Better Health 21

The magazine for patients and friends of Bumrungrad International Hospital, Thailand. The magazine for patients and friends of Bumrungrad International Hospital, Thailand.

ข<br />

อต้อนรับสู่<br />

W e l c o m e<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong> นิตยสารสำหรับผู้มีอุปการคุณ<br />

ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล <br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ฉบับนี้ เราให้ความสำคัญกับโรค<br />

เรื้อรังที่บ่อนทำลายสุขภาพของคุณ โดยในหน้า 4 เราพูดถึง<br />

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งทั้งสองโรคนี้มีลักษณะ<br />

เฉพาะที่เหมือนกันหลายประการ เริ่มจากปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้<br />

เกิดโรค ไม่ว่าจะเป็นความอ้วน พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม<br />

หรือประวัติครอบครัว นอกจากนี้จำนวนผู้ป่วยของทั้งสองโรคทั้งใน<br />

ประเทศไทยและทั่วโลกต่างก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง<br />

และท้ายที่สุด ทั้งสองโรคสามารถควบคุมได้ด้วยการปฏิบัติตามคำ<br />

แนะนำของแพทย์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการ<br />

ดูแลตนเองด้วยทัศนคติในเชิงบวกของผู้ป่วย ซึ่งก็คือการยอมรับ<br />

ในการ “อยู่ร่วม” กับโรคแทนที่จะรู้สึก “ทรมาน” จากอาการเจ็บป่วย<br />

ที่กินเวลายาวนาน<br />

งานวิจัยได้เพิ่มความรู้ ความเข้าใจของเราต่อโรคเบาหวานและ<br />

ความดันโลหิตสูง รวมถึงส่งผลต่อความสำเร็จในการควบคุมและ<br />

จัดการกับโรคเรื้อรัง ทั้งนี้ การดูแลทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน<br />

อย่างสม่ำเสมอควบคู่กับการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เหมาะสม<br />

เป็นหัวใจสำคัญในการควบคุมโรค แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ ความมี<br />

วินัยในการดูแลตัวเองของผู้ป่วยที่แม้จะทำได้ยากแต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไป<br />

ไม่ได้ บทสัมภาษณ์ของคุณขจรเกียรติ คงวณิชกิจเจริญ ในหน้า <br />

16 จึงเป็นตัวอย่างอันดีที่ชี้ให้เห็นว่า โรคเรื้อรังไม่ได้ปิดกั้นผู้ป่วย<br />

จากการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข <br />

นอกจากนี้ ในหน้า 12 ยังมีบทความพิเศษเนื่องในโอกาสฉลอง<br />

ครบรอบ 30 ปีของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ที่ <strong>Better</strong> <strong>Health</strong><br />

ได้ขอให้แพทย์ เจ้าหน้าที่ และผู้ป่วยนับตั้งแต่ยุคบุกเบิก มาร่วมย้อน<br />

รำลึกถึงความหลังสุดประทับใจที่มีต่อโรงพยาบาล ที่ได้กลายเป็น<br />

ตำนานแห่งความสำเร็จตลอด 30 ปีที่ผ่านมา<br />

และเช่นเคย หากคุณมีข้อแนะนำ หรือคำติชมใดๆ ส่งมาได้ที่<br />

betterhealth@bumrungrad.com เรายินดีน้อมรับด้วยความ<br />

ขอบคุณ สุดท้ายนี้ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพดีโดยทั่วกันค่ะ <br />

<br />

<br />

<br />

พญ. จามรี เชื้อเพชระโสภณ<br />

ผู้อำนวยการด้านการแพทย์<br />

Contributing Editor<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong><br />

นิตยสาร <strong>Better</strong> <strong>Health</strong> เป็นนิตยสารรายสามเดือนของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อแจกจ่ายเป็นการ<br />

ภายใน จัดทำและจัดพิมพ์โดย บริษัท โอกินส์ แอนด์ สโตน จำกัด เลขที่ 16 อโศกคอร์ท ห้อง 2A ถนนสุขุมวิท <strong>21</strong> (อโศก)<br />

แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ โทร. 0 2261 1<strong>21</strong>1<br />

2010 ข้อเขียนและรูปภาพทุกชิ้นในนิตยสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) ห้ามพิมพ์ซ้ำ<br />

หรือกระทำการใด ๆ ที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจาก บริษัท โรงพยาบาล<br />

บำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) โทร: 0 2667 1000<br />

ข้อความในเนื้อที่โฆษณาของนิตยสารฉบับนี้ที่มิได้เป็นของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) ถือเป็นความเห็นส่วนตัว<br />

ของเจ้าของผลิตภัณฑ์และบริการ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ฯ ไม่มีเจตนาให้การรับรองคุณภาพสินค้า บริการ หรือข้อความ<br />

ที่ปรากฏแต่อย่างใด<br />

C o n t e n t s<br />

4 Hypertension & Diabetes<br />

รู้ทัน เข้าใจ อยู่อย่างปลอดภัยกับโรคความดันและเบาหวาน<br />

<br />

9 Chronic kidney disease<br />

โรคไตเรื้อรัง อีกหนึ่งโรคที่ต้องระวัง<br />

<br />

10 Charity<br />

ภาพศิลป์...จากใจหมอ...สู่ใจเด็ก<br />

<br />

12 Anniversary<br />

ปีบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล<br />

<br />

16 Interview<br />

อยู่อย่างไรให้เป็น “นาย” ของโรค<br />

<br />

20 Q & A<br />

<br />

22 <strong>Health</strong> Briefs<br />

4 10 16<br />

12<br />

ติดต่อโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล<br />

โทรศัพท์: 2667 1000<br />

โทรสาร:<br />

2667 2525<br />

นัดแพทย์: 0 2667 1555<br />

เว็บไซต์: www.bumrungrad.com


HYPERTENSION & DIABETES<br />

รู้ทัน เข้าใจ อยู่อย่างปลอดภัย<br />

กับโรคความดันและเบาหวาน<br />

ว่ากันว่าเราทุกคนต้องรู้จักผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานอย่างน้อย<br />

หนึ่งคน ทั้งสองโรคเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญและมีการรณรงค์ให้<br />

ความรู้ และป้องกันเสมอมา แต่จำนวนผู้ป่วยกลับไม่ได้ลดน้อยลงเลย<br />

เมื่อต้นปี 2553 กระทรวงสาธารณสุขไทยเปิดเผยว่า คนไทยป่วย<br />

ด้วย 5 โรคไม่ติดต่อเรื้อรังอันตราย เพิ่มขึ้นนาทีละ 1 คน โดยในปี <br />

2551 พบผู้ป่วยสะสมจำนวนกว่า 2 ล้านคน และคาดว่ายังมีผู้ป่วย<br />

ซ่อนเร้นอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อายุต่ำกว่า 40 ปีที่มี<br />

แนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ฉบับนี้จึงเน้นไปที่โรคเรื้อรังที่สำคัญ คือ โรคความดัน<br />

โลหิตสูง และโรคเบาหวาน ซึ่งไม่เพียงมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเท่านั้น<br />

แต่ยังเป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคแทรกซ้อน<br />

ร้ายแรงอันเป็นภัยแก่ชีวิตอีกหลายโรค<br />

<br />

ความดันโลหิตสูง<br />

ความดันโลหิต เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ<br />

ร่างกายมนุษย์ ความดันโลหิตเกิดขึ้นเมื่อหัวใจ<br />

บีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดผ่านหลอดเลือดแดง<br />

ไปยังส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ความดันจะ<br />

เพิ่มขึ้นเมื่อหัวใจบีบตัว และลดลงเมื่อหัวใจ<br />

พญ. ประภาพร พิมพ์พิไล<br />

คลายตัวลง โรคความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่ง<br />

ในโรคเรื้อรังที่พบในประชากรส่วนใหญ่<br />

ในโลก องค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ในปี 2542 ว่าผู้ใดมีความดันโลหิต<br />

มากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง<br />

<br />

ความดันโลหิตสูงอันตราย<br />

ความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่เมื่อหัวใจบีบ และคลายตัวแต่ความดัน<br />

ยังคงค้างอยู่ในหลอดเลือด ไม่ลดลงอย่างที่ควรจะเป็นซึ่งพญ. ประภาพร <br />

พิมพ์พิไล อายุรแพทย์ อธิบายว่า “การมีความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่อง<br />

เป็นเวลานาน สร้างความเสียหายแก่หลอดเลือดหลายประการ อาทิ <br />

หลอดเลือดแข็ง หลอดเลือดโป่งพอง อีกทั้งยังอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อน<br />

ที่เป็นอันตรายอีกหลายโรค”<br />

ความดันโลหิตสูงมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอด<br />

เลือดสมอง โรคไต และโรคเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง การควบคุมรักษา<br />

ความดันโลหิตสูงอย่างเหมาะสมจึงมีความสำคัญในการป้องกันโรค<br />

แทรกซ้อนที่จะเกิดกับอวัยวะต่าง ๆ ดังกล่าวคือ หัวใจวาย หลอดเลือด<br />

หัวใจตีบ โรคไตวายเรื้อรัง อัมพาต และอัมพฤกษ์ <br />

<br />

สาเหตุ และอาการ<br />

โรคความดันโลหิตสูงซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ป่วยส่วนมาก กว่าร้อยละ 85 ไม่มี<br />

สาเหตุที่ชัดเจน และมักสัมพันธ์กับประวัติในครอบครัว เราเรียกโรค<br />

ความดันโลหิตสูงกลุ่มนี้ว่าเป็น Primary หรือ Essential Hypertension<br />

“ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงแบบ Primary Hypertension นั้น<br />

ไม่อาจรักษาให้หายได้ ต้องอาศัยการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดร่วมกับการ<br />

ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต” พญ. ประภาพรอธิบาย “ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งซึ่งเกิดกับ


ผู้ป่วยส่วนน้อย ได้แก่ Secondary Hypertension หรือโรคความดัน<br />

โลหิตสูงจากสาเหตุอื่น อาทิ โรคไต โรคที่เกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ (ต่อมไทรอยด์<br />

