26.01.2015 Views

เรื่องในฉบับ - สถาบันพระปกเกล้า

เรื่องในฉบับ - สถาบันพระปกเกล้า

เรื่องในฉบับ - สถาบันพระปกเกล้า

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

เดือนมิถุนายน ๒๕๕๒<br />

จดหมายข่าว<br />

<br />

การพัฒนาการสื่อสารในสมัยรัชกาลที่ ๗<br />

ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล*<br />

เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๒ นี้ สถาบันพระปกเกล้าให้ผมไปบรรยาย<br />

เกี่ยวกับพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้<br />

ผู้บริหารระดับต้นของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม<br />

แห่งชาติ (กทช.) ฟัง ผมจึงได้ลองหาข้อมูลเรื่องกิจการสื่อสารในสมัย<br />

รัชกาลที่ ๗ เตรียมไว้บ้าง แต่เอาเข้าจริงไม่ได้ใช้ จึงขอนำเกร็ดความรู้<br />

บางประการมาเล่าสู่กันฟัง ณ ที่นี้<br />

เชื่อหรือไม่ว่า ไทยเราวางสายโทรศัพท์ก่อนที่เราจะสร้างทางรถไฟ<br />

เสียอีก เท่ากับว่าการสื ่อสาร (สมัยใหม่) มาก่อนการคมนาคม (สมัยใหม่) <br />

กล่าวคือ เมื่อพ.ศ. ๒๔๑๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่<br />

หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้วางสายโทรเลขจากกรุงเทพฯถึง<br />

สมุทรปราการและต่อกับประภาคารปากน้ำ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๒๑ สร้าง<br />

สายที่ ๒ กรุงเทพฯบางปะอิน-อยุธยา และใน พ.ศ. ๒๔๒๖ กรุงเทพฯ-<br />

ปราจีนบุรี-อรัญประเทศ-ศรีโสภณ (ชายแดนสยาม-กัมพูชา) และ<br />

กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี-เมาะลำเลิง (Moulmein) (ในพม่า) ส่วนโทรศัพท์<br />

นั้นเริ่มทดลองใน พ.ศ. ๒๕๒๔ ทั้งหมดนี้ภายใต้การดำเนินงานของกรม<br />

กลาโหม ต่อมาเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ จึงได้ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมโทรเลข (ซึ่งรวมโทรศัพท์ไว้ด้วย) และกรม<br />

ไปรษณีย์ ในขณะที่รถไฟนั้นเริ่มใน พ.ศ. ๒๔๓๔<br />

เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น <br />

สรรพสิริ วิริยศิริ วิเคราะห์ไว้ว่า ในการพัฒนาประเทศนั้น<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงระมัดระวังเรื่องผล<br />

กระทบที่อาจมีต่อความมั่นคงของชาติมาก แม้ว่าจะทรงตระหนักดีถึง<br />

ความสำคัญของการสื่อสารคมนาคมต่อการพัฒนาประเทศ โดยทรง<br />

อุปมาอุปไมยว่า พระนครเหมือนหัวใจ สูบเลือดไปทั่วร่างกาย ก็ตาม<br />

ในเรื่องรถไฟ ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะ<br />

ทรงบรรลุพระราชนิติภาวะ อังกฤษก็ได้ขอสัมปทานรถไฟ ซึ่งสยามได้<br />

อนุญาต แต่ปรากฏว่าอังกฤษดำเนินการไม่สำเร็จ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.<br />

๒๔๑๘ อังกฤษได้ขออีกครั้ง คราวนี้ทรงบริหารราชการแผ่นดินด้วย<br />

พระองค์เองแล้ว ไม่ทรงอนุญาต เพราะมีพระราชวินิจฉัยว่าจะทำให้เสีย<br />

เปรียบอังกฤษ สยามจึงตอบไปว่า ดำริจะทำเองอยู่แล้ว<br />

อันที่จริง สยามยังรีรอเรื่องรถไฟ แต่กำลังทำเรื่องโทรเลขดังกล่าว<br />

แล้ว โดยกรมกลาโหมรับผิดชอบ และทำไปยังจุดใกล้ชายแดนแทบ<br />

* กรรมการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทั้งสิ้น ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นไปเพื่อการส่งข่าวสารเกี่ยวกับภัยคุกคามจาก<br />

