10.07.2015 Views

Thai-Japan (V).pdf

Thai-Japan (V).pdf

Thai-Japan (V).pdf

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ดร.พัลลภา ปิติสันต์ ประธานสาขาการจัดการธุรกิจ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล cmphallapa@mahidol.ac.th SharingNo.145สัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น:5ตอนที่ต่อจากฉบับที่แล้วแตกต่างแต่ไม่แตกแยกในฉบับนี้จะเป็นตอนสุดท้ายของเรื่องความแตกต่างระหว่างคนญี่ปุ่นกับคนไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยเรื่อง บทบาทของผู้เชี่ยวชาญชาว-ญี่ปุ่นในการลดช่องว่างระหว่างวัฒนธรรม กรณีศึกษาจากการพัฒนาอุตสาห-กรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของประเทศไทย (Bridging cultural gap between <strong>Thai</strong>and <strong>Japan</strong>ese expatriates: Case of <strong>Japan</strong>ese expatriate developing localsuppliers in <strong>Thai</strong> automobile industry) ซึ่งเป็นการศึกษาที่ได้รับทุนวิจัยสนับสนุนจากมูลนิธิซูมิโตโม ประเทศญี่ปุ่น (The Sumitomo Foundation) ในมิติของการยอมรับความไม่แน่นอน (uncertainty avoidance) และมิติของมุมมองระยะยาว (long termoriented) ตามกรอบแนวคิดของ Hofstede ซึ่งเป็นนักวิชาการชาวเนเธอร์แลนด์การยอมรับความไม่แน่นอน (uncertainty avoidance)ในมิตินี้เป็นการมองว่าวัฒนธรรมที่แตกต่างของชนชาติที่แตกต่างกันทำให้คนในวัฒนธรรมนั้น ๆ สามารถยอมรับความไม่แน่นอนได้มากน้อยเพียงไร ในมิตินี้คนไทยเป็นชนชาติที่มีวัฒนธรรมที่ยอมรับความไม่แน่นอนและมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงได้มาก ส่วนคนญี่ปุ่นนั้น การทำอะไรไม่ชอบความเสี่ยง เรียกว่า ต้องเช็กข้อมูลอย่างละเอียดก่อนการวางแผน การตัดสินใจ รวมถึงมีการคิดแผนสำรองไว้ในการเตรียมแก้ปัญหาด้วย ความแตกต่างระหว่างคนญี่ปุ่นและคนไทยในมิตินี้ส่งผลกระทบไม่น้อยต่อการทำงานร่วมกันญี่ปุ่นมองไทย:“บอกหน่อยได้ไหม”จากฉบับที่แล้ว เราจะได้เห็นภาพสะท้อนของคนญี่ปุ่นในเรื่องของการให้ความสำคัญกับเรื่องของคุณภาพ ไม่ใช่แค่คุณภาพของสินค้า แต่เป็นคุณภาพของงานที่ทำออกมาด้วย ดังนั้น คนญี่ปุ่นก่อนจะทำอะไรจะหาข้อมูลอย่างละเอียดไว้ก่อน เพื่อประกอบการตัดสินใจการหาข้อมูลของคนญี่ปุ่นไม่ใช่แค่การถาม แต่บางคนเป็นการลงมือไปทำงานเองด้วยซ้ำ ส่วนนี้เองเป็นข้อที่คนไทยควรทำความเข้าใจว่าจริง ๆ แล้วคนญี่ปุ่นที่คนไทยมองว่าถามมาก ถามจุกจิกก็มาจากพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่ต้องการข้อมูลประกอบการตัดสินใจ เพื่อป้องกันความผิดพลาดหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในทางตรงกันข้ามคนญี่ปุ่นมองว่า บางครั้งคนไทยพูดน้อยเกินไป บางครั้งหากปัญหาเกิดขึ้น การทำงานด้วยกันเป็นทีม ร่วมกันแก้ปัญหา หรือช่วยกันตัดสินใจจะเป็นประโยชน์ในการทำงาน แต่เมื่อปัญหาเกิด คนไทยมักไม่ค่อยบอก ทำให้บางครั้งปัญหาลุกลามใหญ่โตอาจทำให้แก้ไขได้ยากกว่าเดิม ส่งผลกระทบต่องานส่วนอื่น ๆ หรือทำให้ทำงานไม่เสร็จทันตามกำหนด หรือได้คุณภาพที่ไม่เป็นไปตามที่ตั้งไว้คนญี่ปุ่นเองบอกว่า เทคนิคในการทำงานกับคนไทยนั้น คนญี่ปุ่นบางครั้งต้องบอกผ่าน แปลว่า บอกกำหนดเวลาไว้ก่อนเวลาจริง ๆเพื่อป้องกันการเกิดปัญหา แต่คนญี่ปุ่นก็ไม่ได้อยากใช้เทคนิคแบบนี้เท่าไหร่นัก จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นบอกว่า จากประสบการณ์ในการทำงานกับคนไทย คนญี่ปุ่นจะพยายามวางแผนสำรองไว้เสมอ หากคนไทยเองฝึกวางแผนสำรองไว้ก็จะเป็นประโยชน์กับผู้วางแผนเองในการฝึกทักษะของการบริหารจัดการ044 ● for Quality November 2009


