26.01.2016 Views

data-160126132450

data-160126132450

data-160126132450

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม<br />

ขอพระราชทานทูลเกลาทูลกระหมอมถวาย<br />

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์<br />

สาขาวิชาพยาบาลศาสตร แด<br />

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี<br />

¢‹ÒÇÊÒÃÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂàªÕ§ãËÁ‹<br />

»‚·Õè 17 ©ºÑº¾ÔàÈÉ ¾Ô¸Õ¾ÃÐÃÒª·Ò¹»ÃÔÞÞҺѵà ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂàªÕ§ãËÁ‹ ¤ÃÑ駷Õè 50


สารอธิการบดี<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแสดงความยินดี กับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต และผู้ได้รับปริญญา<br />

กิตติมศักดิ์ทุกท่าน ในโอกาสที่เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 50 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ<br />

สยามบรมราชกุมารี ในวันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2559 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอให้บัณฑิตทุกท่าน<br />

มีความสุข ความสมหวัง ในการปฏิบัติหน้าที่การงานเพื่อการพัฒนาประเทศไทยของเราให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น<br />

ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ท่านนับถือ อันมีพระบรมธาตุดอยสุเทพ<br />

ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระพุทธพิงคนคราภิมงคล และพระพุทธทศพลชินราช ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำ ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

และด้วยเดชะพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ได้โปรดอภิบาล<br />

และพระราชทานพรให้บัณฑิต ทุกท่าน ประสบแต่ความสุข ความเจริญ มีกำาลังกาย กำาลังใจและกำาลังปัญญา<br />

ในการนำาพาชีวิตให้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงต่อไป<br />

ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต<br />

อธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

2 ทองกวาว<br />

Tong kwao I พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 50


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี<br />

เสด็จพระราชดำาเนินพระราชทานปริญญาบัตร<br />

แก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 50<br />

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำาเนินแทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำาเร็จการศึกษา<br />

ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 50 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2559 ณ หอประชุม<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำาเนิน<br />

แทนพระองค์ พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งที่ 50 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

แบ่งออกเป็นภาคเช้าและภาคบ่าย โดยภาคเช้าเวลาประมาณ 08.30 น. และภาคบ่ายเวลาประมาณ 13.00 น.<br />

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 50 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีมติอนุมัติปริญญากิตติมศักดิ์ แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ<br />

ในสาขาต่างๆ จำานวน 9 ท่าน ได้แก่ พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร) ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา<br />

นางสาวกรองทอง ชุติมา ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ นายซวง ชัยสุโรจน์ ปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์<br />

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา รองศาสตราจารย์ ดร.นายสัตวแพทย์เทอด เทศประทีป ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์<br />

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ ศิริสันธนะ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ รองศาสตราจารย์บุญรักษา สุนทรธรรม<br />

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดาราศาสตร์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประสิทธิ์ ฟูตระกูล ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต<br />

กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณสุรพล ดำาริห์กุล ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ<br />

ศิลปะและวัฒนธรรม นายอนันต์ ลี้ตระกูล ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการความรู้ และอนุมัติแต่งตั้ง<br />

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ จำานวน 2 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ทองเต็ม สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.นงนุช<br />

วณิตย์ธนาคม สาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการทุกท่าน เป็นผู้ที่สร้างประโยชน์ทั้งในด้านวิชาการ วิชาชีพ<br />

แก่สังคมและประเทศชาติเป็นอเนกประการ โดยจะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร และเกียรติบัตร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี<br />

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 50 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2559 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 50 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งออกเป็นภาคเช้าและภาคบ่าย โดยภาคเช้าเวลาประมาณ 08.30 น.<br />

และภาคบ่ายเวลาประมาณ 13.00 น. ซึ่งในปีนี้มีผู้สำาเร็จการศึกษา มีสิทธิ์เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร จำานวนทั้งสิ้น 7,232 คน จาก 20 คณะ<br />

2 วิทยาลัย 1 บัณฑิตวิทยาลัย คือ ปริญญาเอก 188 คน ปริญญาโท 1,599 คน ระดับปริญญาตรี 5,445 คน แบ่งออกเป็น คณะวิศวกรรมศาสตร์ 799 คน<br />

วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี 311 คน คณะศึกษาศาสตร์ 609 คน คณะเศรษฐศาสตร์ 301 คน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 91 คน<br />

คณะสังคมศาสตร์ 246 คน คณะสัตวแพทยศาสตร์ 93 คน คณะอุตสาหกรรมเกษตร 265 คน คณะการสื่อสารมวลชน 142 คน คณะเกษตรศาสตร์<br />

423 คน คณะทันตแพทยศาสตร์ 118 คน คณะเทคนิคการแพทย์ 306 คน คณะนิติศาสตร์ 192 คน คณะบริหารธุรกิจ 588 คน บัณฑิตวิทยาลัย 147 คน<br />

คณะพยาบาลศาสตร์ 278 คน คณะแพทยศาสตร์ 298 คน คณะเภสัชศาสตร์ 81 คน และคณะมนุษยศาสตร์ 520 คน คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์<br />

340 คน คณะวิจิตรศิลป์ 238 คน คณะวิทยาศาสตร์ 846 คน ในจำานวนนี้มีบัณฑิตที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 จำานวน 600 คน เกียรตินิยมอันดับ 2<br />

จำานวน 678 คน บัณฑิตที่ได้รับเหรียญรางวัลเรียนดีตลอดหลักสูตร เหรียญทอง จำานวน 133 คน เหรียญเงิน จำานวน 467 คน<br />

สำาหรับจำานวนผู้สำาเร็จการศึกษา ตั้งแต่เริ่มดำาเนินการจัดการศึกษา เมื่อปี พ.ศ.2507 จนถึงปัจจุบัน มีผู้สำาเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย<br />

เชียงใหม่ รวมทั้งสิ้น จำานวน 175,281 คน แบ่งเป็น ปริญญาเอก 1,479 คน ปริญญาโท 32,729 คน ปริญญาตรี 129,578 คน ปริญญาตรี<br />

(สมทบ) 3,959 คน ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง 920 คน ประกาศนียบัตรบัณฑิต 2,657 คน และประกาศนียบัตรต่างๆ 3,959 คน<br />

ทองกวาว<br />

วันที่ 25 มกราคม 2559 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ I Tong kwao<br />

3


มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถวายปริญญากิตติมศักดิ์<br />

แด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี<br />

สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในคราวประชุม เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขอพระราชทาน<br />

ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ แด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ<br />

สยามบรมราชกุมารี เพื่อเทิดทูนยกย่องในพระปรีชาสามารถในด้านพยาบาลศาสตร์ ที่ทรงพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน<br />

และทรงสนับสนุนกิจการด้านพยาบาลศาสตร์ของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านพยาบาลศาสตร์<br />

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขอนามัยของประชาชน ด้วยพระอัจฉริยภาพดังกล่าว สมควรได้รับการเฉลิมพระเกียรติคุณ<br />

ให้ปรากฏแก่วงวิชาการและวิชาชีพ เพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านพยาบาลศาสตร์ได้ดำาเนินตาม<br />

รอยเบื้องพระยุคลบาทสืบไป<br />

4 ทองกวาว<br />

Tong kwao I พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 50


คำาประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ<br />

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี<br />

ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทูลเกล้าทูลกระหม่อม<br />

ถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พยาบาลศาสตร์)<br />

พระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพในด้านพยาบาลศาสตร์ และสุขภาวะของประชาชนไทย ปรากฏให้เห็นในพระราชกรณียกิจ<br />

ที่ทรงปฏิบัติเกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลมาตั้งแต่ครั้งยังทรงดำารงพระอิสริยยศที่ “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา<br />

กิติวัฒนาดุลโสภาคย์” และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทรงเป็นอุปนายิกา ผู้อำานวยการสภากาชาดไทย ทรงริเริ่มโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน<br />

เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นทุรกันดาร เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย<br />

ลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก ปัจจุบันโครงการได้ขยายครอบคลุม 54 จังหวัด ในสถานศึกษา 825 แห่ง มีนักเรียนที่ได้รับประโยชน์<br />

จากโครงการนี้จำานวน 121,087 คน และยังขยายผลไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศในอาเซียน ทรงริเริ่มโครงการส่งเสริมโภชนาการ<br />

และสุขภาพอนามัยของแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร เพื่อให้แม่และเด็กได้รับบริการทางด้านอนามัยสาธารณสุขอย่างเหมาะสมและมีหลักโภชนาการ<br />

ที่ถูกต้อง นอกจากนี้พระองค์ท่านยังเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในการเปิดประชุมวิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ที่จัดโดยองค์กรวิชาชีพ<br />

การพยาบาลและสถาบันการศึกษาพยาบาลมาอย่างต่อเนื่อง<br />

ทรงริเริ่มโครงการพระราชดำาริ คือ โครงการผลิตพยาบาลเพื่อพัฒนาสุขภาพประชาชน ในจังหวัดชายแดนใต้ตามรอยพระบาทสมเด็จย่า<br />

เพื่อผลิตผู้ช่วยพยาบาลและพยาบาลวิชาชีพ สำาหรับปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ หรือโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพ<br />

ในระดับตำาบล ในจังหวัดชายแดนของประเทศ เพื่อพัฒนาสุขภาพของประชาชนในจังหวัดชายแดน อีกทั้งทรงจัดตั้งทุนมูลนิธิสมเด็จ<br />

พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เพื่อส่งพยาบาลไปศึกษาต่อต่างประเทศ และยังทรงเล็งเห็นความสำาคัญของการดูแลสุขภาพ และการป้องกัน<br />

ความเสี่ยงจากการทำางานของพยาบาล รวมทั้งการเพิ่มพูนความรู้และทักษะการดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรค จึงทรงพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์<br />

ร่วมกับ Temasek Foundation และ Tan Tock Seng Hospital ในการส่งพยาบาลไปศึกษาดูงาน Occupational Health Safety for Nurses<br />

ณ โรงพยาบาล Tan Tock Seng ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์<br />

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงสืบสานพระการุณย์สู่วิชาชีพการพยาบาลและสุขภาวะของประชาชนไทย<br />

และทรงงานอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 40 ปี เพื่อการพัฒนาในมิติต่างๆ โดยเฉพาะคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกเพศทุกวัย ทรงห่วงใยทุกข์สุข<br />

ของพสกนิกรทุกหมู่เหล่าให้มีโภชนาการ สุขภาพ และสุขอนามัยที่ดี ทรงสนับสนุนความเจริญก้าวหน้าของวิชาชีพการพยาบาล และพระราชทาน<br />

ขวัญกำาลังใจแก่พยาบาลวิชาชีพมาโดยตลอด ทั้งนี้ ด้วยความสำานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ<br />

สยามบรมราชกุมารี เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณให้แผ่ไพศาล และเพื่อเป็นสิริมงคลอันสูงสุดแก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่สืบไป<br />

ทองกวาว<br />

วันที่ 25 มกราคม 2559 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ I Tong kwao<br />

5


มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

อนุมัติปริญญากิตติมศักดิ์แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ และแต่งตั้งศาสตราจารย์เกียรติคุณ<br />

สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อนุมัติปริญญากิตติมศักดิ์ ประจำาปีการศึกษา 2558 แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำานวน 9 ท่าน และอนุมัติแต่งตั้ง<br />

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ จำานวน 2 ท่าน โดยจะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร และเกียรติบัตร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ<br />

สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 50 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2559 ณ หอประชุม<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีมติอนุมัติ<br />

ปริญญากิตติมศักดิ์แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำานวน 9 ท่าน ดังนี้<br />

พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร)<br />

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา<br />

นางสาวกรองทอง ชุติมา<br />

ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์<br />

นายซวง ชัยสุโรจน์<br />

ปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา<br />

รองศาสตราจารย์ ดร.นายสัตวแพทย์เทอด เทศประทีป<br />

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์<br />

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ ศิริสันธนะ<br />

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาแพทยศาสตร์<br />

รองศาสตราจารย์บุญรักษา สุนทรธรรม<br />

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดาราศาสตร์<br />

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประสิทธิ์ ฟูตระกูล<br />

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาแพทยศาสตร์<br />

ศาสตราจารย์เกียรติคุณสุรพล ดำาริห์กุล<br />

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม<br />

นายอนันต์ ลี้ตระกูล<br />

ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการความรู้<br />

นอกจากนี้ ได้อนุมัติแต่งตั้งศาสตราจารย์เกียรติคุณ จำานวน 2 ท่าน ดังนี้<br />

ศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ทองเต็ม<br />

สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์<br />

ศาสตราจารย์ ดร.นงนุช วณิตย์ธนาคม<br />

สาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์<br />

6 ทองกวาว<br />

Tong kwao I พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 50


คำาประกาศเกียรติคุณ<br />

พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร)<br />

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์<br />

สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา<br />

พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร) อายุ 95 ปี พรรษา 75<br />

สำาเร็จการศึกษาชั ้นประถม ศึกษาปีที ่ 4 จากโรงเรียนวัดสุปัฏนาราม<br />

จังหวัดอุบลราชธานี ในอดีตเคยดำารงตำาแหน่งพระราชาคณะชั ้นเทพ<br />

ที่พระเทพเจติยาจารย์ (ฝ่ายวิปัสสนาธุระ) ใน พ.ศ. 2545 ปัจจุบันดำ ารงตำาแหน่ง<br />

เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร ประธานผู ้ก่อตั ้ง มูลนิธิสถาบัน<br />

พลังจิตตานุภาพ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร<br />

พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร) เป็นผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์<br />

กว้างไกล ทั้งในด้านการศึกษาด้วยการส่งเสริมการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร<br />

ทั้งในระดับมัธยมศึกษา ระดับอุดมศึกษา และการศึกษาพระปริยัติธรรม โดยสร้าง<br />

วิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง คือ วิทยาลัยสงฆ์กำ าแพงแสน (วัดหนองกร่าง) จังหวัดนครปฐม<br />

และวิทยาลัยสงฆ์วังน้อย (มหาวชิราลงกรณ์ราชวิทยาลัย) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา<br />

และใช้วัดธรรมมงคล เป็นสาขาของสถาบันราชภัฎสวนสุนันทา เพื่อให้พระภิกษุ<br />

สามเณรได้มีโอกาสศึกษาในระดับอุดมศึกษา จัดสร้างโรงเรียนอนุบาลธรรมศาลา<br />

วัดธรรมมงคล ตามพระราชดำาริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดทำ าหอสมุดธรรมะ<br />

ณ พระมหาเจดีย์วัดธรรมมงคล ในงานด้านเผยแพร่พระพุทธศาสนา ได้จัดทำา<br />

หนังสือชื่อ “มุตโตทัย” ซึ่งเป็นหนังสือที่บันทึกพระธรรมเทศนาของพระอาจารย์<br />

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และประวัติ ตีพิมพ์เผยแพร่ไปกว่าล้านเล่ม และยังได้เขียน<br />

ตำาราสมาธิ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน จัดสร้างสถาบันพลังจิตตานุภาพ<br />

และศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ 134 สาขา ทั ่วประเทศไทยและต่างประเทศ<br />

เพื่อเป็นนครธรรม และเพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เรื่องสมาธิ ทั้งภาค ทฤษฎี<br />

และภาคปฏิบัติ โดยจัดทำาตั้งแต่ พ.ศ.2536 ไปทั่วประเทศและทั่วโลก ซึ่งปัจจุบัน<br />