ต่อมหมวกไต) การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยาเสตียรอยด์ หรือ<br />

ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ (NSAIDs) ซึ่งหากได้รับการแก้ไขที่<br />

สาเหตุ ความดันโลหิตสูงก็จะกลับมาเป็นปกติได้โดยไม่ต้องใช้ยารักษา”<br />

โรคความดันโลหิตสูง ได้รับการขนานนามว่าเป็น “มัจจุราชเงียบ” <br />

เสมอมา ทั้งนี้เพราะส่วนมากโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่ปรากฏอาการ<br />

เตือนใด ๆ ให้ผู้ป่วยได้ทราบเลย<br />

“ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่ค่อยทราบว่าตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง<br />

จนกระทั่งมาพบแพทย์ด้วยความเจ็บป่วยอื่น ๆ เมื่อวัดความดันโลหิต<br />

จึงพบว่าสูง” พญ. ประภาพรเล่า “จากการสำรวจในประเทศไทยเมื่อสัก<br />

4 - 5 ปีที่ผ่านมา พบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวนมากถึงร้อยละ<br />

20 - 30 ของจำนวนประชากร ซึ่งไม่เคยทราบเลยว่าตนเองเป็นโรค<br />

ความดันโลหิตสูง มีผู้ป่วยเพียงส่วนน้อยที่อาจพบอาการผิดปกติ เช่น<br />

ปวดศีรษะ มึนศีรษะ ตาพร่า เลือดกำเดาไหล แล้วรีบไปพบแพทย์<br />

จึงทราบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และได้รับการรักษาเพื่อควบคุม<br />

ความดันโลหิตก่อนที่จะมีอาการแทรกซ้อนของโรคขึ้น” <br />

<br />

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม <br />

โรคความดันโลหิตสูงจัดเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่มีความร้ายแรง เพราะ<br />

ส่วนมากไม่มีทางรักษาแต่สามารถควบคุมได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต <br />

และ/หรือรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง<br />

“ค่าความดันโลหิตเป้าหมายในคนปกติไม่ควรเกินกว่า 120/80 <br />

มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นค่าที่ประเมินกันแล้วว่าไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย<br />

แก่หลอดเลือดมาก เมื่อไรที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ และมีการวัดความดัน<br />

“ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่ค่อย<br />

ทราบว่าตนเองเป็นโรคความดัน<br />

โลหิตสูง จนกระทั่งมาพบแพทย์<br />

ด้วยความเจ็บป่วยอื่น ๆ เมื่อ<br />

วัดความดันโลหิตจึงพบว่าสูง”<br />

ซึ่งอ่านค่าได้ 120/80 หรือมากกว่าก็ต้องถือว่าความดันเริ่มจะสูงแล้ว<br />

(Pre-hypertension) แต่ยังไม่เป็นความดันสูงเต็มขั้น แพทย์จะแนะนำ<br />

เรื่องการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูงไปกว่านี้” <br />

ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่อาจปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตได้ หรือปรับแล้ว แต่ความดัน<br />

ไม่ลดลงตามเป้าหมาย แพทย์จึงจะพิจารณาให้ยาที่เหมาะสมต่อไป<br />

โดยมีเป้าหมายระยะสั้นอยู่ที่การควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์<br />

ไม่เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอทและเป้าหมายระยะยาวอยู่ที่การป้องกัน<br />

ภาวะแทรกซ้อนเพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น <br />

ระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง<br />

ระดับความรุนแรงของโรค<br />

ความดัน<br />

โลหิตค่าบน<br />

(Systolic)*<br />

ความดัน<br />

โลหิตค่าล่าง<br />

(Diastolic)**<br />

คำแนะนำ<br />

ความดันที่เหมาะสม หรือปกติ น้อยกว่า 120 น้อยกว่า 80 ให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยกากใย และการ<br />

ออกกำลังกาย<br />

ความดันโลหิตสูงขั้นต้น<br />

Pre-hypertension<br />

**<br />

*<br />

120 - 139 80 - 89 ต้องหมั่นตรวจวัดความดัน รับประทานผักผลไม้ให้มากกว่าเดิม และ<br />

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ<br />

ความดันโลหิตสูงขั้นที่ 1 140 - 159 90 - 99 ตรวจวัดความดัน และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ อาจต้องได้รับยา <br />

ควบคู่ไปกับการปรับการบริโภค และออกกำลังกายให้มากขึ้น<br />

ความดันโลหิตสูงขั้นที่ 2 160 ขึ้นไป 100 ขึ้นไป<br />

ความดันโลหิตค่าบน หรือความดันซีสโตลี (Systolic Blood Pressure) คือ แรงดันโลหิตเลือดขณะหัวใจบีบตัว<br />

ความดันโลหิตค่าล่าง หรือความดันไดแอสโตลี (Diastolic Blood Pressure) คือ แรงดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว<br />

ตรวจวัดความดัน จดบันทึก และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อควบคุม<br />

ผลกระทบที่อาจเกิดกับอวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งระวังเรื่องอาหารให้มาก <br />

งดอาหารเค็ม เน้นผักผลไม้ และออกกำลังกายให้มากขึ้น


ปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต<br />

ความดันโลหิตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตามปัจจัย<br />

ต่าง ๆ ดังนี้<br />

อายุ เมื่ออายุมากขึ้นความดันโลหิตมักสูงขึ้น<br />

เพศ ชายมักพบความดันโลหิตสูงบ่อยกว่าหญิง<br />

พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม ผู้ที่บิดา มารดา มีความดันโลหิตสูง <br />

มีแนวโน้มเป็นโรคนี้มากขึ้น<br />

ความอ้วน และขาดการออกกำลังกาย<br />

สภาวะทางอารมณ์ เช่น เครียด<br />

โกรธ เจ็บปวด เสียใจ ตื่นเต้น<br />

ส่งผลต่อความดันโลหิตทั้งสิ้น<br />

ซึ่งสามารถกลับเป็นปกติ เมื่อ<br />

ผ่านพ้นภาวะนั้น ๆ<br />

เชื้อชาติ<br />

อาหาร เช่นเกลือและส่วนประกอบ<br />

ของเกลือที่อาจนึกไม่ถึง เช่น ซีอิ๊ว น้ำปลา<br />

ผงชูรส ผงฟู ก้อนซุปสำเร็จรูปมีรายงานชัดเจนว่าเกลือส่งผล<br />

โดยตรงต่อความดันโลหิต<br />

บุหรี่ สุรา และกาแฟ<br />

สมุนไพรบางชนิด เช่น อบเชย<br />

ผลของยา เช่น ฮอร์โมนคุมกำเนิด ยากลุ่ม Non Steroid,<br />

Anti Inflammation.<br />

พญ. ประภาพรเน้นว่า “ไม่ว่าจะอย่างไรแพทย์ก็อยากให้ผู้ป่วย<br />

ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และออกกำลังกายซึ่งเป็นวิธีการที่ปลอดภัยที่สุด<br />

ได้ผลแน่นอน และยังช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคอื่น ๆ ลงไปได้อีกหลายโรค <br />

และที่ลืมไม่ได้ คือ ผู้ป่วยจำเป็นต้องหมั่นตรวจวัดความดันอย่าง<br />

สม่ำเสมอเพื่อติดตามผลการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยา หรือ<br />

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต”<br />

แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังอันตราย แต่หากคุณตั้งใจ<br />

จริงที่จะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเสียใหม่ โรคความดันโลหิตสูงก็จะไม่เป็น<br />

ปัญหาสำหรับคุณอีกต่อไป<br />

<br />

เบาหวาน <br />

โรคเบาหวานเป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรังอันตรายที่มักพบร่วมกันกับโรค<br />

ความดันโลหิตสูง องค์การอนามัยโลกระบุไว้ว่าในปีนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน<br />

ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 285 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 6.4 ของจำนวน<br />

ประชากรทั่วโลก และคาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า จำนวนผู้ป่วยจะพุ่งขึ้น<br />

เป็น 438 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 7.8 ของจำนวนประชากรทั่วโลก<br />

ในประเทศไทย จากการเก็บข้อมูลของกรมการแพทย์ตั้งแต่ปี 2548 -<br />

2552 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี อีกทั้งพบ<br />

<br />

ผู้ป่วยที่อายุน้อยลง ๆ ผศ. นพ. วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์ อายุรแพทย์ และ<br />

ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบต่อมไร้ท่อ (เบาหวาน) ให้ความรู้เรื่องเบาหวานไว้ดังนี้ <br />

<br />

เบาหวานคืออะไร<br />

“เบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากไม่<br />

อาจนำแป้ง และน้ำตาลที่บริโภคเข้าไปมาใช้ได้ เนื่องจาก ประการแรก <br />

ตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ หรือได้ไม่มากพอ โดยอินซูลิน<br />

นี้มีหน้าที่ช่วยส่งผ่านน้ำตาลที่อยู่ในรูปของกลูโคสในกระแสเลือดไปสู่<br />

ระบบเนื้อเยื่อต่าง ๆ เพื่อนำไปเผาผลาญ และแปลงเป็นพลังงาน ประการ<br />

ที่สอง เนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ (ไขมัน ตับ กล้ามเนื้อ ฯลฯ) มีภาวะ<br />

ดื้อต่ออินซูลิน” ผศ. นพ. วราภณกล่าว<br />

ด้วยความผิดปกติทั้งสองประการข้างต้น ส่งผลให้มีน้ำตาลตกค้าง<br />

อยู่ในกระแสเลือดในปริมาณมาก และหาก<br />

ไม่มีการดูแลรักษาอย่างถูกต้องก็จะนำไปสู่<br />

ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ มากมาย<br />

โดยทั่วไป โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น<br />

2 ประเภท ได้แก่ เบาหวานประเภทที่หนึ่ง <br />

และเบาหวานประเภทที่สอง ซึ่ง ผศ. นพ.<br />

วราภณอธิบายต่อว่า “เบาหวานประเภท<br />

ที่หนึ่งนั้นพบค่อนข้างน้อยประมาณ<br />

ร้อยละ 5 ของผู้ป่วยเบาหวานไทย<br />

เบาหวานประเภทนี้เกิดจากการที่ตับอ่อน<br />

ไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เลย ผู้ป่วย<br />

จำเป็นต้องพึ่งการฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอ ไม่เช่นนั้นอาจ<br />

