10.07.2015 Views

Gas Air Conditioners - ศูนย์บริการลูกค้าตลาดท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ ...

Gas Air Conditioners - ศูนย์บริการลูกค้าตลาดท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ ...

Gas Air Conditioners - ศูนย์บริการลูกค้าตลาดท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ ...

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

เ รื่ อ ง จ า ก ป กพิธีลงนามข้อตกลงระหว่างประเทศสหภาพพม่า และ ปตท. ในการซื้อก๊าซธรรมชาติจากพม่าเพิ่มขึ้นอีก 240 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากแปลง M9 ที่ ปตท.สผ. สำรวจพบใหม่ล่าสุดในอ่าวเมาะตะมะเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมาพลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เดินทางไปเยือน กรุงเนปิดอร์ประเทศสหภาพพม่า ตามคำเชิญของ พลจัตวาลุนทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของพม่า(Brig.Gen.Lun Thi) เพื่อเป็นประธานร่วมกัน ในพิธีลงนามข้อตกลงเบื้องต้น (Head of Agreement)ของการซื้อขายก๊าซธรรมชาติจากแปลงสำรวจM9 ในอ่าวเมาะตะมะของพม่า โดยพิธีลงนามมีขึ้นระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ซื้อก๊าซฯ กับ Myanma Oil and <strong>Gas</strong>Enterprise (MOGE ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงานของพม่า) และ บริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในฐานะผู้ขายก๊าซฯ ร่วมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและผลิตก๊าซฯ จากแปลงดังกล่าวขึ้นมาใช้ประโยชน์แก่ประเทศทั้งสองในประมาณปี 2555 ซึ่งการลงนามดังกล่าวมีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการจัดหาก๊าซธรรมชาติเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อสนองความต้องการก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น และเสริมสร้างความมั่งคงทางพลังงานให้กับประเทศในระยะยาวโดยที่ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติโดยรวมของประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ประมาณ 3,600 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ไปอยู่ที่ระดับประมาณ 5,350 ลูกบาศก์ฟุต/วัน ในปี 2555 และจะอยู่ในระดับที่สูงกว่า 7,300 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ในปี 2564ซึ่งเกินกว่าปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ ปตท. มีสัญญาซื้อขายอยู่ในปัจจุบัน (จากแหล่งก๊าซฯ ในอ่าวไทย แหล่งก๊าซฯ บนบกบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แหล่ง JDA ไทย - มาเลเซียและพม่า) ดังนั้นการที่ประเทศไทยโดยบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สามารถบรรลุข้อตกลงที่จัดหาก๊าซฯ เพิ่มเติมจากแหล่งก๊าซฯแปลง M9 ในพม่าได้เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 240ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เริ่มในปี 2555 จะทำให้เพิ่มความมั่นคงของการจัดหาก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นทุก ๆ ปี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในระยะยาวนอกจากโครงการ M9 จะเป็นโครงการที่ผลิตก๊าซฯ เพื่อส่งมายังประเทศไทยแล้ว ยังเป็นการผลิตก๊าซฯ เพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศพม่าเอง และช่วยสร้างงานและความเจริญทางเศรษฐกิจแก่พม่า รวมทั้งเสริมสร้างและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าให้แน่นแฟ้นอีกด้วยการเจาะหลุมสำรวจปิโตรเลียม แปลงM9 ในประเทศสหภาพพม่า นั้น บริษัทปตท. สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(บริษัทย่อยของบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)หรือ ปตท.สผ.) เป็นผู้ดำเนินการและถือหุ้นทั้งหมดในโครงการสำรวจปิโตรเลียมซึ่งตั้งอยู่ในอ่าวเมาะตะมะ ทางตอนใต้ห่างจากเมืองย่างกุ้งประมาณ 250 -300 กิโลเมตร โดย ปตท.สผ. ได้เสร็จสิ้นการเจาะหลุมสำรวจที่ได้ขุดเจาะตั้งแต่ปี2548 - 2550 พบก๊าซฯ ใน 4 หลุมได้แก่ หลุมซอว์ติกะ-1A (Zawtika-1A),หลุมกอว์ทะกะ-1 (Gawthaka-1), หลุมกากอนนะ-1 (Kakonna-1) และหลุมซอว์ติกะ-2 (Zawtika-2) 23


