20.04.2016 Views

Better Health 34

The magazine for patients and friends of Bumrungrad International Hospital, Thailand.

The magazine for patients and friends of Bumrungrad International Hospital, Thailand.

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

รศ.นพ.สมศักดิ์ เชาว์วิศิษฐ์เสรี<br />

ผู้อำนวยการด้านการแพทย์<br />

Contributing Editor<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ฉบับก้าวสู่ปีที่ 12 กลับมาพบกับท่านผู้มีอุปการคุณของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

อีกครั้ง พร้อมด้วยเนื้อหาสาระที่มีความหลากหลายมากขึ้นในรูปแบบใหม่ที่อ่านง่ายสบายตา<br />

โดยเราได้เพิ่มเรื่องราวของผู้ป่วยที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับใครอีกหลายคน รวมทั้ง<br />

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ การออกกำลังกาย และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้การใช้ชีวิตอย่างมี<br />

สุขภาพดีเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป<br />

สำหรับเรื่องเด่นในฉบับนี้ เราให้ความสำคัญกับสุขภาพหัวใจด้วยเรื่องของทางเลือกในการรักษาผู้ป่วย<br />

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ ตามด้วยงานวิจัยใหม่ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจและกระดูกในคอลัมน์<strong>Health</strong> Briefs และ<br />

ถ้าคุณอยากทราบว่าผู้ป่วยอายุมากสามารถผ่าตัดทำบายพาสได้หรือไม่ คอลัมน์Q&A มีคำตอบรอคุณอยู่<br />

และเช่นเคยครับ หากคุณผู้อ่านมีค ำแนะนำหรือคำติชมใดๆ กรุณาส่งมาที่betterhealth@bumrungrad.com<br />

เรายินดีน้อมรับด้วยความขอบคุณ<br />

4<br />

สารบัญ<br />

8<br />

Special<br />

Scoop<br />

โรงพยาบาลไทย มาตรฐานโลก<br />

Aortic Valve Stenosis<br />

TAVI อีกหนึ่งทางเลือกเพื่อการรักษา<br />

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ<br />

10 The Case<br />

เพราะความสำเร็จไม่ใช่เรื่องบังเอิญ<br />

14 Sports Medicine<br />

วิ่งระยะไกล ร่างกายต้องพร้อม<br />

18 Staying <strong>Health</strong>y<br />

สุขภาพดี เทคโนโลยีช่วยได้<br />

20 M.D. Focus<br />

รู้จักกับแพทย์บำรุงราษฎร์<br />

22 The Nutrition Experts<br />

ดูแลสุขภาพหัวใจ เริ่มง่ายๆ ที่อาหาร<br />

26 <strong>Health</strong> Briefs<br />

28 Q & A<br />

30 Bumrungrad News<br />

นิตยสาร <strong>Better</strong> <strong>Health</strong> เป็นนิตยสารรายสี่เดือนของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อแจกจ่ายเป็นการภายใน<br />

จัดทำและจัดพิมพ์โดย บริษัท เนทีฟ มีเดีย จำกัด เลขที่10/162 อาคารเดอะเทรนดี้ ชั้น 20 ห้อง 2001C ซ. สุขุมวิท 13 (แสงจันทร์) แขวงคลองเตยเหนือ<br />

เขตวัฒนา กทม. 10110 โทร. 0 2168 7624 www.nativemedia.co.th<br />

2016 ข้อเขียนและรูปภาพทุกชิ้นในนิตยสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) ห้ามพิมพ์ซ้ำหรือกระทำการใดๆ<br />

ที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) โทร. 0 2667 1000<br />

ข้อความในเนื้อที่โฆษณาของนิตยสารฉบับนี้ที่มิได้เป็นของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) ถือเป็นความเห็นส่วนตัวของ<br />

เจ้าของผลิตภัณฑ์และบริการ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ไม่มีเจตนาให้การรับรองคุณภาพสินค้า บริการ หรือข้อความที่ปรากฏแต่อย่างใด<br />

ติดต่อโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

โทรศัพท์: 0 2667 1000<br />

โทรสาร: 0 2667 2525<br />

นัดแพทย์: 0 2667 1555<br />

เว็บไซต์: www.bumrungrad.com


+++++ Aortic Valve Stenosis<br />

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ<br />

TAVI อีกหนึ่งทางเลือก<br />

เพื่อการรักษา<br />

ปัจจุบันผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบที่มี<br />

ความเสี่ยงสูงโดยเฉพาะผู้สูงอายุ สามารถกลับมา<br />

มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ด้วยทางเลือกที่มากกว่าเดิม<br />

นหัวใจ เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของ<br />

เลือดภายในหัวใจให้ไปในทิศทางเดียวไม่ให้ย้อนกลับ<br />

นั่นคือส่งเลือดดำไปฟอกยังปอดและส่งเลือดแดงไป<br />

หล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย<br />

เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ลิ้นหัวใจย่อมส่งผลต่อวงจร<br />

การไหลเวียนของเลือดซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคลิ้น<br />

หัวใจตีบถือเป็นภัยเงียบอีกโรคหนึ่ง เนื่องจากไม่แสดงอาการ<br />

จนกว่าลิ้นหัวใจจะเกิดการชำรุดเสียหายส่งผลให้มีเลือดคั่งเพิ่มสูง<br />

ในหัวใจ นำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตเฉียบพลันตามมา<br />

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ<br />

ลิ้นหัวใจของคนเรามีด้วยกัน 4 ลิ้น มีลักษณะเป็นแผ่นพังผืด<br />

แบนยื่นออกมาจากผนังของหัวใจกั้นระหว่างห้องต่างๆ ของหัวใจ<br />

และระหว่างห้องหัวใจกับหลอดเลือดแดงที่ออกจากหัวใจ<br />

“โรคที่เกี่ยวกับลิ้นหัวใจแบ่งออกได้กว้างๆ เป็น 2 แบบ<br />

คือโรคลิ้นหัวใจตีบ และโรคลิ้นหัวใจรั่ว โดยโรคลิ้นหัวใจตีบ<br />

ที่พบบ่อยมักเกิดที่ลิ้นหัวใจเอออร์ติก (aortic valve) ซึ่งกั้น<br />

4


ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายกับหลอดเลือดแดงใหญ่<br />

เอออร์ตา (aorta) มีหน้าที่ป้องกันการย้อนกลับ<br />

ของเลือดเข้ามายังหัวใจ” นพ.วัธนพล พิพัฒนนันท์<br />

อายุรแพทย์โรคหัวใจ เริ่มต้นอธิบายเกี่ยวกับโรค<br />

ของลิ้นหัวใจ<br />

ทั้งนี้ นพ.วัธนพล เปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า<br />

ลิ้นหัวใจเอออร์ติกนั้นเปรียบเหมือนกับวาล์วน้ำที่<br />

อยู่ระหว่างปั๊มน้ำกับท่อเมนที่ส่งน้ำให้กระจายออก<br />

ไปยังจุดต่างๆ เมื่อวาล์วน้ำไม่เปิดหรือเปิดได้เพียง<br />

เล็กน้อย ก็ทำให้น้ำไหลออกไม่สะดวกและเกิด<br />

คั่งค้างอยู่ภายใน ซึ่งหากซ่อมแซมไม่ได้ก็จำเป็น<br />

ต้องเปลี่ยนวาล์วใหม่<br />

การตีบของลิ้นหัวใจเอออร์ติกนั้นมีด้วยกัน<br />

3 ระดับ คือ ตีบเพียงเล็กน้อย ตีบปานกลาง และ<br />

ตีบรุนแรงคือแทบไม่เปิดเลยซึ่งเป็นระดับที่จำเป็น<br />

ต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เพราะหากไม่ทำอะไรเลยผู้ป่วย<br />

อาจเสียชีวิตได้ภายใน 2-5 ปี<br />

สาเหตุและอาการ<br />

สาเหตุการตีบของลิ้นหัวใจเอออร์ติกมักเกิด<br />

จากความเสื่อมตามธรรมชาติของร่างกาย ทำให้<br />

มีหินปูนจับที่ลิ้นหัวใจจนลิ้นหัวใจหนาขึ้นและ<br />

เปิดได้น้อยลง โรคนี้จึงพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ<br />

โดยผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยแม้เป็นการทำ<br />

กิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวัน บางรายอาจเป็น<br />

ลมหมดสติ หรือมีอาการแน่นหน้าอก เหมือนน้ำ<br />

ท่วมปอด นอนราบไม่ได้<br />

“ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการเหนื่อยซึ่งเป็นอาการ<br />

โดยรวมของโรคหัวใจ และเราจะยังไม่ทราบว่าเป็น<br />

ความเหนื่อยจากโรคหัวใจชนิดไหนจนกว่าจะได้<br />

วินิจฉัยในรายละเอียด” นพ.วัธนพล กล่าวเพิ่มเติม<br />

การวินิจฉัยโรค<br />

สามารถทำได้โดยซักประวัติผู้ป่วย ตรวจ<br />

ร่างกายทั่วไปและตรวจหัวใจโดยเฉพาะ เช่น<br />

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) และตรวจคลื่นเสียง<br />

สะท้อนหัวใจ (echocardiogram หรือ echo) เพื่อ<br />

ประเมินระดับการตีบแคบของลิ้นหัวใจ หากพบ<br />

ว่าตีบระดับ 1 กับ 2 ผู้ป่วยยังไม่จำเป็นต้อง<br />

เปลี่ยนลิ้นหัวใจ แต่ถ้าพบว่าลิ้นหัวใจเอออร์ติก<br />

ตีบรุนแรงมาก แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการ<br />

เปลี่ยนลิ้นหัวใจใหม่<br />

แนวทางการรักษา<br />

ปัจจุบัน การรักษาโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ<br />

สามารถทำได้ 2 วิธีคือ<br />

“ ถ้าทีมแพทย์พิจารณาแล้วว่า<br />

ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการ<br />

ผ่าตัดแบบเปิดหน้าอก เราจะ<br />

แนะนำวิธีการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ<br />

เอออร์ติกตีบผ่านสายสวน<br />

โดยไม่ต้องผ่าตัด (TAVI)”<br />

นพ.วัธนพล พิพัฒนนันท์<br />

5


+ การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบโดยการผ่าตัด<br />

เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษาโดยเป็นการ<br />

ผ่าตัดเปิดหน้าอกเพื่อตัดลิ้นหัวใจเก่าออกและ<br />

เย็บลิ้นหัวใจเทียมเข้าไปแทนที่<br />

+ การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบผ่านสายสวน<br />

โดยไม่ต้องผ่าตัด (Transcatheter Aortic<br />

Valve Implantation หรือ TAVI)<br />

เป็นการใส่ลิ้นหัวใจเทียมผ่านสายสวนเข้าไป<br />

ทางหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณขาหนีบ หรือ<br />

เจาะผ่านผิวหนังส่วนยอดหัวใจ เมื ่อสายสวน<br />

ไปถึงตำแหน่งของลิ้นหัวใจเอออร์ติก แพทย์<br />

จะทำการปล่อยลิ้นหัวใจที่ม้วนพับอยู่ออก<br />

จากระบบนำส่ง (delivery system) เพื่อให้<br />

กางออกกลายเป็นลิ้นหัวใจใหม่แทนของเดิม<br />

ที่เสื่อมสภาพ<br />

การผ่าตัดไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกคน<br />

แม้การผ่าตัดจะเป็นมาตรฐานในการรักษา<br />

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบที ่ให้ผลดีมาก แต่ไม่ได้<br />

หมายความว่าผู้ป่วยทุกรายจะสามารถผ่าตัดได้<br />

เนื่องจากเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องดมยาสลบ<br />

มีการใช้เครื่องปอดหัวใจเทียมและใช้เวลาในการ<br />

ผ่าตัดนาน 3-4 ชั่วโมง ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจทน<br />

กับการผ่าตัดไม่ได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอายุมาก<br />

ผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดในช่องอกมาก่อน และผู้<br />

ที่มีโรคประจำตัวหลายโรค ทำให้มีสถิติผู้ป่วย<br />

เสียชีวิตจากการผ่าตัดค่อนข้างสูง<br />

“ถ้าทีมแพทย์พิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยมีความ<br />

เสี่ยงต่อการผ่าตัดแบบเปิดหน้าอก เราจะแนะนำ<br />

วิธีการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบผ่านสายสวน<br />

โดยไม่ต้องผ่าตัด (TAVI) แทนเพื่อลดภาวะ<br />

แทรกซ้อน ซึ่งวิธีนี้ใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมงเศษและ<br />

ผู้ป่วยจะมีแผลเล็กๆ บริเวณที่เจาะผ่านเท่านั้น<br />

ทำให้ฟื้นตัวได้เร็ว ใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 5-7 วัน<br />

