05.01.2015 Views

บทที่ 1 เมทริก ซ

บทที่ 1 เมทริก ซ

บทที่ 1 เมทริก ซ

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

บทที่ 1<br />

เมทริกซ์<br />

1.1 เมทริกซ์และการดำเนินการบนเมทริกซ์<br />

กลุ่มของจำนวนซึ่งนำมาจัดเรียงกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก หรือที่เรียกว่า เมทริกซ์ ได้ถูกนำมาใช้<br />

ในหลายสาขาวิชา เมทริกซ์จัดว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญมากทางด้านคณิตศาสตร์ ในหัวข้อนี้<br />

เราจะเรียนรู้บทนิยามเบื้องต้นของเมทริกซ์ การดำเนินการบวก ลบ และคูณเมทริกซ์<br />

สัญลักษณ์ของเมทริกซ์<br />

บทนิยาม 1.1 เมทริกซ์ (matrix) คือ กลุ่มของจำนวนซึ่งนำมาจัดเรียงกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก<br />

และบรรจุภายในเครื่องหมาย [ ] หรือ ( ) จำนวนซึ่งนำมาจัดเรียงแต่ละจำนวนเรียกว่า สมาชิก<br />

(element หรือ entry) ของเมทริกซ์<br />

และ<br />

ตัวอย่างเช่น<br />

⎡ ⎤<br />

2 3<br />

⎢ ⎥<br />

⎣−1 2 ⎦ (1.1)<br />

0 −5<br />

( )<br />

1 −1 0<br />

(1.2)<br />

0 5 2<br />

[<br />

1 √ ]<br />

2 π 0<br />

(1.3)<br />

⎡ ⎤<br />

2<br />

⎢ ⎥<br />

⎣−3⎦ (1.4)<br />

7<br />

สมาชิกซึ่งจัดเรียงกันในแนวนอนเรียกว่า แถว ของเมทริกซ์ ในขณะที่สมาชิกซึ่งจัดเรียงในแนว<br />

ตั้งเรียกว่า หลัก ของเมทริกซ์ ตัวอย่างเช่นแถวที่สามของเมทริกซ์ (1.1) ประกอบด้วยสมาชิก 0<br />

และ −5 และสมาชิกในหลักที่หนึ่งเมทริกซ์(1.1) คือ 2, −1 และ 0 สำหรับเมทริกซ์ที่มี m<br />

แถว และ n หลัก เรากล่าวว่าเมทริกซ์นั้นมี มิติ (dimension) หรือ อันดับ (order)<br />

1


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 2<br />

m×n ดังนั้นเมทริกซ์(1.1) มีมิติ 3 × 2 เมทริกซ์(1.2) มีมิติ 2 × 3 และเมทริกซ์(1.3)<br />

มีมิติ 1×3<br />

เมทริกซ์ที่มีเพียงแถวเดียว หรือเมทริกซ์มิติ 1 × n เรียกว่า เมทริกซ์แถว (row matrix)<br />

หรือ เวกเตอร์แถว (row vector) ในขณะเดียวกันเมทริกซ์ที่มีเพียงหลักเดียว หรือเมทริกซ์<br />

มิติ m × 1 เรียกว่า เมทริกซ์แนวตั้ง (column matrix) หรือ เวกเตอร์แนวตั้ง (column<br />

vector) ดังนั้นเมทริกซ์(1.3) คือ เมทริกซ์แถวหรือเวกเตอร์แถว และเมทริกซ์(1.4) คือ<br />

เมทริกซ์แนวตั้งหรือเวกเตอร์แนวตั้ง<br />

โดยทั่วไปเรานิยมใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เช่น A,B,C,... แทนเมทริกซ์ ในขณะที่สมาชิกของ<br />

เมทริกซ์จะเขียนแทนด้วยตัวพิมพ์เล็กที่มีดัชนีล่าง 2 ตัว เช่น a ij หมายถึงสมาชิกในแถวที่ i และ<br />

หลักที่ j ของเมทริกซ์ ดังนั้นรูปทั่วไปของเมทริกซ์มิติ 2×4 สามารถเขียนแทนด้วย<br />

[ ]<br />

a 11 a 12 a 13 a 14<br />

A =<br />

a 21 a 22 a 23 a 24<br />

และรูปทั่วไปของเมทริกซ์มิติ m×n คือ<br />

⎡ ⎤<br />

a 11 a 12 ··· a 14<br />

a<br />

A =<br />

21 a 22 ··· a 24<br />

⎢ ⎥<br />

⎣ . . . ⎦<br />

a m1 a m2 ··· a mn<br />

(1.5)<br />

เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้ บางครั้งเราเขียนแทนเมทริกซ์ A ในรูป<br />

[a ij ] m×n หรือ [a ij ]<br />

โดยที่สัญลักษณ์ตัวแรกจะใช้เมื่อต้องการทราบมิติของเมทริกซ์ ในขณะที่สัญลักษณ์ตัวที่สองจะใช้<br />

เมื่อไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงมิติของเมทริกซ์<br />

นอกจากนี้สมาชิกในแถวที่ i และหลักที่ j ของเมทริกซ์ A อาจจะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์<br />

(A) ij ดังนั้นสมาชิกในแถวที่ i และหลักที่ j ของเมทริกซ์(1.5) สามารถเขียนแทนด้วย<br />

(A) ij = a ij<br />

และสำหรับเมทริกซ์ ⎡ ⎤<br />

3 6 −1<br />

⎢ ⎥<br />

A = ⎣4 2 0 ⎦<br />

1 −3 −5<br />

เราได้ว่า a 12 = 6, a 21 = 4 และ a 33 = −5<br />

เมทริกซ์ A ที่มี n แถว และ n หลัก เรียกว่า เมทริกซ์จัตุรัส (square matrix) มิติ<br />

n×n หรือ เมทริกซ์จัตุรัสอันดับ n และสมาชิก a 11 , a 22 , ..., a nn ในเมทริกซ์(1.6) คือ<br />

สมาชิกที่อยู่ใน เส้นทแยงมุมหลัก (main diagonal) ของ A<br />

⎡ ⎤<br />

a 11 a 12 ··· a 1n<br />

a 21 a 22 ··· a 2n<br />

⎢ ⎥<br />

(1.6)<br />

⎣ . . . ⎦<br />

a n1 a n2 ··· a nn


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 3<br />

เมทริกซ์จัตุรัสที่สมาชิกใต้เส้นทแยงมุมหลักทุกตัวเป็นศูนย์เรียกว่า เมทริกซ์แบบสามเหลี่ยมบน<br />

(upper triangular matrix) เมทริกซ์จัตุรัสที่สมาชิกเหนือเส้นทแยงมุมหลักทุกตัวเป็นศูนย์<br />

เรียกว่า เมทริกซ์แบบสามเหลี่ยมล่าง (lower triangle matrix) และเมทริกซ์จัตุรัสซึ่งสมาชิก<br />

ที่อยู่นอกแนวเส้นทแยงมุมหลักทุกตัวเป็นศูนย์เรียกว่าเมทริกซ์ทแยงมุม (diagonal matrix)<br />

เมทริกซ์ที่น่าสนใจอีกเมทริกซ์หนึ่งคือ เมทริกซ์จัตุรัสที่สมาชิกในเส้นทแยงมุมหลักทุกตัวมีค่าเท่า<br />

กับ 1 และสมาชิกที่อยู่นอกแนวเส้นทแยงมุมหลักทุกตัวมีค่าเท่ากับ 0 ตัวอย่างเช่น<br />

[ ]<br />

1 0<br />

,<br />

0 1<br />

⎡ ⎤<br />

1 0 0<br />

⎢ ⎥<br />

⎣0 1 0⎦,<br />

0 0 1<br />

⎡ ⎤<br />

1 0 0 0<br />

0 1 0 0<br />

⎢ ⎥<br />

⎣0 0 1 0⎦ .<br />

0 0 0 1<br />

เมทริกซ์ในรูปแบบนี้เรียกว่า เมทริกซ์เอกลักษณ์ (identity matrix หรือ unit matrix)<br />

และเขียนแทนด้วย I แต่หากต้องการแสดงมิติของเมทริกซ์ เราจะเขียนแทนเมทริกซ์เอกลักษณ์<br />

มิติ n×n ด้วย I n<br />

เมทริกซ์มิติ m×n ที่สมาชิกทุกตัวเป็นศูนย์ เรียกว่า เมทริกซ์ศูนย์ (zero matrix หรือ<br />

null matrix) และเขียนแทนด้วย 0 m×n หรือ 0 ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของเมทริกซ์ศูนย์<br />

⎡ ⎤ ⎡ ⎤<br />

0 0 0 [ ] 0<br />

⎢ ⎥ 0 0 0<br />

[ ]<br />

⎢ ⎥<br />

⎣0 0 0⎦,<br />

, ⎣0⎦ และ 0 0 0 0<br />

0 0 0<br />

0 0 0 0<br />

การดำเนินการบนเมทริกซ์<br />

บทนิยาม 1.2 กำหนดให้ A และ B เป็นเมทริกซ์ใดๆ สมาชิก a ij และ b kp เป็น สมาชิกที่<br />

สมนัยกัน (corresponding entries) ก็ต่อเมื่อ i = k และ j = p หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง<br />

ว่าสมาชิกของ A สมนัย กับสมาชิกของ B ก็ต่อเมื่อ สมาชิกทั้งสองอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน<br />

ตัวอย่างเช่น ถ้า<br />

[ ]<br />

1 2 3<br />

A =<br />

4 5 6<br />

[ ]<br />

7 8 9<br />

และ B =<br />

−1 −2 −3<br />

แล้ว 1 สมนัยกับ 7, 2 สมนัยกับ 8 และ 4 สมนัยกับ −1<br />

หมายเหตุ เราจะกล่าวถึงการสมนัยกันของสมาชิก ถ้าเมทริกซ์ทั้ง 2 เมทริกซ์มีมิติเท่ากัน<br />

บทนิยาม 1.3 (การเท่ากันของเมทริกซ์) เมทริกซ์ A และ B จะ เท่ากัน และเขียนแทนด้วย<br />

A = B ถ้าเมทริกซ์ทั้งสองมีมิติเท่ากัน และสมาชิกที่สมนัยกันของเมทริกซ์ทั้งสองมีค่าเท่ากัน<br />

หรือกล่าวได้ว่า ถ้า A = [a ij ] และ B = [b ij ] เป็นเมทริกซ์ที่มีมิติเท่ากัน แล้ว A = B ก็<br />

ต่อเมื่อ a ij = b ij สำหรับทุก i และ j


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 4<br />

ตัวอย่าง 1.1 จงพิจารณาว่าเมทริกซ์ใดต่อไปนี้เท่ากัน<br />

[ ] [ ] [ ] [ ]<br />

1 2 −1 1 2 1 4 −1 1 2 −1<br />

A = , B = , C =<br />

2<br />

, D =<br />

4 0 1+2 4 0 4 0 3 4 0 1<br />

วิธีทำ .........<br />

บทนิยาม 1.4 (ผลบวกของเมทริกซ์) กำหนดให้ A และ B เป็นเมทริกซ์ที่มีมิติเท่ากัน ผลบวก<br />

ของ A และ B ซึ่งเขียนแทนด้วย A+B คือ เมทริกซ์ที่ได้จากการบวกสมาชิกที่สมนัยกันของ<br />

A และ B<br />

หรือกล่าวได้ว่า ถ้า A = [a ij ] และ B = [b ij ] เป็นเมทริกซ์ที่มีมิติเท่ากัน แล้ว C = A+B<br />

ก็ต่อเมื่อ c ij = a ij +b ij สำหรับทุก i และ j<br />

ตัวอย่าง 1.2 จงหาเมทริกซ์ C ที่เป็นผลบวกของเมทริกซ์<br />

⎡ ⎤ ⎡ ⎤<br />

1<br />

3 6 −4<br />

2<br />

⎢ ⎥ ⎢ ⎥<br />

A = ⎣−1 5⎦ และ B = ⎣−2 0 ⎦<br />

0 2 −3 −2<br />

วิธีทำ .........<br />

บทนิยาม 1.5 (การคูณโดยสเกลาร์) กำหนดให้ A เป็นเมทริกซ์ใดๆ และ c เป็นสเกลาร์ใดๆ<br />

ผลคูณ cA คือ เมทริกซ์ที่ได้จากการคูณสมาชิกทุกตัวของ A ด้วยสเกลาร์ c และเราจะเรียก<br />

เมทริกซ์ cA ว่า พหุคูณสเกลาร์ (scalar multiple) ของ A<br />

หรือกล่าวได้ว่า ถ้า A = [a ij ] แล้ว B = cA ก็ต่อเมื่อ b ij = ca ij สำหรับทุก i และj<br />

ตัวอย่าง 1.3 กำหนดให้<br />

จงหา 3A และ (−1)A<br />

[ ]<br />

1 −1 0 3<br />

A =<br />

2 6 −4 8<br />

วิธีทำ .........<br />

บทนิยาม 1.6 ตัวลบ ของเมทริกซ์ B ซึ่งเขียนแทนด้วย −B คือ เมทริกซ์ (−1)B ที่ได้จาก<br />

การเปลี่ยนเครื่องหมายของสมาชิกทุกตัวของ B<br />

บทนิยาม 1.7 (ผลต่างของเมทริกซ์) กำหนดให้ A และ B เป็นเมทริกซ์ที่มีมิติเท่ากัน ผลต่าง<br />

ของ A และ B ซึ่งเขียนแทนด้วย A−B คือ เมทริกซ์ C ที่นิยามโดย C = A+(−B)<br />

หมายเหตุ เมทริกซ์ A−B สามารถหาได้จากการลบสมาชิกทุกตัวของ A ด้วยสมาชิกที่สมนัยกัน<br />

ของ B<br />

[ ] [ ]<br />

1 2 0 4<br />

ตัวอย่าง 1.4 จงหาเมทริกซ์ C = 2A−B เมื่อ A = และ B =<br />

−1 0 −1 0<br />

วิธีทำ .........


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 5<br />

บทนิยาม 1.8 (การคูณเมทริกซ์) ถ้า A เป็นเมทริกซ์มิติ m × n และ B เป็นเมทริกซ์มิติ<br />

p × q แล้ว ผลคูณ AB สามารถหาได้ถ้า n = p และ AB เป็นเมทริกซ์มิติ m × q โดยที่<br />

สมาชิกของ AB ในแถวที่ i และหลักที่ j ได้มาจากการบวกกันของผลคูณระหว่างสมาชิกแต่ละ<br />

ตัวของแถวที่ i ของ A กับสมาชิกที่สมนัยกันในหลักที่ j ของ B<br />

หรือกล่าวได้ว่า ถ้า C = AB แล้ว<br />

n∑<br />

c ij = a i1 b 1j +a i2 b 2j +···+a in b nj หรือ c ij = a ik b kj<br />

ตัวอย่าง 1.5 กำหนดให้ A และ B เป็นเมทริกซ์ต่อไปนี้ จงหาผลคูณ AB และ BA (ถ้าหา<br />

ได้)<br />

⎡ ⎤<br />

⎡ ⎤ ⎡ ⎤<br />

3 −2 [ ] 1 2 3 x<br />

⎢ ⎥ −2 1 3 ⎢ ⎥ ⎢ ⎥<br />

(a) A = ⎣2 4 ⎦, B = (b) A = ⎣4 5 6⎦, B = ⎣y⎦<br />

4 1 6<br />

1 −3<br />

7 8 9 z<br />

วิธีทำ .........<br />

หมายเหตุ จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าการคูณของเมทริกซ์ จะแตกต่างจากการคูณของจำนวน<br />

กล่าวคือ การคูณของจำนวนมีสมบัติการสลับที่ นั่นคือ ถ้า a และ b เป็นจำนวนใดๆ แล้ว ab = ba<br />

แต่การคูณของเมทริกซ์ไม่มีสมบัติดังกล่าว<br />

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์หนึ่งที่ทำให้ AB และ BA สามารถหาได้ (แต่อาจจะไม่เท่ากัน)<br />

คือ เมื่อเมทริกซ์ A และ B มีมิติเท่ากันและเป็นเมทริกซ์จัตุรัส<br />

k=1<br />

เมทริกซ์สลับเปลี่ยน<br />

บทนิยาม 1.9 กำหนดให้ A เป็นเมทริกซ์มิติ m × n ใดๆ เมทริกซ์สลับเปลี่ยน ของ A<br />

(transpose of A) เขียนแทนด้วย A T คือเมทริกซ์มิติ n × m ที่ได้จากการสลับแถวและ<br />

หลักของ A นั่นคือ หลักที่ j ของ A T คือแถวที่ j ของ A<br />

หรือกล่าวได้ว่า B = A T ก็ต่อเมื่อ b ij = a ji สำหรับแต่ละค่าของ i และ j<br />

ตัวอย่าง 1.6 จงหาเมทริกซ์สลับเปลี่ยนของเมทริกซ์ต่อไปนี้<br />

⎡ ⎤ ⎡ ⎤<br />

[ ] −3 2 1 2<br />

1 2 3 ⎢ ⎥ ⎢ ⎥<br />

(a) A = (b) B = ⎣ 4 3 2⎦ (c) C = ⎣3⎦<br />

4 5 6<br />

1 2 5 5<br />

วิธีทำ .........<br />

บทนิยาม 1.10 ถ้า A เป็นเมทริกซ์จัตุรัสใดๆ แล้ว รอย (trace) ของ A เขียนแทนด้วย<br />

tr(A) คือ ผลบวกของสมาชิกที่อยู่ในเส้นทแยงมุมหลักของ A แต่ถ้า A ไม่ใช่เมทริกซ์จัตุรัส<br />

แล้ว tr(A) หาค่าไม่ได้


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 6<br />

ตัวอย่าง 1.7 จงหารอยของเมทริกซ์ต่อไปนี้<br />

⎡ ⎤<br />

⎡ ⎤ −3 1 7 0<br />

a 11 a 12 a 13<br />

⎢ ⎥<br />

2 4 −8 4<br />

A = ⎣a 21 a 22 a 23 ⎦, B = ⎢ ⎥<br />

⎣ 1 −2 5 0⎦<br />

a 31 a 32 a 33<br />

8 3 −1 0<br />

วิธีทำ .........<br />

เราจะจบหัวข้อนี้โดยการกล่าวถึงสมบัติพีชคณิตของเมทริกซ์ต่อไปนี้<br />

ทฤษฎีบท 1.1 (สมบัติพีชคณิตของเมทริกซ์) กำหนดให้ A, B และ C เป็นเมทริกซ์ใดๆ<br />

และ a และ b เป็นสเกลาร์ใดๆ และสมมุติให้มิติของเมทริกซ์ในแต่ละการดำเนินการเป็นไปตาม<br />

บทนิยาม พีชคณิตของเมทริกซ์ต่อไปนี้สมเหตุสมผล<br />

(a) A+B = B +A (กฎการสลับที่สำหรับการบวก)<br />

(b) A+(B +C) = (A+B)+C (กฎการจัดหมู่สำหรับการบวก)<br />

(c) A(BC) = (AB)C (กฎการจัดหมู่สำหรับการคูณ)<br />

(d) A(B +C) = AB +AC (กฎการแจกแจงทางซ้าย)<br />

(e) (B +C)A = BA+CA (กฎการแจกแจงทางขวา)<br />

(f) A(B −C) = AB −AC (g) (B −C)A = BA−CA<br />

(h) a(B +C) = aB +aC (i) a(B −C) = aB −aC<br />

(j) (a+b)C = aC +bC (k) (a−b)C = aC −bC<br />

(l) (ab)C = a(bC) (m) a(BC) = (aB)C = B(aC)<br />

(n) A+0 = 0+A = A (o) A−A = 0<br />

(p) 0−A = −A (q) A0 = 0, 0A = 0<br />

(r) AI = A<br />

แบบฝึกหัด 1.1<br />

1. สมมุติให้ A,B,C,D และ E เป็นเมทริกซ์ที่มีมิติดังนี้<br />

A B C D E<br />

(4×5) (4×5) (5×2) (4×2) (5×4)<br />

จงพิจารณาว่าเมทริกซ์ใดต่อไปนี้หาได้ และมีมิติเท่าใด<br />

(a) BA (b) AC +D (c) AE +B (d) AB +B<br />

(e) E(A+B) (f) E(AC) (g) E T A (h) (A T +E)D<br />

2. ถ้า A เป็นเมทริกซ์มิติ 3×5 และ AB เป็นเมทริกซ์มิติ 3×7 แล้วมิติของเมทริกซ์ B<br />

คืออะไร


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 7<br />

3. จงหาค่า a,b,c และ d จากสมการ<br />

[ ] [ ]<br />

a−b b+c 8 1<br />

=<br />

3d+c 2a−4d 7 6<br />

4. กำหนดให้<br />

⎡ ⎤<br />

3 0 [ ] [ ]<br />

⎢ ⎥ 4 −1 1 4 2<br />

A = ⎣−1 2⎦, B = , C = ,<br />

0 2 3 1 5<br />

1 1<br />

⎡ ⎤ ⎡ ⎤<br />

1 5 2 6 1 3<br />

⎢ ⎥ ⎢ ⎥<br />

D = ⎣−1 0 1⎦, E = ⎣−1 1 2⎦<br />

3 2 4 4 1 3<br />

จงหาเมทริกซ์ต่อไปนี้ (ถ้าหาได้)<br />

(a) 2A T +C (b) D T −E T (c) (D −E) T (d) B T +5C T<br />

(e) 1 2 CT − 1 A (f) B 4 −BT (g) 2E T −3D T (h) (2E T −3D T ) T<br />

5. จงใช้เมทริกซ์ที่กำหนดให้ในข้อ 4. หาเมทริกซ์ต่อไปนี้ (ถ้าหาได้)<br />

(a) AB (b) BA (c) (3E)D (d) (AB)C<br />

(e) A(BC) (f) CC T (g) (DA) T (h) (C T B)A T<br />

(i) tr(DD T ) (j) tr(4E T −D) (k) tr(C T A T +2E T )<br />

6. จงหาเมทริกซ์ [a ij ] มิติ 6×6 ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขต่อไปนี้ และเขียนคำตอบให้อยู่ในรูป<br />

ทั่วไปมากที่สุด โดยใช้ตัวอักษรแทนจำนวนที่ไม่เท่ากับศูนย์<br />

(a) a ij = 0 ถ้า i ≠ j (b) a ij = 0 ถ้า i > j<br />

(c) a ij = 0 ถ้า i < j (d) a ij = 0 ถ้า |i−j| > 1<br />

7. จงหาเมทริกซ์ A ที่ทำให้<br />

⎡ ⎤ ⎡ ⎤<br />

x x+y<br />

⎢ ⎥ ⎢ ⎥<br />

A⎣y⎦ = ⎣x−y⎦<br />

z 0<br />

สำหรับทุกค่าของ x, y และ z<br />

8. กำหนดให้<br />

⎡ ⎤ ⎡ ⎤<br />

1 −2 0 6 0 2<br />

⎢ ⎥ ⎢ ⎥<br />

A = ⎣3 5 −1⎦, B = ⎣ 4 1 −1⎦<br />

2 3 4 −3 8 5<br />

⎡ ⎤<br />

4 −5 3<br />

⎢ ⎥<br />

C = ⎣ 5 7 −2⎦, a = 3, b = −5<br />

−3 2 −1


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 8<br />

จงแสดงว่า<br />

(a) A+(B +C) = (A+B)+C<br />

(c) (a+b)C = aC +bC<br />

(e) a(BC) = (aB)C = B(aC)<br />

(g) (B +C)A = BA+CA<br />

(i) (A T ) T = A<br />

(k) (aC) T = aC T<br />

(b) (AB)C = A(BC)<br />

(d) a(B −C) = aB −aC<br />

(f) A(B −C) = AB −AC<br />

(h) a(bC) = (ab)C<br />

(j) (A+B) T = A T +B T<br />

(l) (AB) T = B T A T<br />

9. กำหนดให้ 0 เป็นเมทริกซ์ศูนย์มิติ 2×2 จงหา<br />

(a) เมทริกซ์ A ที่ทำให้ A ≠ 0 และ AA = 0<br />

(b) เมทริกซ์ A ที่ทำให้ A ≠ 0 และ AA = A<br />

10. จงพิจารณาว่าข้อความต่อไปนี้เป็นจริงหรือไม่ ถ้าข้อความที่พิจารณาเป็นเท็จ จงยกตัวอย่าง<br />

ประกอบ<br />

(a) tr(AA T ) และ tr(A T A) หาค่าได้เสมอ<br />

(b) tr(AA T ) = tr(A T A) สำหรับทุกเมทริกซ์ A<br />

(c) ถ้าสมาชิกทุกตัวในหลักที่หนึ่งของ A มีค่าเท่ากับศูนย์ แล้วสมาชิกทุกตัวในหลักที่หนึ่ง<br />

ของผลคูณ AB ใดๆมีค่าเท่ากับศูนย์<br />

(d) ถ้าสมาชิกทุกตัวในแถวที่หนึ่งของ A มีค่าเท่ากับศูนย์ แล้วสมาชิกทุกตัวในแถวที่หนึ่ง<br />

ของผลคูณ AB ใดๆมีค่าเท่ากับศูนย์<br />

(e) ถ้า A เป็นเมทริกซ์จัตุรัสที่มีแถว 2 แถวเหมือนกัน แล้วเมทริกซ์ AA จะมีแถว 2<br />

แถวเหมือนกัน<br />

(f) ถ้า A เป็นเมทริกซ์จัตุรัส และ AA มีหลักใดหลักหนึ่งเป็นศูนย์ แล้ว A จะต้องมีหลัก<br />

ใดหลักหนึ่งเป็นศูนย์<br />

(g) ถ้า B เป็นเมทริกซ์มิติ n×n ที่สมาชิกทุกตัวเป็นจำนวนเต็มบวกคู่ และถ้า A เป็น<br />

เมทริกซ์มิติ n×n ที่สมาชิกทุกตัวเป็นจำนวนเต็มบวก แล้วสมาชิกทุกตัวของ AB และ<br />

BA เป็นจำนวนเต็มบวกคู่<br />

(h) ถ้าผลบวกของเมทริกซ์ AB +BA หาได้ แล้ว A และ B ต้องเป็นเมทริกซ์จัตุรัส<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 1.1<br />

1. (a) หาไม่ได้ (b) 4×2 (c) หาไม่ได้ (d) หาไม่ได้ (e) 5×5<br />

(f) 5×2 (g) หาไม่ได้ (h) 5×2<br />

2. 5×7 3. a = 5,b = −3,c = 4,d = 1


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 9<br />

4. (a)<br />

(e)<br />

5. (a)<br />

(e)<br />

[ ]<br />

7 2 4<br />

⎡<br />

⎢<br />

⎣<br />

3 5 7<br />

− 1 3<br />

4 2<br />

9<br />

0<br />

4<br />

3 9<br />

4 4<br />

⎤<br />

⎥<br />

⎦<br />

(b)<br />

(f)<br />

⎡ ⎤<br />

−5 0 −1<br />

⎢ ⎥<br />

⎣ 4 −1 1 ⎦<br />

−1 −1 1<br />

[ ]<br />

0 −1<br />

1 0<br />

⎡ ⎤<br />

12 −3<br />

⎢<br />

⎣−4 5<br />

4 1<br />

⎡ ⎤<br />

3 45 9<br />

⎢ ⎥<br />

⎣11 −11 17⎦ (f)<br />

7 17 13<br />

(g)<br />

⎥<br />

⎦ (b) หาไม่ได้ (c)<br />

[ ]<br />

21 17<br />

17 35<br />

(i) 61 (j) 35 (k) 28<br />

⎡<br />

⎤<br />

a 11 0 0 0 0 0<br />

0 a 22 0 0 0 0<br />

6. (a)<br />

0 0 a 33 0 0 0<br />

0 0 0 a 44 0 0<br />

⎢<br />

⎥<br />

⎣ 0 0 0 0 a 55 0 ⎦<br />

0 0 0 0 0 a 66<br />

(c)<br />

⎡<br />

⎤<br />

a 11 0 0 0 0 0<br />

a 21 a 22 0 0 0 0<br />

a 31 a 32 a 33 0 0 0<br />

a 41 a 42 a 43 a 44 0 0<br />

⎢<br />

⎥<br />

⎣a 51 a 52 a 53 a 54 a 55 0 ⎦<br />

a 61 a 62 a 63 a 64 a 65 a 66<br />

(b)<br />

(c)<br />

⎡ ⎤<br />

−5 0 −1<br />

⎢ ⎥<br />

⎣ 4 −1 1 ⎦<br />

−1 −1 1<br />

⎤<br />

⎡<br />

9 1 −1<br />

⎢ ⎥<br />

⎣−13 2 −4⎦<br />

0 1 −6<br />

(h)<br />

⎡<br />

⎢<br />

⎣<br />

(d) หาไม่ได้<br />

9 −13 0<br />

1 2 1<br />

−1 −4 −6<br />

⎤<br />

⎥<br />

⎦<br />

⎡ ⎤ ⎡ ⎤<br />

42 108 75 3 45 9<br />

⎢ ⎥ ⎢ ⎥<br />

⎣12 −3 21⎦<br />

(d) ⎣11 −11 17⎦<br />

36 78 63 7 17 13<br />

⎡ ⎤<br />

[ ] 12 6 9<br />

0 −2 11 ⎢ ⎥<br />

(g) (h) ⎣48 −20 14⎦<br />

12 1 8<br />

24 8 16<br />

(d)<br />

⎡<br />

⎤<br />

a 11 a 12 a 13 a 14 a 15 a 16<br />

0 a 22 a 23 a 24 a 25 a 26<br />

0 0 a 33 a 34 a 35 a 36<br />

0 0 0 a 44 a 45 a 46<br />

⎢<br />

⎥<br />

⎣ 0 0 0 0 a 55 a 56 ⎦<br />

0 0 0 0 0 a 66<br />

⎡<br />

⎤<br />

a 11 a 12 0 0 0 0<br />

a 21 a 22 a 23 0 0 0<br />

0 a 32 a 33 a 34 0 0<br />

0 0 a 43 a 44 a 45 0<br />

⎢<br />

⎥<br />

⎣ 0 0 0 a 54 a 55 a 56 ⎦<br />

0 0 0 0 a 65 a 66<br />

⎡ ⎤<br />

1 1 0 [ ] [ ]<br />

⎢ ⎥ 0 1 1 0<br />

7. ⎣1 −1 0⎦<br />

9. (a) (b)<br />

0 0 0 0<br />

0 0 0<br />

[ ] [ ]<br />

0 2 1 2<br />

10. (a) จริง (b) จริง (c) เท็จ ตัวอย่างเช่น A = และ B =<br />

0 4 3 4<br />

[ ]<br />

1 −1<br />

(d) จริง (e) จริง (f) เท็จ ตัวอย่างเช่น A = (g) จริง<br />

1 −1<br />

(h) จริง


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 10<br />

1.2 การดำเนินการขั้นมูลฐานและรูปแบบขั้นบันได<br />

การดำเนินการตามแถวขั้นมูลฐาน<br />

การดำเนินการตามแถวขั้นมูลฐาน (elementary row operations) ประกอบด้วยการดำเนินการ<br />

3 แบบ ดังนี้<br />

1. คูณแถวใดแถวหนึ่งด้วยค่าคงตัวที่ไม่เท่ากับศูนย์ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ αr i<br />

2. สลับที่สองแถวใดๆของเมทริกซ์ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ r i ↔ r j<br />

3. คูณแถวใดแถวหนึ่งด้วยค่าคงตัวที่ไม่เท่ากับศูนย์ แล้วนำไปบวกกับอีกแถวหนึ่ง เขียนแทน<br />

ด้วยสัญลักษณ์ r j +αr i<br />

⎡ ⎤<br />

2 −3 2 1<br />

⎢ ⎥<br />

ตัวอย่าง 1.8 กำหนดให้ A = ⎣0 8 6 −10⎦ จงหาเมทริกซ์ B ที่เกิดจากการดำเนินการ<br />

4 1 3 −2<br />

ตามแถวขั้นมูลฐานต่อไปนี้บนเมทริกซ์ A<br />

(a) r 1 ↔ r 2 (b) 1 r 2 2 (c) r 3 −2r 1<br />

วิธีทำ .........<br />

บทนิยาม 1.11 เมทริกซ์ A สมมูลตามแถว (row equivalent) กับเมทริกซ์ B ก็ต่อเมื่อ B<br />

เป็นเมทริกซ์ที่ได้จากการใช้การดำเนินการตามแถวขั้นมูลฐานบน A และจะเขียนแทนด้วย A ∼ B<br />

รูปแบบขั้นบันได<br />

บทนิยาม 1.12 เมทริกซ์ A จะเป็น เมทริกซ์ขั้นบันไดตามแถว (row-echelon matrix)<br />

ก็ต่อเมื่อ เมทริกซ์ A มีสมบัติต่อไปนี้<br />

1. ถ้าแถวใดแถวหนึ่งของ A มีสมาชิกทุกตัวเป็นศูนย์ แล้วแถวดังกล่าวจะต้องเป็นแถวที่อยู่ด้าน<br />

ล่างของเมทริกซ์<br />

2. สมาชิกตัวแรกที่ไม่เป็นศูนย์ หรือเราเรียกว่า ตัวนำ ของแต่ละแถวจะต้องอยู่ในหลักทางขวา<br />

มือของตัวนำของแถวบน<br />

ถ้าเมทริกซ์ขั้นบันไดตามแถว A มีสมบัติต่อไปนี้เพิ่มเติม แล้วเราจะเรียก A ว่า เมทริกซ์ขั้นบันได<br />

ตามแถวลดรูป (reduced row-echelon matrix)<br />

3. สมาชิกตัวแรกที่ไม่เป็นศูนย์ หรือตัวนำของแถวต้องมีค่าเท่ากับ 1<br />

4. ถ้าตัวนำ 1 ของแถวใดแถวหนึ่งอยู่ในหลักใด แล้วสมาชิกตัวอื่นของหลักนั้นต้องเท่ากับศูนย์


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 11<br />

เมทริกซ์ต่อไปนี้เป็นเมทริกซ์ขั้นบันไดตามแถว<br />

⎡ ⎤ ⎡ ⎤<br />

3 4 −3 7 1 0 0<br />

⎢ ⎥ ⎢ ⎥<br />

⎣0 2 6 2 ⎦, ⎣0 3 1⎦,<br />

0 0 1 −1 0 0 0<br />

⎡ ⎤<br />

0 −1 2 6 0<br />

⎢ ⎥<br />

⎣0 0 3 −1 0⎦<br />

0 0 0 0 1<br />

เมทริกซ์ต่อไปนี้เป็นเมทริกซ์ขั้นบันไดตามแถวลดรูป<br />

⎡ ⎤<br />

⎡ ⎤ ⎡ ⎤ 0 1 −2 0 0<br />

1 0 0 1 1 0 3 1 0<br />

[ ]<br />

⎢ ⎥ ⎢ ⎥<br />

0 0 0 1 3<br />

⎣0 1 0 −1⎦,<br />

⎣0 1 2 1 0⎦,<br />

⎢ ⎥<br />

⎣0 0 0 0 0⎦ , 0 0<br />

0 0<br />

0 0 1 2 0 0 0 0 0<br />

0 0 0 0 0<br />

ตัวอย่าง 1.9 จงหาเมทริกซ์ขั้นบันไดตามแถวของ A เมื่อ<br />

⎡ ⎤<br />

0 −3 −6 4 9<br />

−1 −2 −1 3 1<br />

A = ⎢ ⎥<br />

⎣−2 −3 0 3 −1⎦<br />

1 4 5 −9 −7<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 1.10 จงหาเมทริกซ์ขั้นบันไดตามแถวลดรูปของ B เมื่อ<br />

⎡<br />

⎤<br />

0 3 −6 6 4 −5<br />

⎢<br />

⎥<br />

B = ⎣3 −7 8 −5 8 9 ⎦<br />

3 −9 12 −9 6 15<br />

วิธีทำ .........<br />

บทนิยาม 1.13 ค่าลำดับชั้น (rank) ของเมทริกซ์ A ใดๆ ซึ่งเขียนแทนด้วย rank(A) คือ<br />

จำนวนแถวที่มีสมาชิกไม่เป็นศูนย์ของเมทริกซ์ขั้นบันไดตามแถวที่สมมูลกับเมทริกซ์ A<br />

ตัวอย่างเช่น เมทริกซ์ในตัวอย่าง 1.9 มีค่าลำดับชั้นเท่ากับ 3<br />

แบบฝึกหัด 1.2<br />

1. จงพิจารณาว่าเมทริกซ์ใดต่อไปนี้ เป็นเมทริกซ์ขั้นบันไดตามแถว<br />

⎡ ⎤ ⎡ ⎤ ⎡ ⎤<br />

1 0 0 2 3 0 4 1 1<br />

⎢ ⎥ ⎢ ⎥ ⎢ ⎥<br />

(a) ⎣0 2 0⎦<br />

(b) ⎣0 0 −1⎦<br />

(c) ⎣0 −2 2⎦<br />

0 0 3 0 0 0 0 0 3<br />

(e)<br />

⎡ ⎤<br />

1 4 6<br />

⎢ ⎥<br />

⎣0 0 1⎦ (f)<br />

0 −2 3<br />

⎡ ⎤<br />

−1 1 0<br />

⎢ ⎥<br />

⎣ 0 2 0⎦<br />

0 0 0<br />

(g)<br />

⎡ ⎤<br />

1 3 4<br />

⎢ ⎥<br />

⎣0 0 1⎦<br />

0 0 0<br />

(d)<br />

(h)<br />

⎡ ⎤<br />

1 0 0<br />

⎢ ⎥<br />

⎣0 2 0⎦<br />

0 3 0<br />

⎡ ⎤<br />

1 2 3<br />

⎢ ⎥<br />

⎣0 0 0⎦<br />

0 0 4


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 12<br />

2. จงพิจารณาว่าเมทริกซ์ใดต่อไปนี้ เป็นเมทริกซ์ขั้นบันไดตามแถวลดรูป<br />

⎡ ⎤ ⎡ ⎤ ⎡ ⎤<br />

1 0 0 0 1 0 0 1 0<br />

⎢ ⎥ ⎢ ⎥ ⎢ ⎥<br />

(a) ⎣0 1 0⎦<br />

(b) ⎣1 0 0⎦<br />

(c) ⎣0 0 1⎦<br />

0 0 1 0 0 0 0 0 0<br />

⎡ ⎤ ⎡ ⎤ ⎡ ⎤<br />

1 0 0 1 1 0 1 0 2<br />

⎢ ⎥ ⎢ ⎥ ⎢ ⎥<br />

(e) ⎣0 0 0⎦<br />

(f) ⎣0 1 0⎦<br />

(g) ⎣0 1 3⎦<br />

0 0 1 0 0 0 0 0 0<br />

(d)<br />

(h)<br />

⎡ ⎤<br />

1 0 0<br />

⎢ ⎥<br />

⎣0 0 1⎦<br />

0 0 0<br />

⎡ ⎤<br />

0 0 0<br />

⎢ ⎥<br />

⎣0 0 0⎦<br />

0 0 0<br />

3. จงพิจารณาว่าเมทริกซ์ต่อไปนี้ เป็นเมทริกซ์ขั้นบันไดตามแถว หรือเมทริกซ์ขั้นบันไดตามแถว<br />

