Better Health magazine

The magazine for patients and friends of Bumrungrad International Hospital, Thailand. The magazine for patients and friends of Bumrungrad International Hospital, Thailand.

รศ.นพ.สมศักดิ์ เชาว์วิศิษฐ์เสรี<br />

ผู้อำนวยการด้านการแพทย์<br />

Contributing Editor<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong> นิตยสารสำหรับผู้มีอุปการคุณของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กลับมาพบกันครั้งนี้<br />

เป็นฉบับที่36 พร้อมๆ กับการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 36 ปีของการก่อตั้งโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

พอดีครับ ดังนั้นนอกเหนือจากสาระเพื่อสุขภาพเช่นเคยแล้ว เราขออนุญาตใช้พื้นที่ในฉบับนี้นำเสนอ<br />

บทความพิเศษว่าด้วยเรื่องราวของโรงพยาบาลนับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันเพื่อให้คุณได้รู้จักกับเรา<br />

มากขึ้นกว่าเดิม<br />

สำหรับบทความอื่นๆ นั้น เรามีเรื่องของสุขภาพหัวใจโดยเฉพาะผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่ง<br />

แพทย์พบว่าปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันผลข้างเคียงของโรคซึ่งมีความรุนแรงได้ส่วนจะเป็นอะไรนั้น<br />

ติดตามได้ในหน้า 12 ครับ นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการออกกำลังกายในฟิตเนสให้ปลอดภัย การเลือก<br />

รับประทานสารให้ความหวานแทนน้ำตาล และคอลัมน์ประจำที่อัดแน่นไปด้วยสาระดีๆ อีกเช่นเคย<br />

และหากคุณผู้อ่านมีคำแนะนำหรือคำติชมใดๆ กรุณาส่งมาที่ betterhealth@bumrungrad.com<br />

เรายินดีน้อมรับด้วยความขอบคุณ<br />

12<br />

สารบัญ<br />

4<br />

Special<br />

Scoop<br />

36 ปีบำรุงราษฎร์<br />

เชิดชูอดีต เฉลิมฉลองปัจจุบัน<br />

ก้าวย่างสู่อนาคต<br />

Cardiac Arrhythmias<br />

ผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ<br />

กับนวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า<br />

16 Sports Medicine<br />

ฟิตเนส เล่นอย่างไรไม่ให้บาดเจ็บ<br />

20 The Case<br />

เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน<br />

วันร้ายที่คาดไม่ถึงของ คุณทศพร หงสนันทน์<br />

22 M.D. Focus<br />

รู้จักกับแพทย์บำรุงราษฎร์<br />

26 <strong>Health</strong> Briefs<br />

28 Q & A<br />

30 Bumrungrad News<br />

นิตยสาร <strong>Better</strong> <strong>Health</strong> เป็นนิตยสารรายสี่เดือนของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อแจกจ่ายเป็นการภายใน<br />

จัดทำและจัดพิมพ์โดย บริษัท เนทีฟ มีเดีย จำกัด เลขที่10/162 อาคารเดอะเทรนดี้ ชั้น 20 ห้อง 2001C ซ. สุขุมวิท 13 (แสงจันทร์) แขวงคลองเตยเหนือ<br />

เขตวัฒนา กทม. 10110 โทร. 0 2168 7624 www.nativemedia.co.th<br />

2016 ข้อเขียนและรูปภาพทุกชิ้นในนิตยสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) ห้ามพิมพ์ซ้ำหรือกระทำการใดๆ<br />

ที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) โทร. 0 2667 1000<br />

ข้อความในเนื้อที่โฆษณาของนิตยสารฉบับนี้ที่มิได้เป็นของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) ถือเป็นความเห็นส่วนตัวของ<br />

เจ้าของผลิตภัณฑ์และบริการ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ไม่มีเจตนาให้การรับรองคุณภาพสินค้า บริการ หรือข้อความที่ปรากฏแต่อย่างใด<br />

ติดต่อโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

โทรศัพท์: 0 2667 1000<br />

โทรสาร: 0 2667 2525<br />

นัดแพทย์: 0 2667 1555<br />

เว็บไซต์: www.bumrungrad.com


+++++ Special Scoop<br />

36 ปีบำรุงราษฎร์<br />

เชิดชูอดีต เฉลิมฉลองปัจจุบัน ก้าวย่างสู่อนาคต<br />

17 กันยายน 2523 เป็นวันที่โรงพยาบาลเอกชนเล็กๆ แห่งหนึ่ง<br />

เปิดตัวขึ้นภายในซอยสุขุมวิท 3 ด้วยเป้าหมายเพียงเพื่อต้องการ<br />

เป็นโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล มีบริการที่น่า<br />

พึงพอใจ และเป็นทางเลือกสำาหรับผู้ป่วยในช่วงเวลาที่ประเทศไทยยังมี<br />

โรงพยาบาลเอกชนเพียงไม่กี่แห่ง และประชาชนส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพา<br />

บริการด้านสุขภาพจากโรงพยาบาลของรัฐ<br />

คงเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาว่า 36 ปีต่อมา โรงพยาบาลเล็กๆ<br />

แห่งนั้นจะกลายเป็นศูนย์การแพทย์ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกและ<br />

เป็นความหวังของผู้ป่วยนับล้านคนในแต่ละปี<br />

จากจุดเริ่มต้น<br />

ชื่อ “บำารุงราษฎร์” หมายถึง “การดูแลประชาชน" อันเป็นชื่อที่<br />

คณะผู้ร่วมก่อตั้งเห็นพ้องต้องกันว่ามีความไพเราะและตรงกับความตั้งใจ<br />

ในการดำาเนินกิจการโรงพยาบาล<br />

ในระยะแรก บำารุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลขนาด 200 เตียงที่มีเพียง<br />

อาคาร 7 ชั้น 1 อาคารสำาหรับให้บริการในแผนกอายุรกรรม ศัลยกรรม<br />

และสูตินรีเวช โดยมีแพทย์ประจำาเพียง 4 คนกับเจ้าหน้าที่อีกไม่กี่คน<br />

ในแต่ละแผนก และมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาหลัก<br />

ร้อยคนต่อวัน<br />

แต่ด้วยความเชี่ยวชาญของแพทย์และบุคลากร<br />

ทางการแพทย์ การดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยดุจญาติมิตร<br />

ความพร้อมของอุปกรณ์และเครื่องมือทางการ<br />

แพทย์ รวมถึงการให้บริการที่เป็นเลิศ ภายในเวลา<br />

เพียงไม่กี่ปี โรงพยาบาลก็เริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก<br />

อย่างกว้างขวาง<br />

ในปี 2532 โรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ได้เข้า<br />

จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย<br />

ภายใต้ชื่อ บริษัท โรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ จำากัด<br />

(มหาชน) ด้วยความตั้งใจที่จะดำาเนินธุรกิจให้<br />

เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการดูแลผู้คน<br />

ในสังคมอันเป็นลักษณะเฉพาะของธุรกิจการ<br />

ให้บริการด้านสุขภาพที่ไม่สามารถคำานึงถึง<br />

ผลประโยชน์ทางธุรกิจแต่เพียงด้านเดียวได้<br />

ต่อมาเมื่อมีผู้เข้าใช้บริการเพิ่มมากขึ้น อาคาร<br />

4


7 ชั้นก็เริ่มคับแคบ แม้จะได้มีการเพิ่มจ ำนวนเตียง<br />

ผู้ป่วยเป็น 400 เตียงแล้วก็ตามแต่ก็ยังไม่เพียงพอ<br />

ต่อการให้บริการ แผนการก่อสร้างอาคารหลังใหม่<br />

จึงเริ่มต้นขึ้น และวันที่ 15 มกราคม 2540 ก็ได้<br />

กลายเป็นวันแห่งความปลื้มปีติอย่างสูงสุดของชาว<br />

บำรุงราษฎร์ เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ<br />

สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิด<br />

อาคารหลังใหม่ของโรงพยาบาล ซึ่งเป็นอาคาร<br />

ขนาดใหญ่สูง 12 ชั้น มีพื้นที่มากถึง 70,262 ตร.ม.<br />

ฝ่าวิกฤติ<br />

เช่นเดียวกับเรื่องราวความสำเร็จของหลาย<br />

ธุรกิจที่ไม่ได้ราบรื่นเสมอไป เส้นทางการเติบโต<br />

ของบำรุงราษฎร์ก็มีบททดสอบให้ต้องก้าวผ่านอยู่<br />

เป็นระยะ และบททดสอบที่ยากลำบากที่สุดก็<br />

เกิดขึ้นในช่วงรอยต่อก่อนเข้าสู่ทศวรรษที่สองของ<br />

โรงพยาบาลนั่นเอง เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจที่<br />

หนักหนาสาหัสขึ้นภายในประเทศและลุกลามไป<br />

ยังอีกหลายประเทศในทวีปเอเชีย<br />

วิกฤติครั้งนั้นทำให้โรงพยาบาลมีหนี้สินเพิ่มขึ้น<br />

เป็นเท่าตัวและต้องยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการไม่<br />

ต่างจากธุรกิจอื่นๆ แต่ในขณะที่หลายบริษัท<br />

เลือกที่จะหยุดขยายงานและปลดพนักงานเพื่อ<br />

ลดต้นทุน ผู้บริหารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์กลับ<br />

ขอให้พนักงานใช้ช่วงเวลาที่จำนวนผู้ป่วยภายใน<br />

ประเทศลดลงในการฝึกฝนภาษาอังกฤษ และ<br />

เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับตลาดต่างประเทศ<br />

ซึ่งได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่ลดลงอย่างมาก<br />

มีการเสริมทีมแพทย์ให้แข็งแกร่ง โดย ศ.นพ.สิน<br />

อนุราษฎร์ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์กลุ่ม<br />

ได้เริ่มชักชวนแพทย์ไทยในต่างประเทศที่มีความ<br />

เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้กลับมาร่วมงานกับ<br />

บำรุงราษฎร์ ในขณะเดียวกันก็นำเอาเทคโนโลยี<br />

ทางการแพทย์ใหม่ๆ เข้ามาเสริมมากขึ้น<br />

วิกฤติการณ์ทางการเงินในช่วงปี 2540<br />

จึงกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญและเป็นการ<br />

กำหนดทิศทางใหม่ที่ชัดเจนและสร้างความ<br />

แตกต่างให้กับบำรุงราษฎร์จนทุกวันนี้<br />

ก้าวสู่เวทีโลก<br />

เพียง 2 ทศวรรษโดยประมาณหลังการก่อตั้ง<br />

บำรุงราษฎร์เริ่มได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ<br />

และได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลระดับ<br />

สากลตามมาตรฐานของ Joint Commission<br />

International (JCI) แห่งสหรัฐอเมริกาในปี 2545<br />

นับเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในเอเชียที่ได้รับ<br />

มาตรฐานนี้<br />

การยอมรับนี้ถูกตอกย้ำในการประชุมระดับ<br />

นานาชาติหลายๆ ครั้ง ครั้งหนึ่ง มร.เคิร์ท ชโรเดอร์<br />

อดีตผู้อำนวยการด้านบริหารของบำรุงราษฎร์<br />

ได้รับเชิญให้เป็นองค์ปาฐกพิเศษในการประชุม<br />

5


“ การยึดเอาผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง<br />

เพื่อมอบบริการทางการแพทย์ที่<br />

ดีที่สุด คือปัจจัยที่อยู่เบื้องหลัง<br />

การเติบโตอย่างมั่นคงของ<br />

บำรุงราษฎร์”<br />

นพ.นำ ตันธุวนิตย์<br />

Council of Teaching Hospitals and <strong>Health</strong><br />

Systems ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ตั้ง<br />

คำถามต่อที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร<br />

สถาบันทางการแพทย์ชั้นนำของโลกกว่าร้อยชีวิต<br />

ว่ามีใครบ้างที่เคยได้ยินชื่อของโรงพยาบาล<br />

บำรุงราษฎร์<br />

“ปรากฏว่าผู้ฟังเกือบทั้งหมดยกมือ ซึ่งเป็น<br />

เรื่องน่าทึ่งที่คนเหล่านี้รู้จักโรงพยาบาลจาก<br />

ประเทศไทยที่มีชื่ออ่านยากสำหรับชาวต่างชาติ<br />

และน่าทึ่งยิ่งกว่าเมื่อได้สนทนากับผู้บริหารระดับ<br />

สูงหลายท่านและพบว่าโรงพยาบาลของเราเป็นที่<br />

รู้จักมากเพียงใด” นั่นคือสิ่งที่อดีตผู้บริหารของ<br />

บำรุงราษฎร์บันทึกไว้ในนิตยสาร <strong>Better</strong> <strong>Health</strong><br />

เมื่อปี 2553<br />

เติบโตอย่างมั่นคง<br />

บำรุงราษฎร์เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2554<br />

อาคารผู้ป่วยนอกสูง 21 ชั้นเริ่มเปิดให้บริการแก่<br />

ผู้ป่วยจำนวนนับล้านคนจากทุกมุมโลก ผู้ป่วย<br />

เหล่านี้ส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคที่มีความซับซ้อนและ<br />