มีศูนย์สอนครูสมาธิในต่างประเทศ เช่น แคนาดา 8 สาขา สหรัฐอเมริกา 3 สาขา<br />

เป็นต้น<br />

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พระธรรมมงคลญาณ<br />

(วิริยังค์ สิรินฺธโร)มีความตั้งใจในการที่จะเผยแพร่หลักธรรมคำ าสอน ที่เป็นหลักสูตร<br />

การสอนสมาธิหลักสูตรต่างๆ ทั ้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างมีมาตรฐาน<br />

ได้เมตตาปรับหลักสูตร “ครูสมาธิ” ซึ ่งเป็นหลักสูตรที ่สอนเรื ่องการทำาสมาธิ<br />

ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สำาหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้มีโอกาสได้เรียนรู้<br />

ในชื ่อหลักสูตร “สุทันตสาสมาธิ” และได้นำามาเปิดสอนเป็นวิชาเลือกเสรี<br />

กระบวนวิชา 012100 การพัฒนาจิตเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ของภาควิชาปรัชญา<br />

และศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมุ่งหวังให้นักศึกษา<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ซึมซับหลักธรรมคำาสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า<br />

และได้พื้นฐานการของนำาสมาธิมาใช้ เพื่อเป็นหลักในการดำาเนินชีวิตตลอดชีวิต<br />

คำาประกาศเกียรติคุณ<br />

นางสาวกรองทอง ชุติมา<br />

ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์<br />

นางสาวกรองทอง ชุติมา สำาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี<br />

จากมหาวิทยาลัย Minnesota และระดับปริญญาโท (M.B.A.) จาก Wharton<br />

School of Finance มหาวิทยาลัย Pennsylvania ประเทศสหรัฐอเมริกา<br />

ในอดีตเคยดำารงตำาแหน่ง ผู้อำานวยการ ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย<br />

ปัจจุบันได้ให้การสนับสนุนงานด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้กับสถาบัน<br />

การศึกษาของจังหวัดเชียงใหม่และงานสาธารณกุศลต่างๆ และเป็นผู้ให้ความรู้<br />

ด้านประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่แก่ผู้ที่สนใจ<br />

นางสาวกรองทอง ชุติมา เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สนับสนุน<br />

นักวิชาการและงานด้านการศึกษาอย่างสมํ่าเสมอ โดยให้ทุนสนับสนุนโดยตรง<br />

แก่สถาบันการศึกษา และให้ทุนตรงแก่นักวิชาการที่ทำางานค้นคว้าที่ถนัด<br />

และขาดคนสนใจ เช่น เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เงินตราของประเทศไทย<br />

เป็นต้น ซึ่งหลายทุนอยู่ในสายศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ เป็นการ<br />

เชื่อมโยงสหสาขาวิชา เป็นบุคคลที่ชาวเชียงใหม่พึงยกย่อง เนื่องจากเป็นผู้<br />

ปิดทองหลังพระให้ชาวเชียงใหม่อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่วงศ์ตระกูล (นิมมานเหมินท์)<br />

ที่ได้อุทิศทั้งที่ดิน กำาลังทรัพย์ และกำาลังสติปัญญา ในการพัฒนาและอนุรักษ์<br />

เมืองเชียงใหม่ ขณะที่ดำารงตำาแหน่งหัวหน้างานในธนาคารแห่งประเทศไทย<br />

เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ที่พัฒนาตัวเลขด้านการเงินและการธนาคารของประเทศ<br />

ที่เป็นฐานในการเก็บตัวเลขและใช้ประโยชน์สืบมาจนทุกวันนี้ เป็นหนึ่งในสอง<br />

ของสตรีที่โดดเด่นที่สุดของธนาคารแห่งประเทศไทย ในยุคบุกเบิกที่เป็นผู้บริหาร<br />

ระดับสูงของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยดูแลสายงานด้านในประเทศเป็นหลัก<br />

และเป็นหนึ่งในกลุ่มเสรีไทยสายอเมริกา<br />

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ให้การสนับสนุน<br />

ทุนทรัพย์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

มาโดยตลอด ตั้งแต่ครั้งบริจาคที่ดินจำานวน 100 ไร่เศษ ณ บริเวณฝั่งตะวันตก<br />

ของตัวเมืองใกล้เชิงดอยสุเทพเพื่อใช้จัดสร้างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

โดยครอบครัว นางสาวกรองทอง ชุติมา (ครอบครัวนิมมานเหมินท์-ชุติมา)<br />

รวมทั้งการสนับสนุนสถาบันการศึกษาอื่นๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย<br />

ทองกวาว<br />

วันที่ 25 มกราคม 2559 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ I Tong kwao<br />

7


คำาประกาศเกียรติคุณ<br />

นายซวง ชัยสุโรจน์<br />

ปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์<br />

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา<br />

นายซวง ชัยสุโรจน์ สำาเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (โยธา)<br />

จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2521 และ MBA (Master Of Business<br />

Administration Program) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2531<br />

เคยดำารงตำาแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำากัด (มหาชน)<br />

พ.ศ. 2555 นายกสมาคมนักศึกษาเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />

เชียงใหม่ ปัจจุบันดำารงตำาแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สยาม รีเทล<br />

ดีเวลล็อปเม้นท์ จำากัด กรรมการ บริษัท สยาม รีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ จำากัด<br />

และคณะกรรมการที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมนักศึกษาเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

นายซวง ชัยสุโรจน์ มีผลงานที่เป็นเกียรติประวัติดีเด่น ได้แก่<br />

เป็นผู้ริเริ่มนำาศักยภาพของนักศึกษาเก่าร่วมพัฒนาขีดสมรรถนะของคณะ<br />

วิศวกรรมศาสตร์ ส่งเสริมการดำาเนินโครงการพัฒนาคณะวิศวกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการ “New Campus” อีกทั้งเป็นหนึ่ง<br />

ของผู้นำาที่มีบทบาทสูงในการระดมทุนบริจาค จำานวน 100 ล้านบาท<br />

จากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาด้านกายภาพของคณะให้เกิดเป็นรูปธรรม<br />

โดยเร็ว เป็นผู้สนับสนุนและสร้างจุดแข็งให้แก่บัณฑิตและหลักสูตรวิศวกรรม<br />

ศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา) ด้วยการร่วมพัฒนาหลักสูตรฯ โดยบรรจุ<br />

ให้มีแขนงวิชาด้านการจัดการการก่อสร้าง (Construction Management)<br />

เป็นทางเลือกให้แก่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ และได้รับการคัดเลือก<br />

ให้ดำารงตำาแหน่งนักศึกษาเก่าดีเด่นคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

ประจำาปี 2549 และนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดีเด่น ประจำาปี 2557<br />

สาขาบริหารธุรกิจ<br />

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายซวง ชัยสุโรจน์<br />

เป็นผู้ริเริ่มโครงการพัฒนาพื้นที่ของคณะเพื่อรองรับอนาคตของคณะ<br />

วิศวกรรมศาสตร์ โดยนำาเสนอแนวคิดการออกแบบการพัฒนาด้านกายภาพ<br />

ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบริเวณข้างเคียง<br />

มีเนื้อหาการพัฒนาทั้งภูมิทัศน์ อาคารเก่า รวมทั้งการก่อสร้างอาคารใหม่<br />

การปรับปรุงห้องนํ้าสำาหรับนักศึกษาในอาคารต่างๆ ส่งเสริมและสนับสนุน<br />

การตั้งชมรม Business Club และยังเป็นผู้ริเริ่มการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม<br />

ของศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยสร้างความสัมพันธ์ของศิษย์เก่า<br />

ให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนในการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาและสนับสนุน<br />

การพัฒนาคณะวิศวกรรมศาสตร์อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งได้สนับสนุนการก่อสร้าง<br />

สมาคมนักศึกษาเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และยังได้ร่วม<br />

พัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมและการบริหาร<br />

งานก่อสร้าง หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 อีกด้วย<br />

8 ทองกวาว<br />

Tong kwao I พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 50<br />

คำาประกาศเกียรติคุณ<br />

รองศาสตราจารย์ ดร.นายสัตวแพทย์เทอด เทศประทีป<br />

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์<br />

สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์<br />

รองศาสตราจารย์ ดร.นายสัตวแพทย์เทอด เทศประทีป สำาเร็จ<br />

การศึกษาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2510<br />

และดุษฎีบัณฑิต ทางด้านพยาธิวิทยาการสัตวแพทย์ (Veterinary Pathology)<br />

College of Veterinary Medicine, Hannover, Germany พ.ศ. 2516<br />

เคยดำารงตำาแหน่ง ผู้อำานวยการโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณบดีผู้ก่อตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />

เชียงใหม่ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปัจจุบันดำารงตำาแหน่ง<br />

รักษาการผู้อำานวยการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สาขากรุงเทพ<br />

กรรมการพิจารณาทุนการศึกษาปริญญาเอก แผนกสัตวแพทยศาสตร์<br />

มูลนิธิอานันทมหิดล และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภาคีช้างไทย<br />

รองศาสตราจารย์ ดร.นายสัตวแพทย์เทอด เทศประทีป ได้อุทิศตน<br />

ให้กับวิชาชีพ มุ่งมั่นและผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการทางด้าน<br />

สัตวแพทย์ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านพยาธิวิทยาทางสัตวแพทย์<br />

อย่างดีเลิศ เคยได้ร่วมถวายงานแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในการ<br />

ดูแลรักษาโรคตาอักเสบของช้างเผือกคู่พระบารมี คือ พระเศวตสุรคชาธาร<br />

ณ พระราชวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขณะดำารงตำาแหน่งคณบดี<br />

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธาน<br />

คณะทำางานฝ่ายสัตวแพทย์ ดำาเนินการผ่าตัดรักษาเท้าของช้างโม่ตาลา ซึ่งได้รับ<br />

อุบัติเหตุจากการเหยียบกับระเบิดในเขตชายแดนประเทศพม่าและได้รับการรักษา<br />

ที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำาปาง ซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างด้านสวัสดิภาพสัตว์<br />

ที่ทั่วโลกให้ความสนใจและเป็นรายแรกของโลกที่ได้รับการผ่าตัดเป็นผลสำาเร็จ<br />

ได้รับรางวัล “สัตวแพทย์ตัวอย่าง ประจำาปี 2544 สายงานเผยแพร่วิชาชีพ<br />

และบริการสังคม” จากสัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

นอกจากนี้ ยังเป็นประธานคนแรกของภาคีสัตวแพทย์แห่งประเทศไทย<br />

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์<br />

ดร.นายสัตวแพทย์เทอด เทศประทีป เป็นอดีตคณบดีผู้ก่อตั้ง<br />

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างปี พ.ศ. 2537-2544<br />

เป็นผู้ริเริ่มในการจัดระบบในรูปแบบใหม่ๆ ของคณะสัตวแพทยศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไปสู่ความเป็นสากล โดยเน้นการทำางาน การเรียนการสอน<br />

งานวิจัย ที่จะพัฒนาท้องถิ่นและความเป็นวัฒนธรรมล้านนา นำาจุดเด่นเฉพาะถิ่น<br />

ไปสู่สากล ตามแนวคิดที่ว่า “Think Globally Act Locally” อีกทั้งมีความคิด<br />

ริเริ่มที่ให้นักศึกษานำาเสนองานเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นจุดเด่นทำาให้นักศึกษา<br />

สัตวแพทย์ มีอัตลักษณ์ด้านภาษา นอกจากนี้ยังได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือ<br />

ทางวิชาการระหว่างคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับคณะ<br />

สัตวแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลก ทำาให้เกิดสัญญาความร่วมมือ<br />

ทางวิชาการระหว่างสถาบัน มีการให้ทุนแก่อาจารย์เพื่อศึกษาต่อต่างประเทศ<br />

รวมทั้งทุนแลกเปลี่ยนแก่นักศึกษาสัตวแพทย์ในการเพิ่มพูนประสบการณ์<br />

การทำางานระหว่างประเทศอีกด้วย


คำาประกาศเกียรติคุณ<br />

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ ศิริสันธนะ<br />

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์<br />

สาขาวิชาแพทยศาสตร์<br />

ศาสตราจารย์ นายแพทยธีระ ศิริสันธนะ สำาเร็จการศึกษา<br />

วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง) คณะวิทยาศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล และแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์<br />

โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง)<br />

เคยดำารงตำาแหน่งกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์<br />

รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ และผู้อำานวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันดำารงตำาแหน่ง กรรมการแผนกแพทยศาสตร์<br />

มูลนิธิอานันทมหิดล กรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ ศิริสันธนะ เป็นผู้มีคุณธรรมและ<br />

สุจริตธรรม มีผลงานซึ่งแสดงถึงความสำาเร็จอันยอดเยี่ยมในวิชาชีพในด้าน<br />

การวิจัยด้านโรคติดเชื้อและโรคเอดส์ มีโอกาสได้รับทุนโดยตรงจาก NIH<br />

ซึ่งเป็นทุนขนาดใหญ่ เพื่อทำาการวิจัยและแก้ไขเพื่อยุติปัญหาด้านโรคเอดส์<br />

ของประเทศไทย และของโลกในอนาคต นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มศึกษาวิจัย<br />

โรคที่ยังไม่มีผู้ใดรายงานมาก่อน อาทิ โรคแอนแทร็กซ์ในช่องปาก โรคติดเชื้อ<br />

Rickettsia ชนิด Thai tick typhus ตลอดจนเป็นผู้จัดทำารายงานผู้ป่วยที่เป็น<br />

โรคติดเชื้ออื่นๆ เป็นรายงานแรกในประเทศไทย ได้แก่ โรคติดเชื้อ Eikenella<br />

corrodens โรคติดเชื้อ Bacillus cereus และโรคลิ้นหัวใจอักเสบจาก<br />

เชื้อ Corynbacterium diphtheria และยังได้รับรางวัลอันเป็นที่ประจักษ์<br />

ถึงผลงานอันยอดเยี่ยมในวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับ อาทิ รางวัลมหิดลทยากร<br />

ปี พ.ศ. 2551 รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจำาปี พ.ศ. 2549 จากสำานักงานกองทุน<br />

สนับสนุนการวิจัย (สกว.)รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์<br />

ประจำาปี พ.ศ. 2547 จากสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัล “เมธีวิจัยอาวุโส” ประจำาปี<br />

พ.ศ. 2546 จากสำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) รางวัลผลงานวิจัย<br />

เกียรติยศ สำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจำาปี 2545<br />

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์<br />

นายแพทย์ธีระ ศิริสันธนะ มีความเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

มาอย่างยาวนาน ในฐานะข้าราชการประจำาในตำาแหน่งแพทย์ อาจารย์แพทย์<br />

นักวิจัย ผู้บริหารส่วนงาน และยังได้ช่วยเหลือในกิจการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย<br />

เป็นผู้ปฏิบัติงานอย่างทุ่มเท ผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับสถาบันวิจัย<br />

วิทยาศาสตร์สุขภาพ ทำาให้รายได้จากทุนวิจัยต่างประเทศเพิ่มขึ้นจำานวนมาก<br />

และได้บริหารจัดการองค์กรให้มี core competencies ที่เป็นองค์ความรู้<br />

ติดตัวสถาบันฯ ไปตลอด (organization knowledge) ส่งผลให้ได้รับทุนวิจัย<br />

ในระดับโลก Clinical Trials Units ที่เป็นทุนจากรัฐบาลสหรัฐเพียงแห่งเดียว<br />

ในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังเป็นผู้จัดตั้ง Dean Consortium (ผู้บริหาร<br />