ลดรูป หรือทั้งสองอย่าง หรือไม่ใช่ทั้งสองอย่าง<br />

⎡ ⎤ ⎡ ⎤<br />

0 1 3 5 7 1 0 0 5<br />

⎢ ⎥ ⎢ ⎥<br />

(a) ⎣0 0 1 2 3⎦<br />

(b) ⎣0 0 1 3⎦<br />

(c)<br />

0 0 0 0 0 0 1 0 4<br />

⎡ ⎤<br />

[ ] 1 0 0 1 2<br />

1 −7 5 5 ⎢ ⎥<br />

(d) (e) ⎣0 1 0 2 4⎦<br />

(f)<br />

0 1 3 2<br />

0 0 1 3 6<br />

4. จงหาเมทริกซ์ขั้นบันไดตามแถวลดรูปที่สมมูลตามแถวกับเมทริกซ์ A เมื่อ<br />

⎡<br />

⎤<br />

2 2 −1 0 1 0<br />

−1 −1 2 −3 1 0<br />

A = ⎢<br />

⎥<br />

⎣ 1 1 −2 0 −1 0⎦<br />

0 0 1 1 1 0<br />

[ ]<br />

1 0 3 1<br />

0 1 2 4<br />

⎡ ⎤<br />

0 1<br />

⎢ ⎥<br />

⎣0 0⎦<br />

0 0<br />

5. จงหาเมทริกซ์ขั้นบันไดตามแถวลดรูปที่สมมูลตามแถวกับเมทริกซ์ B เมื่อ<br />

⎡ ⎤<br />

0 0 −2 0 7 12<br />

⎢ ⎥<br />

B = ⎣2 4 −10 6 12 28⎦<br />

2 4 −5 6 −5 −1<br />

6. จงแสดงว่า rank(A) = rank(A T ) เมื่อ<br />

⎡ ⎤<br />

1 −1 2 1<br />

⎢ ⎥<br />

A = ⎣0 1 1 −2⎦<br />

1 −3 0 5<br />

7. จงหาค่าลำดับชั้นของเมทริกซ์ต่อไปนี้


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 13<br />

⎡ ⎤<br />

[ ]<br />

1 0 1<br />

2 0 −3 1<br />

⎢ ⎥<br />

(a) A =<br />

(b) A = ⎣−2 1 1⎦<br />

3 4 2 2<br />

1 1 2<br />

⎡ ⎤<br />

⎡ ⎤<br />

0 6 6 3<br />

1 4 5 2<br />

⎢ ⎥<br />

1 2 1 1<br />

(c) A = ⎣ 2 1 3 0⎦ (d) A = ⎢ ⎥<br />

⎣4 1 −3 4⎦<br />

−1 3 2 2<br />

1 3 2 0<br />

⎡ ⎤<br />

1 2 1 4 2 5<br />

2 4 3 1 6 1<br />

(e) A = ⎢ ⎥<br />

⎣1 2 3 10 6 3 ⎦<br />

2 4 4 −6 8 −8<br />

8. ค่าของ r และ s ที่ทำให้<br />

⎡ ⎤<br />

1 0 0<br />

0 r −2 2<br />

⎢ ⎥<br />

⎣0 s−1 r +2⎦<br />

0 0 3<br />

มีค่าลำดับชั้น 1 หรือ 2 มีหรือไม่ ถ้ามี จงหาค่าเหล่านั้น<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 1.2<br />

1. (a), (b), (c), (f), (g) 2. (a), (c), (d), (g), (h)<br />

3. (a) เมทริกซ์ขั้นบันไดแบบแถว (b) ไม่ใช่ทั้งสองอย่าง (c) ทั้งสองอย่าง<br />

4.<br />

(d) เมทริกซ์ขั้นบันไดแบบแถว (e) ทั้งสองอย่าง (f) ทั้งสองอย่าง<br />

⎡ ⎤<br />

1 1 0 0 1 0 ⎡ ⎤<br />

0 0 1 0 1 0<br />

1 2 0 3 0 7<br />

⎢ ⎥<br />

⎢ ⎥ 5. ⎣0 0 1 0 0 1⎦<br />

⎣0 0 0 1 0 0⎦<br />

0 0 0 0 1 2<br />

0 0 0 0 0 0<br />

6. rank(A) = rank(A T ) = 2<br />

7. (a) rank(A) = 2 (b) rank(A) = 3 (c) rank(A) = 2 (d) rank(A) = 3<br />

(e) rank(A) = 3<br />

8. ค่าลำดับชั้นเท่ากับ 2 ถ้า r = 2 และ s = 1; ค่าลำดับชั้นไม่เท่ากับ 1


บทที่ 2<br />

ดีเทอร์มิแนนต์<br />

ในบทนี้เราจะศึกษาสมบัติที่สำคัญของเมทริกซ์จัตุรัส นั่นคือเมทริกซ์จัตุรัสทุกเมทริกซ์จะสอดคล้อง<br />

กับจำนวนจริงที่เรียกว่า ดีเทอร์มิแนนต์ (determinant) หรือ ตัวกำหนด ของเมทริกซ์ ถ้า<br />

A เป็นเมทริกซ์จัตุรัส แล้วดีเทอร์มิแนนต์ของ A จะเขียนแทนด้วย det(A) หรือ |A|<br />

บทนิยาม 2.1 ดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกซ์มิติ 1×1 และ 2×2<br />

[ ]<br />

∣<br />

(a) ดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกซ์ A = a มิติ 1×1 คือ det(A) = ∣a∣ = a<br />

[ ]<br />

a b<br />

(b) ดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกซ์ A =<br />

c d<br />

มิติ 2×2 คือ det(A) =<br />

a b<br />

∣c d∣ = ad−bc<br />

สำหรับหัวข้อย่อยต่อไปนี้ เราจะเรียนรู้การหาดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกซ์จัตุรัสที่มีอันดับต่างๆ<br />

2.1 ดีเทอร์มิแนนต์โดยการกระจายตัวประกอบร่วมเกี่ยว<br />

ไมเนอร์และตัวประกอบร่วมเกี่ยว<br />

วิธีการหาดีเทอร์มิแนนต์ในหัวข้อนี้ เป็นการให้บทนิยามดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกซ์มิติ n×n ใน<br />

รูปของดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกซ์มิติ (n−1)×(n−1) โดยที่เมทริกซ์มิติ (n−1)×(n−1) ที่ป<br />

รากฎในบทนิยามนั้น เป็นเมทริกซ์ย่อยของเมทริกซ์ที่กำหนดให้ และเมทริกซ์ย่อยเหล่านี้มีชื่อเรียก<br />

เฉพาะ<br />

บทนิยาม 2.2 ถ้า A เป็นเมทริกซ์จัตุรัส แล้ว ไมเนอร์ (minors) ของ a ij ซึ่งเขียนแทน<br />

ด้วย M ij คือ ดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกซ์ย่อยที่ได้จากการตัดแถวที่ i และหลักที่ j ออกจาก<br />

เมทริกซ์ A และจำนวน (−1) i+j M ij ซึ่งเขียนแทนด้วย C ij เรียกว่า ตัวประกอบร่วมเกี่ยว<br />

(cofactor) ของ a ij<br />

ตัวอย่าง 2.1 กำหนดให้ A =<br />

⎡ ⎤<br />

2 1 3<br />

⎢ ⎥<br />

⎣4 1 2 ⎦ จงหาไมเนอร์และตัวประกอบร่วมเกี่ยวของ a 11<br />

1 2 −3<br />

และ a 32<br />

14


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 15<br />

วิธีทำ .........<br />

สังเกตได้ว่าตัวประกอบร่วมเกี่ยว และไมเนอร์ของ a ij จะแตกต่างกันเฉพาะเครื่องหมาย นั่น<br />

คือ C ij = ±M ij วิธีการที่ง่ายและรวดเร็วในการพิจารณาว่าจะใช้เครื่องหมาย + หรือ − อาศัย<br />

ข้อเท็จจริงที่ว่า เครื่องหมายที่สัมพันธ์กับ C ij และ M ij คือ เครื่องหมายในแถวที่ i และหลักที่<br />

j ของการจัดเรียงต่อไปนี้<br />

⎡ ⎤<br />

+ − + − + ···<br />

− + − + − ···<br />

+ − + − + ···<br />

⎢<br />

⎣− + − + − ··· ⎥<br />

⎦<br />

. . . . .<br />

ตัวอย่างเช่น C 11 = M 11 , C 21 = −M 21 , C 13 = M 13 และ C 32 = −M 32<br />

การกระจายตัวประกอบร่วมเกี่ยว<br />

สำหรับบทนิยามของดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกซ์มิติ 3 × 3 ในรูปของไมเนอร์และตัวประกอบร่วม<br />

เกี่ยวคือ<br />

det(A) = a 11 M 11 +a 12 (−M 12 )+a 13 M 13<br />

= a 11 C 11 +a 12 C 12 +a 13 C 13 (2.1)<br />

จากสมการ (2.1) ดีเทอร์มิแนนต์ของ A สามารถหาได้จากการคูณสมาชิกในแถวที่ 1 ของ A<br />

ด้วยตัวประกอบร่วมเกี่ยวของสมาชิกนั้น แล้วนำมาบวกกันสำหรับกรณีทั่วไป ดีเทอร์มิแนนต์ของ<br />

เมทริกซ์มิติ n×n คือ<br />

det(A) = a 11 C 11 +a 12 C 12 +···+a 1n C 1n<br />

วิธีการคำนวณ det(A) นี้เรียกว่า การกระจายตัวประกอบร่วมเกี่ยว ตามแถวที่ 1 ของ A<br />

⎡ ⎤<br />

1 5 0<br />

⎢ ⎥<br />

ตัวอย่าง 2.2 กำหนดให้ A = ⎣2 4 −1⎦ จงหา det(A) โดยใช้การกระจายตัวประกอบ<br />

0 −2 0<br />

ร่วมเกี่ยวตามแถวที่ 1 ของ A<br />

วิธีทำ .........


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 16<br />

ถ้า A เป็นเมทริกซ์มิติ 3×3 ใดๆ แล้วดีเทอร์มิแนนต์ของ A คือ<br />

∣ a 11 a 12 a 13 ∣∣∣∣∣∣<br />

det(A) =<br />

a 21 a 22 a 23<br />

∣a 31 a 32 a 33<br />

∣ ∣ ∣ ∣ ∣ ∣ ∣∣∣∣<br />

a 22 a ∣∣∣∣ ∣∣∣∣<br />

23 a 21 a ∣∣∣∣ ∣∣∣∣<br />

23 a 21 a ∣∣∣∣<br />

22<br />

= a 11 −a 12 +a 13<br />

a 32 a 33 a 31 a 33 a 31 a 32<br />

= a 11 (a 22 a 33 −a 23 a 32 )−a 12 (a 21 a 33 −a 23 a 31 )<br />

+ a 13 (a 21 a 32 −a 22 a 31 ) (2.2)<br />

= a 11 a 22 a 33 +a 12 a 23 a 31 +a 13 a 21 a 32 −a 13 a 22 a 31<br />

− a 12 a 21 a 33 −a 11 a 23 a 32 (2.3)<br />

การจัดเรียงพจน์ใน (2.3) ใหม่ให้มีรูปแบบดังเช่น (2.2) มีหลายวิธีด้วยกัน และเราสามารถ<br />

แสดงได้ว่า<br />

det(A) = a 11 C 11 +a 12 C 12 +a 13 C 13<br />

= a 11 C 11 +a 21 C 21 +a 31 C 31<br />

= a 21 C 21 +a 22 C 22 +a 23 C 23<br />

= a 12 C 12 +a 22 C 22 +a 32 C 32<br />

= a 31 C 31 +a 32 C 32 +a 33 C 33<br />

= a 13 C 13 +a 23 C 23 +a 33 C 33 (2.4)<br />

สังเกตได้ว่าในแต่ละสมการ สมาชิกและตัวประกอบร่วมเกี่ยวมาจากแถว หรือหลักเดียวกัน สมการ<br />

เหล่านี้เรียกว่า การกระจายตัวประกอบร่วมเกี่ยว ของ det(A)<br />

ทฤษฎีบท 2.1 (การกระจายโดยตัวประกอบร่วมเกี่ยว) ดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกซ์ A ที่มี<br />

มิติ n×n ใดๆ สามารถหาได้โดยการคูณสมาชิกในแถวใดแถวหนึ่ง(หรือหลักใดหลักหนึ่ง) ด้วย<br />

ตัวประกอบร่วมเกี่ยวของสมาชิกตัวนั้นแล้วนำมาบวกกัน นั่นคือสำหรับแต่ละ 1 ≤ i ≤ n และ<br />

1 ≤ j ≤ n<br />

det(A) = a 1j C 1j +a 2j C 2j +···+a nj C nj<br />

(การกระจายตัวประกอบร่วมเกี่ยวตามหลักที่ j)<br />

และ<br />

det(A) = a i1 C i1 +a i2 C i2 +···+a in C in<br />

(การกระจายตัวประกอบร่วมเกี่ยวตามแถวที่ i)<br />

ตัวอย่าง 2.3 กำหนดให้ A เป็นเมทริกซ์ในตัวอย่าง 2.2 จงหา det(A) โดยใช้การกระจาย<br />

ตัวประกอบร่วมเกี่ยวตามสดมภ์ที่ 1 ของ A<br />

วิธีทำ .........


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 17<br />

หมายเหตุ โดยทั่วไปการหาดีเทอร์มิแนนต์ โดยใช้การกระจายตัวประกอบร่วมเกี่ยวนั้นเรามักเลือก<br />

กระจายตัวประกอบร่วมเกี่ยวตามแถว หรือหลักที่มีสมาชิกเป็นศูนย์จำนวนมากๆ เพื่อความสะดวกและ<br />

รวดเร็วในการคำนวณ<br />

ตัวอย่าง 2.4 กำหนดให้<br />

⎡ ⎤<br />

0 2 3 0<br />

0 4 5 0<br />

A = ⎢ ⎥<br />

⎣0 1 0 3⎦<br />

2 0 1 3<br />

จงหา det(A) โดยใช้การกระจายตัวประกอบร่วมเกี่ยว<br />

วิธีทำ .........<br />

ทฤษฎีบท 2.2 ถ้า A เป็นเมทริกซ์แบบสามเหลี่ยมมิติ n × n (เมทริกซ์แบบสามเหลี่ยมบน<br />

เมทริกซ์แบบสามเหลี่ยมล่างหรือเมทริกซ์ทแยงมุม) แล้ว det(A) คือ ผลคูณของสมาชิกในเส้น<br />

ทแยงมุมหลักของ A นั่นคือ det(A) = a 11 a 22···a nn<br />

ตัวอย่าง 2.5 จงหา det(A) เมื่อ<br />

⎡ ⎤<br />

2 4 −3 5 3<br />

0 −1 6 7 −2<br />

A =<br />

0 0 3 8 5<br />

⎢ ⎥<br />

⎣0 0 0 9 3 ⎦<br />

0 0 0 0 −4<br />

วิธีทำ .........<br />

แบบฝึกหัด 2.1<br />

1. กำหนดให้<br />

⎡ ⎤<br />

3 2 4<br />

⎢ ⎥<br />

A = ⎣1 −2 3⎦<br />

2 3 2<br />

(a) จงหาไมเนอร์ทั้งหมดของ A (b) จงหาตัวประกอบร่วมเกี่ยวทั้งหมดของ A<br />

2. จงหาดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกซ์ในข้อ8. โดยใช้การกระจายตัวประกอบร่วมเกี่ยวตาม<br />

(a) แถวที่ 1 (b) หลักที่ 1 (c) แถวที่ 2<br />

(d) หลักที่ 2 (e) แถวที่ 3 (f) หลักที่ 3<br />

3. จงหาค่าของ λ ทั้งหมดที่ทำให้ดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกซ์ต่อไปนี้เท่ากับ 0<br />

2−λ 4<br />

∣ 3 3−λ∣


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 18<br />

4. จงหาดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกซ์ต่อไปนี้ โดยใช้การกระจายตัวประกอบร่วมเกี่ยว<br />

⎡ ⎤<br />

⎡ ⎤<br />

5 2 1<br />

3 3 1<br />

⎢ ⎥<br />

⎢ ⎥<br />

(a) ⎣1 −1 4⎦<br />

(b) ⎣1 0 −4⎦<br />

3 0 2<br />

1 −3 5<br />

⎡ ⎤<br />

⎡ ⎤<br />

4 3 0<br />

k +1 k −1 7<br />

⎢ ⎥<br />

⎢ ⎥<br />

(c) ⎣3 1 2 ⎦ (d) ⎣ 2 k −3 4⎦<br />

5 −1 −4<br />

5 k +1 k<br />

⎡ ⎤<br />

⎡ ⎤<br />

2 3 4 6<br />

2 0 0 1<br />

2 0 −9 6<br />

0 1 0 0<br />

(e) ⎢ ⎥ (f) ⎢ ⎥<br />

⎣4 1 0 2⎦<br />

⎣1 6 2 0⎦<br />

(h)<br />

0 1 −1 0<br />

⎡ ⎤<br />

2 1 2 1<br />

3 0 1 1<br />

⎢ ⎥<br />

⎣−1 2 −2 1⎦<br />

−3 2 3 1<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 2.1<br />

1 1 −2 3<br />

1. (a) M 11 = −13, M 12 = −4, M 13 = 7, M 21 = −8, M 22 = −2,<br />

M 23 = 5, M 31 = 14, M 32 = 5, M 33 = −8<br />

(b) C 11 = −13, C 12 = 4, C 13 = 7, C 21 = 8, C 22 = −2, C 23 = −5,<br />

C 31 = 14, C 32 = −5, C 33 = −8<br />

2. −3 3. λ = 6 หรือ −1<br />

4. (a) 13 (b) −66 (c) 58 (d) k 3 −8k 2 −10k +95 (e) 320<br />

(f) 8 (h) 20<br />

2.2 การหาดีเทอร์มิแนนต์โดยใช้การดำเนินการตามแถวขั้นมูลฐาน<br />

ในหัวข้อนี้ เราจะเห็นได้ว่าดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกซ์จัตุรัสสามารถหาได้โดยการลดรูปเมทริกซ์ให้<br />

อยู่ในรูปขั้นบันไดตามแถว วิธีการนี้มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ใน<br />

การหาค่าดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกซ์ทั่วไป<br />

ทฤษฎีบทพื้นฐาน<br />

เริ่มด้วยทฤษฎีบทพื้นฐาน ที่จะนำเราไปสู่ขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพสำหรับการคำนวณดีเทอร์มิแนนต์<br />

ของเมทริกซ์อันดับ n ใดๆ


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 19<br />

ทฤษฎีบท 2.3 กำหนดให้ A เป็นเมทริกซ์จัตุรัส ถ้า A มีแถวใดแถวหนึ่ง หรือหลักใดหลักหนึ่ง<br />

ที่สมาชิกทุกตัวเป็นศูนย์ แล้ว det(A) = 0<br />

ทฤษฎีบท 2.4 ถ้า A เป็นเมทริกซ์จัตุรัส แล้ว det(A) = det(A T )<br />

การดำเนินการตามแถวขั้นมูลฐาน<br />

ทฤษฎีบทต่อไปจะแสดงให้เห็นว่าการดำเนินการตามแถวขั้นมูลฐานบนเมทริกซ์ใดๆ มีผลกระทบ<br />

กับดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกซ์นั้นอย่างไร<br />

ทฤษฎีบท 2.5 กำหนดให้ A เป็นเมทริกซ์มิติ n×n<br />

1. ถ้า B เป็นเมทริกซ์ที่ได้จากการคูณแถวใดแถวหนึ่งหรือหลักใดหลักหนึ่งของ A ด้วยสเกลาร์<br />

k แล้ว det(B) = kdet(A)<br />

2. ถ้า B เป็นเมทริกซ์ที่ได้จากการสลับที่แถวสองแถวหรือหลักสองหลักใดๆของ A แล้ว det(B) =<br />

−det(A)<br />

3. ถ้า B เป็นเมทริกซ์ที่ได้จากการคูณแถวใดแถวหนึ่งของ A ด้วยสเกลาร์แล้วนำไปบวกกับ<br />

อีกแถวหนึ่ง หรือคูณหลักใดหลักหนึ่งของ A ด้วยสเกลาร์แล้วนำไปบวกกับอีกหลักหนึ่ง แล้ว<br />

det(B) = det(A)<br />

เราสามารถแสดงทฤษฎีบทนี้ โดยใช้เมทริกซ์มิติ 3×3 ดังนี้<br />

ความสัมพันธ์<br />

การดำเนินการ<br />

∣ ∣ ka 11 ka 12 ka 13 ∣∣∣∣∣∣ a 11 a 12 a 13 ∣∣∣∣∣∣ คูณแถวที่ 1 ของ A<br />

a 21 a 22 a 23 = k<br />

a 21 a 22 a 23<br />

∣ a 31 a 32 a 33<br />

∣<br />

ด้วย k<br />

a 31 a 32 a 33<br />

det(B) = kdet(A)<br />

∣ ∣ a 21 a 22 a 23 ∣∣∣∣∣∣ a 11 a 12 a 13 ∣∣∣∣∣∣ สลับที่แถวที่ 1 กับ<br />

a 11 a 12 a 13 = −<br />

a 21 a 22 a 23<br />

∣a 31 a 32 a 33<br />

∣<br />

แถวที่ 2 ของ A<br />

a 31 a 32 a 33<br />

det(B) = −det(A)<br />

∣ ∣ a 11 +ka 12 a 12 +ka 22 a 13 +ka 23 ∣∣∣∣∣∣ a 11 a 12 a 13 ∣∣∣∣∣∣ คูณแถวที่ 2 ของ A<br />

a 21 a 22 a 23 =<br />

a 21 a 22 a 23 ด้วย k แล้วนำไป<br />

∣ a 31 a 32 a 33<br />

∣a 31 a 32 a 33 บวกกับแถวที่ 1<br />

det(B) = det(A)<br />

หมายเหตุ จากทฤษฎีบท 2.5(a) ซึ่งแสดงโดยสมการแรกในตารางข้างต้น กล่าวได้ว่าเราสามารถ<br />

ดึงตัวประกอบร่วมออกจากแถวใดแถวหนึ่งหรือหลักใดหลักหนึ่ง โดยผ่านเครื่องหมายดีเทอร์มิแนนต์


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 20<br />

ทฤษฎีบท 2.6 ถ้า A เป็นเมทริกซ์จัตุรัสที่มีแถวสองแถวเป็นสัดส่วนกัน หรือมีหลักสองหลักเป็น<br />

สัดส่วนกัน แล้ว det(A) = 0<br />

ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นเมทริกซ์ที่มีแถวสองแถวเป็นสัดส่วนกัน หรือหลักสองหลักเป็นสัดส่วนกัน ดังนั้น<br />

ดีเทอร์มิแนนต์ของแต่ละเมทริกซ์มีค่าเท่ากับศูนย์<br />

⎡ ⎤<br />

⎡ ⎤<br />

[ ]<br />

1 −2 5 2<br />

1 −2 7<br />

1 −3<br />

⎢ ⎥<br />

3 1 −4 −2<br />

, ⎣−4 8 8⎦,<br />

⎢ ⎥<br />

−2 6<br />

⎣ 4 7 8 1 ⎦<br />

3 −6 5<br />

−9 −3 12 6<br />

การหาดีเทอร์มิแนนต์โดยใช้การลดรูปตามแถว<br />

ลำดับต่อไปเราจะแนะนำวิธีการหาดีเทอร์มิแนนต์ ซึ่งใช้การคำนวณน้อยกว่าการหาดีเทอร์มิแนนต์<br />

โดยการกระจายตัวประกอบร่วมเกี่ยว แนวคิดของวิธีดังกล่าวคือ การลดรูปเมทริกซ์ที่กำหนดให้ ไป<br />

อยู่ในรูปเมทริกซ์แบบสามเหลี่ยมบนโดยใช้การดำเนินการตามแถว แล้วจึงคำนวณค่าดีเทอร์มิแนนต์<br />

ของเมทริกซ์แบบสามเหลี่ยมบน และหาความสัมพันธ์ของดีเทอร์มิแนนต์ที่ได้กับดีเทอร์มิแนนต์ของ<br />

เมทริกซ์ที่กำหนดให้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้<br />

⎡ ⎤<br />

3 −6 9<br />

⎢ ⎥<br />

ตัวอย่าง 2.6 จงหาค่าของ det(A) เมื่อ A = ⎣−2 4 −7⎦<br />

0 5 2<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 2.7 จงหาค่าของ det(A) เมื่อ<br />

⎡ ⎤<br />

1 2 0 −2<br />

0 0 2 −1<br />

A = ⎢ ⎥<br />

⎣0 −1 1 0 ⎦<br />

1 3 4 1<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่างต่อไปเป็นการหาดีเทอร์มิแนนต์โดยใช้การกระจายตัวประกอบร่วมเกี่ยวร่วมกับการดำเนินการ<br />

ตามแถว ซึ่งจัดว่าเป็นวิธีการหาดีเทอร์มิแนนต์ที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง<br />

ตัวอย่าง 2.8 จงหาค่าของ det(A) เมื่อ<br />

⎡ ⎤<br />

3 5 −2 6<br />

1 2 −1 1<br />

A = ⎢ ⎥<br />

⎣2 4 1 5⎦<br />

3 7 5 3<br />

วิธีทำ .........


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 21<br />

ตัวอย่าง 2.9 จงหาค่าของ det(A) เมื่อ<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 2.10 จงหาค่าของ det(A) เมื่อ<br />

วิธีทำ .........<br />

⎡ ⎤<br />

2 1 −3 1<br />

−3 −2 0 2<br />

A = ⎢ ⎥<br />

⎣ 2 1 0 −1⎦<br />

⎢<br />

A = ⎣<br />

1 0 1 2<br />

⎡<br />

1 3<br />

0<br />

3 4<br />

2<br />

−1 3 5 2<br />

1<br />

− 3 5<br />

8 4 4<br />

⎤<br />

⎥<br />

⎦<br />

แบบฝึกหัด 2.2<br />

1. จงแสดงว่า det(A) = det(A T ) เมื่อ<br />

(a) A =<br />

[<br />

1 2<br />

6 −3<br />

]<br />

⎡ ⎤<br />

1 3 2<br />

⎢ ⎥<br />

(b) A = ⎣−1 4 1⎦<br />

5 3 8<br />

2. จงหาค่าของดีเทอร์มิแนนต์ต่อไปนี้<br />

3 −17 4<br />

(a)<br />

0 5 1<br />

∣0 0 −2∣<br />

−2 1 3<br />

(c)<br />

1 −7 4<br />

∣−2 1 3∣<br />

√ 2 0 0 0<br />

−8 2 0 0<br />

(e)<br />

7 0 −1 0<br />

∣ 9 5 6 1∣<br />

(b)<br />

(d)<br />

(f)<br />

0 0 3<br />

0 4 1<br />

∣2 3 1∣<br />

1 −2 3<br />

2 −4 6<br />

∣5 −8 1∣<br />

1 1 1 3<br />

0 3 1 1<br />

0 0 2 2<br />

∣−1 −1 −1 2∣<br />

3. จงหาค่าของดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกซ์ที่กำหนดให้ต่อไปนี้ โดยการลดรูปเมทริกซ์ให้อยู่ใน<br />

รูปเมทริกซ์แบบสามเหลี่ยมบน


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 22<br />

⎡ ⎤<br />

3 0 2<br />

⎢ ⎥<br />

(a) ⎣−1 5 0⎦<br />

1 9 6<br />

⎡ ⎤<br />

1 −2 3 1<br />

5 −9 6 3<br />

(c) ⎢ ⎥<br />

⎣−1 2 −6 −2⎦<br />

2 8 6 1<br />

⎡ ⎤<br />

4 5 0 1 0<br />

0 0 0 0 1<br />

(e)<br />

4 1 8 2 0<br />

⎢ ⎥<br />

⎣1 0 0 1 0⎦<br />

4 8 0 1 0<br />

a b c<br />

4. กำหนดให้<br />

d e f<br />

= 7 จงหา<br />

∣g h i∣<br />

a b c<br />

(a)<br />

d e f<br />

∣5g 5h 5i∣<br />

a b c<br />

(c)<br />

2d+a 2e+b 2f +c<br />

∣ g h i ∣<br />

(b)<br />

(d)<br />

(f)<br />

(b)<br />

(d)<br />

⎡ ⎤<br />

1 −3 0<br />

⎢ ⎥<br />

⎣−2 4 1⎦<br />

5 −2 2<br />

⎡ ⎤<br />

2 0 −1 3<br />

4 0 1 −1<br />

⎢ ⎥<br />

⎣−3 1 0 1 ⎦<br />

1 4 1 1<br />

⎡ ⎤<br />

0 0 0 3 −4<br />

0 0 0 2 1<br />

−1 2 4 0 0<br />

⎢ ⎥<br />

⎣ 3 1 −2 0 0 ⎦<br />

5 1 5 0 0<br />

a b c<br />

g h i<br />

∣d e f∣<br />

−2a −2b −2c<br />

d e f<br />

∣ 3g 3h 3i ∣<br />

5. กำหนดให้<br />

⎡ ⎤<br />

0 1 2 3<br />

1 1 1 1<br />

A = ⎢ ⎥<br />

⎣−2 −2 3 3 ⎦<br />

1 2 −2 −3<br />

(a) จงหา det(A) โดยการลดรูปเมทริกซ์ A ให้อยู่ในรูปเมทริกซ์แบบสามเหลี่ยมบน<br />

(b) จงใช้ค่าของ det(A) ที่คำนวณได้จากข้อ(a) หาค่าของ<br />

0 1 2 3<br />

0 1 2 3<br />

−2 −2 3 3<br />

1 1 1 1<br />

+<br />

1 2 −2 −3<br />

−1 −1 4 4<br />

∣ 1 1 1 1 ∣ ∣ 2 3 −1 −2∣<br />

6. จงแสดงว่า ∣ ∣∣∣∣∣∣ 1 x 1 x 2 1<br />

1 x 2 x 2 2<br />

= (x 2 −x 1 )(x 3 −x 1 )(x 3 −x 2 )<br />

1 x 3 x 2 ∣<br />

3


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 23<br />

7. จงหาค่าของดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกซ์ที่กำหนดให้ข้อ3. โดยการใช้การกระจายตัว ประกอบ<br />

ร่วมเกี่ยวร่วมกับการดำเนินการตามแถวดังเช่นตัวอย่าง 2.8<br />

8. จงหาค่าของ x จากสมการ ∣ ∣∣∣∣∣∣ x 5 7<br />

0 x+1 6<br />

= 0<br />

0 0 2x−1∣<br />

9. จงหาค่าของ x ทั้งหมดที่ทำให้ det(A−xI) = 0 เมื่อ<br />

⎡ ⎤<br />

0 −3 4<br />

⎢ ⎥<br />

A = ⎣0 5 0⎦<br />

1 −2 0<br />

และ I เป็นเมทริกซ์เอกลักษณ์มิติ 3×3<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 2.2<br />

2. (a) −30 (b) 2 (c) 0 (d) 0 (e) −2 (f) 30<br />

3. (a) 62 (b) −17 (c) 39 (d) 30 (e) −72 (f) −715<br />

4. (a) 35 (b) −7 (c) 14 (d) −42 5. (a) 10 (b) 20<br />

8. x = 0,−1, 1 2<br />

9. x = 5,2,−2<br />

2.3 เมทริกซ์ผกผัน<br />

บทนิยาม 2.3 กำหนดให้ A เป็นเมทริกซ์จัตุรัส ถ้ามีเมทริกซ์ B ที่ทำให้ AB = BA =<br />

I แล้วจะกล่าวว่า A เป็น เมทริกซ์ที่หาตัวผกผันได้ (invertible matrix) หรือ A เป็น<br />

เมทริกซ์ไม่เอกฐาน (nonsingular matrix) และเรียก B ว่า เมทริกซ์ผกผัน (inverse<br />

matrix) ของ A แต่ถ้า A ไม่มีเมทริกซ์ผกผัน หรือไม่สามารถหาเมทริกซ์ B ได้ แล้วจะ<br />

กล่าวว่า A เป็น เมทริกซ์เอกฐาน (singular matrix)<br />

[ ]<br />

[ ]<br />

2 −5<br />

3 5<br />

ตัวอย่าง 2.11 จงแสดงว่า B = เป็นเมทริกซ์ผกผันของ A =<br />

−1 3<br />

1 2<br />

วิธีทำ .........<br />

สมบัติของเมทริกซ์ผกผัน<br />

ทฤษฎีบท 2.7 ถ้า B และ C เป็นเมทริกซ์ผกผันของเมทริกซ์ A แล้ว B = C


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 24<br />

จากทฤษฎีบท 2.7 เราสามารถกล่าวได้ว่า ถ้า A เป็นเมทริกซ์ไม่เอกฐาน แล้วเมทริกซ์ผกผัน<br />

ของ A มีเพียงเมทริกซ์เดียว ซึ่งจะเขียนแทนด้วย A −1 ดังนั้น<br />

AA −1 = I และ A −1 A = I<br />

ทฤษฎีบท 2.8 ให้ A เป็นเมทริกซ์มิติ n×n ใดๆ A จะมีเมทริกซ์ผกผัน ก็ต่อเมื่อ rank(A) =<br />

n นั่นคือก็ต่อเมื่อ det(A) ≠ 0 ดังนั้น A เป็นเมทริกซ์ไม่เอกฐาน ถ้า rank(A) = n และเป็น<br />

เมทริกซ์เอกฐานถ้า rank(A) < n<br />

ทฤษฎีบท 2.9 ถ้า A และ B เป็นเมทริกซ์ไม่เอกฐานและมีขนาดเท่ากัน แล้ว AB เป็น<br />

เมทริกซ์ไม่เอกฐาน และ<br />

(AB) −1 = B −1 A −1<br />

ทฤษฎีบท 2.10 ถ้า A 1 ,A 2 ,...,A n เป็นเมทริกซ์ไม่เอกฐานและมีขนาดเท่ากัน แล้ว A 1 A 2···A n<br />

เป็นเมทริกซ์ไม่เอกฐาน และ<br />

(A 1 A 2···A n ) −1 = A −1<br />

n A−1 n−1···A−1 2 A−1 1<br />

ทฤษฎีบท 2.11 ถ้า A เป็นเมทริกซ์ที่หาตัวผกผันได้ แล้ว<br />

(a) A −1 เป็นเมทริกซ์ไม่เอกฐาน และ (A −1 ) −1 = A<br />

(b) สำหรับสเกลาร์ k ≠ 0 ใดๆ เมทริกซ์ kA เป็นเมทริกซ์ไม่เอกฐาน และ (kA) −1 = 1 k A−1<br />

ทฤษฎีบท 2.12 ถ้า A เป็นเมทริกซ์ไม่เอกฐาน แล้ว A T เป็นเมทริกซ์ไม่เอกฐาน และ<br />

(A T ) −1 = (A −1 ) T<br />

ลำดับต่อไปเราจะศึกษาวิธีการหาเมทริกซ์ผกผันของเมทริกซ์ไม่เอกฐานขนาดใดๆ อย่างไรก็ตาม<br />

ทฤษฎีบทต่อไปนี้จะกล่าวถึงเงื่อนไขที่ทำให้เมทริกซ์มิติ 2 × 2 มีเมทริกซ์ผกผัน พร้อมทั้งสูตร<br />

ง่ายๆของเมทริกซ์ผกผันของเมทริกซ์มิติ 2×2<br />

ทฤษฎีบท 2.13 เมทริกซ์<br />

[ ]<br />

a b<br />

A =<br />

c d<br />

เป็นเมทริกซ์ไม่เอกฐาน ถ้า ad−bc ≠ 0 และเมทริกซ์ผกผันของ A คือ<br />

⎡<br />

[ ] d<br />

A −1 1 d −b ⎢<br />

− b ⎤<br />

= = ⎣<br />

ad−bc ad−bc⎥<br />

ad−bc −c a − c a ⎦<br />

ad−bc ad−bc<br />

ตัวอย่าง 2.12 จงหาเมทริกซ์ผกผันของ<br />

[ ]<br />

1<br />

2<br />

A =<br />

(ex +e −x 1<br />

)<br />

2 (ex −e −x )<br />

1<br />

2 (ex −e −x 1<br />

)<br />

2 (ex +e −x )<br />

วิธีทำ .........