ก่อให้เกิดภาวะขาดอินซูลิน และระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากจนกระทั่ง<br />

หมดสติ และเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้ โรคเบาหวานประเภทที่หนึ่ง<br />

มักจะพบในเด็กและวัยรุ่น มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการที่ภาวะ<br />

ภูมิต้านทานทำลายเซลล์ที่สร้างอินซูลินในตับอ่อน นอกจากนี้ ระดับ<br />

น้ำตาลที่สูงเรื้อรังจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังต่อไป<br />

ผศ. นพ. วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์<br />

อาการของเบาหวานที่ต้องสังเกต<br />

เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง คุณอาจมีอาการดังต่อไปนี้ <br />

ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน <br />

กระหายน้ำ เนื่องจากสูญเสียน้ำมากจากการปัสสาวะ <br />

อ่อนเพลีย และน้ำหนักลดเนื่องจากร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้ <br />

หิวบ่อย รับประทานเก่งขึ้น <br />

คันตามตัว ติดเชื้อได้ง่าย เป็นเชื้อรา ตกขาวบ่อย<br />

ตาพร่า เห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน<br />

ขาชาอันเนื่องมาจากปลายประสาทเสื่อม


ส่วนโรคเบาหวานประเภทที่สองเป็นชนิดที่พบได้<br />

บ่อยคิดเป็นร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานไทย<br />

โดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุตั้งแต่ 40 ปี<br />

ขึ้นไป “เบาหวานประเภทที่สองเกิด<br />

จากการที่ตับอ่อนของผู้ป่วย<br />

ไม่สามารถสร้างอินซูลินให้<br />

เพียงพอ และร่างกายมีภาวะ<br />

ดื้ออินซูลิน” ผศ. นพ. วราภณ<br />

กล่าว “เบาหวานประเภทนี้<br />

มักไม่พบอาการอันตราย<br />

อย่างเฉียบพลันเหมือน<br />

แบบแรก แต่หากไม่มี<br />

การควบคุมให้ดีก็จะนำ<br />

ไปสู่ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง<br />

ที่เป็นอันตรายอย่างเฉียบพลัน<br />

ได้เช่นกัน” <br />

<br />

คุณเป็นเบาหวานหรือไม่ <br />

การตรวจสอบว่าเป็นโรคเบาหวาน<br />

หรือไม่ ทำได้โดยการตรวจวัดระดับ<br />

น้ำตาลในเลือดซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย และ<br />

ได้ผลดี การวินิจฉัยโรคเบาหวาน<br />

สามารถทำได้โดยอาศัยเกณฑ์การ<br />

วินิจฉัยดังนี้<br />

มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย<br />

8 ชั่วโมง มากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร <br />

มีอาการของโรคเบาหวาน ร่วมกับระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ตาม<br />

มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร<br />

มีระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร<br />

ณ 2 ชั่วโมง ภายหลังทดสอบความทนต่อน้ำตาลกลูโคส 75 กรัมที่<br />

รับประทานเข้าไป<br />

มีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 6.5 ขึ้นไป<br />

ปรับนิสัย เปลี่ยนอาหาร รับมือความดัน และเบาหวาน<br />

กุญแจสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน <br />

ควบคุมและอยู่กับโรคได้อย่างมีความสุข ได้แก่ การควบคุมเรื่อง<br />

การรับประทานอาหาร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งเรามี<br />

คำแนะนำ ดังต่อไปนี้ <br />

เลือกรับประทานอาหารจำพวกแป้งจากธัญพืชที่ไม่ขัดสี ในปริมาณ<br />

ที่พอเหมาะ<br />

พยายามงดอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นหวาน มัน หรือเค็ม<br />

รับประทานผัก และผลไม้ที่ไม่หวานจัดเพื่อเพิ่มกากใยอาหาร <br />

ควบคุมน้ำหนัก<br />

งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา<br />

<br />

ใครบ้างที่เสี่ยงเบาหวาน!<br />

คุณมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภทที่ 2 รวมทั้ง<br />

โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง และ<br />

โรคหลอดเลือดสมอง หากคุณ<br />

อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป <br />

มีประวัติครอบครัวโรคเบาหวาน<br />

เป็นผู้มีน้ำหนักเกิน หรือมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25<br />

มีความดันโลหิต หรือมีน้ำตาลในเลือดสูง (เป็นโรคใด <br />

โรคหนึ่ง ความเสี่ยงต่ออีกโรคก็เพิ่มขึ้น)<br />

มีระดับไขมันในเลือดสูง<br />

สตรีที่มีประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนัก<br />

บุตรแรกคลอดมากกว่า 4 กก.<br />

ไม่ออกกำลังกาย<br />

ดื่มสุรา และ/หรือสูบบุหรี่<br />

“หากผลการตรวจหลังงดอาหารและเครื่องดื่มแล้ว ปรากฏว่ามีน้ำตาล<br />

อยู่กระแสเลือด 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เดี๋ยวนี้ก็ถือว่าเริ่มผิดปกติ <br />

และมีแนวโน้มว่าจะเป็นเบาหวานเต็มขั้นหากไม่รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรม<br />

การปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง<br />

เป็นเวลานาน ๆ เป็นที่มาของภาวะ<br />

แทรกซ้อนต่าง ๆ เมื่อประกอบกับภาวะ<br />

น้ำหนักเกิน ไขมันสูงและความดัน<br />

โลหิตสูง ย่อมส่งผลเสียต่อโครงสร้าง<br />

และการทำงานของหลอดเลือดทำให้<br />

อวัยวะต่าง ๆ ค่อย ๆ เสื่อมหน้าที่ลง” <br />

ผศ. นพ. วราภณกล่าว<br />

<br />

อยู่กับเบาหวานอย่างสบายใจ <br />

สำหรับการดูแลและรักษาโรค<br />

เบาหวานนั้น ผศ. นพ. วราภณ<br />

อธิบายว่าการรักษาเบาหวาน<br />

ประเภทที่สอง หากโรคยังอยู่ใน<br />

ระยะเริ่มต้น ก็สามารถอาศัยการ<br />

ควบคุมอาหาร ลดน้ำหนัก และ<br />

ออกกำลังกายได้ แต่ถ้าเป็นมากขึ้น<br />

ก็ต้องให้รับประทานยาควบคู่กันไป<br />

ส่วนในรายที่ใช้ยาเม็ดแล้วไม่ได้ผลก็<br />

ต้องพึ่งยาฉีดอินซูลินเช่นเดียวกับผู้ป่วย<br />

เบาหวานประเภทที่หนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้อง<br />

เรียนรู้การฉีดอินซูลินด้วยตนเอง เพราะต้องฉีดเองที่บ้านเป็นประจำทุกวัน<br />

เป้าหมายในการรักษาโรคเบาหวานอยู่ที่การควบคุมน้ำตาลในเลือด <br />

ความดันโลหิต ไขมันในเลือด และน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม<br />

เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้ ก็เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี และอายุ<br />

ที่ยืนยาวขึ้นของผู้ป่วยนั่นเอง<br />

“หากผู้ป่วยปรารถนาจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้ป่วย และผู้ดูแลควร<br />

มีความเข้าใจว่าเป้าหมายการรักษาคืออะไร และปฏิบัติตามคำแนะนำของ<br />

แพทย์อย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอ ถ้าทำได้ก็จะสามารถอยู่กับเบาหวาน<br />

อย่างสบายใจ และสบายกายมากขึ้น” ผศ. นพ. วราภณกล่าวปิดท้าย<br />

ออกกำลังกายเป็นประจำในแบบแอโรบิควันละ<br />

30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ตามคำแนะนำของแพทย์ <br />

รับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิต หรือ<br />

เบาหวานตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ<br />

ระวังอย่ารับประทานยาใด ๆ เองโดยไม่ได้<br />

ปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะยากลุ่มที่เป็น<br />

เสตียรอยด์ ยาฮอร์โมน<br />

หมั่นศึกษาหาความรู้ในการดูแลตนเอง<br />

ทำจิตใจให้สงบ และผ่อนคลายความเครียด<br />

ไม่โกรธ หรือโมโหง่าย


CHRONIC KIDNEY DISEASE<br />

โรคไตเรื้อรัง อีกหนึ่งโรคที่ต้องเฝ้าระวัง<br />

ไ<br />

ต อวัยวะที่เปรียบได้กับโรงบำบัดของเสียที่ต้องอยู่กับมลพิษ<br />

ตลอดเวลา เนื่องจากมีหน้าที่กรองของเสียออกจากกระแสเลือด <br />

การทรุดโทรมของไตจึงเกิดขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้<br />

รูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน<br />

<br />

สาเหตุของโรค<br />

นพ. สิร สุภาพ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไตวิทยา อธิบายถึงสาเหตุ<br />

ของการเกิดโรคไตเรื้อรังไว้ว่า เกิดได้ทั้งจากโรคในเนื้อไตเองและจากโรคอื่น<br />

นพ. สิร สุภาพ<br />

“โรคไตในระยะแรก ๆ <br />

จะไม่แสดงอาการ ผู้ป่วย<br />

ส่วนใหญ่ที่ตรวจพบว่า<br />

เป็นโรคไต ก็อยู่ที่ระดับสี่<br />

ซึ่งประสิทธิภาพของไตได้<br />

ลดลงไปกว่าร้อยละ 70 แล้ว”<br />

อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน รวมไปถึง โรค SLE โรค<br />

