05.08.2019 Views

We Smile - August 2019

The In-Flight Magazine of Thai Smile Airways.

The In-Flight Magazine of Thai Smile Airways.

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ART & CULTURE<br />

มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ อันนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อวงการ<br />

ศิลปกรรมไทยสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน<br />

โดยเหตุที่หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ตั้งอยู่บนที่ตั้งเดียว<br />

กับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาสะพานผ่านฟ้า และ<br />

ศูนย์สังคีตศิลป์ ซึ่งเป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน และใกล้สถานที่<br />

สำคัญรอบเกาะรัตนโกสินทร์ จึงได้รับการปรับปรุงให้สวยงาม<br />

สมพระเกียรติ โดยกรรมการมูลนิธิหอศิลป์ฯ ว่าจ้างสถาปนิกชาว<br />

ญี่ปุ่นมาออกแบบให้เป็นหอศิลป์ทางทัศนศิลป์โดยเฉพาะ อันได้ชื่อว่า<br />

เป็นหอศิลป์สมบูรณ์แบบแห่งแรกของไทย ที่ก่อตั้งโดยเอกชน มีพื้นที่<br />

จัดนิทรรศการ 5 ชั้น เจาะโถงตรงกลางจากชั้นล่างถึงชั้น 3 โดยชั้นที่<br />

1-4 แสดงนิทรรศการหมุนเวียนตลอดปี ชั้นที่ 5 เป็นสำนักงาน<br />

ห้องประชุม และพื้นที่อเนกประสงค์ สำหรับผู้เข้าเยี่ยมชมแล้ว<br />

สิ่งแรกที่สร้างความประทับใจอย่างยิ่งเมื่อก้าวมายังโถงกลางชั้น 1<br />

คือพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม<br />

ราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย<br />

น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระองค์ท่าน และพระองค์ทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำมาประดิษฐาน ณ ที่นี้ โดยพระฉายา<br />

สาทิสลักษณ์สีน้ำมัน ในฉลองพระองค์ชุดไทยจักรีอันงดงามนี้ วาดโดย<br />

อาจารย์สมาน คลังจัตุรัส เพื่อเป็นต้นฉบับจัดทำธนบัตรที่ระลึก<br />

บน : พระฉายาสาทิสลักษณ์สีน้ำมัน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์<br />

พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง<br />

ประดิษฐาน ณ โถงกลาง ชั้น 1 หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ<br />

Top : A portrait of Her Majesty Queen Sirikit the Queen Mother<br />

in the lobby on the 1 st floor of The Queen’s Gallery<br />

上 方 : 安 放 在 画 廊 大 厅 的 诗 丽 吉 王 太 后 人 像 油 画 。<br />

ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ<br />

12 สิงหาคม 2547<br />

ตลอดการดำเนินงาน 15 ปีที่ผ่านมา หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้า<br />

สิริกิติ์ฯ เป็นทั้งแหล่งศึกษาค้นคว้าด้านศิลปะ แหล่งท่องเที่ยวทาง<br />

ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และเหนืออื่นใด เป็นสถานที่แสดงผลงาน<br />

ศิลปกรรมที่มีผู้เข้าชมเพิ่มขึ้นทุกปี โดยนิทรรศการที่คัดสรรมาแสดงนั้น<br />

ล้วนสะท้อนทัศนคติและความคิดสร้างสรรค์ของผู้คนในแต่ละยุคสมัย<br />

รวมทั้งส่งเสริมศิลปินรุ่นใหม่ให้มีพื้นที่แสดงผลงาน อาทิ นิทรรศการ<br />

ศิลปนิพนธ์ยอดเยี่ยม ซึ่งหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จัดขึ้นทุก<br />

ปี เพื่อรวบรวมและจัดแสดงงานศิลปนิพนธ์ของนิสิตนักศึกษาปริญญา<br />

ตรีและปริญญาโทจากสถาบันอุดมศึกษาที่มีการสอนศิลปะทั่วประเทศ<br />

นอกจากนี้เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้า<br />

อยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราช<br />

ชนนีพันปีหลวง ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของทั้ง 2 พระองค์<br />

ในวันที่ 8 สิงหาคม-24 กันยายน ศกนี้ จึงได้จัดนิทรรศการ ‘หัตถกรรม<br />

ของบรรพชน : ของรัก ของหวง รักษาไว้ให้ถึงลูกหลาน’ โดยศูนย์<br />

ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ขึ้นมาเป็นพิเศษ เพื่อถ่ายทอด<br />

องค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรมชั้นสูง อาทิ ผ้าไทยโบราณ เครื่องเงิน<br />

เครื่องมุก เครื่องเบญจรงค์ จากนักสะสม ครูศิลป์ของแผ่นดิน และ<br />

ครูช่างศิลปหัตถกรรม ให้ผู้สนใจได้ชมกัน<br />

ส่วนบทบาทสำคัญของหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เป็นที่<br />

ประจักษ์ชัดอยู่แล้ว ในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาด้านศิลปะ<br />

ด้วยการร่วมกับมูลนิธิบัวหลวงและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา<br />

ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดโครงการอบรมครูสอนศิลปะระดับประถมและ<br />

