06.09.2015 Views

บทที่ 7

เอกสารประกอบการสอน

เอกสารประกอบการสอน

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

<strong>บทที่</strong> 7<br />

จุลสาหร่าย<br />

สาหร่ายเป็นจุลินทรีย์ยูแคริโอตเช่นเดียวกับพวกเห็ดรา เซลล์ระบบออร์แกเนลที่<br />

ซับซ้อน และมีนิวเคลียสและเยื่อหุ้มนิวเคลียสชัดเจน สาหร่ายมีทั้งพวกที่ด ารงชีวิตแบบ<br />

เซลล์เดี่ยว (unicellular) และพวกที่เซลล์เจริญรวมกันแบบหลายเซลล์ (multicellular)<br />

สาหร่ายที่เจริญเป็นเซลล์เดี่ยวโดยทั่วไปจะมีขนาดเล็กจนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตา<br />

เปล่า จ าเป็นต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ในการศึกษาจึงจะสามารถสังเกตเห็นลักษณะ<br />

สัณฐานและโครงของเซลล์ได้ จึงเรียกสาหร่ายกลุ่มนี้ว่า จุลสาหร่าย (microalgae) ส าหรับ<br />

สาหร่ายที่เจริญเป็นแบบหลายเซลล์ ส่วนใหญ่จะมีการพัฒนาเป็นรูปสัณฐานขนาดใหญ่จน<br />

สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ จึงเรียกว่า มหสาหร่าย (microalgae) ซึ่งบางชนิดมี<br />

ลักษณะคล้ายพืชชั้นสูง มีการพัฒนากลุ่มของเซลล์จนกลายเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อน ท า<br />

หน้าที่คล้ายราก ล าต้น และใบ แต่อย่างไรก็ตาม โครงสร้างที่ปรากฎเหลล่านั้นยังไม่ถือว่า<br />

เป็นราก ล าต้น และใบที่แท้จริง เพราะขาดสมบัติของการท างานร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อ<br />

ภายในเซลล์ของสาหร่ายมีสารสี (pigments) ที่ช่วยตรึงพลังงานแสงมาใช้ในการ


สังเคราะห์แสงได้คล้ายกับพืช แต่แตกต่างกันที่สาหร่ายมีโครงสร้างการสืบพันธุ์แบบอาศัย<br />

เพศอย่างง่าย ๆ และในการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศจะมีการสร้างสปอร์ที่มีแฟลเจลลา<br />

หรือ สปอร์ที่ไม่เคลื่อนที่อยู่ภายในสปอร์แรงเกียม สาหร่ายมีการแพร่กระจายอยู่ทั้งในน้ า<br />

จืด น้ าเค็ม น้ ากร่อย และที่ชื้นแฉะ<br />

ภาพที่ 7.1<br />

(ก) โคโลนีรูปถ้วยสีสมของ<br />

Phycopeltis arundinacea<br />

บนผิวใบของต้นไอวี่ (ข)<br />

สาหร่ายสีเขียวแกมน้ าเงิน<br />

Nostoc commune ที่เจริญปก<br />

ปกคลุมผิวดิน แซมอยู่กับพืช<br />

ชั้นสูง (ค) สาหร่าย<br />

Trentepohlia rigidula เจริญ<br />

เป็นแผ่นคราบสีแดงบนเปลือก<br />

ของไม้ยืนต้น (ง) สาหร่ายสีเขียว<br />

Rosenvingiella radicans ที่<br />

เจริญบนผิวคอนกรีต (ที่มา:<br />

Rindi et al., 2009)<br />

สัณฐานวิทยาของสาหร่าย<br />

1. รูปทรงและขนาด<br />

สาหร่ายมีความหลากหลายในเชิงสัณฐาน ทั้งรูปร่าง รูปทรง และขนาด เช่น<br />

รูปทรงกลม ท่อน รูปคล้ายกระบอง รูปเกลียว รูปเรียวแหลม และโค้งงอคล้ายพระจันทร์<br />

เสี้ยว เป็นต้น ส่วนขนาดของสาหร่ายจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของสาหร่าย มีตั้งแต่<br />

0.5 ไมครอน จนถึงประมาณ 100 ฟุต โดยจุลสาหร่ายที่ด ารงชีวิตแบบเซลล์เดียว อยู่เป็น<br />

อิสระ อาจเคลื่อนที่ตามกระแสน้ าหรือเกาะอยู่กับวัตถุต่างๆ ในน้ า หรือมี แฟลเจลลาช่วย<br />