คณะและสถาบัน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ<br />

ในการทำางานของแต่ละคณะตามที่ได้รับมอบหมาย และร่วมดำาเนินงาน<br />

การวิจัยเชิงบูรณาการระหว่างกัน<br />

คำาประกาศเกียรติคุณ<br />

รองศาสตราจารย์บุญรักษา สุนทรธรรม<br />

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดาราศาสตร์<br />

รองศาสตราจารย์บุญรักษา สุนทรธรรม สำาเร็จการศึกษา<br />

วิทยาศาสตรบัณฑิต (ฟิสิกส์) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2516<br />

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ฟิสิกส์) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2522<br />

M.Sc. (Astronomy), จาก University of Canterbury, New Zealand พ.ศ. 2524<br />

เคยดำารงตำาแหน่ง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

อุปนายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย ปัจจุบันดำารงตำาแหน่งผู ้อำานวยการ<br />

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ<br />

สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ กรรมการโครงการจัดทำาพจนานุกรม<br />

ดาราศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน<br />

รองศาสตราจารย์บุญรักษา สุนทรธรรม เป็นผู้ประสบความสำาเร็จ<br />

ยอดเยี ่ยมในวิชาชีพดาราศาสตร์จนปรากฏเป็นที ่ยอมรับ ดังปรากฏจากการ<br />

ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ<br />

สยามบรมราชกุมารี ตามเสด็จถวายงานทางวิชาการด้านดาราศาสตร์อย่างต่อเนื่อง<br />

เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่สร้างคุณประโยชน์อันก่อให้เกิดความสนใจด้านดาราศาสตร์<br />

ทำาให้เยาวชนไทยได้มีโอกาสรับรู้ข่าวสารทางด้านดาราศาสตร์ เป็นแรงบันดาลใจ<br />

ให้เยาวชนและคนไทยมาสนใจและตื่นตัวในความรู้และปรากฏการณ์ทางด้าน<br />

ดาราศาสตร์ นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ระดับอุดมศึกษา<br />

ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำาปี 2541<br />

และเป็นผู้ริเริ่มโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยได้รับการอนุมัติ<br />

ให้จัดตั้งเป็นสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ตั้งแต่ปี 2551<br />

ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำากับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และยังได้รับ<br />

การแต่งตั้งเป็นผู้อำานวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติมาจนถึงปัจจุบัน<br />

ในส่วนที ่เกี ่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์<br />

บุญรักษา สุนทรธรรม เป็นผู ้จัดทำาโครงการวิจัยร่วม ระหว่างนักวิจัยจาก<br />

สถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติกับคณาจารย์จากห้องปฏิบัติการดาราศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการสนับสนุนจากสำ านักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ<br />

และกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้สนับสนุน<br />

ให้คณาจารย์และนักศึกษาเข้าใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์<br />

แห่งชาติ เช่น กล้องโทรทรรศน์ 2.4 เมตร ของหอดูดาวแห่งชาติ รวมทั้งได้พัฒนา<br />

อุปกรณ์ของหอดูดาวสิรินธร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และยังเป็นผู้สนับสนุนให้เกิด<br />

ความร่วมมือด้านการพัฒนานักศึกษาและกำ าลังคนด้านดาราศาสตร์กับมหาวิทยาลัย<br />

เชียงใหม่ อีกทั้งสนับสนุนให้เกิดทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์ สาขาดาราศาสตร์<br />

ทั้งในระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก นอกจากนี้ยังเป็นผู้มีส่วนในการจัดกิจกรรม<br />

ส่งเสริมวิชาการและบริการชุมชน ในรูปแบบของความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัย<br />

ดาราศาสตร์แห่งชาติกับภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

อย่างต่อเนื่อง ทั้งกิจกรรมวิชาการดาราศาสตร์ดูดาวที่หอดูดาวสิรินธร มหาวิทยาลัย<br />

เชียงใหม่ และตามที่ต่างๆ อีกด้วย<br />

ทองกวาว<br />

วันที่ 25 มกราคม 2559 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ I Tong kwao<br />

9


คำาประกาศเกียรติคุณ<br />

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประสิทธิ์ ฟูตระกูล<br />

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาแพทยศาสตร์<br />

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประสิทธิ์ ฟูตระกูล สำาเร็จ<br />

การศึกษา แพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ.2507<br />

American Academy of Pediatrics University Kansas Medical Center<br />

จากประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2509 เคยดำารงตำาแหน่ง ศาสตราจารย์ ระดับ 11<br />

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2537 และกรรมการ<br />

ประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />

ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ปัจจุบันดำารงตำาแหน่ง ประธานสำานัก<br />

วิทยาศาสตร์ คณะกรรมการส่งเสริมกิจการสำานักงานราชบัณฑิตยสถาน ประธาน<br />

คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะกรรมการ<br />

พิจารณาตำาแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และประธานกรรมการ<br />

สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ<br />

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประสิทธิ์ ฟูตระกูล ได้รับ<br />

การพิจารณาคัดเลือกเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปี 2542 สาขาวิทยาศาสตร์<br />

การแพทย์ เป็นผู้อุทิศตนให้กับงานวิจัยด้านโรคไตชนิดต่างๆ ซึ่งศึกษามาเป็น<br />

เวลานานกว่า 30 ปี จนผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ทั้งในระดับชาติ<br />

และระดับนานาชาติ และได้นำาองค์ความรู้มาประยุกต์รักษาผู้ป่วยโรคไตอักเสบ<br />

เรื้อรังทั้งหลาย โดยยึดหลักอริยสัจสี่ของพระพุทธองค์ ด้วยการใช้กลวิธีการ<br />

เพิ่มปริมาณเลือดหล่อเลี้ยงไต โดยให้ยาออกฤทธิ์สลายความผิดปกติที่พบ<br />

ในผู้ป่วยโรคไต ผลการรักษาที่ประมวลจากการติดตามเป็นเวลา 30 ปี พบว่า<br />

วิธีการรักษาโดยยึดหลักแนวคิดดังกล่าวสามารถช่วยป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง<br />

ขั้นสุดท้ายได้ดีกว่าการรักษาโดยวิธีปฏิบัติทั่วไป ที่ละเลยความสำาคัญของภาวะ<br />

เลือดพร่องในการทำาลายไต เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการโรคไต และช่วย<br />

ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา<br />

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์<br />

กิตติคุณ นายแพทย์ประสิทธิ์ ฟูตระกูล ได้ให้ความช่วยเหลือคณาจารย์<br />

ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ได้รับตำาแหน่งทางวิชาการ ด้วยการเป็นคณะกรรมการ<br />

พิจารณาตำาแหน่งทางวิชาการ ตั้งแต่ปี 2549 ถึงปัจจุบัน ซึ่งจะรับผิดชอบ<br />

เป็นประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดย<br />

ส่วนใหญ่จะรับดูแลผู้เสนอขอตำาแหน่งศาสตราจารย์และศาสตราจารย์ระดับ 11<br />

/ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) ด้วยความรู้ความสามารถ ความอดทน<br />

และประสบการณ์ในการประชุมร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อช่วยเหลือคณาจารย์<br />

ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำารงตำาแหน่งทางวิชาการ<br />

ยังประโยชน์ต่อวงวิชาการอย่างยิ่ง<br />

10 ทองกวาว<br />

Tong kwao I พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 50<br />

คำาประกาศเกียรติคุณ<br />

ศาสตราจารย์เกียรติคุณสุรพล ดำาริห์กุล<br />

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์<br />

สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม<br />

ศาสตราจารย์เกียรติคุณสุรพล ดำาริห์กุล สำาเร็จการศึกษา<br />

ศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) สาขามานุษยวิทยาวัฒนธรรม จากมหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร พ.ศ. 2515 สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยา<br />

จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2527 ในอดีตเคยรับราชการในตำาแหน่ง<br />

อาจารย์ สังกัดภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

ทำาหน้าที่เป็นหัวหน้าภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ พ.ศ.2542-2543<br />

และที่ปรึกษาอาวุโสสำานักบริการวิชาการ (UNISERV) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

