26.01.2015 Views

เรื่องในฉบับ - สถาบันพระปกเกล้า

เรื่องในฉบับ - สถาบันพระปกเกล้า

เรื่องในฉบับ - สถาบันพระปกเกล้า

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

จดหมายข่าว<br />

เดือนมิถุนายน ๒๕๕๒<br />

มารู้จักการปกครองท้องถิ่นกันเถอะ (ตอนที่ ๑)<br />

สุมามาลย์ ชาวนา*<br />

คุณรู้หรือไม่ อบต. อบจ. ย่อมาจากอะไร และเป็นหน่วยงานที่มีไว้เพื่อ<br />

ประโยชน์อะไร และคุณรู้หรือไม่ว่า เงินเกือบ ๔๐๐ ล้านบาท หรือ ๑ ใน<br />

๔ ของรายได้รัฐบาล เป็นงบประมาณที่รัฐจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วน<br />

ท้องถิ่น หากคุณไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ หรือไม่แน่ใจ คุณไม่ใช่<br />

คนแปลกหรือประหลาดแต่อย่างใด เพราะตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการ<br />

ปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อ ๗๗ ปีมาแล้วนั้น เราถูกตีกรอบ<br />

ให้สนใจอยู่แต่การเมืองในระดับชาติเท่านั้น แทบจะไม่มีการกล่าวถึงหรือ<br />

ให้ความสำคัญกับการเมืองหรือการปกครองท้องถิ่นเลยทีเดียว ทั้งที่แท้<br />

จริงแล้วหากศึกษาอย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่าการปกครองท้องถิ่นมี<br />

ประวัติศาสตร์ที่ยาวนานเฉกเช่นเดียวกับการปกครองระดับชาติ อีกทั้งเป็น<br />

รากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย<br />

การปกครองท้องถิ่นกับประชาธิปไตย<br />

การปกครองท้องถิ่นแตกต่างจากการปกครองระดับชาติ คือ การ<br />

ปกครองระดับชาติจะมุ่งเน้นการใช้อำนาจผ่านตัวแทน การเลือกตั้ง การ<br />

ควบคุมผู้แทน การปกครองที่ดี คือ การเลือกผู้แทนที่ดี ทำให้มีการล้อ<br />

เลียนว่านี่คือ ระบอบประชาธิปไตย ๔ ปีครั้ง หรือ one-day citizen ที่<br />

ประชาชนจะมีอำนาจ มีส่วนร่วมทางการเมืองเพียงแค่ในวันเลือกตั้ง อีก<br />

๑,๔๕๙ วัน เป็นเรื่องของผู้แทนของรัฐบาล ในขณะที่การปกครองท้องถิ่น<br />

นั้นหัวใจหลัก คือ การปกครองตนเอง<br />

การปกครองตนเองนั้น เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ หรือกว่า<br />

๒๕๐๐ ปีมาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนครรัฐเอเธนส์ต้นแบบของ<br />

ประชาธิปไตย พลเมืองของเอเธนส์ (ผู้ชายอายุ ๒๐ ปีขึ้นไปและไม่เป็น<br />

ทาส) จะผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้ปกครองโดยการจับฉลาก พลเมืองมีหน้าที่<br />

เข้าประชุมสภาพลเมืองเพื่อออกกฎหมาย และกำหนดนโยบายสำคัญๆ<br />

แม้แต่การประกาศสงคราม เพราะถือว่าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น<br />

ประชาธิปไตยดั้งเดิมจึงไม่ใช่การปกครองเพื่อประชาชน แต่คือการ<br />

ปกครองโดยประชาชน ซึ่งอาจจะถูกหรือผิด ดีหรือไม่ดี แต่ประชาชนก็เป็น<br />

ผู้ตัดสินใจเอง เลือกเอง ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพัน เป็นเจ้าของ<br />

พัฒนาการการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย<br />

สำหรับการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทยนั้นอาจแบ่งคร่าวๆ ได้ ๓<br />

ยุค ด้วยกัน ยุคแรก คือ ยุคเริ่มต้นการกระจายอำนาจและการปกครอง<br />

ท้องถิ่น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้<br />

จัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ เพื่อดูแลความสะอาด <br />

สุขอนามัย และถนนหนทาง แต่ยังไม่นับว่าเป็นการปกครองท้องถิ่น เพราะ<br />

ผู้บริหารคือข้าราชการทั้งสิ้น กระทั่ง พ.ศ. ๒๔๔๘ มีการจัดตั้งสุขาภิบาลท่า<br />

ฉลอม โดยมีกำนันผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นราษฎรในท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบ<br />