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 25<br />

การหาเมทริกซ์ผกผันโดยวิธีกำจัดเกาส์-จอร์แดน<br />

การหาเมทริกซ์ผกผัน A −1 ของเมทริกซ์ไม่เอกฐาน A มิติ n × n นั้นเราสามารถใช้วิธีการที่<br />

เรียกว่า วิธีการกำจัดเกาส์-จอร์แดน (Gauss-Jordan elimination) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้<br />

ขั้นตอน 1 สร้างเมทริกซ์แบ่งส่วน [A|I n ] ซึ่งมีขนาด n×2n<br />

ขั้นตอน 2 ใช้การดำเนินการตามแถวขั้นมูลฐานกับเมทริกซ์นี้ จนกระทั่งเมทริกซ์ย่อยทางซ้ายมือ<br />

ถูกลดรูปเป็นเมทริกซ์ I n และการดำเนินการตามแถวขั้นมูลฐานเหล่านี้จะแปลงเมทริกซ์ย่อย<br />

ทางขวามือเป็น A −1 ดังนั้นขั้นตอนสุดท้ายจะได้เมทริกซ์แบ่งส่วนในรูป [I |A −1 ]<br />

ตัวอย่าง 2.13 จงหาเมทริกซ์ผกผันของ<br />

⎡ ⎤<br />

1 −2 1<br />

⎢ ⎥<br />

A = ⎣2 −5 2 ⎦<br />

3 2 −1<br />

วิธีทำ .........<br />

บ่อยครั้งที่เราไม่ทราบว่าเมทริกซ์ที่กำหนดให้เป็นเมทริกซ์ไม่เอกฐานหรือไม่ ถ้าเมทริกซ์<br />

A มิติ n × n เป็นเมทริกซ์เอกฐาน แล้วเมทริกซ์ขั้นบันไดตามแถวลดรูปของ A จะมีแถวอย่าง<br />

น้อยหนึ่งแถวที่มีสมาชิกทุกตัวเป็นศูนย์ดังนั้นถ้าใช้วิธีการเช่นเดียวกับตัวอย่าง 2.13 กับเมทริกซ์ที่<br />

กำหนดให้ แล้วพบว่ามีแถวที่มีสมาชิกทุกตัวเป็นศูนย์เกิดขึ้นในการคำนวณกับเมทริกซ์ย่อยทางซ้ายมือ<br />

ในกรณีเช่นนี้เราสามารถหยุดการคำนวณ และสรุปได้ว่า เมทริกซ์ที่กำหนดให้เป็นเมทริกซ์เอกฐาน<br />

ตัวอย่าง 2.14 จงพิจารณาว่าเมทริกซ์<br />

⎡ ⎤<br />

1 3 4<br />

⎢ ⎥<br />

A = ⎣−2 −5 −3⎦<br />

1 4 9<br />

เป็นเมทริกซ์ไม่เอกฐานหรือไม่<br />

วิธีทำ .........<br />

การหาเมทริกซ์ผกผันโดยใช้เมทริกซ์ผูกพัน<br />

บทนิยาม 2.4 ถ้า A เป็นเมทริกซ์มิติ n×n ใดๆ และ C ij เป็นตัวประกอบร่วมเกี่ยวของ a ij<br />

แล้วเมทริกซ์ ⎡ ⎤<br />

C 11 C 12 ··· C 1n<br />

C 21 C 22 ··· C 2n<br />

⎢ ⎥<br />

⎣ . . . ⎦<br />

C n1 C n2 ··· C nn<br />

เรียกว่า เมทริกซ์ของตัวประกอบร่วมเกี่ยว ของ A และเมทริกซ์สลับเปลี่ยนของเมทริกซ์นี้เรียก<br />

ว่า เมทริกซ์ผูกพัน (adjoint matrix) ของ A เขียนแทนด้วย adj(A)


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 26<br />

ตัวอย่าง 2.15 จงหา adj(A) เมื่อ<br />

⎡ ⎤<br />

3 2 −1<br />

⎢ ⎥<br />

A = ⎣1 6 3 ⎦<br />

2 −4 0<br />

วิธีทำ .........<br />

ทฤษฎีบทต่อไปนี้จะกล่าวถึงการหาเมทริกซ์ผกผันของเมทริกซ์ A ซึ่งเป็นเมทริกซ์ไม่เอกฐาน<br />

โดยใช้เมทริกซ์ผูกพันของ A และอาศัยข้อเท็จจริงที่สำคัญที่ได้กล่าวไปแล้ว นั่นคือ เมทริกซ์ จัตุรัส<br />

A เป็นเมทริกซ์ไม่เอกฐาน ก็ต่อเมื่อ det(A) ไม่เท่ากับศูนย์<br />

ทฤษฎีบท 2.14 ถ้า A เป็นเมทริกซ์ไม่เอกฐาน แล้ว<br />

A −1 =<br />

1<br />

adj(A) (2.5)<br />

det(A)<br />

ตัวอย่าง 2.16 จงใช้ (2.5) หาเมทริกซ์ผกผันของเมทริกซ์ A ในตัวอย่าง 2.15<br />

วิธีทำ .........<br />

แบบฝึกหัด 2.3<br />

1. จงใช้ทฤษฎีบท 2.13 หาเมทริกซ์ผกผันของเมทริกซ์ต่อไปนี้<br />

[ ]<br />

[ ]<br />

1 3<br />

2 3<br />

(a) A =<br />

(b) B =<br />

2 −4<br />

1 1<br />

[ ]<br />

[ ]<br />

−4 −5<br />

3 −7<br />

(c) C =<br />

(d) D =<br />

5 6<br />

−6 13<br />

2. จงใช้เมทริกซ์ A, B และ C ในข้อ1 แสดงว่า<br />

(a) (A −1 ) −1 = A<br />

(c) (AB) −1 = B −1 A −1<br />

(b) (B T ) −1 = (B −1 ) T<br />

(d) (ABC) −1 = C −1 B −1 A −1<br />

3. จงใช้ข้อมูลที่กำหนดให้ในแต่ละข้อต่อไปนี้ หาเมทริกซ์ A<br />

[ ]<br />

[ ]<br />

(a) A −1 2 −1<br />

=<br />

(b) (7A) −1 −3 7<br />

=<br />

3 5<br />

1 −2<br />

[ ]<br />

[ ]<br />

(c) (5A T ) −1 −3 −1<br />

=<br />

(d) (I +2A) −1 −1 2<br />

=<br />

5 2<br />

4 5<br />

4. จงหาเมทริกซ์ผกผันของ<br />

[<br />

]<br />

cosθ sinθ<br />

−sinθ cosθ


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 27<br />

5. จงใช้วิธีการในตัวอย่าง 2.13 และตัวอย่าง 2.14 หาเมทริกซ์ผกผันของเมทริกซ์ที่กำหนด<br />

ให้ ถ้าเมทริกซ์ที่กำหนดให้เป็นเมทริกซ์ไม่เอกฐาน<br />

[ ] [ ]<br />

1 4 −3 6<br />

(a) (b)<br />

2 7 4 5<br />

⎡ ⎤<br />

1 0 1<br />

⎢ ⎥<br />

(d) ⎣3 3 4⎦<br />

2 2 3<br />

⎡ ⎤<br />

2 1 4<br />

⎢ ⎥<br />

(g) ⎣3 2 5⎦<br />

0 −1 1<br />

⎡ ⎤<br />

1 0 0 0<br />

1 3 0 0<br />

(j) ⎢ ⎥<br />

⎣1 3 5 0⎦<br />

1 3 5 7<br />

(c)<br />

[<br />

]<br />

6 −4<br />

−3 2<br />

⎡ ⎤ ⎡ ⎤<br />

1 1 1 2 0 5<br />

⎢ ⎥ ⎢ ⎥<br />

(e) ⎣0 1 1⎦<br />

(f) ⎣0 3 0⎦<br />

0 0 1 1 0 3<br />

⎡ ⎤ ⎡ √ √ ⎤<br />

1 1<br />

− 2 5 5 5 2 3 2 0<br />

⎢1<br />

1 1 ⎥ ⎢<br />

(h) ⎣5<br />

5 10<br />

⎦ (i) ⎣−4 √ √ ⎥<br />

2 2 0 ⎦<br />

1<br />

− 4 1<br />

0 0 1<br />

5 5 10<br />

⎡ ⎤ ⎡ ⎤<br />

1<br />

−8 17 2 0 0 2 0<br />

3<br />

2<br />

4 0 −9<br />

5 (k) ⎢ ⎥<br />

⎣ 0 0 0 0 ⎦ (l) 1 0 0 1<br />

⎢ ⎥<br />

⎣0 −1 3 0 ⎦<br />

−1 13 4 2<br />

6. จงหาค่า a ที่ทำให้เมทริกซ์ต่อไปนี้เป็นเมทริกซ์ไม่เอกฐาน<br />

⎡ ⎤<br />

[ ]<br />

1 a 0<br />

2 a<br />

⎢ ⎥<br />

(a) A =<br />

(b) A = ⎣−1 0 1⎦<br />

3 4<br />

0 1 1<br />

2 1 5 −3<br />

7. กำหนดให้<br />

[ ]<br />

3 1<br />

A =<br />

5 2<br />

[ ]<br />

1 2<br />

และ B =<br />

3 4<br />

จงหา A −1 จากนั้นใช้ A −1 คำนวณหา<br />

(a) เมทริกซ์ X มิติ 2×2 ที่ทำให้ AX = B<br />

(b) เมทริกซ์ Y มิติ 2×2 ที่ทำให้ YA = B<br />

8. กำหนดให้<br />

⎡ ⎤<br />

3 2 4<br />

⎢ ⎥<br />

A = ⎣1 −2 3⎦<br />

2 3 2<br />

จงหา<br />

(a) adj(A) (b) A −1 โดยใช้ทฤษฎีบท 2.14<br />

9. จงหา A −1 โดยใช้ทฤษฎีบท 2.14


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 28<br />

⎡ ⎤<br />

⎡ ⎤<br />

2 5 5<br />

2 −3 5<br />

⎢ ⎥<br />

⎢ ⎥<br />

(a) A = ⎣−1 −1 0⎦ (b) A = ⎣0 1 −3⎦<br />

2 4 3<br />

0 0 2<br />

⎡ ⎤<br />

⎡ ⎤<br />

2 1 2<br />

4 0 1<br />

⎢ ⎥<br />

⎢ ⎥<br />

(c) A = ⎣3 2 2⎦ (d) A = ⎣2 2 0⎦<br />

1 2 3<br />

3 1 1<br />

10. กำหนดให้<br />

⎡ ⎤<br />

1 3 1 1<br />

2 5 2 2<br />

A = ⎢ ⎥<br />

⎣1 3 8 9⎦<br />

1 3 2 2<br />

(a) จงหา A −1 โดยใช้ทฤษฎีบท 2.14<br />

(b) จงหา A −1 โดยใช้วิธีการในตัวอย่าง 2.13<br />

(c) วิธีการแบบใดที่ใช้การคำนวณน้อยกว่า<br />

11. จงแสดงว่าเมทริกซ์<br />

⎡ ⎤<br />

cosθ sinθ 0<br />

⎢ ⎥<br />

A = ⎣−sinθ cosθ 0⎦<br />

0 0 1<br />

เป็นเมทริกซ์ไม่เอกฐานสำหรับทุกค่าของ θ และจงหา A −1 โดยใช้ทฤษฎีบท 2.14<br />

1. (a) A −1 =<br />

[<br />

2<br />

5<br />

(d) D −1 =<br />

3<br />

10<br />

1<br />

− 1<br />

5 10<br />

[<br />

3. (a) A =<br />

[<br />

5<br />

13<br />

(d) A =<br />

5. (a)<br />

(d)<br />

− 3<br />

13<br />

[<br />

− 9<br />

[<br />

−7 4<br />

]<br />

]<br />

− 13 − 7 3 3<br />

−2 −1<br />

]<br />

1<br />

13<br />

2<br />

13<br />

1<br />

13<br />

13<br />

2<br />

− 6<br />

13 13<br />

]<br />

]<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 2.3<br />

[ ]<br />

(b) B −1 −1 3<br />

=<br />

1 −2<br />

(b) A =<br />

4.<br />

[<br />

− 5<br />

(b)<br />

2 −1<br />

⎡ ⎤<br />

1 2 −3<br />

⎢ ⎥<br />

⎣−1 1 −1⎦<br />

(e)<br />

0 −2 3<br />

39<br />

4<br />

39<br />

[ ]<br />

2<br />

1<br />

7<br />

1<br />

7<br />

3<br />

7<br />

[ ]<br />

cosθ −sinθ<br />

sinθ cosθ<br />

]<br />

2<br />

13<br />

1<br />

13<br />

⎡ ⎤<br />

1 −1 0<br />

⎢ ⎥<br />

⎣0 1 −1⎦<br />

0 0 1<br />

(c) C −1 =<br />

[ ]<br />

− 2 1<br />

5<br />

(c) A =<br />

− 1 5<br />

(c) ไม่มีเมทริกซ์ผกผัน<br />

(f)<br />

⎡<br />

⎢<br />

⎣<br />

3<br />

5<br />

[<br />

⎤<br />

3 0 −5<br />

⎥<br />

⎦<br />

0<br />

1<br />

3<br />

0<br />

−1 0 2<br />

6 5<br />

−5 −4<br />

]


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 29<br />

(g)<br />

(j)<br />

⎡ ⎤<br />

−7 5 3<br />

⎢ ⎥<br />

⎣ 3 −2 −2⎦<br />

(h)<br />

3 −2 −1<br />

⎡ ⎤<br />

1 0 0 0<br />

− 1 1<br />

0 0<br />

3 3 ⎢<br />

⎣ 0 − 1 1<br />

⎥<br />

0⎦<br />

5 5<br />

0 0 − 1 1<br />

7 7<br />

(k) ไม่มีเมทริกซ์ผกผัน<br />

(l)<br />

⎡ ⎤<br />

1 3 1<br />

⎢ ⎥<br />

⎣ 0 1 −1⎦<br />

−2 2 0<br />

⎡<br />

⎢<br />

⎣<br />

− 4 5<br />

6. (a) a ≠ 8 3<br />

(b) a ≠ 1 7. (a)<br />

3<br />

5<br />

1<br />

5<br />

1<br />

5<br />

3<br />

0 −1 0<br />

2<br />

1<br />

0 0 0<br />

2<br />

4<br />

5<br />

(i)<br />

2<br />

− 1 − 1 5 5 5<br />

[ ]<br />

−1 0<br />

4 2<br />

⎤<br />

⎥<br />

⎦<br />

⎡<br />

⎢<br />

⎣<br />

(b)<br />

√<br />

2<br />

26<br />

4 √ 2<br />

26<br />

−3 √ 2<br />

0<br />

√<br />

26<br />

2<br />

0<br />

26<br />

0 0 1<br />

[ ]<br />

−8 5<br />

−14 9<br />

⎡ ⎤ ⎡ ⎤<br />

13<br />

−13 8 14<br />

− 8 − 14 3 3 3<br />

⎢ ⎥<br />

8. (a) adj(A) = ⎣ 4 −2 −5⎦ (b) A −1 ⎢<br />

= ⎣− 4 2 5 ⎥<br />

3 3 3<br />

⎦<br />

7 −5 −8<br />

⎡ ⎤ ⎡ ⎤<br />

1 3<br />

3 −5 −5<br />

1<br />

2 2<br />

9. (a) A −1 ⎢ ⎥<br />

= ⎣−3 4 5 ⎦ (b) A −1 ⎢<br />

= ⎣0 1 3 ⎥<br />

2⎦<br />

2 −2 −3 0 0 1 2<br />

⎡ ⎤ ⎡<br />

(c) A −1 ⎢<br />

= ⎣<br />

2<br />

5<br />

− 7 5<br />

4<br />

5<br />

− 3 5<br />

1<br />

− 2 5 5<br />

4 2<br />

5 5<br />

1<br />

5<br />

⎡ ⎤<br />

−4 3 0 −1<br />

10. A −1 2 −1 0 0<br />

= ⎢ ⎥<br />

⎣−7 0 −1 8 ⎦<br />

6 0 1 −7<br />

− 7 3<br />

⎥<br />

⎦ (d) A −1 ⎢<br />

= ⎣− 1 1 1 ⎥<br />

2 4 2<br />

⎦<br />

−1 −1 2<br />

1<br />

2<br />

5<br />

3<br />

1<br />

− 1 4 2<br />

⎡ ⎤<br />

cosθ −sinθ 0<br />

11. A −1 ⎢ ⎥<br />

= ⎣sinθ cosθ 0⎦<br />

0 0 1<br />

⎤<br />

8<br />

3<br />

⎤<br />

⎥<br />


บทที่ 3<br />

ระบบสมการเชิงเส้น<br />

ปัญหาที่จัดว่าสำคัญมากในทางคณิตศาสตร์คือ การหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้น หรือกล่าวได้<br />

ว่า 70 เปอร์เซนต์ของปัญหาทางคณิตศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับการหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้น<br />

การนำวิธีการทางคณิตศาสตร์สมัยใหม่มาใช้บ่อยครั้งปัญหาที่มีความซับซ้อนจะถูกลดรูปให้เป็นระบบ<br />

สมการเชิงเส้นเพียงระบบสมการเดียว ระบบสมการเชิงเส้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในหลายสาขาวิชา<br />

ด้วยกัน ตัวอย่างเช่น เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ นิเวศน์วิทยา สถิติประชากร พันธุกรรม วิศวกรรม<br />

และฟิสิกส์<br />

3.1 ระบบสมการเชิงเส้น<br />

สมการเชิงเส้น<br />

เส้นตรงใดๆในระนาบเรขาคณิตสามารถเขียนแทนได้ด้วยสมการ<br />

ax+by = c<br />

เมื่อ a, b และ c เป็นค่าคงตัวที่เป็นจำนวนจริง และ a, b ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน ซึ่งสมการใน<br />

รูปแบบนี้เรียกว่า สมการเชิงเส้น ของตัวแปร x และ y ในกรณีทั่วไปเราสามารถเขียนสมการเชิง<br />

เส้นของตัวแปร x 1 , x 2 , ..., x n ให้อยู่ในรูป<br />

a 1 x 1 +a 2 x 2 +···+a n x n = b<br />

โดยที่ a 1 , a 2 , ..., a n และ b เป็นค่าคงตัวที่เป็นจำนวนจริง และ a 1 , a 2 , ..., a n ไม่เป็น<br />

ศูนย์พร้อมกัน บางครั้งเราจะเรียกตัวแปรที่อยู่ในสมการเชิงเส้นว่า ตัวแปรไม่รู้ค่า<br />

ตัวอย่าง 3.1 สมการ<br />

3x+y = 7, y = 1 5 x+2z +4 และ x 1 +3x 2 −2x 3 +5x 4 = 7<br />

เป็นสมการเชิงเส้น แต่สมการ<br />

√ x+3y = 2, 3x−2y −5z +yz = 4 และ y = cosx<br />

ไม่เป็นสมการเชิงเส้น<br />

✠<br />

30


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 31<br />

ข้อสังเกต สมการเชิงเส้นจะเป็นสมการที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลคูณ หรือรากของตัวแปร และตัวแปรทุก<br />

ตัว ต้องเป็นตัวแปรที่มีเลฃชี้กำลังเป็นหนึ่ง และไม่ปรากฎในนิพจน์ของฟังก์ชันตรีโกณมิติ<br />

ฟังก์ชันลอการิทึม หรือฟังก์ชันเลขชี้กำลัง<br />

ผลเฉลย ของสมการเชิงเส้น a 1 x 1 +a 2 x 2 +···+ a n x n = b คือลำดับของ n จำนวน: s 1 , s 2 ,<br />

..., s n ที่ทำให้สมการนี้เป็นจริงเมื่อแทนค่า x 1 = s 1 , x 2 = s 2 , ..., x n = s n และเชตของผล<br />

เฉลยทั้งหมดของสมการเชิงเส้นเรียกว่า เชตผลเฉลย หรือบางครั้งเรียกว่า ผลเฉลยทั่วไป ของสมการ<br />

เชิงเส้น<br />

ระบบสมการเชิงเส้น<br />

เชตจำกัดของสมการเชิงเส้นของตัวแปร x 1 , x 2 , ..., x n เรียกว่า ระบบสมการเชิงเส้น หรือ<br />

ระบบเชิงเส้น และลำดับของจำนวน s 1 , s 2 , ..., s n จะเป็น ผลเฉลย ของระบบสมการเชิงเส้น<br />

ถ้า x 1 = s 1 , x 2 = s 2 , ..., x n = s n เป็นผลเฉลยของสมการทุกสมการในระบบสมการเชิงเส้น<br />

ตัวอย่างเช่น<br />

4x 1 −x 2 +3x 3 = −1<br />

3x 1 +x 2 +9x 3 = −4<br />

เป็นระบบสมการเชิงเส้นที่มีผลเฉลยคือ x 1 = 1, x 2 = 2 และ x 3 = −1 เนื่องจากค่าเหล่านี้<br />

สอดคล้องกับสมการทั้งสอง อย่างไรก็ตาม x 1 = 1, x 2 = 8 และ x 3 = 1 ไม่เป็นผลเฉลย<br />

ของระบบสมการเชิงเส้นข้างต้น เนื่องจากค่าเหล่านี้สอดคล้องกับสมการแรกเพียงสมการเดียว ดังนั้น<br />

ระบบสมการเชิงเส้นบางระบบอาจจะไม่มีผลเฉลย<br />

ถ้าระบบสมการเชิงเส้นใดไม่มีผลเฉลยเราจะเรียกระบบสมการเชิงเส้นนี้ว่า ระบบไม่สอดคล้อง (inconsistent)<br />

แต่ถ้าระบบสมการเชิงเส้นใดมีผลเฉลยอย่างน้อยหนึ่งผลเฉลย แล้วจะเรียกระบบสมการ<br />

นั้นว่า ระบบสอดคล้อง (consistent)<br />

รูปแบบเมทริกซ์ของระบบสมการเชิงเส้น<br />

พิจารณาระบบสมการเชิงเส้นที่มี m สมการ และตัวแปรไม่รู้ค่า n ตัวแปร<br />

a 11 x 1 +a 12 x 2 +···+a 1n x n = b 1<br />

a 21 x 1 +a 22 x 2 +···+a 2n x n = b 2 (3.1)<br />

.<br />

.<br />

.<br />

.<br />

a m1 x 1 +a m2 x 2 +···+a mn x n = b m<br />

โดยที่ x 1 , x 2 , ..., x n เป็นตัวแปรไม่รู้ค่า และ a และ b ที่มีดัชนีล่างเป็นค่าคงตัวใดๆ<br />

ดัชนีล่างของสัมประสิทธิ์ของตัวแปรไม่รู้ค่าจะช่วยบอกตำแหน่งของสัมประสิทธิ์ของระบบสมการ โดย<br />

ที่ดัชนีล่างตัวแรกของสัมประสิทธิ์ a ij จะบ่งชี้สมการที่มีสัมประสิทธิ์นั้น และดัชนีล่างตัวที่สองจะบ่งชี้<br />

ตัวแปรที่มีสัมประสิทธิ์นั้นเป็นตัวคูณ ตัวอย่างเช่น a 23 เป็นสัมประสิทธิ์ที่อยู่ในสมการที่สองและเป็น<br />

ตัวคูณของตัวแปรไม่รู้ค่า x 3


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 32<br />

เนื่องจากเมทริกซ์ 2 เมทริกซ์ใดๆ จะเท่ากัน ก็ต่อเมื่อ สมาชิกที่สมนัยกันของเมทริกซ์ทั้ง<br />

สองมีค่าเท่ากัน ดังนั้นเราสามารถเขียนแทนสมการ m สมการของระบบสมการเชิงเส้นนี้ด้วยสมการ<br />

เมทริกซ์เพียงสมการเดียว<br />

⎡<br />

⎤ ⎡ ⎤<br />

a 11 x 1 +a 12 x 2 +···+a 1n x n b 1<br />

a 21 x 1 +a 22 x 2 +···+a 2n x n<br />

⎢<br />

⎥<br />

⎣ . . . ⎦ = b 2<br />

⎢ ⎥<br />

⎣ . ⎦<br />

a m1 x 1 +a m2 x 2 +···+a mn x n b m<br />

และเมทริกซ์ทางซ้ายมือที่มีมิติ m×1 ของสมการนี้ สามารถเขียนในรูปของผลคูณดังนี้<br />

⎡ ⎤⎡<br />

⎤ ⎡ ⎤<br />

a 11 a 12 ··· a 1n x 1 b 1<br />

a 21 a 22 ··· a 2n<br />

x 2<br />

⎢ ⎥⎢<br />

⎥<br />

⎣ . . . ⎦⎣<br />

. ⎦ = b 2 ⎢ ⎥<br />

⎣ . ⎦<br />

a m1 a m2 ··· a mn x m b m<br />

ถ้ากำหนดให้ A, x และ b แทนเมทริกซ์แต่ละเมทริกซ์ตามลำดับ แล้วระบบสมการเชิงเส้น<br />

(3.1) สามารถเขียนแทนด้วยสมการเมทริกซ์<br />

Ax = b<br />

เพียงสมการเดียว และเมทริกซ์ A ในสมการนี้เรียกว่า เมทริกซ์สัมประสิทธิ์ ของระบบสมการเชิง<br />

เส้น เมทริกซ์แต่งเติม (augmented matrix) ของระบบสมการเชิงเส้น คือเมทริกซ์ที่ได้<br />

จากการนำเมทริกซ์ b มาเขียนรวมกับเมทริกซ์ A โดยเขียนต่อจาก A เป็นหลักสุดท้าย ดังนั้น<br />

เมทริกซ์แต่งเติมของระบบสมการเชิงเส้น (3.1) คือ<br />

⎡<br />

⎤<br />

a 11 a 12 ··· a 1n b 1<br />

[ ]<br />

a<br />

A b =<br />

21 a 22 ··· a 2n b 2<br />

⎢<br />

⎥<br />

⎣ . . . . ⎦<br />

a m1 a m2 ··· a mn b m<br />

ตัวอย่างเช่น เมทริกซ์แต่งเติมของระบบสมการเชิงเส้น<br />

x+2y + z = 3<br />

3x− y −3z = −1<br />

2x+3y + z = 4<br />

คือ<br />

⎡<br />

⎢<br />

⎣<br />

1 2 1 3<br />

3 −1 −3 −1<br />

2 3 1 4<br />

⎤<br />

⎥<br />

⎦<br />

หมายเหตุ ในการสร้างเมทริกซ์แต่งเติม ตัวแปรไม่รู้ค่าของแต่ละสมการจะเขียนในลำดับเดียวกัน และ<br />

ค่าคงตัวต้องอยู่ทางขวามือ


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 33<br />

แบบฝึกหัด 3.1<br />

1. จงพิจารณาว่าสมการใดต่อไปนี้เป็นสมการเชิงเส้นของตัวแปรx 1 , x 2 และ x 3<br />

(a) x 1 +5x 2 − √ 2x 3 = 1 (b) x 1 +3x 2 +x 1 x 3 = 2<br />

(c) x 1 = −7x 2 +3x 3<br />

(d) x −2<br />

1 +x 2 +8x 3 = 5<br />

(e) x 3/5<br />

1 −2x 2 +x 3 = 4 (f) πx 1 − √ 2x 2 + 1 3 x 3 = 7 1/3<br />

2. จงพิจารณาว่าระบบสมการใดต่อไปนี้เป็นระบบสมการเชิงเส้น<br />

(a) x 1 −3x 2 = x 3 −4<br />

x 4 = 1−x 1<br />

x 1 +x 4 +x 3 −2 = 0<br />

(c) 3x− xy = 1<br />

x+2xy −y = 0<br />

(e) 2x 1 −sinx 2 = 3<br />

x 2 = x 1 +x 3<br />

−x 1 +x 2 −3x 3 = 0<br />

(b) 2x− √ y +3z = −1<br />

x+ 2y − z = 2<br />

4x− y = −1<br />

(d) y = 2x−1<br />

y = −x<br />

(f) x 1 + x 2 + x 3 = 1<br />

−2x 2 1 −2x 3 = −1<br />

3x 2 − x 3 = 2<br />

3. จงเขียนระบบสมการเชิงเส้นต่อไปนี้ในรูปของสมการเมทริกซ์ Ax = b<br />

(a) 3x 1 +2x 2 = 1<br />

2x 1 −3x 2 = 5<br />

(c) 2x 1 + x 2 + x 3 = 4<br />

x 1 − x 2 +2x 3 = 2<br />

3x 1 −2x 2 − x 3 = 0<br />

(b) x 1 + x 2 = 5<br />

2x 1 + x 2 − x 3 = 6<br />

3x 1 −2x 2 +2x 3 = 7<br />

(d) 4x 1 + −3x 3 + x 4 = 1<br />

5x 1 + x 2 −8x 4 = 3<br />

2x 1 −5x 2 +9x 3 − x 4 = 0<br />

3x 2 − x 3 +7x 4 = 2<br />

4. จงเขียนสมการเมทริกซ์ต่อไปนี้ในรูปของระบบสมการเชิงเส้น<br />

⎡ ⎤⎡<br />

⎤ ⎡ ⎤<br />

3 −1 2 x 1 2<br />

⎢ ⎥⎢<br />

⎥ ⎢ ⎥<br />

(a) ⎣ 4 3 7⎦⎣x 2 ⎦ = ⎣−1⎦<br />

−2 1 5 x 3 4<br />

⎡ ⎤⎡<br />

⎤ ⎡ ⎤<br />

3 −2 0 1 w 0<br />

5 0 2 −2<br />

x<br />

(b) ⎢ ⎥⎢<br />

⎥<br />

⎣ 3 1 4 7 ⎦⎣y⎦ = 0<br />

⎢ ⎥<br />

⎣0⎦<br />

−2 5 1 6<br />

5. จงหาเมทริกซ์แต่งเติมของระบบสมการเชิงเส้นต่อไปนี้<br />

z<br />

0


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 34<br />

(a) 3x 1 −2x 2 = −1<br />

4x 1 +5x 2 = 3<br />

7x 1 +3x 2 = 2<br />

(c) x 1 = 1<br />

x 2 = 2<br />

x 3 = 3<br />

(b) 2x 1 +2x 3 = 1<br />

3x 1 −x 2 +4x 3 = 7<br />

6x 1 +x 2 − x 3 = 0<br />

(d) x 1 +2x 2 − x 4 + x 5 = 1<br />

3x 2 + x 3 − x 5 = 2<br />

x 3 +7x 4 = 1<br />

6. จงหาระบบสมการเชิงเส้นที่สมนัยกับเมทริกซ์แต่งเติมต่อไปนี้<br />

⎡ ⎤<br />

⎡<br />

2 0 0<br />

3 0 −2 5<br />

⎢ ⎥<br />

⎢<br />

(a) ⎣ 3 −4 0 ⎦ (b) ⎣ 7 1 4 −3<br />

0 1 1<br />

0 −2 1 7<br />

⎡<br />

[ ]<br />

1 0 0 0 7<br />

7 2 1 −3 5<br />

0 1 0 0 −2<br />

(c)<br />

(d) ⎢<br />

1 2 4 0 1 ⎣ 0 0 1 0 3<br />

0 0 0 1 4<br />

⎤<br />

⎥<br />

⎦<br />

⎤<br />

⎥<br />

⎦<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 3.1<br />

1. (a), (c), (f) 2. (a), (d)<br />

⎡ ⎤⎡<br />

⎤ ⎡ ⎤<br />

[ ][ ] [ ] 1 1 0 x 1 5<br />

3 2 x 1 1 ⎢ ⎥⎢<br />

⎥ ⎢ ⎥<br />

3. (a) = (b) ⎣2 1 −1⎦⎣x 2 ⎦ = ⎣6⎦<br />

2 −3 x 2 5<br />

3 −2 2 x 3 7<br />

⎡ ⎤⎡<br />

⎤ ⎡ ⎤<br />

⎡ ⎤⎡<br />

⎤ ⎡ ⎤ 4 0 −3 1 x 1 1<br />

2 1 1 x 1 4<br />

⎢ ⎥⎢<br />

⎥ ⎢ ⎥<br />

5 1 0 −8<br />

x 2<br />

(c) ⎣1 −1 2 ⎦⎣x 2 ⎦ = ⎣2⎦<br />

(d) ⎢ ⎥⎢<br />

⎥<br />

⎣2 −5 9 −1⎦⎣x 3 ⎦ = 3<br />

⎢ ⎥<br />

⎣0⎦<br />

3 −2 −1 x 3 0<br />

0 3 −1 7 x 4 2<br />

4. (a) 3x 1 − x 2 +2x 3 = 2<br />

4x 1 +3x 2 +7x 3 = −1<br />

−2x 1 + x 2 +5x 3 = 4<br />

(b) 3w −2x + z = 0<br />

5w +2y −2z = 0<br />

3w+ x+4y +7z = 0<br />

−2w +5x+ y +6z = 0<br />

⎡ ⎤<br />

3 −2 −1<br />

⎢ ⎥<br />

5. (a) ⎣ 4 5 3 ⎦ (b)<br />

7 3 2<br />

⎡<br />

⎢<br />

⎣<br />

2 0 2 1<br />

3 −1 4 7<br />

6 1 −1 0<br />

⎤<br />

⎥<br />

⎦<br />

(c)<br />

⎡<br />

⎢<br />

⎣<br />

1 0 0 1<br />

0 1 0 2<br />

0 0 1 3<br />

⎤<br />

⎥<br />


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 35<br />

(d)<br />

⎡<br />

⎢<br />

⎣<br />

1 2 0 −1 1 1<br />

0 3 1 0 −1 2<br />

0 0 1 7 0 1<br />

⎤<br />

⎥<br />

⎦<br />

6. (a) 2x 1 = 0<br />

3x 1 −4x 2 = 0<br />

x 2 = 1<br />

(b) 3x 1 −2x 3 = 5<br />

7x 1 +x 2 +4x 3 = −3<br />

−2x 2 +x 3 = 7<br />

(c) 7x 1 +2x 2 +x 3 −3x 4 = 5<br />

x 1 +2x 2 +4x 3 = 1<br />

(d) x 1 = 7<br />

x 2<br />

= −2<br />

x 3 = 3<br />

x 4 = 4<br />

3.2 การหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้น<br />

3.2.1 วิธีการกำจัดเกาส์เซียน (Gaussian Elimination)<br />

เป็นวิธีการหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้น Ax = b โดยใช้การดำเนินการตามแถวขั้นมูลฐานลด<br />

รูปเมทริกซ์แต่งเติม [A|b] ให้เป็นเมทริกซ์ขั้นบันไดตามแถว จากนั้นหาผลเฉลยของระบบสมการ<br />

ที่สมนัยกัน โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า การแทนค่าย้อนหลัง (back-substitution) ดังตัวอย่าง<br />

ต่อไปนี้<br />

ตัวอย่าง 3.2 จงหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้นต่อไปนี้โดยใช้วิธีการกำจัดเกาส์เซียน<br />

x 1 − x 2 + x 3 = 0<br />

−x 1 + x 2 − x 3 = 0<br />

10x 2 +25x 3 = 90<br />

20x 1 +10x 2 = 80<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 3.3 จงหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้นต่อไปนี้โดยใช้วิธีการกำจัดเกาส์เซียน<br />

x 1 +x 2 −2x 3 +4x 4 = 5<br />

2x 1 +2x 2 −3x 3 +x 4 = 3<br />

3x 1 +3x 2 −4x 3 −2x 4 = 1


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 36<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 3.4 จงหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้นต่อไปนี้โดยใช้วิธีการกำจัดเกาส์เซียน<br />

3x 1 +2x 2 + x 3 = 3<br />

2x 1 + x 2 + x 3 = 0<br />

6x 1 +2x 2 +4x 3 = 6<br />

วิธีทำ .........<br />

3.2.2 วิธีการกำจัดเกาส์-จอร์แดน (Gauss-Jordan Elimination)<br />

เป็นวิธีการหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้น Ax = b โดยใช้การดำเนินการตามแถวขั้นมูลฐาน<br />

ลดรูปเมทริกซ์แต่งเติม [A|b] ให้เป็นเมทริกซ์ขั้นบันไดตามแถวลดรูป จากนั้นหาผลเฉลยของระบบ<br />

สมการที่สมนัยกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้<br />

ตัวอย่าง 3.5 จงหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้นต่อไปนี้ โดยใช้วิธีการกำจัดเกาส์-จอร์แดน<br />

x 1 +2x 2 −3x 3 +x 4 = 1<br />

−x 1 − x 2 +4x 3 −x 4 = 6<br />

−2x 1 −4x 2 +7x 3 −x 4 = 1<br />

วิธีทำ .........<br />

3.2.3 หลักเกณฑ์คราเมอร์<br />

ทฤษฎีบทต่อไปจะให้สูตรสำหรับการหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้นของ n สมการ n ตัวแปร<br />

ไม่รู้ค่า ซึ่งสูตรนี้รู้จักกันในนาม หลักเกณฑ์คราเมอร์ (Cramer’s rule) 1<br />

ทฤษฎีบท 3.1 (หลักเกณฑ์คราเมอร์) ถ้า Ax = b เป็นระบบสมการเชิงเส้นของ n สมการ n<br />

ตัวแปร โดยที่ det(A) ≠ 0 แล้วระบบสมการเชิงเส้นจะมีผลเฉลยเพียงผลเฉลยเดียว และผลเฉลยคือ<br />

x 1 = det(A 1)<br />

det(A) , x 2 = det(A 2)<br />

det(A) ,..., x n = det(A n)<br />

det(A)<br />

เมื่อ A j เป็นเมทริกซ์ที่ได้มาจากการแทนสมาชิกทุกตัวของหลักที่ j ของเมทริกซ์ A ด้วยสมาชิก<br />

ทุกตัวของเมทริกซ์<br />

⎡ ⎤<br />

b 1<br />

b<br />

b =<br />

2<br />

⎢ ⎥<br />

⎣.<br />

⎦<br />

b n<br />

1 Gabriel Cramer (1704-1752) นักคณิตศาสตร์ชาวสวิส


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 37<br />

ตัวอย่าง 3.6 จงใช้หลักเกณฑ์คราเมอร์หาผลเฉลยของระบบสมการ<br />

x 1 +2x 2 + x 3 = 5<br />

2x 1 +2x 2 + x 3 = 6<br />

x 1 +2x 2 +3x 3 = 9<br />

วิธีทำ .........<br />

ทฤษฎีบท 3.2 กำหนดให้ Ax = b เป็นระบบสมการเชิงเส้นของ m สมการ n ตัวแปร ถ้า<br />

p = rank(A) และ q = rank([A|b]) แล้วระบบสมการเชิงเส้น Ax = b<br />

(a) ไม่มีผลเฉลย ถ้า p < q<br />

(b) มีผลเฉลยเพียงผลเฉลยเดียว ถ้า p = q = n<br />

(c) มีผลเฉลยมากมายไม่จำกัด ถ้า p = q และ p < n<br />

แบบฝึกหัด 3.2<br />

1. จงหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้นต่อไปนี้ โดยใช้วิธีการกำจัดเกาส์เซียน<br />

(a) x 1 + x 2 +2x 3 = 8<br />

−x 1 −2x 2 +3x 3 = 1<br />

3x 1 −7x 2 +4x 3 = 10<br />

(c) 2x 1 −3x 2 = −2<br />

2x 1 + x 2 = 1<br />

3x 1 +2x 2 = 1<br />

(e) 4x 1 −8x 2 = 12<br />

3x 1 −6x 2 = 9<br />

−2x 1 +4x 2 = −6<br />

(b) 2x 1 +2x 2 +2x 3 = 0<br />

−2x 1 +5x 2 +2x 3 = 1<br />

8x 1 + x 2 +4x 3 = −1<br />

(d) −2b+3c = 1<br />

3a+6b−3c = −2<br />

6a+6b+3c = 5<br />

(f) x 1 +3x 2 + x 3 + x 4 = 3<br />

2x 1 −2x 2 + x 3 +2x 4 = 8<br />

3x 1 + x 2 +2x 3 − x 4 = −1<br />

(h)<br />

x− y +2z − w = −1<br />

(h)<br />

3x 1 +2x 2 − x 3 = −15<br />

2x+ y −2z −2w = −2<br />

5x 1 +3x 2 +2x 3 = 0<br />

−x+2y −4z + w = 1<br />

3x 1 + x 2 +3x 3 = 11<br />

3x<br />

−3w = −3<br />

−6x 1 −4x 2 +2x 3 = 30<br />

(i) x 1 + x 2 +x 3 + x 4 = 0<br />

2x 1 + x 2 −x 3 +3x 4 = 0<br />

x 1 −2x 2 +x 3 + x 4 = 0<br />

(j) 10y −4z + w = 1<br />

x+ 4y − z + w = 2<br />

3x+2y + z +2w = 5<br />

−2x−8y +2z −2w = −4<br />

x−6y +3z = 1<br />

2. จงหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้นในข้อ 1 โดยใช้วิธีการกำจัดเกาส์-จอร์แดน


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 38<br />

3. พิจารณาระบบสมการเชิงเส้นที่มีเมทริกซ์แต่งเติมอยู่ในรูป<br />

⎡ ⎤<br />

1 2 1 1<br />

⎢ ⎥<br />

⎣ −1 4 3 2 ⎦<br />

2 −2 α 3<br />

จงหาค่าของ α ที่ทำให้ระบบสมการมีผลเฉลยเพียงผลเฉลยเดียว<br />

4. พิจารณาระบบสมการเชิงเส้นที่มีเมทริกซ์แต่งเติมอยู่ในรูป<br />

⎡ ⎤<br />

1 2 1 0<br />

⎢ ⎥<br />

⎣ 2 5 3 0 ⎦<br />

−1 1 β 0<br />

(a) ระบบสมการนี้มีโอกาสที่จะเป็นระบบไม่สอดคล้องหรือไม่ จงอธิบาย<br />

(b) จงหาค่าของ β ที่ทำให้ระบบสมการมีผลเฉลยมากมายไม่จำกัด<br />

5. พิจารณาระบบสมการเชิงเส้นที่มีเมทริกซ์แต่งเติมอยู่ในรูป<br />

⎡ ⎤<br />

1 1 3 2<br />

⎢ ⎥<br />

⎣ 1 2 4 3 ⎦<br />

1 3 α β<br />

(a) จงหาค่าของ α และ β ที่ทำให้ระบบสมการมีผลเฉลยมากมายไม่จำกัด<br />

(b) จงหาค่าของ α และ β ที่ทำให้ระบบสมการนี้เป็นระบบไม่สอดคล้อง<br />

6. จงหาผลเฉลย x 1 , x 2 , และ x 3 ของระบบสมการ<br />

เมื่อ λ = 1 และ λ = 2<br />

2x 1 − x 2 = λx 1<br />

2x 1 − x 2 +x 3 = λx 2<br />

−2x 1 +2x 2 +x 3 = λx 3<br />

7. จงหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้นต่อไปนี้โดยใช้หลักเกณฑ์คราเมอร์ (ถ้าหาได้)<br />

(a) x 1 +2x 2 = 3<br />

3x 1 − x 2 = 1<br />

(c) 2x 1 + x 2 −3x 3 = 0<br />

4x 1 +5x 2 + x 3 = 8<br />

−2x 1 − x 2 +4x 3 = 2<br />

(e) 3x 1 − x 2 + x 3 = 4<br />

−x 1 +7x 2 −2x 3 = 1<br />

2x 1 +6x 2 − x 3 = 5<br />

(b) 2x 1 +3x 2 = 2<br />

3x 1 +2x 2 = 5<br />

(d) x 1 +3x 2 +x 3 = 1<br />

2x 1 + x 2 +x 3 = 5<br />

−2x 1 +2x 2 −x 3 = −8<br />

(f) x 1 + x 2 = 0<br />

x 2 + x 3 −2x 4 = 1<br />

x 1 +2x 3 + x 4 = 0<br />

x 1 + x 2 + x 4 = 0


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 39<br />

8. จงใช้หลักเกณฑ์คราเมอร์หาผลเฉลย x 2 ของระบบสมการ<br />

x 1 + x 2 −3x 3 + x 4 = 1<br />

2x 1 + x 2 +2x 4 = 0<br />

x 2 −6x 3 − x 4 = 5<br />

3x 1 + x 2 + x 4 = 1<br />

9. จงหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้น<br />

4x+ y + z + w = 6<br />

3x+7y − z + w = 1<br />

7x+3y −5z +8w = −3<br />

x+ y + z +2w = 3<br />

โดยใช้ (a) หลักเกณฑ์คราเมอร์<br />

(b) วิธีการกำจัดเกาส์-จอร์แดน<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 3.2<br />