SharingNo.145บางครั้งก็บอกว่า “ไม่เป็นไร” แนวคิดอย่างนี้คนญี่ปุ่นมองว่าเป็นเรื่องที่อันตรายมาก และควรเปลี่ยนแปลง ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง คนญี่ปุ่นมองว่าเรื่องของอดีต มีผลกับปัจจุบันและส่งผลต่ออนาคตด้วย ดังนั้น เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะคิดและวางแผนทุก ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นแผนระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาวให้สอดคล้องกัน คนอื่น ๆ อาจมองว่า คนญี่ปุ่นแปลกที่มองไปไกลถึง 10 ปี 15 ปี ทั้งนี้ทั้งนั้น อะไร ๆ ก็อาจเกิดขึ้น หรือเปลี่ยน-แปลงได้ แต่จากงานวิจัยเราพบว่า ผู้บริหารญี่ปุ่น โดยเฉพาะผู้บริหารญี่ปุ่นระดับสูงมองว่าการวางแผน และการกำหนดเป้า-หมายที่ถูกต้อง แม้จะมีอะไรเข้ามากระทบ แต่สิ่งที่คิดและวางแผนถูกต้องก็ยังคงถูกต้องแม้เวลาจะผ่านไป 10 ปี หรือ 20 ปีและเมื่อเรากำหนดได้ถูกต้อง และเราควรยึดเป็นทิศทางที่จะมุ่ง-มั่นทำให้สำเร็จ“การมองระยะสั้น นำไปสู่ Productivity ที่ลดลง”จากงานวิจัยคนญี่ปุ่นมองว่า การที่คนไทยพึงพอใจกับความสำเร็จในปัจจุบัน หรือความสำเร็จในระยะสั้น แล้วไม่ทำอะไรเพิ่มเติมเป็นเรื่องที่คนไทยต้องระวัง คนญี่ปุ่นมองว่า มีความจำเป็นที่คนเราควรจะต้องพัฒนาไปข้างหน้าเสมอ ๆ ในการทำวิจัยเราพบว่า มุมมองที่แตกต่างกันในการมองไปข้างหน้า และพัฒนาเสมอ ๆ เป็นผลทำให้บางครั้งหลังจากที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนและผู้ผลิตยานยนต์ได้ตกลงเรื่องคุณภาพหรือเรื่องอื่น ๆ ไปแล้ว บาง-ครั้งทำได้ตามที่ตกลงกันเป็นที่เรียบร้อย คนญี่ปุ่นจากผู้ผลิตยาน-ยนต์ชอบมาขอให้ปรับคุณภาพ หรือ Spec เพิ่มขึ้นอีก ทำให้คนไทยบางคนรู้สึกไม่ค่อยถูกใจเท่าไหร่ บางครั้งกลายเป็นประเด็นที่คนไทยมองว่าคนญี่ปุ่นที่ทำงานอยู่ในบริษัทผลิตชิ้นส่วนของตนเองไม่มีทักษะในการต่อรอง ยอมอ่อนข้อให้คนญี่ปุ่นในบริษัทผู้ผลิตยานยนต์มากเกินไป ประเด็นนี้ผู้เขียนมองว่าจริง ๆ แล้วด้วยความแตกต่างของวัฒนธรรมในข้อนี้ทำให้คนไทยและคน-ญี่ปุ่นมองต่างกัน จริง ๆ แล้ว หากทั้งสองฝ่ายคุยกันมากขึ้น น่าจะเป็นประโยชน์ทั้งกับคนไทยและคนญี่ปุ่นที่ทำงานด้วยกันเองเพราะทั้งคนไทยและคนญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่ให้ความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวในการทำงานด้วยกัน ดังนั้น เรื่องบางเรื่องหากได้มีการอธิบาย หรือพูดคุยกันน่าจะทำให้ลดปัญหาและข้อขัดแย้งในการทำงานลงไปได้“คนไทยเก่งเรื่องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า… (จริงหรือ)”จากการทำวิจัย ผู้เขียนพบว่า คนไทยมองตัวเองว่ามีความสามารถมากกว่าคนญี่ปุ่นในเรื่องของการแก้ปัญหาเฉพาะ-หน้า ทั้งนี้อาจเป็นเพราะคนไทยไม่ได้วางแผนระยะยาว