เดินทางมาด้วยความเชื่อมั่นว่าจะได้รับบริการ<br />

ทางการแพทย์ที่ดีเช่นเดียวกันกับบริการจาก<br />

โรงพยาบาลชั้นนำของโลก<br />

ยิ่งผู้ป่วยมีมากขึ้น แพทย์ก็มีโอกาสต่อยอด<br />

ความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาได้ลึกซึ้งมากขึ้น ผลคือ<br />

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์สามารถให้บริการทาง<br />

การแพทย์ที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้นเรื่อยๆ<br />

ในทศวรรษที่ 3 ของบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาล<br />

ได้รับการจัดอันดับจากเว็บไซต์ชั้นนำให้เป็น 1 ใน<br />

10 ของโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในโลก การยอมรับนี้<br />

มีความสำคัญไม่เฉพาะกับบำรุงราษฎร์เท่านั้น แต่<br />

ยังช่วยให้ความพยายามของภาครัฐและเอกชน<br />

ที่ต้องการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง<br />

ทางการแพทย์ระดับโลก หรือ Medical Hub<br />

ในช่วงเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมาก่อเกิดผลสำเร็จ<br />

เป็นรูปธรรม<br />

นพ.นำ ตันธุวนิตย์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร<br />

ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สรุปปัจจัยที่อยู่<br />

เบื้องหลังการเติบโตอย่างมั่นคงของโรงพยาบาล<br />

ว่าเกิดจากวัฒนธรรมองค์กรที่ได้รับการปลูกฝัง<br />

มานับตั้งแต่วันแรกของการก่อตั้งนั่นคือ การยึด<br />

เอาผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางเพื่อมอบบริการทางการ<br />

แพทย์ที่ดีที่สุด<br />

ปัจจุบันบำรุงราษฎร์มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกว่า<br />

1,300 คนครอบคลุมศาสตร์การรักษาเฉพาะทาง<br />

มากกว่า 55 สาขา มีศูนย์แพทย์เฉพาะทางกว่า<br />

30 ศูนย์ที่มีความชำนาญในการรักษา มีเทคโนโลยี<br />

ทางการแพทย์ที่ทันสมัยและดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย<br />

ไม่ว่าจะเป็นระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูล<br />

อัจฉริยะไอบีเอ็มวัตสันเพื่อการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง<br />

(IBM Watson for Oncology) การใช้แขนกล<br />

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Arm Assisted Joint<br />

Replacement Surgery) หรือการลงทุนในศูนย์<br />

ฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยด้วยสถานการณ์เสมือนจริง<br />

(Simulation Training Center)<br />

เหนือสิ่งอื่นใด คือการทำงานร่วมกันอย่างเป็น<br />

ระบบของแพทย์และบุคลากรในทุกสายงานเพื่อ<br />

ให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุมและ<br />

มีประสิทธิภาพมากที่สุด และเป็นการให้บริการ<br />

ด้วยอัธยาศัยไมตรีอันเป็นคุณลักษณะพิเศษ<br />

ของคนไทยที่สร้างความประทับใจให้กับผู้ป่วย<br />

มาโดยตลอด<br />

สู่อนาคตที่ยั่งยืน<br />

ภายในเวลาอีกไม่กี่ปีนับจากนี้ บำรุงราษฎร์จะ<br />

มีอาคารใหม่ๆ ที่สามารถรองรับผู้ป่วยได้มากขึ้น<br />

ศูนย์การแพทย์หลายศูนย์มีขนาดใหญ่ขึ้น มีคลินิก<br />

นอกสถานที่ทั้งในและต่างประเทศ มีจำนวน<br />

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรในสาขาต่างๆ เพิ่ม<br />

มากขึ้นและหลากหลายสาขายิ่งขึ้น เทคโนโลยี<br />

ทางการแพทย์ที่ทันสมัยมากมายล้วนอยู่ใน<br />

แผนการดำเนินงาน<br />

บำรุงราษฎร์อาจเปลี่ยนแปลงไปในทางกายภาพ<br />

แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่และจะไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือ<br />

ความมุ่งมั่นที่จะให้บริการทางการแพทย์ที่ดีที่สุด<br />

ด้วยความเอื้ออาทรและยึดถือหลักคุณธรรมแก่<br />

ผู้ป่วยของเราทุกคน ซึ่งเป็นพันธกิจที่โรงพยาบาล<br />

ยึดถือมาตลอดระยะเวลา 36 ปี<br />

6


17 กันยายน 2523<br />

เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ<br />

2537<br />

เปิดอาคารแม่และเด็กสูง 16 ชั้น<br />

(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอาคาร BH Residence)<br />

2540<br />

เปิดให้บริการ ณ อาคารใหม่สูง 12 ชั้น<br />

ซึ่งมีพื้นที่รวมมากถึง 70,262 ตารางเมตร<br />

2532<br />

เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในชื่อ<br />

บริษัท โรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ จำากัด (มหาชน)<br />

2542<br />

โรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทย<br />

ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสถาบันรับรองคุณภาพ<br />

โรงพยาบาลไทย (Hospital Accreditation Thailand)<br />

บางส่วนของเหตุการณ์<br />

และรางวัลแห่งความภาคภูมิใจ<br />

ตลอด 36 ปีที่ผ่านมา<br />

8<br />

2553<br />

+ ได้รับรางวัลผู้ส่งออกสินค้าและบริการดีเด่น<br />

ประเภท Best Service Provider 2010<br />

+ ได้รับรางวัลสถานพยาบาลดีเด่นด้านการส่งเสริม<br />

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย<br />

+ ได้รับการรับรองมาตรฐานการรักษาเฉพาะโรคหลอดเลือด<br />

สมองตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง<br />

และโรคเบาหวานจาก JCI แห่งสหรัฐอเมริกา<br />

2555<br />

+ ได้รับการยกย่องให้เป็น “1 ใน 50<br />

องค์กรต้นแบบด้านความรับผิดชอบ<br />

ต่อสังคม” จัดทำาข้อมูลโดยสถาบันไทยพัฒน์<br />

+ ได้รับรางวัล Trusted Brand Award จากรีดเดอร์ ไดเจสท์<br />

2552<br />

ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ<br />

“สถานประกอบกิจการดีเด่น<br />

ด้านแรงงานสัมพันธ์และ<br />

สวัสดิการแรงงาน”<br />

ติดต่อกันทุกปีจนถึงปัจจุบัน<br />

2556<br />

+ ได้รับรางวัล “องค์กรยอดเยี่ยม<br />

ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม”<br />

และได้รับต่อเนื่องทุกปีจนถึงปัจจุบัน<br />

2557<br />

+ นำาระบบคอมพิวเตอร์<br />

ประมวลผลข้อมูลอัจฉริยะ<br />

IBM Watson for Oncology<br />

มาใช้ในการวางแผนการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง<br />

+ ได้การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์<br />

ตามโครงการ Westgard Sigma Verification<br />

+ ได้รับรางวัลบริษัทจดทะเบียนที่มีผลการดำาเนินงานดีเด่น<br />

จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


2543<br />

โรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทย<br />

ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ<br />

ระบบงานองค์กร หรือ ISO 9000<br />

2546<br />

ได้รับรางวัล “บริษัทที่มีเงินลงทุนขนาดเล็กยอดเยี่ยม” และ<br />

“บริษัทบริหารจัดการยอดเยี่ยม” จากนิตยสารเอเชียมันนี่<br />

และยังได้รับการรับรางวัลอีกครั้งในปี 2551<br />

2549<br />

ผ่านการรับรองมาตรฐานการรักษา<br />

โรคหลอดเลือดสมองตีบ<br />

และโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายอย่างเฉียบพลัน<br />

2545<br />

+ โรงพยาบาลแห่งแรกในเอเชียที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล<br />

ระดับสากลตามมาตรฐานของ JCI แห่งสหรัฐอเมริกาและได้รับการ<br />

รับรองต่อเนื่องในปี 2548, 2551, 2554 และ 2557 จนถึงปัจจุบัน<br />

+ ได้รับรางวัลผู้ส่งออกสินค้าและบริการดีเด่นประเภท Outstanding Private Hospital<br />

2548<br />

+ ปรับชื่อใหม่เป็น<br />

โรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล<br />

+ ได้รับการเผยแพร่ทางรายการ “60 MINUTES”<br />

ทางสถานีโทรทัศน์ CBS ในสหรัฐอเมริกา<br />

2551<br />

+ เปิดอาคารผู้ป่วยนอกบำารุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล คลินิก<br />

+ รับรางวัล AMDIS จาก Association of Medical Directors<br />

of Information Systems<br />

+ เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่ได้รับรางวัลการบริหาร<br />

สู่ความเป็นเลิศจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ<br />

+ ได้รับการโหวตจากผู้อ่านนิตยสาร Asian Wall Street Journal<br />

ให้เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำาในประเทศไทย<br />

+ ได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์<br />

ISO 15189:2003<br />

2558<br />

+ เปิดอาคาร Bumrungrad Residence and Office<br />

+ ได้รับการรับรอง “คุณภาพโรงพยาบาลและ<br />

บริการสุขภาพขั้นก้าวหน้า” (A-HA Advance<br />

Hospital Accreditation)<br />

+ ได้รับรางวัล Thailand Corporate<br />

Excellence Awards 2015 ในสาขา<br />

ความเป็นเลิศด้านความรับผิดชอบต่อสังคม<br />

+ เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่ได้รับรางวัลส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ<br />

จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย<br />

+ ได้รับรางวัล “องค์กรที่มีนวัตกรรมยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย”<br />

จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ<br />

2559<br />

+ ได้รับการรับรองมาตรฐาน JCI เฉพาะโรคด้านการผ่าตัดข้อเข่าเทียม<br />

+ เปิดคลินิกกายภาพบำาบัดบำารุงราษฎร์ ณ อาคารเอไอเอ สาทร ทาวเวอร์<br />

+ เปิดบำารุงราษฎร์ คลินิก ย่างกุ้ง<br />

9


Bumrungrad<br />

by the<br />

numbers<br />

บำ<br />

รุงราษฎร์ได้ชื่อว่าเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ และมี<br />

อาคารผู้ป่วยนอกที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โดยมีพื้นที่ให้บริการเฉพาะ 2 อาคาร มากถึง<br />

127,468 ตร.ม. แต่นั่นเป็นเพียงตัวเลขบางส่วนของการเติบโตและพัฒนาทางกายภาพในช่วงเวลา 36 ปี<br />

เพราะยังมีตัวเลขที่น่าสนใจอีกมากมายที่ควรค่าแก่การบันทึกไว้ใน <strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ฉบับนี้<br />

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา >1,300 คน<br />

พยาบาลชำนาญการ<br />

>1,000 คน<br />

พนักงานทั้งหมด 4,800 คน<br />

บุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ >300 คน<br />

เจ้าหน้าที่ภาษาพิเศษ >150 คน<br />

ให้บริการ 14 ภาษา<br />

จำนวนผู้ป่วย<br />

3,372 คนต่อวัน<br />

1,230,780 ล้านคนต่อปี<br />

สำนักงานตัวแทน<br />

33 แห่งใน 18 ประเทศ<br />

ผู้ป่วยต่างชาติ<br />

520,000 คนต่อปี<br />

จาก 190 ประเทศทั่วโลก 33 ศูนย์รักษาเฉพาะทาง<br />

580 เตียงผู้ป่วยใน<br />

>100 สาขาความชำนาญเฉพาะทาง<br />

275 ห้องตรวจ ทารกเกิดใหม่<br />

>2,000 รายต่อปี<br />

10


+++++ Cardiac Arrhythmias<br />

ผู้ป่วยภาวะหัวใจ<br />

เต้นผิดจังหวะ<br />

กับนวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า<br />

รู้จักกับสองเทคโนโลยีล่าสุดในการป้องกันผลข้างเคียงจาก<br />

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งได้แก่ การใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจ<br />

ห้องบนซ้าย เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง<br />

ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว และการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบไร้สาย<br />

สำหรับผู้ป่วยหัวใจเต้นช้าผิดจังหวะเพื่อป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว<br />

ภ<br />

าวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหัวใจ<br />

ที่ควบคุมกลไกการเต้นของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจของคนเราเต้นไม่เป็น<br />

ไปตามจังหวะธรรมชาติซึ่งมีอัตราการเต้นอยู่ที่ประมาณ 60-100 ครั้ง<br />

ต่อนาที โดยอาจเต้นเร็วเกินไป ช้าเกินไป หรือเต้นเป็นจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอ<br />

ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่เป็นอันตรายจำเป็น<br />

ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะโรคนี้ไม่เพียงทำให้การสูบฉีดเลือดไปยัง<br />

ส่วนต่างๆ ของร่างกายด้อยประสิทธิภาพลงเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเป็น<br />

โรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ฉบับนี้พูดคุยกับ นพ.โชติกร คุณวัฒน์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ เกี่ยวกับ<br />

นวัตกรรมล่าสุดในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายสองประเภท ได้แก่<br />

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation) และหัวใจเต้นช้าผิดจังหวะ (bradycardia)<br />

ซึ่งจะเป็นทางเลือกใหม่ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงของโรคได้<br />

อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจ<br />

หัวใจสั่นพลิ้วเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง<br />

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่พบมากที่สุดและจ ำเป็น<br />

ต้องได้รับการรักษาคือ ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ซึ่งเป็น<br />

ภาวะที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติหรือเร็วกว่า 350 ครั้งต่อนาที<br />

โดยมักพบในผู้สูงอายุ มีประวัติเป็นโรคหัวใจหรือความดัน<br />

โลหิตสูง ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือมีภาวะหยุดหายใจ<br />

ขณะหลับ (sleep apnea) ซึ่งเป็นภาวะที่กระตุ้นให้เกิด<br />

พังผืดในห้องข้างบนของหัวใจ ส่งผลให้การเดินไฟฟ้า<br />

ของหัวใจผิดปกติ ขณะเดียวกันผู้ป่วยอายุน้อยที่เป็น<br />

โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษก็มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจห้องบน<br />

สั่นพลิ้วได้เช่นกัน<br />

“การที่หัวใจห้องบนบีบตัวเร็วเกินไปนั้น นอกจากจะ<br />

ทำให้หัวใจอ่อนแรงแล้ว ยังทำให้เลือดที่อยู่บริเวณห้อง<br />

ข้างบนของหัวใจไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ และมี<br />

เลือดบางส่วนที่ไม่เคลื่อนไหวไปรวมค้างอยู่บริเวณรยางค์<br />

หัวใจห้องบนด้านซ้าย (left atrium appendage: LAA)<br />

ซึ่งมีลักษณะเป็นกระเปาะขนาดเล็กแล้วเกิดเป็นลิ่มเลือดได้<br />

หากลิ่มเลือดหลุดออกจากหัวใจเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด<br />

ก็อาจไปอุดตันหลอดเลือดสมอง ทำให้สมองขาดเลือดและ<br />

เกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ได้” นพ.โชติกร อธิบาย<br />

รู้จักกับ อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจ<br />

เนื่องจากผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมีโอกาสเป็น<br />

โรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าคนปกติถึง 5 เท่า การรักษา<br />

เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจึงมีความจำเป็นโดยขั้นตอน<br />

ในการรักษาจะเริ่มด้วยการหาสาเหตุของการเกิดโรคเพื่อ<br />

แก้ไขที่ต้นเหตุก่อน จากนั้นจึงเป็นการให้ยาคุมจังหวะ<br />

12


การเต้นของหัวใจไม่ให้เต้นเร็ว หรือไม่ให้เต้น<br />

ผิดจังหวะ และการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดเพื่อ<br />

ลดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง<br />

นพ.โชติกร อธิบายว่า ปัจจุบันแพทย์มีแนวทาง<br />

ในการป้องกันการเกิดลิ่มเลือด 2 แนวทาง ได้แก่<br />

+ การใช้ยาละลายลิ่มเลือด เช่น ยาในกลุ่ม<br />

แอสไพริน วาร์ฟาริน หรือยาละลายลิ่มเลือด<br />

กลุ่มใหม่ (novel oral anticoagulants: NOAC)<br />

+ การใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย<br />

(left atrial appendage closure)<br />

“ข้อจำกัดของยาละลายลิ่มเลือดคือ ยาอาจมีผล<br />

ข้างเคียงที่ทำให้ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถใช้ติดต่อ<br />

กันได้เป็นเวลานานหรือไม่สามารถใช้ยาละลาย<br />

ลิ่มเลือดได้ เช่น ผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดเลือดออก<br />

ได้ง่าย อาทิ ผู้ป่วยที่มีเกล็ดเลือดต่ำมาก ผู้ป่วย<br />

ตับวาย ไตวาย ผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตสูง<br />

ได้ไม่ดี ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมอง<br />

มาก่อนขณะรับประทานยาละลายลิ่มเลือด หรือ<br />

ผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารอยู่บ่อยๆ<br />

และไม่สามารถหาจุดเลือดออกได้ ในกรณีเช่นนี้<br />

การใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้ายก็เป็น<br />

ทางเลือกใหม่ที่เข้ามาทดแทนการใช้ยาละลาย<br />

ลิ่มเลือดได้” นพ.โชติกร กล่าว<br />

“ ผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว<br />

มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมอง<br />

สูงกว่าคนปกติถึง 5 เท่า”<br />

นพ.โชติกร คุณวัฒน์<br />

ห้องขวาบน<br />

สายสวน<br />

ห้องซ้ายบน<br />

ห้องซ้ายล่าง<br />

ห้องขวาล่าง<br />

สำหรับขั้นตอนของการใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์<br />

หัวใจห้องบนซ้ายนั้น แพทย์จะใส่อุปกรณ์ซึ่งมี<br />

ลักษณะคล้ายร่มเล็กๆ ขนาดประมาณ 27 มิลลิเมตร<br />

ด้วยสายสวนผ่านหลอดเลือดดำที่ต้นขาไปยังหัวใจ<br />

ด้านซ้าย เมื่ออุปกรณ์เข้าที่ แพทย์จะปล่อยให้<br />

อุปกรณ์เข้าไปปิดผนึกบริเวณรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย<br />

และเมื่อเวลาผ่านไป เนื้อเยื่อหัวใจจะเจริญหุ้ม<br />

อุปกรณ์ และรยางค์ดังกล่าวจะถูกปิดผนึกอย่างถาวร<br />

โดยขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง<br />

Pacemaker ไร้สาย<br />

ทางเลือกใหม่เมื่อหัวใจเต้นช้า<br />

สำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด<br />

เต้นช้าผิดปกติ และผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย<br />

วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม หมดสติ หรือความดันตก<br />

ถ้าไม่สามารถหาสาเหตุที่แก้ไขได้แพทย์อาจ<br />

พิจารณาใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจหรือ pacemaker<br />

เพื่อป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งเสี่ยงต่อการ<br />

เสียชีวิต<br />

“การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจเป็นวิธีที่ใช้กันอย่าง<br />

แพร่หลายมานานกว่า 50 ปี วิธีการคือ แพทย์จะ<br />

ฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจไว้ใต้ผิวหนังบริเวณ<br />

ใต้กระดูกไหปลาร้า และสอดสายสื่อสัญญาณ<br />

ไฟฟ้าไปยังหัวใจ โดยเครื่องจะทำการตรวจจับ<br />

จังหวะการเต้นของหัวใจ และสายสื่อสัญญาณ<br />

ไฟฟ้าจะเป็นตัวควบคุมและกระตุ้นให้หัวใจเต้น<br />

เร็วพอที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี ้ยงส่วนต่างๆ ของ<br />

ร่างกายได้” นพ.โชติกร อธิบาย<br />

อย่างไรก็ตาม การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ<br />

เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบไร้สาย<br />

ขั้วบวก<br />

ขั้วลบ<br />

แบบใส่สายสื่อสัญญาณนี้ อาจทำให้เกิดภาวะ<br />

แทรกซ้อนในผู้ป่วยบางราย เช่น มีเลือดออกหรือ<br />

มีก้อนเลือดคั่งอยู่ใต้ผิวหนัง มีการติดเชื้อบริเวณ<br />

ที่ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ สายสื ่อสัญญาณ<br />

ไฟฟ้าหลุดเลื่อนจากตำแหน่งเดิม รวมถึงความ<br />

รู้สึกไม่สบายตัวและไม่สวยงามที่เกิดจากการฝัง<br />

เครื่องส่งสัญญาณ<br />

นี่จึงเป็นที่มาของเทคโนโลยีล่าสุดที่ออกแบบ<br />

มาเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว โดยมีการริเริ่ม<br />

นำเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบไร้สาย (leadless cardiac<br />

pacemaker) เข้ามาใช้ในการรักษาผู้ป่วย<br />

หัวใจเต้นช้าผิดจังหวะ ซึ่งเทคโนโลยีใหม่นี้จะรวม<br />

เอาตัวส่งสัญญาณกระตุ้นหัวใจและสายสื่อสัญญาณ<br />

ไฟฟ้าไว้ในแคปซูลขนาดเล็กที่มีความยาวเพียง<br />

26 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 6.7 มิลลิเมตร<br />

และหนักเพียง 1.75 กรัม โดยแพทย์จะส่งแคปซูล<br />

ด้วยสายสวนผ่านหน้าขาเข้าไปฝังบริเวณผนัง<br />

หัวใจห้องล่างขวาเพื่อทำหน้าที่ควบคุมจังหวะการ<br />

เต้นของหัวใจ<br />

“การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบไร้สายเป็น<br />

ทางเลือกที่เหมาะกับผู้ป่วยบางราย โดยเฉพาะ<br />

ผู้ป่วยที่ต้องการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจเฉพาะ<br />

ห้องข้างล่างขวาเท่านั้น เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ หรือ<br />

เป็นโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วย<br />

ยังสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้<br />

สะดวกและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม<br />

เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบไร้สายนี้อาจมีข้อจำกัด<br />

และไม่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยบางราย ซึ่งแพทย์จะ<br />

พิจารณาเป็นกรณีไป” นพ.โชติกร กล่าวทิ้งท้าย<br />

14


+++++ Sports Medicine<br />

16<br />

ฟิตเนส<br />

เล่นอย่างไรไม่ให้บาดเจ็บ<br />

ค<br />

วามสะดวกสบายและความครบครันที่สามารถตอบสนองทุกความต้องการ<br />

ของคนรักสุขภาพ ทำาให้สถานออกกำาลังกายที่เรียกกันง่ายๆ ว่า ฟิตเนส<br />

ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยเฉพาะกับกลุ่มคนวัยทำางาน<br />

ในเมืองใหญ่ที่หาโอกาสเล่นกีฬาหรือออกกำาลังกายกลางแจ้งได้ยาก<br />

แต่ถึงแม้จะเป็นการออกกำาลังกายในร่มที่ไม่มีการปะทะ และฟิตเนสส่วนใหญ่<br />

มีเทรนเนอร์ประจำา หลายคนยังคงต้องมาพบแพทย์เนื่องจากมีอาการบาดเจ็บจากการ<br />

เล่นฟิตเนส อาการเหล่านี้มีอะไรบ้าง จะมีวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นอย่างไร และจะป้องกัน<br />

ไม่ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร <strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ฉบับนี้มีคำาตอบจากคุณธิดารัตน์ อร่ามวัฒนชัย<br />

นักกายภาพบำบัดของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มาฝากกัน<br />

4 ลักษณะของการบาดเจ็บ<br />

“การบาดเจ็บที่พบในฟิตเนสเกิดได้ทั้งจากการออกกำาลังกายประเภทคาร์ดิโอที่<br />

เน้นพัฒนาระบบไหลเวียนโลหิต หัวใจ และปอดอย่างการปั่นจักรยานไฟฟ้าหรือวิ่งบน<br />

ลู่วิ่ง และการออกกำาลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างการเล่นเวท<br />

โดยส่วนใหญ่มักเป็นการบาดเจ็บในเรื่องของโครงสร้างร่างกายที่เกิดจากการใช้งาน<br />

มากเกินไปหรือหนักเกินไป” คุณธิดารัตน์อธิบาย<br />

การบาดเจ็บที่พบส่วนใหญ่ซึ่งมักแบ่งออกได้เป็น<br />

4 ลักษณะ ได้แก่<br />

1. กล้ามเนื้ออักเสบ เป็นการอักเสบของกล้ามเนื้อ<br />

เมื่อเกิดฉีกขาดจากการใช้งานหนัก<br />

2. เส้นเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ เป็นการอักเสบของ<br />

เส้นเอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก<br />

(tendon)<br />

3. เส้นเอ็นยึดข้อฉีกขาด เป็นการอักเสบของเส้นเอ็น<br />

ที่ยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก (ligament)<br />

4. กระดูกรับน้ำหนักมากเกินไป หรือมีแรงเครียด<br />

ต่อกระดูกมากเกินไป เช่น กระดูกขาหักแบบ<br />

เป็นรอย (stress fracture) จากการวิ่งอย่าง<br />

หนักและเกิดแรงกระแทกซำ้ำๆ<br />

เจ็บแล้ว ต้องทำอย่างไร<br />

หากคุณไม่ได้ออกกำาลังกายมานานพอสมควร<br />

เมื่อกลับมาออกกำาลังอีกครั้งและรู้สึกปวดเมื ่อย<br />

เนื้อตัว อาการแบบนี้ไม่ถือว่าเป็นการบาดเจ็บ<br />

แต่เป็นกลไกตอบสนองของร่างกายตามปกติ<br />

เพื่อจะบอกว่า การออกกำาลังกายนั้นหนักเกินไป<br />

กล้ามเนื้อยังไม่คุ้นเคยและมีอาการกล้ามเนื้อชำ้ำ<br />

เกิดขึ้น ซึ่งอาการนี้จะหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน<br />

