking (ARDN) เพื่อเป็นเครือข่ายสำหรับให้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละ<br />

ด้านของประเทศสมาชิกให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการตรวจจำแนกศัตรู<br />

พืช จัดทำฐานข้อมูลศัตรูพืชซึ่งจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปในการขอเปิดตลาดหรือ<br />

การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชเพื่อกำหนดมาตรการสุขอนามัยพืชต่อไป นอกจาก<br />

นี้กรมวิชาการเกษตรยังได้ดำเนินการเพื่อทำความตกลงความร่วมมือทางด้านวิชาการ<br />

ด้านอารักขาพืชและกักกันพืชกับหน่วยงาน Animal and<br />

Plant Health Inspection Service (APHIS) <br />

กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาเพื่อเป็นเวทีสำหรับการ<br />

เจรจาประเด็นปัญหาด้านสุขอนามัยพืช ซึ่งจะทำให้การ<br />

แก้ไขปัญหาการค้าที่เกี่ยวกับสุขอนามัยพืชระหว่างสอง<br />

ประเทศเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว<br />

<br />

คำถาม : นโยบายหรือทิศทางเพื่อเตรียมความพร้อม<br />

ด้านมาตรการสุขอนามัยพืชของไทยเป็นอย่างไร <br />

<br />

กรมวิชาการเกษตรในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบ<br />

งานอารักขาพืชของประเทศไทย และทำหน้าที่เป็น<br />

NPPO (National Plant Protection Organization)<br />

ได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความ<br />

เข้มแข็งในการดำเนินการด้านสุขอนามัยพืชของไทย ดังนี้<br />

////////////////<br />

11<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 11<br />

7/20/10 11:33:25 PM


สัมภาษณ์พิเศษ<br />

////////////////<br />

12<br />

สินค้านำเข้าโดยอาศัยผลจากการวิเคราะห์ความเสี่ยง<br />

ศัตรูพืช ปัจจุบันมีพืชเป็นจำนวนมากที่อยู่ภายใต้การควบคุม<br />

เป็นสิ่งต้องห้าม ประกอบด้วย ส่วนผลของพืช 27 ชนิด<br />

25 สกุล และ 2 วงศ์ ส่วนหนึ่งส่วนใดของพืช 8 ชนิด<br />

11 สกุล 1 วงศ์ ดิน ปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์ทางการ<br />

เกษตร สัตว์ศัตรูพืช ไส้เดือน แมลง ไร ไส้เดือนฝอย<br />

หอย หอยทาก วัชพืช ตัวห้ำ และตัวเบียน ตัวไหม รังไหม<br />

ไข่ไหม ศัตรูพืชกักกันจำนวน 472 ชนิด และพืชที่ได้รับ<br />

การตัดต่อพันธุกรรม 33 ชนิด 51 สกุล และ 1 วงศ์ <br />

<br />

การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและ<br />

ห้องปฏิบัติการ : กรมวิชาการเกษตรได้เตรียมความพร้อม<br />

ด้านบุคลากรเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพการปฏิบัติงานด้าน<br />

ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านสุขอนามัยพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่ง<br />

การเตรียมความพร้อมด้านกฎหมาย : ประเทศไทย การเพิ่มศักยภาพด้านการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืช โดย<br />

ได้ประกาศบังคับใช้กฎหมายฉบับแรกเพื่อควบคุมการ ประสานงานจัดทำโครงการความร่วมมือทางวิชาการ<br />

เคลื่อนย้ายพืชเข้ามาในราชอาณาจักร ป้องกันมิให้ศัตรูพืช ด้านอารักขาพืชและกักกันพืชกับหน่วยงานวิจัยของ<br />

ร้ายแรงจากต่างประเทศเข้ามาแพร่ระบาดภายในประเทศ ต่างประเทศ เช่น หน่วยงานของกระทรวงเกษตร<br />

คือ “พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507” หลังจากนั้นได้ สหรัฐอเมริกา ได้แก่ หน่วยงาน Agricultural Research<br />

มีการแก้ไขบทบัญญัติ ในบางมาตรา เพื่อให้สามารถ Service (ARS) และ หน่วยงาน Animal and Plant<br />

ปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์สมดังเจตนารมณ์ของการ Health Inspection Service (APHIS) ทั้งนี้เพื่อสร้างเสริม<br />

ออกกฎหมาย โดยในปี พ.ศ. 2542 และ 2551 ได้ออก ความสามารถของนักวิชาการของกรมวิชาการเกษตร<br />

“พระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542” และ โดยส่งไปฝึกอบรมหรือทำงานวิจัยในสาขาต่างๆ ที่<br />

“พระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551” ตาม หน่วยงานของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้<br />

ลำดับ นอกจากจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติใน กรมวิชาการเกษตรยังร่วมกับหน่วยงานของออสเตรเลีย<br />

กฎหมายกักพืชแล้ว ยังมีการปรับเปลี่ยนแนวทางในการ ได้แก่ Australian Center for International<br />

ออกประกาศกระทรวงเพื่อควบคุมการนำเข้าพืชให้ Agricultural Research (ACIAR) เพื่อเสริมสร้างความรู้<br />

สอดคล้องกับอนุสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศ ความสามารถของนักวิชาการในส่วนที่เกี่ยวข้อง<br />

ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศ กับการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชโดยใช้เทคนิคอณูชีววิทยา<br />

(International Plant Protection Convention, IPPC) ที่ทันสมัยให้ได้ผลอย่างรวดเร็วและถูกต้อง โดยส่ง<br />

และ ความตกลงว่าด้วยการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัย นักวิชาการไปฝึกอบรมการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชที่<br />

และสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application ประเทศออสเตรเลีย และการจัดการฝึกอบรมการตรวจ<br />

on Sanitary and Phytosanitary Measures, SPS วินิจฉัยศัตรูพืชในประเทศไทย โดยมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน<br />

Agreement) การแก้ไขปรับปรุงทั้งในส่วนของประกาศ จากออสเตรเลียมาเป็นวิทยากร นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุง<br />

กระทรวงและพระราชบัญญัติ เพื่อให้สามารถควบคุมการ ห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชให้ได้มาตรฐานเพื่อ<br />

เข้ามาของศัตรูพืชร้ายแรงจากต่างประเทศเป็นไปอย่างมี วินิจฉัยศัตรูพืชที่ติดมากับสินค้านำเข้าและส่งออกให้ได้ผล<br />

ประสิทธิภาพ สามารถบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยพืชกับ ที่ถูกต้องและรวดเร็ว รวมทั้งการทดลองวางระบบการ<br />

สินค้านำเข้าได้อย่างเท่าเทียมกับประเทศคู่ค้า ตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชระยะไกลผ่านระบบอินเตอร์เนท <br />

ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมาประเทศไทยได้มีการออก (Remote microscope diagnosis) เพื่อใช้ประโยชน์<br />

ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หลายฉบับเพื่อ สูงสุดจากผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธานที่มีจำนวนค่อนข้าง<br />

ปรับปรุงแก้ไขบัญชีรายชื่อพืชและศัตรูพืชที่เป็น จำกัด ให้ความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานที่ห่างไกล<br />

สิ่งต้องห้ามรวมถึงแก้ไขบัญชีรายชื่อพืชที่เป็นสิ่งกำกัด ในการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืช ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงาน<br />

