05.01.2015 Views

บทที่ 1 เมทริก ซ

บทที่ 1 เมทริก ซ

บทที่ 1 เมทริก ซ

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 10<br />

1.2 การดำเนินการขั้นมูลฐานและรูปแบบขั้นบันได<br />

การดำเนินการตามแถวขั้นมูลฐาน<br />

การดำเนินการตามแถวขั้นมูลฐาน (elementary row operations) ประกอบด้วยการดำเนินการ<br />

3 แบบ ดังนี้<br />

1. คูณแถวใดแถวหนึ่งด้วยค่าคงตัวที่ไม่เท่ากับศูนย์ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ αr i<br />

2. สลับที่สองแถวใดๆของเมทริกซ์ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ r i ↔ r j<br />

3. คูณแถวใดแถวหนึ่งด้วยค่าคงตัวที่ไม่เท่ากับศูนย์ แล้วนำไปบวกกับอีกแถวหนึ่ง เขียนแทน<br />

ด้วยสัญลักษณ์ r j +αr i<br />

⎡ ⎤<br />

2 −3 2 1<br />

⎢ ⎥<br />

ตัวอย่าง 1.8 กำหนดให้ A = ⎣0 8 6 −10⎦ จงหาเมทริกซ์ B ที่เกิดจากการดำเนินการ<br />

4 1 3 −2<br />

ตามแถวขั้นมูลฐานต่อไปนี้บนเมทริกซ์ A<br />

(a) r 1 ↔ r 2 (b) 1 r 2 2 (c) r 3 −2r 1<br />

วิธีทำ .........<br />

บทนิยาม 1.11 เมทริกซ์ A สมมูลตามแถว (row equivalent) กับเมทริกซ์ B ก็ต่อเมื่อ B<br />

เป็นเมทริกซ์ที่ได้จากการใช้การดำเนินการตามแถวขั้นมูลฐานบน A และจะเขียนแทนด้วย A ∼ B<br />

รูปแบบขั้นบันได<br />

บทนิยาม 1.12 เมทริกซ์ A จะเป็น เมทริกซ์ขั้นบันไดตามแถว (row-echelon matrix)<br />

ก็ต่อเมื่อ เมทริกซ์ A มีสมบัติต่อไปนี้<br />

1. ถ้าแถวใดแถวหนึ่งของ A มีสมาชิกทุกตัวเป็นศูนย์ แล้วแถวดังกล่าวจะต้องเป็นแถวที่อยู่ด้าน<br />

ล่างของเมทริกซ์<br />

2. สมาชิกตัวแรกที่ไม่เป็นศูนย์ หรือเราเรียกว่า ตัวนำ ของแต่ละแถวจะต้องอยู่ในหลักทางขวา<br />

มือของตัวนำของแถวบน<br />

ถ้าเมทริกซ์ขั้นบันไดตามแถว A มีสมบัติต่อไปนี้เพิ่มเติม แล้วเราจะเรียก A ว่า เมทริกซ์ขั้นบันได<br />

ตามแถวลดรูป (reduced row-echelon matrix)<br />

3. สมาชิกตัวแรกที่ไม่เป็นศูนย์ หรือตัวนำของแถวต้องมีค่าเท่ากับ 1<br />

4. ถ้าตัวนำ 1 ของแถวใดแถวหนึ่งอยู่ในหลักใด แล้วสมาชิกตัวอื่นของหลักนั้นต้องเท่ากับศูนย์

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!