ต ลาดค้าส่งก๊าซฯพริมรตา พงษ์ศิริแสงฝ่ายตลาดค้าส่งก๊าซธรรมชาติบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ทำพิธีเปิดโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวขนาดเล็กแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SMALL LNGPLANT) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พลโทหญิงพูนภิรมย์ลิปตพัลลภ ให้เกียรติเป็นประธาน โรงงานดังกล่าวตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ของปตท. โรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวระยองนี้ มีกำลังการผลิต 20 ตันต่อวัน หรือเทียบเท่าน้ำมันดีเซลประมาณ 27,800 ลิตรต่อวัน (พลังงานเทียบเท่า)สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านการตลาดและการใช้งาน ก่อนที่ ปตท.จะนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquefied Natural<strong>Gas</strong> : LNG) ในปี 2554 โดย LNG ที่ผลิตได้จะใช้เพื่อการทดลองหรือนำร่องเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการทดแทนน้ำมันดีเซลในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีข้อจำกัดในการใช้ อาทิ ใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในภาคการขนส่งทางน้ำ ซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่วางถังบรรจุก๊าซฯ และน้ำหนัก เช่น เรือประมงเรือลากจูง เรือโดยสาร ที่วิ่งบริการในแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองแสนแสบ รวมถึงรถหัวลากที่วิ่งระยะทางไกล และเครื่องจักรกลหนักที่ไม่มีความสะดวกในการเติม NGV เช่น รถเจาะหิน และรถขนดินที่ใช้งานในเหมืองของ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทยจำกัด (มหาชน) ที่ อ.ทุ่งสง จ. นครศรีธรรมราชและ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี นอกจากนั้นยังนำไปใช้ในอาคารสำนักงานหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่โรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวขนาดเล็กแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในกระบวนการผลิต แต่ยังไม่มีระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติไปถึง หรือระบบท่อส่งก๊าซฯ อยู่ระหว่างรอการก่อสร้าง เช่นกรณีบริษัท PTT Chemicalทั้งนี้ หากผลการทดลองและนำร่องใช้LNG ดังกล่าวข้างต้นแล้วเสร็จ สามารถใช้งานได้ดีและช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงได้ ก็จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการฯ ทั้งภาคการขนส่งทางน้ำ ผู้ประกอบอาชีพประมงเครื่องจักรกลหนัก และโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความประสงค์จะใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงแต่ไม่มีระบบท่อส่งก๊าซฯ ผ่าน สามารถพิจารณาใช้LNG เป็นเชื้อเพลิงทดแทนได้ ซึ่งนอกจาก ปตท.จะมีโรงงานผลิต LNG ที่ จ.ระยองแล้ว ปตท. ยังได้ร่วมกับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และ บริษัทปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)นำก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันดิบจากฐานการผลิตหนองตูมเอ ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้ประโยชน์ (เผาทิ้ง) มาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยการนำมาผลิตเป็น LNG ในปริมาณ18 ตันต่อวัน ที่ ต.หนองตูม จ.สุโขทัย อีก 1 แห่งด้วย ขณะนี้โรงงานอยู่ระหว่างการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จ เริ่มทดลองเดินเครื่องในเดือนสิงหาคมนี้อนึ่ง ปตท. คาดว่าการดำเนินงานโครงการผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวขนาดเล็กทั้ง 2แห่ง ตลอดจนการนำ LNG ไปทดลองและนำร่องใช้งานในรูปแบบต่างๆ จะช่วยให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจถึงการใช้ก๊าซธรรมชาติในรูปแบบของเหลวอีกรูปแบบหนึ่ง เพิ่มเติมจากรูปแบบก๊าซและก๊าซธรรมชาติอัด การใช้ LNG นอกจากจะเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ที่สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีความปลอดภัยในการใช้งานอีกด้วย ดังนั้นตั้งแต่ปี 2554 ซึ่ง ปตท. จะเริ่มนำเข้า LNGจากต่างประเทศ โดยเริ่มต้นที่ 1 - 2 ล้านต้นต่อปีและจะเพิ่มเป็น 5 ล้านตันต่อปี คาดว่าจะสามารถจัดส่งก๊าซธรรมชาติทั้งในรูปของเหลวและก๊าซฯตอบสนองความต้องการของประเทศ ทั้งในภาคการผลิตกระแสไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรมและภาคการขนส่งด้วย 89Inhouse Trainingฝ่ายตลาดค้าส่งก๊าซธรรมชาติ บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) จัดอบรม Inhouse Trainingในหัวข้อเรื่อง “ความรู้เกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ” ให้กับ บริษัท แหลมฉบัง พาวเวอร์ จำกัด ในวันที่ 27พฤษภาคม 2551 ณ ห้องประชุมของบริษัทฯ ในนิคมฯ แหลมฉบัง จ. ชลบุรี การจัดอบรมในลักษณะดังกล่าว หากลูกค้ากลุ่ม IPP & SPP รายใดสนใจที่จะให้ ปตท. ดำเนินการให้ กรุณาติดต่อสอบถามได้ที่ คุณพิษณุ สันติกุล e-mail :pisanu.s@pttplc.com