เอดส์ โรคซิฟิลิส และโรคตับอักเสบบี ซี ซึ่งโรคเหล่านี้ส่งผลให้ไตต้อง<br />

ทำงานหนัก จนเสื่อมสภาพในที่สุด<br />

“โรคอันดับต้น ๆ ที่ทำให้ไตเสื่อม คือโรคเบาหวาน เพราะไปทำให้<br />

น้ำตาลในไตสูง โรคความดันโลหิตสูงซึ่งไปเพิ่มความดันเลือดในไต และ<br />

โรคอ้วน ที่เหมือนกับการเอาเครื่องยนต์ขนาดเล็กไปใช้กับรถคันใหญ่<br />

เพราะการปล่อยให้มีน้ำหนักตัวมาก ก็ยิ่งทำให้ไตต้องทำงานมาก <br />

นอกจากนี้การสูบบุหรี่ก็มีผลทำให้ไตเสื่อมเช่นกัน” นพ. สิร อธิบาย<br />

<br />

โรคไตคือภัยเงียบ<br />

โรคไตแบ่งออกได้เป็น 5 ระยะตามประสิทธิภาพการทำงานของไต <br />

(ดูตาราง) โดยในระยะแรก ๆ จะไม่แสดงอาการ แพทย์มักพบว่า ผู้ป่วย<br />

ส่วนใหญ่ที่ตรวจพบว่าเป็นโรคไต คือมีอาการอยู่ที่ระดับสี่แล้ว ซึ่งหมายถึง<br />

ประสิทธิภาพการทำงานของไตได้ลดลงไปกว่าร้อยละ 70 <br />

“ปัญหาคือ ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคไต ไตเสียไปครึ่งหนึ่ง<br />

แล้วก็ยังไม่มีอาการ เพราะโรคไตเป็นโรคที่หากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ<br />

อย่างสม่ำเสมอจะไม่มีทางรู้ได้เลย เป็นหมอไตเองก็ไม่รู้ว่ามีโรคไตอยู่<br />

ถ้าไม่เช็คตัวเอง” นพ. สิร กล่าว<br />

<br />

รักษาที่สาเหตุ<br />

ในการรักษาโรคไตเรื้อรังนั้น นพ. สิรอธิบายว่าจำเป็นต้องแก้ที่สาเหตุ <br />

เช่น ควบคุมเบาหวาน ลดความดัน ควบคุมน้ำหนัก ซึ่งทั้งหมดนี้ทำได้<br />

ด้วยการควบคุมอาหาร โดยเน้นที่การจำกัดปริมาณเกลือ ปริมาณโปรตีน <br />

และปริมาณฟอสเฟต ซึ่งมักจะอยู่ในนมและถั่ว เพราะเป็นอาหารที่ทำให้<br />

ไตทำงานหนัก นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึก<br />

ละเลิกบุหรี่ และอย่าปล่อยให้ตัวเองเครียด<br />

“การคุมอาหารเป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับผู้ป่วย แต่ต้องพยายามทำให้ได้<br />

เพราะถ้าคุมอาหารได้ ยาก็จะทำงานได้ผลดี คนไข้ที่ยังทำไม่ได้ หมอจะ<br />

แนะนำให้นั่งสมาธิ เพราะช่วยทั้งในเรื่องของการควบคุมจิตใจและยังทำให้<br />

อารมณ์ดีอีกด้วย” นพ. สิร แนะนำ<br />

ระยะของโรคไตเรื้อรัง<br />

เพราะโรคไตเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการในระยะแรก การเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อหาค่า GFR (Glomerular Filtration Rate) <br />

หรือ อัตรากรองของไตเท่านั้นจึงจะทราบระยะของโรคได้ ดังนี้<br />

อัตรากรองของไต*<br />

ระยะของโรค<br />

ระยะที่ 1<br />

ระยะที่ 2<br />

ระยะที่ 3<br />

ระยะที่ 4<br />

ระยะที่ 5<br />

90 - 100 %<br />

60 - 89 %<br />

30 - 59 %<br />

15 - 29 %<br />

ต่ำกว่า 15 %<br />

* ระดับการทำงานของไตที่ถือว่าปกติหรือ 100% เทียบเท่ากับค่า GFR 90 - 120 มิลลิลิตร/นาที<br />

อาการที่สังเกตได้<br />

การทำงานของไตยังเป็นปกติ แต่อาจไม่สามารถรับยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบได้ อาจมี<br />

โปรตีนรั่วมาในปัสสาวะ<br />

ผลตรวจเลือดโดยทั่วไปยังไม่แสดงความผิดปกติ ความดันเลือดอาจสูงขึ้นเล็กน้อย<br />

ถ้าปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตตั้งแต่ช่วงนี้อาจหายได้โดยไม่ต้องรับการรักษา<br />

ผลตรวจเลือดแสดงความผิดปกติ อาจมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว เพลีย และแขนขาบวม<br />

แบบอ่อน ๆ มีโอกาสต้องเข้ารับการล้างไต<br />

ผู้ป่วยบางรายจะรู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ตัวซีด ผิวแห้ง และขาบวม หากผู้ป่วยไตอักเสบ <br />

จะพบโปรตีนรั่วมากับปัสสาวะ ควรควบคุมความดันเลือดอย่างเคร่งครัดและจำเป็นต้อง<br />

เข้ารับการฟอกเลือด<br />

อาการหนัก สามารถติดเชื้อได้ง่าย คนไข้ต้องได้รับการฟอกเลือดอย่างเร่งด่วน ก่อนที่อาการ<br />

จะรุนแรงจนไม่มีทางแก้ไข


CHARITY<br />

มูลนิธิโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จัดแสดงภาพวาดการกุศล<br />

“ภาพศิลป์...จากใจหมอ...สู่ใจเด็ก”<br />

ช่วยผ่าตัดหัวใจเด็กผู้ยากไร้<br />

มูลนิธิโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ร่วมกับมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ<br />

และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดนิทรรศการภาพวาดการกุศล<br />

“ภาพศิลป์...จากใจหมอ...สู่ใจเด็ก” จำนวนกว่า 180 ภาพ ซึ่งเป็นฝีมือศิลป์ของแพทย์และ<br />

ผู้บริหารระดับสูงของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ตลอดจนศิลปินที่มีจิตศรัทธาและร่วมอุทิศ<br />

แรงกายแรงใจในการวาดภาพเพื่อนำรายได้สนับสนุนโครงการ “รักษ์ใจไทย” ของมูลนิธิโรงพยาบาล<br />

บำรุงราษฎร์ เพื่อผ่าตัดเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดผู้ยากไร้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ในโอกาสครบรอบ <br />

30 ปี โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

ผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจที่ได้รับการผ่าตัด<br />

หัวใจแล้วตามโครงการ "รักษ์ใจไทย" <br />

บุคคลในภาพ (จากซ้าย) รองศาสตราจาย์<br />

นายแพทย์กวี สุวรรณกิจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์,<br />

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บุญชอบ พงษ์พานิช <br />

ประธานมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ, แพทย์หญิงจามรี <br />

เชื้อเพชระโสภณ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ <br />

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, มร. แมค แบนเนอร์ <br />

ผู้อำนวยการด้านบริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์,<br />

นายแพทย์ปัญญา กีรติหัตถยากร ที่ปรึกษา<br />

อาวุโส สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ <br />

(สปสช.), แพทย์หญิงกาญจนา สุทธากิจพันธ์ <br />

และแพทย์หญิงประภาพรรณ นาควัชระ<br />

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

รศ. นพ. กวี สุวรรณกิจ กับผลงาน "แมวเหมียว"<br />

ผลงาน "หนูน้อยชาวเขา"<br />

โดย พญ. กาญจนา สุทธากิจพันธ์<br />

ผลงาน "พลังแผ่นดิน" <br />

โดย พญ. ประภาพรรณ นาควัชระ<br />

ส่งความสุขปีใหม่...พร้อมมอบ<br />

หัวใจดวงใหม่แก่เด็กยากไร้<br />

เลือกส่งความสุขแก่คนที่คุณรักด้วยไปรษณียบัตรชุด “ภาพศิลป์...จาก<br />

ใจหมอ...สู่ใจเด็ก” โดยรายได้นำเข้ามูลนิธิโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เพื่อ<br />

สมทบทุนโครงการ “รักษ์ใจไทย” เพื่อผ่าตัดเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด<br />

ผู้ยากไร้ จำหน่ายในราคาชุดละ 250 บาท (1 ชุดมี 12 ภาพ) สนใจสั่งซื้อ<br />

ได้ที่บูธ “รักษ์ใจไทย" ชั้น M อาคารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ หรือสอบถาม<br />

ได้ที่ 084 555 4815<br />

10


30th ANNIVERSARY<br />

บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล<br />

2523 ไม่ว่าจะเป็นปีแรก<br />

ติณสูลานนท์<br />

มีเหตุการณ์สำคัญมากมายเกิดขึ้นในปีพ.ศ.<br />

แพร่สัญญาณเป็นครั้งแรก ปีที่โรนัลด์<br />

ของการก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของพลเอกเปรม<br />

เรแกน คว้าชัยชนะเหนือจิมมี คาร์เตอร์ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่ง<br />

ปีที่สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น<br />

สหรัฐอเมริกา<br />

ปี พ.ศ. 2523 อีกเช่นกัน ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งเปิดตัวขึ้น ณ ต้นถนน<br />

สุขุมวิท ด้วยจำนวนแพทย์เพียง 4 คน กับเจ้าหน้าที่อีกเพียงหยิบมือ ทุกคน<br />

ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างดีที่สุด เพื่อรองรับผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาใน<br />

