26.01.2015 Views

เรื่องในฉบับ - สถาบันพระปกเกล้า

เรื่องในฉบับ - สถาบันพระปกเกล้า

เรื่องในฉบับ - สถาบันพระปกเกล้า

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

จดหมายข่าว<br />

เดือนมิถุนายน ๒๕๕๒<br />

ตีความได้ว่ารัฐบาลพยายามที่จะดึงมวลชนทั้งหมด ๙๐ คนมาอยู่ข้างรัฐ<br />

จากการพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านโครงการต่างๆ โดยที่กลุ่มขบวนการอีก<br />

๑๐ คนจะ “ฝ่อ” ไปเอง หรือหากไม่สลายไป ก็จะสามารถจับกุมปราบ<br />

ปรามกลุ่มขบวนการที่เหลือให้หมดสิ้นไปได้<br />

แน่นอนที่สุด คงไม่มีใครปฏิเสธว่ามาตรการในการแก้ไขปัญหา<br />

ที่จำเป็นต้องทำส่วนหนึ่งคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่<br />

ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ให้ประชาชนทุกหมู่เหล่ากินดีอยู่ดี สามารถ<br />

ปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อของตนได้อย่างเสรี ซึ่งเป็นแนวทางถูกต้อง<br />

เหมาะสมแล้วและควรได้รับการสนับสนุนส่งเสริมอย่างเต็มที่ <br />

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็ไม่แน่ใจว่างานการเมืองที่เน้นการพัฒนา<br />

เพียงอย่างเดียวจะเพียงพอหรือไม่ในการยุติความรุนแรงโดยที่ไม่ต้อง<br />

มีการพูดคุยกับกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อ<br />

ทำความเข้าใจว่าคนกลุ่มนี้ต้องการอะไร และไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะ<br />

สามารถจับกุม ปรับความคิด หรือปราบปรามกลุ่มขบวนการนี้ได้อย่าง<br />

เบ็ดเสร็จเด็ดขาดตามสมมติฐานข้างต้น เมื่อดูจากความรุนแรงรายวันที่<br />

ยังคงเกิดขึ้นยืดเยื้อมากว่า ๕ ปีแล้วท่ามกลางความพยายามแก้ปัญหา<br />

จากทุกภาคส่วนและการทุ่มเทงบประมาณซึ่งเป็นภาษีประชาชนไปกว่า<br />

แสนล้านบาท โดยที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดการสูญเสียลงได้ ความไม่<br />

แน่ใจดังกล่าวนี้ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่รัฐบาลจะต้อง<br />

คุยกับกลุ่มขบวนการด้วยการมอบหมายหน่วยงานหรือกลุ่มบุคคล<br />

เฉพาะเพื่อดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง<br />

การพูดคุยเพื่อสันติภาพ (Peace Talks) นี้ถือเป็นงานการเมือง<br />

เชิงรุกที่เป็นรูปธรรมอีกประการหนึ่ง ความขัดแย้งในหลายกรณีทั่วโลก<br />

ไม่ว่าจะเป็นที่แคว้นบาสก์ อาเจะห์ ไอร์แลนด์เหนือ หรือมินดาเนา ก็เริ่ม<br />

ต้นคลี่คลายลงด้วยแนวทางนี้ทั้งสิ้น การพูดคุยนี้เป็นการทำความเข้าใจ<br />

ความต้องการของผู้ก่อความไม่สงบ เพื่อนำมาวิเคราะห์และพิจารณา<br />

หาทางออกร่วมกันที่เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ในพื้นที่และมีความ<br />

เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดในการลด<br />

ความรุนแรงผ่านการสื่อสารกับผู้กระทำโดยตรง เพื่อยุติการสูญเสียชีวิต<br />

ของทุกๆฝ่ายให้ได้โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ การพูดคุยดังกล่าวนี้ไม่ใช่การหา<br />

ข่าวอย่างที่เคยปฏิบัติกันมา และที่สำคัญคือไม่ใช่การเจรจาแต่อย่างใด<br />

หากแต่เป็นการทำความเข้าใจกับคนไทยด้วยกันที่มีความเห็นต่างจาก<br />

รัฐ ๓ <br />

หากนโยบายการเมืองนำการทหารของรัฐบาลมีการดำเนินงานสองขา<br />

คู่ขนานกันไปคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่และการ<br />

พูดคุยเพื่อสันติภาพกับกลุ่มขบวนการในการทำความเข้าใจว่าทำไมจึง<br />

ต้องใช้ความรุนแรง ก็น่าจะเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่เข้าเป้ามากยิ่ง<br />

ขึ้น ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้กระทำ<br />

ผิด ซึ่งต้องดำเนินไปตามกระบวนการยุติธรรมและพยานหลักฐานอยู่<br />

แล้ว หรือไม่ได้หมายความว่าจะงดใช้การทหาร เพียงแต่ต้องเป็นการใช้<br />

การทหารเพื่อสนับสนุนงานการเมืองเท่านั้น<br />

ในเมื่อเป้าหมายสูงสุดของรัฐบาลคือสันติสุขในพื้นที่ หากทางเลือก<br />

ใดที่อาจจะนำมาซึ่งเป้าหมายนี้ได้ ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่คุ้มค่า<br />

ต่อรัฐบาลที่จะลองหันมาพิจารณา<br />

<br />

<br />

๓<br />

รายงานปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้: บทวิเคราะห์และแนวทางการแก้ปัญหาเชิงรุกที่ยั่งยืนด้วยสันติวิธี โดยนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร<br />

ชั้นสูง “การเสริมสร้างสังคมสันติสุข” รุ่นที่ ๑ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๔๓

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!