เพื่อป้องกันศัตรูพืชร้ายแรงที่อาจจะติดมากับพืชที่เป็น ด้านสุขอนามัยพืชมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 12<br />

7/20/10 11:33:30 PM


PERDO TODAY/<br />

ความเป็น เอตทัคคะทางวิชาการ ของศูนย์ความเป็นเลิศ<br />

“... อันความรู้รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล...”<br />

สำนวนที่คุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดีจากวรรณกรรมเรื่องพระอภัยมณี ของปราชญ์สุนทรภู่ คือหลักคิดพื้นฐานของ<br />

การสร้างศูนย์ความเป็นเลิศ หรือในภาษาตะวันตกเรียกว่า “Centre of Excellence” หรือที่มีความหมายเดียวกับ<br />

ภาษาทางพระว่า “เอตทัคคะ” ศูนย์ความเป็นเลิศในอุดมคติ คือศูนย์ที่สามารถคิดค้นและสร้างสรรค์สิ่งที่มีคุณค่า<br />

และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด<br />

<br />

ระหว่างวันที่ 10-11 มิถุนายน 2553 คณะผู้บริหารของสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์<br />

และเทคโนโลยี (สบว) และศูนย์ความเป็นเลิศทั้ง 9 ศูนย์ ได้ร่วมกันปรึกษาหารือในการประชุม PERDO Executive<br />

Retreat ณ The Rose Garden Riverside สวนสามพราน จังหวัดนครปฐม การประชุมในครั้งนี้ ได้รับความ<br />

ร่วมมือจากผู้บริหารระดับสูงของศูนย์ความเป็นเลิศ เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง โดยมีเจตนารมณ์หลักในการ<br />

ปรับเปลี่ยนรูปแบบและกลยุทธ์ในการดำเนินงานด้านวิชาการของศูนย์ฯ รวมทั้งรูปแบบและกลยุทธ์การดำเนินงานเชิง<br />

นโยบายของ สบว. ให้เหมาะสม สามารถบรรลุภารกิจตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดในอันที่จะสร้างศูนย์ความเป็นเลิศ<br />

ทางวิชาการให้เป็นหน่วยอ้างอิง และที่พึ่งพิงทางวิชาการให้กับสังคม<br />

<br />

จากแนวคิดพื้นฐานของศูนย์ความเป็นเลิศข้างต้น คณะผู้บริหาร<br />

ทั้งหมด จึงได้มีความคิดเห็นร่วมกันว่าให้ทุกศูนย์ฯ กระชับพันธกิจ<br />

วิชาการให้แคบลง โดยการกำหนดทิศทางการวิจัย (Research<br />

Direction) และกลุ่มการวิจัย (Research Focus) ให้มีความกระชับ<br />

ไม่เกินศูนย์ฯ ละ 3 ทิศทาง และ 7 กลุ่มการวิจัย ขณะเดียวกันให้<br />

แสวงหามาตรการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของงานให้เป็นที่<br />

ยอมรับทั้งภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานของ<br />

ศูนย์ฯ มุ่งสู่ความเป็นเอตทัคคะทางวิชาการอย่างแท้จริง<br />

13<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 13<br />

7/20/10 11:33:52 PM


เรื่องน่ารู้ Ag<strong>Bio</strong>tech<br />

เทคนิคอณูชีววิทยา<br />

กับมาตรฐานมาตรการสุขอนามัยพืชระหว่างประเทศ<br />

ผศ.ดร พิสสวรรณ เจียมสมบัติ<br />

ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน <strong>มหาวิทยาลัย</strong>เกษตรศาสตร์ <br />

14<br />

ระเทศไทยเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World<br />

Trade Organization หรือ WTO) ดังนั้นการดำเนินการ<br />

ค้าขายระหว่างประเทศจึงต้องปฏิบัติตามพันธกรณีและ<br />

ข้อตกลงที่กำหนดโดย WTO ในปี พ.ศ. 2538 มีการเจรจา<br />

การค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัย ทำให้เกิดความตกลงทั่วไป<br />

ว่าด้วยภาษีศุลกากรและสินค้า (General Agreement on<br />

Tariffs and trade : GATT) ภายใต้ความตกลงนี้มีความ<br />

ตกลงที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรที่กำหนดให้ประเทศสมาชิก<br />

สามารถดำเนินการในเรื่องการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัย<br />

และสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures<br />

หรือ SPS) แทนการสร้างมาตรการด้านภาษี ความตกลง<br />

SPS ดังกล่าวให้การยอมรับอนุสัญญาว่าด้วยอารักขาพืช<br />

ระหว่างประเทศ หรือ International Plant Protection<br />

Convention ชื่อย่อ IPPC ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ประเทศภาคี<br />

ลงนามให้สัตยาบันร่วมกันโดยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ<br />

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)<br />

อนุสัญญา IPPC มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหามาตรการที่<br />

เหมาะสม กำหนดให้ประเทศสมาชิกนำไปปฏิบัติเพื่อป้องกัน<br />

การแพร่ระบาดของศัตรูพืชจากประเทศหนึ่งไปสู่ประเทศหนึ่ง<br />

อันเป็นสาเหตุให้เกิดความสูญเสียอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศ<br />

และเศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้น และกำหนดมาตรฐาน<br />

มาตรการสุขอนามัยพืชระหว่างประเทศ (International<br />

Standards for Phytosanitary Measures หรือ ISPM)<br />

เพื่อให้ความมั่นใจแก่ประเทศภาคีสมาชิกว่า มาตรการที่ใช้<br />

ปกป้องคุ้มครองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary measures)<br />

จากศัตรูพืชร้ายแรงจะมีความกลมกลืน และไม่นำไปใช้โดย<br />

ปราศจากเหตุผลทางวิทยาศาสตร์จนเป็นอุปสรรคทางการค้า<br />

ปัจจุบัน ISPMs ที่ประกาศให้ประเทศสมาชิกนำไปใช้มี 32<br />

เรื่อง แต่ละเรื่องเป็นหลักการหรือแนวทางสำหรับประเทศ<br />

ต่างๆ ในการสร้างมาตรการให้สอดคล้องกัน เป็นการ<br />

อำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างประเทศเพื่อปกป้อง<br />

มิให้ศัตรูพืชที่อาจติดไปกับสินค้าพืชและผลิตภัณฑ์จาก<br />

ประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง ประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญา<br />

IPPC สามารถใช้สิทธิแสดงความเห็นต่อ ISPM แต่ละเรื่องที่<br />

ที่ประชุมใหญ่เสนอได้ และเสนอขอปรับปรุงแก้ไขได้หากมี<br />

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนโดยความเห็นชอบจาก<br />

ที่ประชุมใหญ่<br />

หน่วยงานที่รับผิดชอบงานอารักขาพืชของประเทศไทย<br />

คือกรมวิชาการเกษตร ทำหน้าที่เป็น NPPO (National<br />

Plant Protection Organization) ซึ่งมีกฏหมายที่ใช้เป็นหลัก<br />

ปฏิบัติและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกใบรับรอง<br />

ปลอดศัตรูพืชให้กับสินค้าพืชและผลผลิตจากพืชที่ส่งออกและ<br />

นำเข้า อีกหน่วยงานหนึ่งคือสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร<br />