โดยไม่จำาเป็นต้องทำาอะไรเลย<br />

แต่หากเป็นการบาดเจ็บจริงๆ ซึ่งจะต้อง<br />

ประกอบด้วยอาการปวด บวม ผิวบริเวณที่เจ็บมี<br />

สีแดง และเมื่อแตะแล้วรู้สึกร้อนกว่าบริเวณ<br />

ใกล้เคียง ให้สันนิษฐานว่ามีการอักเสบเกิดขึ้น<br />

หลักการดูแลตัวเองเบื้องต้นที่คุณสามารถทำาได้<br />

ทันทีคือ PRICER ซึ่งประกอบด้วย<br />

P = Protection ป้องกันไม่ให้ส่วนที่บาดเจ็บ<br />

ขยับเขยื้อน<br />

R = Rest พักการใช้งานส่วนที่บาดเจ็บ<br />

I = Ice ประคบเย็นด้วยนำ้ำแข็งภายใน 24 ชั่วโมง<br />

หลังเกิดการบาดเจ็บเพื่อลดอาการบวม<br />

C = Compression คือการกด โดยทำาควบคู่<br />

ไปกับการใช้นำ้ำแข็ง อาจใช้แผ่นเย็นประคบ<br />

แล้วพันให้กระชับ<br />

E = Elevation คือยกอวัยวะส่วนที่เจ็บให้สูงไว้<br />

เพื่อให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าสู่หัวใจและ<br />

ลดอาการบวม<br />

R = Referral ในกรณีที่บาดเจ็บมาก หรือมี<br />

อาการผิดปกติอื่นๆ แนะนำาให้พบแพทย์ทันที


นอนน้อย<br />

ทำให้น้ำหนักขึ้น!<br />

สาเหตุหลักๆ ที่ทำาให้น้ำาหนักขึ้นคง<br />

หนีไม่พ้นพฤติกรรมการกินของตัวเอง และ<br />

ความขี้เกียจออกกำาลังกาย ส่วนพฤติกรรม<br />

การนอนหลับก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำาคัญที่<br />

ส่งผลต่อน้ำาหนักตัวเช่นกัน เพราะการนอน<br />

เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่ควบคุมความรู้สึก<br />

อยากอาหาร 2 ตัว คือ เกรลิน(Ghrelin)<br />

เป็นฮอร์โมนกระตุ้นความหิวและ เล็ฟติน<br />

(Leptin) ฮอร์โมนที่ทำาให้รู้สึกอิ่ม และเพิ่ม<br />

อัตราการเผาผลาญ<br />

เคยมีการทดลองพบว่า คนที่นอน<br />

ประมาณ 5 ชั่วโมงต่อวันจะมีระดับฮอร์โมน<br />

เกรลินสูงกว่าคนที่นอน 8 ชั่วโมงต่อวันมากถึง<br />

15% และมีเล็ปตินต่ำากว่าประมาณ 15%<br />

ส่งผลให้คนที่นอนน้อยมักจะหิวบ่อย กินเยอะ<br />

แถมมีโอกาสเป็นโรคอ้วนถึงร้อยละ 73 รวมถึง<br />

มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ<br />

โรคความดันโลหิตสูง โรคไตและโรคอื่นๆ อีก<br />

มากมาย เมื่อนอนน้อยก็จะเบิร์นน้อยตามไปด้วย<br />

นักวิจัยพบว่าคนที่นอนไม่พอจะใช้พลังงาน<br />

ในร่างกายน้อยลงกว่าคืนที่นอนเต็มอิ่ม 5%<br />

และหลังจากกินอาหารอิ่มจัดแล้ว ร่างกาย<br />

จะใช้พลังงานลดลงอีก 20% ซึ่งก็เป็นเหตุ<br />

ให้ดูอ่อนเพลีย ไม่กระปรี้กระเปร่านั่นเอง<br />

ถ้าหากนอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงร่างกาย<br />

จะหลั่งฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ซึ่งเป็น<br />

ฮอร์โมนที่จะกระตุ้นให้คุณรู้สึกหิวทันทีอาหาร<br />

ที่อยากทานก็จะเป็นพวกแป้ง น้ำาตาล และ<br />

อาหารรสหวานทุกชนิด เพราะร่างกายต้องการ<br />

เพิ่มน้ำาตาลในกระแสเลือด เพื่อให้ร่างกาย<br />

สดชื่นขึ้น<br />

เมื่อนอนน้อยก็จะกินเยอะขึ้น หาก<br />

คืนไหนที่สาวๆ ทั้งหลายนอนพักผ่อนเพียง<br />

แค่ 4 ชั่วโมง ในวันรุ่งขึ้นคุณจะมีแนวโน้มกิน<br />

อาหารที่มีแคลอรี่เพิ่มขึ้นอีกถึง329 กิโลแคลอรี่<br />

ส่วนผู้ชายจะกินเพิ่มขึ้น 263 กิโลแคลอรี่<br />

โดยประมาณ เห็นแบบนี้แล้ว มาพักผ่อนให้<br />

เพียงพอกันดีกว่า เราควรนอนอย่างน้อย<br />

7-8 ชั่วโมง และควรนอนก่อน 4 ทุ่ม เพื่อเปิด<br />

โอกาสให้โกรทฮอร์โมนได้ทำาหน้าที่ฟื้นฟู<br />

ซ่อมแซร่างกายได้อย่างเต็มที่หากทำาอย่างนี้<br />

ได้นอกจากจะไม่อ้วนแล้ว ผิวพรรณยังสวยใส<br />

เปล่งปลั่งอีกด้วย การพักผ่อนให้เพียงพอ<br />

ควบคู่ไปกับการออกกำาลังกายพร้อมให้<br />

vivosmartHR เป็นผู้ช่วยส่วนตัวในการ<br />

ติดตามการนอนและวางแผนออกกำาลังกาย<br />

รับรองว่าคุณจะมีสุขภาพดีอย่างแน่นอน<br />

Garmin vivosmartHR นอกจาก<br />

ฟังก์ชันหลักๆ ที่สามารถนับก้าว ระยะทาง<br />

แคลอรี่ รวมถึงวัดอัตราการเต้นหัวใจ ยังมี<br />

การติดตามการนอนตลอดคืนอีกด้วย(ติดตาม<br />

การนอนทั้งหมดทั้งช่วงที่เคลื่อนไหวหรือ<br />

หลับสนิท) เพื่อให้เราสามารถดูบันทึกคุณภาพ<br />

การนอนของเราว่าหลับสนิทแค่ไหน พักผ่อน<br />

เพียงพอหรือไม่ในแต่ละคืน ทำาให้เราเกิด<br />

การเรียนรู้จากการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมตัว<br />

เอง ทำาให้เกิดการปรับปรุงลักษณนิสัย ช่วย<br />

เพิ่มระยะเวลานอนหลับให้ดีขึ้นอีกด้วย<br />

vivosmartHR 5,990 บาท (รองรับภาษาไทย)<br />

ข้อมูลเพิ่มเติม / สั่งซื้อออนไลน์<br />

www.GPSsociety.com<br />

สอบถามโทร 02-266-9944


“ระหว่างที่ยังบาดเจ็บอยู่ ไม่ควรทำกิจกรรมที่<br />

จะทำให้บาดเจ็บซ้ำที่เดิม เพราะจะทำให้โอกาส<br />

หายน้อยลงหรือต้องใช้เวลานานขึ ้นกว่าจะหาย<br />

ฉะนั้น ควรรอให้อาการหายสนิทแล้วจริงๆ แต่<br />

คุณก็ยังสามารถออกกำลังกายในส่วนอื่นๆ ที่ไม่<br />

บาดเจ็บได้ เช่น เจ็บแขนก็ให้เลือกออกกำลังกาย<br />

ที่ใช้ขาแทน หรือเจ็บขาก็ยกเวทแขนไปก่อน<br />

เป็นต้น” คุณธิดารัตน์แนะนำ<br />

การบาดเจ็บ ป้องกันได้<br />

อย่างไรก็ตาม การป้องกันตัวเองจากอาการ<br />

บาดเจ็บย่อมดีกว่าการรักษาตัว ซึ่งนักกายภาพ<br />

บำบัดของเรามีคำแนะนำที่คุณสามารถนำไป<br />

ปฏิบัติได้ไม่ยาก ดังนี้<br />

+ เข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มโปรแกรม<br />

ออกกำลังกายหากคุณเป็นผู้หญิงอายุมากกว่า<br />

55 ปี หรือผู้ชายอายุมากกว่า 45 ปี โดยเฉพาะ<br />

ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว<br />

+ อบอุ่นร่างกายก่อน (warm up) และหลัง (cool<br />

down) การออกกำลังกายทุกครั้ง โดยใช้เวลา<br />

อย่างละ 5-10 นาที<br />

+ ระหว่างการ warm up และ cool down ให้ยืด<br />

กล้ามเนื้อร่วมด้วย โดยใช้เวลาประมาณ 3 นาที<br />

เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ<br />

+ ค่อยๆ เพิ่มระดับแรงต้าน ระยะเวลา และ<br />

ความถี่ของการออกกำลังกาย เพื่อให้เวลา<br />

ร่างกายปรับตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป<br />

+ สลับชนิดการออกกำลังกายในแต่ละวัน เพื่อ<br />

ไม่ให้ร่างกายแต่ละส่วนถูกใช้งานมากเกินไป<br />

+ รู้จุดด้อยของตัวเอง เช่น หากเคยบาดเจ็บไหล่<br />

หรือเข่ามาก่อน ควรปรึกษาแพทย์ให้มั่นใจ<br />

ว่าสามารถออกกำลังกายในส่วนนั้นๆ ได้<br />

อย่างปลอดภัย<br />

+ ไม่ออกกำลังหนักและต่อเนื่องเป็นเวลานาน<br />

เพราะจะทำให้ร่างกายล้าเกินไป<br />

+ พักจากการออกกำลังบ้างสัปดาห์ละ 1-2 วัน<br />

เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัว<br />

+ ปรึกษาเทรนเนอร์ นักกายภาพบำบัดหรือ<br />

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนลองเทคนิคการออก<br />

กำลังกายใหม่ๆ<br />

+ แต่งกายให้เหมาะสมกับประเภทของการ<br />

ออกกำลังกาย<br />

+ ดื่มน้ำให้เพียงพอก่อน ระหว่าง และหลังการ<br />

ออกกำลังกาย รวมถึงไม่ปล่อยให้ท้องว่าง<br />

ด้วยการรับประทานอาหารว่างเบาๆ ก่อน<br />

ออกกำลังอย่างน้อย 30 นาที<br />

+ มีเป้าหมายในการออกกำลังกายที่ชัดเจน<br />

เป็นไปได้ และใช้เทคนิคที่ถูกต้องเพื่อให้บรรลุ<br />

เป้าหมาย<br />

เพียงเท่านี้คุณก็สามารถออกกำลังกายใน<br />

ฟิตเนสได้อย่างปลอดภัยและห่างไกลจากอาการ<br />

บาดเจ็บอย่างแน่นอน<br />

คลินิกกายภาพบำบัดบำรุงราษฎร์ คลินิกกายภาพบำบัดใกล้ๆ คุณ<br />

อ<br />

าการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก การเล่นกีฬา และการบำบัดก่อนและหลังการ<br />

ระบบประสาท รวมถึงการบาดเจ็บจากการ ผ่าตัดเกี่ยวกับข้อและกระดูกด้วยเครื่องมือรักษา<br />

เล่นกีฬาจาเป็นต้องได้รับการบาบัดรักษาและ ทางกายภาพบำบัดที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน<br />

ฟื้นฟูตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างครบถ้วน ในการให้บริการ<br />

และต่อเนื่อง คลินิกกายภาพบาบัดบารุงราษฎร์ นอกจากนี้ คลินิกกายภาพบำบัดบำรุงราษฎร์<br />

จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสาหรับผู้ที่ไม่สะดวก ยังมีพื้นที่ออกกำลังกายที่เป็นสัดส่วนพร้อมบริการ<br />

เข้ามารับการกายภาพบาบัดในโรงพยาบาล ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการออกกำลังกายและจัด<br />

คลินิกกายภาพบำบัดบำรุงราษฎร์ เป็นคลินิก โปรแกรมการออกกำลังกายเฉพาะบุคคลสำหรับ<br />

กายภาพบำบัดของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ณ บุคคลทั่วไปโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ<br />

อาคารเอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ เปิดให้บริการด้าน เฉพาะทางของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

การกายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ<br />

การกายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่ คลินิกกายภาพบำบัดบำรุงราษฎร์<br />

เกิดจากการทำงาน การกายภาพบำบัดระบบ ณ อาคารเอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ ได้ที่<br />

ประสาท การกายภาพบำบัดอาการบาดเจ็บจาก โทร 0 2667 1305<br />

18


+++++ The Case<br />

เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน<br />

วันร้ายที่คาดไม่ถึง<br />

ของ คุณทศพร หงสนันทน์<br />

“ ตรวจสุขภาพทุกปีครับ ผมเป็นนักบินด้วย ต้องตรวจสุขภาพอย่างละเอียดเพื่อต่อใบอนุญาตอยู่แล้ว”<br />

“ ถ้ามีเวลาว่าง ต้องออกกำลังกายทันที ว่ายน้ำ เข้ายิม ขี่จักรยาน ทุกคนสงสัยกันหมดว่า<br />