ก็สามารถกลับบ้านได้ ขณะที่การผ่าตัดต้องใช้<br />

เวลาพักฟื้นนาน 2-3 เดือน” นพ.วัธนพล กล่าวสรุป<br />

TAVI เหมาะกับใครบ้าง?<br />

+ ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ<br />

รุนแรง<br />

+ มีปัจจัยเสี่ยงสูงจากการผ่าตัด ซึ ่งแพทย์<br />

ผู้ให้การรักษาจะมีมาตรฐานในการประเมิน<br />

ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว<br />

ทุกความพร้อมเพื่อการดูแลผู้ป่วย<br />

การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบผ่านสายสวน<br />

(TAVI) นั้นจำเป็นต้องอาศัยความพร้อม ความ<br />

เชี่ยวชาญ และการทำงานร่วมกันของหลายฝ่าย<br />

ไม่ว่าจะเป็นอายุรแพทย์โรคหัวใจ ศัลยแพทย์<br />

โรคหัวใจ วิสัญญีแพทย์ แพทย์ผู้ทำอัลตราซาวนด์<br />

(echo) พยาบาลผู้เชี่ยวชาญหรือทีมกายภาพ<br />

บำบัด ซึ่งทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์<br />

ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้ผ่านการอบรม<br />

หัตถการดังกล่าวจากต่างประเทศมาโดยเฉพาะ<br />

เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรค ทางเลือกและขั้นตอนใน<br />

การรักษากับผู้ป่วยและญาติได้อย่างถูกต้องชัดเจน<br />

ทั้งนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ให้ความสำคัญ<br />

กับคุณภาพและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย โดย<br />

ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลจากทีมเจ้าหน้าที่นับตั้งแต่<br />

วินิจฉัยพบโรค มีการประชุมร่วมกันกับครอบครัว<br />

ทั้งก่อนและหลังการรักษา และมีการติดตามผล<br />

อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยจะได้รับการ<br />

ดูแลรักษาอย่างดีที่สุดและกลับมามีสุขภาพ<br />

แข็งแรงต่อไป<br />

+ เป็นผู้ป่วยที่คาดว่าจะมีชีวิตยืนยาวเกิน 1 ปี<br />

หรือไม่ได้อยู่ในภาวะของโรคมะเร็งระยะลุกลาม<br />

+ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด มีภาวะ<br />

หลอดเลือดแดงเอออร์ตาแข็ง หรือเคยผ่าตัด<br />

หัวใจมาก่อน<br />

+ ผู้ป่วยสูงอายุ โดยเฉพาะที่มีอายุ 80 ปีขึ ้นไป<br />

6


+++++ Special Scoop<br />

โรงพยาบาลไทย<br />

มาตรฐานโลก<br />

บำรุงราษฎร์ร่วมเป็นส่วนหนึ่ง<br />

ในการเติบโตของธุรกิจบริการด้าน<br />

สุขภาพของไทย ด้วยการสร้างระบบ<br />

แห่งความเชี่ยวชาญ สร้างคุณภาพ<br />

มาตรฐานความปลอดภัย<br />

ค<br />

วามพยายามของภาครัฐและเอกชนที่ต้องการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทาง<br />

การแพทย์ระดับโลก หรือ medical hub ในช่วงเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมากำลังก่อให้เกิด<br />

ผลสำเร็จเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีการคาดการณ์ว่าธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน<br />

ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะขยายตัวกว่าร้อยละ 10-15 และจำนวนผู้ป่วยชาวต่างชาติ<br />

ที่เดินทางเข้ามารักษาตัวในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี*<br />

อะไรคือปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจบริการด้านสุขภาพของไทยเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วง 10-15 ปีมานี้?<br />

นพ.นำ ตันธุวนิตย์ ผู้อำนวยการด้านบริหารของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้ให้คำตอบไว้ในรายการ<br />

Business Watch ทางสถานีข่าว TNN24 เมื่อปลายปี 2558 ที่ผ่านมา ซึ่ง <strong>Better</strong> <strong>Health</strong> สรุปใจความ<br />

สำคัญมาฝากกันในฉบับนี้<br />

TNN24 : ปัจจุบันภาพรวมธุรกิจโรงพยาบาลในประเทศเป็นอย่างไร<br />

นพ.นำ: ก่อนอื่นต้องเรียนให้ทราบว่าประเทศไทยมีมาตรฐานการรักษาและการให้บริการทาง<br />

การแพทย์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากนะครับ ทั้งนี้สาเหตุหลักก็เพราะว่าระบบสาธารณสุขของเรานั้น<br />

ได้รับการวางรากฐานอย่างเป็นระบบมาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

รัชกาลที่ 5 แล้วก็ได้รับการพัฒนามาโดยตลอด ทำให้ทุกวันนี้คนไทยโชคดีมากที่สามารถเข้าถึงบริการ<br />

ทางการแพทย์คุณภาพสูงได้อย่างทั่วถึง และการที่เรามีแพทย์ที่มีความสามารถ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย<br />

8<br />

และราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับระดับมาตรฐาน<br />

การรักษาเดียวกันก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ต่างชาติ<br />

สนใจเข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้นทุกปี<br />

โดยเฉพาะในช่วงหลังมานี้ การปรับปรุง<br />

การขยับขยายพื้นที่ให้บริการใหม่ๆ ไม่ได้มีเฉพาะ<br />

ในภาคเอกชนเท่านั้น โรงพยาบาลของรัฐหลายๆ<br />

แห่งก็กำหนดกลยุทธ์ไปในทิศทางเดียวกัน<br />

ทำให้ผู้ป่วยชาวไทยและชาวต่างชาติที่กำลัง<br />

มองหาการรักษาที่มีคุณภาพสูงในสิ่งแวดล้อม<br />

และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยมีตัวเลือก<br />

มากขึ้นกว่าเดิม<br />

สำหรับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เอง ปัจจุบัน<br />

เรามีผู้มาใช้บริการมากกว่าปีละ 1,100,000 คน<br />

จาก 190 ประเทศทั่วโลก โดยมีสัดส่วนของผู้ป่วย<br />

ชาวไทยและชาวต่างชาติอยู่ที่ 50:50 ซึ่งผู้ป่วย<br />

ชาวต่างชาติส่วนใหญ่ก็มาจากประเทศเพื่อนบ้าน<br />

ของเรานี่เอง<br />

* ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย


“ สิ ่งที่ทำให้คนทั่วโลกมีความ<br />

มั่นใจเมื่อนึกถึงบำรุงราษฎร์<br />

ก็คือ บริการทางการแพทย์<br />

ที่มีมาตรฐานสูงสุดด้านความ<br />

ปลอดภัยและคุณภาพของ<br />

การบริการ”<br />

นพ.นำ ตันธุวนิตย์<br />

TNN24 : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีจุดเด่น<br />

และกลยุทธ์อย่างไรในการแข่งขันในธุรกิจนี้<br />

นพ.นำ: ประการแรกเลยคือความเชี่ยวชาญ<br />

ในการรักษา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีแพทย์<br />

ผู้เชี่ยวชาญกว่า 1,200 คนครอบคลุมศาสตร์<br />

การรักษาเฉพาะทางมากกว่า 55 สาขา มีศูนย์<br />

แพทย์เฉพาะทางกว่า 30 ศูนย์ที่มีความชำนาญ<br />

ในการรักษาโดยเฉพาะกรณีอาการของผู้ป่วยมี<br />

ความซับซ้อน ยิ่งการที่เรามีผู ้มารับบริการจากทั่ว<br />

ทุกมุมโลก ก็ยิ่งทำให้แพทย์ของเรามีประสบการณ์<br />

ในการรักษามากยิ่งขึ้น<br />

ถัดมาคือการทำงานร่วมกันเป็นทีม นั่นคือ<br />

ในการดูแลผู้ป่วยรายหนึ่งๆ แพทย์ทุกสาขาที่<br />

เกี่ยวข้องและบุคลากรในสายงานอื ่นๆ เช่น<br />

เภสัชกร โภชนากร นักกายภาพบำบัด และ<br />

พยาบาล จะวางแผนร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อให้<br />

การรักษาครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด<br />

นอกจากนี้ สิ่งที่ทำให้คนทั่วโลกมีความมั่นใจ<br />

เมื่อนึกถึงบำรุงราษฎร์ก็คือ บริการทางการแพทย์<br />

ที่มีมาตรฐานสูงสุดด้านความปลอดภัยและ<br />

คุณภาพของการบริการ โดยบำรุงราษฎร์เป็น<br />

โรงพยาบาลแห่งแรกในเอเชียที่ได้รับการรับรอง<br />

คุณภาพโรงพยาบาลระดับสากล (Joint Commission<br />

International - JCI) ตามมาตรฐาน<br />

การรับรองของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี2546 และได้<br />

รับการต่ออายุใบรับรองมาตรฐานทุกๆ 3 ปี<br />

จากกรณีที่โรงพยาบาลได้มีส่วนช่วยเหลือในการ<br />

ยับยั้งการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อระหว่าง<br />

ประเทศคือ โรคเมอร์ส ในช่วงกลางปีที่ผ่านมา<br />

น่าจะเป็นสิ ่งยืนยันมาตรฐานและความใส่ใจของ<br />

โรงพยาบาลได้เป็นอย่างดี<br />

สุดท้ายคือการให้บริการอย่างเอื้ออาทรของ<br />

คนไทยที่สร้างความประทับใจให้ผู้ป่วย ซึ่ง 2<br />

ประการหลังนี้เป็นเรื่องที ่น่าภูมิใจเพราะปัจจุบัน<br />

โรงพยาบาลในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจาก<br />

JCI นั้นมีมากกว่า 50 แห่งรวมถึงโรงพยาบาล<br />

รัฐด้วย แสดงว่ามาตรฐานโดยรวมของโรงพยาบาล<br />

บ้านเราถูกยกระดับให้สูงขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเมื่อ<br />

มองจากภาพรวมอุตสาหกรรมทั้งประเทศ<br />

นอกจากนี้จิตใจที่รักในการให้บริการก็ช่วยให้<br />

โรงพยาบาลของไทยได้เปรียบโรงพยาบาลใน<br />

ประเทศอื่นๆ ที่ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางทางการ<br />

แพทย์เหมือนกัน<br />

TNN24 : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้เปิดตัว<br />

หนังโฆษณาชุดใหม่ มีชื่อว่า “The Collaboration<br />

of Expertise” ทำไมจึงเลือกแคมเปญนี้ และ<br />

จุดเด่นของแคมเปญเป็นอย่างไร<br />

นพ.นำ: ภาพยนตร์โฆษณาชุด The Collaboration<br />

of Expertise เป็นการสื่อให้เห็นถึง<br />

วัฒนธรรมองค์กรและคุณค่าที่โรงพยาบาลยึดถือ<br />

และปลูกฝังมาตลอด 35 ปี นั่นคือ การยึดเอา<br />

ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เพื่อมอบบริการทางการ<br />

แพทย์ที่ดีที่สุด โดยการผสมผสานระหว่างความ<br />

เชี่ยวชาญในการรักษา การทำงานร่วมกันอย่าง<br />

เป็นระบบ เทคโนโลยีอันทันสมัยและให้บริการ<br />

ด้วยใจ<br />

ผมอยากเน้นเพิ่มเติมในส่วนของเทคโนโลยี<br />

ทางการแพทย์ เนื่องจากเราให้ความสำคัญอย่าง<br />

มากกับการเลือกสรรเทคโนโลยีล่าสุดและดีที่สุด<br />

เข้ามาให้บริการผู้ป่วย บำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาล<br />

เอกชนแห่งแรกในประเทศไทยที่มีศูนย์ฝึกทักษะ<br />

การดูแลผู้ป่วยด้วยสถานการณ์เสมือนจริง<br />

(Simulation Training Center) มีการนำหุ่นผู้ป่วย<br />

จำลองมาใช้ฝึกอบรมบุคลากรผ่านสถานการณ์<br />

ต่างๆ ที่มีมากกว่า 60 สถานการณ์ โดยมีอาจารย์<br />

แพทย์เป็นผู้ควบคุมโปรแกรมคอมพิวเตอร์<br />

เพื่อให้บุคลากรของเรามีความชำนาญในการดูแล<br />

ผู้ป่วยและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ<br />

และปลอดภัยในทุกขั้นตอน<br />

นอกจากนี้เรายังเป็น 1 ใน 5 โรงพยาบาล<br />

ทั่วโลกและเป็นโรงพยาบาลเดียวนอกสหรัฐ<br />

อเมริกาที่นำระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูล<br />

อัจฉริยะวัตสันเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง หรือ IBM Watson<br />

for Oncology มาใช้ในการวางแผนการรักษา<br />

ผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยไอบีเอ็มวัตสันเปรียบได้กับ<br />

สมองกลอัจฉริยะที่ได้รับการพัฒนาฝึกฝนโดย<br />

ศูนย์มะเร็งชั้นนำของโลก Memorial Sloan-<br />

Kettering (MSK) เพื่อทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูล<br />