รวมทั้งมีการมอบภาษีโรงร้านให้กับสุขาภิบาลเพื่อเป็นรายได้ในการบริหาร<br />

ถือได้ว่าเป็นการปกครองท้องถิ่นครั้งแรกของประเทศไทย ต่อมาในสมัย<br />

รัชกาลที่หก ได้ทรงสร้างเมืองจำลอง “ดุสิตธานี” หรือ “นคราภิบาล”<br />

(municipality) เพื่อให้ข้าราชบริพารมีความเข้าใจและคุ้นเคยกับการ<br />

ปกครองตนเอง จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมี<br />

พระบรมราชโองการให้ร่างกฎหมายเทศบาลขึ้น เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่น<br />

มีส่วนร่วมในการปกครอง และให้เป็นโรงเรียนฝึกหัดทางการเมือง เพื่อ<br />

เตรียมความพร้อมสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่การจัดตั้ง<br />

เทศบาลได้เกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปแล้ว เมื่อ พ.ศ.<br />

๒๔๗๖ การปกครองท้องถิ่นในยุคที่หนึ่งนี้อำนาจการบริหารตกอยู่ในมือ<br />

ของข้าราชการ กำนันผู้ใหญ่บ้าน และถูกบังคับบัญชาจากราชการส่วนกลาง<br />

ส่วนภูมิภาค มากกว่าประชาชนจะได้ปกครองตนเอง<br />

ยุคที่สอง คือ ยุคแห่งความไม่ไว้วางใจการปกครองท้องถิ่น ในช่วง<br />

รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยที่สอง ซึ่งการปกครองท้องถิ่นได้รับ<br />

ความสำคัญมากเนื่องจากการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ มีการจัดตั้งองค์กร<br />

ปกครองส่วนท้องถิ่นหลายรูปแบบ ทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การ<br />

บริหารส่วนตำบล แต่ภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. ๒๕๐๐ ประเทศไทย<br />

ปกครองด้วยระบอบเผด็จการ ทำให้การปกครองท้องถิ่นเป็นเพียง<br />

สัญลักษณ์เท่านั้น ไม่ได้ส่งเสริมการปกครองตนเองอย่างแท้จริง ประกอบ<br />

กับรัฐมีความหวาดระแวงต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ว่าจะเข้ามายึดอำนาจการ<br />

ปกครอง จึงยุบสภาท้องถิ่น ถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง<br />

และแต่งตั้งข้าราชการไปปฏิบัติหน้าที่แทน เพื่อสกัดกั้นการขยายตัวของ<br />

คอมมิวนิสต์ ทั้งนี้ ความหวาดระแวงนี้ลดลงเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง<br />

ประเทศไทยล่มสลายไป<br />

ยุคที่สาม คือ ยุคแห่งการฟื้นฟูการกระจายอำนาจ การปกครอง<br />

ท้องถิ่น และการปฏิรูปการเมือง หรือยุคของการปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่<br />

ซึ่งเริ่มต้นภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ.๒๕๓๕ ที่ประชาชนหลาก<br />

หลายกลุ่มออกมาเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง ให้เพิ่มสิทธิเสรีภาพให้<br />

ประชาชน ปรับประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนเป็นประชาธิปไตยที่ประชาชนมี<br />

ส่วนร่วม ทำให้ระบบการเมืองและระบบราชการมีความสุจริต โปร่งใส<br />

ตรวจสอบได้ และต้องทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพเพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมือง<br />

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนนำไปสู่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐<br />

ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจและการปกครอง<br />

ท้องถิ่นมากที่สุด โดยมีบัญญัติไว้ทั้งในหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ<br />

และหมวดว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีถึง ๑๐ มาตรา ด้วยกัน <br />

ซึ่งรายละเอียดจะขอกล่าวถึงในฉบับหน้า<br />

หนังสืออ้างอิง<br />

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ.๒๕๔๖.ภาพรวมของรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐.นนทบุรี:สถาบันพระปกเกล้า.<br />

ปธาน สุวรรณมงคล.๒๕๔๗.การปกครองท้องถิ่นไทยในบริบทรัฐธรรมนูญแก่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐.นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.<br />

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. ๒๕๕๑. การเมืองภาคพลเมือง.กรุงเทพฯ:สถาบันพระปกเกล้า.

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!