1. (a) x 1 = 3, x 2 = 1, x 3 = 2 (b) x 1 = − 1 7 − 3 7 t, x 2 = 1 7 − 4 7 t, x 3 = t<br />

(c) ระบบไม่สอดคล้อง (d) ระบบไม่สอดคล้อง (e) x 1 = 3+2t, x 2 = t<br />

(f) x 1 = 3 4 − 5 8 t, x 2 = − 1 4 − 1 8 t, x 3 = t, x 4 = 3<br />

(g) x = t−1, y = 2s, z = s, w = t (h) x 1 = −4, x 2 = 2, x 3 = 7<br />

(i) x 1 = − 4 3 t, x 2 = 0, x 3 = 1 3 t, x 4 = t<br />

(j) x = 14 − 6 t, y = − 7 + 3 t− 1 s, z = −2+t, w = t<br />

5 5 10 10 10<br />

3. α ≠ −2 4. β = 2 5. (a) α = 5, β = 4, (b) α = 5, β ≠ 4<br />

6. ถ้า λ = 1 แล้ว x 1 = x 2 = s, x 3 = 0<br />

ถ้า λ = 2 แล้ว x 1 = − 1 2 s, x 2 = 0, x 3 = s<br />

7. (a) x 1 = 5, x 7 2 = 8 7<br />

(b) x 1 = 11, x 5 2 = − 4 5<br />

(c) x 1 = 4, x 2 = −2, x 3 = 2 (d) x 1 = 2, x 2 = −1, x 3 = 3<br />

(e) ใช้หลักเกณฑ์คราเมอร์ไม่ได้ (f) x 1 = − 2, x 3 2 = 2, x 3 3 = 1, x 3 4 = 0<br />

8. x 2 = 10 9. x = 1, y = 0, z = 2, w = 0


•<br />

•<br />

•<br />

บทที่ 4<br />

ลิมิตและความต่อเนื่อง<br />

การพัฒนาของแคลคูลัสในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจความหมายที่แท้จริงของอัตรา<br />

การเปลี่ยนแปลงขณะใดขณะหนึ่ง เช่น ความเร็ว และความเร่ง เมื่อเกิดความเข้าใจแล้ว วิธีการ<br />

คำนวณที่มีประสิทธิ์ภาพก็เกิดขึ้นตามมา และรากฐานที่สำคัญของอัตราการเปลี่ยนแปลงคือ ลิมิต<br />

ในบทนี้เราจะกล่าวถึงบทนิยามของลิมิต สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลิมิต ทฤษฎีบท และวิธีการต่างๆ<br />

สำหรับการหาค่าลิมิต และจะจบบทนี้ด้วยการใช้ลิมิตในการศึกษาความต่อเนื่องของเส้นโค้ง<br />

4.1 ลิมิตของฟังก์ชัน<br />

ความหมายพื้นฐานของลิมิตคือ การใช้ลิมิตเพื่ออธิบายลักษณะของฟังก์ชันเมื่อตัวแปรอิสระของ<br />

ฟังก์ชันมีค่าเข้าใกล้ค่าที่กำหนดให้ ตัวอย่างเช่น หากเราพิจารณาลักษณะของฟังก์ชัน<br />

f(x) = x 2 −x+1<br />

เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ 2 จากกราฟและตารางข้างล่างนี้ จะเห็นได้ว่าค่าของ f(x) มีค่าเข้าใกล้ 3<br />

เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ 2 ทั้งทางซ้ายและทางขวา เราสามารถอธิบายลักษณะดังกล่าวโดยกล่าวว่าลิมิต<br />

ของ x 2 −x+1 เท่ากับ 3 เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ 2 ทั้งสองทาง และเขียนแทนด้วย<br />

f(x)<br />

3<br />

f(x)<br />

y<br />

x<br />

• • •<br />

2<br />

x<br />

y = x 2 −x+1<br />

x<br />

lim<br />

x→3 (x2 −x+1) = 3<br />

x f(x) x f(x)<br />

1.0 1.000000 3 7.000000<br />

1.5 1.750000 2.5 4.750000<br />

1.9 2.710000 2.1 3.310000<br />

1.95 2.852500 2.05 3.152500<br />

1.99 2.970100 2.01 3.030100<br />

1.995 2.985025 2.005 3.015025<br />

1.999 2.997001 2.001 3.003001<br />

40


•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 41<br />

บทนิยาม 4.1 ถ้าค่าของ f(x) สามารถทำให้มีค่าเข้าใกล้ L โดยการให้ x มีค่าเข้าใกล้ a แล้ว<br />

เราสามารถเขียนแทนด้วย<br />

limf(x) = L (4.1)<br />

x→a<br />

และกล่าวได้ว่า ลิมิตของ f(x) เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ a มีค่าเท่ากับ L นอกจากนี้สมการ (4.1)<br />

สามารถเขียนแทนด้วย<br />

ตัวอย่าง 4.1 จงพิจารณาหาค่า lim<br />

x→1<br />

x−1<br />

√ x−1<br />

f(x) → L เมื่อ x → a (4.2)<br />

วิธีทำ ถึงแม้ว่าฟังก์ชัน f(x) = x−1 √ x−1<br />

หาค่าไม่ได้ที่ x = 1 แต่จากกราฟและตารางแสดงค่าของ<br />

ฟังก์ชันต่อไปนี้<br />

3<br />

2<br />

1<br />

y<br />

x f(x) x f(x)<br />

y = √ x−1 0.9 1.9 1.1 2.1<br />

x−1 0.99 1.99 1.01 2.01<br />

• •<br />

x 1 x 2 3<br />

0.999 1.999 1.001 2.001<br />

0.9999 1.9999 1.0001 2.0001<br />

0.99999 1.99999 1.00001 2.00001<br />

x<br />

0.999999 1.999999 1.000001 2.000001<br />

เห็นได้ว่าเมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ 1 ทั้งทางซ้ายและทางขวา ค่าของ f(x) มีค่าเข้าใกล้ 2 ดังนั้น<br />

lim<br />

x→1<br />

x−1<br />

√ x−1<br />

= 2<br />

✠<br />

ตัวอย่าง 4.2 จงพิจารณาหาค่า lim<br />

x→0<br />

sinx<br />

x<br />

วิธีทำ ในที่นี้ฟังก์ชัน f(x) = sinx<br />

x<br />

ฟังก์ชันต่อไปนี้<br />

หาค่าไม่ได้ที่จุด x = 0 แต่จากกราฟและตารางแสดงค่าของ<br />

1<br />

f(x)<br />

y<br />

• •<br />

• •<br />

x 0 x<br />

y = sinx<br />

x<br />

x<br />

x f(x)<br />

±0.1 0.998334<br />

±0.01 0.999983<br />

±0.001 0.99999983<br />

±0.0001 0.9999999983<br />

±0.00001 0.999999999983<br />

จะได้ว่า<br />

sinx<br />

lim<br />

x→0 x = 1<br />


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 42<br />

ลิมิตด้านเดียว<br />

ลิมิตในสมการ (4.1) เรียกว่า ลิมิตสองด้าน (two-sided limit) เนื่องจาก f(x) มีค่าเข้า<br />

ใกล้ L เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ a ทั้งทางซ้ายและทางขวา อย่างไรก็ตามมีฟังก์ชันบางฟังก์ชันที่ค่า<br />

ของฟังก์ชันมีค่าแตกต่างกัน เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ a ทางซ้ายและทางขวา ตัวอย่างเช่น ฟังก์ชัน<br />

{<br />

f(x) = x<br />

|x| = 1, x > 0<br />

−1, x < 0<br />

ซึ่งมีกราฟดังนี้<br />

y<br />

1<br />

−1<br />

y = x<br />

|x|<br />

x<br />

จากกราฟจะเห็นได้ว่าเมื่อ x เข้าใกล้ 0 ทางขวา ค่าของ f(x) เข้าใกล้ค่าลิมิต 1 ในทำนอง<br />

เดียวกันเมื่อ x เข้าใกล้ 0 ทางซ้าย ค่าของ f(x) เข้าใกล้ค่าลิมิต −1 และเราสามารถเขียน<br />

แทนลิมิตเหล่านี้ด้วยสัญลักษณ์ดังนี้<br />

x x<br />

lim = 1 และ lim<br />

x→0 + |x| x→0 − |x| = −1<br />

บทนิยาม 4.2 ถ้าค่าของ f(x) สามารถทำให้มีค่าเข้าใกล้ L โดยการให้ x มีค่าเข้าใกล้ a<br />

(แต่มากกว่า a) แล้วเราจะเขียนแทนด้วย<br />

lim<br />

x→a +f(x)<br />

= L (4.3)<br />

และอ่านว่า ลิมิตของ f(x) เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ a ทางขวา มีค่าเท่ากับ L หรือ f(x) เข้า<br />

ใกล้ L เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ a ทางขวา<br />

ถ้าค่าของ f(x) สามารถทำให้มีค่าเข้าใกล้ L โดยการให้ x มีค่าเข้าใกล้ a (แต่น้อยกว่า<br />

a) แล้วจะเขียนแทนด้วย<br />

lim<br />

x→a−f(x) = L (4.4)<br />

และอ่านว่า ลิมิตของ f(x) เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ a ทางซ้าย มีค่าเท่ากับ L หรือ f(x) เข้า<br />

ใกล้ L เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ a ทางซ้าย<br />

ความสัมพันธ์ระหว่างลิมิตด้านเดียวและลิมิตสองด้าน<br />

โดยทั่วไปไม่มีการรับประกันว่าฟังก์ชัน f จะมีลิมิตสองด้านที่จุด a ที่กำหนดให้ นั่นคือ ค่าของ<br />

f(x) อาจจะไม่เข้าใกล้จำนวนจริง L เพียงค่าเดียว เมื่อ x → a ในกรณีนี้เราจะกล่าวว่า<br />

limf(x) หาค่าไม่ได้<br />

x→a


•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 43<br />

ในทำนองเดียวกัน ค่าของ f(x) อาจจะไม่เข้าใกล้จำนวนจริง L เพียงค่าเดียว เมื่อ x → a +<br />

หรือเมื่อ x → a − ในกรณีนี้กล่าวได้ว่า<br />

lim<br />

x→a +f(x)<br />

หาค่าไม่ได้<br />

หรือ<br />

lim<br />

x→a−f(x) หาค่าไม่ได้<br />

การที่ลิมิตสองด้านของฟังก์ชัน f(x) จะหาค่าได้ที่จุด a ค่าของ f(x) จะต้องเข้าใกล้จำนวนจริง<br />

L บางจำนวน เมื่อ x → a และค่าดังกล่าวจะต้องมีค่าเท่ากัน ไม่ว่า x มีค่าเข้าใกล้ a ทางซ้าย<br />

หรือทางขวา<br />

บทนิยาม 4.3 ลิมิตสองด้านของฟังก์ชัน f(x) จะหาค่าได้ที่จุด a ก็ต่อเมื่อ ลิมิตด้านเดียวทั้งสอง<br />

หาค่าได้ที่จุด a และมีค่าเท่ากัน นั่นคือ<br />

lim<br />

x→a<br />

f(x) = L ก็ต่อเมื่อ lim<br />

x→a−f(x) = L = lim<br />

x→a +f(x)<br />

ตัวอย่าง 4.3 จงอธิบายว่าทำไม<br />

lim<br />

x→0<br />

x<br />

|x|<br />

หาค่าไม่ได้<br />

วิธีทำ .........<br />

ลิมิตอนันต์<br />

บางครั้งลิมิตด้านเดียวหรือลิมิตสองด้านหาค่าไม่ได้ เพราะว่าค่าของฟังก์ชันเพิ่มขึ้นหรือลดลงโดยไม่มี<br />

ขีดจำกัด ตัวอย่างเช่น พิจารณาฟังก์ชัน f(x) = 1/x เมื่อ x เข้าใกล้ 0 จากกราฟและตาราง<br />

แสดงค่าของฟังก์ชันต่อไปนี้<br />

y<br />

y<br />

y = 1 x<br />

y = 1 x<br />

x<br />

1/x<br />

x<br />

1/x<br />

x<br />

x


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 44<br />

x 1/x x 1/x<br />

−1 −1 1 1<br />

−0.1 −10 0.1 10<br />

−0.01 −100 0.01 100<br />

−0.001 −1000 0.001 1000<br />

−0.0001 −10,000 0.0001 10,000<br />

จะเห็นได้ว่า เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ 0 ทางซ้าย f(x) = 1/x มีค่าเป็นลบ และลดลงโดยไม่มีขีดจำกัด<br />

และเมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ 0 ทางขวา f(x) = 1/x มีค่าเป็นบวก และเพิ่มขึ้นโดยไม่มีขีดจำกัด<br />

นั่นคือ<br />

1<br />

lim<br />

x→0 − x<br />

1<br />

= −∞ และ lim<br />

x→0 + x = +∞<br />

บทนิยาม 4.4 นิพจน์<br />

1<br />

lim<br />

x→a − x<br />

1<br />

= +∞ และ lim<br />

x→a + x = +∞<br />

หมายถึง f(x) มีค่าเพิ่มขึ้นโดยไม่มีขีดจำกัด เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ a ทางซ้ายและทางขวาตาม<br />

ลำดับ และถ้าสมการทั้งสองเป็นจริง แล้วจะเขียนแทนด้วย<br />

ในทำนองเดียวกัน นิพจน์<br />

1<br />

lim<br />

x→a − x<br />

1<br />

lim<br />

x→a x = +∞<br />

1<br />

= −∞ และ lim<br />

x→a + x = −∞<br />

หมายถึง f(x) มีค่าลดลงโดยไม่มีขีดจำกัด เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ a ทางซ้ายและทางขวาตามลำดับ<br />

และถ้าสมการทั้งสองเป็นจริง แล้วจะเขียนแทนด้วย<br />

1<br />

lim<br />

x→a x = −∞<br />

ตัวอย่าง 4.4 กำหนดให้ f เป็นฟังก์ชันที่มีกราฟดังรูป<br />

y<br />

3<br />

2<br />

1<br />

••<br />

1 2 3 4 5 6 7<br />

x<br />

จากกราฟจงหาค่าลิมิตต่อไปนี้


•<br />

•<br />

เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 45<br />

(a) lim<br />

x→0 −f(x)<br />

(c) lim<br />

x→3 −f(x)<br />

(e) lim<br />

x→5 −f(x)<br />

(b) lim<br />

x→0 +f(x)<br />

(d) lim<br />

x→3 +f(x)<br />

(f) lim<br />

x→5 +f(x)<br />

วิธีทำ .........<br />

1.<br />

แบบฝึกหัด 4.1<br />

y<br />

y = f(x)<br />

1<br />

x<br />

2.<br />

จากรูปที่กำหนดให้ จงหาค่าลิมิตต่อไปนี้ ถ้าลิมิตหาค่าไม่ได้ จงให้เหตุผลประกอบ<br />

(a) lim<br />

x→0 −f(x)<br />

(c) lim<br />

x→0<br />

f(x)<br />

(e) lim<br />

x→2 +f(x)<br />

(g) lim<br />

x→−3 f(x)<br />

4y<br />

3<br />

2<br />

1<br />

(b) lim<br />

x→0 +f(x)<br />

(d) lim<br />

x→2 −f(x)<br />

(f) lim f(x)<br />

x→2<br />

0<br />

-4 -3 -2 -1<br />

-1<br />

0 1 2 3 4 5<br />

-2<br />

-3<br />

-4<br />

y = f(x)<br />

x<br />

จากรูปที่กำหนดให้ จงหาค่าลิมิตต่อไปนี้ ถ้าลิมิตหาค่าได้ แต่ถ้าลิมิตหาค่าไม่ได้ จงให้เหตุผล<br />

ประกอบ<br />

(a) lim<br />

x→1<br />

f(x)<br />

(b) lim<br />

x→3 −f(x)<br />

(c) lim<br />

x→3 +f(x)<br />

(d) lim<br />

x→3<br />

f(x) (e) f(3) (f) lim<br />

x→−2 −f(x)<br />

(g) lim<br />

x→−2 +f(x)<br />

(h) lim f(x)<br />

x→−2<br />

(i) f(−2)


•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 46<br />

3.<br />

4<br />

3<br />

2<br />

1<br />

y<br />

y = f(x)<br />

0<br />

-4 -3 -2 -1 0 1 2 3 4<br />

-1<br />

x<br />

จากรูปที่กำหนดให้ จงหาค่าลิมิตต่อไปนี้ ถ้าลิมิตหาค่าได้ แต่ถ้าลิมิตหาค่าไม่ได้ จงให้เหตุผล<br />

ประกอบ<br />

(a) lim f(x) (b) f(−3) (c) f(−1)<br />

x→−3<br />

(d) lim f(x) (e) f(1) (f) lim<br />

x→−1 x→1 −f(x)<br />

(g) lim<br />

x→1 +f(x)<br />

(h) lim f(x)<br />

x→1<br />

4. จงใช้กราฟหรือตารางแสดงค่าของฟังก์ชัน เพื่อหาค่าลิมิตต่อไปนี้<br />

x−1<br />

(a) lim<br />

(b) lim<br />

x→1 x 3 −1<br />

x→−1<br />

(c) lim<br />

x→−1<br />

x 2 +x<br />

x 2 −x−2<br />

(e) lim<br />

x→0<br />

x 2 +x<br />

sinx<br />

(g) lim<br />

x→0<br />

tanx<br />

sinx<br />

x 2 −1<br />

x+1<br />

(1/ √ x)−(1/5)<br />

(d) lim<br />

x→25 x−25<br />

1−cosx<br />

(f) lim<br />

x→0 x 2<br />

5. จงหาค่าลิมิตต่อไปนี้<br />

4<br />

(a) lim<br />

x→6 + x−6<br />

1−2x<br />

(c) lim<br />

x→1 x 2 −1<br />

(e) lim<br />

x→2 −<br />

−x<br />

√<br />

4−x<br />

2<br />

x−1<br />

(g) lim<br />

x→−2 + x 2 (x+2)<br />

(b) lim<br />

x→2<br />

1<br />

(x−2) 8<br />

(d) lim<br />

x→2<br />

4−x<br />

(x−2) 2<br />

(f) lim<br />

x→−1 (x2 −2x−3) −2/3<br />

(h)<br />

lim<br />

x→(−π/2) −secx<br />

6. จงพิจารณาว่าข้อความต่อไปนี้เป็นจริงหรือเป็นเท็จ<br />

(a) ถ้า f(a) = L แล้ว lim<br />

x→a<br />

f(x) = L<br />

(b) ถ้า limf(x) หาค่าได้ แล้ว lim<br />

x→a −f(x)<br />

และ lim<br />

+f(x)<br />

หาค่าได้<br />

x→a<br />

x→a<br />

(c) ถ้า lim<br />

x→a−f(x) และ lim<br />

x→a +f(x)<br />

หาค่าได้ แล้ว limf(x) หาค่าได้<br />

x→a<br />

(d) ถ้า lim<br />

x→a +f(x)<br />

= +∞ แล้ว f(a) หาค่าไม่ได้<br />

7. จงเขียนกราฟของฟังก์ชัน f ที่มีสมบัติต่อไปนี้ (อาจมีหลายคำตอบ)


•<br />

เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 47<br />

(a) f(−1) = 2, f(0) = −1, f(1) = 3 และ lim<br />

x→1<br />

f(x) หาค่าไมได้<br />

(b) f(0) = 1,<br />

lim<br />

x→0−f(x) = 2 และ lim<br />

x→0 +f(x) = 3<br />

(c) f(3) = 3, f(−2) = 1, lim<br />

x→3 +f(x)<br />

= 4, lim<br />

lim f(x) = 2<br />

x→−2<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 4.1<br />

x→3 −f(x) = 2<br />

และ<br />

1. (a) −2 (b) 2 (c) หาค่าไม่ได้ (d) −1 (e) 3 (f) หาค่าไม่ได้<br />

(g) 2<br />

2. (a) 3 (b) 2 (c) −2 (d) หาค่าไม่ได้ (e) 1 (f) −1 (g) −1<br />

(h) −1<br />

(i) −3<br />

3. (a) 2 (b) 1 (c) 2 (d) 5 (e) 2 (f) 2 (g) 1<br />

2<br />

(h) หาค่าไม่ได้<br />

4. (a) 1 (b) −2 (c) 1 (d) −0.004 (e) 1 (f) 1 (g) 1<br />

3 3 2<br />

5. (a) +∞ (b) +∞ (c) −∞ (d) +∞ (e) −∞ (f) +∞<br />

(g) −∞<br />

(h) −∞<br />

6. (a) เป็นเเท็จ (b) เป็นจริง (c) เป็นเเท็จ (d) เป็นเเท็จ<br />

7. (a)<br />

y<br />

3<br />

1<br />

x<br />

(b)<br />

y<br />

3<br />

1<br />

x


•<br />

•<br />

เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 48<br />

(c)<br />

y<br />

3<br />

1<br />

x<br />

4.2 การคำนวณค่าลิมิต<br />

ขั้นตอนวิธีในการหาค่าลิมิตในที่นี้ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนดังนี้<br />

• เริ่มด้วยการหาค่าลิมิตของฟังก์ชันอย่างง่าย<br />

• จากนั้นใช้ทฤษฎีบทต่างๆ และลิมิตของฟังก์ชันอย่างง่าย หาค่าลิมิตของฟังก์ชันที่ซับซ้อน<br />

เราจะเริ่มด้วยการกล่าวถึงทฤษฎีบทพื้นฐานต่อไปนี้<br />

ทฤษฎีบท 4.1 กำหนดให้ a และ k เป็นจำนวนจริงใดๆ<br />

(a)lim<br />

x→a<br />

k = k<br />

(b)lim<br />

x→a<br />

x = a<br />

1<br />

(c) lim<br />

x→0 − x = −∞<br />

1<br />

(d) lim<br />

x→0 + x = +∞<br />

ตัวอย่าง 4.5<br />

lim 7 =<br />

x→−15<br />

lim 5 =<br />

x→π<br />

lim x =<br />

x→3<br />

lim x =<br />

x→−2<br />

ทฤษฎีบทต่อไปนี้เป็นเครื่องมือเบื้องต้นที่ใช้ในการหาค่าลิมิต<br />

ทฤษฎีบท 4.2 กำหนดให้ a และ c เป็นจำนวนจริงใดๆ และสมมุติให้<br />

lim<br />

x→a f(x) = L 1<br />

และ lim<br />

x→a<br />

g(x) = L 2<br />

แล้วจะได้ว่า<br />

(a) lim<br />

x→a<br />

[<br />

cf(x)<br />

]<br />

= clim<br />

x→a<br />

f(x) = cL 1<br />

(b) lim<br />

x→a<br />

[<br />

f(x)+g(x)<br />

]<br />

= lim<br />

x→a<br />

f(x)+ lim<br />

x→a<br />

g(x) = L 1 +L 2<br />

(c) lim<br />

x→a<br />

[<br />

f(x)−g(x)<br />

]<br />

= lim<br />

x→a<br />

f(x)− lim<br />

x→a<br />

g(x) = L 1 −L 2<br />

(d) lim<br />

x→a<br />

[<br />

f(x)·g(x)<br />

]<br />

= lim<br />

x→a<br />

f(x)· lim<br />

x→a<br />

g(x) = L 1 L 2


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 49<br />

f(x)<br />

limf(x)<br />

(e) lim<br />

x→a g(x) = x→a<br />

lim g(x) = L 1<br />

ถ้า L 2 ≠ 0<br />

L 2<br />

x→a<br />

(f) lim<br />

x→a<br />

n √ f(x) = n √<br />

lim<br />

x→a<br />

f(x) = n√ L 1 โดยที่ L 1 > 0 ถ้า n เป็นจำนวนคู่<br />

นอกจากนี้กฎแต่ละข้อข้างต้นเป็นจริงสำหรับลิมิตด้านเดียวเมื่อ x → a − หรือ x → a +<br />

ตัวอย่าง 4.6<br />

lim[f(x)+2g(x)−h(x)] = lim f(x)+2lim g(x)− lim h(x)<br />

x→a x→a x→a x→a<br />

( )( )( )<br />

lim [f(x)g(x)h(x)] = lim f(x) lim g(x) lim h(x)<br />

x→a x→a x→a x→a<br />

lim<br />

x→a [f(x)]3 =<br />

lim<br />

x→a [f(x)]n =<br />

lim<br />

x→a xn =<br />

( ) 3<br />

lim f(x)<br />

x→a<br />

( ) n<br />

lim f(x)<br />

x→a<br />

(<br />

lim<br />

x→a x ) n<br />

= a<br />

n<br />

✠<br />

ลิมิตของฟังก์ชันพหุนามและฟังก์ชันตรรกยะเมื่อ x → a<br />

ตัวอย่าง 4.7 จงหาค่า lim<br />

x→4<br />

(5x 2 +3x−2)<br />

วิธีทำ .........<br />

จากตัวอย่าง 4.7 จะสังเกตได้ว่า ลิมิตของฟังก์ชันพหุนาม p(x) = 5x 2 + 3x − 2 มีค่าเท่า<br />

กับ p(4) สิ่งที่เกิดขึ้นนี้มิใช่ความบังเอิญ ทฤษฎีบทต่อไปนี้จะกล่าวโดยทั่วไปว่า ลิมิตของฟังก์ชัน<br />

พหุนาม p(x) เมื่อ x → a มีค่าเท่ากับค่าของฟังก์ชันพหุนามที่ a<br />

ทฤษฎีบท 4.3 สำหรับฟังก์ชันพหุนาม<br />

p(x) = c 0 +c 1 x+···+c n x n<br />

และจำนวนจริง a ใดๆ<br />

lim p(x) = c 0 +c 1 a+···+c n a n = p(a)<br />

x→a<br />

ตัวอย่าง 4.8 จงหาค่า lim<br />

x→3<br />

(3x 2 −2x−21) 2013<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 4.9 จงหาค่า lim<br />

x→2<br />

x 3 +2x−5<br />

x 2 −3<br />

วิธีทำ .........<br />

วิธีการที่ใช้ในการหาค่าลิมิตในตัวอย่าง 4.9 ไม่สามารถใช้ได้กับฟังก์ชันตรรกยะ ในกรณีที่ลิมิต<br />

ของตัวส่วนมีค่าเป็นศูนย์ ซึ่งมีกรณีที่ต้องพิจารณา 2 กรณี ดังนี้


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 50<br />

◮ ลิมิตของตัวส่วนมีค่าเป็นศูนย์ แต่ลิมิตของตัวเศษไม่เท่ากับศูนย์<br />

◮ ลิมิตของตัวเศษและตัวส่วนมีค่าเป็นศูนย์<br />

กรณีที่ลิมิตของตัวส่วนมีค่าเป็นศูนย์ แต่ลิมิตของตัวเศษไม่เท่ากับศูนย์ เราสามารถแสดงได้ว่าลิมิ<br />

ตของฟังก์ชันตรรกยะหาค่าไม่ได้ โดยที่เกิดกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้<br />

• ลิมิตเป็น −∞ ทางด้านหนึ่ง และ +∞ อีกด้านหนึ่ง<br />

• ลิมิตเป็น +∞<br />

• ลิมิตเป็น −∞<br />

ตัวอย่าง 4.10<br />

3−x<br />

lim<br />

x→5 + (x−5)(x+3) =<br />

3−x<br />

lim<br />

x→5 − (x−5)(x+3) =<br />

3−x<br />

lim<br />

x→5 (x−5)(x+3) =<br />

สำหรับกรณีที่ฟังก์ชันตรรกยะ p(x)/q(x) มีลิมิตของตัวเศษและตัวส่วนเป็นศูนย์ นั่นคือ p(x) =<br />

0 และ q(x) = 0 ตัวเศษและตัวส่วนของฟังก์ชันตรรกยะจะมีตัวประกอบร่วมอย่างน้อย 1 ตัวประกอบ<br />

ในกรณีนี้ลิมิตของ p(x)/q(x) เมื่อ x → a สามารถหาค่าได้ โดยการตัดตัวประกอบร่วมออก และ<br />

หาค่าลิมิตของฟังก์ชันที่เหลือ<br />

ตัวอย่าง 4.11 จงหาค่าลิมิตต่อไปนี้<br />

x 2 −14x−51<br />

(a) lim<br />

x→−3 x 2 −4x−21<br />

x 2 −3x−10<br />

(c) lim<br />

x→5 x 2 −10x+25<br />

วิธีทำ .........<br />

(b) lim<br />

x→1<br />

x 4 +2x 2 −3<br />

x 2 +2x−3<br />

เศษส่วน f(x)/g(x) ที่ลิมิตของตัวเศษและตัวส่วนเท่ากับศูนย์เมื่อ x → a เรียกว่า รูปแบบ<br />

ยังไม่กำหนด 0/0 (indeterminate form of type 0/0) ลิมิตของฟังก์ชันในรูปแบบนี้<br />

บางครั้งสามารถหาค่าลิมิตได้ โดยใช้วิธีการเดียวกับตัวอย่าง 4.11(c) แต่บางครั้งวิธีการในตัวอย่าง 4.11(c)<br />

ไม่สามารถนำมาใช้ได้ ต้องอาศัยวิธีอื่น ซึ่งจะกล่าวต่อไปในหัวข้อ4.4<br />

ทฤษฎีบทต่อไป เป็นข้อสรุปของลิมิตของฟังก์ชันตรรกยะ<br />

ทฤษฎีบท 4.4 กำหนดให้<br />

f(x) = p(x)<br />

q(x)<br />

เป็นฟังก์ชันตรรกยะ และให้ a เป็นจำนวนจริงใดๆ<br />

1. ถ้า q(a) ≠ 0 แล้ว lim<br />

x→a<br />

f(x) = f(a)<br />

2. ถ้า q(a) = 0 แต่ p(a) ≠ 0 แล้ว lim<br />

x→a<br />

f(x) หาค่าไม่ได้


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 51<br />

ลิมิตที่เกี่ยวข้องกับราก<br />

x 2 −1<br />

ตัวอย่าง 4.12 จงหาค่า lim<br />

x→−1 1− √ 2+x<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 4.13 จงหาค่า lim<br />

x→2<br />

2− 3√ x+6<br />

x−2<br />

วิธีทำ .........<br />

ลิมิตของฟังก์ชันที่นิยามเป็นช่วง<br />

บางครั้งเราอาจพิจารณาฟังก์ชันที่มีนิพจน์ที่แตกต่างกันบนช่วงที่ต่างกัน ซึ่งฟังก์ชันในลักษณะนี้เรียก<br />

ว่า ฟังก์ชันที่นิยามเป็นช่วง (piecewise-defined functions) การหาลิมิตของฟังก์ชันที่<br />

นิยามเป็นช่วงนั้น จะใช้ลิมิตสองด้านในการหาลิมิตที่จุดแบ่งช่วง หรือจุดที่มีการเปลี่ยนนิพจน์<br />

ตัวอย่าง 4.14 กำหนดให้<br />

⎧<br />

⎪⎨<br />

f(x) =<br />

⎪⎩<br />

x 2 −5x+6<br />

|x−2|<br />

2x−1<br />

x+1<br />

ถ้า 0 ≤ x ≤ 2<br />

ถ้า x > 2<br />

จงหา (a) lim<br />

x→2<br />

f(x) และ (b) lim<br />

x→1<br />

f(x)<br />

วิธีทำ .........<br />

1. กำหนดให้<br />

แบบฝึกหัด 4.2<br />

limf(x) = −3, limg(x) = 0, และ lim h(x) = 8<br />

x→a x→a x→a<br />

จงหาค่าลิมิตต่อไปนี้ ถ้าลิมิตหาค่าได้ และถ้าลิมิตหาค่าไม่ได้ จงให้เหตุผลประกอบ<br />

[ ]<br />

[ ] 2<br />

(a) lim f(x)+h(x) (b) lim f(x)<br />

x→a x→a<br />

(c) lim<br />

√ 3<br />

1<br />

h(x) (d) lim<br />

x→a x→a f(x)<br />

(e) lim<br />

x→a<br />

f(x)<br />

h(x)<br />

(g) lim<br />

x→a<br />

f(x)<br />

g(x)<br />

g(x)<br />

(f) lim<br />

x→a f(x)<br />

(h) lim<br />

x→a<br />

2f(x)<br />

h(x)−f(x)


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 52<br />

2. จงหาค่าลิมิตต่อไปนี้<br />

(a) lim<br />

x→0<br />

(x 2 −3x+1)<br />

(c) lim<br />

x→2<br />

x−5<br />

x 2 +4<br />

(e) lim<br />

x→1<br />

√<br />

x2 +2x+4<br />

(g) lim<br />

x→−3<br />

x 2 −x−12<br />

x+3<br />

x 2 +x−2<br />

(i) lim<br />

x→1 x 2 −3x+2<br />

(1+h) 4 −1<br />

(k) lim<br />

h→0 h<br />

t−1<br />

(m) lim √<br />

t→1 t−1<br />

t 2 +t−6<br />

(o) lim<br />

t→2 t 2 −4<br />

x 4 −16<br />

(q) lim<br />

x→2 x−2<br />

(s) lim<br />

x→1<br />

[ 1<br />

x−1 − 2<br />

x 2 −1<br />

(3+h) −1 −3 −1<br />

(u) lim<br />

h→0 h<br />

√ x−x<br />

(w) lim<br />

x→1 1− √ x<br />

(y) lim<br />

x→0<br />

√ 3+x−<br />

√<br />

3<br />

x<br />

3. จงหาค่า lim<br />

x→2<br />

f(x) โดยที่ f(x) =<br />

4. จงหาค่า lim<br />

x→2<br />

f(x) โดยที่ f(x) =<br />

5. จงหาค่า lim<br />

x→0<br />

f(x) โดยที่ f(x) =<br />

]<br />

{<br />

{<br />

{<br />

(b) lim(x 3 +2)(x 2 −5x)<br />

x→3<br />

(d) lim<br />

x→1<br />

( x 4 +x 2 −6<br />

x 4 +2x+3<br />

(f) lim<br />

x→4 − √<br />

16−x<br />

2<br />

(h) lim<br />

x→−2<br />

x+2<br />

x 2 −x−6<br />

(j) lim<br />

x→1<br />

x 3 −1<br />

x 2 −1<br />

) 2<br />

(2+h) 3 −8<br />

(l) lim<br />

h→0 h<br />

9−t<br />

(n) lim<br />

t→9 3− √ t<br />

√ √<br />

2−t− 2<br />

(p) lim<br />

t→0 t<br />

x 2 −81<br />

(r) lim √<br />

x→9 x−3<br />

[<br />

1<br />

(t) lim<br />

t→0 t √ 1+t − 1 ]<br />

t<br />

x<br />

(v) lim<br />

− 1 2<br />

x−2<br />

x<br />

(x) lim √<br />

x→0 1+3x−1<br />

x→2<br />

1<br />

(z) lim<br />

x→0<br />

xe −2x+1<br />

x 2 +1<br />

3x 2 −2x+1 ถ้า x < 2<br />

x 3 +1 ถ้า x ≥ 2<br />

2x ถ้า x < 2<br />

x 2 ถ้า x ≥ 2<br />

x 2 +1 ถ้า<br />

x < −1<br />

3x+1 ถ้า x ≥ −1<br />

⎧<br />

⎪⎨ 2x+1 ถ้า x < −1<br />

6. จงหาค่า lim f(x) โดยที่ f(x) = 3 ถ้า −1 ≤ x < 1<br />

x→−1 ⎪ ⎩<br />

2x+1 ถ้า x ≥ 1<br />

7. จงหาค่าลิมิตต่อไปนี้


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 53<br />

(a) lim |x+4|<br />

x→−4<br />

(c) lim<br />

x→1.5<br />

2x 2 −3x<br />

|2x−3|<br />

|x+4|<br />

(b) lim<br />

x→−4 − ( x+4<br />

1<br />

(d) lim<br />

x→0 + x − 1 )<br />

|x|<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 4.2<br />

1. (a) 5 (b) 9 (c) 2 (d) − 1 3<br />

(e) − 3 8<br />

(f) 0 (g) −∞<br />

(h) − 6<br />

11<br />

2. (a) 1 (b) −174 (c) − 3 8<br />

(d) 4 9<br />

(e) √ 7 (f) 0 (g) −7<br />

(h) − 1 5<br />

(i) −3 (j) 3 2<br />

(k) 4 (l) 12 (m) 2 (n) 6 (o) 5 4<br />

(p) − √ 2<br />

4<br />

(q) 32 (r) 108 (s) 1 2<br />

(t) − 1 2<br />

(u) − 1 9<br />

(v) − 1 4<br />

(w) 1 (x) 2 3<br />

(y) 1<br />

2 √ 3<br />

3. 9 4. 4 5. 1 6. หาค่าไม่ได้<br />

(z) 0<br />

7. (a) 0 (b) −1 (c) หาค่าไม่ได้ (d) 0<br />

4.3 ลิมิตที่อนันต์<br />

นอกจากลิมิตของฟังก์ชันที่ได้กล่าวไปแล้วเรายังสนใจการหาค่าลิมิตของฟังก์ชันเมื่อ x มีค่าเพิ่มขึ้น<br />

หรือลดลงโดยไม่มีขีดจำกัด เช่นถ้า f(x) = 1/x แล้วจะได้ว่า 1/x → 0 เมื่อ x มีค่าเพิ่มขึ้นโดย<br />

ไม่มีขีดจำกัด (x → +∞) ในกรณีนี้เราเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์<br />

1<br />

lim<br />

x→+∞ x = 0<br />

ในทำนองเดียวกัน เราได้ว่า 1/x → 0 เมื่อ x มีค่าลดลงโดยไม่มีขีดจำกัด (x → −∞) ในกรณี<br />

นี้เราเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์<br />

1<br />

lim<br />

x→−∞ x = 0<br />

ทฤษฎีบทต่อไปกล่าวถึงลิมิตของฟังก์ชัน 1/x t สำหรับจำนวนตรรกยะ t > 0 เมื่อ x → ±∞<br />

ซึ่งจะมีลักษณะเดียวกับลิมิตของฟังก์ชัน f(x) = 1/x เมื่อ x → ±∞ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น<br />

ทฤษฎีบท 4.5 สำหรับจำนวนตรรกยะ t > 0 ใดๆ<br />

lim<br />

x→±∞<br />

(<br />

สำหรับกรณีที่ x → −∞ จะสมมุติให้ t =<br />

p<br />

q<br />

1<br />

x t = 0<br />

เมื่อ q เป็นจำนวนคี่)<br />

ทฤษฎีบทต่อไปกล่าวถึงการหาค่าลิมิตของฟังก์ชันพหุนามที่อนันต์ซึ่งสามารถหาได้โดยง่าย


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 54<br />

ทฤษฎีบท 4.6 กำหนดให้ p n (x) = a n x n +a n−1 x n−1 +···+a 1 x+a 0 เป็นฟังก์ชันพหุนามที่มี<br />

ระดับขั้นพหุนาม n > 0 แล้วจะได้ว่า<br />

lim p n(x) = lim a nx n =<br />

x→+∞ x→+∞<br />

{<br />

+∞ ถ้า a n > 0<br />

−∞ ถ้า a n < 0<br />

ตัวอย่าง 4.15 จงหาค่าลิมิตต่อไปนี้<br />

x 3 −x 2 +5x−3<br />

(a) lim<br />

x→+∞ 2x 4 −3x+5<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 4.16 จงหาค่า lim<br />

x→+∞<br />

√<br />

x4 −3x 2 +5<br />

2x 2 −x<br />

วิธีทำ .........<br />

(√<br />

ตัวอย่าง 4.17 จงหาค่า lim x2 +3x−x)<br />

x→+∞<br />

5x 3 −2x 2 +1<br />

(b) lim<br />

x→−∞ 1−3x<br />

วิธีทำ .........<br />

x 3 −5<br />

ตัวอย่าง 4.18 จงหาค่า lim √<br />

x→−∞ x6 −1−2x 3<br />

วิธีทำ .........<br />

1. กำหนดให้<br />

แบบฝึกหัด 4.3<br />

lim f(x) = 3, lim<br />

x→+∞<br />

g(x) = −5 และ lim<br />

x→+∞<br />

h(x) = 0<br />

x→+∞<br />

จงหาค่าลิมิตต่อไปนี้ ถ้าลิมิตหาค่าได้ และถ้าลิมิตหาค่าไม่ได้ จงให้เหตุผลประกอบ<br />