จำนวนมหาศาลและนำเสนอข้อสรุปเป็นแนวทาง<br />

ที่สอดคล้องกับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่ง<br />

เทคโนโลยีที่จะมีบทบาทต่อการแพทย์ในอนาคต<br />

TNN24 : แนวโน้มในอนาคตของธุรกิจนี้จะ<br />

เป็นในทิศทางไหน<br />

นพ.นำ: สำหรับธุรกิจโรงพยาบาล ผมเชื ่อ<br />

ว่าการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นตลาดที่มีแนวโน้ม<br />

สดใสและยังคงมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า<br />

สภาพการแข่งขันทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นแต่ประเทศไทย<br />

ก็มีความได้เปรียบในการแข่งขันหลายๆ ประการ<br />

อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว ส่วนแผนการดำเนินงาน<br />

ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์จากนี้ไป เรามีแผน<br />

ที่จะเพิ่มห้องตรวจและเตียงผู้ป่วยเพื่อให้เพียงพอ<br />

กับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นทั้งชาวไทยและ<br />

ชาวต่างประเทศ รวมทั้งเพิ่มความเข้มข้นในการ<br />

สรรหาแพทย์ไทยที่มีความเชี่ยวชาญในสาขา<br />

ต่างๆ จากต่างประเทศให้กลับมารักษาผู้ป่วย<br />

ในประเทศไทย<br />

นอกจากนี้ จะมีการนำเอาเทคโนโลยีทางการ<br />

แพทย์ใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มเติม เช่น หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด<br />

ต่อมลูกหมาก ผ่าตัดไต และเครื่องมือช่วยวินิจฉัย<br />

และรักษาโรคหลอดเลือดสมองที่มีประสิทธิภาพ<br />

มากขึ้น เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากแนวคิด<br />

ที่ยึดเอาผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางทั้งสิ้น<br />

9


+++++ The Case<br />

เพราะความสำเร็จ<br />

ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ<br />

เนติพงศ์ ศรีทอง<br />

เลือกในสิ่งที่ดีที ่สุด<br />

จ<br />

ากเด็กชายวัย 6 ขวบที่จับไม้กอล์ฟครั้งแรกเมื่อตามคุณพ่อไปสนามกอล์ฟ<br />

คุณเจมส์-เนติพงศ์ ศรีทอง เริ่มจริงจังกับการเล่นกอล์ฟเมื่ออายุได้ 12 ปี และติด<br />

ทีมชาติชุดใหญ่เมื่ออายุเพียง 17 ปี<br />

พรสวรรค์และความมุ่งมั่นทำให้เขาทำผลงานได้ดีมาโดยตลอด เมื่อติดทีมชาติเขายิ่งทุ่มเท<br />

ฝึกซ้อมอย่างหนักและเริ่มฝันไกลไปถึงการเล่นอาชีพ<br />

ก่อนการแข่งขันซีเกมส์ที่ประเทศพม่าเพียง 8 เดือน คุณเจมส์ประสบอุบัติเหตุลื่นล้ม<br />

ข้อศอกกระแทกพื้นอย่างแรงจนกระดูกแขนแตกออกเป็นหลายชิ้น เขาบอกว่า “เหมือนความ<br />

ฝันพังทลายลงไปตรงหน้า”<br />

กอล์ฟคือชีวิต<br />

“คุณพ่อผมเป็นผู้พิพากษาและชอบเล่นกอล์ฟ ผมก็ตามพ่อไปเล่นด้วย แรกๆ ก็เล่นสนุกๆ<br />

แล้วก็ลองลงแข่งดูเพราะมันสนุกและได้เจอเพื่อน พอเล่นดีขึ้นก็แข่งเยอะขึ้น จนติดทีมชาติ<br />

ตอนอยู่ชั้น ม.5 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย<br />

ช่วงนั้นฝึกซ้อมหนักมาก แทบไม่ได้เรียนเลยเพราะมีเก็บตัวทุกเดือน เราตื่นมาวิ่งตอน<br />

เจ็ดโมงเช้าแล้วก็ซ้อมไดร์ฟต่อจนเย็นเพื่อเตรียมลงแข่งซีเกมส์ที่อินโดนีเซีย” คุณเจมส์เล่า<br />

ชีวิตนักกีฬากอล์ฟทีมชาติดูจะดำเนินไปอย่างราบรื่น คุณเจมส์ฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่อง<br />

แม้จะเริ่มเข้าเรียนที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้วก็ตาม “ตอนนั้นผมฝัน<br />

อยากประสบความสำเร็จในอาชีพนักกอล์ฟ อยากเล่นในยูโรเปี้ยนทัวร์เหมือนกับโปรธงชัย ใจดี<br />

และพี่อาร์ม-กิรเดช อภิบาลรัตน์ เพราะพี่เขาก็เริ่มจากเล่นทีมชาติก่อนจะไปเล่นอาชีพ”<br />

เมื่อความฝันสะดุด “จะหยุด” หรือ “ไปต่อ”<br />

ปลายปี 2556 คุณเจมส์มีกำหนดลงแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 27 ที่ประเทศพม่า แต่ในเดือน<br />

เมษายนปีเดียวกันนั้นเอง เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น<br />

“ผมไปทำบุญที่นครศรีธรรมราชกับที่บ้านแล้วคงเป็นเพราะเดินไม่ระวังเลยหกล้มตรง<br />

พื้นต่างระดับซึ่งค่อนข้างลื่น ข้อศอกกระแทกพื้นอย่างแรง ตอนแรกรู้สึกชา ขยับไม่ได้แต่<br />

10


ไม่แน่ใจว่าหักหรือเปล่า คุณพ่อมาช่วยพยุงขึ้น<br />

พาไปโรงพยาบาลในตัวจังหวัดก่อนถึงรู้ว่าหักแน่<br />

แต่ก็ยังไม่ได้ผ่า เพราะเคสผมเป็นนักกีฬาที่ต้อง<br />

ใช้แขนจึงค่อนข้าง sensitive<br />

พอดีเพื่อนคุณพ่อซึ่งเป็นหมอแนะนำให้มา<br />

ผ่าตัดที่บ ำรุงราษฎร์ ผมล้มตอนประมาณสิบโมงเช้า<br />

กว่าจะขึ้นเครื่องมาถึงกรุงเทพฯ แต่พอถึงโรง<br />

พยาบาลก็ได้ผ่าเลย ตอนนั้นประมาณสี่ทุ่ม<br />

ความรู้สึกแรกตอนที ่ล้มคือกลัวไม่ได้ซ้อม<br />

การบาดเจ็บทำให้เราเสียเวลา และคุณหมอได้<br />

แจ้งความเสี่ยงที่อาจเกิดขื้นได้ภายหลังการผ่าตัด<br />

แล้วว่า ถ้าผ่าแล้วขยับมือไม่ได้เหมือนปกติก็อาจ<br />

จะเล่นกอล์ฟไม่ได้ดีเท่าเดิม ความหวังจะกลับไป<br />

เล่นทีมชาติ และอนาคตอยากไปเล่นเป็นนักกอล์ฟ<br />

อาชีพก็จะพังทลายลง ฟังแล้วก็เสียใจเพราะ<br />

ตอนนั้นยังขยับมือได้ลำบาก เนื่องจากปวดและตึง<br />

แผลมาก จน 1 เดือนหลังจากผ่าตัด จึงเริ่มขยับ<br />

มือข้างที่หักได้ใกล้เคียงปกติ”<br />

ล้มได้ ก็ต้องลุกขึ้นได้<br />

หลังออกจากโรงพยาบาล คุณเจมส์ต้องกลับไป<br />

หาคุณหมอเพื่อทำกายภาพบำบัดสัปดาห์ละครั้ง<br />

โดยดัดช่วงหัวไหล่กับศอกไม่ให้ติด “เจ็บมากแต่<br />

ก็ต้องทน ตอนนั้นผมคิดอย่างเดียวว่าต้องอดทน<br />

และผ่านมันไปให้ได้ ผมต้องหายไม่ใช่แค่เพื่อ<br />

ตัวเองแต่เพื่อสร้างความภูมิใจให้ครอบครัวและ<br />

คนไทยทั้งประเทศ ผมมีแมทช์ซีเกมส์ที่พม่ารออยู่<br />

และเป็นตัวจริงหนึ่งในสี่คน ถ้าผมเจ็บก็เหมือน<br />

ขาดกำลังสำคัญของทีมไป”<br />

สองเดือนหลังผ่าตัด คุณเจมส์เริ่มซ้อมกอล์ฟ<br />

ด้วยมือขวามือเดียว ซ้อมพัทใกล้ๆ รวมทั้ง<br />

เริ่มออกกำลังเท่าที ่ออกได้ก่อน จากนั้นก็เริ่ม<br />

ซ้อมมากขึ้นและนานขึ้น ภายใต้การดูแลและให้<br />

กำลังใจของครอบครัว โค้ช และเพื่อนๆ<br />

“แล้วก็ให้กำลังใจตัวเองด้วยเพราะทุกครั้งที่ไป<br />

ทำกายภาพผมก็เจ็บทุกครั้ง แต่ไม่เคยท้อ ไม่มี<br />

แม้แต่วินาทีเดียว ช่วงนั้นมีแขนบวมด้วย คุณหมอ<br />

จะให้กำมือตลอดเพื่อให้เลือดไหลเวียน ก็คือทำ<br />

ทุกอย่างตามที่หมอแนะนำ ไม่เคยคิดถอดใจเลย”<br />

เดือนธันวาคม ปี 2556 คุณเจมส์เริ่มลงแข่ง<br />

ครั้งแรกหลังผ่าตัดโดยที่ยังมีเหล็กดามกระดูก<br />

อยู่ข้างในแขน เริ่มจากโนมูระคัพ ซีเกมส์ แล้ว<br />

12<br />

ไม่ใช่แค่หาย<br />

แต่ต้องกลับมาเล่นได้100%<br />

ก<br />

ารรักษา คุณเนติพงศ์ ศรีทอง อาจไม่ใช่<br />

แค่การรักษาคนๆ หนึ่งให้หาย แต่ยัง<br />

เป็นการคืนนักกอล์ฟฝีมือดีที่สามารถสร้าง<br />

คุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้อีกด้วย<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong> มีรายละเอียดการรักษาจาก<br />

ดร.นพ.วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ<br />

ด้านศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ มาฝากกัน<br />

กรณีของคุณเจมส์เป็นการบาดเจ็บแบบไหน?<br />

คุณเจมส์มาด้วยอาการแขนหักแบบที่เรียกว่า<br />

comminuted distal one third of shaft<br />

humerus fractures คือกระดูกหักแบบหลายชิ้น<br />

ตั้งแต่เหนือศอกขึ้นมา ซึ่งประเด็นที่น่าเป็น<br />

ห่วงคือเรื่องเส้นประสาทบริเวณที่หัก เพราะ<br />

ตามด้วยเอเชียนเกมส์ที่ประเทศเกาหลีใต้ กระทั่ง<br />

ปลายปี 2557 เขาเข้ารับการผ่าตัดที่บำรุงราษฎร์<br />

อีกครั้งเพื่อเอาเหล็กออกจากแขน คุณเจมส์บอกว่า<br />

ครั้งนี้กลัวกว่าครั้งแรกเพราะรู้แล้วว่าถ้าผ่าแล้ว<br />

ขยับแขนไม่ได้ก็เล่นกอล์ฟไม่ได้ แต่ทุกอย่างก็<br />

ผ่านไปได้ด้วยดี<br />

“ผมมีเวลา 6 เดือนหลังจากผ่าเอาเหล็กออก<br />

เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมในการลงแข่งซีเกมส์ที่<br />