ในการเคลื่อนที่ ส่วนมหสาหร่ายที่มีขนาดใหญ่ จะเป็นสาหร่ายที่อยู่รวมกันเป็นโคโลนี<br />

เป็นสาย หรือเรียงตัวกันเป็นแผ่น บางชนิดอาจมีเมือกหุ้ม และบางชนิดสามารถเคลื่อนที่ได้


ก<br />

ข<br />

ค<br />

ง<br />

จ<br />

ฉ<br />

ภาพที่ 7.1 ลักษณะสาหร่ายแบบต่าง ๆ<br />

ก เซลล์เดี่ยว เคลื่อนที่ไม่ได้ ข เซลล์เดี่ยว เคลื่อนที่ได้<br />

ค กลุ่ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ง กลุ่ม เคลื่อนที่ได้<br />

จ สาย ไม่แตกแขนง ฉ สาย แตกแขนง<br />

ที่มา (มัณฑนา, 2547, หน้า 8-9)


ก<br />

ภาพที่ 7.2 ลักษณะสาหร่ายแบบต่าง ๆ<br />

ก ท่อหรือหลอด ข คล้ายพืชชั้นสูง<br />

ที่มา (มัณฑนา, 2547, หน้า 9)<br />

ข<br />

โครงสร้างของเซลล์สาหร่าย<br />

โครงสร้างระดับเซลล์ของสาหร่าย โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับเซลล์<br />

ของยูแครีโอตกลุ่มอื่นๆ แต่จะมีรายละเอียดของโครงสร้างบางอย่างแปลกแยกออกไป เป็น<br />

ลักษณะจ าเพาะที่ท าให้สาหร่ายถูกจัดจ าแนกออกมาจากสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่นๆ ดังต่อไปนี้<br />

แฟลเจลลา<br />

ผนังเซลล์<br />

แป้ ง<br />

กอลจิบอดี<br />

ไมโทคอนเดรีย<br />

คอนแทรกไทล์แวควิโอล<br />

นิวเคลียส<br />

ร่างแหเอนโดพลาสซึม<br />

แวควิโอล<br />

ไพรินอยด์<br />

คลอโรพลาสต์<br />

เยื่อหุ ้มเซลล์<br />

ภาพที่ 7.3 ลักษณะสัณฐานวิทยาของสาหร่าย<br />

ที่มา (Prescott, Harley and Klein, 2005, p.556)


แฟลเจลลา<br />

จุลสาหร่ายที่เคลื่อนที่ได้หลายชนิดมีแฟลเจลลาเป็นโครงสร้างส าคัญช่วยในการ<br />

เคลื่อนที่ ซึ่งจ านวนของแฟลเจนลาจะขึ้นอยู่กับชนิดของสาหร่าย บางชนิดมีเพียงหนึ่งเส้น<br />

บางชนิดมีมากว่าหนึ่งเส้น นอกจากนั้นแฟลเจลลาของสาหร่ายยังมีรายละเลียดที่แตกต่าง<br />

กันไปตามชนิดของสาหร่าย โดยสามารถแยกเป็นประเภทได้ ดังนี้ หรือเป็นกลุ่มที่ด้านใน<br />

ด้านหนึ่งของเซลล์ สามารถแบ่งออกเป็นหลายชนิด ดังนี้<br />

วิปแลช (whiplash) เป็นแฟลเจลลาที่มีลักษณะเป็นเส้นหรือรูปทรงเป็น<br />

กระบอกยาวและเรียบ<br />

ทินเซิล (tinsel) เป็นแฟลเจลลาที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว และมีขน<br />

เล็ก ๆ ยื่นออกมาโดยรอบ<br />

ริบบอน (ribbon) เป็นแฟลเจลลาที่มีลักษณะเป็นแถบแบนคล้ายริบบิน<br />

ทินเซล<br />

วิปแลป<br />

ภาพที่ 7.4 แฟลเจลลาของสเปริ์มของสาหร่ายสีน้ าตาลฟาคัส (Facus) (ที่มา Bauman,<br />

2003, p.370)


ผนังเซลล์และเยื่อหุ้มเซลล์<br />

ผนังเซลล์ของสาหร่ายมีลักษณะบาง แต่แข็งแรง อาจมีเมทริกซ์ (outer matrix)<br />

ล้อมรอบ ส่วนเยื่อหุ้มเซลล์อาจยืดหยุ่นได้ เรียกว่า เพอริพลาสต์ (periplast) เช่น เยื่อหุ้ม<br />