ช่วงแรกเพียงไม่กี่ร้อยคนต่อวัน<br />

บางเรื่องราวอาจเกิดขึ้นเพื่อวันหนึ่งจะเหลือเพียงความทรงจำ แต่บาง<br />

เรื่องราวเกิดขึ้นเพื่อจะเติบโตต่อไปอย่างยิ่งใหญ่และยั่งยืน...<br />

17 กันยายน 2523<br />

2523<br />

เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในฐานะ<br />

โรงพยาบาลเอกชนขนาด 200 เตียง<br />

12<br />

<br />

2532<br />

จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในชื่อ บริษัท<br />

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) <br />

<br />

2542<br />

โรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้<br />

รับการรับรองมาตรฐานจากสถาบันรับรอง<br />

คุณภาพโรงพยาบาลไทย (Hospital <br />

Accreditation Thailand)<br />

<br />

<br />

2543<br />

โรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับ<br />

การรับรองมาตรฐานคุณภาพระบบงานองค์กร<br />

หรือ ISO 9000<br />

<br />

2545<br />

ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลระดับ<br />

สากลเป็นแห่งแรกในเอเชียตามมาตรฐาน<br />

ของ Joint Commission International (JCI) <br />

แห่งสหรัฐอเมริกา


นพ. วัชรพงศ์ แซ่ซือ อายุรแพทย์<br />

“<br />

ผมอยู่ที่นี่ตั้งแต่เริ่มเปิดทำการวันแรกจนถึงวันนี้ บำรุงราษฎร์เป็นเสมือนบ้านของผม จากจุด<br />

เริ่มต้น บ้านของเราดีขึ้นเรื่อย ๆ เป็นที่อยู่ของคนมากขึ้นเรื่อย ๆ 30 ปีนี่ไม่น้อยเลยนะกับการ<br />

ที่คน ๆ หนึ่งเลือกที่จะทำงานกับองค์กรใด ๆ สักแห่งหนึ่ง หากจะถามถึงความประทับใจ ก็ต้อง<br />

บอกว่าประทับใจทุกเรื่อง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มาหาผม บางรายผมดูแลมาตั้งแต่ตอนเขาเป็น<br />

นักเรียน จนตอนนี้ก็ยังพาลูกมาหา มาปรึกษา จนเรารู้สึกว่า ผู้ป่วยที่มาปรึกษานั้นไม่ใช่ใครอื่น<br />

แต่เป็นเหมือนญาติ เหมือนสมาชิกในครอบครัวของเรา ในแง่ของการทำงาน ที่นี่มีระบบงานดี<br />

มีบรรยากาศในการทำงานที่ดี เราเลยทำงานด้วยความสบาย ”<br />

คุณสิทธ์ ทวีสิน นักธุรกิจ/นักศึกษาปริญญาโท<br />

“<br />

สำหรับผม บำรุงราษฎร์ คือ ความอบอุ่น เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ผมเกิดที่นี่ และใช้บริการที่นี่<br />

มาตลอด ใช้บริการทั้งครอบครัว เป็นลูกค้ามาตั้งแต่ไหนแต่ไร บำรุงราษฎร์เคยช่วยชีวิตผมถึง<br />

สองครั้ง ตอนนั้นผมยังเด็กอยู่ และเป็นโรคหอบหืดหนักมาก ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลกลางดึก<br />

ซึ่งก็ได้รับการประสานงานในการรักษาอย่างทันท่วงที เช้าวันรุ่งขึ้นก็กลับบ้านได้ มั่นใจครับ<br />

ยิ่งปัจจุบัน โรงพยาบาลมีมาตรฐานดีกว่าเดิมมากก็ยิ่งมั่นใจครับ ”<br />

คุณกัลยา เจนกลรบ ผู้จัดการแผนกคลินิกสุขภาพพนักงาน<br />

“<br />

ผู้บริหารที่นี่ทำให้เรารู้สึกว่าเรามีความสำคัญกับองค์กร ให้รู้ว่าเราคือส่วนหนึ่งของการเป็นเจ้าของ <br />

พอเรารู้สึกเป็นเจ้าของอะไร เราก็รัก และอยากทำให้ดีขึ้น เลยไม่เคยเปลี่ยนไปไหน บำรุงราษฎร์<br />

เป็นองค์กรที่ไม่อยู่เคยนิ่ง ก้าวไกล นำสมัย นำทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าอะไรที่ดีที่สุด ที่หนึ่งที่สุด<br />

เขาต้องไปให้ถึง และก็ไม่เคยทอดทิ้งพนักงาน ไม่เคยมีการเลย์ออฟ ทุกคนก้าวไปพร้อมกัน เดี๋ยวนี้<br />

พอคนรู้ว่าทำงานที่บำรุงราษฎร์ เขาจะพูดว่า ‘โอ้โห คุณทำงานอยู่ในโรงพยาบาลอันดับหนึ่งเลยนะ’ <br />

ความภูมิใจมันก็เกิดขึ้น<br />

”<br />

<br />

2545<br />

2546<br />

<br />

ได้รับรางวัลผู้ส่งออกสินค้าและบริการดีเด่น <br />

(Prime Minister’s Export Award) ประเภท <br />

Outstanding Private Hospital<br />

ได้รับการโหวตให้เป็น “บริษัทขนาดเล็ก<br />

ยอดเยี่ยม” จากนิตยสาร Asiamoney และ<br />

ยังได้รับการโหวตอีกครั้งในปี 2551<br />

2548<br />

2548<br />

ได้รับการเผยแพร่ทางรายการ “60 MINUTES”<br />

ทางสถานีโทรทัศน์ CBS ในสหรัฐอเมริกา<br />

<br />

ปรับชื่อใหม่เป็นโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ <br />

อินเตอร์เนชั่นแนล <br />

ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลระดับสากล<br />

อีกครั้งจาก Joint Commission International<br />

(JCI) แห่งสหรัฐอเมริกา<br />

2551<br />

รับรางวัล AMDIS ซึ่งเป็นรางวัลเชิดชูเกียรติ<br />

ที่มอบแด่ผู้มีความเป็นเลิศ และความสำเร็จ<br />

อย่างโดดเด่นด้านสารสนเทศทางการแพทย์<br />

ประยุกต์<br />

13


คุณวรรณิภา คูหิรัญญรัตน์ เจ้าของกิจการ<br />

“<br />

ดิฉันเป็นลูกค้าของบำรุงราษฎร์มานาน ชอบการดูแลเอาใจใส่ของแพทย์ ลูกของดิฉันทั้งสี่คน<br />

คลอดที่นี่ทั้งหมด ยอมรับว่ารู้สึกผูกพันกับแพทย์ที่นี่ค่ะ คือเค้าดูแลเรามาตั้งแต่ต้นด้วยความใส่ใจ<br />

เป็นอย่างดี แน่นอนว่าบางครั้งก็มีความขลุกขลักไม่สะดวกบ้าง แต่ก็ได้เห็นว่าโรงพยาบาลมีความ<br />

พยายามที่จะปรับปรุงเสมอมา และก็ดีขึ้น ๆ เรื่อย ๆ ตอนนี้สะดวกสบายกว่าเดิมมาก สำหรับดิฉัน <br />

บำรุงราษฎร์ คือความเอาใจใส่อย่างเป็นมืออาชีพค่ะ<br />

”<br />

คุณอนุวัฒน์ ปานทั่งทอง ผู้จัดการแผนกเวชระเบียน<br />

“<br />

ในสมัยนั้นจะอบอุ่นมาก เพราะว่าแผนกห้องตรวจ แผนกบัญชี ห้องยา ห้องแลบ ก็จะอยู่<br />

ใกล้ ๆ กัน ไปไหนมาไหนก็จะรู้จักกันหมด พอทำงานไปได้ปีสองปี ท่านประธาน คุณชัย โสภณพนิช<br />

ก็ให้จดหมายชมเชยว่าเราทำงานดีนะ เราก็ประทับมาก ก็เลยเอาจดหมายไปอวดคุณแม่ บอกว่า<br />

ผมได้ทำงานที่บำรุงราษฎร์แล้ว มีอาชีพที่มั่นคงแล้ว หลังจากทำงานกับผู้มีความรู้ที่โรงพยาบาล<br />

หลาย ๆ ท่าน เราก็ได้ความรู้ได้ประสบการณ์ทั้งในด้านบริหารจัดการ ด้านศิลปวัฒนธรรม<br />

ด้านความรู้ และเทคนิคต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน บำรุงราษฎร์เติบโตอย่าง<br />

สง่างามและกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลกไปแล้ว ”<br />

พญ. จิราพร โหตระกิตย์ กุมารแพทย์<br />

“<br />

ตอนเปิดให้บริการแก่ผู้ป่วย เรามีแพทย์อยู่แค่ 4 คน เจ้าหน้าที่อีกจำนวนหนึ่ง ตอนนั้นเนื่องจาก<br />

โรงพยาบาลมีเพียงแค่ตึกเดียว ทุกคนในโรงพยาบาลรู้จักกันหมด บรรยากาศอบอุ่นเป็นกันเอง<br />

สิ่งที่หมอจำได้ชัดเจน ได้แก่ วิสัยทัศน์ของผู้บริหารซึ่งท่านเคยกล่าวไว้ในระหว่างการประชุมหารือ<br />

ร่วมกันครั้งหนึ่งว่า อยากสร้างโรงพยาบาลแห่งนี้ให้เติบโต เป็นศูนย์กลางในการส่งต่อผู้ป่วยทั้ง<br />

ในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ จนถึงวันนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ก็กลายเป็นศูนย์<br />

การแพทย์ที่ทันสมัย สามารถให้การดูแลรักษาโรคที่มีความซับซ้อนสมดังที่ผู้บริหารได้ตั้งใจไว้ตั้งแต่<br />

แรกเริ่ม การได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรซึ่งมีความมุ่งมั่น ตั้งใจจริงเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจมากค่ะ ”<br />

2551<br />

เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกในไทยที่<br />

ได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ หรือ <br />

Thailand Quality Class (TQC-2008) ที่มี<br />

มาตรฐานเทียบเท่ากับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ<br />

ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้แก่ Malcolm <br />

Baldrige National Quality Award (MBNQA)<br />

2551<br />

14<br />

2551<br />

เปิดให้บริการคลินิกผู้ป่วยนอกบริเวณ<br />

อาคารหลังใหม่ <br />

ได้รับการโหวตจากผู้อ่านนิตยสาร Asian <br />

Wall Street Journal ให้เป็นหนึ่งในบริษัท<br />

ชั้นนำในประเทศไทย (Thailand’s Most <br />

Admired Company) และเป็นที่หนึ่งด้าน<br />

คุณภาพและการบริการ


พญ. ประภาพร พิมพ์พิไล อายุรแพทย์<br />

“<br />

เราจะมีคติอยู่ว่า บำรุงราษฎร์เป็นบ้านที่สอง คือเรารักเหมือนบ้าน เพราะฉะนั้นเวลาทำงานเนี่ย <br />