เจ้าอาณานิคมให้ทันกาล สายโทรเลขเหล่านี้ย่อมเดินไปตามทางเกวียน<br />

แทบทั้งสิ้น<br />

ส่วนรถไฟนั้น มาเริ่มใน พ.ศ. ๒๔๓๔ โดยทรงพระกรุณาโปรด<br />

เกล้าฯให้เดนมาร์คมาทำ เพราะเดนมาร์คสนใจแต่เรื่องการค้า ไม่ล่า<br />

อาณานิคมในภูมิภาคแถบนี้ ทางรถไฟสายแรก กรุงเทพฯ-ปากน้ำ<br />

สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ เพียงสามเดือนก่อนเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒<br />

ที่เรือรบฝรั่งเศสตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯ<br />

ได้ บีบบังคับไทยให้จำยอมสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และจ่ายค่า<br />

ปฏิกรรมสงครามจำนวนมากให้แก่ฝรั่งเศส ยังความหนักพระราชหฤทัย<br />

แก่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเป็นที่ยิ่ง ปรากฏในพระราชหัตถเลขาถึง<br />

เสนาบดีสภาว่า “ถ้าความเป็นเอกราชของกรุงสยามได้สิ้นสุดไปเมื่อใด<br />

ชีวิตรฉันก็คงจะสิ้นสุดไปเมื่อนั้น”<br />

ครั้นวันที่ ๘ พฤศจิกายน ปีเดียวกันนั้นเอง (ร.ศ. ๑๑๒ หรือ พ.ศ.<br />

๒๔๓๖) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็พระราชสมภพ<br />

กลับมาเรื่องโทรเลข ใน พ.ศ. ๒๔๔๗ ซึ่งเป็นปีพระราชสมภพของ<br />

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ สยามได้<br />

ให้บริษัท B.Grimm &Co.ของชาวเยอรมันเป็นตัวแทนบริษัท<br />

Telefunken ติดตั้งเครื่องวิทยุโทรเลข ๒ ชุด ชุดหนึ่งบนภูเขาทองใกล้ๆ<br />

กับที่ตั้งในปัจจุบันของพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

อีกชุดหนึ่งที่เกาะสีชัง เพื่อทดลองการส่งและรับวิทยุโทรเลขระหว่างกัน<br />

ผลเป็นอย่างไรยังหาหลักฐานไม่ได้<br />

ในปีเดียวกันนั้นเอง เจ้านายพระองค์หนึ่ง ซึ่งทรงมีบทบาทสำคัญยิ่ง<br />

ในการพัฒนาการสื่อสารและการคมนาคมในสมัยรัชกาลที่ ๖ และที่ ๗<br />

คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร (ทรงพระกรุณาโปรด<br />

เกล้าฯ สถาปนาเป็นกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ในรัชกาลที่ ๗) ได้<br />

เสด็จกลับจากทรงศึกษาด้านวิศวกรรมในยุโรป ในรัชกาลที่ ๖ รักษาการ<br />

ในตำแหน่งเจ้ากรมการรถไฟสายเหนือใน พ.ศ. ๒๔๕๓ และทรงเป็น<br />

ผู้บัญชากรมรถไฟหลวงใน พ.ศ. ๒๔๖๐ ควบคุมกิจการรถไฟทั่ว<br />

ประเทศ ทรงขยายเส้นทางเดินรถและทรงนำรถจักรดีเซลเข้ามาใช้ใน<br />

สยามประเทศ เป็นประเทศแรกในทวีปเอเซีย<br />

ครั้น พ.ศ. ๒๔๕๖ กระทรวงทหารเรือได้ตั้งสถานีวิทยุโทรเลขถาวร<br />

ที่ศาลาแดงและที่สงขลา เพื่อใช้ในราชการกองทัพเรือโดยเครื่องรับส่ง

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!