เซลล์ของยูกลีนา<br />

สารสี<br />

สารสีที่พบในสาหร่ายมีหลายชนิดด้วยกัน โดยทั้งหมดอยู่ในออร์แกเนลล์ที่ชื่อว่า<br />

คลอโรพลาสต์ (chloroplast) โดยมีคลอโรฟิลล์เป็นสารสีส าคัญ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการ<br />

สังเคราะห์แสงของสาหร่าย และสารสีมีด้วยกันหลายชนิด คือ<br />

คลอโรฟิลล์-เอ เป็นคลอโรฟิลล์ที่พบในสาหร่ายทุกชนิด<br />

คลอโรฟิลล์-บี พบในดิวิชันยูกลีโนไพโคไฟตา (Euglenophycophyta) และคลอ<br />

โรไฟโคไฟตา (Chlorophycophyta)<br />

คลอโรฟิลล์-ซี พบในดิวิชันแซนโธไฟโคไฟตา (Xanthophycophyta) บาซิลลาริ<br />

โอไฟโคไฟตา (Bacillariophycophyta) คริสโซไฟโคไฟตา<br />

(Chrysophycophyta) ไพร์โรไฟโคไฟตา (Pyrrophycophyta)<br />

คริปโทไฟโคไฟตา (Cryptophycophyta) และฟีโอไฟโคไฟตา<br />

(Phyophycophyta)<br />

คลอโรฟิลล์-ดี พบในดิวิชันโรโดไฟโคไฟตา (Rhodophycophyta)<br />

คลอโรฟิลล์-อี พบเฉพาะสกุลไทรโบเนียอี (Triboneaea) และซูโอสปอร์ของวูชี<br />

เรีย (Vaucheria) ในดิวิชันแซนโธไฟโคไฟตา<br />

นอกจากคลอโรฟิลยังมีรงควัถตุอื่นๆ ที่พบได้บ่อยในเซลล์ของสาหร่าย เช่น แคโรที<br />

นอยด์ (carotenoid) ทั้งชนิดแคโรทีน (carotene) และแซนโธฟิล (xanthophyll) ไฟโคบิ<br />

ลิน (phycobilin) หรือ บิลิโปรตีน (biliprotein) ที่พบในดิวิชันโรโดไฟโคไฟตา และดิวิ<br />

ชันคริสโทไฟตาเท่านั้น นอกจากนี้ภายในเซลล์ของสาหร่ายยังมีนิวเคลียสที่สามารถ<br />

มองเห็นได้ชัดเจน และมีเม็ดแป้ง หยดน้ ามัน และแวคิวโอล อีกด้วย


การสืบพันธุ์ของสาหร่าย<br />

การสืบพันธุ์ของสาหร่ายมีทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ บางชนิดอาจมีการ<br />

สืบพันธุ์ได้ทั้งสองแบบ และบางชนิดอาจสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเพียงอย่างเดียว<br />

1. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ มีได้หลายวิธี ดังนี้<br />

การแบ่งสองส่วน (binary fission) เป็นการสืบพันธุ์ที่พบในสาหร่ายเซลล์<br />

เดียวเป็นส่วนใหญ่<br />

การแตกเป็นชิ้นส่วน (fragmentation) เป็นการสืบพันธุ์ที่แทลลัสของ<br />

สาหร่ายหักหรือกลุดออกเป็นท่อน พบในสาหร่ายที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นสาย<br />

การสร้างสปอร์ (sporulation) เป็นการสืบพันธุ์ที่พบในสาหร่ายหลายเซลล์<br />

สปอร์ที่เกิดขึ้นอาจเคลื่อนที่ได้ เรียกว่าซูโอสปอร์ ซึ่งพบในสาหร่ายที่อาศัยใน<br />

น้ า และสปอร์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เรียกว่าอะพลาโนสปอร์ (aplanospore) ซึ่ง<br />

พบในสาหร่ายที่อาศัยอยู่บนบก อย่างไรก็ตามอะพลาโนสปอร์บางชนิดอาจ<br />

พัฒนาไปเป็นซูโอสปอร์ได้


ก<br />

ข<br />

ค<br />

ง<br />

จ<br />

ภาพที่ 7.5 การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ<br />

ก การแบ่งสองส่วน<br />

ค และ ง การสร้างสปอร์<br />

ที่มา (มัณฑนา, 2547, หน้า 11)<br />

ข การหลุดเป็นส่วน<br />

จ การแบ่งเซลล์สร้างโคโลนี


2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ<br />

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของสาหร่าย เป็นการเพิ่มจ านวนโดยการสร้างเซลล์<br />