สิงค์โปร์ซึ่งผมหวังเหรียญทองประเภทบุคคลไว้<br />

มากเพราะผิดหวังมาสองครั้งแล้ว ตั้งใจด้วยว่า<br />

ถ้าพลาดไปโดนขึ้นมาจะอันตรายมาก อาจ<br />

ต้องใช้เวลาฟื้นตัวเป็นปีหรือโชคร้ายที่สุดคือ<br />

กระดกข้อมือและนิ้วมือไม่ได้ไปตลอดชีวิต<br />

ถือเป็นเคสที่กดดันหรือไม่เพราะผู้ป่วยเป็น<br />

นักกีฬา?<br />

ไม่กดดันมากนัก แต่กังวลบ้างเพราะทราบ<br />

มาว่าคุณเจมส์กำลังจะไปแข่งซีเกมส์ และ<br />

เขาต้องการจะเล่นกอล์ฟอาชีพ ฉะนั้นเรา<br />

ไม่ได้รักษาเพียงแค่ให้เขากลับมาเหมือนเดิม<br />

แต่ต้องให้กลับมาเหมือนเดิมให้เร็วที่สุดและ<br />

คงสภาพของนักกอล์ฟอาชีพด้วย ก็จะกังวล<br />

นิดหน่อยในแง่ว่าจะกลับมาเล่นกอล์ฟได้เร็ว<br />

ที่สุดเมื่อไหร่ และจะเล่นได้ดีไหม แต่ผมและ<br />

ทีมโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ก็พยายามทำ<br />

เต็มที่ครับ<br />

ผลการรักษาเป็นอย่างไรบ้าง?<br />

ถือว่าน่าพอใจ เพราะผู้ป่วยมีวินัยในการดูแล<br />

ตัวเองทำให้ฟื้นตัวเร็ว หลังผ่า 2-3 เดือนเขาก็<br />

กลับไปซ้อมได้ โดยเราจัดโปรแกรมกายภาพ<br />

บำบัดเพื่อกระตุ้นให้ออกกำลังให้เร็วที่สุด<br />

วันนี้เขาแข็งแรง 100% แล้ว<br />

หลังจากนี้ก็จะผันตัวไปเล่นอาชีพเสียที และก็<br />

ทำได้จริงๆ ถือเป็นเหรียญรางวัลที่ผมภูมิใจมาก<br />

ที่สุดในชีวิต”<br />

ปัจจุบัน คุณเนติพงศ์ ศรีทอง เป็นนักกอล์ฟ<br />

อาชีพในวัยเพียง 22 ปี เขาชนะเลิศการแข่งขัน<br />

รายการ Resorts World Manila Masters และ<br />

กำลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการลงแข่งในแถบ<br />

เอเชียเพื่อก้าวไปสู่ทัวร์นาเม้นท์ระดับโลก เพราะ<br />

เมื่อเลือกและมุ่งมั่นแล้วว่าจะ “ไปต่อ” ที่เหลือก็แค่<br />

รอวันแห่งความสำเร็จ


+++++ Sports Medicine<br />

วิ่งระยะไกล<br />

ร่างกายต้องพร้อม<br />

“ ในทางทฤษฎี อย่างน้อยที่สุด<br />

หนึ่งสัปดาห์ก่อนการแข่งขัน<br />

นักวิ ่งควรซ้อมจนได้ระยะทาง<br />

ที่ต้องการ มีความพร้อม<br />

และมั ่นใจเต็มที่”<br />

14<br />

พญ.มณฑินี แสงเทียน<br />

กระแสของการวิ่งออกกำลังกายยังคง<br />

ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและ<br />

ดูเหมือนจะยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ละเดือน<br />

มีรายการวิ่งมากมายให้คนรักการวิ่งได้เลือก<br />

เข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็นการเดิน-วิ่งระยะสั้น หรือ<br />

ที่มักเรียกกันว่า Fun Run ซึ่งส่วนใหญ่จะมีระยะ<br />

ทางประมาณ 2-3 กิโลเมตร, 5 กิโลเมตร, มินิ<br />

มาราธอน (10.5 กิโลเมตร), ฮาล์ฟมาราธอน<br />

(21 กิโลเมตร) หรือการวิ่งมาราธอน ซึ่งเป็นระยะ<br />

มาตรฐานที่ใช้ในการแข่งขันระดับนานาชาติ<br />

มีระยะทางอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 42.195 กิโลเมตร<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ฉบับนี้พูดคุยกับ พญ.มณฑินี<br />

แสงเทียน แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉิน<br />

(Emergency Medicine, EMS and Disaster<br />

Medicine Fellowship Certification) ซึ่งมี<br />

ประสบการณ์ในการจัดแข่งขันมาราธอนและ<br />

ไตรกีฬาระดับมาตรฐานในประเทศสหรัฐอเมริกา<br />

ถึงการเตรียมความพร้อมในการลงวิ่งระยะทางไกล<br />

สำหรับนักวิ่งทั่วไปที่ต้องการความท้าทาย<br />

มากกว่าเดิม<br />

ทำไมต้อง “มาราธอน”<br />

นักวิ่งส่วนใหญ่เมื่อวิ่งมานานและวิ่งได้ระยะ<br />

ทางพอสมควร การเข้าร่วมรายการวิ่งระยะทาง<br />

ไกลคือการก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเองที่หลาย<br />

คนอยากลองให้รู้ แต่การออกกำลังกายประเภทนี้<br />

ไม่ได้เหมาะกับทุกคน<br />

“การวิ่งมาราธอนจัดเป็นประเภทหนึ่งของ<br />

Endurance Sports ซึ่งเป็นกีฬาที่ต้องอาศัย<br />

ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ<br />

รวมถึงระบบหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากมี<br />

การเคลื่อนไหวในลักษณะเดิมๆ ซ้ำๆ เป็นระยะ<br />

เวลานาน มีความต้องการในการใช้พลังงาน<br />

อย่างมากและต่อเนื่อง ซึ่งแตกต่างจากการวิ่งทั่วไป<br />

หรือการวิ่งด้วยอัตราเร่ง (sprinter) จึงเหมาะ<br />

สำหรับนักกีฬาหรือนักวิ่งที่มีการเตรียมตัวมา<br />

โดยเฉพาะเท่านั้น” พญ.มณฑินี อธิบาย<br />

ดังนั้น ผู้ที่ต้องการเข้าร่วมรายการวิ่งระยะไกล<br />

ควรประเมินศักยภาพร่างกายของตัวเองเสียก่อน<br />

ว่ามีความพร้อมมากน้อยเพียงใด “บางคน<br />

ประมาทกับการวิ่งเพราะคิดว่าถ้าวิ่งต่อไม่ไหวก็หยุด<br />

หรือน่าจะฝืนร่างกายได้ ไม่เหมือนกับการว่ายน้ำ<br />

ที่คนส่วนใหญ่จะไม่กล้าถ้าไม่มั่นใจจริงๆ ว่าจะว่าย<br />

ได้จนถึงเส้นชัย แต่ความจริงคือถ้าร่างกายไม่พร้อม<br />

เตรียมตัวมาไม่ดีพอ การวิ่งที่เกินศักยภาพก็มี<br />

อันตรายไม่ต่างกับการว่ายน้ำ เพราะเราอาจจะไป<br />

ไม่ถึงจุดที่คิดว่าเหนื่อยหรือไม่ไหว ซึ ่งทำให้เสี่ยง<br />

กับอาการหัวใจวายได้”<br />

เตรียมพร้อมก่อนออกสตาร์ท<br />

โดยทั่วไปแพทย์จะแนะนำให้ตรวจสุขภาพ<br />

ประจำปี ซึ่งหลายคนอาจไม่ค่อยได้ตรวจอย่าง<br />

สม่ำเสมอ แต่อย่างน้อยเมื่อตั้งเป้าจะลงวิ่งไม่ว่าจะ<br />

เป็นระยะใด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย<br />

และขอคำแนะนำเฉพาะเสียก่อนเพื่อให้แน่ใจ<br />

ว่าไม่มีโรคประจำตัวหรือสาเหตุอื่นที่อาจเป็น<br />

อุปสรรคต่อการวิ่ง เช่น โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ<br />

ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หอบหืด โรคหัวใจ<br />

โดยเฉพาะหัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ<br />

และโรคกล้ามเนื้อหัวใจโต


่<br />

ต้องใช้เวลาเตรียมตัวนานเท่าไร<br />

หากตรวจร่างกายแล้วไม่มีข้อห้าม พญ.มณฑินีแนะนำให้เริ่มต้นด้วยการประเมินตนเองว่าเป็นนักวิ่ง<br />

ระดับใด โดยปกติจะแบ่งออกเป็นระดับ Beginner, Intermediate, Advanced และ Competitive<br />

ต่ำกว่า Beginner?<br />

สำหรับผู้เริ่มต้นควรตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้<br />

ของตนเองเสียก่อนและค่อยเป็นค่อยไป เช่น หาก<br />

ไม่เคยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้เริ่มต้นด้วย<br />

การเดินหรือเดินสลับวิ่งประมาณ 30 นาทีต่อวัน<br />

3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ หากทำได้อย่างต่อเนื่องจึง<br />

ขยับเป้าหมายเป็นการวิ่งระยะสั้น เช่น Fun Run<br />

ซึ่งโดยทั่วไปมักใช้เวลาเตรียมตัวประมาณ 2-3<br />

เดือน โดยมีหลักการคือ ให้ค่อยๆ เพิ่มระยะเวลา<br />

วิ่งและระยะทางทีละน้อย<br />

ในทางทฤษฎี อย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ก่อนการ<br />

แข่งขัน นักวิ่งควรซ้อมวิ่งให้ได้ระยะทางที่ต้องการ<br />

มีความมั่นใจและมีความพร้อมในการลงแข่งขัน<br />

การเตรียมตัวไม่ดีพอจะเพิ่มความเสี่ยงและเป็น<br />

อันตราย นอกจากนี้ควรฝึกซ้อมในสภาวะที<br />

ใกล้เคียงกับสภาพอากาศ ความชื้น ระยะทาง<br />

และเส้นทางจริงให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อให้<br />

ร่างกายปรับตัว<br />

สำหรับผู้ที่อยากลงแข่งมาราธอน ควรปรึกษา<br />

แพทย์และเทรนเนอร์เพื่อให้คำแนะนำในการ<br />

ออกกำลังกาย อาหาร การชดเชยน้ำแบบ sweating<br />

rate (ปริมาณเหงื่อที่เสียไปในการออกกำลังกาย<br />

1 ชั่วโมง) และเทคนิคจำเพาะต่างๆ เพื่อความ<br />

ปลอดภัยและเพื่อให้ได้การวิ่งที่มีประสิทธิภาพ<br />

สูงสุด<br />

นอกจากนี้ ยังมีข้อควรปฏิบัติและคำแนะนำ<br />

สำหรับนักวิ่ง ดังนี้<br />

+ เลือกรายการวิ่งที่มีมาตรฐานในการจัดการ<br />

มีการวางแผนอย่างรอบคอบและเป็นระบบ<br />

ไม่ว่าจะเป็นระยะทางที่แม่นยำ สภาพของ<br />

เส้นทาง สิ่งอำนวยความสะดวก และความ<br />

16<br />

วิ่งอย่างสม่ำเสมอ<br />

3-5 วันต่อสัปดาห์<br />

ระยะวิ่งรวมต่อสัปดาห์<br />

(กิโลเมตรต่อสัปดาห์)<br />

ระยะเวลาโดยประมาณ<br />

ที่ใช้ในการเตรียมตัว<br />

เพื่อลงแข่งมาราธอน<br />

Beginner P 25 1 ปี<br />

Intermediate P 32 6 เดือน<br />

Advanced P 64 4 เดือน<br />

Competitive P มากกว่า 80 4 เดือน<br />

ปลอดภัย เช่น มีจุดปฐมพยาบาลพร้อม<br />

บุคลากรทางการแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์<br />

ที่จำเป็นและเข้าถึงได้ง่าย เช่น เครื่องกระตุก<br />

หัวใจไฟฟ้าแบบอัตโนมัติหรือ AED (automated<br />

electrical defibrillator) เป็นต้น<br />

+ ไม่ควรวิ่งกลางแจ้งในช่วงเวลาที่อากาศร้อน<br />

มากกว่า 35 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง<br />

เมื่ออากาศร้อนอบอ้าวและมีความชื้นสัมพัทธ์สูง<br />

+ เลือกรองเท้าสำหรับวิ่งโดยเฉพาะ ให้เหมาะกับ<br />

รูปเท้า ฝ่าเท้า และสามารถรองรับแรงกระแทก<br />

ได้ดี รวมถึงเหมาะกับเส้นทางและพื้นผิวที่จะวิ่ง<br />

ไม่ควรใส่รองเท้าคู่ใหม่ที่ไม่คุ้นเคยเป็นครั้งแรก<br />

ในการแข่งขัน<br />

+ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมง<br />

ก่อนการวิ่ง<br />

+ ควรมีการอบอุ่นร่างกายและยืดเหยียดกล้ามเนื้อ<br />

ก่อนการวิ่งทุกครั้ง<br />

+ รับประทานอาหารล่วงหน้า 1-2 ชั่วโมงก่อนวิ่ง<br />

ในกรณีที่เป็นการวิ่งระยะไกลนานเกิน 2 ชั่วโมง<br />

ควรรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มี<br />

คาร์โบไฮเดรตประมาณ 1 กรัม/กิโลกรัม/ชั่วโมง<br />

อาจเลือกเป็นชนิดน้ำ เจล หรือ energy bar<br />

สำหรับนักกีฬา เพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย<br />

ในระหว่างวิ่ง<br />

+ ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันการขาดน้ำ แต่ก็<br />

ไม่ควรดื่มมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้ระดับ<br />

เกลือแร่ในร่างกายต่ำผิดปกติและเกิดอาการ<br />

สมองบวมตามมาได้ โดยทั่วไปควรดื่มเพียงแค่<br />

ให้พอหายหิวน้ำ อาจดื่มเป็นน้ำสลับกับน้ำ<br />

เกลือแร่ครั้งละประมาณ 120-180 มิลลิลิตร<br />

ทุก 15-20 นาที<br />

+ การออกกำลังกายประเภท endurance อย่าง<br />

ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานมีผลทำให้เกิดการ<br />

เปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งอาจเสี่ยง<br />

ต่อการเกิดโรคของหัวใจบางอย่าง ดังนั้นแม้<br />

เป็นนักวิ่งที่มีประสบการณ์แล้วก็ควรเข้ารับ<br />

การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ<br />

เดินหรือวิ่งก็ดีทั้งนั้น<br />

สำหรับผู้ที่ยังไม่พร้อมหรือมีปัญหาสุขภาพที่<br />

เป็นอุปสรรคต่อการวิ่ง จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน<br />