ใน พ.ศ.2548-2555<br />

ศาสตราจารย์เกียรติคุณสุรพล ดำาริห์กุล เป็นผู้ที่มีความรู้<br />

ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี<br />

มีผลงานวิจัย งานเรียบเรียงหนังสือ ตำารา และบทความทางด้านวิชาการ<br />

ประวัติศาสตร์และโบราณคดีจำานวนมาก จนได้รับรางวัลต่าง ๆ อาทิ รางวัล<br />

ผลงานวิจัยประเภทชมเชย สาขาปรัชญา เรื่อง งานศิลปกรรมลายคำาประดับ<br />

อาคารทางศาสนาล้านนา ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20–24 จากสภาวิจัยแห่งชาติ<br />

พ.ศ. 2543 รางวัลผู้ประพันธ์หนังสือสารคดีประเภทดีเด่น เรื่อง ล้านนา : สิ่งแวดล้อม<br />

สังคมและวัฒนธรรม จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. 2543<br />

รางวัลผู้ประพันธ์หนังสือสารคดีประเภทชมเชย เรื่องลายคำาล้านนา จาก<br />

คณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. 2544 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียน<br />

อัสสัมชัญลำาปาง พ.ศ. 2544 และรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านประวัติศาสตร์<br />

เฉพาะเกี่ยวกับศิลปะท้องถิ่นอันเกี่ยวข้องกับศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนา<br />

ในประเภทต่างๆ เช่น เรือนที่พักอาศัยแบบพื้นถิ่นและแบบอิทธิพลตะวันตก<br />

พุทธศาสนสถานแบบล้านนา ไทใหญ่ ไทลื้อ และแบบพม่า อาคารเกี่ยวกับ<br />

การทํามาหากิน เช่น ห้างนา ยุ้งข้าว ฌาปนสถาน และปราสาทศพ อันเป็น<br />

งานศิลปสถาปัตยกรรมที่กระจายอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลําปาง จังหวัด<br />

ลําพูน จังหวัดเชียงราย จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก<br />

และจังหวัดอุตรดิตถ์ นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและมีคุณธรรมเพียบพร้อม<br />

ด้วยความรู้ทางวิชาการ เป็นที่ยอมรับนับถือในฐานะนักวิชาการและในวงการ<br />

สาขาวิชาศิลปะไทยอีกด้วย<br />

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์<br />

เกียรติคุณสุรพล ดำาริห์กุล เคยดำารงตำาแหน่งหัวหน้าภาควิชาศิลปะไทย<br />

เมื่อ พ.ศ. 2542–2543 ที่ปรึกษาคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ บรรณาธิการวารสาร<br />

วิชาการวิจิตรศิลป์ ที่ปรึกษาอาวุโสสำานักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

ประธานคณะกรรมการบริหารงานบัณฑิตศึกษาประจำาสาขาวิชาการจัดการ<br />

ศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้รับแต่งตั้ง<br />

เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ สาขาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัย<br />

เชียงใหม่ ประจำาปีการศึกษา 2553


คำาประกาศเกียรติคุณ<br />

นายอนันต์ ลี้ตระกูล<br />

ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์<br />

สาขาวิชาการจัดการความรู้<br />

นายอนันต์ ลี้ตระกูล สำาเร็จการศึกษาปริญญาตรีพาณิชยศาสตร-<br />

บัณฑิต (สถิติ) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 เคยดำารงตำาแหน่ง<br />

ผู้อำานวยการฝ่ายการตลาด บริษัทไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำากัด พ.ศ. 2531 – 2536<br />

กรรมการนโยบายการเงินและทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกรรมการ<br />

บริหารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />

นายอนันต์ ลี้ตระกูล ได้ทุ่มเทอุทิศตน นำาการจัดการความรู้<br />

ไปสู่ภาคปฏิบัติ โดยเป็นผู้เริ่มโครงการเชียงใหม่สู่มรดกโลก โดยได้ร่วมกับ<br />

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่<br />

กรมศิลปากร ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ของซีมีโอ<br />

คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ และผู้แทนถาวรไทยประจำาองค์การยูเนสโก ปารีส<br />

ฝรั่งเศส ดำาเนินโครงการผลักดันเมืองเชียงใหม่สู่มรดกโลก เพื่ออนุรักษ์<br />

และพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษล้านนา ทั้งด้านสถาปัตยกรรม<br />

ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม ให้ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นมรดกโลก<br />

ซึ่งปัจจุบัน UNESCO ได้รับเชียงใหม่เป็น Tentative World Heritage List<br />

นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ประสานงานให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดตั้งศูนย์ศึกษา<br />

และอนุรักษ์นกยูงไทยในถิ่นกำาเนิด อำาเภอลี้ จังหวัดลำาพูน เพื่อสืบสาน<br />

ตำานานการอนุรักษ์นกยูงไทยของครูบาศรีวิชัย อนุรักษ์และขยายพันธุ์นกยูงไทย<br />

ให้เพิ่มจำานวนขึ้น ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สร้างจิตสำานึกร่วมกับ<br />

ประชาชนในพื้นที่ในการอนุรักษ์นกยูงไทย ให้เป็นแหล่งศึกษาวิจัยนกยูงไทย<br />

และสัตว์ป่าพื้นถิ่น รวมถึงการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศน์ นายอนันต์<br />

ลี้ตระกูล ได้รับรางวัล จากการทำางานหลายรางวัล อาทิ รางวัล IBM Golden<br />

Circle Award of the Year รางวัลนักบริหารแห่งปี 2533 รางวัลพ่อแห่งชาติ<br />

ประจำาปี 2536 รางวัลนิสิตเก่าดีเด่น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายอนันต์ ลี้ตระกูล<br />

ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 6 วาระ<br />

นับตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2543 ถึงวันที่ 8 ธันวาคม 2556 นอกจากนี้<br />

ยังมีงานพิเศษอื่นๆ อาทิ กรรมการด้านการศึกษามูลนิธิพระดาบส กรรมการ<br />

สภาผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ<br />

ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ<br />

กรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์<br />

และเทคโนโลยี สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) อีกด้วย<br />

เป็นกรรมการอำานวยการในช่วง 10 ปีแรก เป็นผู้ประสานงานติดต่อทายาท<br />

อาจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์ มอบสมบัติหนังสือของท่านทั้งหมดให้สำานักหอสมุด<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีการจัดสร้างห้องสมุดสุกิจ นิมมานเหมินท์ อีกด้วย<br />

นอกจากนี้ ยังได้มอบ Software ทางด้านการบริหารโรงแรมและที่พักให้กับ<br />

UNISERV และ International Center (ในขณะนั้น) เมื่อครั้งทำางานเป็น<br />

Country Sales Manager ที่ IBM ได้มอบ IBM Model Classroom<br />

ให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นับเป็น IBM Model Classroom แห่งแรก<br />

ของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังได้ช่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

อาทิ คณะกรรมการนโยบายการเงิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กรรมการที่ปรึกษา<br />

คณะกรรมการสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กรรมการ<br />

อำานวยการคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อีกด้วย<br />

ทองกวาว<br />

วันที่ 25 มกราคม 2559 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ I Tong kwao<br />

11


คำาประกาศเกียรติคุณ<br />

ศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ทองเต็ม<br />

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คณะวิทยาศาสตร์<br />

ศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ทองเต็ม สำาเร็จการศึกษาปริญญาวิทยา<br />

ศาสตรบัณฑิต (เหรียญเงิน) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาวิทยาศาสตร<br />

มหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญา Master of<br />

Science จาก University of Illinois at Chicago, U.S.A และ ปริญญา<br />

Doctor of Philosophy จาก University of Illinois at Chicago, U.S.A<br />

ศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ทองเต็ม มีความรู้ ความสามารถและ<br />

ความชำานาญพิเศษในด้านวัสดุศาสตร์ ได้ทำาการสอนในระดับปริญญาตรี<br />

ปริญญาโท และปริญญาเอก สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ ฟิสิกส์ ฟิสิกส์ประยุกต์<br />

แก่นักศึกษาและนักศึกษาบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ ได้ทำางานวิจัย<br />

โดยการสังเคราะห์และวิเคราะห์วัสดุนาโนที่มีคุณสมบัติตรวจจับแสง แก๊ส<br />

อุณหภูมิ ชะลอการเติบโตของแบคทีเรีย (Bacteria) และการเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง<br />

รวมทั้งการปรับปรุงความแข็งและความทนทานต่อการสึกหรอ ของโลหะ<br />

ให้ดีขึ้นได้สำาเร็จ และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการนานาชาติ<br />

ที่ได้ผ่านการตรวจสอบทางวิชาการ (Reviewer) แล้ว และส่วนใหญ่มีค่า<br />

Impact factor เป็นจำานวนมากกว่า 250 เรื่อง ได้เสนอผลงานวิจัยในการประชุม<br />

ระดับนานาชาติ ประมาณ 170 เรื่อง อย่างต่อเนื่อง และได้ยื่นขอรับสิทธิบัตร/<br />

อนุสิทธิบัตรผ่านพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ จำานวน 3 เรื่อง<br />

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ทองเต็ม ยังเป็นกรรมการ<br />

ผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน ปรับปรุงและจัดทำาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต<br />

สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ ให้กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นคณะกรรมการ<br />

ฝ่ายวิชาการ สาขา B: Physics & Applied Physics ในการประชุม วทท<br />

37-41 และสาขา F: Nano science & Nano technology ในการประชุม<br />

วทท 38 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์และกรรมการพิจารณาร่างหลักสูตร ให้กับ<br />

มหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร<br />

เป็น Reviwer ตรวจสอบผลงานทางวิชาการก่อนตีพิมพ์ในวารสารทั้งประเทศ<br />

และระดับนานาชาติ และ proceeding ในการประชุมต่างๆ ทั้งระดับประเทศ<br />

และนานาชาติเป็นจำานวนมาก เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ เป็นกรรมการ<br />

ที่ปรึกษาและเป็นกรรมการให้หน่วยงานและองค์กรต่างๆ<br />

คำาประกาศเกียรติคุณ<br />

ศาสตราจารย์ ดร.นงนุช วณิตย์ธนาคม<br />

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คณะแพทยศาสตร์<br />

ศาสตราจารย์ ดร.นงนุช วณิตย์ธนาคม สำาเร็จการศึกษา<br />

ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (จุลชีววิทยา) จากมหาวิทยาลัยมหิดล<br />

และ ปริญญา Doctor rerum naturalium (Cumlaude) จาก Eberhard-Karls<br />

University, Tuebingen Germany<br />

ศาสตราจารย์ ดร.นงนุช วณิตย์ธนาคม มีความรู้ ความสามารถ<br />

และความชำานาญพิเศษ ในด้านจุลชีววิทยาทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง<br />

ทางด้านวิทยาศาสตร์เชื้อราการแพทย์ การศึกษาถึงแหล่งของเชื้อระบาด<br />

วิทยาของเชื้อ การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการก่อโรคของเชื้อราโดยอาศัย<br />

เทคนิค ทางชีวโมเลกุล และการพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อรา<br />

ในมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ ได้ทำาการสอน ในระดับปริญญาตรี แก่นักศึกษา<br />

คณะแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ และ<br />

สัตวแพทยศาสตร์ ทำาการสอนระดับปริญญาโทและเอก แก่นักศึกษาบัณฑิต<br />

คณะแพทยศาสตร์ ได้แต่ง เรียบเรียงหนังสือหรือตำารา จำานวน 6 เรื่อง ได้ทำางานวิจัย<br />

อย่างต่อเนื่อง มีผลงานวิจัยที่ได้ดำาเนินการ เสร็จสิ้นแล้ว จำานวน 37 โครงการ<br />

และโครงการวิจัยที่กำาลังอยู่ในระหว่างดำาเนินการโดยเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย<br />

จำานวน 2 โครงการ<br />

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร.นงนุช วณิตย์ธนาคม ยังเป็น<br />

ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำาสาขาวิชาจุลชีววิทยา<br />

เป็น editorial board ให้กับ Journal of Pathogens ซึ่งเป็นวารสาร<br />

ระดับนานาชาติและวารสารระดับประเทศ เป็น Reviewer ให้กับวารสารวิชาการ<br />

นานาชาติ ได้แก่ Mycopathologia, Journal of Medical Microbiology,<br />

Microbial Pathogenesis, Emerging Infectious Diseases, Biochimie,<br />

Fungal Biology เป็นผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานทางวิชาการ จริยธรรม<br />

และจรรยาบรรณทางวิชาการสาขาจุลชีววิทยา เป็นนักวิจัยที่ปรึกษา (Mentor)<br />

ให้กับนักวิจัยที่ได้รับทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ จากสำานักงานกองทุน<br />

สนับสนุนวิจัย เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในการสัมมนาทางเซลล์ และชีววิทยา<br />

ระดับโมเลกุล คณะแพทยศาสตร์<br />

12 ทองกวาว<br />

Tong kwao I พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 50


นักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดีเด่น ประจำาปี 2558<br />

สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการประชุมครั้งที่ 9/2558 วันที่ 28 พฤศจิกายน 2558 มีผลการพิจารณาคัดเลือกนักศึกษาเก่า<br />

ดีเด่นฯ ประจำาปี 2558 จำานวนทั้งสิ้น 17 ราย ดังนี้<br />

นางสาวอรอนงค์ ศิริรังคมานนท์ (รหัส 08)<br />

นักธุรกิจ<br />

สาขาบริหารธุรกิจ<br />

รองศาสตราจารย์ กรรณิการ์ พงษ์สนิท (รหัส 09)<br />

อาจารย์พิเศษคณะพยาบาลศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

สาขาบริการสังคม<br />

นายนภันต์ เสวิกุล (รหัส 11)<br />

ผอ.บริษัท เบลส์ จำากัด / ผู้เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพ<br />

สาขาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม<br />

ศาสตราจารย์ ดร.สายสมร ลำายอง (รหัส 11)<br />

ศาสตราจารย์อาวุโส ภาควิชาชีววิทยา<br />

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

สาขานักวิชาการ<br />

นายชูชาติ เพชรอำาไพ (รหัส 15)<br />

ประธานกรรมการบริหาร<br />

บริษัทเมืองไทย ลิสซิ่ง จำากัด (มหาชน)<br />

สาขาบริหารธุรกิจ<br />

นายแพทย์พีระพงษ์ สายเชื้อ (รหัส 16)<br />

ปลัดกรุงเทพมหานคร<br />

สาขาบริหารรัฐกิจ<br />

นายแพทย์บุญชัย สมบูรณ์สุข (รหัส 16)<br />

เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา<br />

สาขาบริหารราชการ<br />

รองศาสตราจารย์ ภญ.วรรณดี แต้โสตถิกุล (รหัส 16)<br />

อดีตคณบดีคณะเภสัชศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

สาขาบริหารองค์กรการศึกษา<br />

ศาสตราจารย์ ดร.ดนัย บุณยเกียรติ (รหัส 16)<br />

ผู้อำานวยการศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

สาขาบริการสังคม<br />

ทองกวาว<br />

วันที่ 25 มกราคม 2559 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ I Tong kwao<br />

