31.12.2014 Views

1. ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา : รักปลอดภัย (Safe Sex ... - มหาวิทยาลัยนเรศวร

1. ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา : รักปลอดภัย (Safe Sex ... - มหาวิทยาลัยนเรศวร

1. ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา : รักปลอดภัย (Safe Sex ... - มหาวิทยาลัยนเรศวร

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

<strong>1.</strong> <strong>ชื่อผลงาน</strong>/<strong>โครงการพัฒนา</strong> : <strong>รักปลอดภัย</strong> (<strong>Safe</strong> <strong>Sex</strong>)<br />

2. คําสําคัญ : <strong>รักปลอดภัย</strong><br />

3. สรุปผลงานโดยย่อ :<br />

หน่วยสร้างเสริมสุขภาพนิสิต โรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> ได้ตระหนักถึงความสําคัญของปัญหา<br />

พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยของวัยรุ่น การแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์<br />

และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นในกลุ่มวัยรุ่น จึงจัดทําโครงการ<strong>รักปลอดภัย</strong> (<strong>Safe</strong> <strong>Sex</strong>) ขึ้น<br />

โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิต<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> และเมื่อปลายปี 2551 โรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong>ได้<br />

เข้าร่วมเป็นสถานบริการที่เป็นมิตรสําหรับเยาวชน (Teen Center) เพื่อสร้างเครือข่ายระดับจังหวัดในการส่ง<br />

ต่อข้อมูลและแก้ไขปัญหาร่วมกันทั้งจังหวัดพิษณุโลก ในการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทาง<br />

เพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น โดยร่วมมือกับสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก<br />

และโรงพยาบาลพุทธชินราช และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความรู้ วิธีปฏิบัติที่<br />

ถูกต้อง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ในทางที่ถูกต้อง<br />

เหมาะสมปลอดภัย ลดอัตราการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ การตั้งครรภ์ไม่พึง<br />

ประสงค์และการป้องกันปัญหาที่จะตามมาจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของนิสิตและ<br />

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัย ทั้งในรูปแบบของการให้บริการเชิงรุกและพัฒนารูปแบบการให้บริการ<br />

ที่เป็นมิตรสําหรับเยาวชน นิสิตเข้าถึง เกิดความไว้วางใจ มารับบริการ มีการดูแลรักษาที่ถูกต้องตามมาตรฐาน<br />

4. ชื่อและที่อยู่ขององค์กร : หน่วยสร้างเสริมสุขภาพนิสิต โรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong><br />

คณะแพทยศาสตร์<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> จังหวัดพิษณุโลก<br />

5. สมาชิกทีม :<br />

นางสาวโชติกา วงศ์เจริญ รก.หน.หน่วยสร้างเสริมสุขภาพนิสิต<br />

นางสาวปรียาวรัทย์ อิ่มสมบัติ พยาบาลวิชาชีพ<br />

นางรัชดาภรณ์ แม้นศิริ พยาบาลวิชาชีพ<br />

6. เป้าหมาย : อัตราป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ลดลง<br />

7. ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ :<br />

จากสถานการณ์ปัจจุบัน การแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ และการตั้งครรภ์ไม่<br />

พึงประสงค์ กลับมามีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น สอดคล้องกับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่<br />

ปลอดภัยของวัยรุ่น ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย อีกทั้งยังใช้เทศกาลต่าง ๆ โดยเฉพาะ<br />

วันวาเลนไทน์ ลอยกระทง เป็นโอกาสในการมีเพศสัมพันธ์ โดยขาดความระมัดระวัง และขาดความรู้ความ<br />

เข้าใจในการป้องกันตนเอง สถานศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างกระแสให้วัยรุ่นมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติ


พฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมและปลอดภัย ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์<br />

และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์<br />

8. กิจกรรมการพัฒนา :<br />

8.1 การคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ นิสิตที่มารับบริการที่หน่วยสร้างเสริมสุขภาพนิสิต<br />

8.2 การบริการให้คําปรึกษาทั้งในสถานบริการและทางโทรศัพท์<br />

8.3 พัฒนาระบบการให้คําปรึกษานิสิตที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ โดย<br />

8.3.1 จัดทําแนวทางปฏิบัติการให้คําปรึกษาผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การให้<br />

คําปรึกษานิสิตที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์/แท้ง การให้คําปรึกษาก่อน-หลังตรวจหาเชื้อ Anti-HIV<br />

8.3.2 จัดทําแนวทางการติดตามเยี่ยมหรือติดตามทางโทรศัพท์ ผู้ป่วย/ผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง<br />

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นิสิตที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ นิสิตที่แท้ง นิสิตที่มาตรวจ Anti-HIV นิสิตมารดาและ<br />