Journal of the American College of Cardiology<br />

ในปี 2557 พบว่า การออกกำลังกายแม้เพียงแค่<br />

10 นาทีต่อวันก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยยืด<br />

อายุให้ยืนยาวมากขึ้นได้ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้<br />

ออกกำลังกายเลย<br />

“แม้จะเป็นการเดินก็ได้ประโยชน์ เพราะหัวใจ<br />

ของการออกกำลังกายที่ดี คือ การออกกำลังแบบ<br />

ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็วๆ (brisk<br />

walking) หรือวิ่งเหยาะๆ วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ<br />

3 วัน ให้ผลดีต่อสุขภาพมากกว่าการวิ่งหนักเต็มที่<br />

เพียงเดือนละครั้ง ฉะนั้นการออกกำลังกายไม่จำเป็น<br />

ต้องหักโหม แต่ควรเลือกให้เหมาะกับสภาพร่างกาย”<br />

พญ.มณฑินี กล่าวทิ้งท้าย<br />

น<br />

“วิ่ง” แล้วดีอย่างไร<br />

สะดวกและประหยัดแล้ว อกจากจะเป็นการออกกำลังกายที่<br />

การวิ่งยังมี<br />

ประโยชน์มากมาย เช่น<br />

+ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ<br />

หลายๆ ส่วน ตั้งแต่แขน ขา ไปจนถึง<br />

กล้ามเนื้อหัวใจ<br />

+ ช่วยให้กระดูกแข็งแรงเนื่องจากเป็นการ<br />

ออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก (weightbearing)<br />

+ ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด และ<br />

ควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย<br />

+ ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือด<br />

หัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง<br />

+ ช่วยเผาผลาญพลังงานและควบคุมน้ำหนัก


p17 Ad Blackmores


+++++ Staying <strong>Health</strong>y<br />

สุขภาพดี<br />

เทคโนโลยีช่วยได้<br />

ถ้าคุณคิดว่าการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี<br />

เป็นเรื่องยาก <strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ฉบับนี้<br />

มีตัวช่วยดีๆ อย่างเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ<br />

มาแนะนำ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะช่วยให้คุณ<br />

มีสุขภาพดีขึ้นอย่างง่ายๆ ได้อย่างไร<br />

ลองมาดูกัน<br />

2<br />

1<br />

Smart scale<br />

เครื่องชั่งน้ำหนักอัจฉริยะที่บันทึกน้ำหนักและไขมันในร่างกายได้<br />

พร้อมกันถึง 8 คน โดยเก็บสถิติตั้งแต่รายวันจนถึงรายปี เพื่อให้<br />

สามารถติดตามความเปลี่ยนแปลงของตัวเองได้ เชื่อมต่อด้วย<br />

Wi-Fi เพื่อตรวจวัดค่า BMI ในร่างกาย ใช้ได้ทั้งกับ iOS, Android<br />

และ Windows<br />

Activity trackers<br />

หนึ่งในเทคโนโลยีเพื่อการสวมใส่ที่เน้นผลด้านสุขภาพ ได้แก่ activity<br />

tracker ซึ่งช่วยติดตามและบันทึกกิจกรรมประจำวันของคุณ เช่น<br />

อัตราการเต้นของหัวใจ วัดจำนวนก้าว ระยะทาง เก็บข้อมูลการนอนหลับ<br />

การรับประทานอาหารและการเผาผลาญพลังงาน เป็นต้น<br />

3<br />

4<br />

GPS Watch<br />

นาฬิกาที่ออกแบบมาสำหรับนักวิ่งโดยเฉพาะ สามารถตรวจวัด<br />

อัตราการเต้นของหัวใจด้วยเซ็นเซอร์ที่ข้อมือพร้อมแสดงผล<br />

เป็นกราฟ ช่วยวัดระดับการใช้ออกซิเจนขณะวิ่ง พร้อมฟังก์ชัน<br />

ทั่วไปอย่างการวัดระยะทาง การเผาผลาญพลังงาน และอื่นๆ<br />

Wellness Watch<br />

นาฬิกาเพื่อสุขภาพสุดฉลาดที่สามารถบอกระดับ<br />

ความฟิตและความพร้อมในการออกกำลังกายโดย<br />

แสดงผลในรูปแบบอินโฟกราฟฟิกที่เข้าใจง่าย<br />

* ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากผลิตภัณฑ์<br />

1-2 จาก Fitbit, 3 จาก Garmin และ 4 จาก Wellograph<br />

18


Official Account :


+++++ M.D. Focus<br />

รู้จักกับแพทย์บำรุงราษฎร์<br />

เพราะมุ่งมั่นที่จะมอบการดูแลที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วย โรงพยาบาล<br />

บำรุงราษฎร์จึงไม่เคยหยุดพัฒนาตัวเอง โดยมีเป้าหมายเพื่อ<br />

ดำรงและสร้างสรรค์ความเป็นเลิศในการให้บริการด้านการแพทย์<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ขอแนะนำให้รู้จักกับแพทย์ที่มากด้วยทักษะและ<br />

ประสบการณ์ ซึ่งมาเสริมทีมแพทย์ของเราให้มีความแข็งแกร่ง<br />

พร้อมดูแลผู้ป่วยได้อย่างรอบด้านยิ่งขึ ้น<br />

นพ.สำเริง เนติ<br />

ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ<br />

นพ.สำเริง จบการศึกษาเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง<br />

จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และสอบได้<br />

ที่1 ในการสอบเพื่อเป็นแพทย์ผ่าตัดกระดูกและข้อ<br />

รวมถึงยังเป็นแพทย์คนแรกๆ ของประเทศไทยที่<br />

ศึกษาต่อเฉพาะทางด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ<br />

ในสาขา Hand and Microsurgery<br />

เหตุผลที่เลือกเรียนด้านศัลยกรรมมือ<br />

มีคนบอกว่าสิ่งที่มนุษย์เหนือกว่าสัตว์อื่นมี<br />

อยู่สองอย่างเท่านั้น หนึ่งคือสมอง สองก็คือ<br />

มือของเรา เพราะฉะนั้นมือเป็นอวัยวะที่มีความ<br />

สำคัญมาก แต่หลายคนมักมองข้ามจนกว่าจะ<br />

เจอเหตุการณ์ที่ไม่สามารถใช้มือได้อย่างปกติ<br />

อีกเหตุผลหนึ่งคือในสมัยนั้นการผ่าตัดต่ออวัยวะ<br />

เป็นเทคนิคที่มีความละเอียดซับซ้อนมาก เช่น<br />

การต่อนิ้วที่ขาดซึ่งต้องต่อเส้นเลือดที่เล็กมากๆ<br />

และไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ จึงรู้สึกว่าท้าทายและเป็น<br />

ประโยชน์จริงๆ เพราะปรากฏว่าแค่สองปีแรกที่<br />

เริ่มทำก็มีผู้ป่วยนิ้วขาดมาให้ต่อเกือบ 100 ราย<br />

หลักคิดในการทำงาน<br />

ตั้งใจทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด จริงใจ และ<br />

ตรงไปตรงมา แม้จะเป็นหมอผ่าตัดแต่ผมสอน<br />

ลูกศิษย์เสมอว่าให้ใช้การผ่าตัดเป็นทางเลือก<br />

สุดท้าย หมายถึงต้องไม่มีวิธีการรักษาแบบอื่นแล้ว<br />

ปรัชญาการทำงานของเราคือ ต้องรักษาให้หาย<br />

โดยไม่ผ่าตัด แต่ถ้าจำเป็นต้องผ่าก็ต้องทำอย่าง<br />

ดีที่สุด คือต้องมีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพซึ่ง<br />

เป็นสิ่งที่จะทำให้ผู้ป่วยไว้วางใจ<br />

ปัจจุบัน นอกจากจะเปิดอบรมให้ความรู้แก่<br />

แพทย์รุ่นใหม่ๆ ทุกสัปดาห์แล้ว นพ.สำเริงยังดำรง<br />

ตำแหน่งรองประธานชมรมศัลยแพทย์ทางมือ<br />

แห่งประเทศไทย เป็นกรรมการชมรมจุลศัลยแพทย์<br />

แห่งประเทศไทย เป็นเลขาธิการชมรมแพทย์ผ่าตัด<br />

กระดูกสันหลังแห่งประเทศไทย และยังเคยดำรง<br />

ตำแหน่งประธานราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์<br />

แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย<br />

นพ.พิษณุ เกิดสินธ์ชัย<br />

อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ<br />

นพ.พิษณุสำเร็จการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก่อนไปศึกษาต่อเฉพาะทาง<br />

ด้านสวนหัวใจและการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วย<br />

บอลลูนที่ประเทศเบลเยียม คุณหมอร่วมงานกับ<br />

บำรุงราษฎร์มานานถึง 20 ปี และนับเป็นอายุรแพทย์<br />

โรคหัวใจที่มีความชำนาญและมากประสบการณ์<br />

คนหนึ่ง<br />

ความท้าทายของการเป็นแพทย์โรคหัวใจ<br />

คือการต้องทำงานแข่งกับเวลาเพราะส่วนใหญ่<br />

เป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ<br />

เฉียบพลัน ซึ่งถ้าช้ากล้ามเนื้อหัวใจก็จะตายไป<br />

เรื่อยๆ ดังนั้น นอกจากผู้ป่วยจะต้องมาถึงเร็วแล้ว<br />

ทีมแพทย์ก็ต้องเร็ว ห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล<br />

ก็ต้องพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งบำรุงราษฎร์<br />

สามารถขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนได้ภายใน<br />

1 ชั่วโมงนับจากผู้ป่วยมาถึง เรียกว่าเป็นความเร็ว<br />

ที่เทียบได้ในระดับโลก<br />

หลักการทำงาน<br />

การรักษาจะประสบความสำเร็จได้ แพทย์กับ<br />

ผู้ป่วยต้องมีความเชื่อใจกัน ประวัติผู้ป่วยเป็นเรื่อง<br />

สำคัญ ถ้าพูดคุยกันได้หมดแพทย์ก็วินิจฉัยได้<br />

อย่างแม่นยำ แต่ถ้าผู้ป่วยไม่วางใจ ไม่บอกในเรื่อง<br />

ที่ควรบอก แพทย์ก็ไม่ทราบและอาจวินิจฉัยผิดได้<br />

เพราะฉะนั้นต้องทำให้ผู้ป่วยไว้ใจในตัวเราให้<br />

ได้ก่อน อีกประการหนึ่งคือต้องคิดว่าผู้ป่วยคือ<br />

ญาติของเราแล้วดูแลรักษาเขาให้ดีที่สุด<br />

20


นพ.วีระพันธ์ ควรทรงธรรม<br />

ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ<br />

ด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท<br />

หลังจบการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์<br />

โรงพยาบาลรามาธิบดี ในสาขาประสาทศัลยแพทย์<br />

(Neurosurgery) นพ.วีระพันธ์ได้ไปศึกษาต่อด้าน<br />

การผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคปที่ประเทศเยอรมนี<br />

พญ.ธัญลักษณ์ ชัยเสรี<br />

อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ<br />

กว่า 30 ปีที่พญ.ธัญลักษณ์ช่วยให้ผู้ป่วย<br />

โรคหัวใจจำนวนมากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น<br />

หลังจากสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต<br />

จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยเกียรตินิยม<br />

อันดับหนึ่ง และศึกษาต่อเฉพาะทางอายุรศาสตร์<br />

โรคหัวใจที่โรงพยาบาลรามาธิบดี<br />

เคสผู้ป่วยที่ท้าทาย<br />

ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจผิดปกติแบบซับซ้อนโดย<br />

กำเนิด เมื่ออายุน้อยอาการต่างๆ ยังสามารถ<br />

และสหรัฐอเมริกา ก่อนกลับมาเป็นอาจารย์แพทย์<br />

โรงพยาบาลรามาธิบดีจนถึงปัจจุบัน และภายหลัง<br />

เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์<br />

ซึ่งให้การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอปวดหลัง<br />

นับพันรายต่อปี<br />

ความสนใจด้านการผ่าตัดกระดูกสันหลัง<br />

เกิดจากประสบการณ์ตรงที่เคยถูกผ่าตัดหลัง<br />

เนื่องจากหมอนรองกระดูกปลิ้น ทำให้เข้าใจความ<br />

รู้สึกของผู้ป่วยดี ตอนนั้นแม้จะผ่าตัดแบบไมโคร<br />

สโคปแล้วแต่ยังมีแผลขนาด 7.5 เซนติเมตร<br />

จนประมาณปี 2550 ได้มาเจอกับเทคนิคการ<br />

ผ่าหลังจากเยอรมนีที่แผลผ่าตัดเล็กแค่ 7<br />

มิลลิเมตร ก็รู้สึกประทับใจ เลยหันความสนใจจาก<br />

เรื่องสมองไปศึกษาเรื่องการผ่าตัดกระดูกสันหลัง<br />

แผลเล็ก (minimally invasive spine surgery)<br />

ควบคุมได้ด้วยยา แต่เมื่ออายุมากขึ้น พยาธิสภาพ<br />

ของโรคหัวใจที่เป็นอยู่มีผลสะสมต่อเนื่องต่อการ<br />

ทำงานทั้งปอดและหัวใจ ประกอบกับมีโรคไทรอยด์<br />

เป็นพิษแทรกซ้อนขึ้นมาซึ่งมีผลโดยตรงต่อการ<br />

ทำงานของระบบหัวใจ ทำให้เกิดการไหลย้อน<br />

ของเลือดดำจากหัวใจห้องขวาผ่านรูรั่วในหัวใจ<br />

ไปผสมกับระบบเลือดแดงในหัวใจห้องซ้าย<br />

ออกซิเจนในระบบเลือดแดงตกลงกว่าระดับปกติ<br />

มากทำให้ผู้ป่วยมีอาการตัวเขียวและเหนื่อยมาก<br />

จนทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้<br />

ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการดูแลแบบ intensive โดย<br />