ออกกำลังกายขนาดนี้ทำไมยังเป็นโรคหัวใจ”<br />

“ ตอนนั่งอยู่ที่ศูนย์หัวใจ บำรุงราษฎร์ ผมคิดว่าเรามาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร”<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong> กับ คุณทศพร หงสนันทน์<br />

นักธุรกิจหนุ่มใหญ่ที่รักการออกกำาลังกายเป็นชีวิตจิตใจ ทำาให้ยังดูแข็งแรง<br />

นี่คือบางส่วนของบทสนทนาระหว่าง<br />

และมีรูปร่างที่ดีแม้ในวัยขึ้นเลขหก และหากไม่บอกก็คงไม่มีใครรู้ว่า<br />

คุณทศพรเพิ ่งผ่านช่วงเวลาวิกฤตจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมาได้<br />

เพียง 2 เดือนเท่านั้น<br />

ชีวิตที่ไม่เคยหยุดนิ่ง<br />

“ผมออกกำาลังกายมาตั้งแต่ยังเป็นนักเรียน เล่นรักบี้ ยูโด ดำานำ้ำมาตั้งแต่อายุ 16<br />

จนทุกวันนี้ก็ยังเป็นผู้ฝึกสอนให้กับครูดำานำ้ำ (scuba diving instructor trainer)<br />

ผมว่ายนำ้ำสมำ่ำเสมอครั้งละ 1,000-1,200 เมตร เข้ายิมวันละชั่วโมงกว่า แล้วก็ยังชอบ<br />

ปั่นจักรยานโดยเฉพาะปั่นระยะไกล 60-70 กิโลเมตร เรียกว่าเล่นกีฬาต่อเนื่องมา<br />

ทั้งชีวิตไม่เคยหยุด” คุณทศพร เริ่มต้นเล่าถึงความชื่นชอบในการออกกำาลังกาย<br />

และนอกจากกีฬาแล้ว คุณทศพรยังมีไลฟ์สไตล์ที่กระตุ้นจังหวะการเต้นของ<br />

หัวใจอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการขี่จักรยานยนต์ทางไกลข้ามประเทศ หรือการขับ<br />

เครื่องบินส่วนบุคคลซึ่งการจะขึ้นบินได้นั้นต้องผ่านขั้นตอนการตรวจร่างกายและ<br />

การทำางานของสมองอย่างละเอียดในส่วนของการมองเห็นและการได้ยินอย่างน้อย<br />

ปีละ 2 ครั้งตามกฎข้อบังคับของสถาบันเวชศาสตร์การบิน<br />

“ผมคิดว่าตัวเองดูแลสุขภาพสมำ่ำเสมอนะ พยายามทำาตัวให้แข็งแรง ถึงจะไม่ได้<br />

เคร่งครัดเรื่องอาหารมากแต่ก็ควบคุมนำ้ำหนักไม่ให้นำ้ำหนักเพิ่มขึ้น ทำางานก็มี<br />

เครียดบ้างไม่เครียดบ้างตามปกติ แล้วอยู่ๆ ก็เกิดเป็นโรคนี้ขึ้นมา” คุณทศพรพูดถึง<br />

“ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน” หนึ่งใน<br />

กลุ่มอาการของโรคหัวใจที่ทั้งชีวิตนี้ไม่เคยคิด<br />

มาก่อนว่าตัวเองจะเป็น<br />

ไร้สัญญาณบอกเหตุ<br />

วิกฤตสุขภาพครั้งนี้เกิดขึ้นโดยไม่มีสัญญาณ<br />

เตือนใดๆ “วันนั้นเป็นวันที่ผมตั้งใจจะไปนอนที่วัด<br />

เพื่อเตรียมตัวอุปสมบทในสัปดาห์ถัดไป แต่พอ<br />

ไปถึงก็เริ่มมีอาการปวดแปลบๆ บริเวณด้านซ้าย<br />

ของหัวใจเยื้องขึ้นไปทางไหล่ แล้วก็จุกแน่นแต่<br />

ซักพักก็หายไป เช้ามืดวันถัดมาก็ปวดอีก ตอนนั้น<br />

ยังไม่แน่ใจว่าเป็นอะไรแต่คิดว่าไม่ค่อยดีแล้ว<br />

เลยขออนุญาตกลับบ้านก่อน กลับมาถึงบ้านสัก<br />

พักใหญ่ก็ปวดที่ตำาแหน่งเดิมอีกแล้วยังมีอาการ<br />

ชาที่ปลายนิ้วร่วมด้วย คราวนี้ผมเก็บของเลย<br />

บอกคนที่บ้านว่าจะเข้าโรงพยาบาล เพราะค่อน<br />

ข้างแน่ใจแล้วว่าต้องเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ”<br />

ภายในเวลาไม่ถึง 10 นาทีหลังจากที่คุณทศพร<br />

มาถึงโรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ เขาได้รับการ<br />

วินิจฉัยจากนพ.วิสุทธิ์ วิเวกาภิรัต ว่ามีภาวะ<br />

20


“สำคัญที่สุดคือ ต้องวินิจฉัยได้เร็ว”<br />

ใ นการรักษาผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ<br />

ตายเฉียบพลันนั้น นพ.วิสุทธิ์ วิเวกาภิรัต<br />

อายุรแพทย์โรคหัวใจยืนยันว่าการวินิจฉัยโรค<br />

อย่างแม่นยำาและรวดเร็วคือหัวใจสำาคัญที่จะช่วย<br />

ให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด<br />

ผู้ป่วยมาถึงด้วยอาการอย่างไร<br />

ผู้ป่วยมีอาการเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อหน้าอก<br />

ด้านซ้าย โดยเริ่มเจ็บตั้งแต่วันก่อนที่จะเข้ามา<br />

รักษา พอเราทราบอาการก็ทำาการตรวจคลื่นไฟฟ้า<br />

หัวใจทันที ซึ่งสามารถทำาได้ภายในเวลาไม่ถึง 10<br />

นาทีนับตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึง ผลจากกราฟหัวใจบ่งชี้<br />

ว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เนื่องจาก<br />

มีลิ่มเลือดไปอุดตันในหลอดเลือดแบบถาวร ทำาให้<br />

เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้และส่งผลให้เซลล์<br />

กล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด<br />

ในภาวะเช่นนี้ การวินิจฉัยที่รวดเร็วมีความ<br />

สำาคัญมาก เพราะหากล่าช้าเกินไปอาจทำาให้<br />

ผู้ป่วยสูญเสียกล้ามเนื้อหัวใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ<br />

เมื่อประสิทธิภาพในการบีบตัวลดลงก็จะส่งผลให้<br />

หัวใจเต้นผิดจังหวะและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวใน<br />

อนาคตได้ และหากมีการอุดตันของหลอดเลือด<br />

ขนาดใหญ่ที่ทำาให้กล้ามเนื้อตายเป็นบริเวณกว้าง<br />

ก็อาจทำาให้เสียชีวิตได้เช่นกัน โดยโรคนี้มีความเสี่ยง<br />

ในการเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 10 ซึ่งถือว่าสูงมาก<br />

สาเหตุของโรคเกิดจากอะไร<br />

และมีวิธีการรักษาอย่างไร<br />

ผู้ป่วยมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ มีความ<br />

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและต้องเข้ารับ<br />

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนทันที<br />

“คุณหมอตรวจวินิจฉัยแบบตรงประเด็น<br />

ชัดเจน และรวดเร็วมาก พอทราบผล เคสผมก็<br />

กลายเป็นเคสฉุกเฉินทันที มีเจ้าหน้าที่หลายคน<br />

เข้ามาดูแล ทุกคนทำางานแข่งกับเวลา เพียงระยะ<br />

เวลาหนึ่งชั่วโมงทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี สามารถ<br />

ทราบถึงตำาแหน่งที่ผิดปกติและทำาการรักษาได้<br />

อย่างทันท่วงที ซึ ่งผมต้องชมเชยจริงๆ เพราะ<br />

ถ้าช้ากว่านี้ผมคงแย่”<br />

แข็งแรงช่วยได้<br />

หลังทำาบอลลูนเรียบร้อย คุณทศพรใช้เวลาพัก<br />

ในโรงพยาบาล 3 วันก่อนจะกลับไปบวชอีก 3<br />

สัปดาห์ตามที่ตั้งใจไว้ และเมื่อสึกแล้วก็เริ่มออก<br />

เสี่ยงจากการสูบบุหรี่ โรคความดันโลหิตสูง<br />

นำ้ำตาลในเลือดสูง และมีไขมันที่พอกเป็นตะกรัน<br />

(plaque) เกาะตามผนังหลอดเลือด เมื่อ plaque<br />

แตกตัวก็ทำาให้เกิดลิ่มเลือดไปอุดกั้นหลอดเลือด<br />

ผู้ป่วยจึงเริ่มเจ็บหน้าอกแต่เจ็บแบบไม่ต่อเนื่อง<br />

เพราะลิ่มเลือดยังอุดกั้นไม่หมด แต่พอเวลา<br />

ผ่านไปลิ่มเลือดมีมากขึ้นจนอุดตันถาวร อาการ<br />

เจ็บจึงไม่หายอีก เนื่องจากไม่มีเลือดไปเลี้ยง<br />

กล้ามเนื้อหัวใจ<br />

กรณีนี้เราต้องเปิดหลอดเลือดให้เร็วที่สุดเพื่อ<br />

ให้เลือดกลับไปเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณนั้น เป็นการ<br />

หยุดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งโชคดีที่ผู้ป่วย<br />

รายนี้มาถึงโรงพยาบาลเร็ว กล้ามเนื้อหัวใจยัง<br />

ไม่ถูกทำาลายมากนัก หลังจากที่เราฉีดสีเพื่อให้<br />

ทราบตำาแหน่งที่หลอดเลือดอุดตันแล้วก็ขยาย<br />

กำาลังกายตามปกติอีกครั้ง “ตอนนี้รู้สึกสดชื่นขึ้น<br />

แข็งแรงขึ้น ว่ายนำ้ำได้ระยะทางไกลขึ้น เหนื่อย<br />

น้อยลง นี่ก็กำาลังเตรียมตัวจะไปขี่จักรยานยนต์<br />

ทางไกลอีกแล้ว” คุณทศพรเล่าอย่างอารมณ์ดี<br />

ประสบการณ์ผ่านความเป็นความตายจาก<br />

โรคร้ายครั้งนี้ คุณทศพรมีข้อคิดหลายประการ<br />

มาแบ่งปันกัน นั่นคือ การออกกำาลังกายช่วยให้<br />

ร่างกายมีแรงพอที่จะรับมือกับโรคได้ แต่อย่า<br />

เชื่อมั่นเกินไปว่าตัวเองแข็งแรงแล้วจะไม่เป็น<br />

โรคร้าย ขณะเดียวกันก็ควรมีความรู้พื้นฐานใน<br />

การดูแลตัวเองเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน มีสติ<br />

และไม่ประมาท โดยเฉพาะในกรณีของภาวะ<br />

หัวใจขาดเลือด เพราะโรคสามารถพัฒนาจาก<br />

อาการเพียงเล็กน้อยไปจนรุนแรงและถึงขั้น<br />

เสียชีวิตได้<br />

หลอดเลือดด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดถ่างขยาย<br />

(stent) ทำาให้มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ดังเดิม<br />

คุณทศพรฟื้นตัวเร็วเพราะร่างกายแข็งแรงดี<br />

อยู่แล้ว สามารถเดินเหิน ทำากิจกรรมได้ตามปกติ<br />

ปัจจุบันผู้ป่วยมีอาการอย่างไร<br />

ตอนนี้หัวใจทำางานแทบจะปกติ ก่อนออกจาก<br />

โรงพยาบาล เราตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อน<br />

อีกครั้งซึ่งผลออกมาค่อนข้างดี แต่ยังต้องเฝ้า<br />

ระวังเพราะโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้อีก และกรณี<br />

คุณทศพรก็ยังมีหลอดเลือดตีบประมาณร้อยละ<br />

50-60 อยู่อีกตำาแหน่งหนึ่ง ซึ่งยังไม่จำาเป็นต้องทำา<br />

อะไร เพียงแต่ต้องรับประทานยาต้านเกล็ดเลือด<br />

และยาลดไขมันในเลือดอย่างต่อเนื่อง เพราะการ<br />

ควบคุมไขมันได้ดีจะทำาให้โอกาสเกิดภาวะหัวใจ<br />

ขาดเลือดน้อยลงไปถึงกว่าร้อยละ 30<br />

ต้องทำอย่างไรเมื่ออยู่ในกลุ่มเสี่ยง<br />

โรคนี้เป็นได้ทุกวัย แต่ถ้าคุณเป็นผู้หญิงวัย<br />

หมดประจำาเดือน มีประวัติครอบครัวเป็นโรค<br />

หัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือมี<br />

พฤติกรรมเสี่ยง เช่น ไม่ออกกำาลังกาย เครียด<br />

สูบบุหรี่ ทั้งหมดนี้ก็มีโอกาสที่จะเกิดภาวะกล้าม<br />

เนื้อหัวใจตายได้สูง ฉะนั้น ต้องหมั่นสังเกตตัวเอง<br />

ว่ามีอาการเหนื่อยง่ายผิดปกติ หรือเจ็บแน่น<br />

หน้าอกเวลาออกแรงหรือไม่ ถ้ามี ก็ควรเข้ารับ<br />

การตรวจประเมินสุขภาพเพื่อให้แพทย์ดูว่ามี<br />

ความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน และจะป้องกันหรือ<br />