ก๊ า ซ ไ ล น์ G a s l i n eGAS Technologyประกอบ เบญจศิริลักษณ์หน่วยปฏิบัติการและบำรุงรักษาสถานีฯ ปท. 5 - 4Centrifugal <strong>Gas</strong> Compressorการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งก๊าซธรรมชาติด้วย <strong>Gas</strong> Compressorสืบเนื่องจากราคาพลังงานที่ขยับตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะน้ำมันที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงหลัก ทำให้เกิดกระแสการค้นหาพลังงานทางเลือกอื่น ที่สามารถทดแทนน้ำมัน ซึ่งมีราคาถูกกว่าและไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั่วโลกจึงมุ่งเป้าไปที่ก๊าซธรรมชาติ (Natural <strong>Gas</strong> - NG) สำหรับในประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าประมาณ 70% โดยขนส่งผ่านระบบท่อส่งก๊าซฯ เป็นหลัก นับวันปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่การก่อสร้างวางท่อส่งก๊าซฯ เส้นใหม่ๆ นั้น ดำเนินการได้ยากขึ้นและต้องใช้เงินลงทุนสูง วิธีการหนึ่งที่สามารถเพิ่มปริมาณการส่งก๊าซฯ ผ่านระบบท่อให้สูงขึ้นได้ โดยไม่ต้องวางท่อส่งก๊าซฯ เส้นใหม่ ก็คือ การเพิ่มความดันในการส่งก๊าซฯ ให้สูงขึ้น โดยใช้ <strong>Gas</strong>Compressor เป็น Booster station ติดตั้ง ณ จุดต่างๆ ที่เหมาะสม คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ตามแนวท่อส่งก๊าซฯ ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน <strong>Gas</strong> Compressor คืออะไร<strong>Gas</strong> Compressor คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มความดันของก๊าซฯ (Static pressure) ให้สูงขึ้นแบ่งเป็น 4 ชนิด คือ Axial, Centrifugal, HelicalScrew และ Reciprocating <strong>Gas</strong> Compressorsดังแสดงตามรูปที่ 1, 2, 3 และ 41. Axial Compressor2. Centrifugal Compressor3. Helical Screw Compressor4. Reciprocating Compressorสำหรับการเพิ่มความสามารถในการขนส่งก๊าซธรรมชาติผ่านระบบท่อส่งก๊าซฯ ส่วนใหญ่นิยมใช้Centrifugal <strong>Gas</strong> Compressor เนื่องจากให้ประสิทธิภาพสูง เหมาะสมกับ Condition ในการใช้งาน ดังนั้นจึงขอลงรายละเอียดของ Centrifugal<strong>Gas</strong> Compressor เป็นหลัก หลักการทำงานของ Centrifugal <strong>Gas</strong>CompressorCentrifugal ActionCentrifugal Action (Impeller)Centrifugal WorkEnergy ConversioCentrifugal <strong>Gas</strong> Compressor เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Radial <strong>Gas</strong> Compressor แบ่งเป็น 2ชนิดคือ Axially Split ใช้สำหรับการส่งก๊าซที่ Flowrate สูง, Pressure ปานกลาง และ Radially Splitสำหรับ Flow rate ปานกลาง, Pressure สูง การทำงานของ Centrifugal <strong>Gas</strong> Compressor อาศัยหลักการของแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugalforce) ให้พลังงานกลแก่ <strong>Gas</strong> ด้วย Impeller โดย<strong>Gas</strong> จะไหลเข้า Impeller ผ่านทาง Impeller eyesที่อยู่บริเวณใกล้กับจุดศูนย์กลาง <strong>Gas</strong> จะถูกเหวี่ยงออกในแนวรัศมีในขณะที่ Impeller หมุน ทำให้<strong>Gas</strong> เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงขึ้น (High velocity)<strong>Gas</strong> ที่มีความเร็วสูงนี้ จะไหลผ่าน Diffuserภายใน Casing ของ Compressor จากนั้นอาศัยการปรับเปลี่ยนรูปร่างโครงสร้างของ Diffuser จากที่มีขนาดปริมาตรน้อย เป็นขนาดปริมาตรที่เพิ่มขึ้นทำให้ความเร็วของ <strong>Gas</strong> ลดลง เป็นเหตุให้พลังงานของ <strong>Gas</strong> ในรูปของพลังงานจลน์ เกิดการเปลี่ยนรูปพลังงานเป็นความดัน <strong>Gas</strong> ที่สูงขึ้น(High static pressure) ส่งออกทาง Compressordischarge เป็นการสิ้นสุด Cycle ของการเพิ่มความดันก๊าซฯ ซึ่งเราเรียกว่า Compressor ที่มีImpeller 1 Stage หรือ Single stage compressorแต่ในการใช้งานทั่วไปกับการขนส่งก๊าซธรรมชาติจะใช้ Compressor ที่มี Impeller มากกว่า 1 ชุด (Multistage compressor) โดย <strong>Gas</strong> ที่ถูกเพิ่มความดันจาก Impeller Stage ที่ 1 แล้ว จะส่งเข้า ImpellerStage ต่อไป เป็น Cycle ต่อเนื่องกันไปจนครบ ซึ่งจะทำให้การใช้งานมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น นั่นหมายความว่า สามารถส่งก๊าซฯ ได้สูงขึ้น โดยใช้ต้นทุนพลังงานที่เป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนต่ำนั่นเองเหตุผลในการเลือกใช้ Centrifugal <strong>Gas</strong>Compressor ในการขนส่งก๊าซธรรมชาติจากคุณสมบัติของ Centrifugal <strong>Gas</strong>Compressor