เราระดมแพทย์ผู้เชี ่ยวชาญหลายสาขามาให้การ<br />

รักษาแบบทุติยภูมิจนภาวะหัวใจล้มเหลวแบบ<br />

รุนแรงดีขึ้นมากพอที่พร้อมจะรักษาโดยการผ่าตัด<br />

หัวใจซึ่งต้องอาศัยศัลยแพทย์หัวใจที่เชี่ยวชาญ<br />

โดยเฉพาะเท่านั้น ในที่สุดผู้ป่วยได้รับการผ่าตัด<br />

ได้ผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจและกลับมาใช้ชีวิตแบบ<br />

มีคุณภาพได้อีกครั้ง สามารถทำงานและไปเที ่ยว<br />

ต่างประเทศได้ ซึ่งเกินความคาดหมายของตัว<br />

ผู้ป่วยเองและครอบครัวว่าจะหายจนมีชีวิตเป็น<br />

ปกติได้อย่างในขณะนี้<br />

ปัจจุบันบำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลแห่งเดียว<br />

ที่มีสถาบันกระดูกสันหลังซึ่งหมายความว่าเราให้<br />

ทั้งการรักษาผู้ป่วย การอบรมแพทย์ และทำงาน<br />

วิจัยไปพร้อมๆ กัน<br />

การร่วมงานกับบำรุงราษฎร์<br />

ผมชื่นชมบำรุงราษฎร์ที่ให้ความสำคัญกับการ<br />

สอนและการวิจัย เราเปิดอบรมด้านการรักษา<br />

อาการปวดคอและปวดหลังให้กับแพทย์จาก<br />

ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่อเนื่องกันมา 8 ปีแล้วโดย<br />

ร่วมกับโรงพยาบาลจากเยอรมนีจัดที่เมืองไทย<br />

ปีละ 1 ครั้งและที่เยอรมนีปีละ 2 ครั้ง มีแพทย์<br />

จากทั่วโลกมาเข้าอบรม สะดวกที่ไหนก็ไปที่นั่น<br />

เฉพาะแพทย์ไทยที่ผ่านการอบรมจากสถาบันของ<br />

เรามีนับร้อยรายแล้ว ซึ่งโรงพยาบาลก็ให้การ<br />

สนับสนุนด้วยดีมาโดยตลอด<br />

การรักษาที่รู้สึกประทับใจ<br />

หมอร่วมงานกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มา<br />

มากกว่า 25 ปี รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจมานับไม่ถ้วน<br />

มีผู้ป่วยหญิงรายหนึ่งซึ่งเป็นโรคติดเชื้อของลิ้น<br />

หัวใจอย่างรุนแรง ได้ย้ายจากโรงพยาบาลอื่นมา<br />

รักษาเนื่องจากอาการแย่ลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยรายนี้<br />

ในที ่สุดได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม<br />

จนสุขภาพหัวใจและร่างกายกลับมาเป็นคนปกติ<br />

ตลอดการรักษาที่ผ่านมากว่า 20 ปีผู้ป่วยใช้ชีวิต<br />

แบบที่ต้องการได้โดยไม่ถูกจำกัดเลย ทุกครั้งที่<br />

ผู้ป่วยรายนี้เดินทางไปต่างประเทศก็มักซื้อของ<br />

มาฝากหมอเป็นประจำจนต้องขอร้องให้หยุด<br />

ซื้อของมาให้ ท้ายสุดผู้ป่วยได้ขอกอดหมอสักครั้ง<br />

แทนคำขอบคุณ โดยบอกว่าไม่เคยลืมว่าหมอเป็น<br />

ผู้ช่วยชีวิตและดูแลต่อเนื่องมาตลอดจนทุกวันนี้<br />

หมอประทับใจว่าเขาคงสัมผัสได้ถึงความตั้งใจจริง<br />

ในการเอาใจใส่ในการรักษาและความหวังดีที่หมอ<br />

มีให้อย่างต่อเนื่องตลอดมา<br />

21


+++++ The Nutrition Experts<br />

ดูแลสุขภาพหัวใจ<br />

เริ่มง่ายๆ ที่ อาหาร<br />

แ<br />

ม้โรคหัวใจและหลอดเลือดจะเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของผู้คนทั่วโลกตลอดหลายปี<br />

ที่ผ่านมา แต่โรคนี้สามารถป้องกันได้เพียงคุณเริ่มต้นรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ฉบับนี้มีคำแนะนำว่าด้วยโภชนาการกับการดูแลและรักษาสุขภาพหัวใจจากทีม<br />

นักกำหนดอาหารของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มาฝากกัน<br />

หลักในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพหัวใจ<br />

+ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันชนิดอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง รวมถึง<br />

อาหารที่มีไขมันทรานส์ด้วย<br />

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อาหารที่สามารถรับประทานได้<br />

อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง<br />

เครื่องในสัตว์ทุกชนิด อาหารทะเล (ยกเว้น<br />

เนื้อปลา) นมสด ไอศกรีม ชีส เนย น้ำมัน<br />

จากสัตว์ เป็นต้น<br />

อาหารที่มีไขมันชนิดอิ่มตัว (รับประทาน<br />

ได้ไม่เกิน 10% หรือน้อยกว่าจากพลังงาน<br />

ที่ควรได้รับตลอดวัน) เช่น ผลิตภัณฑ์<br />

จากเนื้อสัตว์ อาหารที่มีส่วนประกอบของ<br />

ไขมันสัตว์ (เช่น ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ)<br />

น้ำมันจากสัตว์ (เช่น น้ำมันหมู น้ำมันไก่)<br />

น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม<br />

อาหารที่มีไขมันทรานส์ ซึ่งเป็นไขมันที่ผ่าน<br />

กระบวนการเติมไฮโดรเจน ทำให้คุณสมบัติ<br />

ของไขมันเปลี่ยนแปลงไป มักพบในครีมเทียม<br />

เนยเทียม เนยขาว ขนมกรุบกรอบ คุกกี้ เค้ก<br />

และอาหารทอดที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ<br />

เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันและหนัง<br />

ปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาทูน่า ปลาแซลมอน<br />

ปลาซาร์ดีน เป็นต้น (แนะนำให้รับประทาน<br />

อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพราะน้ำมัน<br />

จากปลาทะเลช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์<br />

ในเลือดและช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้)<br />

น้ำมันจากพืช (ใช้ในปริมาณน้อยๆ) เช่น<br />

น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน<br />

น้ำมันงา น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย<br />

น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันถั่วลิสง<br />

เป็นต้น<br />

+ จำกัดปริมาณโซเดียมด้วยการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด เพราะอาหารที่มีปริมาณ<br />

โซเดียมมากจะทำให้ความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่นำไปสู่โรคหัวใจ สำหรับผู้ป่วย<br />

โรคหัวใจควรจำกัดการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมวันละ 3,000 มิลลิกรัมหรือน้อยกว่า (เกลือ<br />

1 ช้อนชา=โซเดียม 2,000 มิลลิกรัม) และไม่ควรเติมหรือปรุงรสอาหารขณะรับประทาน หากต้องการ<br />

เพิ่มรสชาติอาจใช้เครื่องเทศ เช่น ตะไคร้ พริกไทย ใบมะกรูด หรือเพิ่มรสเปรี้ยวจากมะนาว<br />

22


+ เพิ่มปริมาณใยอาหาร ด้วยการรับประทานผัก<br />

ผลไม้ ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าว ขนมปังที่ไม่ผ่านการ<br />

ขัดสี และธัญพืชต่างๆ โดยในแต่ละวันร่างกาย<br />

ต้องการใยอาหารอย่างน้อย 25 กรัม ทั้งนี้<br />

ใยอาหารแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่<br />

- ใยอาหารชนิดละลายน้ำ พบในธัญพืช เช่น<br />

ข้าวโอ๊ต รำข้าว ถั่วเมล็ดแห้ง ผัก ผลไม้<br />

ใยอาหารชนิดนี้จะช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอล<br />

และระดับน้ำตาลในเลือดลดลง<br />

- ใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ พบในธัญพืช<br />

และขนมปังที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวซ้อมมือ<br />

ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ถั่วเปลือกแข็ง ผัก<br />

และผลไม้บางชนิด ใยอาหารชนิดนี้จะดูดซึม<br />

น้ำไว้ช่วยให้การทำงานของระบบลำไส้และ<br />

การย่อยอาหารมีประสิทธิภาพ<br />

ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีใยอาหารทั้ง<br />

2 ชนิด ด้วยการรับประทานอาหารให้หลากหลาย<br />

ประเภทในปริมาณที่เหมาะสม<br />

+ หลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มประเภท<br />

แอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ<br />

น้ำตาลหรือน้ำตาลฟรุกโตส เพราะจะทำให้<br />

ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มขึ้นและ<br />

ได้รับพลังงานเกิน ถ้าต้องการดื่มเครื่องดื่ม<br />

แอลกอฮอล์ไม่ควรเกินวันละ 2 แก้วมาตรฐาน<br />

(1 แก้วมาตรฐาน=เบียร์ 285 มล., ไวน์ 120 มล.)<br />

+ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนผสม<br />

เช่น ชา กาแฟ ไม่เกินวันละ 2 - 3 แก้ว<br />

รู้หรือไม่?<br />

กระเทียมมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วย<br />

ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้<br />

วิธีรับประทานคือปอกเปลือกให้<br />

ถูกอากาศสักหน่อยแล้วรับประทานสด<br />

ประมาณ 5 กลีบต่อวัน<br />

เกลืออยู่ในอาหาร<br />

ที่เรารับประทานได้อย่างไร?<br />

25%<br />

มาจากอาหารตามธรรมชาติ<br />

เช่น หอมใหญ่ 100 กรัม<br />

มีโซเดียม 11 มิลลิกรัม เป็นต้น<br />

50%<br />

ได้จากอาหารสำเร็จรูป เช่น<br />

ซุปปรุงรสชนิดก้อน ผลิตภัณฑ์<br />

เนื้อสัตว์สำเร็จรูป เช่น ไส้กรอก<br />

กุนเชียง หมูยอ เบคอน<br />

+ รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) อาจสามารถป้องกันและต่อต้านการ<br />

เกิดโรคหัวใจได้ ซึ่งแหล่งสำคัญของอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่<br />

วิตามินเอ (แคโรทีน) วิตามินอี วิตามินซี<br />

แครอท แอพริคอท ฟักทอง<br />

มะม่วง ผักโขม แคนตาลูป<br />

ปวยเล้ง ลูกพีช บรอกโคลี<br />

ผักบุ้ง<br />

น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอก<br />

คำฝอย น้ำมันเมล็ดดอก<br />

ทานตะวัน อัลมอนด์ จมูกข้าว<br />

สาลี<br />

25%<br />

มาจากการปรุงรสอาหาร<br />

เช่น เติมเกลือ ซีอิ๊ว น้ำปลา<br />

ส้มเขียวหวาน มะเขือเทศ<br />

ส้มเช้ง ฝรั่ง กีวี่ ส้มโอ ถั่วงอก<br />

กะหล่ำปลี บรอกโคลี พริก<br />

มะนาว<br />

ควรทำอย่างไรหากรับประทานอาหารนอกบ้าน<br />

ในกรณีที่ต้องออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ผู้ที่เป็นโรคหัวใจควร<br />

ควบคุมอาหารด้วยการเลือกสั่งอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพของหัวใจ ดังนี้<br />

+ หลีกเลี่ยงอาหารทอดในน้ำมันมากๆ ควรเลือกรับประทานอาหารประเภท<br />

ต้ม ย่าง ปิ้ง นึ่งแทน เช่น ปลาอบ ไก่ย่างไม่ติดหนัง ผัดผัก และอย่าลืม<br />

กำชับพนักงานเสิร์ฟเพื่อขอให้ปรุงอาหารที่ไม่เค็ม<br />

+ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมัน เช่น ซี่โครงหมู ไส้กรอก และ<br />