มัธยมทั่วประเทศ ซึ่งครูจะสามารถสอนนักเรียนแต่ละรุ่นต่อๆ ไป<br />

และการจัดนิทรรศการจิตรกรรมบัวหลวง แสดงภาพจากการประกวด<br />

จิตรกรรมบัวหลวง โดยมูลนิธิบัวหลวง ซึ่งเป็นสถาบันเพียงแห่งเดียวที่มีการ<br />

ประกวดงานจิตรกรรมไทยแบบประเพณี การประกวดครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อปี<br />

2517 ใน 2 ประเภทคือจิตรกรรมไทยแบบประเพณีและจิตรกรรมร่วมสมัย<br />

ต่อมาการประกวดครั้งที่ 15 ปี 2534 ได้เพิ่มอีกประเภทคือ จิตรกรรมไทย<br />

แนวประเพณี เพื่อส่งเสริมงานจิตรกรรมแบบไทยผสมผสานแนวร่วมสมัย<br />

เพิ่มความหลากหลายให้ผลงานศิลปะ ซึ่งรางวัลจิตรกรรมบัวหลวงนี้ถือเป็น<br />

เกียรติประวัติต่อยอดให้ศิลปินหลายท่านก้าวสู่เวทีระดับประเทศและสากล<br />

หรือเป็นศิลปินแห่งชาติ อาทิ อาจารย์ประเทือง เอมเจริญ, ศาสตราจารย์<br />

เกียรติคุณปรีชา เถาทอง, ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และ<br />

อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร<br />

สำหรับการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ปี 2562 มีการนำผลงานมาร่วม<br />

แสดงนิทรรศการ ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เหมือนเช่นที่ผ่านมา<br />

ครั้งนี้คัดเลือกผลงานร่วมแสดง 56 ผลงาน และมีผลงานที่ได้รับรางวัลอีก<br />

9 ผลงาน เช่น รางวัลที่ 1 ประเภทจิตรกรรมไทยแบบประเพณี ได้แก่ผลงาน<br />

‘เสด็จดับขันธปรินิพพาน’ โดยนายอภิสิทธิ์ เอ้งฉ้วน, รางวัลที่ 1 ประเภท<br />

จิตรกรรมร่วมสมัย ได้แก่ผลงาน ‘รูปสัญญะของวัตถุนิยม’ โดยนายชมรวี<br />

สุขโสม ส่วนประเภทจิตรกรรมไทยแนวประเพณีไม่มีศิลปินใดได้รับรางวัล<br />

ที่ 1 แต่มีรางวัลที่ 3 จำนวน 3 ท่าน อาทิ อาจารย์นิโรจน์ จรุงจิตวิทวัส<br />

กับผลงาน ‘พิจารณาลมหายใจ (เข้า-ออก)’ ซึ่งศาสตราจารย์กิตติคุณกำจร<br />

สุนพงษ์ศรี ประธานกรรมการตัดสินการประกวดเปิดเผยว่า ความยากง่าย<br />

ในการตัดสินอยู่ที่มีผลงานดีๆ มาประชันกันมากแค่ไหน และหากผลงาน<br />

ไม่เข้าเกณฑ์มาตรฐานก็จะไม่มีรางวัลให้ โดยรางวัลจิตรกรรมบัวหลวง<br />

ทุกประเภท ถือเป็นรางวัลสร้างกำลังใจ พัฒนาความคิดและฝีมือที่ไม่หยุด<br />

นิ่งให้กับศิลปินได้อย่างดี โดยคุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช รองประธาน<br />

กรรมการบริหาร และประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ หอศิลป์<br />

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ และกรรมการมูลนิธิบัวหลวง กล่าวว่า รางวัลนี้<br />

ได้มอบเป็นเงินรางวัล และพาศิลปินรางวัลเหรียญทองไปทัศนศึกษาดูงาน<br />

ศิลปะต่างประเทศ เพื่อช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์แก่ศิลปิน และเสริมส่งวงการ<br />

ศิลปะไทยให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น สมดังพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์<br />

พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผู้มีคุณูปการต่อหอศิลป์<br />

แห่งนี้ และทรงอุปถัมภ์สนับสนุนศิลปกรรมไทยตลอดมา<br />

• นิทรรศการจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 41 จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน-<br />

26 พฤศจิกายน นี้ ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ<br />

เลขที่ 101 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ<br />

เปิดให้เข้าชมทุกวัน (ยกเว้นวันพุธ) ตั้งแต่เวลา 10.00-19.00 น.<br />

โทร. 0 2281 5360-1, www.queengallery.org<br />

บนซ้าย-ขวา : ภายนอกและภายในอาคารหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ<br />

Top left-right : The exterior and interior of The Queen’s Gallery<br />

左 右 上 方 : 诗 丽 吉 王 后 画 廊 的 内 外 区 域 。<br />

กลาง : คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช<br />

Centre : Khunying Chodchoy Sophonpanich<br />

中 间 : 厝 差 · 颂 蓬 帕 奈 夫 人 。<br />

ล่าง : ศาสตราจารย์กิตติคุณกำจร สุนพงษ์ศรี<br />

Bottom : Professor Emeritus Kamchorn Soonpongsri<br />

下 方 : 克 迪 坤 刊 忠 · 顺 通 是 教 授 。<br />

30 <strong>August</strong> <strong>2019</strong><br />

31

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!