และอาหารแห่งชาติ หรือ มกอช. ทำหน้าที่เป็น contact<br />

point สื่อสารกับประเทศสมาชิก WTO ในด้านมาตรฐาน<br />

สุขอนามัยพืชภายใต้ข้อตกลง SPS และอนุสัญญา IPPC <br />

<br />

การรับมาตรฐาน ISPMs มาใช้ตรวจวินิจฉัยศัตรูพืช<br />

ประเทศไทยรับเอามาตรฐานของระเบียบวิธีการตรวจ<br />

วินิจฉัยศัตรูพืชกักกัน ซึ่งตรงกับ ISPM No.27 Diagnostic<br />

protocols for regulated pests มาใช้เป็นแนวทางในการ<br />

ปฏิบัติงานตรวจหาศัตรูพืชกักกัน ณ ด่านตรวจพืช เพื่อให้<br />

สอดคล้องกับหลักปฏิบัติที่ใช้กันในระหว่างกลุ่มประเทศภาคี<br />

สมาชิก ในมาตรฐานนี้มีเนื้อหาระบุขอบข่ายและขั้นตอนของ<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 14<br />

7/20/10 11:34:04 PM


แนวปฏิบัติ ซึ่งประเทศภาคีสมาชิกจะใช้เป็นต้นแบบ เพื่อ<br />

พัฒนาระเบียบวิธีการที่จำเพาะกับศัตรูพืชแต่ละชนิดให้<br />

เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และในกรณีที่ต้องส่งตรวจ<br />

ที่ห้องปฏิบัติการ จะต้องตรวจตาม protocol ที่ระบุไว้ใน<br />

ส่วนของ annex ของมาตรฐานเบอร์ 27 นี้ <br />

ระเบียบวิธีการวินิจฉัยศัตรูพืชโดยทั่วไปเริ่มจากการตรวจ<br />

ดูร่องรอยศัตรูพืชและ/หรืออาการที่เกี่ยวข้อง ชึ่งเกิดจาก<br />

ศัตรูพืช ระยะต่างๆ ของศัตรูพืช และวิธีการตรวจหาศัตรูพืช<br />

ในสินค้า เช่นวิธีการแยก-การสกัด วิธีกลับคืนสภาพ และวิธี<br />

การรวบรวมศัตรูพืชจากพืช ต้องมีข้อมูลและคำแนะนำสำหรับ<br />

การจำแนกศัตรูพืช ประกอบด้วยข้อมูลรายละเอียดของวิธีการ<br />

ด้านสัณฐานวิทยา วิธีการวัดทางสัณฐานวิทยา วิธีการบน<br />

พื้นฐานของคุณสมบัติทางชีววิทยา ชีวเคมีและโมเลกุลของ<br />

ศัตรูพืช เป็นต้น<br />

ปัจจุบันสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร<br />

แห่งชาติ หรือ มกอช. ร่วมกับกรมวิชาการเกษตรและสถาบัน<br />

อุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องได้แปลมาตรฐาน ISPM No.27 เป็น<br />

ภาษาไทย ชื่อ มาตรการสุขอนามัยพืช : ระเบียบวิธีการ<br />

วินิจฉัยศัตรูพืชควบคุม ซึ่งอธิบายถึงขั้นตอนและวิธีการ<br />

สำหรับตรวจหาและจำแนกชนิดศัตรูพืชควบคุมที่เกี่ยวข้องกับ<br />

การค้าระหว่างประเทศ ระเบียบวิธีการวินิจฉัยศัตรูพืชนี้ <br />

จะนำไปใช้ในสภาวการณ์ที่แตกต่างกันซึ่งอาจต้องการวิธีการที่<br />

แตกต่างกันไป มีการจัดกลุ่มของสภาวการณ์ตามระดับความ<br />

ต้องการที่เพิ่มขึ้นในเรื่องความไวในการตรวจ ความจำเพาะ<br />

และความน่าเชื่อถือของวิธีการที่สูงขึ้น ศัตรูพืชที่เคลื่อนที่ช้าจะ<br />

ใช้วิธีการวินิจฉัยที่ต่างจากเชื้อโรคพืชที่เจริญและเคลื่อนที่ได้<br />

รวดเร็ว หรือศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงต่อพืชและระบบนิเวศของ<br />

ท้องถิ่นในระดับสูงก็จะต้องใช้วิธี<br />

การที่มีความไวและความแม่นยำสูง<br />

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในทุกกรณีคือ<br />

ความจำเป็นที่จะต้องตรวจวินิจฉัย<br />

อย่างถูกต้องแม่นยำและทันเวลา<br />

เพื่อให้สามารถแยกแยะศัตรูพืช<br />

ต่างถิ่นได้ ดังนั้นประเทศไทยก็จะ<br />

ต้องพัฒนาระเบียบวิธีการวินิจฉัย<br />

เชื้อโรคพืชขึ้นให้เหมาะสม ให้มี<br />

ความไว ความจำเพาะและความ<br />

น่าเชื่อถือสำหรับรองรับมาตรการ<br />

ตรวจกักกันและเฝ้าระวังศัตรูพืชที่มาพร้อมกับสินค้าระหว่าง<br />

ประเทศก่อนจะหลุดรอดเข้ามาแพร่ระบาดทำความเสียหายแก่<br />

ประเทศไทย <br />

<br />

วิธีตรวจวินิจฉัยและระบุชนิดเชื้อสาเหตุโรคพืช<br />

การตรวจวินิจฉัยชนิดศัตรูพืชโดยเฉพาะที่เป็นเชื้อ<br />

จุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชอาจใช้หลายวิธีร่วมกันในกรณีที่วิธีการ<br />

อันน่าเชื่อถือได้มีมากกว่า 1 วิธี และเป็นที่ยอมรับ วิธีการ<br />

อื่นๆ ที่มีความเหมาะสมก็อาจนำมาให้ใช้เป็นทางเลือกหรือ<br />

เป็นวิธีการเสริม เช่น ขณะที่มีการใช้วิธีทางสัณฐานวิทยา<br />

(Morphological characterization) ซึ่งมีความน่าเชื่อถือก็ยัง<br />

มีวิธีการทางชีวเคมีหรือทางโมเลกุลหรืออณูวิทยาที่เหมาะ<br />

สำหรับนำมาใช้ด้วยเช่นกัน เช่นในกรณีที่ต้องการแยกศัตรูพืช<br />

จากพืชที่ไม่แสดงอาการหรือผลิตภัณฑ์ของพืช (กรณีการเข้า<br />

ทำลายแบบแฝงตัวโดยพืชยังไม่แสดงอาการ, latent<br />

infection) อาจจะใช้วิธีการที่จำแนกศัตรูพืชบนตัวอย่างที่<br />

ไม่แสดงอาการได้โดยตรงหรือใช้วิธีการทางชีวเคมีหรือทาง<br />

โมเลกุล ซึ่งได้แก่ วิธีการทางซีรัมวิทยา (Serological<br />

techniques) อิเล็กโตรฟอเรซิส (Electrophoresis) ปฏิกิริยา<br />

ห่วงโซ่พอลิเมอเรส (Polymerase Chain Reaction, PCR)<br />

ตัวตรวจดีเอ็นเอที่ติดฉลาก (Labeled DNA Probe) <br />

รหัสแท่งของดีเอ็นเอ (DNA Barcoding) ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ<br />

และรูปแบบดีเอ็นเอหลังจากถูกย่อยด้วยเอนไซม์ (DNA<br />

Fingerprinting & RFLPs) การหาลำดับเบสบนดีเอ็นเอ<br />

(DNA sequencing) เป็นต้น<br />

<br />

เทคนิคทางอณูชีววิทยาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมาตรฐาน <br />