ขนมหวานที่มีส่วนประกอบของกะทิและครีม<br />

+ รับประทานผลไม้แทนขนมหวาน ถ้าต้องการรับประทานขนมหวาน<br />

ควรเลือกชนิดที่รสไม่หวานจัด ไม่มีส่วนผสมของไข่แดง นม เนย กะทิ เช่น<br />

วุ้นใส เยลลี่ ฟรุตสลัด ถั่วเขียวต้มน้ำตาล เป็นต้น และอย่าลืมว่าควร<br />

รับประทานขนมหวานในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น<br />

+ เครื่องดื ่มที ่สามารถบริโภคได้ เช่น น้ำแร่ น้ำเปล่า โซดา น้ำผลไม้สด<br />

นมพร่องไขมัน<br />

+ ควรสอบถามพนักงานเสิร์ฟเกี่ยวกับสูตรอาหาร หากมีเครื่องปรุงบางอย่าง<br />

ที่ควรหลีกเลี่ยงโปรดแจ้งให้เปลี่ยนหรือไม่ใช้ เช่น ข้าวผัดไก่ไม่ใส่ไข่แดง<br />

ก๋วยเตี๋ยวน้ำลูกชิ้นปลาไม่ใส่น้ำมันกระเทียมเจียว เป็นต้น<br />

23


พื้นที่ประชาสัมพันธ์พิเศษ<br />

ฮอร์โมนสมดุล ชีวิตสมดุล<br />

ก<br />

ารมีระดับฮอร์โมนที่สมดุลช่วยให้<br />

ร่างกายมีสุขภาพดีได้เนื่องจากฮอร์โมน<br />

มีความสำาคัญอย่างยิ่งต่อการเชื่อมต่อ<br />

ระบบการทำางานต่างๆ ในร่างกาย ฮอร์โมนที่<br />

สำาคัญ เช่น เทสโทสเตอโรน เมลาโทนิน เซโรโทนิน<br />

เอสโตรเจน และอื่นๆ เป็นสารเคมีที่จำาเป็นต่อการ<br />

ทำางานของร่างกายไม่ว่าจะเป็นการเจริญเติบโต<br />

การชะลอความชรา การเผาผลาญอาหาร หรือ<br />

การเจริญพันธุ์<br />

“การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนแม้เพียง<br />

เล็กน้อย ก็มีผลต่อสุขภาพและความสุขโดยรวม<br />

ของเราได้มาก ดังนั้นการตรวจเช็กระดับค่าฮอร์โมน<br />

ในร่างกายอย่างสมำ่ำเสมอโดยการตรวจเลือด<br />

ปัสสาวะ หรือนำ้ำลาย จึงเป็นสิ่งที่ผมแนะนำากับ<br />

ทุกคนที่เข้ามาปรึกษา” ผศ.นพ.พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์<br />

ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ<br />

ไวทัลไลฟ์ ในเครือโรงพยาบาลบำารุงราษฎร์<br />

อธิบายถึงความสำาคัญของฮอร์โมน<br />

ทั้งนี้ นพ.พันธ์ศักดิ์ แนะนำาว่า เราทุกคน<br />

สามารถรักษาสมดุลของฮอร์โมนได้ด้วย 4 วิธี<br />

สร้างไลฟ์สไตล์ให้มีฮอร์โมนที่สมดุลและสุขภาพ<br />

ที่ดี ซึ่งได้แก่<br />

1<br />

นอนให้เพียงพอและหลับให้สนิท<br />

(Good night, sleep tight)<br />

ควรนอนหลับให้สนิทก่อนเวลา 23.30 น. หรือ<br />

เที่ยงคืน ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนได้มาก<br />

ที่สุด โดยปิดอุปกรณ์สื่อสารก่อนนอน 1 ชั่วโมง<br />

เนื่องจากแสงสีฟ้าที่ส่งผ่านอุปกรณ์เหล่านี้จะทำาให้<br />

ร่างกายเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเวลากลางวัน และ<br />

สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ทำาให้ร่างกายไม่สามารถ<br />

พักผ่อนได้อย่างเต็มที่<br />

2 กินดีและกินให้หลากหลาย<br />

(Eat clean and vary your diet )<br />

อาหารมีผลต่อสมดุลของฮอร์โมนอย่างมาก เช่น<br />

การดื่มแอลกอฮอล์ทำาให้growth hormone ลดลง<br />

และเป็นสาเหตุหลักของความชรา ฉะนั้น ควรเลือก<br />

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย<br />

เพื่อให้ได้รับสารอาหารและวิตามินครบถ้วน<br />

3 กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ<br />

(Get active)<br />

ผสมผสานการออกกำาลังกายหลายรูปแบบเพื่อให้<br />

ทุกส่วนของร่างกายได้ใช้ประโยชน์ โดยใช้เวลา<br />

อย่างน้อย 200 นาทีต่อสัปดาห์ หรือประมาณ<br />

45 นาทีต่อการออกกำาลังกายหนึ่งครั้ง สัปดาห์ละ<br />

5 ครั้ง<br />

4 ผ่อนคลายด้วยสมาธิ<br />

(Relax and recharge)<br />

ความเครียดจากการทำางานหรือแม้กระทั่งการใช้<br />

อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ มากเกินไปล้วนทำาให้ระดับ<br />

ฮอร์โมนในร่างกายลดลง ควรหาเวลาทำาสมาธิ<br />

โดยการหายใจเข้า-ออกให้ทั่วท้อง หรือคิดถึง<br />

เรื่องบวกจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายได้<br />

ในบางกรณีที่การปรับเปลี่ยนรูปแบบการ<br />

ดำาเนินชีวิตยังไม่เพียงพอต่อการปรับสมดุลของ<br />

ฮอร์โมน แพทย์อาจพิจารณาให้ฮอร์โมนทดแทน<br />

ที่ได้รับการรับรองจากสำานักงานคณะกรรมการ<br />

อาหารและยา (FDA) หรือแนะนำาให้รับประทานยา<br />

หรืออาหารเสริมเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง<br />

“อย่างไรก็ตาม การปรับสมดุลฮอร์โมนด้วย<br />

วิธีธรรมชาติเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่ควรได้รับคำา<br />

แนะนำาจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อ<br />

สุขภาพอย่างแท้จริง” นพ.พันธ์ศักดิ์ กล่าว<br />

ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่ต้องการปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายด้วยการจัดโปรแกรมสุขภาพเฉพาะบุคคล<br />

ทั้งเรื่องของการรับประทาน การออกกำลังกาย และการสร้างสมาธิ โดยมีการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ ทุกหกสัปดาห์หรือ<br />

หกเดือน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ www.vitallife-international.com หรือโทร 0 2667 2<strong>34</strong>0<br />

24


+++++ <strong>Health</strong> Briefs<br />

โรคอ้วน<br />

และเบาหวานชนิดที ่ 2<br />

ทำร้ายสุขภาพกระดูก<br />

ครั้งหนึ่งนักวิจัยเคยเชื่อว่ามวลกายที่มากกว่า<br />

จะช่วยปกป้องกระดูกได้ แต่ความจริงก็คือ ผู้ที่มี<br />

น้ำหนักเกินรวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 นั้น<br />

กลับมีความเสี่ยงต่อการที่กระดูกจะแตกหักได้<br />

มากกว่าคนผอมเสียอีก<br />

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิสซูรีพบความจริง<br />

ข้อนี้จากการทดลองโดยแบ่งหนูออกเป็น 3 กลุ่ม<br />

กลุ่มแรกเป็นหนูอ้วนที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลินแต่ยัง<br />

ออกกำลังกายบนวงล้อ กลุ่มที่สองเป็นหนูอ้วน<br />

เช่นกันแต่ไม่ออกกำลังกายเลย ส่วนกลุ่มที่สาม<br />

เป็นหนูน้ำหนักปกติและไม่ออกกำลังกายเช่นกัน<br />

เมื่อเวลาผ่านไปพบว่าหนูทั้งหมดโตขึ้นและมี<br />

มวลกระดูกเพิ่มขึ้นก็จริง แต่หนูที่นั่งๆ นอนๆ นั้น<br />

การสะสมมวลกระดูกไม่สัมพันธ์กับน้ำหนักที่<br />

เพิ่มขึ้น นั่นคือการสร้างกระดูกลดลงกระทั่ง<br />

สูญเสียมวลกระดูก ที่สำคัญคือ หนูอ้วนที่ออก<br />

กำลังกายมีกระดูกที่แข็งแรงกว่าหนูที่น้ำหนักปกติ<br />

แต่ไม่ออกกำลังกาย<br />

งานวิจัยนี้บอกเราว่า โรคอ้วนและเบาหวาน<br />

ชนิดที่ 2 นั้นส่งผลต่อคุณภาพของกระดูก และ<br />

การออกกำลังกายทำให้กระดูกแข็งแรงได้จริงๆ<br />

แม้คุณจะน้ำหนักเกินและเป็นเบาหวานก็ตาม<br />

26<br />

อากาศเสีย<br />

เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ<br />

มลพิษในอากาศไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะกับ<br />

ปอดเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อหัวใจและระบบการ<br />

ไหลเวียนโลหิตอีกด้วย<br />

จากการศึกษาผลกระทบของคุณภาพอากาศ<br />

ที่ใช้เวลากว่า 20 ปีของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย<br />

ฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกาพบว่า อากาศที่ย่ำแย่<br />

ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบ<br />

เฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ<br />

เต้นผิดจังหวะได้ โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ<br />

อยู่แล้วหรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ<br />

ทั้งนี้ ฝุ่นละอองในบรรยากาศที่อันตรายที่สุด<br />

ก็คือ ฝุ่นละเอียดจากควันเสียของรถยนต์ โรงงาน<br />

อุตสาหกรรม รวมถึงไฟป่า ซึ่งเป็นอนุภาคที่มี<br />

เส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน และ<br />

เพราะพวกมันเล็กมากนี่เอง อนุภาคเหล่านี้จึง<br />

เข้าไปสร้างความระคายเคืองในเนื้อเยื่อปอด<br />

เกิดการอักเสบกระจายไปในกระแสเลือดและ<br />

ส่งผลต่อหัวใจและหลอดเลือดในที่สุด<br />

ฉะนั้น ผู้ที่เป็นโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงการ<br />

ออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งใกล้กับถนนที่มีรถ<br />

พลุกพล่าน หรือไปในย่านอุตสาหกรรม เพราะ<br />

หมอกควันยังมองเห็นได้ แต่ฝุ่นละเอียดใน<br />

อากาศนั้นเราไม่สามารถบอกได้เลย<br />

โรคกระดูกพรุน<br />

ป้องกันได้<br />

ผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือนจำนวนมาก<br />

ต้องทนทุกข์ทรมานกับภัยเงียบอย่างโรคกระดูก<br />

พรุนซึ่งไม่แสดงอาการและกว่าจะตรวจพบก็มัก<br />

จะสายเกินไป<br />

การป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ได้ผลดีนั้น<br />

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Castilla-La Mancha<br />

ประเทศสเปนซึ่งตีพิมพ์ใน Journal of Sports<br />

Sciences สรุปว่าควรเริ่มตั้งแต่เนิ่นๆ และต้อง<br />

เริ่มให้ถูกวิธี<br />

งานวิจัยชิ้นนี้เก็บข้อมูลจากเด็กนักเรียนหญิง<br />

อายุ 9-13 ปี จำนวน 200 คน โดยแบ่งเด็กออก<br />

ตามช่วงอายุและชนิดกีฬาที่เล่นก่อนจะทดสอบ<br />

ความหนาแน่นของมวลกระดูกเพื่อหาว่าช่วง<br />

อายุใดและกีฬาชนิดใดที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก<br />

ได้ดีที่สุด ผลก็คือ เด็กวัยแรกรุ่นที่เลือกเล่นกีฬา<br />

ชนิดลงน้ำหนักอย่างบาสเกตบอล แฮนด์บอล หรือ<br />

ฟุตบอลนั้นมีกระดูกที่แข็งแรงกว่าเมื่อเทียบกับ<br />

การเล่นกีฬาว่ายน้ำ<br />

รู้อย่างนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่คงวางแผนดูแล<br />

สุขภาพกระดูกให้ลูกสาวได้ไม่ยาก


+++++ Q & A<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ฉบับนี้มาพร้อมกับ<br />

คำถามที่หลากหลาย ทั้งเรื่องของ<br />

ระดับคอเลสเตอรอลกับการอุดตัน<br />

ของหลอดเลือดหัวใจ น้ำหนักกับ<br />

มวลกระดูก และอายุกับการผ่าตัด<br />

ทำบายพาส โดยได้รับความอนุเคราะห์<br />

คำตอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ<br />

ด้านกระดูกและข้อ และอายุรแพทย์<br />

โรคหัวใจ เพื่อความรู้ความเข้าใจ<br />

ที่ถูกต้องของคุณ<br />

Q: การลดน้ำหนักมีผลต่อความหนาแน่นของ<br />

กระดูกหรือไม่ ถ้ามี ควรหลีกเลี่ยงอย่างไร?<br />

A: การลดน้ำหนักมีผลทำให้กระดูกบางลงจริง<br />

แต่ขึ้นอยู่กับว่าลดน้ำหนักแบบไหน ถ้าลดน้ำหนัก<br />

โดยการออกกำลังกาย ผลดีที่ได้กลับมาจะชดเชย<br />

กระดูกที่บางลงได้ โดยเฉพาะการออกกำลังกาย<br />

แบบลงน้ำหนัก เช่น เดินเร็ว หรือวิ่ง จะช่วยสร้าง<br />

มวลกระดูกและทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ถึงแม้<br />

กระดูกจะบางลงเล็กน้อยแต่เมื่อเทียบกับน้ำหนัก<br />

ตัวที่ลดลง กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ปัญหาปวดเข่า<br />