ที่มีความทนทาน สามารถใช้งานในลักษณะต่อเนื่อง (Heavy duty) เป็นระยะเวลานานๆมีส่วนประกอบน้อยเมื่อเทียบกับแบบอื่น สามารถใช้กับการขนส่งทางท่อ ที่ต้องการปริมาตรสูง เมื่อเทียบกับอัตราการเพิ่มของแรงดัน มีราคาถูก น้ำหนักเบาต้องการ Power ในการ Start ต่ำ มีประสิทธิภาพสูงตลอดการใช้งานในย่านต่างๆ (Wide range) ที่สัมพันธ์กับความเร็วรอบ หรือ Rotational speedsด้วยเหตุผลดังที่กล่าวแล้ว จึงเป็นสาเหตุหลักๆ ของการเลือกใช้ Centrifugal <strong>Gas</strong> Compressor ในการขนส่งก๊าซธรรมชาติบทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายหลักการพื้นฐาน โดยไม่ลงลึกในรายละเอียด หากมีความสนใจหรือต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องเกี่ยวกับ<strong>Gas</strong> Compressor ผู้เขียนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งโดยประสานงานมาได้ที่ หน่วยปฏิบัติการและบำรุงรักษาสถานีเพิ่มความดันก๊าซ จ.ราชบุรี โทรศัพท์0-2537-2000 ต่อ 5941, 0-3231-7380-9 ต่อ 5941


I CT Tipsที่มา : บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัดการใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารยุคใหม่หลังจากที่อินเทอร์เน็ตเติบโตอย่างรวดเร็วและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งตลอดหลายปีที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ คงไม่มีใครไม่เคยได้ยินคำว่า VoIP ซึ่งย่อมาจาก Voice over IP หรือ Voiceover Internet Protocol ที่ทำให้นักท่องอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารกันด้วยเสียงได้ทั่วโลก หนึ่งในเทคโนโลยี VoIP ที่จะลืมไปไม่ได้ก็คือ Skype (สะ-ไคปพ์) โปรแกรมเล็กๆ หน้าตาคล้ายเอ็มเอสเอ็น ผลงานการพัฒนาโดย NiklasZennstrom และ Janus Friis บริษัท สไคปพ์เทคโนโลยี จำกัด ประเทศลักเซมเบิร์ก ในทวีปยุโรป ที่ช่วยให้ผู้คนสนทนากันได้ทั้งเสียงและข้อความ ทั้งยังใช้ส่งไฟล์แบบเรียลไทม์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย โดยทำงานบนคอมพิวเตอร์ทั้งระบบปฏิบัติการวินโดว์ แมคอินทอชลินุกซ์ และวินโดว์พ๊อคเก็ตพีซีสถิติเมื่อปี 2548 มีผู้ดาวน์โหลด skypeไปติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนถึง 250ล้านครั้งทั่วโลก มาถึงต้นปี 2549 ราวเดือนมีนาคมมียอดอยู่ประมาณ 274 ล้านครั้ง ทั้งนี้สถิติดังกล่าวยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับปัจจัยที่ทำให้มีการใช้ skype กันมากนั้น ส่วนหนึ่งคือเรื่องค่าใช้จ่าย เนื่องจากบริการ skype มี 2 รูปแบบ คือ 1. PC to PCสามารถสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ตได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย และ 2. PC โทรเข้าโทรศัพท์พื้นฐานทั่วไป เรียกว่า skype out ส่วนนี้มีค่าใช้จ่ายบ้างแต่ก็ไม่สูงนัก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าโทรไปอเมริกาในขณะนี้ก็เสียค่าใช้จ่ายราว 80 สตางค์ต่อนาทีเท่านั้น แต่ถ้าประเทศใดที่การใช้อินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลายก็อาจมีราคาแพงกว่า ทั้งนี้ สำหรับธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์ skype ของตนคงมุ่งเน้นไปที่กลุ่มองค์กรธุรกิจที่มีสาขาหรือโรงงานทั้งในและต่างประเทศ อี-คอมเมิร์ซ รวมถึงอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายเป็นหลัก แม้ว่าการใช้ประโยชน์ของ skype ที่ปรากฏแก่สายตาส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โลกออนไลน์ไม่เคยแบ่งกลุ่มผู้ใช้ได้อย่างชัดเจน เพราะ skype ก็เป็นที่นิยมในกลุ่มนักแชทไม่แพ้โปรแกรมเอ็มเอสเอ็นเช่นกัน Skype เป็นโปรแกรม IM ประเภทหนึ่งเหมือนกันกับ MSN,Yahoo Messenger, AOLเป็นต้น แต่แตกต่างกันตรงที่ Skype เน้นการใช้โทรศัพท์มากกว่า และSkype ใช้ Resource หรือBandwidth น้อยกว่าโปรแกรมอื่น จึงสามารถทำให้การสื่อสารด้วย Voice ได้ดีกว่า เสียงชัดเจนและมี Delay น้อยมาก เมื่อเทียบกับโปรแกรมข้างต้นแล้ว รวมทั้งโปรแกรมมีขนาดเล็ก สามารถติดตั้ง และดำเนินการขอ Account ได้ง่ายมากรวมทั้งมีอุปกรณ์เสริมที่นำออกมาขายเพื่อรองรับSkype พอสมควร อีกทั้งอุปกรณ์เดิม ๆ ที่มีอยู่เช่น กล้อง Webcam, ชุดหูฟัง, ไมโครโฟน ก็สามารถสนทนาผ่าน Skype ได้เลย แต่ถ้าไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็อาจจะต้องซื้อโทรศัพท์Skype มาโดยเฉพาะ และติดต่อผ่านเครือข่ายไร้สาย WIFI ตามจุด Hot Spot ต่างๆ แทนในการที่คุณจะคุยโทรศัพท์ผ่าน Skypeนั้น ถ้าจะให้ประหยัดจะต้องคุยในลักษณะ pc topc คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางต้องมี