05.01.2015 Views

บทที่ 1 เมทริก ซ

บทที่ 1 เมทริก ซ

บทที่ 1 เมทริก ซ

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

บทที่ 5<br />

อนุพันธ์<br />

เหตุการณ์ทางธรรมชาติหลายเหตุการณ์ เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณ เช่น ความเร็ว<br />

ของจรวด อัตราเงินเฟ้อ จำนวนของแบคที่เรียในการเพาะเชื้อ ความรุนแรงของแผ่นดินไหว หรือ<br />

ความต่างศักย์ของกระแสไฟฟ้า ในบทนี้เราจะเรียนรู้แนวคิดของ อนุพันธ์ ซึ่งเป็นเครื่องมือทาง<br />

คณิตศาสตร์สำหรับการศึกษาอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณใดปริมาณหนึ่งเทียบกับปริมาณอื่น การ<br />

ศึกษาอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณมีความใกล้เคียงกับแนวคิดของความชันของเส้นสัมผัสเส้นโค้ง<br />

ดังนั้นเราจะเริ่มหัวข้อแรกด้วยการกล่าวถึงบทนิยามทั่วไปของความชันของเส้นสัมผัส และศึกษาวิธีการ<br />

หาความชันและสมการของเส้นสัมผัสเส้นโค้ง<br />

5.1 ความชันของเส้นสัมผัสและอัตราการเปลี่ยนแปลง<br />

ความชันของเส้นสัมผัสโค้ง<br />

กำหนดให้เส้นโค้ง C เป็นกราฟของสมการ y = f(x) และให้ P ( x 0 ,f(x 0 ) ) เป็นจุดใดๆ บน<br />

เส้นโค้ง C จากรูปที่ 5.1 ถ้า Q ( x,f(x) ) เป็นจุดอีกจุดหนึ่งบนเส้นโค้ง C ที่ไม่ใช่จุด P แล้ว<br />

ความชันของเส้นตัด PQ คือ<br />

m PQ = f(x)−f(x 0)<br />

x−x 0<br />

ถ้าให้ x มีค่าเข้าใกล้ x 0 แล้วจุด Q จะเลื่อนเข้าหาจุด P ตามแนวของเส้นโค้ง C และจะได้<br />

ว่าความชัน m PQ ของเส้นตัด PQ มีค่าเข้าใกล้ความชัน m ของเส้นสัมผัสโค้งที่จุด P<br />

65

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!