26.01.2015 Views

เรื่องในฉบับ - สถาบันพระปกเกล้า

เรื่องในฉบับ - สถาบันพระปกเกล้า

เรื่องในฉบับ - สถาบันพระปกเกล้า

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

จดหมายข่าว<br />

เดือนมิถุนายน ๒๕๕๒<br />

วิทยุแบบ Marconi และ Telefunken ในปีต่อมาพระบาทสมเด็จ<br />

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานคำว่า ‘วิทยุ’ ให้ใช้แทนคำว่า<br />

‘ราดิโอ’ หรือ ‘เรดิโอ’ (radio) ๔ ปีต่อมา กรมไปรษณีย์โทรเลขได้ร่วม<br />

กับกระทรวงทหารเรือเปิดให้ประชาชนใช้วิทยุโทรเลขนั้นได้เป็นครั้งแรก<br />

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๗ เสด็จในกรมฯทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดี<br />

กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๙ จึงทรงพัฒนาทั้ง<br />

การรถไฟและการสื่อสาร ทรงทดลองการรับส่งวิทยุกระจายเสียง ที่วัง<br />

บ้านดอกไม้ของพระองค์เองอยู่หลายปี ทั้งได้ทรงตั้งกองช่างวิทยุขึ้น ตั้ง<br />

แต่ พ.ศ. ๒๔๗๑ กระจายเสียงในนามสถานีวิทยุกระจายเสียง ‘๔ พี.เจ’<br />

และ ‘๑๑ พี.เจ’ ในเวลาต่อมา อักษรย่อพระนามของเสด็จในกรมฯ<br />

(Purachatra Jayakorn) <br />

สถานีวิทยุกระจายเสียงได้ย้ายมาตั้งที่โฮเต็ลพญาไท หรือพระราชวัง<br />

พญาไทแต่เดิม (ซึ่งปัจจุบันอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า)<br />

ซึ่งยังอยู่กลางทุ่งพอสมควร <br />

พิธีเปิด “สถานีวิทยุกรุงเทพที่พญาไท” กระทำในวันฉัตรมงคล <br />

วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๓ มีการถ่ายทอดพระราชดำรัสของ<br />

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย <br />

ไปตามสายเข้าเครื่องส่งกระจายเสียงสู่ประชาชน ความว่า : <br />

“การวิทยุกระจายเสียงที่ได้เริ่มจัดขึ้นและทำการทดลองตลอดมา<br />

นั้น ก็ด้วยความมุ่งหมายว่าจะส่งเสริมการศึกษา การค้าขาย และการ<br />

บันเทิง แก่พ่อค้าประชาชน เพื่อควบคุมการนี้ เราได้แก้ไขพระราช<br />

บัญญัติดังที่ประกาศใช้เมื่อเดือนกันยายนแล้ว และบัดนี้ได้สั่งเครื่อง<br />

กระจายเสียงอย่างดีเข้ามาตั้งที่สถานีวิทยุโทรเลขพญาไทเสร็จแล้ว เรา<br />

จึงขอถือโอกาสสั่งให้เปิดใช้เป็นปฐมฤกษ์ ตั้งแต่บัดนี้ไป”<br />

ต่อมาอีก ๓ วัน ในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๓ พระบาท<br />

สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินทรงเหยียบสถานีวิทยุใน<br />

เวลา ๑๗.๐๐น. และในราชสำนักรัชกาลที่ ๗ มีการใช้คำว่า ‘วุ’ แทน<br />

คำว่า ‘วิทยุ’ เป็นการแสดงถึงความเอ็นดูเครื่องมือสื่อสารชนิดนี้ซึ่ง<br />

พระองค์ทรงสดับเป็นประจำ<br />

สำหรับพระราชบัญญัติวิทยุโทรเลข พ.ศ. ๒๔๕๗ แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อ<br />

วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๓ มีสาระสำคัญตรงที่ เปิดโอกาสให้<br />

ประชาชนทั่วไปมีเครื่องรับวิทยุ แต่ผู้ที่รับฟังได้ในขณะนั้นคงมีไม่มาก<br />

กว่า ๑๐,๐๐๐ คน เพราะกำลังส่งยังจำกัด (๒.๕ กิโลวัตต์ โดยเครื่อง<br />

Philips ของ เนเธอร์แลนด์) เรียกว่า ‘เครื่องแร่’ ต้องใช้หูฟัง ฟังได้เพียง<br />

ลำพังคนเดียว อย่างไรก็ดี การส่งกระจายเสียงเป็นปฐมฤกษ์ในสยาม<br />

ครั้งนั้น เกิดขึ้นเพียง ๑๐ ปี หลังจากที่มีการเริ่มกระจายเสียงทางวิทยุ<br />

ครั้งแรกในโลกที่ประเทศอังกฤษ จึงนับว่าสยามสมัยรัชกาลที่ ๗ <br />

ทันสมัยมากทีเดียว ในกิจการนี้ ปัจจุบันจึงถือว่าวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์<br />