เผื่อเหลือเผื่อขาดเราก็จะทำให้กันได้ แพทย์แต่ละคนที่เป็นเพื่อนอยู่ในระดับเดียวกันจะคุยกันรู้เรื่อง <br />

คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เวลามีปัญหาอะไรก็จะแบ่งเบาภาระซึ่งกันและกัน ปรึกษากันได้ คนไข้<br />

ก็น่ารัก ที่ดูแลกันมาก็ติดตามมาตลอด จนมีความรู้สึกเหมือนญาติ สิ่งนี้แหละค่ะที่เป็นความผูกพัน<br />

และทำให้อยู่กันมาได้นาน ”<br />

คุณนิเวส รัตนชัยเจริญ ทนายความ<br />

“<br />

ผมเลือกบำรุงราษฎร์ เพราะว่าที่นี่มีบริการทุกอย่าง ทั้งพ่อ แม่ และครอบครัวของผมเองก็<br />

มารักษาที่นี่ เครื่องไม้เครื่องมือทันสมัย สะอาดสะอ้าน วางใจได้ หลายอย่างดีขึ้นกว่าเดิมมาก<br />

โดยเฉพาะการนัดหมายแพทย์ล่วงหน้า คุณมาตามนัดตรงเวลา ก็รอแค่สองสามนาทีก็ได้พบ<br />

แพทย์แล้ว นัดผมผ่าตัดตอนตีสี่ พอมาถึงก็เข้าห้องผ่าตัดเลย ทุกอย่างเตรียมไว้เรียบร้อยหมดแล้ว <br />

หากจะถามว่าเมื่อพูดถึงบำรุงราษฎร์ จะนึกถึงอะไร ก็ต้องบอกว่า ผมนึกถึงสถานพยาบาลที่ให้<br />

บริการอย่างครบวงจร นี่คือสาเหตุที่ผมใช้บริการที่นี่เสมอมาตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น<br />

”<br />

คุณวรรณวิมล บ่างแสงนุรัตน์ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ<br />

“<br />

ดิฉันเริ่มทำงานวันแรกเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2523 มาถึงตอนนี้ก็ 30 ปีพอดี ตอนนั้นเรามีกันแค่<br />

ไม่กี่คน มีตึกเจ็ดชั้นอยู่ตึกเดียว เด่นเป็นสง่ามากค่ะ เพราะสมัยนั้น แถวนี้เป็นบ้านเดี่ยวเสียส่วนใหญ่ <br />

ตลอดเวลาที่ร่วมงานกับบำรุงราษฎร์มา เห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายประการซึ่งล้วนแต่เป็น<br />

ความพยายามปรับปรุงและพัฒนาให้โรงพยาบาลมีคุณภาพเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น เป็นโอกาสให้เราในฐานะ<br />

ที่เป็นบุคลากรคนหนึ่ง ได้เรียนรู้ ปรับตัว และทำความคุ้นเคยกับระบบ และนวัตกรรมใหม่ ๆ<br />

เรียกว่าได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอยู่ตลอดเวลา ในวาระครบรอบ 30 ปีนี้<br />

ขอให้โรงพยาบาลเติบโตด้วยคุณภาพ และก้าวหน้าอย่างมั่นคงค่ะ ”<br />

<br />

<br />

รับรางวัลสถานพยาบาลยอดเยี่ยมด้านการ<br />

ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical<br />

Tourism) จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย<br />

ได้รับรางวัล “องค์กรที่มีนวัตกรรม<br />

ยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย” จาก<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับ<br />

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ<br />

<br />

2552<br />

ได้รับรางวัล “สถานประกอบกิจการดีเด่น<br />

ด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน” <br />

ประเภทสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ที่ไม่มี<br />

สหภาพแรงงาน (Thailand Best Employer)<br />

จากกระทรวงแรงงาน (และรับรางวัลอีกครั้ง<br />

ในปี 2553)<br />

2553<br />

2553<br />

ได้รับรางวัลผู้ส่งออกสินค้าและบริการดีเด่น <br />

(Prime Minister’s Export Award) ประเภท <br />

Best Service Provider 2010 <br />

รับรางวัลสถานพยาบาลดีเด่นด้านการส่งเสริม<br />

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism)<br />

อีกครั้งจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย<br />

ได้รับเลือกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

ร่วมกับหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจให้เป็น <br />

1 ใน 10 องค์กรที่มีนวัตกรรมยอดเยี่ยม<br />

แห่งประเทศไทยเป็นครั้งที่ 3<br />

2553<br />

15


INTERVIEW<br />

อยู่อย่างไร ให้เป็น<br />

“นาย” ของโรค<br />

30 ปีกับโรคเบาหวาน ผ่านการทำบายพาส<br />

หลอดเลือดหัวใจ แต่ยังยิ้มได้แม้ ในวัย 70<br />

เ<br />

ป็นที่ทราบกันดีว่า หัวใจสำคัญของการมีสุขภาพดี ได้แก่ การเลือก<br />

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับ<br />

การไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอรับคำแนะนำที่ถูกต้องในการ<br />

ดูแลตัวเอง ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากเราไม่ตระหนักถึงบทบาท<br />

ของตนเองในการดูแลสุขภาพร่างกาย <br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ฉบับนี้ได้พูดคุยกับคุณ<br />

ขจรเกียรติ คงวณิชกิจเจริญ นักวิ่งสมัครเล่น<br />

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่อยู่ร่วมกับโรคนี้มาถึง<br />

30 ปี และเกือบย่ำแย่ด้วยโรคแทรกซ้อนจน<br />

ท้ายที่สุดต้องเข้ารับการผ่าตัดบายพาสหลอด<br />

เลือดหัวใจ น่าสนใจว่าคุณขจรเกียรติมีเคล็ดลับ<br />

ในต่อสู้ และอยู่ร่วมกับโรคเรื้อรัง รวมทั้งกลับ<br />

คุณขจรเกียรติ คงวณิชกิจเจริญ<br />

มาทำกิจกรรมที่ชอบอันได้แก่การวิ่งได้อย่างไร<br />

ภายหลังการผ่าตัด<br />

<br />

ต่างโรค ต่างวาระ<br />

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน คุณขจรเกียรติซึ่งขณะนั้นอายุ<br />

ได้ 40 ปีได้ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคเบาหวาน แต่ก็ถือว่าไม่รุนแรงนัก <br />

เนื่องจากเป็นคนรักการออกกำลังกายอยู่แล้ว จึงทำให้การควบคุมโรคเป็น<br />

ไปโดยไม่ลำบาก<br />

“ผมเป็นเบาหวานมานาน แต่อยู่มาได้อย่างดีเพราะผมออกกำลังกาย<br />

มาตลอด ตอนนี้ผมจะอายุ 70 ปีแล้วแต่ก็ยังออกกำลังกายเป็นกิจวัตร<br />

รับประทานยาตามแพทย์สั่งเท่านี้ผมก็คุมโรคได้ ผมไม่เคยคิดแม้แต่<br />

นิดเดียวว่าผมจะเป็นโรคหัวใจ” คุณขจรเกียรติเริ่มเล่า “จนเมื่อราว ๆ สัก<br />

สามสี่ปีก่อน ผมกำลังเตรียมตัวจะไปวิ่งมาราธอนเป็นระยะทางรวม<br />

16<br />

ความร่วมมือของแพทย์และผู้ป่วยเป็น<br />

กุญแจสำคัญในการฟื้นฟูสมรรถภาพ<br />

ร่างกายและคุณภาพชีวิต<br />

25 กิโลเมตร ตอนซ้อมผมตั้งเป้าไว้ที่ 30 กิโลเมตร พอซ้อมมาก ๆ เข้า<br />

ก็เลยปวดกล้ามเนื้อขึ้นมา ผมเลยรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อโดยที่<br />

ไม่ทราบเลยว่าตัวเองแพ้ยา พอไปพบแพทย์จึงได้ทราบ ผลจากการแพ้ยานี้<br />

ทำให้กล้ามเนื้อสลายซึ่งโชคดีที่เป็นผลเพียงชั่วคราว เวลานั้น คิดเอาเองว่า <br />

สาเหตุที่เวลาเราซ้อมวิ่งแล้วพยายามเร่งแต่เร่งไม่ได้ หมดแรงเสียก่อนนั้น <br />

น่าจะเป็นเพราะกล้ามเนื้อสลาย”<br />

เมื่อทราบว่าตนเป็นโรคกล้ามเนื้อสลาย คุณขจรเกียรติก็ได้ปรับเปลี่ยน<br />

รูปแบบการออกกำลังกาย “ผมเปลี่ยนจากการวิ่งมาเป็นการว่ายน้ำสลับไป<br />

วิ่งเหยาะ ๆ บ้างเป็นบางครั้ง ทำอย่างนี้อยู่เป็นปี จนวันหนึ่งออกไปธุระ<br />

นอกบ้าน กลับบ้านมารู้สึกแน่นหน้าอก นอนพักครู่หนึ่งแล้วก็ยังไม่หาย<br />

ผมเลยบอกลูกให้รีบพามาที่บำรุงราษฎร์” คุณขจรเกียรติเล่า “เมื่อมาถึง<br />

โรงพยาบาล หมอตรวจอย่างละเอียดก็พบว่าผมเป็นโรคหลอดเลือด


หัวใจตีบ หมอเปิดภาพให้ดูเลยว่าหลอดเลือดหลักที่ไปเลี้ยงหัวใจ<br />

ตีบแล้วทั้งหมด แต่ที่อยู่มาได้ก็เพราะผมออกกำลังกายมาตลอด เลยมี<br />

เส้นเลือดย่อย ๆ เกิดขึ้น และส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจแทน” <br />