[ ]<br />

[ ]<br />

(a) lim f(x)+3g(x) (b) lim h(x)−4g(x)+1<br />

x→+∞<br />

x→+∞<br />

[ ]<br />

[ ] 2<br />

(c) lim f(x)g(x) (d) lim g(x)<br />

x→+∞<br />

x→+∞<br />

(e) lim<br />

x→+∞<br />

(g) lim<br />

x→+∞<br />

2. กำหนดให้<br />

√<br />

3<br />

5+f(x)<br />

3h(x)+4<br />

x 2<br />

lim f(x) = 7 และ lim<br />

x→−∞<br />

(f) lim<br />

x→+∞<br />

(h) lim<br />

x→+∞<br />

3<br />

g(x)<br />

6f(x)<br />

5f(x)+3g(x)<br />

g(x) = −6<br />

x→−∞<br />

จงหาค่าลิมิตต่อไปนี้ ถ้าลิมิตหาค่าได้ และถ้าลิมิตหาค่าไม่ได้ จงให้เหตุผลประกอบ<br />

[ ]<br />

[ ]<br />

(a) lim 2f(x)−g(x) (b) lim 6f(x)+7g(x)<br />

x→−∞<br />

x→−∞<br />

[<br />

(c) lim x 2 +g(x) ] [<br />

(d) lim x 2 g(x) ]<br />

x→−∞<br />

x→−∞


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 55<br />

(e) lim<br />

x→−∞<br />

(g) lim<br />

x→−∞<br />

√<br />

3<br />

f(x)g(x)<br />

[<br />

f(x)+ g(x) ]<br />

x<br />

3. จงหาค่าลิมิตต่อไปนี้<br />

x+4<br />

(a) lim<br />

x→+∞ x 2 −2x+5<br />

−x<br />

(c) lim √<br />

x→−∞ 4+x<br />

2<br />

x 3 −2x+4<br />

(e) lim<br />

x→+∞ 3x 2 +3x−5<br />

3x 3 −x+5<br />

(g) lim<br />

x→+∞ 4x 3 +4x 2 −1<br />

(√<br />

(i) lim x2 +3−x)<br />

x→+∞<br />

1− √ x<br />

(k) lim<br />

x→+∞ 1+ √ x<br />

(√<br />

(m) lim 9x2 +x−3x)<br />

x→+∞<br />

( √ )<br />

(o) lim x− x<br />

x→+∞<br />

(q) lim<br />

x→+∞<br />

x 7 −1<br />

x 6 +1<br />

(s) lim<br />

x→+∞ sin2x<br />

(u) lim<br />

x→+∞ ln(2x)<br />

g(x) (f) lim<br />

x→−∞ f(x)<br />

(h) lim<br />

x→−∞<br />

xf(x)<br />

(2x+3)g(x)<br />

(1−x)(2+x)<br />

(b) lim<br />

x→−∞ (1+2x)(2−3x)<br />

x 3 −2x+1<br />

(d) lim<br />

x→−∞ 3x 3 +4x−1<br />

x 2 −sinx<br />

(f) lim<br />

x→+∞ x 2 +4x−1<br />

x 4 −x 2 +1<br />

(h) lim<br />

x→+∞√x 5 +x 3 −x<br />

x2 +4x<br />

(j) lim<br />

x→+∞ 4x+1<br />

(√<br />

(l) lim x2 +1− √ x −1)<br />

2<br />

x→+∞<br />

√<br />

(n) lim x<br />

x→+∞<br />

(p) lim<br />

x→−∞ (x3 −5x 2 )<br />

(r) lim<br />

x→+∞ e2x<br />

(t) lim<br />

x→+∞ e−3x cos2x<br />

(v) lim<br />

x→0 +(xln2x)<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 4.3<br />

1. (a) −12 (b) 21 (c) −15 (d) 25 (e) 2 (f) − 3 5<br />

(g) 0<br />

(h) +∞<br />

2. (a) 20 (b) 0 (c) +∞ (d) −∞ (e) 3√ −42 (f) − 6 7<br />

(g) 7<br />

(h) −∞<br />

3. (a) 0 (b) 1 6<br />

(c) 1 (d) 1 3<br />

(e) ∞ (f) 1 (g) 3 4<br />

(h) 0<br />

(i) 0 (j) 1 4<br />

(k) −1 (l) 0 (m) 1 6<br />

(n) ∞ (o) ∞<br />

(p) −∞ (q) ∞ (r) ∞ (s) หาค่าไม่ได้ (t) 0 (u) ∞<br />

(v) 0


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 56<br />

4.4 ลิมิตของฟังก์ชันตรีโกณมิติ<br />

ในหัวข้อนี้ เราจะศึกษาวิธีการหาค่าลิมิตของฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชันตรีโกณมิติ โดยเริ่มด้วย<br />

การกล่าวถึงทฤษฎีบทต่อไปนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการหาค่าลิมิต<br />

ทฤษฎีบท 4.7 ถ้า a เป็นจำนวนใดๆที่อยู่ในโดเมนของฟังก์ชันตรีโกณมิติที่กำหนดให้ แล้ว<br />

limsinx = sina lim<br />

x→a<br />

limcscx = csca lim<br />

x→a<br />

ทฤษฎีบท 4.8<br />

cosx = cosa lim<br />

x→a<br />

secx = seca lim<br />

x→a<br />

ทฤษฎีบท 4.9 สำหรับจำนวนจริง k ≠ 0 ใดๆ<br />

ตัวอย่าง 4.19 จงหาค่า lim<br />

x→0<br />

1−cos2x<br />

x 2<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 4.20 จงหาค่า lim<br />

x→0 + 2x−sinx<br />

tan2x<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 4.21 จงหาค่า lim<br />

x→0<br />

2xcot 2 x<br />

cscx<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 4.22 จงหาค่า lim<br />

x→0<br />

1−cosx<br />

xsinx<br />

วิธีทำ .........<br />

sinx<br />

lim<br />

x→0 x = 1<br />

ksinx<br />

lim<br />

x→0 x<br />

tanx = tana<br />

x→a<br />

cotx = cota<br />

x→a<br />

= k<br />

แบบฝึกหัด 4.4<br />

จงหาค่าของลิมิตต่อไปนี้<br />

sin3x<br />

1. lim<br />

x→0 x<br />

3. lim<br />

x→0<br />

sin5x<br />

3x<br />

5. lim<br />

x→0<br />

tan7x<br />

sin3x<br />

7. lim<br />

θ→0<br />

cosθ −1<br />

sinθ<br />

2. lim<br />

x→0 + sin3x<br />

x 2<br />

4. lim<br />

t→0<br />

sin8t<br />

sin9t<br />

6. lim<br />

x→0 + sinx<br />

5 √ x<br />

8. lim<br />

x→0<br />

sin 2 x<br />

x


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 57<br />

tanx<br />

9. lim<br />

x→0 4x<br />

11. lim<br />

x→π/4<br />

sinx−cosx<br />

cos2x<br />

13. lim<br />

x→0<br />

x+sinx<br />

tanx<br />

t 2<br />

15. lim<br />

t→0<br />

1−cos 2 ) t<br />

17. lim<br />

x→0 +sin ( 1<br />

x<br />

10. lim<br />

x→0<br />

cot2x<br />

cscx<br />

12. lim<br />

x→0<br />

2xcot 2 x<br />

cscx<br />

14. lim<br />

x→0<br />

sin(cosx)<br />

secx<br />

θ 2<br />

16. lim<br />

x→θ 1−cosθ<br />

18. lim<br />

x→0<br />

2−cos3x−cos4x<br />

x<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 4.4<br />

1. 3 2. +∞ 3. 5 3<br />

4. 8 9<br />

5 7 3<br />

6. 0 7. 0 8. 0 9. 1 4<br />

10. 1 2<br />

11. − 1 √<br />

2<br />

12. 2 13. 2 14. sin1 15. 1 16. 2 17. หาค่าไม่ได้ 18. 0<br />

4.5 ความต่อเนื่อง<br />

สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เราเข้าใจความหมายที่แท้จริงของความต่อเนื่องของฟังก์ชันคือการพิจารณากราฟ<br />

ของฟังก์ชันที่ไม่ต่อเนื่อง (discontinuous) ที่จุด x = a ต่อไปนี้<br />

y<br />

y = f(x)<br />

y<br />

y = f(x)<br />

•<br />

y<br />

y = f(x)<br />

a<br />

x<br />

a<br />

x<br />

a<br />

x<br />

(a)<br />

(b)<br />

(c)<br />

จากกราฟเราสามารถสรุปแต่ละกราฟได้ดังนี้<br />

(a) ลิมิตของ f(x) หาค่าไม่ได้เมื่อ x เข้าใกล้ a<br />

(b) ค่าของฟังก์ชันและค่าลิมิตที่ a มีค่าไม่เท่ากัน<br />

(c) ฟังก์ชัน f ไม่นิยามที่ a<br />

กราฟของฟังก์ชันทั้งสามลักษณะข้างต้นนำไปสู่บทนิยามของความต่อเนื่องที่จุดใดๆของฟังก์ชัน ดังนี้<br />

บทนิยาม 4.5 ฟังก์ชัน f จะมีความ ต่อเนื่อง (continuous) ที่จุด x = a ถ้า<br />

1. f(a) หาค่าได้<br />

2. lim<br />

x→a<br />

f(x) หาค่าได้ และ


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 58<br />

3. lim<br />

x→a<br />

f(x) = f(a)<br />

ตัวอย่าง 4.23 จงพิจารณาว่าฟังก์ชันต่อไปนี้ต่อเนื่องที่จุด x = 2 หรือไม่<br />

⎧<br />

(a) f(x) = x2 −4<br />

⎨<br />

(b) g(x) =<br />

x−2<br />

⎩<br />

⎧<br />

⎨<br />

(c) h(x) =<br />

⎩<br />

วิธีทำ .........<br />

x 2 −4<br />

x−2 , x ≠ 2<br />

3 , x = 2<br />

ทฤษฎีบท 4.10 ถ้าฟังก์ชัน f และ g ต่อเนื่องที่ x = a แล้ว<br />

(a) f +g ต่อเนื่องที่ x = a<br />

(b) f −g ต่อเนื่องที่ x = a<br />

(c) f ·g ต่อเนื่องที่ x = a<br />

x 2 −4<br />

x−2 , x ≠ 2<br />

1 , x = 2<br />

(d) f g<br />

ต่อเนื่องที่ x = a ถ้า g(a) ≠ 0 และไม่ต่อเนื่องที่ x = a ถ้า g(a) = 0<br />

บทนิยาม 4.6 ถ้าฟังก์ชัน f ต่อเนื่องที่ทุกๆจุดบนช่วงเปิด (a,b) แล้วจะกล่าวว่า f ต่อเนื่อง<br />

บนช่วง (a,b) นอกจากนี้เราสามารถให้นิยามความต่อเนื่องบนช่วง (a,+∞), (−∞,b) และ<br />

(−∞,+∞) ในทำนองเดียวกัน และสำหรับกรณีที่ f ต่อเนื่องบนช่วง (−∞,+∞) เราจะกล่าวว่า<br />

f ต่อเนื่องที่ทุกจุด<br />

บทนิยาม 4.7 ฟังก์ชัน f จะต่อเนื่องที่ทุกๆจุดบนช่วงบนช่วงปิด [a,b] ถ้าเงื่อนไขต่อไปนี้เป็นจริง<br />

1. f ต่อเนื่องบนช่วงเปิด (a,b)<br />

2. f ต่อเนื่องทางขวาของ a: lim<br />

x→a +f(x)<br />

= f(a)<br />

3. f ต่อเนื่องทางซ้ายของ b: lim<br />

x→b−f(x) = f(b)<br />

ตัวอย่าง 4.24 จงแสดงว่าฟังก์ชันต่อไปนี้ต่อเนื่องบนช่วงที่กำหนดให้<br />

วิธีทำ .........<br />

f(x) = √ 16−x 2 , [−4,4]


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 59<br />

ฟังก์ชันต่อไปนี้ต่อเนื่องที่ทุกๆจุดบนโดเมนของฟังก์ชัน<br />

1. ฟังก์ชันพหุนาม (polynomial functions)<br />

2. ฟังก์ชันตรรกยะ (rational functions)<br />

3. ฟังก์ชันราก (root functions)<br />

4. ฟังก์ชันตรีโกณมิติ (trigonometric functions)<br />

5. ฟังก์ชันตรีโกณมิติผกผัน (inverse trigonometric functions)<br />

6. ฟังก์ชันเลขชี้กำลัง (exponential functions)<br />

7. ฟังก์ชันลอการิทึม (logarithmic functions)<br />

ตัวอย่าง 4.25 จงหาค่าของ x ที่ทำให้กราฟของฟังก์ชันต่อไปนี้ไม่ต่อเนื่อง<br />

วิธีทำ .........<br />

f(x) = x5 −2x 3 +5x<br />

x 2 −3x+2<br />

จากตัวอย่างที่ผ่านมาข้างต้น พบว่าฟังก์ชัน f ไม่ต่อเนื่องที่ x = a อาจมีสาเหตุมาจาก f(a)<br />

หาค่าไม่ได้ หรือ limf(x) หาค่าไม่ได้ หรือ f(a) ≠ limf(x) ภาวะไม่ต่อเนื่องของฟังก์ชัน f<br />

x→a x→a<br />

นี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ<br />

1. ภาวะไม่ต่อเนื่องที่ขจัดได้ (removable discontinuity) เป็นภาวะไม่ต่อเนื่องที่เกิดขึ้น<br />

เมื่อ f(a) ≠ lim<br />

x→a<br />

f(x) หรือ f(a) หาค่าไม่ได้ ซึ่งสามารถขจัดภาวะไม่ต่อเนื่องได้ โดยการ<br />

กำหนดค่า f(a) ใหม่ให้มีค่าเท่ากับ lim<br />

x→a<br />

f(x) และผลลัพธ์ที่ได้คือ f ต่อเนื่องที่ x = a<br />

2. ภาวะไม่ต่อเนื่องที่ขจัดไม่ได้ (non-removable discontinuity) เป็นภาวะไม่ต่อเนื่อง<br />

ที่เกิดขึ้นเมื่อ lim<br />

x→a<br />

f(x) หาค่าไม่ได้ ภาวะไม่ต่อเนื่องนี้ไม่สามารถขจัดได้ นั่นคือ f เป็น<br />

ฟังก์ชันไม่ต่อเนื่องที่ x = a<br />

ตัวอย่าง 4.26 จงพิจารณาว่าฟังก์ชันต่อไปนี้ต่อเนื่องที่จุดที่กำหนดให้หรือไม่ ถ้าไม่ต่อเนื่อง<br />

แล้วภาวะไม่ต่อเนื่องนี้สามารถขจัดได้หรือไม่ ถ้าได้ จะขจัดอย่างไร<br />

(a) f(x) = x2 −2x−8<br />

, x = −2<br />

x+2<br />

(b) f(x) = x3 +64<br />

x+4 , x = −4<br />

วิธีทำ .........


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 60<br />

ตัวอย่าง 4.27 กำหนดให้<br />

⎧<br />

⎪⎨<br />

f(x) =<br />

⎪⎩<br />

x 2 −2x−3<br />

|x−3|<br />

ถ้า −2 ≤ x < 3<br />

1−5x<br />

√ x+1<br />

ถ้า x ≥ 3<br />

จงพิจารณาว่าฟังก์ชัน f ต่อเนื่องที่จุด x = 3 หรือไม่ ถ้า f ไม่ต่อเนื่อง แล้วภาวะไม่ต่อเนื่อง<br />

นี้สามารถขจัดได้หรือไม่ ถ้าได้ จะขจัดอย่างไร<br />

วิธีทำ .........<br />

ทฤษฎีบท 4.11 ทฤษฎีบทค่าระหว่างกลาง (Intermediate Value Theorem) ถ้า f เป็น<br />

ฟังก์ชันต่อเนื่องบนช่วงปิด [a,b] และ N เป็นจำนวนจริงใดๆที่มีค่าอยู่ระหว่าง f(a) และ f(b)<br />

แล้วมีจำนวนจริง c ∈ [a,b] อย่างน้อยหนึ่งจำนวนที่ทำให้ f(c) = N<br />

ข้อสังเกต ค่า N ในทฤษฎีบทค่าระหว่างกลางนั้นมี 2 ลักษณะคือ f(a) < N < f(b) หรือ<br />

f(b) < N < f(a)<br />

ทฤษฎีบทค่าระหว่างกลางกล่าวว่า ถ้า f ต่อเนื่องบนช่วงปิด [a,b] แล้วค่าของ f ทุกค่าจะอยู่<br />

ระหว่าง f(a) และ f(b) ดังนั้นค่า x ของ f ที่สมนัยกับค่า N อาจจะเกิดขึ้นได้เพียงครั้งเดียว<br />

(<br />

ดังรูป (a)<br />

)<br />

หรือหลายครั้ง<br />

(<br />

ดังรูป (b)<br />

)<br />

ก็ได้<br />

f(b)<br />

y<br />

f(b)<br />

y<br />

N<br />

y = f(x)<br />

N<br />

f(a)<br />

a<br />

y = f(x)<br />

cb<br />

x<br />

f(a)<br />

ac 1 c 2 c 3 b<br />

x<br />

(a)<br />

(b)<br />

ทฤษฎีบท 4.12 ถ้า f เป็นฟังก์ชันต่อเนื่องบนช่วงปิด [a,b] และถ้า f(a) และ f(b) มีค่าไม่<br />

เท่ากับศูนย์ และมีเครื่องหมายตรงกันข้าม แล้วสมการ f(x) = 0 จะมีผลเฉลยอย่างน้อยหนึ่งผล<br />

เฉลยบนช่วง (a,b)<br />

หมายเหตุ ทฤษฎีบท 4.12 เป็นผลจากทฤษฎีบทค่าระหว่างกลางเมื่อ N = 0<br />

ตัวอย่าง 4.28 จงแสดงว่าผลเฉลยของสมการ 4x 3 −6x 2 +3x−2 = 0 มีค่าอยู่ระหว่าง 1 และ 2<br />

วิธีทำ .........


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 61<br />

แบบฝึกหัด 4.5<br />

1. จากกราฟของฟังก์ชันต่อไปนี้ จงหาจุดที่ทำให้ฟังก์ชันไม่ต่อเนื่อง<br />

(a)<br />

y<br />

x<br />

(b)<br />

y<br />

x<br />

(c)<br />

y<br />

x<br />

2. จงแสดงว่าฟังก์ชันต่อไปนี้ต่อเนื่องที่จุดที่กำหนดให้<br />

(a) f(x) = x 2 + √ 7−x, x = 4<br />

(b) g(x) = (x+2x 3 ) 4 , x = −1<br />

(c) h(x) = x+1<br />

2x 2 +1 , x = 4<br />

3. จงแสดงว่าฟังก์ชันต่อไปนี้ต่อเนื่องบนช่วงที่กำหนดให้<br />

(a) f(x) = 1<br />

x+1 , (−1,∞)<br />

(b) f(x) = x−1<br />

x 2 −4 , (−2,2)<br />

(c) g(t) = √ 9−4t 2 , [− 3 2 , 3 2 ]


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 62<br />

(d) h(z) = √ (z −1)(3−z), [1,3]<br />

4. จงอธิบายว่าทำไมฟังก์ชันต่อไปนี้ไม่ต่อเนื่องที่จุดที่กำหนดให้<br />

(a) f(x) = x<br />

x−1 ; x = 1 (b) f(x) = sin 1 x ; x = 0<br />

(c) f(x) = e 1/x ; x = 0 (d) f(x) = ln|x−2|; x = 2<br />

⎧<br />

⎨ 1<br />

(e) f(x) = x−1 ถ้า x ≠ 1 ; x = 1<br />

⎩<br />

2 ถ้า x = 1<br />

(f) f(x) = x2 −1<br />

x+1 ; x = −1<br />

⎧<br />

⎨ x 2 −2x−8<br />

ถ้า x ≠ 4<br />

(g) f(x) = x−4 ; x = 4<br />

⎩<br />

3 ถ้า x = 4<br />

{<br />

1−x ถ้า x ≤ 2<br />

(h) f(x) =<br />

x 2 −2x ถ้า x > 2 ; x = 2<br />

⎧<br />

⎪⎨ x 2 ถ้า x < 2<br />

(i) f(x) = 3 ถ้า x = 2 ; x = 2<br />

⎪⎩<br />

3x−2 ถ้า x > 2<br />

⎧<br />

⎪⎨ x 2 ถ้า x < 0<br />

(j) f(x) = −x ถ้า 0 ≤ x ≤ 1 ; x = 1<br />

⎪⎩<br />

x ถ้า x > 1<br />

5. จงพิจารณาว่าฟังก์ชันต่อไปนี้ต่อเนื่องบนช่วงใดบ้าง<br />

(a) f(x) = 2x+ 3√ x (b) f(x) = 1<br />

x+3<br />

(c) f(x) = 1<br />

x 2 +1<br />

(e) f(x) = x2 +4<br />

x−2<br />

(g) f(x) = 3<br />

x 2 −x<br />

(i) f(x) = sinx<br />

x 2<br />

(d) f(x) = x−5<br />

|x−5|<br />

√<br />

x+1<br />

(f) f(x) = 3 x−1<br />

(h) f(x) = x<br />

4−x 2<br />

6. จงพิจารณาว่าฟังก์ชันต่อไปนี้มีความต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่องที่จุดใดบ้าง ถ้า f ไม่ต่อเนื่องที่<br />

จุดใด แล้วภาวะไม่ต่อเนื่องนี้สามารถขจัดได้หรือไม่ ถ้าได้จะขจัดอย่างไร


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 63<br />

(a) f(x) = x−2<br />

x 2 −4<br />

(c) f(x) = x−17<br />

|x−17|<br />

√ x−1<br />

(e) f(x) =<br />

x−1<br />

{<br />

−x ถ้า x < 0<br />

(g) f(x) =<br />

x 2 ถ้า x ≥ 0<br />

(b) f(x) =<br />

1<br />

1−|x|<br />

(d) f(x) = 3−√ x<br />

9−x<br />

(f) f(x) = x4 +2x 2 −3<br />

x+1<br />

⎧<br />

⎨ 1+x 2 ถ้า x ≤ 0<br />

(h) f(x) = sinx<br />

⎩ ถ้า x > 0<br />

x<br />

7. จงหาค่าของ c ที่ทำให้ฟังก์ชัน f(x) ต่อเนื่องบนช่วง (−∞,∞)<br />

{<br />

{<br />

x+c ถ้า x < 0 c 2 −x 2 ถ้า x < 0<br />

(a) f(x) =<br />

(b) f(x) =<br />

4−x 2 ถ้า x ≥ 0 2(x−c) 2 ถ้า x ≥ 0<br />

{<br />

{<br />

cx+1 ถ้า x ≤ 3 x 2 −c 2 ถ้า x < 4<br />

(c) f(x) =<br />

(d) f(x) =<br />

cx 2 −1 ถ้า x > 3 cx+20 ถ้า x ≥ 4<br />

8. จงหาค่าของ a และ b ที่ทำให้ฟังก์ชันต่อไปนี้ต่อเนื่องที่ทุกๆจุด<br />

⎧<br />

⎪⎨ x+1 ถ้า x < 1<br />

f(x) = ax+b ถ้า 1 ≤ x < 2<br />

⎪⎩<br />

3x+1 ถ้า x ≥ 2<br />

9. จงหาค่าของ k และ m ที่ทำให้ฟังก์ชันต่อไปนี้ต่อเนื่องที่ทุกๆจุด<br />

⎧<br />

⎪⎨ x 2 +5 ถ้า x > 2<br />

f(x) = m(x+1)+k ถ้า −1 < x ≤ 2<br />

⎪⎩<br />

2x 3 +x+7 ถ้า x ≤ −1<br />

10. จงหาค่า k ≠ 0 ที่ทำให้ฟังก์ชัน<br />

⎧<br />

⎨ tankx<br />

ถ้า x < 0<br />

f(x) = x<br />

⎩<br />

3x+2k 2 ถ้า x ≥ 0<br />

ต่อเนื่องที่ x = 0<br />

11. จงใช้ทฤษฎีบทค่าระหว่างกลางแสดงว่า ฟังก์ชัน f(x) มีค่าเท่ากับศูนย์ในช่วงที่กำหนดให้<br />

(a) f(x) = x 2 −7; [2,3]<br />

(b) f(x) = x 3 −4x−2; [−1,0]<br />

(c) f(x) = cosx−x; [0,1]


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 64<br />

12. จงใช้ทฤษฎีบทค่าระหว่างกลางพิสูจน์ว่าสมการ x 3 +3x−2 = 0 มีผลเฉลยที่เป็นจำนวนจริงที่<br />

มีค่าอยู่ระหว่าง 0 และ 1<br />

13. จงใช้ทฤษฎีบทค่าระหว่างกลางพิสูจน์ว่าสมการ (cost)t 3 + 6sin 5 t − 3 = 0 มีผลเฉลยที่เป็น<br />

จำนวนจริงที่มีค่าอยู่ระหว่าง 0 และ 2π<br />

14. จงแสดงว่าสมการ x 5 +4x 3 −7x+14 = 0 มีผลเฉลยที่เป็นจำนวนจริงอย่างน้อยหนึ่งผลเฉลย<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 4.5<br />

1. (a) x = −2,2 (b) x = −2,1,4 (c) x = −2,2,4<br />

4. (a) f(1) หาค่าไม่ได้ (b) f(0) หาค่าไม่ได้ (c) f(0) หาค่าไม่ได้<br />

(d) f(2) หาค่าไม่ได้<br />

(g) lim<br />

x→4<br />

f(x) ≠ f(4)<br />

(j) lim<br />

x→1<br />

f(x) หาค่าไม่ได้<br />

(e) lim<br />

x→1<br />

f(x) หาค่าไม่ได้ (f) f(−1) หาค่าไม่ได้<br />

(h) lim<br />

x→2<br />

f(x) หาค่าไม่ได้<br />

(i) lim<br />

x→2<br />

f(x) ≠ f(2)<br />

5. (a) R (b) (−∞,−3)∪(−3,∞) (c) R (d) (−∞,5)∪(5,∞)<br />

(e) (−∞,2)∪(2,∞) (f) (−∞,1)∪(1,∞) (g) (−∞,0)∪(0,1)∪(1,∞)<br />

(h) (−∞,−2)∪(−2,2)∪(2,∞)<br />

(i) (−∞,0)∪(0,∞)<br />

7. (a) 4 (b) 0 (c) 1 3<br />

(d) −2 8. a = 5, b = −3 9. k = 4 m = 5 3<br />

10. k = 1 2


บทที่ 5<br />

อนุพันธ์<br />

เหตุการณ์ทางธรรมชาติหลายเหตุการณ์ เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณ เช่น ความเร็ว<br />

ของจรวด อัตราเงินเฟ้อ จำนวนของแบคที่เรียในการเพาะเชื้อ ความรุนแรงของแผ่นดินไหว หรือ<br />

ความต่างศักย์ของกระแสไฟฟ้า ในบทนี้เราจะเรียนรู้แนวคิดของ อนุพันธ์ ซึ่งเป็นเครื่องมือทาง<br />

คณิตศาสตร์สำหรับการศึกษาอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณใดปริมาณหนึ่งเทียบกับปริมาณอื่น การ<br />

ศึกษาอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณมีความใกล้เคียงกับแนวคิดของความชันของเส้นสัมผัสเส้นโค้ง<br />

ดังนั้นเราจะเริ่มหัวข้อแรกด้วยการกล่าวถึงบทนิยามทั่วไปของความชันของเส้นสัมผัส และศึกษาวิธีการ<br />

หาความชันและสมการของเส้นสัมผัสเส้นโค้ง<br />

5.1 ความชันของเส้นสัมผัสและอัตราการเปลี่ยนแปลง<br />

ความชันของเส้นสัมผัสโค้ง<br />

กำหนดให้เส้นโค้ง C เป็นกราฟของสมการ y = f(x) และให้ P ( x 0 ,f(x 0 ) ) เป็นจุดใดๆ บน<br />

เส้นโค้ง C จากรูปที่ 5.1 ถ้า Q ( x,f(x) ) เป็นจุดอีกจุดหนึ่งบนเส้นโค้ง C ที่ไม่ใช่จุด P แล้ว<br />

ความชันของเส้นตัด PQ คือ<br />

m PQ = f(x)−f(x 0)<br />

x−x 0<br />

ถ้าให้ x มีค่าเข้าใกล้ x 0 แล้วจุด Q จะเลื่อนเข้าหาจุด P ตามแนวของเส้นโค้ง C และจะได้<br />

ว่าความชัน m PQ ของเส้นตัด PQ มีค่าเข้าใกล้ความชัน m ของเส้นสัมผัสโค้งที่จุด P<br />

65


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 66<br />

y<br />

f(x)<br />

f(x 0 )<br />

P<br />

Q<br />

x 0<br />

x<br />

x<br />

รูปที่ 5.1: เส้นตัดและเส้นสัมผัสโค้ง<br />

บทนิยาม 5.1 เส้นสัมผัสโค้ง (tangent line) y = f(x) ที่จุด P ( x 0 ,f(x 0 ) ) คือ เส้นตรงที่<br />

ผ่านจุด P และมีสมการคือ<br />

เมื่อ m คือความชันของเส้นสัมผัสที่นิยามโดย<br />

เมื่อลิมิตหาค่าได้<br />

y −f(x 0 ) = m(x−x 0 )<br />

ตัวอย่าง 5.1 จงหาสมการของเส้นสัมผัสโค้ง y = x 2 ที่จุด P(1,1)<br />

วิธีทำ .........<br />

m = lim<br />

x→x0<br />

f(x)−f(x 0 )<br />

x−x 0<br />

(5.1)<br />

ถ้าหากให้ h = x−x 0 แล้วความชันของเส้นสัมผัสโค้ง (5.1) สามารถเขียนในรูปแบบที่ง่าย<br />

ต่อการนำไปใช้ดังนี้<br />

m = lim<br />

h→0<br />

f(x 0 +h)−f(x 0 )<br />

h<br />

ตัวอย่าง 5.2 จงหาสมการของเส้นสัมผัสโค้ง y = 2 x ที่จุด x = 2<br />

(5.2)<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 5.3 จงหาความชันของเส้นสัมผัสโค้ง f(x) = √ x ที่จุด (1,1),(4,2) และ (9,3)<br />

วิธีทำ .........<br />

ความเร็ว<br />

หัวข้อหนึ่งที่สำคัญในแคลคูลัสคือ การศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุ ในที่นี้เราจะพิจารณาการเคลื่อนที่<br />

ของวัตถุตามแนวเส้นตรง โดยมีสมการการเคลื่อนที่คือ s = f(t) เมื่อ s แทนระยะทางของ<br />

วัตถุจากจุดเริ่มต้น ณ เวลา t ใดๆ และฟังก์ชัน f ซึ่งแทนการเคลื่อนที่ของวัตถุเรียกว่าฟังก์ชัน


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 67<br />

ตำแหน่ง (position function) ความเร็วเฉลี่ย (average velocity) ของวัตถุในช่วง<br />

เวลา [t 0 ,t 0 +h] เมื่อ h > 0 คือ<br />

ความเร็วเฉลี่ย = ระยะทาง<br />

เวลา<br />

= f(t 0 +h)−f(t 0 )<br />

h<br />

(5.3)<br />

ถ้าหากหาความเร็วเฉลี่ยในช่วงเวลาสั้นๆ นั่นคือช่วง [t 0 ,t 0 + h] เมื่อ h → 0 แล้วเราสามารถให้<br />

นิยาม ความเร็ว (velocity) หรือ ความเร็วขณะใดขณะหนึ่ง (instantaneous velocity)<br />

v(t 0 ) ที่เวลา t = t 0 ดังนี้<br />

v(t 0 ) = lim<br />

h→0<br />

f(t 0 +h)−f(t 0 )<br />

h<br />

(5.4)<br />

ตัวอย่าง 5.4 กำหนดให้ลูกบอลตกจากตึกสูง โดยที่ระยะทางที่ลูกบอลตกลงมาสามารถเขียนในรูป<br />

ของสมการ<br />

s = f(t) = 64−16t 2 ฟุต<br />

เมื่อ t แทนเวลาหลังจากที่ลูกบอลตกลงมา และมีหน่วยเป็นวินาที จงหา<br />

(i) ความเร็วเฉลี่ยของลูกบอลระหว่างเวลา t = 1.5 ถึง t = 2<br />

(ii) ความเร็วเฉลี่ยของลูกบอลระหว่างเวลา t = 1.9 ถึง t = 2<br />

(iii) ความเร็วขณะใดขณะหนึ่งของลูกบอลที่เวลา t = 2<br />

วิธีทำ (i) ความเร็วเฉลี่ยของลูกบอลระหว่างเวลา t = 1.5 ถึง t = 2 คือ<br />

[<br />

f(2)−f(1.5)<br />

] 64−16(2)<br />

2<br />

− [ 64−16(1.5) 2]<br />

=<br />

= −56 ฟุตต่อวินาที<br />

2−1.5 0.5<br />

(ii) ความเร็วเฉลี่ยของลูกบอลระหว่างเวลา t = 1.9 ถึง t = 2 คือ<br />

[<br />

f(2)−f(1.9)<br />

] 64−16(2)<br />

2<br />

− [ 64−16(1.9) 2]<br />

=<br />

= −62.4 ฟุตต่อวินาที<br />

2−1.9 0.1<br />

(iii) จากสมการ (5.4) จะได้ความเร็วขณะใดขณะหนึ่งของลูกบอลที่เวลา t = 2 คือ<br />

v(2) = lim<br />

h→0<br />

f(2+h)−f(2)<br />

h<br />

= lim<br />

h→0<br />

[<br />

64−16(2+h)<br />

2 ] − [ 64−16(2) 2]<br />

h<br />

= lim<br />

h→0<br />

[<br />

64−16(4+4h+h 2 ) ] − [ 64−16(2) 2]<br />

h<br />

−64h−16h 2<br />

= lim<br />

h→0 h<br />

= lim<br />

h→0<br />

−16h(h+4)<br />

h<br />

= lim<br />

h→0<br />

[<br />

−16(h+4)<br />

]<br />

= −64 ฟุตต่อวินาที<br />


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 68<br />

อัตราการเปลี่ยนแปลง<br />

ความเร็วจัดเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งของวัตถุเทียบกับเวลา สำหรับการประยุกต์เรื่อง<br />

อื่นๆ อัตราการเปลี่ยนแปลงที่พบได้เช่น<br />

• นักจุลชีววิทยาต้องการทราบอัตราการเปลี่ยนแปลงจำนวนของแบคทีเรียในการเพาะเชื้อเทียบกับ<br />

เวลา<br />

• วิศวกรต้องการทราบอัตราการเปลี่ยนแปลงความยาวของแท่งโลหะเมื่ออุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลง<br />

• นักเศรษฐศาสตร์ต้องการทราบอัตราการเปลี่ยนแปลงต้นทุนในการผลิตเทียบกับคุณภาพของสินค้า<br />

• นักวิจัยทางการแพทย์ต้องการทราบอัตราการขยายตัวของหลอดเลือดใหญ่เทียบกับความเข้มข้น<br />

ของแอลกอฮอล์ในกระแสเลือด<br />

วัตถุประสงค์ต่อไปคือ การให้ความหมายของอัตราการเปลี่ยนแปลงของ y เทียบกับ x เมื่อ y<br />

เป็นฟังก์ชันของ x<br />

ในกรณีที่ y เป็นฟังก์ชันเชิงเส้นของ x นั่นคือ y = mx + b ความชัน m หมายถึงอัตรา<br />

การเปลี่ยนแปลงของ y เทียบกับ x<br />

กับ<br />

สำหรับกรณีที่ y = f(x) อัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยของ y เทียบกับ x บนช่วง [x 0 ,x 1 ] เท่า<br />

อัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ย = f(x 1)−f(x 0 )<br />

x 1 −x 0<br />

(5.5)<br />

และอัตราการเปลี่ยนแปลงขณะใดขณะหนึ่งของ y เทียบกับ x ที่ x 0 เท่ากับ<br />

อัตราการเปลี่ยนแปลงขณะใดขณะหนึ่ง = lim<br />

x 1 →x 0<br />

f(x 1 )−f(x 0 )<br />

x 1 −x 0<br />

(5.6)<br />

ถ้าให้ h = x 1 −x 0 แล้ว (5.5) และ (5.6) จะเขียนแทนด้วย<br />

อัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ย = f(x 0 +h)−f(x 0 )<br />

h<br />

(5.7)<br />

อัตราการเปลี่ยนแปลงขณะใดขณะหนึ่ง = lim<br />

h→0<br />

f(x 0 +h)−f(x 0 )<br />

x 0<br />

(5.8)<br />

ตัวอย่าง 5.5 ต้นทุนการผลิต (หน่วยเป็นดอลลาร์) ของสินค้าชนิดหนึ่งเป็นไปตามสมการC(x) =<br />

5000+10x+0.05x 2 เมื่อ x แทนปริมาณสินค้า (หน่วยเป็นชิ้น)<br />

(a) จงหาอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยของ C เทียบกับ x เมื่อปริมาณการผลิตมีการเปลี่ยนแปลง<br />

จาก x = 100 ถึง x = 105<br />

(b) จงหาอัตราการเปลี่ยนแปลงขณะใดขณะหนึ่งของ C เทียบกับ x เมื่อ x = 100


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 69<br />

วิธีทำ (a) จาก (5.5) จะได้ว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยของ C เทียบกับ x เท่ากับ<br />

C(105)−C(100)<br />

105−100<br />

= 6601.25−6500<br />

5<br />

= 101.25<br />

5<br />

= 20.25<br />

นั่นคือต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 20.25 ดอลลาร์ต่อการเพิ่มขึ้นของสินค้าหนึ่งชิ้น<br />

(b) จาก (5.6) จะได้ว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงขณะใดขณะหนึ่งของ C เทียบกับ x เมื่อ<br />

x = 100 คือ<br />

C(x 1 )−C(x 0 )<br />

lim<br />

x 1 →x 0 x 1 −x 0<br />

C(x 1 )−C(100)<br />

= lim<br />

x 1 →100 x 1 −100<br />

= lim<br />

x 1 →100<br />

= lim<br />

x 1 →100<br />

= lim<br />

x 1 →100<br />

(5000+10x 1 +0.05x 2 1)−6500<br />

x 1 −100<br />

0.05x 2 1 +10x 1 −1500<br />

x 1 −100<br />

0.05(x 1 −100)(x 1 +300)<br />

x 1 −100<br />

= lim<br />

x 1 →100 (0.05)(x 1 +300) = 20<br />

นั่นคือต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นด้วยอัตรา 20 ดอลลาร์ต่อชิ้น ✠<br />

1. กำหนดให้เส้นโค้งมีสมการ y = f(x)<br />

แบบฝึกหัด 5.1<br />

(a) จงเขียนนิพจน์ของความชันของเส้นตัดที่ผ่านจุด P ( 3,f(3) ) และ Q ( x,f(x) )<br />

(b) จงเขียนนิพจน์ของความชันของเส้นสัมผัสที่จุด P<br />

2. กำหนดให้วัตถุเคลื่อนที่โดยมีฟังก์ชันตำแหน่งคือ s = f(t)<br />

(a) จงเขียนนิพจน์ของความเร็วเฉลี่ยของวัตถุในช่วงเวลาจาก t = t 0 ถึง t = t 0 +h<br />

(b) จงเขียนนิพจน์ของความเร็วขณะใดขณะหนึ่งที่เวลา t = t 0<br />

3. จงหาสมการของเส้นสัมผัสโค้งที่จุดที่กำหนดให้<br />

(a) y = x 2 −2, (1,−1)<br />

(b) y = x 2 −3x, (−2,10)<br />

(c) y = 1−2x−3x 2 , (−2,−7) (c) y = 1 x 2, (−2, 1 4 )<br />

(e) y = 2<br />

x+1 , (1,1) (f) y = √ x+3, (−2,1)<br />

4. (a) กำหนดเส้นโค้ง y = 2<br />

x+3 จงหาความชันของเส้นสัมผัสโค้ง y ที่จุด x = x 0<br />

(b) จงหาความชันเส้นสัมผัสโค้ง y ที่จุด (i) x = −1, (ii) x = 0 และ (iii) x = 1<br />