ISPM <br />

เทคนิคทางอณูชีววิทยาทั้งแบบที่ใช้ดีเอ็นเอและโปรตีน<br />

(แอนติบอดี) ตอบสนองความต้องการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชที่<br />

รวดเร็วและแม่นยำ และสอดคล้องกับแนวโน้มของมาตรฐาน<br />

ระหว่างประเทศที่ต้องการความจำเพาะแม่นยำ ในการระบุ<br />

ชนิดศัตรูพืช เป็นวิธีการที่สามารถนำมาใช้ตรวจวินิจฉัย<br />

ศัตรูพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อโรคพืช และได้ถึงขั้นที่ทราบ<br />

ชนิดของสารพันธุกรรมและรหัส<br />

พันธุกรรมตลอดจนแสดงถึง<br />

ความสัมพันธ์ของเชื้อดังกล่าว<br />

กับเชื้ออื่นได้ในคราวเดียวกัน<br />

เทคนิคด้านดีเอ็นเอส่วนใหญ่<br />

มีความไวสูงกว่าวิธีการอื่นและ<br />

ช่วยให้แยกแยะพาหะนำโรคได้<br />

ชัดเจนยิ่งขึ้น มีประโยชน์<br />

หลากหลายทั้งการนำไปใช้<br />

เพื่อตรวจเฝ้าระวัง พยากรณ์<br />

โรคระบาดและควบคุมศัตรูพืช<br />

นิยมนำไปใช้เพื่อตรวจสอบเชื้อโรคพืชในเมล็ดพันธุ์ ท่อนพันธุ์<br />

เนื้อเยื่อพืชจากการเพาะเลี้ยง และในพันธุกรรมพืช ตรวจหา<br />

เชื้อโรคพืชที่ติดไปกับอาหารจากพืช ในสินค้าพืชที่ผ่าน<br />

กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว รวมไปถึงการตรวจหาเชื้อ<br />

โรคพืชที่แฝงตัวในพืช และไม่แสดงอาการให้เห็นในขณะที่มี<br />

การส่งออกหรือนำเข้า<br />

<br />

15<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 15<br />

7/20/10 11:34:06 PM


เรื่องน่ารู้ Ag<strong>Bio</strong>tech<br />

เทคนิคการตรวจวินิจฉัยทางอณูชีววิทยาที่เป็นที่ยอมรับ<br />

ได้แก่ ELISA, DNA & RNA Probes, <strong>Bio</strong>-PCR, RT-PCR,<br />

Realtime PCR เทคนิคเหล่านี้มีประสิทธิภาพสูง สามารถนำ<br />

ไปใช้ได้กว้างขวางสำหรับตรวจหาเชื้อสาเหตุโรคพืชหลาย<br />

ประเภท เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไส้เดือนฝอย ไวรัส <br />

ไวรอยด์ เทคนิค Multiplex PCR สามารถตรวจหาเชื้อ<br />

โรคพืชได้หลายชนิดในปฏิกิริยาเดียวกัน ในขณะที่เทคนิค<br />

realtime PCR อาจใช้หาปริมาณเชื้อสาเหตุโรคพืชที่ติดมา<br />

กับเมล็ดได้ (quantitative PCR) ประเทศสหรัฐอเมริกา <br />

และประเทศในแถบทวีปยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศ<br />

ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้พัฒนาระเบียบวิธีวินิจฉัย<br />

เชื้อโรคพืช และศัตรูพืชชนิดต่างๆ ที่ใช้เทคนิคด้านดีเอ็นเอ<br />

ขึ้นมาใช้อย่างแพร่หลาย ส่วนประเทศในแถบทวีปเอเซียยังมี<br />

ระเบียบวิธีไม่มากนักแม้จะเป็นผู้ส่งออกและนำเข้ารายใหญ่<br />

ของโลก ในที่นี้จะยกตัวอย่างเทคนิคที่นิยมใช้ตรวจวินิจฉัยเชื้อ<br />

โรคพืชบางชนิดมาให้ทราบในเบื้องต้นดังต่อไปนี้<br />

<br />

เทคนิคทางเซรุ่มวิทยา<br />

วิธี ELISA ที่ใช้ตรวจวินิจฉัยเชื้อสาเหตุโรคพืช มีความ<br />

ไวของวิธีการแตกต่างกันตามชนิดของเชื้อ มีการผลิตชุดตรวจ<br />

ELISA เป็นการค้าเพื่อใช้ตรวจเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และรา<br />

ได้แก่ชุดตรวจสำเร็จรูปที่ผลิตโดยบริษัท Agdia Co.Ltd.<br />

ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัท Adgen ประเทศสหราช<br />

อาณาจักร และบริษัท DSMZ ประเทศเยอรมนี โดยทั่วไป<br />

จะมีมาตรฐานความไวในการตรวจเชื้อแบคทีเรียอยู่ที่ระดับ<br />

10 5 CFU/ml ซึ่งพบได้ในตัวอย่างพืชสดที่มีอาการแผลจุด<br />

ชัดเจนและมีเชื้อในปริมาณมาก ส่วนชุดตรวจสอบเชื้อไวรัสมี<br />

ความไวอยู่ที่ระดับนาโนกรัม (ng) <br />

<br />

เทคนิค PCR และ RT-PCR <br />

การตรวจสอบไวรัสสาเหตุโรคพืชเน้นที่ความแม่นยำและ<br />

รวดเร็ว ไวรัสพืชส่วนใหญ่มีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอจึงใช้<br />