<br />

<br />

รักษาและฟื้นฟู<br />

คุณหมอสังเกตว่าผมไม่มี<br />

พัฒนาการทางร่างกาย<br />

แม้จะผ่าตัดบายพาส<br />

มาหลายเดือนแล้ว <br />

จึงต้องทำกายภาพบำบัด<br />

เพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อ<br />

แม้จะมีหลอดเลือดฝอยที่คุณขจรเกียรติเรียกว่า ‘เส้นวาสนา’ เกิดขึ้นมา<br />

หล่อเลี้ยงหัวใจไว้ การรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อเปิดทางเดินเลือดเข้าสู่<br />

หัวใจก็ยังจำเป็นอย่างยิ่ง คุณขจรเกียรติเล่าต่อว่า “กรณีของผม<br />

ทำบอลลูนขยายหลอดเลือดไม่ได้ ต้องทำบายพาสเท่านั้น ผมตัดสินใจ<br />

เลยไม่รอช้า ไม่กี่ชั่วโมงก็ทำบายพาสเรียบร้อย กลายเป็นคนใหม่ แต่หลัง<br />

จากนั้นก็อยู่แต่บ้าน เหงามาก นอนเฉย ๆ ไม่ต้องทำอะไรเพราะมี<br />

คนทำให้หมดทุกอย่าง คนรอบข้างสังเกตว่าผมซึมเศร้าอย่างเห็นได้ชัด<br />

ไม่คิดจะทำอะไรเลยหมดความสนใจไปเฉย ๆ โทรทัศน์ก็ไม่ดู นอนมาก<br />

ก็จริงแต่นอนไม่หลับ ต้องรับประทานยานอนหลับตลอด ผมเริ่มเขียน<br />

พินัยกรรมแล้วด้วยเพราะไม่คิดว่าจะอยู่ได้นาน เหมือนชีวิตหายไปเลย”<br />

หลังจากนั่ง ๆ นอน ๆ ใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนเตียงอยู่ถึงหกเดือน ชีวิต<br />

ก็เปลี่ยนไปอีกครั้ง “ผมมีนัดกับ นพ. ชัยอนันต์ ชัยยามานนท์ตามปกติ<br />

เพื่อติดตามอาการ คุณหมอสังเกตว่าผมไม่มีพัฒนาการทางร่างกายเลย<br />

แม้จะผ่าตัดบายพาสมาหลายเดือนแล้ว หมอบอกผมว่ากล้ามเนื้อลีบ<br />

หมดแล้ว ควรจะทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ผมก็เลยได้เข้าร่วม<br />

โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจโดยมีคุณหมอนำเป็นผู้ดูแล”<br />

<br />

ชีวิตที่เริ่มต้นใหม่<br />

การได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้เข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพ<br />

หัวใจเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญซึ่งทำให้คุณขจรเกียรติมีมุมมองแง่บวก<br />

ต่อชีวิตอีกครั้ง <br />

“ในช่วงแรก หมอให้ยืดเส้นยืดสาย และเดินสายพาน” คุณขจรเกียรติ<br />

เล่าต่อ “ตอนแรกแค่ทรงตัวยังแทบทำไม่ได้ ต้องมีคนมาประคอง<br />

ข้างหลัง พอผ่านไปสัก 4 ถึง 5 ครั้ง ก็ทำได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ สดชื่นขึ้น<br />

เหมือนได้ชีวิตกลับมาเดินเองได้ ทำอะไรได้ คือ รู้สึกว่าเราหายป่วย<br />

แล้วจริง ๆ กินได้ นอนหลับสบาย มีความสุขขึ้นมาก” <br />

เป้าหมายในท้ายที่สุดของคุณขจรเกียรติคือ การได้กลับไปวิ่งอีกครั้ง<br />

อย่างที่ใจรัก ซึ่งเป้าหมายนั้นอยู่อีกไม่ไกลเลย “เดี๋ยวนี้ผมว่ายน้ำ<br />

ที่สระ 50 เมตรได้ 20 เที่ยวโดยไม่หยุด ผมจะกลับไปวิ่งที่สวนลุมให้ได้<br />

เหมือนเมื่อก่อน ตอนนี้หลอดเลือดหัวใจของผมปลอดโปร่งแล้ว ร่างกาย<br />

ก็พร้อมแล้ว ผมว่าผมน่าจะวิ่งได้ดีกว่าเดิมอีกนะครับ” คุณขจรเกียรติ<br />

กล่าวทิ้งท้ายด้วยรอยยิ้มและความมั่นใจ<br />

จ<br />

ากเรื่องราวของคุณขจรเกียรติ เราได้เรียนรู้ว่าการผ่าตัดครั้ง<br />

สำคัญอย่างการทำบายพาสไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนิน<br />

ชีวิตตามปกติเลย หากมีการดูแลฟื้นฟูอย่างถูกวิธี นพ. นำ<br />

ตันธุวนิตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู <br />

เปิดเผยรายละเอียดเบื้องหลัง “ชีวิตใหม่” ของ<br />

คุณขจรเกียรติ และผู้ป่วยโรคหัวใจรายอื่น ๆ <br />

ที่ผ่านการผ่าตัดครั้งสำคัญมาแล้ว <br />

“การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจที่ประสบความ<br />

สำเร็จนั้นไม่ใช่แค่ให้การรักษาอย่างเดียว<br />

สิ่งสำคัญคือเมื่อผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลไป<br />

แล้วควรจะต้องสามารถใช้ชีวิตที่มีคุณภาพได้ <br />

ตรงนี้เป็นที่มาของแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพ<br />

นพ.นำ ตันธุวนิตย์<br />

หัวใจอย่างเป็นระบบที่เราเตรียมไว้สำหรับ<br />

ผู้ป่วย หรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ” นพ. นำกล่าว<br />

โปรแกรมการฟื้นฟูหัวใจทางกายภาพบำบัดประกอบไปด้วยสองส่วน <br />

ส่วนแรก เป็นการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเรื่องการปฏิบัติตัว การดูแลตัวเอง<br />

การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายอย่างเป็นระบบ<br />

18<br />

เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ รวมถึงการสร้างเสริม<br />

กำลังใจให้ผู้ป่วย ส่วนที่สอง ได้แก่ การให้คำแนะนำในการออกกำลังกาย<br />

ซึ่งช่วงแรกต้องทำควบคู่กับการติดตามสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจ <br />

“กรณีของคุณขจรเกียรติ เราเริ่มจากการเดินบนสายพาน ซึ่งก็พบ<br />

อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะบ้างจึงประสานไปทางแพทย์หัวใจ และแก้ไข<br />

จนได้ ระหว่างทำกายภาพบำบัด เราก็ตั้งเป้าด้วยกัน ประเมินผล<br />

พร้อมกัน ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนนั้นกลายเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วย<br />

พยายามมากขึ้น น่าดีใจที่คุณขจรเกียรติเป็นคนออกกำลังกายอยู่แล้ว <br />

จึงเป็นผู้ที่มีพื้นฐานที่ดี เมื่อได้รับการฟื้นฟูจึงเห็นพัฒนาการอย่าง<br />

รวดเร็ว” นพ. นำเล่า <br />

สิ่งที่ทำให้คุณขจรเกียรติประสบความสำเร็จในความเห็นของนพ. นำ <br />

ได้แก่ การที่ผู้ป่วยให้ความร่วมมือ และมีวินัยในการปฏิบัติตามคำแนะนำ<br />

ของแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลตนเอง การมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ<br />

และการนำคำแนะนำไปปฏิบัติด้วยตนเองที่บ้าน “ตอนนี้คุณขจรเกียรติ<br />

ขึ้นบันไดสามชั้นโดยไม่พักได้แล้ว เดินได้เร็วขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงและ<br />

การทรงตัวดีขึ้น เกือบจะกลับไปวิ่งที่สวนลุมฯ ได้แล้วครับ”


Q & A<br />

พญ. นภิสวดี ว่องชวณิชย์<br />

การควบคุมอาการของโรคเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นโรคความดัน<br />

โลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคไตนั้น นอกจากการใช้ยา<br />

แล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตไป<br />

จากเดิม ซึ่งหลายครั้งที่มักมีคำถามตามมา พบคำตอบที่จะช่วยให้<br />

การมีชีวิตอยู่กับโรคเรื้อรังเป็นไปอย่างราบรื่นจาก พญ. นภิสวดี<br />

ว่องชวณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญโรคไต ใน <strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ฉบับนี้<br />

Q: ตอนนี้กำลังรับประทานยาลดความดันโลหิต ซึ่งก็ได้ผลดีค่ะ แต่รู้สึก<br />

ว่าไม่อยากจะพึ่งยาไปตลอด ถ้าหยุดรับประทานยาจะเป็นอะไรหรือเปล่าคะ <br />

A: กรณีนี้ ต้องขึ้นอยู่กับว่ามีอาการของอวัยวะที่เริ่มเสื่อมจากความดัน<br />

โลหิตสูงหรือไม่ เช่น โรคหัวใจ ไตเสื่อม เส้นเลือดในสมองตีบ เป็นต้น<br />

ถ้ายังไม่มี ประกอบกับมีการปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวันให้ดีขึ้น เช่น <br />

เลิกบุหรี่ และควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด ก็มีบ้างเหมือนกันที่หยุดยาได้<br />

แต่เป็นส่วนน้อย เพราะหากอวัยวะต่าง ๆ เริ่มแสดงอาการจากความดัน<br />

โลหิตสูงแล้ว ก็จำเป็นต้องกินยาต่อ เพราะยาบางตัวไม่ได้ลดความดันเพียง<br />

อย่างเดียว แต่ช่วยเยียวยาส่วนอื่น ๆ <br />

ภายในร่างกายด้วย<br />

นอกจากนี้ยาลดความดันโลหิต<br />

บางตัว เช่น โคลนิดีน และเบต้า<br />

บล็อคเกอร์หากหยุดทันทีจะทำให้<br />

ความดันขึ้นหรือที่เรียกกันว่า “รีบาวด์”<br />

แบบนี้ผู้ป่วยจะหยุดยาเองไม่ได้ ต้อง<br />

ปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์ก็จะใช้วิธีค่อย ๆ ลดยาลง<br />