5. (a) กำหนดเส้นโค้ง y = x 3 −4x+1 จงหาความชันของเส้นสัมผัส y ที่จุด x = x 0<br />

(b) จงหาสมการของเส้นสัมผัสเส้นโค้ง y ที่จุด (1,−2) และ (2,1)


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 70<br />

6. กำหนดให้ฟังก์ชันต่อไปนี้แทนตำแหน่งของวัตถุที่เวลา t ใดๆ<br />

(a) s = f(t) = 16t 2 +10 (b) s = f(t) = √ t 2 +8t<br />

i. จงหาความเร็วเฉลี่ยระหว่างเวลา t = 0 และ t = 2<br />

ii. จงหาความเร็วเฉลี่ยระหว่างเวลา t = 1 และ t = 2<br />

iii. จงหาความเร็วเฉลี่ยระหว่างเวลา t = 1.9 และ t = 2<br />

iv. จงหาความเร็วเฉลี่ยระหว่างเวลา t = 1.99 และ t = 2<br />

v. จงประมาณค่าความเร็วขณะใดขณะหนึ่งที่เวลา t = 2<br />

7. จงใช้ฟังก์ชันตำแหน่ง s = f(t) ต่อไปนี้ หาค่าความเร็วที่เวลา t = t 0<br />

(a) s = f(t) = −16t 2 +5, t 0 = 1 (b) s = f(t) = √ t+16, t 0 = 0<br />

8. เครื่องวัดอุณหภูมิได้มีการบันทึกอุณหภูมิ T (หน่วยเป็นองศาเซลเซียส) ทุกๆชั่วโมง ตั้งแต่<br />

เที่ยงคืนของวันๆหนึ่งในเมืองแห่งหนึ่ง ถ้า x แทนจำนวนชั่วโมงที่วัดอุณหภูมินับตั้งแต่เที่ยงคืน<br />

และตารางต่อไปนี้แสดงข้อมูลที่จดบันทึกได้<br />

จงหา<br />

x(h) T( ◦ C) x(h) T( ◦ C)<br />

0 6.5 13 16.0<br />

1 6.1 14 17.3<br />

2 5.6 15 18.2<br />

3 4.9 16 18.8<br />

4 4.2 17 17.6<br />

5 4.0 18 16.0<br />

6 4.0 19 14.1<br />

7 4.8 20 11.5<br />

8 6.1 21 10.2<br />

9 8.3 22 9.0<br />

10 10.0 23 7.9<br />

11 12.1 24 7.0<br />

12 14.3<br />

(a) อัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยของอุณหภูมิเทียบกับเวลา<br />

i. จากเที่ยงวันถึง 15.00 น.<br />

ii. จากเที่ยงวันถึง 14.00 น.<br />

iii. จากเที่ยงวันถึง 13.00 น.<br />

(b) ค่าประมาณของอัตราการเปลี่ยนแปลงขณะใดขณะหนึ่งของอุณหภูมิณเวลาเที่ยงวัน<br />

9. โยนลูกบอลขึ้นไปในอากาศด้วยความเร็ว 40 ฟุตต่อวินาที ความสูงของลูกบอล (หน่วยเป็น<br />

ฟุต) เมื่อเวลาผ่านไป t วินาที ถูกกำหนดโดยสมการ y = 40t − 16t 2 จงหาความเร็วเมื่อ<br />

t = 2 วินาที


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 71<br />

10. ถ้าระยะทาง (หน่วยเป็นเมตร) ที่วัตถุชนิดหนึ่งเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงถูกกำหนดโดยสมการ<br />

s = f(t) = 4t 3 + 6t + 2 เมื่อ t มีหน่วยเป็นวินาที จงหาความเร็วของวัตถุชนิดนี้ที่เวลา<br />

t = t 0 , t = 1, t = 2 และ t = 3 วินาที<br />

1. (a) f(x)−f(3)<br />

x−3<br />

2. (a) f(t 0 +h)−f(t 0 )<br />

h<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 5.1<br />

(b) lim<br />

x→3<br />

f(x)−f(3)<br />

x−3<br />

(b) lim<br />

h→0<br />

f(t 0 +h)−f(t 0 )<br />

h<br />

3. (a) y = 2x−3 (b) y = −7x−4 (c) y = 10x+13 (d) y = 1 4 x+ 3 4<br />

(e) y = − 1 2 x+ 3 2<br />

(f) y = 1 2 x+2<br />

4. (a) −2/(x 0 +3) 2 (b) (i) − 1 (ii) − 2 (iii) − 1 2 9 8<br />

5. (a) 3x 2 0 −4 (b) y = −x−1, y = 8x−15<br />

6. (a) (i) 32 (ii) 48 (iii) 62.4 (iv) 63.84 (v) 64<br />

(b) (i) 2.236 (ii) 1.472 (iii) 1.351 (iv) 1.343 (v) 1.342<br />

7. (a) −32 (b) 1 8<br />

8. (a) i. 1.3 องศาเซลเซียสต่อชั่วโมง ii. 1.5 องศาเซลเซียสต่อชั่วโมง<br />

iii. 1.7 องศาเซลเซียสต่อชั่วโมง (b) ≈ 1.9 องศาเซลเซียสต่อชั่วโมง<br />

9. −24 ฟุตต่อวินาที 10. 12t 2 0 +6, 18 เมตรต่อวินาที, 54 เมตรต่อวินาที, 114 เมตร<br />

ต่อวินาที<br />

5.2 อนุพันธ์ของฟังก์ชัน<br />

จากหัวข้อที่ผ่านมาเราได้ว่า<br />

f(x 0 +h)−f(x 0 )<br />

lim<br />

h→0 h<br />

หมายถึง ความชันของเส้นสัมผัสโค้ง y = f(x) ที่ x = x 0 หรืออัตราการเปลี่ยนแปลงขณะใดขณะ<br />

หนึ่งของ y เทียบกับ x ที่ x = x 0 และทำให้เห็นได้ว่าเราสามารถใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์<br />

เดียวกัน เพื่ออธิบายสิ่งที่แตกต่างกันได้ ในหัวข้อนี้จะกำหนดชื่อและสัญลักษณ์ของ<br />

เพื่อความสะดวกในการนำไปประยุกต์ใช้<br />

f(x 0 +h)−f(x 0 )<br />

lim<br />

h→0 h


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 72<br />

บทนิยาม 5.2 ฟังก์ชัน f ′ นิยามโดย<br />

f ′ (x) = lim<br />

h→0<br />

f(x+h)−f(x)<br />

h<br />

(5.9)<br />

เรียกว่า อนุพันธ์ของ f เทียบกับ x โดยที่โดเมนของ f ′ ประกอบด้วยค่า x ในโดเมนของ f<br />

ที่ทำให้ลิมิตหาค่าได้<br />

ตัวอย่าง 5.6 จงหาอนุพันธ์ของ f(x) = x 3 +7x พร้อมทั้งหาสมการของเส้นสัมผัสโค้ง y = f(x)<br />

ที่จุด x = 1<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 5.7 จงหา f ′ (x) ถ้า f(x) = √ x<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 5.8 ถ้า f(x) = 2x−3<br />

5−x จงหา f′ (x)<br />

วิธีทำ .........<br />

บทนิยาม 5.3 ฟังก์ชัน y = f(x) หาอนุพันธ์ได้ (differentiable) ที่ x 0 ถ้าลิมิต<br />

f ′ (x 0 ) = lim<br />

h→0<br />

f(x 0 +h)−f(x 0 )<br />

h<br />

(5.10)<br />

หาค่าได้ และถ้า f หาอนุพันธ์ได้ที่ทุกจุดบนช่วงเปิด (a,b) แล้วเรากล่าวว่า f หาอนุพันธ์ได้<br />

บนช่วงเปิด (a,b) และเราสามารถให้นิยามการหาอนุพันธ์ได้บนช่วง (a,+∞), (−∞,a) และ<br />

(−∞,+∞) ในทำนองเดียวกัน สำหรับกรณีที่ f หาอนุพันธ์ได้บนช่วง (−∞,+∞) เราจะกล่าว<br />

ว่า f หาอนุพันธ์ได้ที่ทุกจุด<br />

ตัวอย่าง 5.9 จงแสดงว่า f(x) = |x| หาอนุพันธ์ไม่ได้ที่ x = 0<br />

วิธีทำ จากสมการ (5.10) โดยมี x 0 = 0 จะได้<br />

แต่<br />

f ′ f(0+h)−f(0) f(h)−f(0)<br />

(0) = lim = lim<br />

h→0 h h→0 h<br />

|h|−|0| |h|<br />

= lim = lim<br />

h→0 h h→0 h<br />

|h|<br />

h = {<br />

1 ถ้า h > 0<br />

−1, ถ้า h < 0<br />

ดังนั้น<br />

|h|<br />

lim<br />

h→0 − h<br />

|h|<br />

= −1 และ lim<br />

h→0 + h = 1<br />

เนื่องจากลิมิตด้านเดียวมีค่าไม่เท่ากัน ดังนั้น lim หาค่าไม่ได้ เพราะฉะนั้น f หาอนุพันธ์ไม่<br />

h<br />

ได้ที่ x = 0 ✠<br />

h→0<br />

|h|


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 73<br />

ทฤษฎีบท 5.1 ถ้าฟังก์ชัน f หาอนุพันธ์ได้ที่ x 0 แล้ว f ต่อเนื่องที่ x 0<br />

ตัวอย่าง 5.10 จงพิจารณาว่า<br />

f(x) =<br />

{<br />

4 ถ้า x < 2<br />

2x ถ้า x ≥ 2<br />

เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ที่จุด x = 2 หรือไม่<br />

วิธีทำ .........<br />

สัญลักษณ์อื่นของอนุพันธ์<br />

ถ้า y = f(x) นั่นคือ x เป็นตัวแปรอิสระ และ y เป็นตัวแปรตาม แล้วสัญลักษณ์ต่อไปนี้แทน<br />

อนุพันธ์ของฟังก์ชัน f<br />

f ′ (x) = y ′ = dy<br />

dx = df<br />

dx = d<br />

dx f(x) = Df(x) = D xf(x)<br />

และสำหรับอนุพันธ์ของฟังก์ชัน y = f(x) ที่จุด x 0 เราเขียนแทนด้วย<br />

f ′ (x 0 ) = dy<br />

dx∣ = d ∣<br />

x=x0<br />

dx f(x) ∣∣∣x=x0<br />

แบบฝึกหัด 5.2<br />

1. ถ้า f(x) = 3x 2 −5x แล้วจงหาค่าของ f ′ (2) และหาสมการของเส้นสัมผัสกราฟพาราโบลา<br />

y = 3x 2 −5x ที่จุด (2,2)<br />

2. ถ้า g(x) = x 3 − 5x + 1 แล้วจงหาค่าของ g ′ (1) และหาสมการของเส้นสัมผัสโค้ง y =<br />

x 3 −5x+1 ที่จุด (1,−3)<br />

3. จงใช้บทนิยาม 5.2 หาอนุพันธ์ของฟังก์ชัน f(x)<br />

(a) f(x) = 3x 2 +1 (b) f(x) = 3<br />

x+1<br />

(c) f(x) = √ 3x+1<br />

(d) f(x) = x 3 +2x−1<br />

4. จงหา f ′ (x 0 ) ของฟังก์ชันต่อไปนี้ โดยใช้บทนิยาม 5.3<br />

(a) f(x) = 3x+1, x 0 = 1 (b) f(x) = √ 3x+1, x 0 = 1<br />

(c) f(x) = x 2 +2x, x 0 = 0 (d) f(x) = x 3 +4, x 0 = −1<br />

(e) f(x) = x<br />

2x−1 , x 2<br />

0 = 1 (f) f(x) = √ , x 0 = −1 3−x<br />

5. จงพิจารณาหาค่าของ f ′ (0) (ถ้าหาค่าได้) เมื่อกำหนด f(x) ดังต่อไปนี้<br />

{<br />

2x+1 ถ้า x < 0<br />

(a) f(x) =<br />

3x+1 ถ้า x ≥ 0


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 74<br />

⎧<br />

⎨<br />

xsin 1 (b) f(x) = x ถ้า x ≠ 0<br />

⎩ 0 ถ้า x = 0<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 5.2<br />

1. 7, y = 7x−12 2. −2, y = −2x−1<br />

3. (a) 6x (b)<br />

−3<br />

(x+1) 2<br />

(c)<br />

3<br />

2 √ 3x+1<br />

(d) 3x 2 +2<br />

4. (a) 3 (b) 3 4<br />

(c) 2 (d) 3 (e) −1 (f) 1 8<br />

5. (a) หาค่าไม่ได้ (b) หาค่าไม่ได้<br />

5.3 กฎอนุพันธ์ทั่วไป<br />

จากหัวข้อที่ผ่านมา เราได้นิยามอนุพันธ์ของฟังก์ชันในรูปของลิมิต ในหัวข้อนี้เราจะศึกษาทฤษฎีบท<br />

ต่างๆที่ช่วยในการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชัน<br />

ทฤษฎีบท 5.2 อนุพันธ์ของฟังก์ชันค่าคงตัวเท่ากับ 0 นั่นคือถ้า c เป็นจำนวนจริงใดๆ แล้ว<br />

d<br />

dx [c] = 0<br />

ตัวอย่าง 5.11<br />

d d<br />

[1] = 0,<br />

dx<br />

d<br />

[−5] = 0,<br />

dx<br />

d<br />

[π] = 0,<br />

dx<br />

ทฤษฎีบท 5.3 (กฎกำลัง) ถ้า n เป็นจำนวนจริงใดๆ แล้ว<br />

ตัวอย่าง 5.12<br />

d [ ] x<br />

2013<br />

= .........<br />

dx<br />

d<br />

dx [xπ ] = .........<br />

d<br />

[ ]<br />

3√<br />

x<br />

7<br />

= .........<br />

dx [ ]<br />

d 1<br />

= .........<br />

dx x −3/4<br />

d<br />

dx [xn ] = nx n−1<br />

dx [ln2] = 0<br />

✠<br />

ทฤษฎีบท 5.4 (กฎการคูณด้วยค่าคงตัว) ถ้า f เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ที่ x และ c เป็น<br />

จำนวนจริงใดๆ แล้ว cf เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ที่ x และ<br />

d [ ] d cf(x) = c<br />

dx dx f(x)


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 75<br />

ตัวอย่าง 5.13<br />

d [ ] 2x<br />

56<br />

= .........<br />

dx<br />

d [ √ −5<br />

3<br />

x ] = .........<br />

dx<br />

d<br />

[ π<br />

= .........<br />

dx x]<br />

ทฤษฎีบท 5.5 (กฎผลบวกและกฎผลต่าง) ถ้า f และ g เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ที่ x แล้ว<br />

f +g และ f −g เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ที่ x และ<br />

ตัวอย่าง 5.14 จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันต่อไปนี้<br />

(a) f(x) = x 12 +5x −2 −πx −10<br />

วิธีทำ .........<br />

d [ ] d f(x)+g(x) =<br />

dx dx f(x)+ d<br />

dx g(x)<br />

d [ ] d f(x)−g(x) =<br />

dx dx f(x)− d<br />

dx g(x)<br />

(b) f(x) = 5x5/2 +3x 3/2 −2 √ x+6x<br />

x<br />

ตัวอย่าง 5.15 จงหาจุดบนเส้นโค้ง y = x 4 −6x 2 +4 ที่มีเส้นสัมผัสในแนวนอน<br />

วิธีทำ .........<br />

ทฤษฎีบท 5.6 (กฎผลคูณ) ถ้า f และ g เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ที่ x แล้ว f · g เป็น<br />

ฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ที่ x และ<br />

d d<br />

[f(x)g(x)] = f(x)<br />

dx dx [g(x)]+g(x) d<br />

dx [f(x)]<br />

ตัวอย่าง 5.16 จงหา f ′ (x) ถ้า f(x) = x −7/8 (x 3 −2x+1)<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 5.17 จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชัน f(x) = (3x 4 −4x)<br />

(<br />

x 2 − √ x+ 3 )<br />

x<br />

วิธีทำ .........<br />

ทฤษฎีบท 5.7 (กฎผลหาร) ถ้า f และ g เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ที่ x และ g(x) ≠ 0<br />

แล้ว f/g เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ที่ x<br />

d<br />

dx<br />

[ ] f(x)<br />

=<br />

g(x)<br />

g(x) d<br />

dx [f(x)]−f(x) d<br />

dx [g(x)]<br />

[ ] 2<br />

g(x)


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 76<br />

ตัวอย่าง 5.18 จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันต่อไปนี้<br />

(a) f(x) = x2 +x+1<br />

(b) f(x) = 5x2 +2x−6<br />

x 3 +4<br />

3x−1<br />

วิธีทำ .........<br />

แบบฝึกหัด 5.3<br />

1. จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันต่อไปนี้<br />

(a) f(x) = x 3 −2x+1<br />

(b) f(x) = 3x 2 −4<br />

(c) f(x) = 4<br />

(d) f(x) = 3x 3 −2 √ x<br />

(e) f(x) = 3 −8x+1<br />

x<br />

10<br />

(f) f(x) = √ −2x x<br />

(g) f(x) = 2x 3/2 −3x −1/3 (h) f(x) = 2 3√ x+3<br />

(i) f(x) = x(3x 2 − √ x) (j) f(x) = 3x2 −3x+1<br />

2x<br />

(k) f(x) = x+ 5√ x 2 (l) f(x) = x √ x+ 1<br />

x 2√ x<br />

2. จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันต่อไปนี้<br />

(a) f(x) = (x 2 +3)(x 3 −3x+1)<br />

(b) f(x) = (3x+4)(x 3 −2x 2 +x)<br />

(c) f(x) = ( √ (<br />

x+3x) 5x 2 − 3 )<br />

x<br />

(d) f(x) = 3x−2<br />

5x+1<br />

(f) f(x) = 3x−6√ x<br />

5x 2 −2<br />

(h) f(x) = x2 +3x−2<br />

√ x<br />

( ) x 3<br />

(j) f(x) = (x 2 +3x 2<br />

+1)<br />

x 2 +2<br />

(e) f(x) = x−2<br />

x 2 +x+1<br />

(g) f(x) = (x+1)(x−2)<br />

x 2 −5x+1<br />

(i) f(x) = x( 3√ x+3)<br />

(k) f(x) = x<br />

x+ c x<br />

3. จงหาสมการของเส้นสัมผัสโค้งที่จุดที่กำหนดให้<br />

(a) y = x+ 4 x , (2,4) (b) y = x+√ x, (1,2)<br />

(c) y = 2x<br />

1<br />

, (1,1) (d) y =<br />

x+1 1+x , ( )<br />

−1, 1 2 2<br />

4. จงหาจุดบนเส้นโค้ง y = x 3 −x 2 −x+1 ที่มีเส้นสัมผัสในแนวนอน<br />

5. จงแสดงว่าเส้นโค้ง y = 6x 3 +5x−3 ไม่มีเส้นสัมผัสที่มีความชันเท่ากับ 4


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 77<br />

6. กำหนดให้<br />

f(x) =<br />

{<br />

2−x ถ้า x ≤ 1<br />

x 2 −2x+2 ถ้า x > 1<br />

จงพิจารณาว่าฟังก์ชัน f หาอนุพันธ์ได้ที่ x = 1 หรือไม่<br />

7. จงหาค่าของ x ที่ทำให้ฟังก์ชัน f(x) = |x 2 −9| หาอนุพันธ์ได้<br />

8. จงหาค่าของ a และ b ที่ทำให้เส้นตรง 2x + y = b สัมผัสกับเส้นโค้ง y = ax 2 เมื่อ<br />

x = 2<br />

9. จงหาฟังก์ชัน y = ax 3 + bx 2 + cx + d ที่กราฟของฟังก์ชันมีเส้นสัมผัสในแนวนอนที่จุด<br />

(−2,6) และ (2,0)<br />

10. จงหากฎผลคูณสำหรับผลคูณของสามฟังก์ชัน f(x)g(x)h(x)<br />

11. จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันต่อไปนี้ โดยใช้กฎผลคูณที่หาได้จากข้อ 3.<br />

(a) f(x) = x 2/3 (x 2 −2)(x 3 −x+1)<br />

(b) f(x) = (x+1)(x 3 +4x)(x 5 −3x 2 +1)<br />

12. ถ้า f และ g เป็นฟังก์ชันที่มีกราฟดังรูป และให้ u(x) = f(x)g(x) และ v(x) = f(x)/g(x)<br />

แล้ว<br />

(a) จงหา u ′ (1) (b) จงหา v ′ (1)<br />

y<br />

1<br />

f<br />

g<br />

1<br />

x<br />

13. กำหนดให้ f(5) = 1, f ′ (5) = 6, g(5) = −3 และ g ′ (5) = 2 จงหาค่า<br />

(a) (fg) ′ (5) (b) (f/g) ′ (5) (c) (g/f) ′ (5)<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 5.3<br />

1. (a) 3x 2 −2 (b) 6x (c) 0 (d) 9x 2 − 1 √ x<br />

(e) − 3<br />

x 2 −8<br />

(f) −5x −3/2 −2 (g) 3x 1/2 +x −4/3 (h) 2 3 x−2/3 (i) 9x 2 − 3 2 x1/2<br />

(j) 3 2 − 1 2 x−2 (k) 1+2/(5 5√ x 3 ) (l) 3 2√ x−5/(2x<br />

3 √ x)


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 78<br />

2. (a) 2x(x 3 −3x+1)+(x 2 +3)(3x 2 −3)<br />

(b) 3(x 3 −2x 2 +x)+(3x+4)(3x 2 −4x+1)<br />

( 1<br />

(c) +3)(<br />

2 x−1/2 5x 2 − 3 )<br />

+( √ x+3x)(10x+3x −2 ) (d)<br />

x<br />

(e) −x2 +4x+3<br />

(f) (3−3x−1/2 )(5x 2 −2)−(3x−6 √ x)(10x)<br />

(x 2 +x+1) 2 (5x−2) 2<br />

13<br />

(5x+1) 2<br />

(g) −4x2 +6x−11<br />

(x 2 −5x+1) 2 (h) 3 2 x1/2 + 3 2 x−1/2 +x −3/2 (i) 4 3 x1/3 +3<br />

(j) 2x x3 +3x 2<br />

x 2 +2 +(x2 −1) (3x2 +6x)(x 2 +2)−(x 3 +3x 2 )(2x)<br />

(x 2 +2) 2 (k)<br />

3. (a) y = 4 (b) y = 3 2 x+ 1 2<br />

(c) y = 1 2 x+ 1 2<br />

(d) y = 1 2 x+1<br />

2cx<br />

(x 2 +c) 2<br />

4. (1,0),(− 1 3 , 32<br />

27 ) 6. ไม่ 7. หาอนุพันธ์ไม่ได้ที่ x = −3 และ 3 8. a = −1 2 ,b = 2<br />

9. y = 3 16 x3 − 9 4 x+3<br />

10. f ′ (x)g(x)h(x)+f(x)g ′ (x)h(x)+f(x)g(x)h ′ (x)<br />

11. (a) 2 3 x−1/3 (x 2 −2)(x 3 −x+1)+2x 4/3 (x 3 −x+1)+x 2/3 (x 2 −2)(3x 2 −1)<br />

(b) (x 3 +4x)(x 5 −3x 2 +1)+(x+1)(3x 2 +4)(x 5 −3x 2 +1)<br />

+(x+1)(x 3 +4x)(5x 4 −6x)<br />

12. (a) 0 (b) − 2 3<br />

13. (a) 16 (b) − 20 9<br />

(c) 20<br />

5.4 กฎลูกโซ่<br />

หากต้องการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชัน h(x) = √ x 2 +1 จะพบว่ากฎการหาอนุพันธ์ที่ได้กล่าวไปแล้ว<br />

ข้างต้น ไม่สามารถนำมาใช้หา h ′ (x) ได้ แต่จะสังเกตได้ว่า h เป็นฟังก์ชันประกอบ นั่นคือถ้า<br />

ให้ f(u) = √ u และ g(x) = x 2 + 1 แล้ว h(x) = f(g(x)) = (f ◦ g)(x) และอนุพันธ์ของ<br />

ฟังก์ชัน f และ g สามารถหาได้โดยง่าย ดังนั้นเป็นการดีที่จะมีกฎการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชัน<br />

ประกอบ h = f◦g ในรูปอนุพันธ์ของ f และ g ซึ่งพบว่าอนุพันธ์ของฟังก์ชันประกอบ f◦g คือ<br />

ผลคูณของอนุพันธ์ของ f และ g และเราเรียกกฎการหาอนุพันธ์นี้ว่า กฎลูกโซ่ (The Chain<br />

Rule)<br />

ทฤษฎีบท 5.8 (กฎลูกโซ่) ถ้า g เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ที่ x และ f เป็นฟังก์ชันที่หา<br />

อนุพันธ์ได้ที่ g(x) แล้วฟังก์ชันประกอบ f ◦g เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ที่ x และ<br />

d [ ( )] (<br />

f g(x) = f<br />

′<br />

g(x) ) g ′ (x)<br />

dx<br />

ถ้า y = f(u) และ u = g(x) แล้ว y = f ( g(x) ) และ<br />

dy<br />

dx = dy<br />

du · du<br />

dx


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 79<br />

ตัวอย่าง 5.19 จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันต่อไปนี้<br />

(a) y = (x 5 −4x 3 +πx) 101 (b) g(x) =<br />

วิธีทำ .........<br />

1<br />

3√<br />

x2 +5<br />

(c) h(x) =<br />

( ) 9 x−2<br />

2x+1<br />

แบบฝึกหัด 5.4<br />

1. จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันต่อไปนี้<br />

(a) f(x) = (x 3 +4x) 7 (b) f(x) = (x 3 +x−1) 3<br />

(c) f(x) = √ x 2 −7x (d) f(x) = √ x 2 +4<br />

(<br />

(e) f(x) = x−<br />

x) 1 3/2<br />

(f) f(x) = (2x−5) 4 (8x 2 −5) −3<br />

(g) f(x) = (3x−2) 10 (5x 2 −x+1) 12 4<br />

(h) f(x) =<br />

( )<br />

(3x 2 −2x+1) 3<br />

3<br />

x−6<br />

1<br />

(i) f(x) =<br />

(j) f(x) =<br />

x+7<br />

5√ 2x−1<br />

2. จงหาสมการของเส้นสัมผัสโค้ง y = f(x) ที่จุด x = a<br />

(a) y = √ x 2 +16, a = 3 (b) y =<br />

8<br />

√ 4+3x<br />

, a = 4<br />

3. ถ้า f และ g เป็นฟังก์ชันที่มีกราฟดังรูป และให้ u(x) = f ( g(x) ) , v(x) = g ( f(x) ) และ<br />

w(x) = g ( g(x) ) แล้วจงหาค่าของอนุพันธ์ต่อไปนี้ ถ้าหาค่าได้ แต่ถ้าอนุพันธ์หาค่าไม่ได้ จง<br />

ให้เหตุผลประกอบ<br />

(a) u ′ (1) (b) v ′ (1) (c) w ′ (1)<br />

y<br />

f<br />

1<br />

g<br />

1<br />

x<br />

4. กำหนดให้ F(x) = f ( g(x) ) และ g(3) = 6, g ′ (3) = 4, f ′ (3) = 2 และ f ′ (6) = 7 จง<br />

หา F ′ (3)<br />

5. ตารางต่อไปนี้แสดงค่าของ f, g, f ′ และ g ′<br />

x f(x) g(x) f ′ (x) g ′ (x)<br />

1 3 2 4 6<br />

2 1 8 5 7<br />

3 7 2 7 9


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 80<br />

(a) ถ้า h(x) = f ( g(x) ) แล้วจงหาค่าของ h ′ (1)<br />

(b) ถ้า H(x) = g ( f(x) ) แล้วจงหาค่าของ H ′ (1)<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 5.4<br />

1. (a) 7(x 3 +4x) 6 (3x 2 +4) (b) 3(3x 2 +1)(x 3 +x−1) 2 (c)<br />

(d) x(x 2 +4) −1/2 (e) 3 2 (x−1/x)1/2 (1+1/x 2 )<br />

(f) 8(2x−5) 3 (8x 2 −5) −4 (−4x 2 +30x−5)<br />

(g) 6(3x−2) 9 (5x 2 −x+1) 11 (85x 2 −51x+9)<br />

(h)<br />

24(1−3x)<br />

(i) 39(x−6)2<br />

(3x 2 −2x+1) 4 (x+7) 4<br />

(j) − 2 5 (2x−1)−6/5<br />

2x−7<br />

2 √ x 2 −7x<br />

2. (a) y = 3 16<br />

x+ (b) y = − 3 11<br />

x+<br />

5 5 16 4<br />

3. (a) 3 4<br />

(b) หาค่าไม่ได้ (c) −2 4. 28 5. (a) 30 (b) 36<br />

5.5 อนุพันธ์ของฟังก์ชันตรีโกณมิติ<br />

ก่อนที่จะศึกษาในหัวข้อนี้ นักศึกษาควรมีการทบทวนเกี่ยวกับฟังก์ชันตรีโกณมิติ ดังเช่นเมื่อกล่าว<br />

ถึงฟังก์ชัน f ที่นิยามโดย<br />

f(x) = sinx เมื่อ x เป็นจำนวนจริงใดๆ<br />

แล้ว sinx จะหมายถึง ไซน์ (sine) ของมุม x ที่มีหน่วยเป็นเรเดียน (radian) และสำหรับ<br />

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกัน นอกจากนี้จะได้ว่า ฟังก์ชันตรีโกณมิติทุกฟังก์ชัน<br />

ต่อเนื่องที่ทุกๆจุดบนโดเมนของฟังก์ชันนั้นๆ<br />

อนุพันธ์ของฟังก์ชันตรีโกณมิติทั้ง 6 ฟังก์ชัน มีดังนี้<br />

d<br />

d<br />

[sinx] = cosx<br />

dx<br />

d<br />

dx [tanx] = sec2 x<br />

d<br />

d<br />

[secx] = secxtanx<br />

dx<br />

[cosx] = −sinx<br />

dx<br />

d<br />

dx [cotx] = −csc2 x<br />

[cscx] = −cscxcotx<br />

dx<br />

ตัวอย่าง 5.20 จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันต่อไปนี้<br />

(a) f(x) = x 4 sinx<br />

(c) f(x) = secx<br />

1+tanx<br />

(b) f(x) = 3tanx−2cscx<br />

(d) f(x) = √ cotx−cos3x<br />

วิธีทำ .........


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 81<br />

1. จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันต่อไปนี้<br />

(a) f(x) = 4sinx−x<br />

แบบฝึกหัด 5.5<br />

(b) f(x) = tanx−cscx<br />

(c) f(x) = xcosx (d) f(x) = 4 √ x−2sinx<br />

(e) f(x) = sinx (f) f(x) = tanx<br />

x<br />

x<br />

(g) f(x) = cosx−1<br />

x<br />

(h) f(x) =<br />

x 2 sinx+cosx<br />

(i) f(x) = cscxcotx<br />

(k) f(x) = 2sinxcosx<br />

(j) f(x) = sinxsecx<br />

(l) f(x) = 4x 2 tanx<br />

(m) f(x) = 4sin 2 x+4cos 2 x (n) f(x) = sin(2x 2 +3)<br />

(o) f(x) = cos(a 3 +x 3 )<br />

(q) f(x) = tan(cosx)<br />

(s) f(x) = cos 2( 3 √ x) )<br />

(u) f(x) = [ x+csc(x 3 +3) ] −3<br />

(p) f(x) = tan 2 x<br />

(r) f(x) = sec 3 4x<br />

2. จงหาสมการของเส้นสัมผัสเส้นโค้งต่อไปนี้ที่จุดที่กำหนดให้<br />

(t) f(x) = cos 3 (sin2x)<br />

(<br />

(v) f(x) = sin tan √ )<br />

sinx<br />

(a) y = sinx, ( π 2 ,1) (b) y = cosx, (π 2 ,0)<br />

(c) y = tanx, ( π ,1) (d) y = x+cosx, (0,1)<br />

4<br />

(e) y = xcosx, (π,−π)<br />

(f) y = sin(sinx), (π,0)<br />

3. จงหาค่า x ที่ทำให้กราฟของฟังก์ชัน f(x) = x+2sinx มีเส้นสัมผัสในแนวนอน<br />

4. จงหาจุดทั้งหมดบนกราฟของฟังก์ชัน f(x) = 2sinx+sin 2 x ที่มีเส้นสัมผัสในแนวนอน<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 5.5<br />

1. (a) 4cosx−1 (b) sec 2 x+cscxcotx (c) cosx−xsinx<br />

(d) 2x −1/2 −2cosx (e) xcosx−sinx<br />

x 2<br />

(g) −x2 sinx−(cosx−1)2x<br />

(f) xsec2 x−tanx<br />

x<br />

(h) sinx+cosx+xsinx−xcosx<br />

x 4<br />

1+sin2x<br />

(i) −cscxcot 2 x−csc 3 x (j) sec 2 x (k) 2cos 2 x−2sin 2 x<br />

(l) 8xtanx+4x 2 sec 2 x (m) 0 (n) 4xcos(2x 2 +3) (o) −3x 2 sin(a 3 +x 3 )<br />

(p) 2tanxsec 2 x (q) −sinxsec 2 (cosx) (r) 12sec 3 4xtan4x<br />

(s) −√ 3 cos(3 √ x)sin(3 √ x) (t) −6cos 2 (sin2x)sin(sin2x)cos2x<br />

x<br />

(u) −3 [ x+csc(x 3 +3) ] −4 [1−3x 2 csc(x 3 +3)cot(x 3 +3)]<br />

(v) cos ( tan √ sinx ) (sec 2√ sinx) [ 1/(2 √ sinx) ] (cosx)


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 82<br />

2. (a) y = 1 (b) y = −x+ π 2<br />

(c) y = 2x+1− π 2<br />

(d) y = x+1<br />

(e) y = −x<br />

(f) y = −x+π<br />

3. (2n+1)π ±π/3, เมื่อ n เป็นจำนวนเต็ม<br />

4. ( π<br />

2 +2nπ,3) , ( 3π<br />

2 +2nπ,−1) ,n เป็นจำนวนเต็ม<br />

5.6 อนุพันธ์ของฟังก์ชันเลขชี้กำลัง<br />

ฟังก์ชันเลขชี้กำลัง (exponential function) เป็นฟังก์ชันที่พบบ่อยมากในการประยุกต์เรื่อง<br />

ต่างๆ รูปแบบทั่วไปของฟังก์ชันเลขชี้กำลังคือ f(x) = a x เมื่อ a > 0,a ≠ 0 ( ในที่นี้ a เรียกว่า<br />

ฐาน (base) ของฟังก์ชัน ) ทฤษฎีบทต่อไปนี้จะกล่าวถึงอนุพันธ์ของฟังก์ชันเลขชี้กำลัง<br />

ทฤษฎีบท 5.9 สำหรับค่าคงตัว a > 0 ใดๆ<br />

d<br />

dx [ax ] = a x lna<br />

สำหรับกรณีที่ a = e จะได้ว่า lne = 1 และอนุพันธ์ของฟังก์ชัน f(x) = e x คือ<br />

d<br />

dx [ex ] = e x<br />

นอกจากนี้ถ้า u เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ที่ x แล้ว<br />

d<br />

dx [au ] = a u lna· du<br />

dx<br />

และ<br />

d<br />

dx [eu ] = e u · du<br />

dx<br />

ตัวอย่าง 5.21 จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันต่อไปนี้<br />

(a) f(x) = 4 x cosx<br />

(c) h(x) = 2 secx + 1<br />

3√<br />

e<br />

tanx<br />

(b) g(x) = ex −5x+1<br />

x 3 −ln2<br />

วิธีทำ .........<br />

แบบฝึกหัด 5.6<br />

1. จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันต่อไปนี้<br />

(a) f(x) = 4e x −x<br />

(b) f(x) = xe x<br />

(c) f(x) = x−2 x (d) f(x) = 2e x+1<br />

(e) f(x) = (1/3) x<br />

(g) f(x) = e 2x<br />

(i) f(x) = ex<br />

x<br />

(f) f(x) = 4 −x+1<br />

(h) f(x) = x 2 e −x<br />

(j) f(x) = e xcosx


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 83<br />

2. จงหาสมการของเส้นสัมผัสโค้ง y = f(x) ที่จุด x = 1 เมื่อกำหนด f(x) ดังต่อไปนี้<br />

(a) f(x) = 3e x<br />

(b) f(x) = 3 x<br />

(c) f(x) = xe x<br />

3. กำหนดให้ f เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้บนเซตของจำนวนจริง R และให้ F(x) = f(e x )<br />

และ G(x) = e f(x) จงหานิพจน์สำหรับ (a) F ′ (x) และ (b) G ′ (x)<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 5.6<br />

1. (a) 4e x −1 (b) e x +xe x (c) 1+(ln2)2 x (d) 2e x+1 (e) ( ln 3)( 1 1<br />

3<br />

(f) −(ln4)4 −x+1 (g) 2e 2x (h) 2xe −x −x 2 e −x (i) xex −e x<br />

(j) (cosx−xsinx)e xcosx<br />

2. (a) y = 3e x (b) y = 3ln3(x−1)+3 (c) y = 2e x −e<br />

3. (a) F ′ (x) = e x f ′ (e x ) (b) G ′ (x) = e f(x) f ′ (x)<br />

x 2<br />

) x<br />

5.7 อนุพันธ์ของฟังก์ชันปริยาย<br />

จากการพิจารณาเปรียบเทียบสมการ 2 สมการต่อไปนี้<br />

y = √ x 2 +3 และ x 2 +y 2 = 9<br />

เห็นได้ว่า สมการแรกเป็นการให้นิยามของ y อย่างชัดเจนในรูปฟังก์ชันของ x เราเรียกฟังก์ชัน<br />

ที่มีลักษณะเช่นนี้ว่า ฟังก์ชันชัดแจ้ง (explicit function)<br />

สำหรับสมการที่สองนั้นไม่เป็นฟังก์ชัน แต่เราสามารถแก้สมการหาค่า y ทำให้เราได้ฟังก์ชัน 2<br />

ฟังก์ชัน ( y = √ 9−x 2 และ y = − √ 9−x 2) ที่กำหนดโดยปริยายด้วยสมการ x 2 + y 2 = 9<br />

และเราเรียกฟังก์ชันที่มีลักษณะนี้ว่า ฟังก์ชันปริยาย (implicit function) วิธีการหาอนุพันธ์<br />

ของฟังก์ชันปริยายเรียกว่า การหาอนุพันธ์โดยปริยาย (implicit differentiation) ซึ่งหาได้<br />

โดยการ หาอนุพันธ์ทั้งสองข้างของสมการของฟังก์ชันปริยายเทียบกับ x จากนั้นแก้สมการหาค่า<br />

dy/dx<br />

ตัวอย่างและแบบฝึกหัดในหัวข้อนี้ จะสมมุติให้สมการที่กำหนดให้เป็นการกำหนด y โดยปริยาย<br />

ในรูปฟังก์ชันของ x นั่นคือเราพิจารณาให้ x เป็นตัวแปรอิสระ และ y เป็นตัวแปรตาม<br />

ตัวอย่าง 5.22 จงหา dy<br />

dx ถ้า x3 +y 2 −3y = 5<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 5.23 จงหา dy<br />

dx ถ้า x2 cosy +sin2y = xy<br />

วิธีทำ .........