Skypeและเครื่องปลายทางก็ต้องมี Skype ด้วย ส่วนความเร็ว และสัญญาณนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของความเร็วอินเทอร์เน็ตด้วย แต่ด้วยความเร็วในระดับ Dial Up ผ่านโมเด็มสายโทรศัพท์ธรรมดาซึ่งมีความเร็วที่ 56 Kbps ก็อาจจะมีกระตุกบ้างหรือเสียง Delay บ้าง แต่คุณจะไม่ต้องเสียเงินค่าโทรศัพท์เลยสักบาทเดียว เพราะคุณต้องจ่ายค่า Internet อยู่แล้ว ไม่ว่าคุณจะอยู่ส่วนใดของโลกถ้าเพียงมี Internet (ความเร็วสูงยิ่งดี)คุณก็สามารถติดต่อกันได้แล้ว พร้อมทั้งคุณยังสามารถประชุมผ่านระบบ Conference Callหรือการสนทนาหลายสายได้ด้วย และยังมองเห็นหน้ากันได้เช่นกัน โดยใช้ผ่านกล้อง Webcam ที่มีอยู่แล้วได้เลยแต่ในกรณีที่จะใช้Skype เพื่อการโทรออกไปยังโทรศัพท์พื้นฐาน หรือโทรศัพท์มือถือธรรมดาหรือในแบบ pc to phoneนั้น ซึ่งเรียกว่า Skype Out คุณจะต้องมี Creditเสียก่อน ซึ่งการเติม Credit นั้นสามารถกระทำการเติมได้โดยผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของทาง Skypeได้เลย คือ http://www.skype.com โดยสามารถเติมเงินได้หลายทาง เช่น ผ่านทางบัตรเครดิต,ผ่านทาง Paypal หรือโอนเงินผ่านธนาคาร HongKong Bank ก็ได้ โดยการเติม Credit ขั้นต่ำนั้นคุณจะต้องเติมอย่างต่ำ 10 ยูโร โดยมีระยะเวลา180 วัน แต่ถ้าคุณคิดจะโทรภายในประเทศไทยเองนั้น บอกได้คำเดียวว่าไม่คุ้ม ซึ่งอัตราค่าโทรในแต่ละประเทศ รวมถึงวิธีการใช้งานซึ่งเป็นภาษาไทย สามารถเข้าไปดู หรือศึกษาได้จากเว็บไซต์ของไทย http://www.skypethailand.com โดยจะมีรายการอัตราค่าโทรในแต่ละประเทศซึ่งแตกต่างกันโดยจะคิดค่าโทรในลักษณะคิดจากปลายทาง เช่นถ้าเราโทรศัพท์จากประเทศไทยไปอเมริกา ก็จะคิดจากปลายทางที่อเมริกา หรือถ้าคุณอยู่ที่อเมริกาจะโทรกลับมาประเทศไทย ก็จะคิดจากปลายทางที่โทรมาประเทศไทยในอัตราเดียว หรือถ้าคุณอยู่ญี่ปุ่นจะโทรไปอเมริกา ก็จะคิดค่าโทรจากที่อเมริกาเป็นต้น ซึ่งถ้าเทียบกันระหว่างการโทรศัพท์ผ่านเครื่องโทรศัพท์ธรรมดา จะประหยัดเงินที่คุณจะใช้ในการโทรไปได้มากทีเดียวในส่วนของการโทรออกจากโทรศัพท์พื้นฐานหรือโทรศัพท์มือถือนั้น หรือที่เรียกว่า Skype Inก็คือคุณจะต้องขอเบอร์โทรศัพท์จาก Skype ก่อนซึ่งคุณจะต้องเสียค่าใช้จ่าย (เหมือนกับค่ารักษาเบอร์ หรือค่าเช่ารายเดือนของเบอร์นั้นๆ) ในการขอเบอร์ส่วนตัวด้วย ซึ่งในขณะนี้ในประเทศไทยยังไม่มีบริการรองรับการ Skype In เราได้ทราบถึงประโยชน์ในการใช้ Skypeกันไปคร่าวๆ แล้ว บางคนจะคิดว่ายุ่งยาก ถ้าเราไม่ลองใช้ดู จะไม่รู้ว่า Skype มีประโยชน์ และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อทางไกลได้ดีทีเดียวสามารถ Download โปรแกรม Skype ฟรีได้ที่ http://www.skype.com หรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.skypethailand.com ซึ่งเป็นภาษาไทยอุปกรณ์ต่าง ๆที่สามารถใช้ได้กับ Skype1213


ก๊ า ซ ไ ล น์ G a s l i n eมุ ม สุ ข ภ า พนพ.ปัญญา อัจฉริยวิธผู้จัดการส่วนการแพทย์ ปตท.วัคซีนภูมิแพ้ไรฝุ่นไรฝุ่น เป็นสารก่อภูมิแพ้ต่อระบบทางเดินหายใจที่พบได้มากที่สุด นับเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังในคนไทยที่สำคัญที่สุดโรคหนึ่ง พบผู้ป่วยเด็กร้อยละ 70 - 90 และคนทั่วไปร้อยละ 30 ที่โรงพยาบาลศิริราช ศูนย์วิจัยไรฝุ่นและโรคภูมิแพ้ได้เพาะเลี้ยงไรฝุ่นชนิดDermatophagoides pteronyssinus และ Dermatophagoides farinae ซึ่งเป็นไรฝุ่นที่พบบ่อยในฝุ่นบ้านและก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ในคนไทย ศูนย์นี้เป็นเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีการเพาะเลี้ยงไรฝุ่นบริสุทธิ์โดยไม่ต้องสั่งนำเข้าไรฝุ่นจากต่างประเทศมาทำการศึกษาหรือวิจัยเช่นประเทศอื่น สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคภูมิแพ้นั้น แบ่งการรักษาออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ1. การกำจัดหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และการดูแลรักษาสุขภาพทั่วไป2. การรักษาด้วยการใช้ยา3. การรักษาด้วยการฉีดวัคซีนภูมิแพ้ แต่ทั้งนี้วัคซีนจะต้องใช้น้ำยาสกัดจากไรฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้ที่ได้มาตรฐานจึงจะได้ผลดีที่สุดเป็นเวลากว่า 30 ปี ที่โรงพยาบาลศิริราชได้ผลิตน้ำยาสกัดจากไรฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้ชนิดอื่นๆ เพื่อใช้ทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง และใช้เป็นวัคซีนเพื่อรักษาโรคภูมิแพ้ ปัจจุบันเราได้ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิตวัคซีนไรฝุ่น เพื่อให้ได้มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก และองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยความร่วมมือของภาคเอกชนและจะนำขึ้นทะเบียนตามมาตรฐาน GMP ของกระทรวงสาธารสุข ซึ่งคาดว่าประมาณ 2 ปี จะสามารถนำขึ้นทะเบียนและจัดจำหน่ายได้มีหลายคนถามว่าวัคซีนภูมิแพ้ไรฝุ่นใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นใช่หรือไม่คำตอบคือ ใช่ แต่ไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้ในคนปกติที่ไม่เป็นได้ อย่างไรก็ตามถ้าผู้ป่วยเป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้การฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันการเป็นโรคหอบหืดได้การรักษาด้วยการฉีดวัคซีนเป็นอย่างไร มีวิธีการฉีดอย่างไร และเสียค่าใช้จ่ายเท่าใดการรักษาด้วยการฉีดวัคซีนภูมิแพ้ คือใช้สารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้มากระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังทีละน้อยๆที่แขนสลับข้างกัน ในระยะ 5 - 6 เดือนแรก จะฉีดสัปดาห์ละครั้งและค่อยๆ เพิ่มปริมาณของวัคซีนทีละน้อยตามลำดับ หลังจากฉีดได้ขนาดสูงสุดเท่าที่ผู้ป่วยจะรับได้โดยไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้น จึงไม่เพิ่มขนาดของวัคซีนจากนั้นจะค่อยๆ ฉีดวัคซีนห่างออกทุก 2 และ 3 สัปดาห์ จนถึงฉีดเพียงเดือนละครั้ง เพื่อกระตุ้นให้ภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้นคงระดับสูงอยู่ได้ตลอดเวลา และควรฉีดเดือนละครั้งไปนาน 3 - 5 ปี จึงจะพิจารณาหยุดฉีดได้ ซึ่งถ้าไม่มีอาการก็ไม่จำเป็นต้องฉีด แต่ถ้ามีอาการ อาจกลับมาฉีดอีกได้ การรักษาด้วยการฉีดวัคซีนภูมิแพ้มีค่าใช้จ่ายประมาณ 800 -1,000 บาทข้อดีของการฉีดวัคซีน1. เป็นการรักษาที่ตรงจุด คือ แก้ไขที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีความผิดปกติในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้2. เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการมาก หรือรักษาด้วยยา หรือวิธีการอื่นแล้วไม่ได้ผลดี หรือผู้ที่ใช้ยาแล้วมีผลข้างเคียงของยามาก หรือผู้ป่วยแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้3. ผู้ที่มีอาการของโรคหืดร่วมกับโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ การฉีดวัคซีนจะช่วยให้อาการของโรคหืดทุเลาลงด้วย4. สำหรับผู้ที่มารับการฉีดวัคซีนอย่างสม่ำเสมอ อาการจะดีขึ้นประมาณร้อยละ 70 -90 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของสารก่อภูมิแพ้และตัวผู้ป่วยแต่ละรายผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน1. อาจทำให้เกิดอาการแพ้ทั่วร่างกายได้ เช่นเดียวกับการแพ้ยาฉีดชนิดอื่น หรือการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังอาจเกิดอาการของโรคภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยเป็นอยู่แล้วมากขึ้น เช่น คัน จามคัดจมูก น้ำมูกไหล คันตา คันคอ ไอ หรือหอบหืด ลมพิษ ปวดท้อง อาเจียน ท้องเดินกล่องเสียงบวมเกิดอาการอุดตันของทางเดินหายใจและอาจถึงช็อกได้2. อาจต้องใช้เวลา 3 - 6 เดือนกว่าจะเห็นผล และต้องฉีดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานปฏิบัติตัวอย่างไรหลังฉีดวัคซีน1. ต้องนั่งพักให้แพทย์ดูอาการและสังเกตการบวมบริเวณที่ฉีดทุกครั้ง อย่างน้อย 30 นาที2. ห้ามออกกำลังกาย หรือทำงานหนักหลังฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เนื่องจากจะทำให้สารก่อภูมิแพ้ที่ฉีดมีโอกาสดูดซึมไปทั่วร่างกายมากขึ้น อาจทำให้เกิดอาการแพ้ทั่วร่างกายได้3. หลังฉีด 24 ชั่วโมง ให้สังเกตการณ์บวมหรือผื่นแดงบริเวณที่ฉีดและบันทึกไว้ และก่อนฉีดวัคซีนทุกครั้งควรรายงานแพทย์ว่ามีการบวมแดงบริเวณที่ฉีดครั้งที่แล้วหรือไม่ เพื่อแพทย์จะได้สั่งขนาดวัคซีนที่จะฉีดให้พอเหมาะซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพ้ได้4. ผู้ป่วยควรดูแลรักษาสุขภาพทั่วไปให้ดี โดยพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารอื่นๆ ให้หลากหลายได้สารอาหารครบและออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานได้ดีภายหลังได้การกระตุ้นจากวัคซีน ซึ่งจะทำให้อาการของโรคภูมิแพ้ดีขึ้นได้มากและเร็วแล้วอย่าลืมการทำความสะอาดเครื่องนอนทุกชนิด และนำออกตากแดดจัดๆ ทุก 1 - 2สัปดาห์ อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที แสงแดดจัดจะทำให้ตัวไรฝุ่นถูกฆ่าตาย ลดจำนวนลงได้นอกจากนี้ควรจัดห้องนอนให้โล่งมีเฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้นที่สุดอย่าให้มีมุมเก็บฝุ่น และไม่ควรใช้พรมปูพื้นห้อง ควรใช้มู่ลี่แทนเพราะทำความสะอาดง่าย และไม่ควรใช้สารเคมีที่ใช้ฆ่าตัวไรฝุ่นหรือสารเคมีที่ใช้ทำลายสารก่อภูมิแพ้ที่เกิดจากไรฝุ่น เพราะมักทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจได้