วิธีการตรวจสอบจากปฏิกิริยาที่เรียกว่า Reverse<br />

Transcription PCR (RT-PCR) ซึ่งปัจจุบันได้รับการพัฒนา<br />

ให้ทำปฏิกิริยาได้ในหลอดเดียวตลอดกระบวนการ ที่เรียกว่า<br />

one step RT-PCR และ one step realtime PCR มี<br />

ความไวในระดับที่ทำให้สามารถตรวจสอบไวรัสในแมลงพาหะ<br />

เพียง 1 ตัวได้ ตัวอย่างเช่น การตรวจเชื้อทอสโพไวรัสในตัว<br />

เพลี้ยไฟ กรณี Tomato spotted wilt tospovirus และ<br />

Capsicum chlorosis tospovirus เป็นต้น เมื่อต้องการ<br />

ตรวจวินิจฉัยเชื้อไวรัสหลายชนิดในคราวเดียวก็สามารถ<br />

ประยุกต์ใช้วิธีการเหล่านี้ในรูปแบบไมโครอะเรย์ วิธีการ <br />

RT-PCR ที่ใช้ตรวจสอบไวรัสใช้ได้ผลดีเช่นกันเมื่อตรวจสอบ<br />

เชื้อไวรอยด์ แต่นิยมหาลำดับเบสบนสายดีเอ็นเอผลผลิตที่ได้<br />

เพื่อยืนยันผล เทคนิคที่เป็นทางเลือกอื่นในการตรวจวินิจฉัย<br />

เชื้อไวรอยด์ ได้แก่การใช้ดีเอ็นเอตัวตรวจ ซึ่งพบว่าได้ผลดีใน<br />

การตรวจ Potato spindle tuber viroid ในหัวพันธุ์มันฝรั่ง<br />

ไวรัสที่มีสารพันธุกรรมเป็นดีเอ็นเอใช้เทคนิค PCR ได้ผลดี<br />

เนื่องจากขั้นตอนการเตรียมดีเอ็นเอต้นแบบของตัวอย่างพืช<br />

ที่นำไปใช้ในปฏิกิริยา PCR ไม่ยุ่งยากเมื่อเทียบกับการสกัด<br />

อาร์เอ็นเอจากตัวอย่างพืช <br />

วิธีการที่เรียกว่า <strong>Bio</strong>-PCR เป็นการประยุกต์วิธีการ<br />

เลี้ยงเชื้อแบคทีเรียเพื่อเพิ่มปริมาณเชื้อต้นแบบให้มีมากพอที่จะ<br />

เริ่มต้นการทำปฏิกิริยา PCR มีการพัฒนาระเบียบวิธีการ<br />

(protocol) ที่เหมาะสมสำหรับใช้ตรวจสอบเชื้อแบคทีเรีย<br />

หลายชนิด เช่น เชื้อ Ralstonia solanacearum สาเหตุโรค<br />

เหี่ยวของพืชตระกูลขิง และตระกูลพริก-มะเขือ เชื้อ Acidovorax<br />

avenae subsp. citrulii สาเหตุโรค fruit blotch ของแตงโม<br />

ซึ่งเพิ่มความไวของวิธีการให้เหนือกว่าวิธีการอื่นมาอยู่ที่ระดับ<br />

10 2 CFU/ml และวิธี realtime PCR มีความไวสูงที่สุดใน<br />

ขณะนี้อยู่ที่ระดับต่ำกว่า 10 2 CFU/ml<br />

การตรวจวินิจฉัยเชื้อราสาเหตุโรคพืช ทำให้จำแนกเชื้อรา<br />

ในระดับสปีชีส์ได้ถูกต้องกว่าการใช้ลักษณะสัณฐานของเชื้อซึ่ง<br />

อาจมีความผันแปรของลักษณะดังกล่าวจากสภาวะของการ<br />

เลี้ยงเชื้อในอาหารสังเคราะห์ มีการพัฒนาวิธีการที่ใช้สาร<br />

เรืองแสงติดฉลากตัวตรวจดีเอ็นเอที่นำมาทำปฏิกิริยา<br />

16<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 16<br />

7/20/10 11:34:23 PM


ealtime PCR ซึ่งบริษัทผู้ผลิตชุดตรวจเรียกเทคนิคนี้ว่า<br />

TaqMan TM probes ประเทศต่างๆ ในแถบทวีปยุโรปซึ่ง<br />

สร้างมาตรฐานระเบียบวิธีการวินิจฉัยเป็นรายเชื้อ ได้มีการ<br />

พัฒนาดีเอ็นเอที่เป็นไพรเมอร์จำเพาะ (specific primer<br />

pairs) กับเชื้อราชนิดต่างๆ ในหลาย genus เช่น<br />

Phytophthora, Colletotrichum, Helminthosporium,<br />

Rhizoctonia ทั้งที่พบบนใบพืช (foliage phytopathogen)<br />

และในดิน (soil borne phytopathogen) <br />

การวินิจฉัยและจำแนกชนิดไส้เดือนฝอยสาเหตุโรคพืช<br />

ด้วยเทคนิคด้านดีเอ็นเอ นิยมใช้วิธี PCR แต่ข้อมูลรหัส<br />

พันธุกรรมของสาเหตุโรคพืชชนิดนี้ยังมีไม่มากนัก ปัจจุบันมี<br />

ข้อมูลของ Meloidogyne arenaria, M. incognita, <br />

M. javanica, และ M. hispanica ซึ่งทำให้สามารถตรวจ<br />

จำแนกไส้เดือนฝอยแต่ละสปีชีส์เหล่านี้ได้ในคราวเดียว<br />

พร้อมกันด้วยวิธี multiplex PCR และ PCR-RFLP แต่<br />

เนื่องจากการระบาดของไส้เดือนฝอยมักเกิดขึ้นอย่างช้าๆ <br />

ขึ้นกับสภาวะแวดล้อมของพื้นที่ที่ไส้เดือนฝอยอาศัยอยู่ <br />

การเกิดโรคระบาดจากไส้เดือนฝอยต่างถิ่นแบบฉับพลันจึง<br />

ไม่เกิดขึ้นเช่นที่พบกับสาเหตุโรคพืชประเภทอื่น<br />

<br />

ดีเอ็นเอบาร์โค้ด (DNA Barcode) <br />

เป็นสายดีเอ็นเอสายสั้นๆ ประมาณ 650 คู่เบส ที่ใช้<br />

เป็นเครื่องหมายแทนรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์<br />

ใช้ได้กับทุกระยะของสิ่งมีชีวิต มีความถูกต้องแม่นยำสูง ทำ<br />

ซ้ำได้เหมือนเดิมทุกครั้ง รวดเร็ว ค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก อาจ<br />

ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพคล้าย DNA chip ที่ใช้ตรวจ<br />

ตัวอย่างได้คราวละหลายๆ ตัวอย่างหรือจำแนกได้แม้มี<br />

หลายๆ ชนิดปะปนกันอยู่ แต่ละท้องถิ่นและแต่ละประเทศควร<br />

มีการจัดทำฐานข้อมูลของดีเอ็นเอบาร์โค้ดไว้ใช้ หรือมีเครือข่าย<br />

ของข้อมูลในกลุ่มภูมิภาค เพื่อประโยชน์ในการจำแนกชนิด<br />

ศัตรูพืชที่มาจากภายนอกได้อย่างรวดเร็ว บาร์โค้ดดังกล่าว<br />

ประกอบด้วยลำดับเบสบนสายดีเอ็นเอของศัตรูพืชควบคุมที่มี<br />

การจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อดึงข้อมูลออกมาเปรียบเทียบ<br />

กับบาร์โค้ดของสิ่งมีชีวิตที่ต้องการตรวจสอบ ตัวอย่างที่เกิด<br />

ขึ้นในประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ฐานข้อมูลของเชื้อราสาเหตุ<br />

โรครากเน่าโคนเน่าของไม้ยืนต้นที่เกิดจากเชื้อ Phytophthora<br />

ramorum โรคแคงเกอร์ของพืชตระกูลส้ม-มะนาวที่เกิดจาก<br />

เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas citri subsp. citri โรครากปม<br />

ของต้นสนที่เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม โรคไวรัสของ<br />

อัลสโตรมีเรีย (Alstroemeria) และโรคของไม้ประดับที่เกิด<br />

จากเชื้อไฟโตพลาสมา<br />

<br />

เทคนิคอื่นๆ สำหรับอนาคตอันใกล้<br />

นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วเทคนิคที่ได้รับความสนใจ<br />

อย่างมากในวงการวินิจฉัยเชื้อโรคพืชและจีโนมต่างๆ ได้แก่<br />

ไมโครอะเรย์ (Microarray) ซึ่งใช้หลักการเกาะยึดอย่าง<br />

จำเพาะของสายดีเอ็นเอคู่สมสายสั้นๆ ของเชื้อโรคพืชกับ<br />

ดีเอ็นเอตัวตรวจที่ตรงกัน อ่านผลในคราวเดียวได้หลาย<br />

ตัวอย่าง หลายชนิดและแปลผลด้วยโปรแกรมประมวลผล<br />

ของคอมพิวเตอร์ จุดเด่นคือการตรวจตัวอย่างและระบุชนิด<br />

เชื้อในคราวเดียวกันได้เป็นจำนวนมาก มีความแม่นยำ ทำซ้ำ<br />

ได้ผลเช่นเดิมทุกครั้งและสามารถประยุกต์เข้ากับความ<br />

ต้องการตรวจสอบที่หลากหลายทั้งการตรวจสอบผลผลิตพืช<br />

อาหารจากพืช เมล็ดพันธุ์ ที่มีปริมาณการตรวจสอบมากใน<br />

แต่ละวัน ปัจจุบันมีการพัฒนาอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อให้<br />

สามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ได้ง่ายขึ้น เทคนิควิธีการอื่นที่<br />

ตอบสนองความต้องการแบบเดียวกันนี้ได้ เช่น ไบโอเซนเซอร์<br />

(<strong>Bio</strong>sensor) ที่ใช้ตัวตรวจในรูปของดีเอ็นเอ หรือโปรตีน<br />

รวมทั้งแอนติบอดีจับสารประกอบจำเพาะของเชื้อโรคพืชที่<br />

ตรงกันและรายงานผลในรูปของภาพ แสง สี หรือตัวเลขที่<br />

คำนวณเปรียบเทียบกับมาตรฐาน เทคนิคการใช้จมูก<br />

อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic noses) อาศัยการวิเคราะห์<br />

สารประกอบประเภทโวลาไทล์ (volatile substances) <br />

หลายชนิดที่ระเหยจากเชื้อหรือสารประกอบจำเพาะอันเนื่อง<br />

มาจากเชื้อ พร้อมๆ กันหลายสาร แล้วประมวลผลเปรียบเทียบ<br />

กับข้อมูลมาตรฐานเพื่อระบุชนิดของเชื้อโรคได้<br />

<br />

<br />

ความต้องการการพัฒนาด้านระเบียบวิธีการตรวจ <br />

วินิจฉัยศัตรูพืชสำหรับประเทศไทย<br />

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ<br />

หรือ มกอช. ได้ริเริ่มจัดทำระเบียบวิธีการวินิจฉัยที่ใช้สำหรับ<br />

ตรวจเชื้อแบคทีเรีย Pantoea stewartii subsp. stewartii<br />

สาเหตุโรคเหี่ยวของข้าวโพด จากเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ขึ้นใช้<br />

เป็นมาตรฐานด้านสุขอนามัยพืชแห่งชาติ ซึ่งได้ประกาศใน<br />

ราชกิจจานุเบกษาเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ที่เป็นส่วน<br />

annex ของมาตรฐานระหว่างประเทศ ISPM No.27 วิธี<br />

การที่นำมาใช้ในการระบุชนิดของเชื้อนี้มีตั้งแต่วิธีการแบบ<br />

ดั้งเดิมที่ใช้การแยกเชื้อมาเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อกึ่งคัดเลือก<br />

การใช้แอนติบอดีตรวจสอบเชื้อด้วยเทคนิคทางเซรุ่มวิทยา<br />

เช่น ELISA การตรวจคุณสมบัติเฉพาะของเชื้อ เช่น รูปร่าง<br />

ลักษณะ การติดสี แกรม การเคลื่อนที่ การทดสอบทาง<br />

ชีวเคมี การใช้เทคนิค <strong>Bio</strong>log ไปจนถึงการตรวจด้วยเทคนิค<br />

ด้านดีเอ็นเอ เช่น PCR ครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ลายพิมพ์<br />

ดีเอ็นเอและลำดับเบสบนดีเอ็นเอ อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์<br />

เป็นตลาดการค้าสำคัญที่ต้องพึ่งพาเทคนิคด้านอณูชีววิทยา<br />

ในการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืช จากตัวอย่างความเสียหายอันเกิด<br />

จากโรคผลเน่าของแตงโม (Watermelon fruit blotch<br />

disease) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Acidovorax avenae<br />

subsp. citrulii ที่เชื้อติดมากับเมล็ดพันธุ์ (seed borne) 17<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 17<br />

7/20/10 11:34:24 PM


เรื่องน่ารู้ Ag<strong>Bio</strong>tech<br />

ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่เมล็ดพันธุ์มูลค่ากว่า 75 ล้าน<br />

เหรียญสหรัฐฯ ในพื้นที่ปลูกแตงโมในประเทศสหรัฐอเมริกากว่า<br />

250,000 เอเคอร์ คิดเป็นมูลค่าผลผลิตแตงโมถึง 450<br />

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ระดับความเสี่ยงของศัตรูพืชชนิดดังกล่าว<br />

จัดเป็นระดับสูงสุดที่ไม่ต้องการให้มีการปนเปื้อนของเชื้ออย่าง<br />

สิ้นเชิง (Zero-tolerance level) ในประเทศไทยพบโรคนี้<br />

ระบาดแพร่หลายในพื้นที่ปลูกแตงโมทั่วทุกภูมิภาคซึ่งจะต้องมี<br />

การควบคุมไม่ให้แพร่ระบาดมากไปกว่านี้ ประเทศที่เป็นคู่ค้า<br />

ต้องการให้ตรวจรับรองเมล็ดพันธุ์ให้ปลอดเชื้อดังกล่าวก่อน<br />

ส่งออก เช่นเดียวกับกรณีโรคเหี่ยวของข้าวโพดที่เกิดจากเชื้อ<br />

แบคทีเรีย Pantoea stewartii subsp.<br />

stewartii และเชื้อติดไปกับเมล็ดพันธุ์นั้น<br />

แม้จะยังไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการ<br />

ว่าพบโรคนี้ในประเทศไทย แต่ไทยต้อง<br />

ตรวจสอบรับรองเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด<br />

ส่งออกว่าปลอดเชื้อ เชื้อแบคทีเรียที่<br />

ติดมากับเมล็ดพืชอาจมีอยู่มีในปริมาณ<br />

น้อย และอาจไม่สามารถเจริญจนเข้า<br />

ทำลายต้นกล้าที่งอกจากเมล็ดเหล่านั้นได้<br />

แต่ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าที่ระดับใดจะปลอดจากการ<br />

เป็นโรค ดังนั้นการตรวจสอบเชื้อดังกล่าว จึงจำเป็นต้อง<br />

ตรวจให้พบไม่ว่าจะมีปริมาณน้อยเพียงใด ซึ่งเทคนิคด้าน<br />

ดีเอ็นเอเป็นทางเลือกที่เหมาะสม<br />

แม้ว่าการใช้เทคนิควิธีการวินิจฉัยแบบดั้งเดิมทั่วไป เช่น<br />

การแยกเชื้อบนอาหารเลี้ยงเชื้อ การปลูกเชื้อบนพืชอาศัย<br />

การทดสอบการก่อโรคของเชื้อจะเป็นวิธีการที่ได้รับการ<br />

ยอมรับมานานว่ามีความถูกต้อง แม่นยำ และไม่จำกัดระยะ<br />

เวลาของการตรวจ แต่เทคนิคทางอณูชีววิทยามีความสำคัญ<br />

ต่อการตรวจสอบเชื้อโรคพืชที่ไม่สามารถใช้สายตาและอุปกรณ์<br />

อย่างง่ายๆ หรือมีระยะเวลาจำกัด แต่จำเป็นต้องส่งตัวอย่าง<br />

ไปยังห้องปฏิบัติการเฉพาะทางเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละเชื้อ<br />