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 84<br />

ตัวอย่าง 5.24 จงหา dy<br />

dx ถ้า cos(x+y) = y2 sinx<br />

วิธีทำ .........<br />

แบบฝึกหัด 5.7<br />

1. จงหา dy<br />

dx โดยวิธีการหาอนุพันธ์โดยปริยาย<br />

(a) x 2 +y 2 = 1 (b) x 3 +x 2 y +4y 2 = 6<br />

(c) x 2 y +xy 2 = 3x (d) x 2 y 2 +3y = 4x<br />

(e) √ xy −4y 2 = 12 (f) x+3 = 4x+y 2<br />

y<br />

(g) √ x+y −4x 2 y<br />

= y (h)<br />

x−y = x2 +1<br />

(i) √ xy = 1+xy<br />

(j) e x2y −e y = x<br />

(k) e 4y −lny = 2x (l) 4cosxsiny = 1<br />

(m) cos(x−y) = xe x<br />

(n) xy = cot(xy)<br />

2. จงหาสมการของเส้นสัมผัสเส้นโค้งต่อไปนี้ที่จุดที่กำหนดให้<br />

(a) x 2 −4y 2 = 0, (2,1) (b) x 2 −4y 3 = 0, (2,1)<br />

(c) x 2 y 2 = 4y, (2,1) (d) x 3 y 3 = 9y, (1,3)<br />

(e) x2<br />

16 − y2<br />

9 = 1, (−5, 9 4 ) (f) y2 = x 3 (2−x), (1,1)<br />

(g) 2(x 2 +y 2 ) 2 = 25(x 2 −y 2 ), (3,1) (h) y 2 = x 3 +3x 2 , (1,2)<br />

(i) y(y 2 −1)(y −2) = x(x−1)(x−2), (0,1)<br />

3. จงใช้วิธีการหาอนุพันธ์โดยปริยายแสดงว่าสมการเส้นสัมผัสโค้ง<br />

คือ x 0x<br />

a + y 0y<br />

= 1<br />

2 b 2<br />

x 2<br />

a 2 + y2<br />

b 2 = 1 ที่จุด (x 0,y 0 )<br />

4. จงหาสมการของเส้นสัมผัสไฮเพอร์โบลา x2<br />

a 2 − y2<br />

b 2 = 1 ที่จุด (x 0,y 0 )<br />

5. จงหาจุดทั้งหมดบนเส้นโค้ง x 2 y 2 +xy = 2 ที่ความชันของเส้นสัมผัสเท่ากับ −1<br />

6. ถ้า x [ f(x) ]3 +xf(x) = 6 และ f(3) = 1 แล้วจงหาค่าของ f ′ (3)<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 5.7<br />

1. (a) −x<br />

y<br />

(e)<br />

y<br />

16y √ xy −x<br />

(b) −x(3x+2y)<br />

x 2 +8y<br />

(f)<br />

(c)<br />

y −4y 2<br />

x+3+2y 3<br />

3−2xy −y2<br />

x 2 +2xy<br />

(g) 16x√ x+y −1<br />

1−2 √ x+y<br />

(d) 4−2xy2<br />

3+2x 2 y


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 85<br />

(h) 2x(x−y)2 +y<br />

x<br />

(i) 2y√ xy −y<br />

x−2x √ xy<br />

(j) 1−2xyex2 y<br />

x 2 e x2 y<br />

−e y<br />

(k)<br />

2y<br />

4ye 4y −1<br />

(l) tanxtany<br />

(m) 1+ ex (1+x)<br />

sin(x−y)<br />

(n) −y<br />

x<br />

2. (a) y = 1x (b) y = 1x+ 1 (c) y = −x+3 (d) y = − 9 15<br />

x+<br />

2 3 3 2 2<br />

(e) y = − 5 9 40<br />

x−4 (f) y = x (g) y = − x+ (h) y = 9x− 5 4 13 13 2 2<br />

(i) y = −x+1 4. x 0x<br />

a − y 0y<br />

= 1 5. (−1,−1),(1,1) 6. − 1 2 b 2 6<br />

5.8 อนุพันธ์ของฟังก์ชันตรีโกณมิติผกผัน<br />

เราจะเริ่มด้วยการพิจารณาฟังก์ชัน sin −1 ถ้าให้ f(x) = sinx (−π/2 ≤ x ≤ π/2) แล้ว<br />

f −1 (x) = sin −1 x จะเป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้บนช่วง (−1,1) และอนุพันธ์ของ sin −1 x สามารถ<br />

หาได้โดยใช้วิธีการหาอนุพันธ์โดยปริยายดังนี้ ให้ y = sin −1 x จะได้ว่า x = siny จากการหา<br />

อนุพันธ์ทั้งสองข้างของสมการเทียบกับ x จะได้<br />

d<br />

dx [x] = d<br />

dx [siny]<br />

1 = cosy dy<br />

dx<br />

dy<br />

dx = 1<br />

cosy = 1<br />

cos ( sin −1 x )<br />

ซึ่งสามารถเขียนในรูปแบบที่ง่าย โดยการใช้เอกลักษณ์ของฟังก์ชันตรีโกณมิติจากรูปสามเหลี่ยมต่อไปนี้<br />

1<br />

x<br />

ดังนั้น<br />

ฉะนั้นอนุพันธ์ของฟังก์ชัน sin −1 x คือ<br />

sin −1 √x<br />

1−x<br />

2<br />

cos ( sin −1 x ) = √ 1−x 2<br />

dy<br />

dx = 1<br />

√<br />

1−x<br />

2<br />

d [<br />

sin −1 x ] =<br />

dx<br />

1<br />

√<br />

1−x<br />

2<br />

(−1 < x < 1)<br />

นอกจากนี้ถ้า u เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ของ x แล้วจากกฎลูกโซ่จะได้ว่า<br />

d [<br />

sin −1 u ] =<br />

dx<br />

1 du<br />

√<br />

1−u<br />

2dx (−1 < x < 1)


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 86<br />

จากการใช้วิธีการที่กล่วไปข้างต้น เราสามารถหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันตรีโกณมิติผกผันที่เหลือได้<br />

และอนุพันธ์ของฟังก์ชันตรีโกณมิติผกผันทั้ง 6 ฟังก์ชัน สามารถสรุปได้ดังนี้<br />

d [<br />

sin −1 x ] 1<br />

= √<br />

dx 1−x<br />

2<br />

d<br />

dx [cos−1 x] = √ −1<br />

1−x<br />

2<br />

d<br />

dx [tan−1 x] = 1<br />

1+x 2<br />

d<br />

dx [cot−1 x] = −1<br />

1+x 2<br />

d 1<br />

dx [sec−1 x] =<br />

|x| √ x 2 −1<br />

d −1<br />

dx [csc−1 x] =<br />

|x| √ x 2 −1<br />

(−1 < x < 1)<br />

(−1 < x < 1)<br />

(|x| > 1)<br />

(|x| > 1)<br />

ตัวอย่าง 5.25 จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันต่อไปนี้<br />

(a) y = tan −1√ x+1 (b) y = cot −1 (sin √ x)<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 5.26 จงหา dy<br />

( x<br />

)<br />

dx ถ้า y = sec(π2 )+xtan −1 2<br />

วิธีทำ .........<br />

จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันต่อไปนี้<br />

แบบฝึกหัด 5.8<br />

1. y = sin −1 (x 2 ) 2. y = tan −1 (e x )<br />

3. y = cos −1 (x 3 ) 4. y = sec −1 (x 2 )<br />

+(ln4)(5 2x )<br />

5. H(x) = (1+x 2 )tan −1 x 6. g(t) = sin −1 (4/t)<br />

7. y = x 2 cot −1 (3x) 8. f(x) = e x −x 2 tan −1 x<br />

9. y = tan −1 (cos2x) 10. y = xcos −1 (2x)<br />

11. y = cos −1 (sinx) 12. y = tan −1 (secx)<br />

1.<br />

2x<br />

√<br />

1−x<br />

4<br />

2.<br />

5. 1+2xtan −1 x 6.<br />

e x<br />

1+e 2x 3.<br />

−4<br />

√<br />

t4 −16t 2<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 5.8<br />

−3x 2<br />

√<br />

1−x<br />

6<br />

4.<br />

2<br />

x √ x 4 −1<br />

7. 2xcot −1 (3x)− 3x2<br />

1+9x 2


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 87<br />

8. e x − x2<br />

1+x 2 −2xtan−1 x 9.<br />

11.<br />

−cosx<br />

√<br />

1−sin 2 x = ±1<br />

−2sin2x<br />

1+cos 2 2x<br />

secxtanx<br />

12.<br />

1+sec 2 x<br />

10. cos −1 2x−<br />

2x<br />

√<br />

1−4x<br />

2<br />

5.9 อนุพันธ์ของฟังก์ชันลอการิทึม<br />

อนุพันธ์ของฟังก์ชันลอการิทึม y = log a x เมื่อ x > 0 สามารถหาได้โดยใช้วิธีการหาอนุพันธ์โดย<br />

ปริยายดังนี้ ให้ y = log a x, x > 0 ดังนั้น a y = x จากการหาอนุพันธ์ทั้งสองข้างของสมการเทียบ<br />

กับ x และใช้กฎการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันเลขชี้กำลัง จะได้ว่า<br />

ดังนั้น<br />

d<br />

dx (ay ) = d<br />

dx (x)<br />

a y lna dy<br />

dx = 1<br />

dy<br />

dx = 1<br />

a y lna = 1<br />

xlna<br />

d<br />

dx [log ax] = 1<br />

xlna , x > 0 (5.11)<br />

ถ้าให้ a = e ในสมการ (5.11) แล้วตัวประกอบ lna ทางขวามือของสมการ (5.11) จะ<br />

กลายเป็น lne = 1 ดังนั้นจะได้อนุพันธ์ของฟังก์ชันลอการิทึม log e x = lnx คือ<br />

ว่า<br />

d<br />

dx [lnx] = 1 x<br />

(5.12)<br />

นอกจากนี้ถ้า u เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ของ x และถ้า u(x) > 0 แล้วจากกฎลูกโซ่จะได้<br />

d<br />

dx [log au] = 1<br />

ulna · du<br />

dx<br />

และ<br />

ตัวอย่าง 5.27 จงหาอนุพันธ์ของ f(x) = log 5 (3+tanx)<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 5.28 จงหาอนุพันธ์ของ f(x) = ln<br />

[sin ( e )]<br />

x2 −tanx<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 5.29 จงหาอนุพันธ์ของ y = sin −1 2x+log 3 (x 2 −4)<br />

วิธีทำ .........<br />

(√ ) 2x+3<br />

ตัวอย่าง 5.30 จงหาอนุพันธ์ของ y = ln<br />

x−2<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 5.31 จงหา f ′ (x) ถ้า f(x) = ln|x|<br />

วิธีทำ .........<br />

d<br />

dx [lnu] = 1 u · du<br />

dx


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 88<br />

การหาอนุพันธ์โดยใช้ลอการิทึม<br />

ลำดับต่อไปเราจะศึกษาวิธีการหาอนุพันธ์ที่เรียกว่า การหาอนุพันธ์โดยใช้ลอการิทึม (logarithmic<br />

differentiation) จากตัวอย่างต่อไปนี้ วิธีการนี้มีประโยชน์สำหรับการหาอนุพันธ์ของ<br />

ฟังก์ชันประกอบของผลคูณ ผลหาร หรือเลขชี้กำลัง<br />

ตัวอย่าง 5.32 จงหาอนุพันธ์ของ y = x3/4√ x 2 +1<br />

(3x+2) 5<br />

วิธีทำ .........<br />

จากตัวอย่าง 5.32 จะได้ขั้นตอนการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันโดยใช้ลอการิทึมได้ดังนี้<br />

ขั้นตอนการหาอนุพันธ์โดยใช้ลอการิทึม<br />

1. ใส่ลอการิทึมฐาน e เข้าไปทั้งสองข้างของสมการ y = f(x) และใช้คุณสมบัติ<br />

ของลอการิทึมจัดสมการให้ง่ายขึ้น<br />

2. ใช้วิธีการหาอนุพันธ์โดยปริยาย หาอนุพันธ์เทียบกับ x<br />

3. แก้สมการหา y ′<br />

ตัวอย่าง 5.33 จงหาอนุพันธ์ของ y = (lnx) cosx<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 5.34 กำหนดให้ y x = siny จงหา dy<br />

dx<br />

วิธีทำ .........<br />

1. จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันต่อไปนี้<br />

แบบฝึกหัด 5.9<br />

(a) f(x) = ln(2x) (b) f(x) = ln(x 3 )<br />

(c) f(θ) = ln(cosθ) (d) f(x) = log 3 (x 2 −4)<br />

(e) f(x) = ln √ x<br />

( ) a−x<br />

(g) f(x) = ln<br />

a+x<br />

(i) f(x) = lnx<br />

1+x<br />

(f) f(x) = √ xlnx<br />

(h) f(x) = e x lnx<br />

(j) f(x) = |x 3 −x 2 |<br />

(k) f(x) = ln(e −x +xe −x ) (l) f(x) = x 2 ln(1−x 2 )<br />

2. จงหาสมการของเส้นสัมผัสเส้นโค้งต่อไปนี้ที่จุดที่กำหนดให้<br />

(a) y = x 2 lnx, (1,0)<br />

(b) y = ln(lnx), (e,0)


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 89<br />

3. จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันต่อไปนี้โดยใช้ลอการิทึม<br />

(a) y = (2x+1) 5 (x 4 −3) 6<br />

(c) y = x x<br />

(b) y = sin2 xtan 4 x<br />

(x 2 +1) 2<br />

(d) y = x sinx<br />

(e) y = (lnx) x<br />

(f) y = x ex<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 5.9<br />

1. (a) f ′ (x) = 1 (b) f ′ (x) = 3 (c) f ′ (θ) = −tanθ<br />

x x<br />

(d) f ′ 2x<br />

(x) = (e) f ′ (x) = 1 (f) f ′ (x) = 2+lnx<br />

(x 2 −4)ln3 2x 2 √ x<br />

(g) f ′ (x) = −2a (h) f ′ (x) = e<br />

(lnx+ x 1 )<br />

a 2 −x 2 x<br />

(i) f ′ (x) = 1+x−xlnx<br />

x(1+x) 2<br />

(l) f ′ (x) = 2xln(1−x 2 )− 2x3<br />

1−x 2<br />

2. (a) y = x−1 (b) x−ey = e<br />

(j) f ′ (x) = 3x−2<br />

x(x−1)<br />

3. (a) y ′ = (2x+1) 5 (x 4 −3) 6 ( 10<br />

2x+1 + 24x3<br />

x 4 −3<br />

(<br />

(b) y ′ = sin2 xtan 4 x<br />

2cotx+ 4sec2 x<br />

(x 2 +1) 2 tanx − 4x<br />

x 2 +1<br />

[<br />

(c) y ′ = x x (lnx+1) (d) y ′ = x sinx cosxlnx+ sinx<br />

x<br />

(<br />

(e) y ′ = (lnx) x lnlnx+ 1 )<br />

lnx<br />

5.10 อนุพันธ์อันดับสูง<br />

)<br />

)<br />

(f) y ′ = e x x ex (<br />

lnx+ 1 x<br />

(k) f ′ (x) = −x<br />

1+x<br />

เนื่องจากอนุพันธ์ f ′ ของฟังก์ชัน f เป็นฟังก์ชัน ดังนั้นอนุพันธ์ของ f ′ อาจจะหาค่าได้ ถ้า<br />

f ′ เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ แล้วจะเขียนแทนอนุพันธ์ของ f ′ ด้วย f ′′ และเรียกว่า อนุพันธ์<br />

อันดับสอง (second derivative) ของ f และสัญลักษณ์ที่นิยมใช้แทนอนุพันธ์อันดับสอง<br />

ของ y = f(x) มีดังนี้<br />

y ′′ = f ′′ (x) = d2 y<br />

dx 2<br />

สำหรับ อนุพันธ์อันดับสาม (third derivative) ของ f คืออนุพันธ์ของอนุพันธ์อันดับ<br />

สอง สัญลักษณ์ที่นิยมใช้แทนอนุพันธ์อันดับสามของ y = f(x) มีดังนี้<br />

y ′′′ = f ′′′ (x) = d ( ) d 2 y<br />

= d3 y<br />

dx dx 2 dx 3<br />

]<br />

)


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 90<br />

ในทำนองเดียวกัน เราสามารถหาอนุพันธ์อันดับที่สี่ และอันดับอื่นๆได้ โดยทั่วไปอนุพันธ์อันดับ<br />

ที่ n ของ y = f(x) ได้มาจากการหาอนุพันธ์ของ f เป็นจำนวน n ครั้ง และเขียนแทนด้วย<br />

สัญลักษณ์ดังนี้<br />

ตัวอย่าง 5.35 ถ้า f(x) = 5x 3 −2x 2 +1 แล้ว<br />

y (n) = f (n) (x) = dn y<br />

dx n<br />

f ′ (x) = .........<br />

f ′′ (x) = .........<br />

f ′′′ (x) = .........<br />

f (4) (x) = .........<br />

.<br />

f (n) (x) = ......... (n ≥ 4)<br />

ตัวอย่าง 5.36 จงหา d2 y<br />

dx 2 เมื่อ y = log 5 (e 2x +1)<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 5.37 จงหา y ′′ ถ้า x 2 −xy +y 2 = 6<br />

วิธีทำ .........<br />

แบบฝึกหัด 5.10<br />

1. จงหาอนุพันธ์อันดับหนึ่งและอันดับสองของฟังก์ชันต่อไปนี้<br />

(a) f(x) = x 4 +3x 2 −2<br />

(b) f(x) = x 5 +6x 2 −7x<br />

(c) f(x) = x 6 + √ x (d) f(x) = √ 2x+1<br />

(e) f(x) = e 2x<br />

(f) y = cos2θ<br />

(g) h(x) = √ x 2 +1 (h) F(s) = (3s+5) 8<br />

(i) y = x<br />

1−x<br />

(k) H(t) = tan3t<br />

(j) y = (1−x 2 ) 3/4<br />

(l) g(t) = t 3 e 5t<br />

2. ถ้า f(x) = (2−3x) −1/2 แล้วจงหา f(0), f ′ (0), f ′′ (0) และ f ′′′ (0)<br />

3. ถ้า f(θ) = cotθ แล้วจงหาค่าของ f ′′′ (π/6)<br />

4. จงหา f (n) (x) ของฟังก์ชันต่อไปนี้<br />

(a) f(x) = 1 x<br />

(b) f(x) = e 2x (c) f(x) = 1<br />

3x 3


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 91<br />

5. จงหาฟังก์ชันพนุนาม P ที่มีระดับขั้นพหุนามเท่ากับสอง (degree 2) ที่ทำให้ P(2) =<br />

5, P ′ (2) = 3 และ P ′′ (2) = 2<br />

6. จงหาค่า r ที่ทำให้ฟังก์ชัน y = e rx สอดคล้องกับสมการ y ′′ +5y ′ −6y = 0<br />

7. กำหนดให้ F(x) = f(x)g(x) โดยที่ f และ g เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ทุกอันดับ จง<br />

แสดงว่า<br />

F ′′ = f ′′ g +2f ′ g ′ +fg ′′<br />

8. กำหนดให้ y = f(u) และ u = g(x) โดยที่ f และ g เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์อันดับ<br />

สองได้ จงแสดงว่า<br />

( )<br />

d 2 2<br />

y<br />

dx = d2 y du<br />

+ dy d 2 u<br />

2 du 2 dx dudx 2<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 5.10<br />

1. (a) f ′ (x) = 4x 3 +6x, f ′′ (x) = 12x 2 +6<br />

(b) f ′ (x) = 5x 4 +12x−7, f ′′ (x) = 20x 3 +12<br />

(c) f ′ (x) = 6x 5 + 1 2 x−1/2 , f ′′ (x) = 30x 4 − 1 4 x−3/2<br />

(d) f ′ (x) = (2x+1) −1/2 , f ′′ (x) = −(2x+1) −3/2<br />

(e) f ′ (x) = 2e 2x , f ′′ (x) = 4e 2x<br />

(g) h ′ (x) =<br />

x<br />

√<br />

x2 +1 , f′′ (x) =<br />

(f) y ′ = −2sin2θ, y ′′ = −4cos2θ<br />

1<br />

(x 2 +1) 3/2<br />

(h) F ′ (s) = 24(3s+5) 7 , F ′′ (s) = 504(3s+5) 6<br />

(i) y ′ =<br />

1<br />

(1−x) 2, y′′ =<br />

2<br />

(1−x) 3<br />

(j) y ′ = − 3 2 x(1−x2 ) −1/4 , y ′′ = 3 4 (1−x2 ) −5/4 (x 2 −2)<br />

(k) H ′ (t) = 3sec 2 3t, H ′′ (t) = 18sec 2 3ttan3t<br />

(l) g ′ (t) = t 2 e 5t (5t+3), g ′′ (t) = te 5t (25t 2 +30t+6)<br />

2. 1 √<br />

2<br />

,<br />

3<br />

4 √ 2 , 27<br />

16 √ 2 , 405<br />

64 √ 2<br />

3. −80<br />

4. (a) (−1)n n!<br />

(b) 2 n e 2x (c) (−1)n (n+2)!<br />

x n+1 6x n+3<br />

6. r = 1,−6<br />

5. P(x) = x 2 −x+3


บทที่ 6<br />

การประยุกต์ของอนุพันธ์<br />

6.1 ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดของฟังก์ชัน<br />

การประยุกต์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของอนุพันธ์คือ ปัญหาการหาค่าเหมาะที่สุด (optimization problems)<br />

ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาของการหาวิธีที่ดีที่สุดเพื่อทำบางสิ่งบางอย่าง ตัวอย่างเช่น<br />

• ชาวสวนต้องการเลือกผสมพืชพันธุ์ที่จะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ทำให้มีรายได้มากที่สุด<br />

• ผู้ผลิตสินค้าต้องการให้ค่าขนส่งสินค้ามีค่าน้อยที่สุด<br />

• ผู้ผลิตต้องการทราบขนาดของกระป๋องที่ใช้วัสดุในการผลิตน้อยที่สุด<br />

• นักเดินทางต้องการทราบระยะทางที่น้อยที่สุดระหว่างเมือง 2 เมือง<br />

• นักบินอวกาศต้องการหาความเร่งที่มากที่สุดของยานอวกาศ<br />

ปัญหาเหล่านี้สามารถเปลี่ยนเป็นการหาค่าสูงสุดหรือค่าต่ำสุดของฟังก์ชันได้ ดังนั้นเราจะเริ่มด้วยการ<br />

ให้นิยามของค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด<br />

บทนิยาม 6.1 กำหนดให้ f เป็นฟังก์ชันที่นิยามบนสับเซตของจำนวนจริง D (โดเมนของ f)<br />

และ c ∈ D<br />

(a) f มี ค่าสูงสุดสัมบูรณ์ (absolute maximum หรือ global maximum) ที่ c ถ้า<br />

f(c) ≥ f(x) สำหรับทุกค่าของ x ในโดเมน D และเราเรียก f(c) ว่า ค่าสูงสุด (maximum<br />

value) ของ f บน D และเรียกจุด ( c,f(c) ) ว่า จุดสูงสุดสัมบูรณ์ ของ f บน<br />

D<br />

(b) f มี ค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ (absolute minimum หรือ global minimum) ที่ c ถ้า<br />

f(c) ≤ f(x) สำหรับทุกค่า x ในโดเมน D และเราเรียก f(c) ว่า ค่าต่ำสุด (minimum<br />

value) ของ f บน D และเรียกจุด ( c,f(c) ) ว่า จุดต่ำสุดสัมบูรณ์ ของ f บน D<br />

และเราจะกล่าวว่า f มี ค่าสุดขีดสัมบูรณ์ (absolute extremum) ที่ c ถ้า f มีค่าสูงสุด<br />

สัมบูรณ์หรือค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ที่ c<br />

92


•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 93<br />

รูปที่ 6.1 แสดงกราฟของ f ที่มีจุด ( b,f(b) ) เป็นจุดสูงสุดบนกราฟ และมีจุด ( e,f(e) ) เป็น<br />

จุดต่ำสุด ดังนั้น f มีค่าสูงสุดสัมบูรณ์ที่ b และมีค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ที่ e<br />

y ( )<br />

b,f(b)<br />

(<br />

e,f(e)<br />

)<br />

a b c d e x<br />

รูปที่ 6.1: ค่าสูงสุด f(b), ค่าต่ำสุด f(e)<br />

คำถาม ฟังก์ชันทุกฟังก์ชันมีค่าสูงสุดสัมบูรณ์และค่าต่ำสุดสัมบูรณ์หรือไม่<br />

คำตอบ ไม่ ซึ่งพิจารณาได้จากกราฟของฟังก์ชันต่อไปนี้<br />

y<br />

y<br />

y = f(x)<br />

f(c)<br />

y = f(x)<br />

c<br />

x<br />

c<br />

x<br />

f(c)<br />

(a)<br />

(b)<br />

รูปที่ 6.2: (a) ค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ (b) ค่าสูงสุดสัมบูรณ์<br />

จากรูปที่ 6.2(a) พบว่าฟังก์ชัน f ไม่มีค่าสูงสุดสัมบูรณ์แต่มีค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ที่ c สำหรับรูป<br />

ที่ 6.2(b) เป็นกราฟของฟังก์ชัน f ที่ไม่มีค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ แต่มีค่าสูงสุดสัมบูรณ์ที่ c<br />

คำถาม เมื่อใดฟังก์ชันที่เราพิจารณาจะมีค่าสูงสุดสัมบูรณ์ และค่าต่ำสุดสัมบูรณ์<br />

ทฤษฎีบทต่อไปนี้จะตอบคำถามดังกล่าว<br />

ทฤษฎีบท 6.1 ทฤษฎีบทค่าสุดขีด (Extreme Value Theorem) ถ้าฟังก์ชัน f ต่อเนื่อง<br />

บนช่วงปิด [a,b] แล้ว f จะมีค่าสูงสุดสัมบูรณ์ f(c) และค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ f(d) ที่จุด c และ d<br />

บางจุดในช่วง [a,b]


•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 94<br />

y<br />

พิจารณากราฟต่อไปนี้<br />

y<br />

y<br />

| |<br />

a c d b<br />

x<br />

|<br />

a c d = b<br />

x<br />

| |<br />

a c 1 d c 2 b<br />

x<br />

จะเห็นว่าแต่ละกราฟสอดคล้องกับสมมุติฐานของทฤษฎีบท 6.1 ดังนั้นแต่ละกราฟจะมีค่าสูงสุดสัมบูรณ์<br />

และค่าต่ำสุดสัมบูรณ์<br />

แต่ถ้าฟังก์ชันใดขาดสมมุติฐานใดสมมุติฐานหนึ่งในทฤษฎีบท 6.1 แล้วฟังก์ชันนั้นไม่จำเป็นต้อง<br />

มีค่าสูงสุดสัมบูรณ์ หรือค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ ดังตัวอย่างกราฟต่อไปนี้<br />

y<br />

3 +<br />

y<br />

1<br />

|<br />

f<br />

0 2<br />

ฟังก์ชันมีค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ f(2) = 0<br />

แต่ไม่มีค่าสูงสุดสัมบูรณ์<br />

x<br />

1 •<br />

0<br />

g<br />

1<br />

x<br />

ฟังก์ชันต่อเนื่อง g ไม่มี<br />

ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดสัมบูรณ์<br />

ทฤษฎีบทค่าสุดขีดกล่าวแต่เพียงว่า ฟังก์ชันต่อเนื่องบนช่วงปิดจะมีค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดสัมบูรณ์แต่<br />

ไม่ได้บอกเราว่าจะหาค่าเหล่านี้ได้อย่างไร ก่อนที่จะศึกษาวิธีการหาค่าสุดขีดสัมบูรณ์ เราจำเป็นต้อง<br />

พิจารณาค่าสุดขีดอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเรานิยามได้ดังนี้<br />

บทนิยาม 6.2<br />

1. f(c) จะเป็น ค่าสูงสุดสัมพัทธ์ (relative maximum หรือ local maximum) ของ f<br />

ถ้า f(c) ≥ f(x) สำหรับทุกค่าของ x ในช่วงเปิดบางช่วงที่บรรจุค่า c และจะเรียก ( c,f(c) )<br />

ว่า จุดสูงสุดสัมพัทธ์<br />

2. f(c) จะเป็น ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ (relative minimum หรือ local minimum) ของ f<br />

ถ้า f(c) ≤ f(x) สำหรับทุกค่าของ x ในช่วงเปิดบางช่วงที่บรรจุค่า c และจะเรียก ( c,f(c) )<br />

ว่า จุดต่ำสุดสัมพัทธ์<br />

ถ้า f มีค่าสูงสุดสัมพัทธ์หรือค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ที่ c แล้วเราจะกล่าวว่า f มี ค่าสุดขีดสัมพัทธ์ (relative<br />

extremum) ที่ c


•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 95<br />

ค่าสูงสุดสัมพัทธ์<br />

[<br />

f ′ (a) หาค่าไม่ได้]<br />

y<br />

ค่าสูงสุดสัมพัทธ์<br />

[<br />

f ′ (c) = 0 ]<br />

a<br />

b<br />

c<br />

d<br />

x<br />

ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์<br />

[<br />

f ′ (b) หาค่าไม่ได้]<br />

ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์<br />

[<br />

f ′ (d) = 0 ]<br />

รูปที่ 6.3: ค่าสุดขีดสัมพัทธ์<br />

รูปที่ 6.3 แสดงกราฟของฟังก์ชันที่มีค่าสุดขีดสัมพัทธ์หลายค่าด้วยกัน นอกจากนี้ จากรูปเรา<br />

สังเกตได้ว่า ค่าสุดขีดสัมพัทธ์แต่ละค่าจะเกิดที่จุดที่มีเส้นสัมผัสในแนวนอน ( นั่นคือ f ′ (x) = 0 ) หรือ<br />

ที่จุดที่มีเส้นสัมผัสในแนวยืน ( นั่นคือ f ′ (x) หาค่าไม่ได้)<br />

ดังนั้นเราจึงกำหนดชื่อให้กับจุดดังกล่าว ดัง<br />

บทนิยามต่อไปนี้<br />

บทนิยาม 6.3 ค่าวิกฤต (critical number) ของฟังก์ชัน f คือค่า c ที่อยู่ในโดเมนของ<br />

f ที่ทำให้ f ′ (c) = 0 หรือ f ′ (c) หาค่าไม่ได้<br />

ทฤษฎีบท 6.2 ทฤษฎีบทของแฟร์มา (Fermat’s Theorem) ถ้า f มีค่าสุดขีดสัมพัทธ์ที่ c<br />

แล้ว c เป็นค่าวิกฤตของ f<br />

ตัวอย่าง 6.1 จงหาค่าวิกฤตและค่าสุดขีดสัมพัทธ์ของ f(x) = 2x 3 +3x 2 −12x−5<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 6.2 จงหาค่าวิกฤตและค่าสุดขีดสัมพัทธ์ของ f(x) = (2x+3) 2/3<br />

วิธีทำ .........<br />

หมายเหตุ ทฤษฎีบทของแฟร์มากล่าวแต่เพียงว่า ค่าสุดขีดสัมพัทธ์จะเกิดขึ้นเฉพาะที่ค่าวิกฤต แต่ไม่<br />

ได้กล่าวว่า จะมีค่าสุดขีดสัมพัทธ์ที่ทุกค่าวิกฤต ตัวอย่าง 6.3 จะแสดงให้เห็นว่า ณค่าวิกฤต ฟังก์ชัน<br />

ไม่ได้ให้ค่าสุดขีดสัมพัทธ์<br />

ตัวอย่าง 6.3 จงหาค่าวิกฤตและค่าสุดขีดสัมพัทธ์ของ f(x) = x 3<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 6.4 จงหาค่าวิกฤตของ f(x) = x2 +3<br />

x+1


•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 96<br />

วิธีทำ .........<br />

จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น ค่าสุดขีดสัมพัทธ์จะเกิดขึ้นเฉพาะที่ค่าวิกฤต และฟังก์ชันต่อเนื่องบนช่วง<br />

ปิดจะมีค่าสูงสุด และค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ แต่เรายังไม่ได้กล่าวถึง วิธีการหาค่าสุดขีดดังกล่าว ทฤษฎีบทต่อไปนี้<br />

จะมีประโยชน์ในการหาค่าสุดขีดสัมบูรณ์<br />

ทฤษฎีบท 6.3 ถ้าฟังก์ชัน f ต่อเนื่องบนช่วงปิด [a,b] แล้วค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ของ f<br />

จะเกิดขึ้นที่จุดปลายของช่วง (a หรือ b) หรือที่ค่าวิกฤตของ f<br />

ทฤษฎีบท 6.3 ช่วยให้เราได้ขั้นตอนของการหาค่าสุดขีดสัมบูรณ์ของฟังก์ชันต่อเนื่อง f บน<br />

ช่วงปิด [a,b] ดังนี้<br />

ขั้นตอนที่ 1 หาค่าวิกฤตของ f ในช่วง (a,b)<br />

ขั้นตอนที่ 2 หาค่า f ที่ค่าวิกฤตทั้งหมด และที่จุดปลาย a และ b<br />

ขั้นตอนที่ 3 ค่าที่มากที่สุดที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 คือ ค่าสูงสุดสัมบูรณ์ของ f บนช่วง [a,b] และ<br />

ค่าที่น้อยที่สุดคือ ค่าต่ำสุดสัมบูรณ์<br />

ตัวอย่าง 6.5 จงหาค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ของ f(x) = x 3 −3x+1 บนช่วงปิด [0,3]<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 6.6 จงหาค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ของ f(x) = lnx<br />

x<br />

วิธีทำ .........<br />

บนช่วงปิด [1,3]<br />

แบบฝึกหัด 6.1<br />

1. จากกราฟของฟังก์ชันที่กำหนดให้ต่อไปนี้ จงพิจารณาว่าแต่ละค่า a, b, c, d, e, r, s และ<br />

t ให้ค่าสูงสุดหรือต่ำสุดสัมบูรณ์ และค่าสูงสุดหรือต่ำสุดสัมพัทธ์หรือไม่<br />

(a) y<br />

a b c d e r s t<br />

x<br />

(b)<br />

y<br />

a b c d e r s<br />

t<br />

x


•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 97<br />

2. จากกราฟของฟังก์ชันต่อไปนี้ จงหาค่าสุดขีดสัมบูรณ์ และค่าสุดขีดสัมพัทธ์<br />

(a)<br />

y<br />

y = f(x)<br />

1<br />

0<br />

1<br />

x<br />

(b)<br />

y<br />

y = f(x)<br />

1<br />

0<br />

1<br />

x<br />

3. จงหาค่าวิกฤตของฟังก์ชันต่อไปนี้ พร้อมทั้งพิจารณาว่าที่ค่าวิกฤตนั้น ฟังก์ชันให้ค่าสูงสุดสัมพัทธ์<br />

หรือค่าต่ำสุดสัมพัทธ์หรือไม่<br />

(a) f(x) = x 2 +5x−1<br />

(b) f(x) = x 3 −3x+1<br />

(c) f(x) = x 3 −3x 2 +3x (d) f(x) = x 4 −3x 3 +2<br />

(e) f(x) = x 3/4 −4x 1/4 (f) f(x) = x 3 −2x 2 −4x<br />

(g) f(x) = sinxcosx, [0,2π] (h) f(x) = x+1<br />

x−1<br />

(i) f(x) = x (j) f(x) = 1<br />

x 2 2<br />

+1<br />

(ex +e −x )<br />

(k) f(x) = x 4/3 +4x 1/3 +3x −2/3 (l) f(x) = 2x √ x+1<br />

(m) f(x) = e −x2<br />

(n) f(x) = sinx 2 , [0,π]<br />

4. จงหาค่าสูงสุด และค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ของฟังก์ชันต่อไปนี้ บนช่วงที่กำหนดให้<br />

(a) f(x) = 3x 2 −12x+5, [0,3]<br />

(b) f(x) = 2x 3 +3x 2 +4, [−2,1]<br />

(c) f(x) = x 4 −4x 2 +2, [−3,2] (d) f(x) = x 2 − 2 x , [1 2 ,2]<br />

(e) f(x) = x<br />

x 2 +1 , [0,2]<br />

(f) f(x) = sinx+cosx, [0,π/3]<br />

(g) f(x) = xe −x , [0,2] (h) f(x) = x−3lnx, [1,4]<br />

(i) f(x) = |x−1|, [0,3]<br />

(j) f(x) = 3√ x, [−1,27]


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 98<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 6.1<br />

1. (a) ค่าสูงสุดสัมบูรณ์ที่ b; ค่าสูงสุดสัมพัทธ์ที่ b, e และr; ค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ที่d<br />

ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ที่ d และ s<br />

(b) ค่าสูงสุดสัมบูรณ์ที่ e; ค่าสูงสุดสัมพัทธ์ที่ e และs; ค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ที่ t<br />

ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ที่ b, c, d, r และ t<br />

2. (a) ค่าสูงสุดสัมบูรณ์ f(4) = 4; ค่าต่ำสุดสัมบูรณ์f(7) = 0<br />

ค่าสูงสุดสัมพัทธ์ f(4) = 4, f(6) = 3; ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ f(2) = 1, f(5) = 2<br />

(b) ค่าสูงสุดสัมบูรณ์ f(7) = 5; ค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ f(1) = 0<br />

ค่าสูงสุดสัมพัทธ์ f(0) = 2, f(3) = 4, f(5) = 3<br />

ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ f(1) = 0, f(4) = 2, f(6) = 1<br />

3. (a) − 5 , ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ (b) −1, ค่าสูงสุดสัมพัทธ์; 1, ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์<br />

2<br />

(c) 1, ไม่ให้ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดสัมพัทธ์<br />

(d) 0, ไม่ให้ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดสัมพัทธ์;<br />

9<br />

4 , ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์<br />

(e) 0, ไม่ให้ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดสัมพัทธ์;<br />

16<br />

9 , ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์<br />

(f) − 2 , ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์; 2, ค่าสูงสุดสัมพัทธ์<br />

3<br />

(g) π 4 , 5π 4 , ค่าสูงสุดสัมพัทธ์; 3π<br />

4 , 7π 4 , ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์<br />

(h) 1, ไม่ให้ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดสัมพัทธ์<br />

(i) −1, ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์; 1, ค่าสูงสุดสัมพัทธ์<br />

(j) 0, ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์<br />

(k) −2,1, ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์<br />

(l) − 2, ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ (m) 0, ค่าสูงสุด<br />

3<br />

√<br />

3π<br />

(n) 0, , ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์; √ √<br />

π , 5π<br />

, ค่าสูงสุดสัมพัทธ์<br />

2 2 2<br />

4. (a) f(0) = 5,f(2) = −7 (b) f(1) = 9,f(−2) = 0<br />

(c) f(−3) = 47,f(± √ 2) = −2<br />

(d) f(2) = 3,f(1) = −1<br />

(e) f(1) = 1 2 ,f(0) = 0 (f) f(π/4) = √ 2,f(0) = 1<br />

(g) f(1) = 1/e,f(0) = 0<br />

(i) f(3) = 2,f(1) = 0<br />

(h) f(1) = 1,f(3) = 3−3ln3<br />

(j) f(27) = 3,f(−1) = −1<br />

6.2 ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด<br />

คำถามหนึ่งที่ยังไม่มีคำตอบก็คือ ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ของฟังก์ชันเกิดขึ้นที่ใด และสิ่งที่<br />

ทราบมาแล้วก็คือ ค่าสุดขีดสัมพัทธ์จะเกิดขึ้นเฉพาะที่ค่าวิกฤต แต่ค่าวิกฤตทุกค่าไม่จำเป็นต้องให้ค่า<br />

สุดขีดสัมพัทธ์ ในหัวข้อนี้เราจะพิจารณาว่า ที่ค่าวิกฤตใดให้ค่าสุดขีดสัมพัทธ์ ในขณะเดียวกันจะศึกษา<br />

ความสัมพันธ์ของอนุพันธ์กับการเขียนกราฟของฟังก์ชัน


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 99<br />

บทนิยาม 6.4 กำหนดให้ f เป็นฟังก์ชันที่นิยามบนช่วง I และให้ x 1 และ x 2 เป็นจุดในช่วง<br />