ทารกหลังคลอด<br />

8.3.3 ทําแบบประเมินความพึงพอใจการให้คําปรึกษา<br />

8.4 ศึกษาผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศที่ได้รับบริการให้คําปรึกษาโดยพยาบาลประจําหน่วยสร้าง<br />

เสริมสุขภาพนิสิต โรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> จากการศึกษาผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศที่ได้รับบริการ<br />

ให้คําปรึกษา ช่วงระยะเวลาเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 จํานวนทั้งหมด 20 ราย พบว่า ผู้ที่มี<br />

พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศมีความรู้ ความเข้าใจ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย โดยมี<br />

การป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์โดยใช้ถุงยางอนามัยร้อยละ<br />

100 และมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ในกลุ่มที่เคยทําแท้งมีการคุมกําเนิดที่เหมาะสม ยังไม่พบอุบัติการณ์<br />

การตั้งครรภ์ใหม่ ในหญิงตั้งครรภ์ในวัยเรียนมีการฝากครรภ์ตามเกณฑ์และคลอดบุตรปลอดภัยไม่มี<br />

ภาวะแทรกซ้อนต่างๆเกิดขึ้น<br />

8.5 จัดบริการสุขภาพเชิงรุกโครงการสุขภาพสัญจรไปตามกิจกรรมที่นิสิตจัดขึ้นหรือบริเวณหน้า<br />

หอพักนิสิต เช่น ช่วงเทศกาลรับน้อง งานเปิด-ปิดโลกกิจกรรม งานวันลอยกระทง วันเอดส์โลก เทศกาลวันวา<br />

เลนไทน์ ให้ความรู้ เล่นเกมส์ ตอบคําถามแจกของรางวัล เอกสารแผ่นพับ ให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อทาง<br />

เพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ โรคอื่นๆที่พบบ่อยในวัยรุ่น<br />

8.6 จัดทําสื่อประชาสัมพันธ์ หนังสั้น “อย่าไว้ใจใครนอกจากถุงยาง” แผ่นพับ ไวนิล โรคต่าง ๆที่พบ<br />

บ่อย ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆ บริเวณหน้าห้องหน่วยสร้างเสริมสุขภาพนิสิต<br />

โรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> และสนับสนุนสื่อประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ โปสเตอร์ เอกสารความรู้เกี่ยวกับ<br />

โรคต่างๆให้กับนิสิต<br />

9. การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : ผลลัพธ์การดําเนินงาน<br />

• นิสิตที่คัดกรองแล้วมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศได้รับบริการให้คําปรึกษา ร้อยละ 100<br />

• นิสิตที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศได้รับการติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์ ร้อยละ 100


• อัตราของการใช้ถุงยางในนิสิตที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และติดเชื้อ HIV ร้อยละ 100<br />

• อัตราการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซ้ําภายใน 90 วัน 0 %<br />

• นิสิตที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100<br />

• นิสิตที่ติดเชื้อ HIV มารับยาและทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100<br />

• อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ลดลง<br />

• จํานวนการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ลดลง<br />

• ไม่พบอุบัติการณ์ของนิสิตตั้งครรภ์ซ้ําหลังรับบริการให้คําปรึกษา<br />

• มีความเชื่อมโยงมากขึ้นเช่น PCT สูติ PCT จิตเวชและWardต่างๆ<br />

• เกิดเครือข่ายการทํางานด้านการสร้างเสริมสุขภาพทั้งภายในคณะและมหาวิทยาลัย มาตรการ 7 อ<br />

ด้านอนามัยเจริญพันธ์<br />

• เกิดเครือข่ายความร่วมมือระดับจังหวัดเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งจังหวัดพิษณุโลก ในการรณรงค์ป้องกันและ<br />

ควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น โดยร่วมมือกับสาธารณสุข<br />

จังหวัดพิษณุโลก รพ.พุทธชินราช เป็น Teen Center สถานบริการที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น<br />

อัตราปวย<br />

150<br />

100<br />

50<br />

0<br />

อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป้าหมายไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร<br />

122.03<br />

100<br />

42.76<br />

28.57<br />

2551 2552 2553 2554<br />

ป<br />

10. บทเรียนที่ได้รับ :<br />

“การให้คําปรึกษาที่มีประสิทธิภาพ การให้ความรู้ ความเข้าใจ และมีการติดตามผู้รับบริการอย่าง<br />

ต่อเนื่อง ทําให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสมและปลอดภัย”<br />

1<strong>1.</strong> การติดต่อกับทีมงาน : นางสาวโชติกา วงศ์เจริญ หน่วยสร้างเสริมสุขภาพนิสิต<br />

โรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> ตําบลท่าโพธิ์ อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก<br />

โทรศัพท์ 055 965100 e - mail : jo_chotikaw@hotmail.com

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!