ตรวจพิเคราะห์และระบุชนิดตลอดจนสายพันธุ์โดยละเอียด<br />

เช่นกรณีของอาหารจากพืช เมล็ดพันธุ์ ท่อนพันธุ์ ซึ่งวิธีการ<br />

ตรวจเฉพาะทางที่มีความแม่นยำสูงเหล่านี้ควรได้รับการ<br />

พัฒนาให้สามารถดำเนินการได้ ณ ด่านตรวจพืช และ<br />

สอดคล้องกับสภาวการณ์ของประเทศ<br />

ไทยเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการค้า<br />

สินค้าพืชไปยังต่างประเทศที่เป็นแบบ<br />

ไร้พรมแดนและไม่มีมาตรการด้านภาษี<br />

แต่ในขณะเดียวกันสามารถระงับยับยั้ง<br />

การแพร่เข้ามาของศัตรูพืชต่างถิ่นได้<br />

ทันท่วงที เพื่อลดความเสี่ยงและความ<br />

เสียหายต่อผลผลิตพืชภายในประเทศ<br />

นอกจากนี้การเพิ่มศักยภาพของ<br />

ห้องปฏิบัติการและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานให้ทันสมัย มี<br />

ประสิทธิภาพสูงทัดเทียมกับประเทศคู่ค้า การให้ความรู้<br />

และสร้างความเข้าใจเรื่อง SPS ให้แก่เกษตรกรและ<br />

ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้การใช้มาตรการด้าน<br />

สุขอนามัยพืชเกิดเป็นผลดีต่อระบบการผลิตและการค้าของ<br />

ประเทศไทยโดยรวม<br />

18<br />

บรรณานุกรม<br />

• สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2551. มาตรการสุขอนามัยพืช : ระเบียบวิธีการวินิจฉัยศัตรูพืชควบคุม. <br />

• สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2551. มาตรการสุขอนามัยพืช : ระเบียบวิธีการวินิจฉัยเชื้อ Pantoea <br />

stewartii subsp. stewartii สาเหตุโรคเหี่ยวของข้าวโพด.<br />

• อรพันธ์ ภาสวรกุล. (ไม่ทราบปีที่พิมพ์เผยแพร่). บัญญัติ 10 ประการภายใต้ข้อตกลงทางสุขอนามัยพืชและสัตว์ขององค์กร<br />

การค้าโลก. กลุ่มระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์ สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ (แปลและเรียบเรียงจาก <br />

Campos H. The Ten Commandments of the Sanitary and Phytosanitary Agreement of the World Trade<br />

Organization (http://fao.org/ag/aga/agah/vets-1-2/7eng.htm)<br />

• Ball SL, Amstrong KF. 2005. DNA Barcoding: a standardized global tool for the identification of invasive alien<br />

species. Aquatic Nuisance Species Task. Force. Asia–Pacific Economic Forum, Beijing China.<br />

• Davies H. (ed). 2010. <strong>Bio</strong>security, National Center for <strong>Bio</strong>security and Infectious Disease 105 years of science<br />

history. MAF <strong>Bio</strong>security Newzealand. 36pp.<br />

• Diagnostic protocols for regulated pests. 2006. ISPM No.27. FAO Rome.<br />

• Schaad NW, Frederick RD, Shaw J, Schneider WL, Hickson R, Petrillo MD, and Luster DG. 2003. Advances in <br />

molecular-based diagnostics in meeting crop biosecurity and phytosanitary issue. Annu. Rev. Phytopathol. 41:<br />

305-24.<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 18<br />

7/20/10 11:34:25 PM


Ag<strong>Bio</strong>tech Hot News /<br />

ชีวิต (ใกล้จะ) สังเคราะห์ได้?<br />

รศ.ดร.วิชัย โฆสิตรัตน<br />

<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> <br />

ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน <strong>มหาวิทยาลัย</strong>เกษตรศาสตร์ <br />

20 พฤษภาคม 2553 มีการเสนอข่าวใหญ่ของโลก<br />

เกี่ยวกับชีวิต (life) อยู่ 2 เรื่อง เรื่องที่หนึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว<br />

คือมีการสูญเสียชีวิต (loss of life) ของคนไทยกว่า 80<br />

ชีวิต ในการเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในการขอพื้นที่คืน จากการ<br />

ชุมนุมของคนเสื้อแดง ย่านราชประสงค์ กรุงเทพฯ ซึ่งมาเป็น<br />

ข่าวบดบังข่าวใหญ่ของโลก คือ นักวิทยาศาสตร์ของสถาบัน<br />

เจ เคร็ค เวนเตอร์ (The J. Craig Venter Institue, USA)<br />

ซึ่งนำโดย ดร. เคร็ค เวนเตอร์ ได้ตีพิมพ์รายงานในวารสาร<br />

Science ถึง การสังเคราะห์จีโนม (สารพันธุกรรมทั้งหมด)<br />

ของเชื้อมายโคพลาสมา มายคอยดิส (Mycoplasma<br />

mycoides) ซึ่งมีขนาดยาว 1.08 ล้านคู่เบส และนำไปถ่าย<br />

ฝากเข้าสู่เชื้อมายโคพลาสมา อีกชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า <br />

มายโคพลาสมา คาปริโคลัม (M. capricolum) และสามารถ<br />

เลี้ยงพัฒนาเจริญเติบโตกลายเป็นเชื้อ มายโคพลาสมา <br />

มายคอยดิส ตามจีโนมสังเคราะห์ที่ได้ถ่ายฝาก หรือนัยหนึ่ง<br />

เป็นการสร้าง เซลล์สังเคราะห์ (synthetic cell) ซึ่งเป็นก้าว<br />

เบื้องต้นที่จะนำไปสู่ชีวิตที่สังเคราะห์ได้ และถ้าพัฒนาให้วิธีการ<br />

เหล่านี้มีประสิทธิภาพ กระทำได้โดยง่าย นักวิทยาศาสตร์ก็<br />

สามารถที่จะออกแบบสังเคราะห์ยีน นำยีนมาประกอบและ<br />

ถ่ายฝาก เพื่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ได้ เช่นการ<br />

สร้างสาหร่ายเซลล์เดียว เพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ<br />

แม้ว่าจะมีผู้ออกมาวิจารณ์งานของ ดร.เคร็ค เวนเตอร์<br />

โดยทันควันว่า เป็นเพียงแต่การนำข้อมูลลำดับดีเอ็นเอที่ทราบ<br />

แล้วของเชื้อมาสังเคราะห์ชิ้นดีเอ็นเอขนาดสั้นๆ ราว 1,000<br />

คู่เบสหลายร้อยชิ้น แยกเป็นส่วนๆ และมีการทับซ้อนกัน<br />

ประมาณ 80 คู่เบส จากนั้นนำมาเชื่อมต่อกันให้เหมือนเดิม<br />

โดยใช้ระบบในเชื้อยีสต์ และดัดแปลงเพียงบางส่วนของจีโนม<br />

สังเคราะห์ โดยใส่ดีเอ็นเอที่เป็นเครื่องหมายลายน้ำ<br />

<br />

Craig Venter (ยืน) กับนักวิจัยรางวัลโนเบล Hamiton Smith (นั่ง)<br />

ผู้เป็นกำลังสำคัญในการสร้างชีวิตสังเคราะห์<br />

(watermarks) เพื่อบ่งบอกว่าเป็นเชื้อนี้ภายหลังมีการ<br />

แสดงออกของจีโนมสังเคราะห์แล้ว ท้ายสุดเมื่อนำจีโนม<br />

สังเคราะห์นี้ใส่กลับเข้าไปในเชื้ออีกตัวหนึ่งที่ใช้เป็นเซลล์ผู้รับ<br />

ทำให้จีโนมเดิมของเซลล์ผู้รับโดนทำลายไป และจีโนม<br />

สังเคราะห์ช่วยให้เซลล์ผู้รับมีชีวิตและแสดงลักษณะใหม่ตามคำ<br />

สั่งของจีโนมสังเคราะห์ ขั้นตอนดังที่กล่าวมาแล้วยังถือว่า<br />

ไม่ใช่การสร้างชีวิตสังเคราะห์ หรือเซลล์สังเคราะห์โดยแท้จริง<br />

แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะเห็นถึงประโยชน์ของชีวิตสังเคราะห์<br />

ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในอนาคตอย่างมหาศาลก็ตาม แต่มี<br />

การถกเถียง และวิตกกังวลในเรื่องที่อาจจะเกิดผลกระทบ<br />

อย่างไม่คาดคิด และยังไม่มีการเตรียมการในกฎระเบียบของ<br />

การควบคุมงานวิจัยลักษณะเช่นนี้ ซึ่งผู้วิจัยให้ความเห็น<br />

ว่าการสังเคราะห์จีโนมนั้นยังไม่ง่ายดายเหมือนที่คนทั่วไป<br />

คิดนัก ไม่ควรตื่นตระหนก<br />

อย่างไรก็ตาม วันนี้ชีวิตที่ (ใกล้จะ) สังเคราะห์ได้ <br />

เริ่มอุบัติขึ้นแล้วบนโลกนี้<br />

<br />

<br />

เอกสารอ้างอิง<br />

Gibson, et al. 2010. Creation of a bacterial cell<br />

controlled by a chemical synthesized genome. <br />

SciencExpress. www.sciencexpress.org 20 May 2010<br />

โคโลนีของเชื้อมายโคพลาสมา มายคอยดิส ที่สังเคราะห์ขึ้น<br />

เมื่อเลี้ยงบนอาหารเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 3 วัน เนื่องจากยีน lac Z<br />

(beta-galactosidase) ที่ถ่ายเข้าไป ทำให้โคโลนีมีสีน้ำเงิน เมื่อเติม<br />

สับสเตรท X-gal ลงในอาหาร<br />

<br />

เชื้อมายโคพลาสมา มายคอยดิส <br />

ที่สังเคราะห์ขึ้น ย้อมด้วยแอมโมเนียม โมลิบเดส <br />

ดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอน<br />

19<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 19<br />

7/20/10 11:34:28 PM


ข่าวกิจกรรม<br />

29 - 30 เมษายน 2553 <br />

<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong><br />

<strong>มหาวิทยาลัย</strong>เกษตรศาสตร์<br />

<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> ร่วมกับ<br />

กลุ่มวิจัยด้านพืช ศูนย์พันธุวิศวกรรม<br />

และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ จัดการ<br />

ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การ<br />

เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้สัก” และ “การ<br />

ประยุกต์ใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์”<br />

พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย web 2.0<br />

โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสองวัน<br />

จำนวน 60 คน <br />

<br />

4-6 พฤษภาคม 2553 <br />

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยี<br />

ชีวภาพเกษตร <br />

ผู้อำนวยการ และ รองผู้อำนวยการ<br />

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพ<br />

เกษตร เข้าร่วมประชุมงาน <strong>Bio</strong><br />

International Convention ร่วมเปิดซุ้ม<br />

แสดงนิทรรศการของประเทศไทย และ<br />

เปิดตัวหนังสือ Transformational<br />

Science: Life Sciences in Thailand<br />

ณ เมืองชิคาโก มลรัฐอิลินอยส์<br />

ประเทศสหรัฐอเมริกา<br />

<br />

14 พฤษภาคม 2553 <br />

<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong><br />

<strong>มหาวิทยาลัย</strong>เกษตรศาสตร์<br />

ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพ<br />

เกษตร และคณาจารย์ให้การต้อนรับ<br />

คณะผู้บริหารบริษัทกรุงเทพอุตสาหกรรม<br />

เมล็ดพันธุ์จำกัด หน่วยงานวิจัย และ<br />

พัฒนาพันธุ์ข้าวโพด จำนวน 3 ท่าน<br />

ที่เข้าเยี่ยมชมดูงาน และปรึกษาเรื่อง <br />

การจัดตั้งห้องปฏิบัติการเทคโนโลยี<br />

ชีวภาพของบริษัท<br />

<br />

<br />

20<br />

25 พฤษภาคม - 8 กรกฎาคม 2553 <br />

<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong><br />

<strong>มหาวิทยาลัย</strong>เกษตรศาสตร์<br />

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยี<br />

ชีวภาพเกษตร ร่วมกับ คณะเกษตร<br />

กำแพงแสน ภายใต้การสนับสนุนทาง<br />

วิชาการ จากรัฐบาลประเทศบังคลาเทศ<br />

ได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มพูน<br />

ความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีชีวภาพ<br />

เกษตรขั้นสูง ให้แก่นักวิชาการเกษตร<br />

จากประเทศบังคลาเทศ จำนวน 12 คน<br />

ในเรื่อง เทคนิคโมเลกุลเครื่องหมายเพื่อ<br />

การปรับปรุงพันธุ์พืช (Marker-assisted<br />

selection for plant breeding) ณ ศูนย์<br />

เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร <strong>มหาวิทยาลัย</strong><br />

เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน<br />

โดยการฝึกอบรม ประกอบด้วยการ<br />

ฝึกอบรมพื้นฐานด้านชีวโมเลกุล และการ<br />

ประยุกต์ใช้ประโยชน์ในทางการเกษตร<br />

4 มิถุนายน 2553 <br />

<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong><br />

<strong>มหาวิทยาลัย</strong>เกษตรศาสตร์<br />

<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong><br />

<strong>มหาวิทยาลัย</strong>เกษตรศาสตร์ วิทยาเขต<br />

กำแพงแสน จัดงานปฐมนิเทศนิสิต<br />

บัณฑิตในหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ<br />

เกษตรของศูนย์ฯ ที่เข้าศึกษาในภาคต้น<br />

ปีการศึกษา 2553 โดยมีนิสิตใหม่<br />

ระดับปริญญาเอก จำนวน 14 คน<br />

และระดับปริญญาโท 4 คน<br />

<br />

<br />

<br />

<br />

<br />

<br />

<br />

<br />

10-12 มิถุนายน 2553 <br />

<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong><br />

<strong>มหาวิทยาลัย</strong>เกษตรศาสตร์<br />

<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> ร่วม<br />

กับหน่วยงานต่างๆ ใน<strong>มหาวิทยาลัย</strong><br />

เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน<br />

ร่วมจัดกิจกรรมโครงการค่ายวิทยาศาสตร์<br />

นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้าน<br />

วิทยาศาสตร์ ให้กับคณะนักเรียนและครู<br />

จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยมี<br />

นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 44<br />

คน และครู 4 คน โดยได้เข้าร่วม<br />

กิจกรรมในเรื่องต่างๆ เช่น การควบคุม<br />

ศัตรูพืชโดยชีววิธี การวิจัยพืชผัก<br />

พื้นบ้าน การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า<br />

เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ตลอดจนไป<br />

เยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง<br />

กับปราชญ์ชาวบ้าน ชุมชนวัดปลัก<br />

ไม้ลาย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม<br />

<strong>AG</strong>-<strong>Bio</strong> <strong>Vol</strong> <strong>002.indd</strong> 20<br />

7/20/10 11:34:46 PM

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!