I<br />

(a) f เป็น ฟังก์ชันเพิ่ม (increasing function) บนช่วง I ถ้า f(x 1 ) < f(x 2 ) เมื่อ<br />

x 1 < x 2<br />

(b) f เป็น ฟังก์ชันลด (decreasing function) บนช่วง I ถ้า f(x 1 ) > f(x 2 ) เมื่อ<br />

x 1 < x 2<br />

(c) f เป็น ฟังก์ชันคงตัว (constant function) ถ้า f(x 1 ) = f(x 2 ) สำหรับทุกค่า x 1<br />

และ x 2<br />

ทฤษฎีบท 6.4 กำหนดให้ f เป็นฟังก์ชันต่อเนื่องบนช่วงปิด [a,b] และหาอนุพันธ์ได้บนช่วงเปิด<br />

(a,b)<br />

(a) ถ้า f ′ (x) > 0 สำหรับทุกค่า x ∈ (a,b) แล้ว f เป็นฟังก์ชันเพิ่มบนช่วง [a,b]<br />

(b) ถ้า f ′ (x) < 0 สำหรับทุกค่า x ∈ (a,b) แล้ว f เป็นฟังก์ชันลดบนช่วง [a,b]<br />

(c) ถ้า f ′ (x) = 0 สำหรับทุกค่า x ∈ (a,b) แล้ว f เป็นฟังก์ชันคงตัวบนช่วง [a,b]<br />

ถึงแม้ว่าทฤษฎีบท 6.4 กล่าวเฉพาะฟังก์ชันที่นิยามบนช่วงปิด แต่ทฤษฎีบท 6.4 นี้สามารถ<br />

นำมาใช้กับช่วงใดๆได้ เช่นถ้า f ต่อเนื่องบนช่วง [a,+∞) และ f ′ (x) > 0 บนช่วง (a,+∞)<br />

แล้ว f เป็นฟังก์ชันเพิ่มบนช่วง [a,+∞) และถ้า f ต่อเนื่องบนช่วง (−∞,+∞) และ f ′ (x) <<br />

0 บนช่วง (−∞,+∞) แล้ว f เป็นฟังก์ชันลดบนช่วง (−∞,+∞)<br />

ตัวอย่าง 6.7 จงหาช่วงที่ทำให้ f(x) = 3x 4 +4x 3 −12x 2 −5 เป็นฟังก์ชันเพิ่ม และช่วงที่ทำให้<br />

f(x) เป็นฟังก์ชันลด<br />

วิธีทำ .........<br />

ทฤษฎีบท 6.5 การทดสอบโดยใช้อนุพันธ์อันดับหนึ่ง (First Derivative Test) กำหนด<br />

ให้ f เป็นฟังก์ชันต่อเนื่องบนช่วง [a,b] และ c ∈ (a,b) เป็นค่าวิกฤตของ f<br />

(a) ถ้า f ′ (x) > 0 สำหรับทุกค่าของ x ∈ (a,c) และ f ′ (x) < 0 สำหรับทุกค่าของ x ∈ (c,b)<br />

(<br />

นั่นคือ f<br />

′<br />

เปลี่ยนเครื่องหมายจากบวกเป็นลบที่ c ) แล้ว f มีค่าสูงสุดสัมพัทธ์ที่ c<br />

(b) ถ้า f ′ (x) < 0 สำหรับทุกค่าของ x ∈ (a,c) และ f ′ (x) > 0 สำหรับทุกค่าของ x ∈ (c,b)<br />

(<br />

นั่นคือ f<br />

′<br />

เปลี่ยนเครื่องหมายจากลบเป็นบวกที่ c ) แล้ว f มีค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ที่ c<br />

(c) ถ้า f ′ (x) มีเครื่องหมายเหมือนกันบนช่วง (a,c) และ (c,b) ( นั่นคือ f ′ มีเครื่องหมาย<br />

บวกทั้งสองด้านของ c หรือมีเครื่องหมายลบทั้งสองด้านของ c ) แล้ว f ไม่มีค่าสุดขีด<br />

สัมพัทธ์ที่ c


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 100<br />

รูปภาพต่อไปนี้จะช่วยให้เข้าใจทฤษฎีบท 6.5 มากขึ้น<br />

y<br />

y<br />

f ′ (x) > 0 f ′ (x) < 0<br />

f ′ (x) < 0 f ′ (x) > 0<br />

0 c<br />

x<br />

0 c<br />

x<br />

(a) f มีค่าสูงสุดสัมพัทธ์<br />

y<br />

(b) f มีค่าต่ำสุดสัมพัทธ์<br />

y<br />

f ′ (x) > 0<br />

f ′ (x) > 0<br />

f ′ (x) < 0<br />

f ′ (x) < 0<br />

0 c<br />

x<br />

0 c<br />

x<br />

(c) f ไม่มีค่าสุดขีดสัมพัทธ์<br />

(d) f ไม่มีค่าสุดขีดสัมพัทธ์<br />

ตัวอย่าง 6.8 จงหาค่าสูงสุดหรือค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ของฟังก์ชันในตัวอย่าง 6.7<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 6.9 จงหาค่าสูงสุดหรือค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ของฟังก์ชัน f(x) = x(x−1) 3<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 6.10 จงหาค่าสุดขีดสัมพัทธ์ของฟังก์ชัน f(x) = (sinx) 2/3 บนช่วง ( − π , )<br />

2π<br />

6 3<br />

วิธีทำ .........<br />

แบบฝึกหัด 6.2<br />

1. จงหาช่วงที่ทำให้ฟังก์ชันต่อไปนี้เป็นฟังก์ชันเพิ่ม และฟังก์ชันลด<br />

(a) f(x) = x 3 −3x+2 (b) f(x) = x 4 −8x 2 +1<br />

(c) f(x) = x 6 +192x+17 (d) f(x) = (x+1) 2/3<br />

(e) f(x) = x−2sinx, [0,2π] (f) f(x) = sin3x, [0,π]<br />

(g) f(x) = e x2 −1<br />

(h) f(x) = (lnx)/ √ x<br />

2. จงหาค่า x ที่ทำให้ฟังก์ชันต่อไปนี้มีค่าสุดขีด ( ค่าสุดขีดสัมบูรณ์ หรือค่าสุดขีดสัมพัทธ์)<br />

พร้อมทั้ง<br />

เขียนกราฟ


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 101<br />

(a) f(x) = x 3 +2x 2 −x−1 (b) f(x) = x √ x 2 +1<br />

(c) f(x) = xe −2x (d) f(x) = lnx 2<br />

(e) f(x) = x (f) f(x) = x3<br />

x 2 −1<br />

x 2 −1<br />

(g) f(x) = sinx+cosx (h) f(x) = √ x 3 +3x 2<br />

(i) f(x) = x 2/3 −2x −1/3<br />

3. จงเขียนกราฟของฟังก์ชัน ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดให้<br />

(a) f(0) = 1, f(2) = 5, f ′ (x) < 0 สำหรับ x < 0 และ x > 0, f ′ (x) > 0<br />

สำหรับ 0 < x < 2<br />

(b) f(−1) = 1, f(2) = 5, f ′ (x) < 0 สำหรับ x < −1 และ x > 2, f ′ (x) > 0<br />

สำหรับ −1 < x < 2, f ′ (−1) = 0, f ′ (2) หาค่าไม่ได้<br />

(c) f(3) = 0, f ′ (x) < 0 สำหรับ x < 0 และ x > 3, f ′ (x) > 0 สำหรับ 0 < x < 3,<br />

f ′ (3) = 0,<br />

f(0) และ f ′ (0) หาค่าไม่ได้<br />

(d) f(1) = 0, lim f(x) = 2,<br />

x→∞<br />

f ′ (x) < 0 สำหรับ x < 1, f ′ (x) > 0 สำหรับ<br />

x > 1, f ′ (1) = 0<br />

4. จงแสดงว่า 5 เป็นค่าวิกฤตของฟังก์ชัน g(x) = 2+(x−5) 3 แต่ g ไม่มีค่าสุดขีดสัมพัทธ์ที่<br />

5<br />

5. จงหาฟังก์ชัน f(x) = ax 3 +bx 2 +cx+d ที่มีค่าสูงสุดสัมพัทธ์ที่ −2 เท่ากับ 3 และมีค่าต่ำ<br />

สุดสัมพัทธ์ที่ 1 เท่ากับ 0<br />

6. สมมุติให้ f เป็นฟังก์ชันต่อเนื่อง และหาอนุพันธ์ได้ที่ทุกค่าของ x จงพิจารณาว่าข้อความ<br />

ต่อไปนี้เป็นจริงหรือเป็นเท็จ<br />

(a) ถ้า f เป็นฟังก์ชันลดบนช่วง [0,2] แล้ว f(0) > f(1) > f(2)<br />

(b) ถ้า f ′ (1) > 0 แล้ว f เป็นฟังก์ชันเพิ่มบนช่วง [0,2]<br />

(c) ถ้า f เป็นฟังก์ชันเพิ่มบนช่วง [0,2] แล้ว f ′ (1) > 0<br />

(d) ถ้า f มีค่าสูงสุดสัมพัทธ์ที่ x = 1 แล้ว f(1) ≥ f(2)<br />

(e) ถ้า f มีค่าสูงสุดสัมพัทธ์ที่ x = 1 แล้ว x = 1 เป็นค่าวิกฤตของ f<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 6.2<br />

1. (a) ฟังก์ชันเพิ่ม: (−∞,−1)∪(1,∞); ฟังก์ชันลด: (−1,1)<br />

(b) ฟังก์ชันเพิ่ม: (−2,0)∪(2,∞); ฟังก์ชันลด: (−∞,−2)∪(0,2)<br />

(c) ฟังก์ชันเพิ่ม: (−2,∞); ฟังก์ชันลด: (−∞,−2)<br />

(d) ฟังก์ชันเพิ่ม: (−1,∞); ฟังก์ชันลด: (−∞,−1)


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 102<br />

(e) ฟังก์ชันเพิ่ม: ( π 3 , 5π 3 )∪(7π 3 ,3π); ฟังก์ชันลด: (0, π 3 )∪(5π 3 , 7π 3 )<br />

(f) ฟังก์ชันเพิ่ม: (0, π 6 )∪(3π 6 , 5π 6 ); ฟังก์ชันลด: (π 6 , 3π 6 )∪(5π 6 ,π)<br />

(g) ฟังก์ชันเพิ่ม: (0,∞); ฟังก์ชันลด: (−∞,0)<br />

(h) ฟังก์ชันเพิ่ม: (0,e 2 ); ฟังก์ชันลด: (e 2 ,∞)<br />

2. (a) ค่าสูงสุดสัมพัทธ์ที่x = − 2 − √ 7<br />

; ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ที่ x = 3 3 −2 + √ 7<br />

3 3<br />

y<br />

2<br />

2<br />

x<br />

(b) ไม่มีค่าสุดขีดสัมพัทธ์และค่าสุดขีดสัมบูรณ์<br />

10<br />

y<br />

2<br />

x<br />

(c) ค่าสูงสุดสัมบูรณ์ที่ x = 1 2<br />

y<br />

0.2<br />

1<br />

x<br />

(d) ไม่มีค่าสุดขีดสัมพัทธ์และค่าสุดขีดสัมบูรณ์<br />

y<br />

1<br />

1<br />

x


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 103<br />

(e) ไม่มีค่าสุดขีดสัมพัทธ์และค่าสุดขีดสัมบูรณ์<br />

y<br />

2<br />

1<br />

x<br />

(f) ค่าสูงสุดสัมบูรณ์ที่ x = − √ 3; ค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ที่ x = √ 3<br />

y<br />

2<br />

4<br />

x<br />

(g) ค่าสูงสุดสัมบูรณ์ที่x = π +2nπ; ค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ที่ x = 5π +2nπ<br />

4 4<br />

y<br />

2<br />

π<br />

x<br />

(h) ค่าสูงสุดสัมพัทธ์ที่ x = −2; ค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ที่ x = 0<br />

y<br />

(i) ค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ที่ x = −1<br />

2<br />

y<br />

1<br />

x<br />

2<br />

2<br />

x<br />

5. f(x) = 1 9 (2x3 +3x 2 −12x+7)<br />

6. (a) เป็นจริง (b) เป็นเท็จ (c) เป็นเท็จ (d) เป็นเท็จ (e) เป็นจริง


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 104<br />

6.3 ความเว้า<br />

แม้ว่าอนุพันธ์ของฟังก์ชัน f จะบอกช่วงที่ทำให้กราฟของ f มีลักษณะเพิ่มขึ้นหรือลดลง แต่ไม่<br />

ได้บอกว่ากราฟมีลักษณะโค้งแบบใด ตัวอย่างเช่นกราฟของรูปที่ 6.4 ทั้งสองกราฟ มีลักษณะเพิ่ม<br />

ขึ้น แต่มีลักษณะของโค้งไม่เหมือนกัน กราฟทางด้านซ้ายมือมีลักษณะเว้าอยู่ด้านบน ในขณะที่<br />

กราฟทางด้านขวามือมีลักษณะเว้าอยู่ด้านล่าง สำหรับช่วงที่ทำให้กราฟของ f มีความเว้าอยู่ด้านบน<br />

เรากล่าวว่า f เว้าบน (concave up) บนช่วงนั้น และช่วงที่ทำให้กราฟของ f มีความเว้าอยู่<br />

ด้านล่าง จะกล่าวว่า f เว้าล่าง (concave down) บนช่วงนั้น<br />

y<br />

y<br />

0 a b<br />

x<br />

0 a b<br />

x<br />

รูปที่ 6.4:<br />

รูปที่ 6.5 ช่วยให้เราสามารถพิจารณาความเว้าของฟังก์ชันบนช่วงเปิดใดๆ ดังนี้<br />

• f เว้าบน บนช่วงเปิดใดๆ ถ้าความชันของเส้นสัมผัสโค้งเพิ่มขึ้นบนช่วงนั้น และ f เว้าล่าง<br />

ถ้าความชันของเส้นสัมผัสโค้งลดลงบนช่วงนั้น<br />

• f เว้าบน บนช่วงเปิดใดๆ ถ้ากราฟของ f อยู่บนเส้นสัมผัสโค้งบนช่วงนั้น และ f เว้าล่าง<br />

ถ้ากราฟของ f อยู่ล่างเส้นสัมผัสโค้งบนช่วงนั้น<br />

y<br />

y<br />

0 a b<br />

x<br />

0 a b<br />

x<br />

รูปที่ 6.5:<br />

บทนิยาม 6.5 ถ้า f เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้บนเปิด I ใดๆ แล้ว<br />

(a) f จะเว้าบน(concave up) บนช่วง I ถ้า f ′ เป็นฟังก์ชันเพิ่มบนช่วง I<br />

(b) f จะเว้าล่าง(concave down) บนช่วง I ถ้า f ′ เป็นฟังก์ชันลดบนช่วง I<br />

เนื่องจากความชันของเส้นสัมผัสกราฟของฟังก์ชัน f ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ คือค่าของ<br />

อนุพันธ์ f ′ และจากทฤษฎีบท 6.4 จะได้ว่า f ′ เป็นฟังกชันเพิ่มบนช่วงที่ f ′′ มีค่าเป็นบวก และ<br />

f ′ เป็นฟังกชันลดบนช่วงที่ f ′′ มีค่าเป็นลบ ดังที่กล่าวในทฤษฎีบทต่อไปนี้


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 105<br />

ทฤษฎีบท 6.6 กำหนดให้ f ′′ หาค่าได้บนช่วงเปิด I ใดๆ<br />

(a) ถ้า f ′′ (x) > 0 สำหรับทุก x บนช่วง I แล้ว f จะเว้าบนบนช่วง I<br />

(b) ถ้า f ′′ (x) < 0 สำหรับทุก x บนช่วง I แล้ว f จะเว้าล่างบนช่วง I<br />

บทนิยาม 6.6 ถ้า f เป็นฟังก์ชันต่อเนื่องบนช่วงเปิดใดๆ ที่บรรจุค่า c และถ้า f มีการเปลี่ยน<br />

ความเว้าที่จุด (c,f(c)) แล้ว f จะมีจุดเปลี่ยนเว้า (inflection point) ที่ c และจะเรียกจุด<br />

(c,f(c)) บนกราฟของ f ว่าจุดเปลี่ยนเว้าของ f<br />

ตัวอย่าง 6.11 จงพิจารณาความเว้าของฟังก์ชัน f(x) = x 4 −6x 2 +3 และหาจุดเปลี่ยนเว้า (ถ้ามี)<br />

วิธีทำ .........<br />

ทฤษฎีบท 6.7 การทดสอบโดยใช้อนุพันธ์อันดับสอง (Second Derivative Test) กำหนด<br />

ให้ f เป็นฟังก์ชันที่มีอนุพันธ์อันดับสองที่ c<br />

(a) ถ้า f ′ (c) = 0 และ f ′′ (c) < 0 แล้ว f มีค่าสูงสุดสัมพัทธ์ที่ c<br />

(b) ถ้า f ′ (c) = 0 และ f ′′ (c) > 0 แล้ว f(c) มีค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ที่ c<br />

(c) ถ้า f ′ (c) = 0 และ f ′′ (c) = 0 แล้วการทดสอบนี้ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ นั่นคือ f อาจจะ<br />

มีค่าสูงสุดสัมพัทธ์ หรือค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ หรือไม่มีค่าสุดขีดสัมพัทธ์ที่ c<br />

ตัวอย่าง 6.12 จงหาค่าสุดขีดสัมพัทธ์ของ f(x) = 3x 5 −5x 3<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 6.13 กำหนดฟังก์ชัน f(x) = x 4 −4x 3 +12<br />

• จงหาช่วงที่ทำให้ f เป็นฟังก์ชันเพิ่ม และฟังก์ชันลด<br />

• จงหาค่าสูงสุด และค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ (ถ้ามี) ของ f<br />

• จงหาช่วงที่ทำให้กราฟของ f เว้าบน หรือเว้าล่าง และหาจุดเปลี่ยนเว้า (ถ้ามี)<br />

• จงเขียนกราฟของ f โดยใช้ข้อมูลที่หาได้ข้างต้น<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 6.14 กำหนดฟังก์ชัน f(x) = x 2/3 (6−x) 1/3<br />

• จงหาช่วงที่ทำให้ f เป็นฟังก์ชันเพิ่ม และฟังก์ชันลด<br />

• จงหาค่าสูงสุด และค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ (ถ้ามี)<br />

• จงหาช่วงที่ทำให้ f เว้าบน หรือเว้าล่าง และหาจุดเปลี่ยนเว้า (ถ้ามี)<br />

• จงเขียนกราฟของฟังก์ชันโดยใช้ข้อมูลที่หาได้ข้างต้น


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 106<br />

วิธีทำ .........<br />

แบบฝึกหัด 6.3<br />

1. จงหาช่วงที่ทำให้กราฟของฟังก์ชันต่อไปนี้เว้าบน และเว้าล่าง<br />

(a)<br />

y<br />

20<br />

10<br />

−3<br />

−1<br />

1 3<br />

x<br />

(b)<br />

y<br />

1<br />

−4<br />

−2<br />

2 4<br />

x<br />

(c)<br />

y<br />

10<br />

5<br />

−2<br />

2 4<br />

x<br />

−5<br />

−10<br />

(d)<br />

y<br />

10<br />

5<br />

−3<br />

−1<br />

1 2 3<br />

x<br />

−5<br />

2. จากฟังก์ชันที่กำหนดให้ต่อไปนี้<br />

• จงหาช่วงที่ทำให้ฟังก์ชันเพิ่มขึ้น และลดลง<br />

• จงหาค่าสูงสุด และค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ (ถ้ามี)


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 107<br />

• จงหาช่วงที่ทำให้ฟังก์ชันเว้าบนหรือเว้าล่าง และหาจุดเปลี่ยนเว้า (ถ้ามี)<br />

• จงเขียนกราฟของฟังก์ชันโดยใช้ข้อมูลที่หาได้ข้างต้น<br />

(a) f(x) = 2x 3 −3x 2 −12x (b) f(x) = x 4 −6x 2<br />

(c) f(x) = 3x 5 −5x 3 +3 (d) f(x) = x √ x 2 +1<br />

(e) f(x) = x 1/3 (x+3) 2/3<br />

(f) f(x) = sin 2 x<br />

3. จงเขียนกราฟของฟังก์ชันที่มีคุณสมบัติที่กำหนดให้ต่อไปนี้<br />

(a) f(0) = 2, f ′ (x) > 0 สำหรับทุกค่าของ x, f ′ (0) = 1, f ′′ (x) > 0 สำหรับ<br />

x > 0, f ′′ (x) < 0 สำหรับ x < 0, f ′′ (0) = 0<br />

(b) f(0) = 1, f ′ (x) ≥ 0 สำหรับทุกค่าของ x, f ′ (0) = 0, f ′′ (x) > 0 สำหรับ<br />

x > 0, f ′′ (x) < 0 สำหรับ x < 0, f ′′ (0) = 0<br />

(c) f(0) = 0, f ′ (x) > 0 สำหรับ x < −1 และ −1 < x < 1, f ′ (x) < 0 สำหรับ<br />

x > 1, f ′′ (x) > 0 สำหรับ x < −1, 0 < x < 1 และ x > 1, f ′′ (x) < 0<br />

สำหรับ −1 < x < 0<br />

(d) f(0) = 2, f ′ (x) > 0 สำหรับทุกค่าของ x, f ′ (0) = 1, f ′′ (x) > 0 สำหรับ<br />

x < 0, f ′′ (x) < 0 สำหรับ x > 0<br />

(e) f(0) = 0, f(−1) = −1, f(1) = 1, f ′ (x) > 0 สำหรับ x < −1 และ<br />

0 < x < 1, f ′ (x) < 0 สำหรับ −1 < x < 0 และ x > 1, f ′′ (x) < 0 สำหรับ<br />

x < 0 และ x > 0<br />

(f) f(1) = 0, f ′ (x) < 0 สำหรับ x < 1, f ′ (x) > 0 สำหรับ x > 1, f ′′ (x) < 0<br />

สำหรับ x < 1 และ x > 1<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 6.3<br />

1. (a) เว้าบน: (−∞,−1)∪(1,∞); เว้าล่าง: (−1,1)<br />

(b) เว้าบน: (−∞,0); เว้าล่าง: (0,∞)<br />

(c) เว้าบน: (1,∞); เว้าล่าง: (−∞,1)<br />

(d) เว้าบน: (−1,0)∪(1,∞); เว้าล่าง: (−∞,−1)∪(0,1)<br />

2. (a) เพิ่มขึ้น: (−∞,−1)∪(2,∞); ลดลง: (−1,2)<br />

ค่าสูงสุดสัมพัทธ์: f(−1) = 7; ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์: f(2) = −20<br />

เว้าบน: ( 1,∞); เว้าล่าง: (−∞, 1); จุดเปลี่ยนเว้า: 2 2 (1 2 ,−13)<br />

2


•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 108<br />

y<br />

5<br />

−10<br />

1<br />

x<br />

−20<br />

(b) เพิ่มขึ้น: (− √ 3,0)∪( √ 3,∞); ลดลง: (−∞,− √ 3)∪(0, √ 3)<br />

ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์: f(± √ 3) = −9; ค่าสูงสุดสัมพัทธ์: f(0) = 0<br />

เว้าบน: (−∞,−1)∪(1,∞); เว้าล่าง: (−1,1); จุดเปลี่ยนเว้า: (±1,−5)<br />

y<br />

−1<br />

1<br />

• •<br />

x<br />

• •<br />

−10<br />

(c) เพิ่มขึ้น: (−∞,−1)∪(1,∞); ลดลง: (−1,−1)<br />

ค่าสูงสุดสัมพัทธ์: f(−1) = 5; ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์: f(1) = 1<br />

เว้าบน: (−1/ √ 2,0)∪(1/ √ 2,∞); เว้าล่าง: (−∞,−1/ √ 2)∪(1/ √ 2,∞)<br />

จุดเปลี่ยนเว้า: (0,3), (±1/ √ √<br />

2,3∓ 7 8 2)<br />

y<br />

−1<br />

5<br />

1<br />

x<br />

(d) เพิ่มขึ้น: (−∞,∞); ไม่มีค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดสัมพัทธ์<br />

เว้าบน: (0,∞); เว้าล่าง: (−∞,0); จุดเปลี่ยนเว้า: (0,0)<br />

y<br />

x<br />

e) เพิ่มขึ้น: (−∞,−3)∪(−1,∞); ลดลง: (−3,−1)<br />

ค่าสูงสุดสัมพัทธ์: f(−3) = 0; ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์: f(−1) = − 3√ 4<br />

เว้าบน: (−∞,−3)∪(−3,0); เว้าล่าง: (0,∞); จุดเปลี่ยนเว้า: (0,0)


•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

•<br />

เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 109<br />

y<br />

2<br />

1<br />

x<br />

(f) เพิ่มขึ้น: (0,π/2)∪(π,3π/2); ลดลง: (π/2,π)∪(3π/2,2π)<br />

ค่าสูงสุดสัมพัทธ์: f(π/1) = f(3π/2) = 1; ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์: f(π) = 0<br />

เว้าบน: (0,π/4)∪(3π/4,5π/4)∪(7π/4,2π)<br />

เว้าล่าง: (π/4,3π/4)∪(5π/4,7π/4)<br />

จุดเปลี่ยนเว้า: (π/4, 1 2 ),(3π/4, 1 2 ),(5π/4, 1 2 ),(7π/4, 1 2 ) x<br />

y<br />

1<br />

0<br />

π<br />

2<br />

π<br />

3π<br />

2<br />

2π<br />

6.4 รูปแบบยังไม่กำหนดและหลักเกณฑ์โลปีตาล<br />

ในหัวข้อนี้เราจะกล่าวถึงวิธีการทั่วไปในการหาลิมิตโดยใช้อนุพันธ์ ซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมใช้มากใน<br />

การหาลิมิตโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสามารถหาลิมิตได้หลากหลายรูปแบบ<br />

6.4.1 รูปแบบยังไม่กำหนด 0/0<br />

โดยทั่วไปถ้าลิมิตอยู่ในรูปแบบ<br />

f(x)<br />

lim<br />

x→a g(x)<br />

โดยที่ f(x) → 0 และ g(x) → 0 เมื่อ x → a แล้วจะเรียกลิมิตรูปแบบนี้ว่า รูปแบบยังไม่กำหนด<br />

0/0 ( indeterminate form of type 0/0 ) และค่าของลิมิตอาจจะหาค่าได้หรือหาค่าไม่ได้<br />

เราได้พบลิมิตในรูปแบบนี้มาแล้วบ้างในบทที่4 ตัวอย่างเช่น<br />

x 3 +2x−5<br />

lim<br />

x→2 x 2 −3<br />

= 7 และ lim<br />

x→0<br />

sinx<br />

x = 1<br />

ลิมิตแรกเป็นลิมิตของฟังก์ชันตรรกยะ ซึ่งสามารถหาค่าลิมิตได้โดยการตัดทอนตัวประกอบร่วม สำหรับ<br />

ลิมิตที่สอง เราสามารถใช้วิธีการเชิงเรขาคณิตในการหาค่าลิมิต อย่างไรก็ตามมีรูปแบบลิมิตหลาย<br />

รูปแบบที่ไม่สามารถใช้วิธีการทางพีชคณิต หรือวิธีการเชิงเรขาคณิตหาค่าลิมิตได้<br />

ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะเรียนรู้วิธีการที่เรียกว่า หลักเกณฑ์โลปีตาล (L’Hospital’s Rule) ซึ่ง<br />

จะใช้ในการหาลิมิตในรูปแบบยังไม่กำหนด


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 110<br />

ทฤษฎีบท 6.8 ( หลักเกณฑ์โลปีตาลสำหรับรูปแบบยังไม่กำหนด 0/0 ) สมมุติให้ f และ g เป็น<br />

ฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้บนช่วงเปิดที่บรรจุจุด x = a (อาจจะยกเว้นที่ x = a) และให้<br />

limf(x) = 0 และ lim g(x) = 0<br />

x→a x→a<br />

ถ้า lim<br />

x→a<br />

[f ′ (x)/g ′ (x)] หาค่าได้ หรือถ้าค่าลิมิตเป็น +∞ หรือ −∞ แล้ว<br />

f(x)<br />

lim<br />

x→a g(x) = lim f ′ (x)<br />

x→a g ′ (x)<br />

นอกจากนี้ข้อความข้างต้นยังคงเป็นจริงสำหรับกรณีของลิมิตเมื่อ x → a − , x → a + , x →<br />

−∞ หรือเมื่อ x → +∞<br />

ตัวอย่างต่อไปนี้จะใช้หลักเกณฑ์โลปีตาลในการหาค่าลิมิต โดยมีขั้นตอนดังนี้<br />

f(x)<br />

ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบว่า lim อยู่ในรูปแบบยังไม่กำหนด 0/0<br />

x→a g(x)<br />

ขั้นตอนที่ 2 หาอนุพันธ์ของ f และ g แยกกัน<br />

ขั้นตอนที่ 3 หาค่า lim<br />

x→a<br />

f ′ (x)<br />

g ′ (x)<br />

ถ้าลิมิตหาค่าได้ หรือค่าลิมิตเป็น +∞ หรือ −∞ แล้วจะได้ว่า<br />

f ′ (x)<br />

lim<br />

x→a g ′ (x) = lim f(x)<br />

x→a g(x)<br />

ตัวอย่าง 6.15 จงหาค่าของ lim<br />

x→1<br />

lnx<br />

1−x<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 6.16 จงหาค่าของ lim<br />

x→0<br />

1−cosx<br />

sinx<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 6.17 จงหาค่าของ lim<br />

x→0<br />

tanx−x<br />

x 3<br />

วิธีทำ .........<br />

6.4.2 รูปแบบยังไม่กำหนด ∞ ∞<br />

ถ้าพิจารณาลิมิตในรูปแบบ<br />

f(x)<br />

lim<br />

x→a g(x)<br />

โดยที่ f(x) → +∞ (หรือ −∞) และ g(x) → +∞ (หรือ −∞) เมื่อ x → a แล้วจะได้ว่าลิ<br />

มิตอาจจะหาค่าได้หรือหาค่าไม่ได้ และจะเรียกลิมิตรูปแบบลักษณะนี้ว่า รูปแบบยังไม่กำหนด ∞/∞<br />

(<br />

indeterminate form of type ∞/∞<br />

)<br />

เราได้พบลิมิตในรูปแบบนี้มาก่อนแล้ว เช่น<br />

lim<br />

x→+∞<br />

2x 2 −3<br />

3x 2 −5x


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 111<br />

จากหัวข้อ4.3 จะได้ว่าลิมิตนี้สามารถหาค่าได้ โดยการหารตัวเศษและตัวส่วนด้วย x ยกกำลังเลขชี้<br />

กำลังมากที่สุดของตัวส่วน นั่นคือ<br />

lim<br />

x→+∞<br />

2x 2 −3<br />

3x 2 −5x = lim<br />

x→+∞<br />

(2x 2 −3)/x 2<br />

(3x 2 −5x)/x 2<br />

2− 3<br />

= lim x 2<br />

x→+∞<br />

3− 5 x<br />

= 2−0<br />

3−0 = 2 3<br />

อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถใช้วิธีการนี้กับการหาค่าลิมิต<br />

lim<br />

x→1<br />

lnx<br />

1−x<br />

แต่หลักเกณฑ์โลปีตาลสามารถนำมาใช้ในการหาลิมิตรูปแบบยังไม่กำหนด ∞/∞<br />

ทฤษฎีบท 6.9 ( หลักเกณฑ์โลปีตาลสำหรับรูปแบบยังไม่กำหนด ∞/∞ ) สมมุติให้ f และ g<br />

เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้บนช่วงเปิดที่บรรจุจุด x = a (อาจจะยกเว้นที่ x = a) และให้<br />

limf(x) = ±∞ และ limg(x) = ±∞<br />

x→a x→a<br />

ถ้า lim<br />

x→a<br />

[f ′ (x)/g ′ (x)] หาค่าได้ หรือถ้าค่าลิมิตเป็น +∞ หรือ −∞ แล้ว<br />

f(x)<br />

lim<br />

x→a g(x) = lim f ′ (x)<br />

x→a g ′ (x)<br />

นอกจากนี้ข้อความข้างต้นยังคงเป็นจริงสำหรับกรณีของลิมิตเมื่อ x → a − , x → a + , x →<br />

−∞ หรือเมื่อ x → +∞<br />

e x<br />

ตัวอย่าง 6.18 จงหาค่าของ lim<br />

x→+∞ x 2<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 6.19 จงหาค่าของ lim<br />

x→0 + lnx<br />

cscx<br />

วิธีทำ .........<br />

6.4.3 รูปแบบยังไม่กำหนด 0·∞<br />

ถ้า limf(x) = 0 แต่ limg(x) = ±∞ แล้วไม่มีความชัดเจนว่า limf(x)g(x) มีค่าเท่าไร<br />

x→a x→a x→a<br />

เราเรียกลิมิตในรูปแบบนี้ว่า รูปแบบยังไม่กำหนด 0 · ∞ ( indeterminate form of type<br />

0·∞ ) ลิมิตในรูปแบบยังไม่กำหนด 0·∞ สามารถหาค่าได้ โดยการเขียนผลคูณ fg ในรูปผลหาร<br />

นั่นคือ<br />

fg = f<br />

1/g<br />

หรือ fg = g<br />

1/f<br />

จากนั้นใช้หลักเกณฑ์โลปีตาลหาลิมิตสำหรับรูปแบบยังไม่กำหนด 0/0 หรือ ∞/∞


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 112<br />

ตัวอย่าง 6.20 จงหาค่าของ lim<br />

x→0 +xlnx<br />

วิธีทำ .........<br />

หมายเหตุ อีกวิธีหนึ่งของการหาค่าลิมิตของตัวอย่าง 6.20 คือเขียนลิมิตใหม่ในรูป<br />

x<br />

lim<br />

x→0 +xlnx<br />

= lim<br />

x→0 + 1/lnx<br />

ซึ่งลิมิตทางขวามือมีรูปแบบยังไม่กำหนด 0/0 แต่การใช้หลักเกณฑ์โลปีตาลในกรณีนี้จะมีความ<br />

ยุ่งยากมากกว่า เพราะต้องหาอนุพันธ์ของ 1/lnx ดังนั้นโดยทั่วไปการเปลี่ยนรูปแบบยังไม่กำหนด<br />

จาก 0 · ∞ เป็นรูปแบบยังไม่กำหนด 0/0 หรือ ∞/∞ ควรเลือกกรณีที่นำไปสู่การหาลิมิตที่ง่าย<br />

กว่า<br />

ตัวอย่าง 6.21 จงหาค่าของ lim<br />

x→π/4 (1−tanx)sec2x<br />

วิธีทำ .........<br />

6.4.4 รูปแบบยังไม่กำหนด ∞−∞<br />

ถ้าค่าลิมิต lim<br />

x→a<br />

[f(x)−g(x)] อยู่ในรูป<br />

(+∞)−(+∞), (−∞)−(−∞), (+∞)+(−∞), (−∞)+(+∞)<br />

แล้วจะเรียกลิมิตรูปแบบนี้ว่า รูปแบบยังไม่กำหนด ∞−∞ ( indeterminate form of type<br />

∞−∞ ) การหาค่าลิมิตในรูปแบบนี้ บางครั้งสามารถหาได้โดยการเปลี่ยนรูปลิมิตของผลต่างเป็นลิมิต<br />

ของผลหาร ซึ่งจะได้ลิมิตที่มีรูปแบบยังไม่กำหนด 0/0 หรือ ∞/∞<br />

[<br />

1<br />

ตัวอย่าง 6.22 จงหาค่าของ lim<br />

x→0 ln(x+1) − 1 ]<br />

x<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 6.23 จงหาค่าของ<br />

lim<br />

x→(π/2) −(secx−tanx)<br />

วิธีทำ .........<br />

6.4.5 รูปแบบยังไม่กำหนด 0 0 ,∞ 0 ,1 ∞<br />

รูปแบบยังไม่กำหนดหลายรูปแบบเกิดขึ้นมาจากลิมิตในรูป<br />

ซึ่งแบ่งเป็นกรณีได้ดังนี้<br />

[ ] g(x)<br />

lim f(x)<br />

x→a<br />

1. lim<br />

x→a<br />

f(x) = 0 และ lim<br />

x→a<br />

g(x) = 0 จะได้รูปแบบยังไม่กำหนด 0 0


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 113<br />

2. lim<br />

x→a<br />

f(x) = ∞ และ lim<br />

x→a<br />

g(x) = 0 จะได้รูปแบบยังไม่กำหนด ∞ 0<br />

3. lim<br />

x→a<br />

f(x) = 1 และ lim<br />

x→a<br />

g(x) = ±∞ จะได้รูปแบบยังไม่กำหนด 1 ∞<br />

ในแต่ละกรณีเราสามารถหาค่าลิมิตได้ เริ่มด้วยการให้<br />

จากนั้นหาลิมิตของ lny เนื่องจาก<br />

y = [ f(x) ] g(x)<br />

lny = ln [ f(x) ] g(x)<br />

= g(x)·ln[f(x)]<br />

ดังนั้นลิมิตของ lny จะมีรูปแบบยังไม่กำหนด 0·∞ ซึ่งสามารถหาค่าลิมิตได้ โดยวิธีการที่กล่าวมา<br />

ข้างต้น หลังจากที่ทราบค่าลิมิตของ lny แล้วเราสามารถหาค่าลิมิตของ y = [ f(x) ] g(x)<br />

ดังตัวอย่าง<br />

ต่อไปนี้<br />

ตัวอย่าง 6.24 จงหาค่าของ lim<br />

x→0<br />

(tanx) sinx<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 6.25 จงหาค่าของ lim<br />

x→+∞ (ex +x) 1 x<br />

วิธีทำ .........<br />

ตัวอย่าง 6.26 จงหาค่าของ lim<br />

1<br />

x→1 +x x−1<br />

วิธีทำ .........<br />

แบบฝึกหัด 6.4<br />

จงหาค่าของลิมิตต่อไปนี้<br />

x+2<br />

1. lim<br />

x→−2 x 2 −4<br />

3x 2 +2<br />

3. lim<br />

x→+∞ x 2 −4<br />

e x −1<br />

5. lim<br />

x→0 sinx<br />

sinx−x<br />

7. lim<br />

x→0 x 3<br />

x 3<br />

9. lim<br />

x→+∞ e x<br />

2. lim<br />

x→−2<br />

x+1<br />

x 2 +4x+3<br />

x+1<br />

4. lim<br />

x→−∞ x 2 +4x+3<br />

sinx<br />

6. lim<br />

x→0 x 3<br />

√ x−1<br />

8. lim<br />

x→1 x−1<br />

e x −1<br />

10. lim<br />

x→0 x


เอกสารประกอบการสอนวิชา SC142 จัดทำโดย ดร.อัจฉรา ปาจีนบูรวรรณ์ 114<br />

11. lim<br />

x→1<br />

sinπx<br />

x−1<br />

13. lim<br />

x→+∞ xe−x<br />

15. lim<br />

x→0 +xlnx<br />

(√<br />

17. lim x2 −1−x)<br />

x→+∞<br />

19. lim<br />

(lnx+ 1 )<br />

x→0 + x<br />

21. lim<br />

x→0 +xsinx<br />

lnx<br />

12. lim<br />

x→+∞ x 2<br />

14. lim<br />

x→0<br />

xsinx<br />

cosx−1<br />

16. lim<br />

x→0 + lnx<br />

18. lim<br />

x→+∞<br />

cotx<br />

(<br />

1+ 1 x<br />

20. lim<br />

x→0 +(1/x)x<br />

) x<br />

22. lim<br />

x→0<br />

(1−2x) 1/x<br />

คำตอบแบบฝึกหัด 6.4<br />

1. − 1 2. 1 3. 3 4. 0 5. 1 6. ∞ 7. − 1 8. 1 9. 0<br />

4 6 2<br />

10. 1 11. −π 12. 0 13. 0 14. −2 15. 0 16. 0 17. 0 18. e<br />

19. ∞ 20. 1 21. 1 22. e −2

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!