18.04.2016 Views

SCI Annual Report 2015

Annual Report

Annual Report

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

บริษัท เอสซีไอ อีเลคตริค จากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย<br />

(เดิมชื่อ “บริษัท เอส.ซี.ไอ.อีเลคตริค แม็นนิวแฟ็คเชอเรอ จากัด”)<br />

หมายเหตุประกอบงบการเงิน (ต่อ)<br />

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558<br />

3.18 ผลประโยชน์พนักงาน<br />

ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน<br />

บริษัทรับรู้ เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส และเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดรายการ<br />

ผลประโยชน์หลังออกจากงานของพนักงาน<br />

โครงการสมทบเงิน<br />

บริษัทและพนักงานของบริษัทได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งประกอบด้วยเงินที่พนักงานจ่ายสะสมและเงินที่บริษัท<br />

จ่ายสมทบให้เป็นรายเดือน สินทรัพย์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้แยกออกจากสินทรัพย์ของบริษัท เงินที่บริษัทจ่ายสมทบ<br />

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในปีที่เกิดรายการ<br />

โครงการผลประโยชน์หลังออกจากงาน<br />

บริษัทมีภาระสำหรับเงินชดเชยที่ต้องจ่ายให้แก่พนักงานเมื่อออกจากงานตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งบริษัทถือว่าเงินชดเชยดัง<br />

กล่าวเป็นโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานสำหรับพนักงาน<br />

บริษัทคำนวณหนี้สินตามโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานของพนักงาน โดยใช้วิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณ<br />

การไว้ (Projected Unit Credit Method) โดยผู้เชี่ยวชาญอิสระ ได้ทำการประเมินภาระผูกพันดังกล่าวตามหลักคณิตศาสตร์<br />

ประกันภัยผลกำไรหรือขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuarial gains and losses) สำหรับ<br />

โครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานของพนักงานที่เกิดขึ้นจากการปรับปรุงจากประสบการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงในข้อ<br />

สมมติฐานจะต้องรับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้นผ่านกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในงวดที่เกิดขึ้น<br />

ต้นทุนบริการในอดีตจะถูกรับรู้ทันทีในกำไรหรือขาดทุน<br />

หนี้สินของโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานของพนักงาน ประกอบด้วย มูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการ<br />

ผลประโยชน์ หักด้วย ต้นทุนบริการในอดีตที่ยังไม่ได้รับรู้ และผลกำไรขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์<br />

ประกันภัยที่ยังไม่ได้รับรู้<br />

3.19 ประมาณการหนี้สิน<br />

ประมาณการสำหรับการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และ การฟ้องร้องตามกฎหมายจะรับรู้ก็ต่อเมื่อ กลุ่มบริษัทมีภาระผูกพันใน<br />

ปัจจุบันตามกฎหมายหรือตามข้อตกลงที่จัดทำไว้ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ในอดีตซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้น<br />

มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่าจะส่งผลให้กลุ่มบริษัทต้องสูญเสียทรัพยากรออกไป และตามประมาณการจำนวนที่ต้องจ่ายได้<br />

อย่างน่าเชื่อถือ ประมาณการหนี้สินจะไม่รับรู้สำหรับขาดทุนจากการดำเนินงานในอนาคต<br />

ในกรณีที่มีภาระผูกพันที่คล้ายคลึงกันหลายรายการ กลุ่มกิจการกำหนดความน่าจะเป็นที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรเพื่อ<br />

จ่ายชำระภาระผูกพันเหล่านั้น โดยพิจารณาจากความน่าจะเป็นโดยรวมของภาระผูกพันทั้งประเภท แม้ว่าความเป็นไปได้ค่อนข้าง<br />

แน่ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรเพื่อชำระภาระผูกพันบางรายการที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกันจะมีระดับต่ำ<br />

กลุ่มกิจการจะวัดมูลค่าของจำนวนประมาณการหนี้สิน โดยใช้มูลค่าปัจจุบันของรายจ่ายที่คาดว่าจะต้องนำมาจ่ายชำระ<br />

ภาระผูกพัน โดยใช้อัตราก่อนภาษีซึ่งสะท้อนถึงการประเมินสถานการณ์ตลาดในปัจจุบันของมูลค่าของเงินตามเวลาและ<br />

ความเสี่ยงเฉพาะของหนี้สินที่ก ำลังพิจารณาอยู่ การเพิ่มขึ้นของประมาณการหนี้สินเนื่องจากมูลค่าของเงินตามเวลาจะรับรู้เป็น<br />

ดอกเบี้ยจ่าย<br />

3.20 ทุนเรือนหุ้น<br />

ต้นทุนส่วนเพิ่มที่เกี่ยวข้องกับการออกหุ้นใหม่หรือการออกสิทธิในการซื้อหุ้นซึ่งสุทธิจากภาษีจะถูกแสดงในส่วนของผู้ถือหุ้น<br />

โดยนำไปหักจากสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากการออกตราสารทุนดังกล่าว<br />

กรณีที่บริษัทใดก็ตามในกลุ่มบริษัทซื้อคืนหุ้นสามัญของบริษัทกลับคืน สิ่งตอบแทนที่จ่ายไปรวมถึงต้นทุนเพิ่มเติมที่<br />

เกี่ยวข้องโดยตรงสุทธิจากภาษีเงินได้ จะรับรู้เป็นหุ้นทุนซื้อคืนและแสดงเป็นรายการหักจากยอดรวมของส่วนของผู้ถือหุ้นของ<br />

บริษัทจนกว่าหุ้นทุนซื้อคืนดังกล่าวจะถูกยกเลิกไปหรือจำหน่ายออกไปใหม่ สิ่งตอบแทนใดๆ ที่ได้รับจากการขายหรือนำหุ้น<br />

ทุนซื้อคืนออกจำหน่ายใหม่สุทธิจากต้นทุนเพิ ่มเติมที่เกี่ยวข้องโดยตรงสุทธิจากภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้อง จะแสดงรวมไว้ในส่วน<br />

ของผู้ถือหุ้น<br />

79<br />

รายงานประจำาปี 2558

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!