ไม่ได้มีการวางแผนสำรอง ดังนั้น หากเกิดปัญหาอะไรขึ้น คนไทยเลยเกิดการเพิ่มพูนทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี สิ่งที่ต้องระวังในการทำงานด้วยกัน คือ คนญี่ปุ่นที่เป็นชาติที่มีวัฒนธรรมในการวางแผนระยะยาว รวมไปถึงวัฒนธรรมที่หลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน (uncertainty avoidance) ตามที่กล่าวมาแล้วนั้นกลับมองในทางตรงกันข้าม คือ เพราะขาดการวางแผนระยะยาวขาดการวางแผนสำรองต่างหาก ทำให้ต้องมานั่งแก้ปัญหาเฉพาะ-หน้า ซึ่งไม่จำเป็นว่าการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้จะเป็นทางออกที่ดีและเหมาะสมที่สุดเสมอไป หากแต่ว่าเป็นเพียงการจัดการให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้ก่อน ในกรณีนี้ผู้เขียนมองว่าการเรียนรู้ทักษะการวางแผนระยะยาว การวางแผนสำรองจากคนญี่ปุ่น และการเรียนรู้การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของคนไทย น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทั้งสองฝ่ายที่คิดจะสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวในธุรกิจต่อไปแม้เราจะพบว่า เรื่องวัฒนธรรมระหว่างคนไทยและคน-ญี่ปุ่นทำให้เกิดปัญหาและความขัดแย้งในการทำงานด้วยกัน แต่สิ่งที่สำคัญ คือ การพยายามที่จะเรียนรู้ระหว่างกัน เพราะเมื่อคนญี่ปุ่นคนเดิมที่ได้เรียนรู้กลับบ้านไปแล้ว คนญี่ปุ่นคนใหม่มารับช่วงทำงานต่ออีก แม้จะมีโอกาสเรียนรู้ความแตกต่างด้านวัฒนธรรมจากหนังสือ หรือจากการแบ่งปันประสบการณ์จากคน-ญี่ปุ่นที่เคยอยู่เมืองไทยก่อนหน้า แต่เมื่อมาทำงานในเมืองไทยแล้ว ความเคร่งเครียดในการทำงานอาจทำให้ไม่ทันระวังในเรื่องของความแตกต่างในการทำงาน และเกิดความขัดแย้งในการทำงานขึ้นได้ เหมือนว่าอารมณ์พาไป ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ตั้งใจ สำหรับคนไทยต้องมองว่า เราเองไม่ต้องปรับตัวอะไร เพราะว่าเราอยู่บ้านเราเอง ดังนั้น สิ่งที่สำคัญ คือ การตระหนักถึงความแตกต่างที่มี เรียนรู้ และพยายามที่จะปรับตัวเข้าหากันเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับคนไทย อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญและเป็นที่ผู้เขียนมองว่ายังขาดอยู่ทั้งสำหรับคนไทยและคนญี่ปุ่น และเป็นเรื่องที่จะช่วยลด หรือบรรเทาปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรมในการทำงานระหว่างคนไทยและคนญี่ปุ่นได้นั่นก็คือ “การขอโทษ” ผู้เขียนเชื่อว่าไม่ว่าช่องว่างจะกว้างแค่ไหน ใครอาจเผลอ หรือทำอะไรผิดไปบ้าง การขอโทษอย่างจริงใจ เป็นอะไรที่จะทำให้ความแตกต่างแต่ไม่แตกแยกเกิดขึ้นได้ระหว่างเพื่อนสองคน046 ● for Quality November 2009

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!