ปาริฉัตร ศุภชลัสถ์ส่วนคุณภาพความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯQ S H Eพัฒนา 5ส. ไปสู่การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance : TPM)หลังจากที่เราได้พูดคุยกันเรื่องของ 5ส. มานานพอสมควร หากองค์กรที่ต้องการพัฒนาตนเอง ให้มีมาตรฐานก้าวไปสู่ระดับสากล โดยมีการดำเนินงาน 5ส. อย่างเข้มแข็งแล้วนั้น ขอแนะนำให้รู้จักกับระบบการบริหารงานที่เรียกว่า“การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม” หรือ “Total Productive Maintenance, Management : TPM”) ซึ่งหลายคนคงรู้จักเป็นอย่างดี ระบบดังกล่าวเหมาะกับองค์กรที่มีเครื่องจักรอุปกรณ์ ใช้ในการผลิตภายในกระบวนการต่างๆและมีวัตถุประสงค์ต่างๆ ดังนี้ 1. ลดความขัดข้องของเครื่องจักรให้เป็นศูนย์ (Zero Breakdown) หรือยืดอายุของเครื่องอุปกรณ์ให้ยาวนานขึ้น2. ลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการผลิต (Zero Defect) 3. ลดอุบัติเหตุจากการทำงาน (Zero Accident)จริงๆ แล้ว การทำ TPM โดยทั่วๆ ไปจะส่งผลให้ได้ผลลัพธ์เป็น 2 ส่วนหลักๆ คือผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ผลลัพธ์ที่เป็นนามธรรมP - จำนวนครั้งของการชำรุดที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันลดลงQ - ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดลดลงC - ต้นทุนการผลิตลดลงD - วัสดุคงคลังลดลงS - อุบัติเหตุที่ทำให้ต้องหยุดงาน และมลภาวะเป็นศูนย์M - จำนวนข้อเสนอแนะ หรือการปรับปรุงเพิ่มขึ้น พนักงานเปลี่ยนทัศนคติ “เครื่องจักรของตนเอง ตนเองจะเป็นผู้ดูแลรักษา” โดยไม่จำเป็นต้องรอหัวหน้าเป็นผู้สั่งการชำรุดเสียหาย และของเสียเป็นศูนย์เกิดขึ้นได้จริง พร้อมทั้งสร้างความมั่นใจว่าสามารถทำได้ถ้าจะทำสถานที่ทำงานมีความสะอาด และสดใสโดยแตกต่างจากเดิมที่เต็มไปด้วยคราบน้ำมัน ฝุ่นผง และขยะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทให้กับผู้เยี่ยมชม และลูกค้า ทำให้ได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น14151Award for World Class TPM Achievement(2 YRS.)45Advance Special Award forTPM Achievement (2 YRS.)Special Award for TPM Achievement(2 YRS.)23Award for Excellence in ConsistentTPM Commitment (2 YRS.)Award for TPM Excellence,Category A (2 YRS.)Award for TPM Excellence, Category BTPM AWARD BY JAPAN INSTITUTE OF PLANT MAINTENANCE (JIPM)สำหรับการทำ TPM นั้นปัจจุบันหากต้องการยกระดับไปสู่มาตรฐานสากล ก็จะเน้นให้ทำ TPM ตามมาตรฐานของ JIPM หรือ Japan Institute of PlantMaintenance ซึ่งเป็นสถาบันที่ให้การรับรองระบบดังกล่าวจากประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยการทำงาน 8เสาหลัก (Pillar) เป็นลักษณะของการทำงานเป็นทีม(Cross Functional Group) ของกลุ่มย่อย (SmallGroup) ที่ประกอบด้วยพนักงานเดินเครื่อง ซึ่งต้องมีหน้าที่หลักเพิ่มขึ้นคือการบำรุงรักษาเครื่องจักรของตนเองอย่างใกล้ชิด โดยได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายซ่อมบำรุง ที่มีความรู้ ความชำนาญ ในเครื่องจักรเป็นอย่างดีทั้งนี้ในการทำ TPM ตามแนวทาง JIPM จะมีการดำเนินการเพื่อเตรียมขอรับรางวัลเป็นขั้นๆ ตามลำดับ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานระบบการบริหาร ให้ครอบคลุมทุกกระบวนการอย่างต่อเนื่อง โดยในขั้นที่ 1(Award for TPM Excellence, Category A) นั้นสำหรับองค์กรที่ยังไม่เคยทำ TPM มาก่อนอาจต้องใช้เวลานานถึง 3 ปี แต่ผลลัพธ์ที่ได้เกินคุ้มกับการรอคอยฉบับหน้าเราจะมาดูว่าแต่ละเสาหลัก (Pillar) ประกอบได้ด้วยอะไรบ้าง ......


ก๊ า ซ ไ ล น์ G a s l i n eถามมา - ตอบไปวาสนา ศรีเจริญส่วนบริหารกิจการระบบท่อส่งก๊าซ โทร.08-1174-5668 หรือ 0-2537-2000 ต่อ 5770Wassana.s@pttplc.comQuestion & Answerต่อเนื่องจากก๊าซไลน์ฉบับที่แล้ว เป็นคำถามเรื่องของฝุ่นผงและสนิมเหล็กที่พบในท่อส่งก๊าซฯ ทำไมยังไม่หมดซะทีทั้งๆ ที่ใช้ท่อก๊าซฯ มานานแล้วหลายสิบปี คำอธิบายในเรื่องนี้อยากจะให้ผู้อ่านลองจินตนาการไปถึงท่อส่งก๊าซฯในทะเลแล้วจะได้คำตอบว่าจากการยกตัวอย่างการคำนวณ โดยสมมติขนาดท่อไม่ใหญ่มากนักยังมีปริมาณสนิมเหล็กมากมายแล้วท่อส่งก๊าซฯ ในทะเล เส้นที่ 1 และเส้นที่ 2 ของ ปตท. ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ถึง 34 - 36 นิ้ว ความยาวถึง415 กิโลเมตร จะมีปริมาณสนิมเหล็กเป็นจำนวนเท่าไร (ลองคำนวณดูได้จากสมการในฉบับที่แล้วค่ะ) นอกจากนี้ยังพบสนิมเหล็กจากการ Run Pig จนถึงทุกวันนี้ แต่จะเป็นสนิมเหล็กตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง หรือเป็น Corrosion Product ที่เกิดขึ้นใหม่ จะได้อธิบายในโอกาสต่อไปQ: รู้ได้อย่างไรว่า Filter ที่มีอยู่ดัก Solid Particle เต็มแล้วหรือยัง เนื่องจากบางครั้งลูกค้าพบฝุ่นผง และเขม่า A: รู้ได้จากการติดตามค่า ∆P (ค่าความดันแตกต่าง) ของก๊าซฯที่ผ่าน Filter ที่เพิ่มสูงขึ้น แสดงว่า Filter เริ่มตันแล้ว แต่จากการปฏิบัติงานบางครั้ง ∆P ค่าไม่สูงขึ้น สันนิษฐานได้ 2 แบบ คือ ไม่มีฝุ่นผงในFilter หรือ Filter ภายในแตกชำรุด ทำให้ฝุ่นผงหลุดออกไปได้Q: แล้วแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างไรA: แก้ปัญหาด้วยการบำรุงรักษา โดยการทำ TBM หรือที่เรียกว่าTime Base Maintenance ควบคู่ไปกับ CBM หรือ Condition BaseMaintenance ซึ่งหลักการของการ Maintenance โดยทั่วไประบบเดิมจะเป็นแบบ TBM อยู่แล้ว แต่ต่อมามีการพัฒนาเป็น CBM ซึ่งเหมาะสมกับอุปกรณ์บางประเภทเท่านั้น สำหรับการตรวจสอบ Filter นั้นจำเป็นที่จะต้องใช้ทั้ง TBM และ CBM ควบคู่กันไป โดยเฉพาะช่วงที่มีการทำความสะอาดท่อ (Pigging) นั้น จำเป็นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการตรวจสอบFilter และสังเกตการทำงานของอุปกรณ์ด้วย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพก๊าซที่ส่งให้กับลูกค้าQ: แล้วผงสนิมเหล็กที่พบจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือไม่A: ในกรณีที่ผงสนิมเหล็กเป็น Iron Oxide ก็จะไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุขณะเก็บตัวอย่าง และระหว่างการขนส่ง แต่ถ้าเป็น Iron Sulphideมีโอกาสจะเกิดการลุกติดไฟได้ เนื่องจาก Iron Sulphide หรือ PyrophoricIron Fires เป็นสารที่สามารถลุกติดไฟได้ด้วยตนเอง รายละเอียดสามารถค้นหาได้ใน www.cheresources.com/ironfires.shtml ซึ่งวิธีการป้องกันการลุกติดไฟเบื้องต้นต้องเปลี่ยนจาก Sulphide ให้เป็น Oxide ก่อน โดยการใช้ Potassium Permanganate Treatment Q: ปตท. มาจดมิเตอร์ไม่ตรงวัน และวันที่จดยอดไม่แน่นอนทำอย่างไรจึงจะตัดยอดการใช้ก๊าซฯ ในวันสิ้นเดือนA: เนื่องจากการจดมิเตอร์ ปตท. ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 3วันทำการ ก่อนสิ้นเดือน ตั้งแต่ช่วงวันที่ 28 - สิ้นเดือน (โดยประมาณ) เป็นผลทำให้วันที่จดยอดมิเตอร์ไม่ตรงกัน ขึ้นกับว่าวันใดเป็นช่วงวันหยุดด้วยสำหรับปัญหานี้ เบื้องต้นเขตปฏิบัติการ จะแจ้งแผนงานประจำปี ในการบำรุงรักษาระบบท่อและอุปกรณ์ รวมถึงกำหนดการจดยอดมิเตอร์ ส่งให้กับลูกค้า ทั้งนี้วิธีการดังกล่าวเป็นแผนงานระยะสั้น สำหรับแผนงานระยะยาวจะเปลี่ยนวิธีการจดยอดมิเตอร์ จากแบบ Manual ไปเป็นแบบ Auto โดยใช้AMR (Automatic Meter Reading) เป็นตัวอ่านค่า ซึ่งได้ดำเนินการติดตั้งให้กับลูกค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี Q: ไม่ทราบเลยว่าจะติดต่อประสานงานในแต่ละเรื่อง ได้ที่หน่วยงานใดของ ปตท. A: รายละเอียดการติดต่อประสานงาน ได้เขียนไว้ในก๊าซไลน์คอลัมน์ ถามมา - ตอบไป ฉบับที่ 68 ประจำเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม2550 ทั้งนี้ลูกค้าสามารถอ่านก๊าซไลน์ย้อนหลังทุกฉบับ ได้ที่ http://pttinternet.pttplc.com/cscind_internet/ หัวข้อ News > จุลสารก๊าซไลน์นอกจากนี้ เขตปฏิบัติการ จะได้นำป้ายชื่อผู้ที่สามารถติดต่อได้ ไปติดตั้งไว้ที่ Meter Skid ทั้งหมด เพื่อความสะดวกในการติดต่อประสานงาน ทีมงานขอขอบคุณทุกคำแนะนำ ทุกคำถาม ที่ลูกค้ามีให้กับ ปตท. อย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามบางปัญหาอาจไม่สามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลาอันสั้น บางปัญหาอาจแก้ได้ไม่สมบูรณ์นัก ทั้งนี้เป็นเรื่องของข้อจำกัดของระบบ และเทคนิค ได้แก่ ปัญหาค่าความร้อน Swing ค่าความร้อนช่วงกลางวันสูงกว่าค่าความร้อนช่วงกลางคืนเล็กน้อย เนื่องจากเป็นเรื่องของปริมาณก๊าซฯ ในส่วนที่ยังคงเหลือไม่ผ่านเข้าโรงแยกก๊าซฯ (Bypass <strong>Gas</strong>) มีปริมาณแตกต่างกัน ขึ้นกับการใช้ก๊าซฯ ของลูกค้าในแต่ละช่วง หากลูกค้าใช้ก๊าซฯ ปริมาณมาก ปริมาณก๊าซฯ ที่ Bypass จะมาก ทำให้ค่าความร้อนสูงแต่หากลูกค้าใช้ก๊าซฯ ปริมาณน้อย โดยเฉพาะช่วงกลางคืน หรือใช้ก๊าซน้อยมากๆ ในช่วงวันหยุดยาวๆ จะเป็นผลทำให้ปริมาณก๊าซฯ ในส่วนที่กล่าวถึงน้อยมาก หรือไม่มีเลย ก็จะเป็นผลทำให้ค่าความร้อนต่ำลง แต่ความแตกต่างระหว่างค่าความร้อนสูงและค่าความร้อนต่ำ อยู่ประมาณ 10 - 20 Btu/scfสำหรับอนาคตระยะยาวปัญหานี้จะลดลง เมื่อมีโรงแยกก๊าซฯ เพิ่มขึ้น หรือมีกระบวนการปรับปรุงโรงแยกก๊าซ 2 และ 3 ในอนาคต

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!