ปวดหลังดีขึ้น หมอแนะนำว่าควรลดน้ำหนัก<br />

แต่ถ้าลดน้ำหนักด้วยการอดอาหาร เมื่อ<br />

น้ำหนักลดลงร่างกายก็รับแรงกดลดลง กระดูกก็<br />

จะบางลงไปด้วยซึ่งไม่เป็นผลดี ดังนั้นการลด<br />

น้ำหนักที่ถูกวิธีไม่มีผลทำให้กระดูกบางมากนัก<br />

และควรลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายดีกว่า<br />

ปล่อยให้อ้วนเพราะกลัวกระดูกบาง<br />

นพ.สำเริง เนติ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ<br />

28<br />

Q: คุณตาอายุ 87 ปีเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและ<br />

มีอาการเจ็บหน้าอกมาก แต่ยังไม่กล้าผ่าตัด<br />

เพราะอายุมากแล้ว อยากทราบว่าการผ่าตัดผู้ป่วย<br />

อายุมากมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนครับ<br />

A: กรณีโรคหัวใจขาดเลือด ปัจจัยเสี่ยงของการ<br />

ผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจ (coronary bypass<br />

surgery) มีหลายอย่าง จริงอยู่ว่าเมื่ออายุมากขึ้น<br />

อัตราเสี่ยงของการผ่าตัดทุกชนิดก็ย่อมเพิ่มขึ้นด้วย<br />

ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยมีโรคประจำตัวอื่นๆ ร่วมด้วย<br />

หรือไม่และมากน้อยเพียงใด เช่น โรคเบาหวาน<br />

โรคความดันโลหิตสูง เคยมีภาวะหัวใจวายหรือ<br />

หัวใจล้มเหลวมาก่อนหรือไม่ เคยมีการใช้ยา<br />

บางตัว เช่น กลุ่มสเตียรอยด์หรือไม่ มีภาวะโรค<br />

ติดเชื้อร่วมด้วยหรือไม่ มีโรคปอดเรื้อรัง เช่น<br />

โรคปอดจากการสูบบุหรี่หรือโรคถุงลมโป่งพอง<br />

หรือไม่ หรือถ้าต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่ก่อน<br />

ผ่าตัดย่อมมีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้น ภาวะการทำงาน<br />

ของไตถ้าไม่สมบูรณ์หรือยิ่งถ้ามีโรคไตวายเรื้อรัง<br />

Q: ญาติของดิฉันมีระดับคอเลสเตอรอลแค่ 155<br />

แต่ปรากฏว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด<br />

แบบเฉียบพลัน โดยหลอดเลือดหัวใจอุดตันถึง<br />

90 เปอร์เซ็นต์ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นคะ?<br />

A: แน่นอนว่าระดับคอเลสเตอรอลมากเกินไป<br />

เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หลอดเลือดอุดตัน แต่<br />

นอกเหนือจากคอเลสเตอรอลแล้วก็ยังมีอีกหลาย<br />

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค เช่น เป็นโรคเบาหวาน<br />

มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจโดยเฉพาะ<br />

ที่เป็นตั้งแต่อายุน้อยๆ สูบบุหรี่ มีภาวะเครียด<br />

เป็นต้น เพราะฉะนั้นอย่านอนใจว่ามีระดับ<br />

คอเลสเตอรอลปกติแล้วจะไม่เป็นโรคหลอดเลือด<br />

หัวใจอุดตัน<br />

จนต้องล้างไตก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อระยะ<br />

เวลาการฟื้นตัวหลังผ่าตัดยากขึ้น เป็นต้น<br />

นอกจากนั้น ลักษณะกายวิภาคของเส้นเลือด<br />

เองก็มีส่วนสำคัญมากที่จะทำให้การผ่าตัดยาก<br />

หรือง่ายไม่เท่ากัน เช่น ถ้าเส้นเลือดขรุขระตีบ<br />

ไปทั้งเส้นและมีขนาดเล็ก การผ่าตัดต่อเส้นเลือด<br />

ก็ยากขึ้นเป็นลำดับ ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าอายุของ<br />

ผู้ป่วยเป็นเพียงส่วนประกอบเดียวในส่วนประกอบ<br />

อื่นๆ อีกมากมายที่จะเป็นตัวกำหนดปัจจัยเสี่ยง<br />

ของการผ่าตัดในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งต้องพิจารณา<br />

เป็นกรณีไป<br />

อายุที่เคยทำผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจได้ผลดีมาก<br />

คือ ผู้ป่วยชายอายุ 86 ปี ที่นอกจากเป็นโรค<br />

ลิ้นหัวใจตีบแล้ว ไม่มีโรคอื่นๆ เลย การทำงาน<br />

ของตับไตปกติ ไม่มีโรคเบาหวาน ไม่สูบบุหรี่<br />

ไม่มีโรคปอด ก็มีปัจจัยเสี่ยงต่ำ ฟื้นตัวจากการ<br />

ผ่าตัดเร็ว ปัจจุบันผู้ป่วยอายุเกินร้อยปีแล้ว<br />

พญ.ธัญลักษณ์ ชัยเสรี อายุรแพทย์โรคหัวใจ<br />

อย่างไรก็ตาม หากต้องการทราบสาเหตุ<br />

ที่แน่ชัด แพทย์จำเป็นต้องสอบประวัติผู้ป่วย<br />

ตรวจร่างกายโดยละเอียดร่วมกับการตรวจทาง<br />

ห้องปฏิบัติการจึงจะสามารถบอกได้<br />

นพ.พิษณุ เกิดสินธ์ชัย อายุรแพทย์โรคหัวใจ


+++++ Bumrungrad News<br />

สถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์<br />

จัดอบรมการผ่าตัดผ่านกล้อง<br />

เอ็นโดสโคปนานาชาติ ครั้งที่ 37<br />

นพ.วีระพันธ์ ควรทรงธรรม (ที่4 จากขวา) ศัลยแพทย์<br />

ระบบประสาทและผู้อำนวยการสถาบันกระดูกสันหลัง<br />

บำรุงราษฎร์ พร้อมด้วยผู้บริหารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

และผู้บริหารโรงพยาบาลเซนต์แอนนา ประเทศเยอรมนี<br />

ร่วมจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ การผ่าตัด<br />

กระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป ครั้งที่ 37<br />

ณ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เมื่อเร็วๆ นี้ โดยสถาบัน<br />

กระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ ภายใต้ความร่วมมือกับ<br />

ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกสันหลังและการบำบัดความปวด<br />

โรงพยาบาลเซนต์แอนนา ประเทศเยอรมนี รับหน้าที่เป็น<br />

ศูนย์กลางจัดการอบรม และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี<br />

จากศัลยแพทย์จากประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียที่เข้า<br />

ร่วมอบรม ต่อยอดองค์ความรู้ และแบ่งปันประสบการณ์<br />

เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย<br />

บุคคลในภาพ (จากซ้ายไปขวา) 1. Mr.Dirk Goethel - Head of Product Marketing Spine Surgery<br />

Richard Wolf GmbH, Knittlingen, Germany 2. รศ.นพ.สมศักดิ์ เชาว์วิศิษฐ์เสรี ผู้อำนวยการด้านการแพทย์<br />

รพ.บำรุงราษฎร์ 3. มร.เดนนิส บราวน์ Corporate CEO รพ.บ ำรุงราษฎร์ 4. นพ.เซบัสเตียน รุทเทิ่น รพ.เซนต์แอนนา<br />

ประเทศเยอรมนี 5. ศ.นพ.สิน อนุราษฎร์ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์กลุ่ม รพ.บำรุงราษฎร์<br />

6. นพ.วีระพันธ์ ควรทรงธรรม 7. นพ.วิธวินท์ เกสรศักดิ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ รพ.บำรุงราษฎร์<br />

8. คุณจิระภรณ์ เล็กดำรงศักดิ์ ผู้อำนวยการสายงานพยาบาล รพ.บำรุงราษฎร์ 9. รศ.นพ.ธเนศ วัฒนะวงษ์<br />

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ รพ.บำรุงราษฎร์<br />

บำรุงราษฎร์จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “Genetics, Diagnosis and<br />

Treatment of Brugada & Early Repolarization Syndromes”<br />

เมื่อเร็วๆ นี้นายแพทย์กุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ<br />

แปซิฟิกริม ลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา และอายุรแพทย์โรคหัวใจ ผู้เชี่ยวชาญด้าน<br />

สรีรวิทยากระแสไฟฟ้าหัวใจ ศูนย์หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ พร้อมด้วย<br />

ผู้บริหาร ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจของโรงพยาบาลและสถาบันชั้นนำด้านหัวใจ<br />

จากนานาชาติ ร่วมพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “Genetics, Diagnosis and Treatment<br />

of Brugada and Early Repolarization Syndromes” ณ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เพื่อฝึก<br />

อบรมให้คณะแพทย์ด้านโรคหัวใจจากทั้งในประเทศไทยเอเชีย สหรัฐอเมริกา และประเทศในแถบ<br />

ยุโรป เพื่อยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วยสู่ความเป็นเลิศทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัย<br />

บุคคลในภาพ (จากซ้ายไปขวา) 1. Prof.Dr.Peng-Sheng Chen, Editor-in-Chief, HeartRhythm<br />

Journal, Medtronic Zipes Chair in Cardiology, Director of the Krannert Institute of Cardiology<br />

and the Division of Cardiology, Department of Medicine, Indiana University School of Medicine<br />

2. Elijah Behr, MA, MBBS, MD, FRCP - Honorary Consultant Cardiologist and Electrophysiologist<br />

Cardiology Clinical Academic Group St. George’s, University of London, St. George’s<br />

University Hospitals NHS Foundation Trust 3. Arthur Wilde, MD, PhD - Professor of Cardiology,<br />

Department of Cardiology, Academic Medical Center, University of Amsterdam and<br />

Chair of the Department of Clinical and Experimental Cardiology 4. นพ.กุลวี เนตรมณี<br />

5. ศ.นพ.สิน อนุราษฎร์ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์กลุ่ม รพ.บำรุงราษฎร์ 6. นพ.นำ ตันธุวนิตย์<br />

ผู้อำนวยการด้านบริหาร รพ.บำรุงราษฎร์ 7. Akihiko Nogami, MD, PhD - Professor of Medicine<br />

Cardiovascular Division, University of Tsukuba<br />

30<br />

724 ราย<br />

มกราคม 2559<br />

ช่วยน้องจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด<br />

กับโครงการ“รักษ์ใจไทย”<br />

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 เป็นต้นมามีเด็กที่ป่วยด้วย<br />

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจำนวนมากถึง 724 ราย ได้รับ<br />

ชีวิตใหม่จากการผ่าตัดรักษาโรคภายใต้โครงการ “รักษ์ใจไทย”<br />

“รักษ์ใจไทย” เป็นโครงการผ่าตัดแก้ไขโรคหัวใจพิการ<br />

แต่กำเนิดให้แก่เด็กไทยที่มีฐานะยากจนรวมถึงเด็กที่อยู่<br />

ตามชนบทที่ห่างไกล โดยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์และมูลนิธิ<br />

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ร่วมกับมูลนิธิเด็กโรคหัวใจใน<br />

พระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา<br />

กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งในการผ่าตัดแต่ละราย<br />

มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 550,000 บาท<br />

ผู้มีจิตเมตตาสามารถร่วมสมทบทุนโครงการ “รักษ์ใจไทย”<br />

ได้โดยสั่งจ่ายเช็คในนาม “มูลนิธิโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์”<br />

หรือโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 197-0-111157<br />

ธนาคารกรุงเทพ สาขานานาเหนือ และส่งหลักฐานการ<br />

โอนเงินได้ที่หมายเลขโทรสาร 0 2667 2031 หรือสอบถาม<br />

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0 2667 1398<br />

นอกจากนี้ท่านยังช่วยเหลือเด็กๆ ได้อีกทางด้วยการ<br />

เลือกซื้อสินค้าต่างๆ จากร้านล้านน้ำใจ มูลนิธิโรงพยาบาล<br />

บำรุงราษฎร์ ชั้น M อาคารโรงพยาบาลฯ และชั้น G อาคาร<br />

บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล คลินิก ซึ่งเปิดบริการทุกวัน<br />

ตั้งแต่เวลา 9.00-17.00 น.

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!