ลดความเสี่ยงนี้ได้อย่างไร<br />

21


+++++ M.D. Focus<br />

รู้จักกับ<br />

แพทย์บำรุงราษฎร์<br />

ส่วนหนึ่งของทีมแพทย์โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ที่มากด้วยทักษะ<br />

และประสบการณ์ซึ่งพร้อมจะดูแลคุณอย่างรอบด้าน<br />

ผศ.พญ.ธรรมบวร เนติ<br />

วิสัญญีแพทย์<br />

ผศ.พญ.ธรรมบวร สำเร็จการศึกษาจากคณะ<br />

แพทยศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) ศิริราชพยาบาล<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อนไปศึกษาต่อที่ University<br />

of California Los Angeles ประเทศสหรัฐอเมริกา<br />

ในสาขาการระงับความรู้สึกสำหรับการผ่าตัดหัวใจ<br />

ผู้ใหญ่และการผ่าตัดเด็กหัวใจพิการแต่กำเนิด<br />

แล้วจึงกลับมาเป็นอาจารย์ที่ศิริราชราว 10 ปี<br />

ก่อนจะย้ายมาร่วมงานกับบำรุงราษฎร์ คุณหมอ<br />

เป็นหนึ่งในทีมแพทย์ผู้อยู่เบื้องหลังการผ่าตัดรักษา<br />

โรคหัวใจให้กับเด็กๆ กว่า 700 คนภายใต้โครงการ<br />

รักษ์ใจไทยมาโดยตลอด ปัจจุบันคุณหมอยังดำรง<br />

ตำแหน่งหัวหน้ าแผนกวิสัญญีของบำรุงราษฎร์อีกด้วย<br />

บทบาทและองค์ความรู้ที่จำเป็น<br />

ของวิสัญญีแพทย์<br />

บทบาทหลักคือทำงานร่วมกับศัลยแพทย์ในการ<br />

นำพาผู้ป่วยผ่านการผ่าตัดไปได้อย่างปลอดภัย<br />

และมีภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด โดยต้องมีความรู้<br />

ทางอายุรกรรม มีความรู้ว่าการผ่าตัดจะมีผล<br />

กระทบต่อผู้ป่วยอย่างไร ต้องเลือกเทคนิควิธีระงับ<br />

ความรู้สึก ชนิดและปริมาณยาที่ใช้อย่างละเอียด<br />

ต้องมีความรู้ในการเฝ้าระวังเพื่อประคับประคอง<br />

ให้ทุกๆ อวัยวะได้รับเลือดและออกซิเจนอย่าง<br />

เพียงพอ มีความรู้ด้านเวชบำบัดวิกฤต มีทักษะ<br />

ขั้นสูงสุดของการช่วยฟื้นคืนชีพ รู้กายวิภาคทาง<br />

หายใจ กระดูกสันหลัง และทางเดินของเส้นประสาท<br />

ต่างๆ ที่จะทำการระงับความรู้สึก<br />

การรักษาที่รู้สึกประทับใจ<br />

เคยมีผู้ป่วยรายหนึ่งเป็นนักศึกษาหญิงประสบ<br />

อุบัติเหตุกระดูกสันหลังคอหักแขนขาทั้ง 2 ข้างขยับ<br />

ไม่ได้เลยในทันที เพียงแต่หายใจได้และพูดได้<br />

ซึ่งการบาดเจ็บรุนแรงขนาดนี้ โอกาสที่ผู้ป่วยจะ<br />

กลับมาขยับแขนขาได้มีต ่ำมาก และมักเสียชีวิต<br />

ในเวลาต่อมา แม้จะลำบากใจแต่แพทย์จำเป็น<br />

ต้องให้ข้อมูลแก่คุณพ่อคุณแม่ คุณพ่อซึ่งเป็นผู้<br />

ขับรถในครั้งนั้นถึงกับร้องไห้ออกมาต่อชะตากรรม<br />

ของลูกสาว<br />

การผ่าตัดซ่อมยึดกระดูกคออย่างเร็วที่สุดเป็น<br />

โอกาสเดียวแม้ความหวังจะริบหรี่ในยามนั้นจำได้<br />

ว่าตัวเองคิดถึงลูกสาวที ่มีอายุใกล้เคียงกับผู้ป่วย<br />

และเข้าใจถึงหัวอกของคุณพ่อคุณแม่ การผ่าตัด<br />

ผ่านไปด้วยดี อีก 1 ปีต่อมาผู้ป่วยกลับมาหา<br />

คุณหมอผ่าตัด เป็นหญิงสาวสวยแทบไม่เหลือ<br />

ความผิดปกติอยู่เลย<br />

มีเหตุการณ์มากมายในชีวิตการทำงานที่ทำให้<br />

คิดเสมอว่า การทุ่มเทในวิชาชีพของเราเป็นการได้<br />

สะสมบุญทุกๆ วัน ไม่ต้องไปทำบุญที่อื่น ทำในที่<br />

ทำงานของเรานี่แหละ<br />

ปรัชญาในการทำงาน<br />

ผู้ป่วยต้องมาก่อนเสมอค่ะ สิ่งนี้อยู่ในใจตลอด<br />

เวลา บำรุงราษฎร์มีโครงสร้างการบริหารที่ให้ความ<br />

สำคัญต่อคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย<br />

เป็นอันดับแรก ซึ่งตรงกับปรัชญาการท ำงานของตัวเอง<br />

ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ<br />

อายุรแพทย์ผู้เชี ่ยวชาญด้าน<br />

ประสาทวิทยา – โรคพาร์กินสัน<br />

หลังสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตจาก<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.นพ.รุ่งโรจน์ ได้รับ<br />

วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญและปริญญาบัตรผู้ทรงคุณวุฒิ<br />

สาขาอายุรศาสตร์ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์<br />

แห่งกรุงลอนดอนและสาธารณรัฐไอร์แลนด์<br />

รวมถึงได้รับวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาจิตวิทยา<br />

22<br />

และประสาทวิทยาจากประเทศสหรัฐอเมริกา<br />

ปัจจุบัน ศ.นพ.รุ่งโรจน์เป็นอาจารย์พิเศษทั้งที่<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, University of California,<br />

Los Angeles และ Juntendo University Hospital<br />

ประเทศญี่ปุ่น<br />

เหตุใดจึงสนใจสาขา movement disorder<br />

สมัยนั้นสาขานี ้เป็นสาขาที่ค่อนข้างท้าทาย<br />

เพราะยังใหม่มาก หลายคนยังคิดว่าพาร์กินสัน<br />

เป็นโรคที่น่ากลัว ถ้าเป็นแล้วอีกไม่กี่ปีก็ต้องนอน<br />

ติดเตียง ยารักษาก็มีไม่กี่ตัว แต่ผมกลับรู้สึก<br />

อยากเรียน เพราะว่าเราได้เห็นการเปลี่ยนแปลง<br />

ของผู้ป่วยอย่างชัดเจนว่าถ้าคุณรักษาเขาได้ดี<br />

เขาจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้<br />

ปัจจุบันวิธีการรักษาเปลี่ยนแปลง<br />

ไปอย่างไร<br />

เมื่อก่อนหากผู้ป่วยตัวสั่นเพียงเล็กน้อยแพทย์มัก<br />

จะบอกว่ายังไม่ต้องรักษา รอให้มีอาการเยอะๆ แล้ว<br />

ค่อยให้ยา แต่ในช่วง 10 ปีมานี้แนวทางการรักษา<br />

โรคพาร์กินสันมีประสิทธิภาพมากขึ้น มียาจำนวน<br />

มากขึ้น มีเทคนิคการผ่าตัดอย่างการผ่าตัดสมอง<br />

ส่วนลึกที่ก้าวหน้าแม้จะยังเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด<br />

แต่ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพได้นาน<br />

กว่า 20 ปี จากเมื่อก่อน 5 ปีก็ต้องนั่งรถเข็นแล้ว<br />

หลักคิดในการทำงาน<br />

ต้องมุ่งมั่นและจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ตัวเองอยาก<br />

จะทำ แต่ก่อนที่จะมีความมุ่งมั่น คุณต้องมีความ<br />

ชอบในสิ่งนั้นอย่างจริงจังก่อน ถ้าคุณไม่ชอบ<br />

คุณก็ไม่อยากทำ ไม่อยากจะจดจ่อกับสิ่งนั้น<br />

ความคิดสร้างสร้างสรรค์ก็ไม่เกิด และทำให้ไม่มี<br />

ผลงานในที่สุด ผมโชคดีที่ได้เจอในสิ่งที่ชอบ<br />

แล้วพยายามหาโอกาสที่จะได้ทำสิ่งนั้น ที่สำคัญ<br />

คือต้องขยัน ผมเชื่อว่าอาชีพแพทย์ต้องขยัน<br />

ต้องทำจนเชี่ยวชาญ อะไรที่ยังไม่รู้ก็ต้องถามผู้รู้


พญ.รสนีย์ วัลยะเสวี<br />

อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบ<br />

ต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม<br />

พญ.รสนีย์จบการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์<br />

ศิริราชพยาบาล ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 ก่อนจะ<br />

ไปทำงานวิจัยและศึกษาต่อทางด้านโรคระบบ<br />

ต่อมไร้ท่อที่ Howard University Hospital และ<br />

Mayo Clinic รัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา เมื่อจบ<br />

งานวิจัยแล้วจึงสอบอเมริกันบอร์ดและกลับมา<br />

ร่วมงานกับบำรุงราษฎร์ในปี 2546 หลังใช้เวลา<br />

ในต่างประเทศนานถึง 14 ปี<br />

ผศ.พญ.ศริญญา ภูวนันท์<br />

อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ –<br />

ภาวะหัวใจล้มเหลวและปลูกถ่ายหัวใจ<br />

หลังสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต<br />

(เกียรตินิยม) และแพทย์ประจำบ้านสาขา<br />

อายุรศาสตร์ทั่วไป จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์<br />

ผศ.พญ.ศริญญาได้เลือกศึกษาต่อเฉพาะทาง<br />

ในสาขาอายุรศาสตร์หัวใจ ที่คณะแพทยศาสตร์<br />

ศิริราชพยาบาล สาขาคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ<br />

จาก Mayo Clinic และ Cleveland Clinic<br />

สหรัฐอเมริกา และสาขาภาวะหัวใจล้มเหลวและ<br />

อายุรศาสตร์การปลูกถ่ายหัวใจ จาก University<br />

of Florida สหรัฐอเมริกา นับเป็นแพทย์เพียง 1 ใน<br />

การทำงานของแพทย์โรคระบบต่อมไร้ท่อ<br />

แพทย์ในปัจจุบันต้องหมั่นอัพเดทความรู้และ<br />

ตามโรคให้ทัน และเนื่องจากเบาหวานเป็นโรค<br />

เรื้อรัง การดูแลผู้ป่วยจึงต้องต่อเนื่อง และผู้ป่วย<br />

ก็ต้องให้ความร่วมมือ การรักษาจึงจะได้ผลดี<br />

ในการรักษาหมอจะซักประวัติ รูปแบบการใช้<br />

ชีวิต และประวัติการใช้ยาอย่างละเอียด จากนั้น<br />

จะอธิบายผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แผนการ<br />

รักษา รวมทั้งผลข้างเคียงหรือข้อควรระวังของยา<br />

ที่สั่งจ่าย และเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถาม บางท่าน<br />

มาตอนที่ยังไม่มีโรคแทรกซ้อน หมอจะบอกเลยว่า<br />

หมอตั้งใจรักษานะ ขอให้คุณร่วมมือเพื่อช่วยลด<br />

ภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ หรือต้องตัดขา<br />

ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเข้าใจและให้ความร่วมมือ<br />