แต่ก็เฉพาะในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น เพราะโดยปกติ<br />

แพทย์จะไม่แนะนำให้ลดยาอยู่แล้ว<br />

Q: เพื่อนของดิฉันต้องเลิกรับประทานของโปรดทุกชนิดเพราะต้องการ<br />

ควบคุมคอเรสเตอรอล แต่ดิฉันเห็นว่าแทนที่จะคุมอาหารเช่นนี้ น่าจะใช้<br />

วิธีกินยาควบคุมคอเรสเตอรอลแล้วก็รับประทานตามที่ใจต้องการ ชีวิต<br />

น่าจะมีความสุขกว่า อยากถาม<br />

ว่า ในทางการแพทย์แล้ว <br />

วิธีของดิฉันสามารถทำได้<br />

หรือไม่คะ<br />

A: มีบางคนเหมือน<br />

กันที่ไม่อยากคุมอาหาร<br />

ทำให้ต้องใช้ยา แต่ก็แน่นอน<br />

ว่าต้องรับประทานยามากกว่าคนที่คุมอาหาร ซึ่งตามหลักการแล้ว ไม่ควรทำ<br />

ถ้าเป็นนาน ๆ ครั้งก็ยังพอจะเพิ่มยาได้ไม่มีปัญหามากนัก แต่ถ้าทำเป็น<br />

ประจำวัน เช่น อาทิตย์ละสี่ครั้ง อันนี้ก็ต้องดูระดับคอเรสเตอรอลว่าทำได้<br />

ตามที่ตั้งไว้หรือเปล่า และแน่นอนว่าเมื่อเพิ่มปริมาณยาผลข้างเคียง<br />

ของยาก็จะเพิ่มตามไปด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่อาการกล้ามเนื้ออักเสบ ตับ<br />

อักเสบ หรืออาการอื่น ๆ ได้นอกจากนี้ ยาคุมคอเรสเตอรอลจะช่วยได้แค่<br />

ระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่ว่าจะเพิ่มปริมาณไปเท่าไหร่ ในขณะที่ผลข้างเคียง<br />

จะมากขึ้นตามปริมาณยาที่ได้รับ<br />

Q: เราสามารถล้างไตเองที่บ้านได้หรือไม่ครับ ถ้าทำได้ จะมีข้อแนะนำ หรือข้อควรละเว้น<br />

อะไรบ้าง<br />

A: การล้างไตแบบที่ผู้ป่วยสามารถทำที่บ้านได้ เรียกว่า เพอริโตเนียลไดอาไลซิส ซึ่งผู้ป่วย<br />

จะต้องได้รับการฝึกฝน ให้ล้างไตโดยการนำน้ำยาใส่เข้าไปในบริเวณเยื่อบุช่องท้องผ่านทาง<br />

สายยาง และแช่ทิ้งไว้เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนของเสียระหว่างเส้นเลือดกับน้ำยาในช่องท้อง <br />

ก่อนจะถ่ายน้ำยาทิ้ง <br />

ข้อเสียของวิธีนี้คือ มีโอกาสติดเชื้อที่บริเวณสายยางและอาจลุกลามถึงเยื่อบุช่องท้องได้ง่าย<br />

ผู้ป่วยจึงควรปฏิบัติตามการฝึกอย่างเคร่งครัด ผู้ที่เคยผ่าตัดหรือเคยได้รับบาดแผลบริเวณช่อง<br />

ท้องมาก่อนจะไม่สามารถปฏิบัติได้ เช่นเดียวกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่วมด้วยเพราะบางครั้ง<br />

อาจจะมีผลต่อสายตา ทำให้การถ่ายน้ำยาด้วยตัวเองทำได้ยาก ทางที่ดีคือควรจะมีพยาบาล<br />

หรือผู้ชำนาญการคอยดูแลช่วยเหลือทุกครั้ง<br />

หากคุณมีข้อสงสัยเรื่องสุขภาพ ส่งคำถามของคุณมาที่: บรรณาธิการนิตยสาร <strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ฝ่ายการตลาดและ<br />

พัฒนาธุรกิจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล 33 สุขุมวิท ซอย 3 กรุงเทพฯ 10110<br />

20


HEALTH BRIEFS<br />

ลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง<br />

ด้วยคอเรสเตอรอลชนิดดี <br />

เมื่อเดือนมิถุนายน 2010 สถาบันวิจัย Tufts Medical Center<br />

Molecular Cardiology Research Institute ในสหรัฐอเมริกาได้เปิดเผย<br />

ผลการศึกษาล่าสุดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคอเรสเตอรอล<br />

กับการเป็นโรคมะเร็ง โดยพบว่าผู้ที่มีคอเรสเตอรอลชนิดดี หรือ HDL <br />

(High Density Lipoprotein) อยู่ในระดับสูงจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรค<br />

มะเร็งน้อยลง<br />

การค้นพบที่ถูกตีพิมพ์ใน Journal of the American College of<br />

Cardiology นี้เกิดจากการวิเคราะห์งานวิจัยด้านสุขภาพที่เน้นความ<br />

เกี่ยวข้องของคอเรสเตอรอลกับโรคหัวใจจำนวน 24 ฉบับ และพบว่า<br />

ความเสี่ยงต่อมะเร็งของผู้ป่วยลดลงประมาณ<br />

หนึ่งในสามต่อการเพิ่มขึ้นของคอเรสเตอรอล<br />

ชนิดดี 10 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร<br />

ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าคอเรสเตอรอล<br />

ชนิดดีจะสามารถป้องกันมะเร็งได้ทั้งหมด<br />

เพราะบทบาทของคอเรสเตอรอล ชนิดนี้<br />

คือช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน มีฤทธิ์<br />

ต่อต้านอนุมูลอิสระ และ<br />

ต้านการอักเสบได้ ซึ่งเท่า<br />

กับเป็นการช่วยยับยั้ง<br />

พัฒนาการของเซลล์มะเร็ง<br />

ซึ่งเรื่องของคอเรสเตอรอลกับมะเร็งนี้ยังต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมดังนั้น<br />

ในระหว่างนี้ การออกกำลังกายเป็นประจำ การได้รับสารอาหารที่เพียงพอ<br />

และการใส่ใจต่อสุขภาพยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มคอเรสเตอรอล<br />

ชนิดดี<br />

สิ่งที่รายงานนี้ จำเป็นต้องทำการวิจัยต่อเนื่องเพื่อให้ได้ผลสรุปที่<br />

แน่ชัดต่อไป<br />

อันตรายสองเท่า<br />

ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน<br />

The Lancet วารสารการแพทย์ของอังกฤษ ตีพิมพ์งานวิจัยชิ้น<br />

สำคัญซึ่งบ่งชี้ว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือด<br />

สมอง และหัวใจวายมากกว่าผู้ที่มีสุขภาพปกติถึงสองเท่า โดยผล<br />

การวิจัยนี้มาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในสหราชอาณาจักรซึ่งทำ<br />

การวิเคราะห์ประวัติทางการแพทย์ของผู้ใหญ่จำนวนมากถึงราว <br />

700,000 คนจากงานวิจัยกว่า 100 ฉบับ ใน 25 ประเทศทั่วโลก<br />

ปัจจุบัน สถานการณ์ของโรคเบาหวานในประเทศอุตสาหกรรม<br />

ที่พัฒนาแล้วทั้งหลายแทบไม่ต่างอะไรจากโรคระบาด ร้อยละ 10<br />

ของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจมีสาเหตุมาจากเบาหวาน <br />

ซี่งจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีมานี้ <br />

ล้วนเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การขาดการออก<br />

กำลัง และความอ้วน<br />

งานวิจัยชิ้นนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของการป้องกันโรคเบาหวาน<br />

ซึ่งทำได้ด้วยการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็น<br />

ประจำ และตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ<br />

พบแพทย์บ่อยครั้ง ช่วยลดความดันโลหิตได้<br />

อีกหนึ่งผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Hypertension ของ American Heart Association ซึ่งพบว่า<br />

การไปพบแพทย์บ่อยครั้งของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะช่วยให้ระดับความดันโลหิตกลับสู่ปกติได้เร็วกว่า<br />

ทั้งนี้ ความดันโลหิตสูงสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานถือเป็นอาการที่รุนแรงเพราะอาจก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมอง หัวใจวาย และปัญหา<br />

สุขภาพอื่น ๆ ที่ล้วนมีอันตรายถึงชีวิต<br />

สำหรับผลสรุปดังกล่าว ได้มาจากการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิต<br />

กับความถี่ในการไปพบแพทย์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวนถึง 5,000 คน เป็นระยะเวลา<br />

5 ปี ผลปรากฏว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์อย่างน้อยเดือนละครั้งนั้น โดยเฉลี่ยแล้ว<br />

ความดันโลหิตจะกลับเป็นปกติภายในเวลาน้อยกว่าสองเดือน ในขณะที่ผู้ป่วยซึ่ง<br />

ไปพบแพทย์น้อยกว่าหนึ่งครั้งต่อเดือนใช้เวลาเกินกว่าหนึ่งปีกว่าที่ความดันโลหิตจะ<br />

ลดลงเป็นปกติ<br />

แม้ว่าสาเหตุที่แน่ชัดของความแตกต่างนี้ยังไม่สามารถระบุได้ งานวิจัยนี้ได้เน้นให้เห็น<br />

ความสำคัญของการควบคุมโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยง<br />

จากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่เกิดจากโรคเบาหวาน ได้แก่ คุณภาพของการรักษา การได้รับ<br />

สารอาหารอย่างครบถ้วน และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง<br />

22

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!