เป็นวันวิทยุกระจายเสียง<br />

สถานีวิทยุกรุงเทพที่พญาไทนี้ ใช้ชื่อย่อว่า HSP๑ (คลื่นยาว ๓๕๐<br />

เมตร) และ HSP๒ (คลื่นสั้น ๓๑ เมตร) ตามลำดับ (ย่อมาจาก Hotel<br />

Siam at Phyathai กระมัง) ใช้ ‘ฆ้องสี่เสียง’ เป็นเสียงขานจาก<br />

กรุงเทพฯ (Bangkok calling) ตอนเปิดสถานี ซึ่งเสด็จในกรมฯ ทรง<br />

คิดค้นขึ้นโดยใช้เสียงไซโลโฟน (xylophone) หรือระนาดฝรั่ง ตาม<br />

เสียงระนาดเชิญรับประทานอาหารในเรือโดยสาร ทำนอง ‘ฆ้องสี่เสียง’ นี้<br />

จึงเป็นที่รู้จักคุ้นหูกันสืบมาทางวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ในสมัยหลัง ‘ฆ้อง<br />

สี่เสียง’ นี้ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์กระจายเสียง กรม<br />

ประชาสัมพันธ์<br />

ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๔ เสนาบดีสภาเห็นชอบ<br />

ให้กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมอนุญาตให้ห้างร้านประกาศโฆษณา<br />

ทางวิทยุได้ โดยให้ประกาศโดยไม่พรรณนาถึงคุณภาพ เป็นการ<br />

ประชาสัมพันธ์มากกว่าการโฆษณา และรัฐได้ค่าธรรมเนียมเป็นการ<br />

ตอบแทนมาชดเชยกับการที่กิจการวิทยุกระจายเสียงขาดทุนประมาณ<br />

เดือนละ ๔๐๐ บาท<br />

ครั้นวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๗ (ซึ่งยังอยู่ในรัชกาลที่ ๗)<br />

กระทรวงกลาโหมโดยนายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการฯ<br />

ประกาศเลิกยิงปืนเที่ยง เพราะมีการส่งสัญญาณบอกเวลาโดยทางวิทยุ<br />

เป็นที่แพร่หลายแล้ว<br />

มาบัดนี้ ๗๙ ปี หลังจากที่มีสถานีวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรกใน<br />

สมัยรัชกาลที่ ๗ ไทยได้เลิกโทรเลขไปแล้ว แต่ยังมีวิทยุ ที่ประชาชน<br />

(และเอกชน) ดำเนินการเองในนาม ‘วิทยุชุมชน’ ทั้งที่มีและไม่มีโฆษณา<br />

ให้กทช.ได้คิดหาหนทางออกระเบียบอนุญาต กำกับ ควบคุม ต่อไป<br />

อีกทั้งมีโทรทัศน์และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมอีกมากมายหลาย<br />

ชนิด ซึ่งมีทั้งประโยชน์และโทษ คละกันไปอย่างซับซ้อนซ่อนเงื่อน<br />

จำเป็นที่รัฐและประชาสังคมจะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้<br />

ในการเป็นเจ้าของครอบครอง ดำเนินการให้สอดคล้องกับการเป็นสังคม<br />

ประชาธิปไตยสมัยใหม่ให้ดี<br />

เอกสารอ้างอิง<br />

กรมศิลปากร, พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปกมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพฯมหานคร : รัฐสภา/รุ่งศิลปะ<br />

การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, (พิมพ์ครั้งที่๒) ๒๕๒๔, หน้า ๓๑๕-๓๔๖.<br />

ศุภลักษณ์ หัตถพนม, “ฆ้องสี่เสียง” สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๒๒ วันที่ ๒๐-๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒, หน้า ๓๘-๓๙.<br />

สรรพสิริ วิริยศิริ, “พระมหากษัตริย์ผู้พระราชทาน ‘หูทิพย์’” ใน เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการเรื ่องสังคมไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู ่หัว<br />

จัดโดย สถาบันไทยศึกษาและฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๗-๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗.<br />

สรศัลย์ แพ่งสภา, ราตรีประดับดาวที่หัวหิน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สารคดี, ๒๕๓๙.

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!