การรักษาที่รู้สึกประทับใจ<br />

ไม่ได้เป็นผู้ป่วยของแผนกต่อมไร้ท่อแต่เป็นเคส<br />

ชาวต่างชาติ อายุประมาณ 18-19 ปี มาประสบ<br />

อุบัติเหตุรถชนทางภาคใต้ โดยที่เขาเป็นโรค<br />

ฮีโมฟิเลีย (โรคเลือดออกง่ายหยุดยาก) อยู่ก่อน<br />

ทำให้เลือดออกภายในช่องท้องเยอะมาก แต่<br />

เนื่องจากโรงพยาบาลต่างจังหวัดไม่มีสารที่ท ำให้เลือด<br />

4 ของประเทศไทยที่ผ่านการฝึกอบรมทางคลินิก<br />

เฉพาะทางด้านนี้<br />

แรงบันดาลใจและการทำงาน<br />

จุดเริ่มต้นที่ทำให้สนใจเรียนต่อในสาขาภาวะ<br />

หัวใจล้มเหลวและการปลูกถ่ายหัวใจเกิดขึ้นช่วงที่<br />

ยังเรียนอยู่ศิริราช มีนักศึกษาแพทย์ปี4 เกิดภาวะ<br />

หัวใจล้มเหลวชนิดมีภาวะหัวใจอักเสบแล้วช็อก<br />

ต้องเข้า CCU ในวันที่อยู่เวรพอดี อาการของน้อง<br />

รุนแรงมากแต่ตอนนั้นเรายังไม่มีแพทย์ที่มีความ<br />

เชี่ยวชาญทางด้านนี้ หากไม่ได้เครื่องช่วยพยุง<br />

หัวใจ (VAD) ไว้ก็คงไม่รอด ทำให้คิดว่าบ้านเรายัง<br />

ขาดแคลนแพทย์สาขานี้อยู่มาก<br />

ส่วนสาขาอายุรศาสตร์การปลูกถ่ายหัวใจก็เช่น<br />

เดียวกันคือยังไม่มีแพทย์ทางด้านนี้มากนัก ที่ผ่าน<br />

มาการปลูกถ่ายหัวใจมักเริ่มต้นและอยู่ภายใต้การ<br />

ดูแลของศัลยแพทย์ ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาจะ<br />

เป็นการดูแลร่วมกันระหว่างอายุรแพทย์โรคหัวใจ<br />

กับศัลยแพทย์หัวใจ โดยอายุรแพทย์โรคหัวใจจะ<br />

เป็นผู้ประเมินว่าผู้ป่วยจ ำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่าย<br />

หรือเปลี่ยนหัวใจหรือไม่ก่อนจะส่งต่อให้ศัลยแพทย์<br />

หัวใจ ซึ่งคิดว่าเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยอย่างมาก<br />

แข็งตัว เมื่อผ่าตัดเลือดก็ออกไม่หยุด จนผู้ป่วย<br />

ช็อกและมีช่วงที่หัวใจหยุดเต้น ญาติทางอเมริกา<br />

จึงติดต่อผ่าน Mayo Clinic ซึ่งมีเครือข่ายของ<br />

แพทย์ซึ่งเป็นศิษย์เก่าอยู่ทั่วโลก และหมอก็ได้รับ<br />

การติดต่อให้ช่วย<br />

เวลานั้นเป็นช่วงค่ำๆ ของวันเสาร์ เราส่ง air<br />

ambulance ไปเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมาที่ห้องฉุกเฉิน<br />

ในเวลาเพียง 45 นาที มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึง<br />

9 ท่านเข้ามาดูแลผู้ป่วย ทั้งคุณหมอ ICU คุณหมอ<br />

โรคหัวใจ คุณหมอทางโรคเลือดภาวะโรคฮีโมฟีเลีย<br />

คุณหมอไต คุณหมอโรคติดเชื้อและศัลยแพทย์<br />

เจ้าหน้าที่ทุกคนช่วยกันดูแลจนกระทั่งผู้ป่วย<br />

สามารถเดินทางกลับสหรัฐอเมริกาได้อย่าง<br />

ปลอดภัย แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของ<br />

บำรุงราษฎร์ที่สามารถช่วยผู้ป่วยในทุกๆ ด้าน<br />

การร่วมงานกับบำรุงราษฎร์<br />

บำรุงราษฎร์มีบุคลากรที่มีความสามารถและ<br />

เครื่องมือที่ทันสมัย เราทำงานกันเป็นทีมทำให้การ<br />

ทำงานง่ายขึ้นและผลดีตกอยู่กับผู้ป่วย ทุกฝ่าย<br />

ให้การสนับสนุน ปัญหาต่างๆ ได้รับการใส่ใจแก้ไข<br />

ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น<br />

การดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว<br />

การดูแลผู้ป่วยต้องอาศัยการประเมินของ<br />

แพทย์ที่แม่นยำและการติดตามที่ใกล้ชิด ปัจจุบัน<br />

การรักษามีความก้าวหน้ามาก นอกจากยาแล้ว<br />

ยังมีการรักษาด้วยเครื่องช่วยการทำงานของหัวใจ<br />

ต่างๆ การผ่าตัดใส่เครื่องพยุงหัวใจและการผ่าตัด<br />

ปลูกถ่ายหัวใจ อย่างไรก็ตาม ความรู้ความเข้าใจ<br />

และการปฎิบัติได้จริงเกี่ยวกับการดูแลตัวเองของ<br />

ผู้ป่วยมีความสำคัญมากที่สุด เช่น การชั่งน้ำหนัก<br />

ทุกวันเพื่อติดตามสภาวะน้ำคั่ง การรับประทาน<br />

อาหารที่โซเดียมต่ำ การออกกำลังกาย การทราบ<br />

อาการที่ต้องระวัง ความสำคัญของยา และการ<br />

มาพบแพทย์ตามนัด เป็นต้น<br />

การร่วมงานกับบำรุงราษฎร์<br />

บำรุงราษฎร์มีระบบการจัดการที่ดี มีอุปกรณ์<br />

การแพทย์ที่ทันสมัยและรองรับการท ำงานของแพทย์<br />

ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางได้ มีการดูแลผู้ป่วย<br />

เป็นทีมแบบสหสาขาวิชาชีพโดยที่ทุกฝ่ายสนับสนุน<br />

การทำงานของกันและกัน เรียกว่าสมบูรณ์แบบมาก<br />

ตัวเองรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ทำงานที่นี่ค่ะ<br />

23


พื้นที่ประชาสัมพันธ์พิเศษ<br />

ฟิตร่างกาย<br />

เติมความแอคทีฟ<br />

และอ่อนเยาว์ให้ตนเอง<br />

แม้ไม่มีใครสามารถย้อนเวลากลับไปได้<br />

แต่เราทุกคนสามารถทำให้เข็มนาฬิกาแห่งอายุ<br />

เดินช้าลงได้ไม่ยาก เพียงแค่...ออกกำลังกาย<br />

ก<br />

ารออกกำาลังกายเป็นประจำาเป็นสิ่ง<br />

จำาเป็น หากคุณอยากมีสุขภาพแข็งแรง<br />

มีพลัง และดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอ<br />

“ธรรมชาติสร้างคนเรามาให้ต้องมีการเคลื่อนไหว<br />

คนที่ออกแรงและเคลื่อนไหวอยู่เสมอมีแนวโน้ม<br />

ที่จะบริหารจัดการนำ้ำหนักของตัวเองได้ดีกว่า<br />

อีกทั้งการออกกำาลังกายยังช่วยลดผลกระทบจาก<br />

โรคประจำาตัวและโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ช่วยเสริม<br />

สร้างความคล่องแคล่ว ยืดหยุ่น ทนทานให้กับ<br />

ร่างกาย และช่วยกระตุ้นสมอง ซึ่งจะเป็นเกราะ<br />

ป้องกันอาการความจำาเสื่อม การลดลงของระดับ<br />

การรับรู้ทางสติปัญญา และภาวะสมองเสื่อม<br />

อีกด้วย” พญ.วรรณวิพุธ สรรพสิทธิ์วงศ์ แพทย์ด้าน<br />

เวชศาสตร์ชะลอวัย ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์<br />

อธิบายถึงประโยชน์มากมายของการออกกำาลังกาย<br />

อย่ากลัวที่จะเริ่มต้น<br />

สำาหรับใครที่ห่างหายจากการออกกำาลังกาย<br />

ไปนาน สิ่งที่ยากที่สุดมักเป็นการหา ‘จุดเริ่มต้น’<br />

ในการออกกำาลังกายนั่นเอง ซึ่งพญ.วรรณวิพุธ<br />

แนะนำาว่าอย่ากลัวที่จะเริ่มต้น และหากยังไม่ทราบ<br />

หรือไม่มั่นใจว่าตนควรจะออกกำาลังกายอย่างไร<br />

ก็อาจลองเริ่มจากโปรแกรมสอนออกกำาลังกาย<br />

ที่ได้รับความนิยม เช่น T25, The seven-minute<br />

workout หรือ The 10,000 steps ก่อนได้<br />

ส่วนผู้ที่ต้องการเริ่มต้นอย่างมั่นใจศูนย์ส่งเสริม<br />

สุขภาพไวทัลไลฟ์มีโปรแกรมการออกกำาลังกาย<br />

เฉพาะบุคคลที่ออกแบบมาให้ผู้เข้ารับคำาปรึกษา<br />

ทำาตามได้อย่างสะดวกใจและง่ายดาย โดย<br />

พญ.วรรณวิพุธ กล่าวว่า “ขั้นตอนแรกซึ่งสำาคัญ<br />

ที่สุดคือ การพูดคุยทำาความรู้จักกับผู้ที่เข้ามา<br />

ปรึกษาก่อน เพื ่อทำาความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพ<br />

ร่างกายและวิถีชีวิตของเขา ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูก<br />

นำาไปวิเคราะห์หาจุดแข็งและจุดอ่อนเฉพาะบุคคล<br />

ก่อนนำามาสร้างแผนการสร้างเสริมสมรรถภาพ<br />

ทางร่างกายให้เหมาะสมกับแต่ละคนโดยเฉพาะ”<br />

ออกกำลังกายด้วยวิถีผสมผสาน<br />

เมื่อเริ่มต้นออกกำาลังกายแล้ว พญ.วรรณวิพุธ<br />

แนะนำาว่า ควรออกกำาลังกายให้หลากหลายรูปแบบ<br />

เพราะนอกจากจะช่วยไม่ให้เบื่อหน่ายแล้ว ยังเป็น<br />

การเสริมสร้างสมรรถภาพของร่างกายให้รอบด้าน<br />

อีกด้วย เช่น เล่นฟิตเนสเพื ่อเผาผลาญไขมัน<br />

ส่วนเกินและเสริมความแข็งแกร่งให้แก่กล้ามเนื้อ<br />

พร้อมกับออกกำาลังกายอย่างอื่นเพื่อสร้างความ<br />

ทนทานรวมถึงความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อไปด้วย<br />

เช่น ปั่นจักรยาน วิ่งจ็อกกิง ขณะที่การว่ายนำ้ำหรือ<br />

เดินก็เหมาะสมและปลอดภัยกว่าสำาหรับผู้ที่มี<br />

อาการบาดเจ็บ ปวดข้อกระดูก หรือผู้ที่มีนำ้ำหนัก<br />

ตัวค่อนข้างมาก<br />

“อีกหนึ่งรูปแบบของการออกกำาลังกายที่ลืม<br />

ไม่ได้คือ การทำางานบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการทำาสวน<br />

ล้างรถ หรือการปัดกวาดเช็ดถูต่างๆ ก็นับเป็น<br />

การออกกำาลังกายด้วยเช่นกัน”<br />

สร้างแรงบันดาลใจ<br />

สำาหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มออกกำาลังกาย การออก<br />

กำาลังกายอย่างไม่มีจุดหมายอาจบั่นทอนความ<br />

ตั้งใจและกำาลังใจลงไปได้มาก ดังนั้นควรตั้ง<br />

เป้าหมายในการออกกำาลังกาย เช่น เพื่อลด<br />

นำ้ำหนัก ลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือ<br />

ลดความดันโลหิต เพื่อสร้างแรงบันดาลให้กับ<br />

ตัวเองและพยายามทำาให้สำาเร็จ<br />

“นอกจากนี้ เรายังสามารถทำาให้การออก<br />

กำาลังกายเป็นกิจกรรมกลุ่มหรือเป็นพื้นที่ของการ<br />

พบปะพูดคุยกับเพื่อนฝูงหรือสมาชิกในครอบครัว<br />

ซึ่งวิธีนี้ก็จะช่วยให้การออกกำาลังกายน่าสนใจ<br />

มากขึ้นได้” พญ.วรรณวิพุธ แนะนำาในท้ายที ่สุด<br />

ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)<br />

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ www.vitallife-international.com หรือโทร 0 2667 2340<br />

24


+++++ <strong>Health</strong> Briefs<br />

9 ใน 10 ของโรคหลอดเลือดสมอง<br />

ป้องกันได้<br />

หลายคนทราบดีว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็น<br />

สาเหตุลำดับต้นๆ ของการเสียชีวิตและทุพพลภาพ<br />

ของประชากรทั่วโลก แต่คุณทราบหรือไม่ว่าอันที่<br />

จริงแล้ว ร้อยละ 90 ของโรคนั้นสามารถป้องกันได้<br />

โรคหลอดเลือดสมองเกิดจากสาเหตุหลักๆ 10<br />

ประการ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไม่ออกกำลังกาย<br />

ไขมันในเลือดสูง รับประทานอาหารไม่ถูกหลัก<br />

โภชนาการ น้ำหนักเกิน สูบบุหรี่ เป็นโรคหัวใจ<br />

โรคเบาหวาน แอลกอฮอล์ และความเครียด ซึ่ง<br />

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ทั้งสิ้น<br />

น่าสนใจว่าหากไม่มีสาเหตุเหล่านี้ โอกาสการเกิด<br />

โรคหลอดเลือดสมองจะลดลงได้มากน้อยเพียงใด<br />

นี่จึงเป็นที่มาของงานวิจัยที่สถาบันการแพทย์<br />

หลายแห่งทั่วโลกร่วมกันทำขึ้นภายใต้ชื่อ INTER-<br />

STROKE โดยเป็นการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง<br />

จำนวนเกือบ 27,000 คนจาก 32 ประเทศทั่วโลก<br />

ซึ่งผลปรากฏว่าความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยง<br />

ที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง<br />

หากกำจัดสาเหตุนี้ได้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของ<br />