13


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง (รหัส 21)<br />

อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน<br />

จ.นครราชสีมา<br />

สาขาบริหารองค์กรการศึกษา<br />

นายพิริยะ เข็มพล (รหัส 21)<br />

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ<br />

สาขาบริหารราชการ<br />

รองศาสตราจารย์ ทพ.ทองนารถ คำาใจ (รหัส 21)<br />

อดีตคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

สาขาบริหารองค์กรการศึกษา<br />

นายสุมิตร เพชราภิรัชต์ (รหัส 22)<br />

กรรมการผู้จัดการใหญ่<br />

บริษัท ชัยรัชการ (กรุงเทพฯ) จำากัด<br />

สาขาบริหารธุรกิจ<br />

นางปิยพรรณ หันนาคินทร์ (รหัส 24)<br />

กรรมการบริหาร<br />

บริษัท ออปอเรชั่นนอล เอ็นเนอร์ยี่ กรุ๊ป จำากัด<br />

สาขาบริหารธุรกิจ<br />

นางสาวศิรพันธ์ วัฒนจินดา (รหัส 44)<br />

กรรมการผู้จัดการ บริษัท คิดคิด จำากัด/ นักแสดง<br />

สาขาศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม<br />

นายกฤษฎา บุญราช (รหัส 45)<br />

ปลัดกระทรวงมหาดไทย<br />

สาขาบริหารราชการ<br />

ร้อยตำารวจตรีพงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร (รหัส 52)<br />

อัยการสูงสุด<br />

สาขาบริหารราชการ<br />

โดยทั้ง 17 ท่าน จะเข้ารับ โล่ประกาศเกียรติคุณ จากอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในพิธีซ้อมใหญ่ งานพระราชทานปริญญาบัตรฯ ครั้งที่ 50<br />

ในวันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม 2559 เวลา 14.00 น. ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเข้ารับการแสดงความยินดี พร้อมรับเข็มเชิดชูเกียรติ<br />

ประกาศเกียรติคุณ ในงานราตรีอ่างแก้ว 2559 วันเสาร์ที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 18.30 น. ณ ห้องคุ้มคำาหลวง @คุ้มขันโตก ถนนเชียงใหม่-ลำาปาง<br />

จังหวัดเชียงใหม่<br />

โครงการพิจารณาคัดเลือกนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดีเด่น เริ่มดำาเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2526 มีนักศึกษาเก่าดีเด่นฯ ได้รับการคัดเลือก<br />

ไปแล้วทั้งสิ้น 265 คน (รวมทั้ง 17 คน ในปีนี้) จากจำานวนของบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่สำาเร็จการศึกษาไปแล้วประมาณ 170,000 คน<br />

(รวมบัณฑิต รุ่นที่ 50 รุ่นล่าสุด ที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในวันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2559 ด้วย)<br />

14 ทองกวาว<br />

Tong kwao I พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 50


ชวนลูกช้าง มช. คืนสู่เหย้า<br />

ในงาน “ราตรีอ่างแก้ว 2559”<br />

รองศาสตราจารย์ นพ.สมศักดิ์ เชาว์วิศิษฐ์เสรี<br />

นายกสมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอเชิญลูกช้างทุกรุ่น ทุกรหัส คืนสู่เหย้าในงาน “ราตรีอ่างแก้ว 2559”<br />

ในวันเสาร์ที่ 23 มกราคม 2559 ณ คุ้มขันโตก จ.เชียงใหม่<br />

รองศาสตราจารย์ นพ.สมศักดิ์ เชาว์วิศิษฐ์เสรี นายกสมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า งานราตรีอ่างแก้ว เป็นกิจกรรมสำาคัญ<br />

ที่สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้นเป็นประจำาทุกปี เพื่อต้อนรับนักศึกษาเก่าชาวลูกช้าง มช. สู่บ้านสีม่วงที่เคยศึกษา เคยใช้ชีวิตอยู่<br />

พบปะสังสรรค์และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน คณาจารย์ โดยในปีนี้งานราตรีอ่างแก้วจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 23 มกราคม 2559<br />

ตั้งแต่เวลา 18.00 – 23.30 น. ณ คุ้มขันโตก ถ.เชียงใหม่-ลำาปาง จ.เชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ นพ.สมศักดิ์ เชาว์วิศิษฐ์เสรี นายกสมาคมนักศึกษาเก่า<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวรายงาน และ ศาสตราจารย์คลินิก นพ.นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงาน<br />

งานราตรีอ่างแก้ว 2559 นี้ นับเป็นการเป็นพบปะสังสรรค์ครั้งสำาคัญของชาวลูกช้างทุกรหัส คณะ โดยภายในงานจะมีการแสดงดนตรี<br />

จากวง CMU Band โดยชมรมดนตรีสากลฯ สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การแสดงฟ้อน นอกจากนี้ ยังจะมีพิธีแสดงความยินดีกับนักศึกษาเก่าดีเด่นฯ<br />

ประจำาปี 2558 รวม 17 ท่าน ได้แก่ น.ส.อรอนงค์ ศิริรังคมานนท์ (รหัส 08) นักธุรกิจ : สาขาบริหารธุรกิจ รองศาสตราจารย์ กรรณิการ์ พงษ์สนิท<br />

(รหัส 09) อาจารย์พิเศษคณะพยาบาลศาสตร์ มช. : สาขาบริการสังคม นายนภันต์ เสวิกุล (รหัส 11) ผู้เชี่ยวชาญการถ่ายภาพ : สาขาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมฯ<br />

ศาสตราจารย์ ดร.สายสมร ลำายอง (รหัส 11) ศาสตราจารย์อาวุโส คณะวิทยาศาสตร์ มช. : สาขาวิชาการ นายชูชาติ เพ็ชรอำาไพ (รหัส 15)<br />

ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมืองไทย ลิสซิ่งฯ : สาขาบริหารธุรกิจ นพ.พีระพงษ์ สายเชื้อ (รหัส 16) ปลัดกรุงเทพมหานคร : สาขาบริหารรัฐกิจ<br />

นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข (รหัส 16) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา : สาขาบริหารราชการ ศาสตราจารย์ ภญ.วรรณดี แต้โสตถิกุล (รหัส 16)<br />

อดีตคณบดีคณะเภสัชฯ มช. : สาขาบริหารองค์กรการศึกษา ศาสตราจารย์ ดร.ดนัย บุณยเกียรติ (รหัส 16) ผู้อำานวยการศูนย์นวัตกรรมฯ<br />

หลังการเก็บเกี่ยว มช. : สาขาบริการสังคม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง (รหัส 21) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน : สาขาบริหาร<br />

องค์กรการศึกษา นายพิริยะ เข็มพล (รหัส 21 รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ : สาขาบริหารราชการ รองศาสตราจารย์ ทพ.ทองนารถ คำาใจ (รหัส 21)<br />

อดีตคณบดีคณะทันตฯ มช. : สาขาบริหารองค์กรการศึกษา นายสุมิตร เพชราภิรัชต์ (รหัส 22) กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทชัยรัชการฯ : สาขา<br />

บริหารธุรกิจ นางปิยพรรณ หันนาคินทร์ (รหัส 24) กรรมการบริหาร บริษัทคอปอเรชั่นนอลฯ : สาขาบริหารธุรกิจ นางสาวศิรพันธ์ วัฒนจินดา<br />

(รหัส 44) กรรมการผู้จัดการ บริษัท คิดคิดฯ/ นักแสดง : สาขาศิลปวัฒนธรรมฯ นายกฤษฎา บุญราช (รหัส 45) ปลัดกระทรวงมหาดไทย : สาขา<br />

บริหารราชการ และ ร้อยตำารวจตรี พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร (รหัส 52) อัยการสูงสุด : สาขาบริหารราชการ พร้อมกันนี้ยังเป็นโอกาสที่จะร่วม<br />

แสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่ มช. รุ่นที่ 50 ที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรฯ ในวันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2559 ด้วย<br />

ขอเชิญชาวลูกช้าง มช. ทุกรุ่นทุกรหัส ร่วมงานราตรีอ่างแก้ว 2559 ติดต่อซื้อบัตรได้ที่ โทร. 0-5394-2625 บัตรราคา โต๊ะละ 7,000 บาท<br />

(โต๊ะจีน/ 10 คน)<br />

ทองกวาว<br />

วันที่ 25 มกราคม 2559 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ I Tong kwao<br />

15


ÀÒ¾‹Ò : ¤³Ð¡ÃÃÁ¡Òúѳ±Ôµ ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂàªÕ§ãËÁ‹ ÃØ‹¹·Õè 50

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!