การเกิดโรคได้ถึงร้อยละ 48 และหากกำจัดได้ทั้ง<br />

10 สาเหตุ ก็เท่ากับลดโอกาสของการเป็นโรค<br />

หลอดเลือดสมองได้ถึงร้อยละ 90.7 ทีเดียว<br />

งานวิจัยชิ้นนี้จึงเป็นการยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า<br />

การปรับเปลี ่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเป็นการ<br />

ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองที่ต้นเหตุซึ่งได้ผลดี<br />

ที่สุดอย่างแน่นอน<br />

26<br />

ไม่อยากเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ<br />

อย่าปล่อยให้ตัวเองเหงา<br />

บทความล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Heart<br />

ของอังกฤษระบุว่า ความโดดเดี่ยวอ้างว้างและ<br />

แยกตัวจากสังคมนั้นอาจทำให้คุณเป็นโรคหัวใจ<br />

และโรคหลอดเลือดสมองได้<br />

นักวิจัยจาก University of York ประเทศ<br />

อังกฤษ ใช้วิธีวิเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรม<br />

การเข้าสังคมจำนวน 23 ชิ้นครอบคลุมกลุ่ม<br />

ตัวอย่างมากถึง 181,000 คน และพบว่าเมื่อเวลา<br />

ผ่านไป คนที่รู้สึกโดดเดี่ยวหรือชอบปิดกั้นตัวเอง<br />

จากโลกภายนอกมีโอกาสป่วยเป็นโรคหัวใจ<br />

มากกว่าร้อยละ 29 และมีโอกาสป่วยเป็นโรค<br />

หลอดเลือดสมองมากกว่าร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับ<br />

คนที่มีเพื่อนมากและชอบสังสรรค์ ซึ่งเป็นตัวเลข<br />

ความเสี่ยงที่ใกล้เคียงกับการสูบบุหรี่หรือเป็น<br />

โรคอ้วนเลยทีเดียว<br />

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสภาพจิตใจนั้นส่งผลต่อ<br />

สุขภาพร่างกายโดยตรง โดยเฉพาะความเหงาซึ่ง<br />

นอกจากโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองแล้ว<br />

ยังเคยมีการศึกษากันว่าอาจเป็นสาเหตุให้ภูมิ<br />

คุ้มกันโรคอ่อนแอลง และทำให้ความดันโลหิต<br />

เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย<br />

สมองหดตัวได้<br />

หากไม่เริ่มออกกำลังกาย<br />

เชื่อหรือไม่ว่าความเฉื่อยชาในช่วงวัยกลางคนนั้น<br />

ส่งผลต่อสมองยามสูงวัยของคุณได้อย่างคาดไม่ถึง<br />

งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารNeurology<br />

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยง<br />

ระหว่างพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ที่มีอายุ<br />

อยู่ในวัยกลางคนกับการหดตัวของสมองเมื่ออายุ<br />

มากขึ้น โดยนักวิจัยได้ติดตามกลุ่มตัวอย่างที่มี<br />

อายุเฉลี่ย 40 ปีจำนวน 1,100 คนเป็นเวลายาวนาน<br />

ถึง 20 ปี และพบว่าคนที่ไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย<br />

ในวัยกลางคนนั้นมีเนื้อสมองที่หดเล็กลงเมื่อเทียบ<br />

กับคนที่ใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉง<br />

ทั้งนี้ นักวิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีประวัติ<br />

ป่วยเป็นโรคหัวใจหรือมีภาวะสมองเสื่อมมาก่อน<br />

และให้ทุกคนเข้ารับการทดสอบความอดทนของ<br />

ระบบหายใจและไหลเวียนโลหิตด้วยการวิ่งบน<br />

สายพานไฟฟ้าแล้วจึงเก็บข้อมูลไว้เพื่อเปรียบเทียบ<br />

กับการทดสอบแบบเดียวกันกับคนกลุ่มเดียวกัน<br />

ในอีก 20 ปีต่อมา แต่ในครั้งหลังนี้นักวิจัยได้เพิ่ม<br />

การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และ<br />

ทดสอบการทำงานของสมองร่วมด้วย<br />

เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้ก็มีงานวิจัย<br />

ที่ระบุว่าการออกกำลังกายแบบปานกลางอาจ<br />

เกี่ยวข้องกับการที่สมองแก่ตัวช้าลง<br />

ชัดเจนอย่างนี้แล้ว ลุกไปออกกำลังกายกันเถอะ


่<br />

+++++ Q & A<br />

ปัญหาสุขภาพจำเป็นต้องได้รับคำตอบจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ<br />

เฉพาะทางเท่านั้น ไม่ว่าปัญหาของคุณคืออะไร <strong>Better</strong> <strong>Health</strong><br />

มีคำตอบที่คุณวางใจในความถูกต้องได้เสมอ<br />

Q: อยากขอคำแนะนำจากคุณหมอเกี่ยวกับการเลือกรับประทานสารให้ความหวาน<br />

แทนน้ำตาล เนื่องจากครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคเบาหวาน จึงอยากระวังไว้ก่อนค่ะ<br />

A: การใส่ใจดูแลเรื่องการรับประทานอาหารในกรณีที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรค<br />

เบาหวานเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่อันที่จริงแล้วอาหารของผู้ป่วยเบาหวานกับอาหารของผู้ที<br />

ไม่ได้เป็นเบาหวานคืออาหารแบบเดียวกัน หลักการอยู่ที่ต้องรู้จักเลือกรับประทาน เช่น<br />

ไม่รับประทานแป้งกับน้ำตาลมากเกินไป แต่ให้<br />

เน้นผัก ส่วนผลไม้ถ้าหวานมากก็รับประทาน<br />

น้อยชิ้น หรือแบ่งเป็นส่วนๆ วันละ 3-4 ครั้ง<br />

ไม่รับประทานทีเดียวในปริมาณมาก<br />

ส่วนสารให้ความหวานหรือที่เราเรียกว่าน้ำตาล<br />

เทียมนั้นเป็นวัตถุให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน<br />

หรือให้น้อยมาก โดยตัวของมันเองสามารถ<br />

รับประทานได้โดยไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้น<br />

เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือมีโอกาสเสี่ยง<br />

จะเป็นเบาหวาน ปัจจุบันมีให้เลือกใช้หลายชนิด<br />

เช่น แซ็กคาริน (saccharin), แอสปาร์เทม<br />

(aspartame), ซูคราโลส (sucralose) และ<br />

หญ้าหวาน (stevia)‎ แต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติและ<br />

รสชาติแตกต่างกันไป ให้ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม<br />

เช่น ใส่ในชา กาแฟ เพียงเล็กน้อย ข้อควรระวัง<br />

เช่น ใช้ปรุงอาหารพวกขนมหวานแล้วเข้าใจว่า<br />

รับประทานแล้วไม่อ้วน ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด<br />

เพราะในอาหารนั้นยังมีส่วนประกอบอื่นๆ เช่น<br />

แป้งรวมอยู่ด้วย รับประทานแล้วก็อาจทำให้<br />

น้ำหนักเพิ่มหรือน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้<br />

พญ.รสนีย์ วัลยะเสวี<br />

อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบต่อมไร้ท่อ<br />

และเมตะบอลิสม<br />

Q: คุณพ่อวัย 75 ปี เริ่มมีอาการมือสั่นอย่างเห็นได้ชัด<br />

อาการแบบนี้เป็นปกติของผู้สูงอายุหรือเปล่าครับ?<br />

A: อาการสั่นที่เห็นได้ชัดเจนและมีอาการต่อเนื่อง<br />

เป็นเวลานาน ไม่มีอาการไหนที่ถือว่าปกติ ต้องดูว่า<br />

อาการสั่นนั้นเกิดจากโรคอะไร เพราะมีโรคในผู้สูงอายุ<br />

หลายโรคที่มีอาการสั่นซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นโรค<br />

พาร์กินสันเสมอไป<br />

อาการสั่นในโรคพาร์กินสันจะสังเกตได้ง่าย คือ<br />

จะเริ่มสั่นข้างเดียวก่อน โดยร้อยละ 70 เริ่มที่มือ<br />

อีกร้อยละ 30 เริ่มที่ขา บางรายริมฝีปากหรือคางสั่น<br />

แต่จะไม่สั่นทั้งศีรษะ นอกจากนี้อาการสั่นจะเกิด<br />

เฉพาะเวลาที่ผู้ป่วยอยู่เฉยๆ ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย<br />

เช่น ขณะนั่งดูโทรทัศน์ แต่เมื่อขยับร่างกายยกมือขึ้น<br />

ปรากฏว่าอาการสั่นหายไป ซึ่งช่วงแรกๆ ผู้ป่วย<br />

อาจจะยังไม่รู้ตัว ฉะนั้นผู้สูงอายุที่มีอาการสั่นจน<br />

ตักอาหารรับประทานไม่ได้ ตักแล้วหก กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน<br />

ถ้าคุณพ่อมีอาการนานกว่า 6 เดือนแล้ว และอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ควรพาท่าน<br />

มาพบแพทย์โดยด่วนครับ<br />

ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ<br />

อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา<br />

28


+++++ Bumrungrad News<br />

ผู้ป่วยโรคหัวใจชาวเวียดนามได้รับชีวิตใหม่ที่บำรุงราษฎร์<br />

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ประสบความสำเร็จในโครงการ ‘ผ่าตัดผู้ป่วย<br />

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดผู้ยากไร้ชาวเวียดนาม’ ซึ่งเป็นโครงการคัดเลือก<br />

ชาวเวียดนามที่มีฐานะยากจนและป่วยเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดมาเข้ารับการ<br />

ผ่าตัดหัวใจที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี<br />

รวมถึงเพื ่อเป็นการเฉลิมฉลอง 40 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทาง<br />

การทูตระหว่างไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและในโอกาสที่<br />

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ดำเนินการมาครบ 36 ปี โดยคัดเลือกชาวเวียดนาม<br />

ผู้ยากไร้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจำนวน 5 รายเพื่อเข้ารับการผ่าตัด<br />

ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในช่วงเดือนกรกฎาคม 2559<br />

ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันผู้ป่วยทุกรายมีอาการดีขึ้นตามลำดับ และเดินทางกลับ<br />

ประเทศโดยสวัสดิภาพเป็นที่เรียบร้อยโดยสายการบินแอร์เอเชีย<br />

Mother’s Day 2016<br />

เป็นพ่อแม่ มหัศจรรย์ของการให้ชีวิต<br />

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์จัดงาน "Mom Little Secret"<br />

เป็นพ่อแม่ มหัศจรรย์ของการให้ชีวิต โดยเชิญคุณพ่อคุณแม่<br />

เข้าร่วมรับฟังเทคนิคการดูแลคุณแม่มือใหม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์<br />

จากคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาล พร้อมพูดคุย<br />

แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคุณลิเดีย-ศรัณรัชต์ ดีน และคุณโน้ต<br />

ณัฐกานต์ เตชะรัตนไชย (ประสพสายพรกุล) โดยภายในงานมี<br />

หัวข้อน่าสนใจที่คุณแม่ควรรู้ อาทิ การเตรียมตัว 40 สัปดาห์<br />

แห่งครรภ์คุณภาพ การคลอดธรรมชาติ-ผ่าคลอด วิธีไหนดีกับแม่<br />

และปลอดภัยกับลูก วิธีดูแลผิวพรรณคุณแม่ท้องให้สดใสและ<br />

ออกกำลังกายอย่างไรให้คุณแม่ฟิตแอนด์เฟิร์ม<br />

บำรุงราษฎร์ คลินิก ย่างกุ้ง เปิดอย่างเป็นทางการแล้ว<br />

บำรุงราษฎร์ คลินิก ย่างกุ้ง เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเป็นที่<br />

เรียบร้อยแล้ว โดยในระยะแรกเป็นการให้บริการ 5 ด้านด้วยกัน คือ บริการ<br />

ด้านสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ การตรวจสุขภาพเชิงป้องกัน บริการถ่ายภาพ<br />

ทางรังสี บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และบริการนัดหมายแพทย์<br />

สำหรับผู้ที่จะเดินทางเพื่อเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

กรุงเทพฯ ทั้งนี้การดูแลผู้ป่วยทุกขั้นตอนเป็นไปตามมาตรฐานของบำรุงราษฎร์<br />

ทุกประการ<br />

สำหรับงานเปิดคลินิกอย่างเป็นทางการ บำรุงราษฎร์ คลินิก ย่างกุ้ง<br />

ได้รับเกียรติจากคุณพิษณุ สุวรรณะชฏ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง<br />

คุณเดนนิส บราวน์Corporate CEO (ตำแหน่งขณะนั้น) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

พร้อมด้วย Dr. Mo Nyan Kyaw (Marcus) และคุณ Bruce Mo Ye Kyaw<br />

ผู้บริหารบริษัท ย่างกุ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล เมดิคอล เซอร์วิส พร้อมแขก<br />

ผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก<br />

30

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!