สืบพันธุ์เพศผู้และเมียขึ้นมา เซลล์สืบพันธุ์นี้มีจ านวนโครโมโซม 1 ชุด (n) เมื่อผสมกัน<br />

แล้วจะเกิดเป็นไซโกต ที่มีจ านวนโครโมโซม 2 ชุด (2n)<br />

เซลล์สืบพันธุ์นี้อาจมีรูปร่าง ขนาดเหมือนหรือต่างกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของ<br />

สาหร่าย โดยการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์ที่มีรูปร่างและขนาดเหมือนกัน เรียกไอโซแกมี<br />

(isogamy) และการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์ที่มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน เรียกว่า<br />

เฮเทอโรแกมี (heterogamy)<br />

การจัดจ าแนกสาหร่าย<br />

ปัจจุบันสาหร่ายถูกจัดอยู่ในอาณาจักรโพรทิสตา ประกอบด้วย 9 ดิวิชัน โดยอาศัย<br />

หลักเกณฑ์ต่าง ๆ คือ ชนิดและคุณสมบัติของสารสี องค์ประกอบทางเคมีของอาหารสะสม<br />

หรือผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะห์แสง ชนิด รูปร่าง และจ านวนของแฟลเจลลา ต าแหน่ง<br />

ที่แฟลเจลลามาเกาะติด องค์ประกอบทางเคมีและกายภาพของผนังเซลล์ ลักษณะรูปร่าง<br />

และการจัดระเบียบของเซลล์และทัลลัส ตลอดจนวงจรชีวิต โครงสร้างและวิธีการสืบพันธุ์<br />

1. ดิวิชันโรโดไฟโคไฟตา หรือสาหร่ายสีแดง<br />

สาหร่ายในกลุ่มนี้เกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในน้ าเค็ม ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เนื่องจาก<br />

ไม่มีแฟลเจลลา สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการสร้างสปอร์ที่ไม่เคลื่อนที่ และการแตก<br />

เป็นขิ้นส่วน ส าหรับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ จะเป็นการผสมกันของแกมมีตของเซลล์<br />

สืบพันธุ์เพศผู้ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เรียกว่าสเปอร์มาเทีย (spermatia) และอวัยวะเพศเมีย<br />

เรียกว่าคาร์โพโกเนีย (carpogonia) สารสีที่พบในสาหร่ายกลุ่มนี้ ประกอบด้วยคลอโรฟิลล์<br />

เอ ไฟโคอิริทริน (phycoerythrin) ไฟโคไซแอนิน ส่วนอาหารสะสมจะอยู่ในรูปของแป้ง<br />

ชนิดฟลอริเดียน (floridean strach) และน้ ามัน


ภาพที่ 7.7 สาหร่ายสีแดง<br />

ที่มา (Bauman, 2003, p. 369)<br />

2. ดิวิชันแซนโธไฟตา หรือสาหร่ายสีเขียวแกมเหลือง<br />

สาหร่ายสีเขียวแกมเหลืองนี้เดิมจัดอยู่ในดิวิชันคลอโรไฟโคไฟตา หรือสาหร่ายสี<br />

เขียว (green algae) พบได้มากในเขตอบอุ่น ทั้งในน้ าจืด น้ าเค็ม และดิน ทั้งในรูป<br />

เซลล์เดี่ยว โคโลนี เส้นสายที่แตกกิ่งก้านและไม่แตกกิ่งก้าน การสืบพันธุ์มีทั้งแบบไม่<br />

อาศัยเพศ และอาศัยเพศ โดยการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศอาจเป็นการสร้าง ซูโอสปอร์ที่<br />

เคลื่อนที่ได้ด้วยแฟลเจลลาซึ่งมีขนาดยาวไม่เท่ากัน เส้นที่ยาวกว่ามักมีขนเล็ก ๆ อยู่ 2<br />

แถว บางชนิดสร้างสปอร์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ หรือสืบพันธุ์โดยการแตกเป็นชิ้นส่วน การแบ่ง<br />

สองส่วน ขณะที่การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศไม่ค่อยพบมากนัก สารสีที่พบในสาหร่ายกลุ่มนี้<br />

ประกอบด้วยคลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์ซี และแคโรทีน ส่วนอาหารสะสม คือ น้ ามัน<br />

หรือคริสโซลามินาริน (chrysolaminarin)<br />

ตัวอย่างของสาหร่ายในดิวิชันนี้ เช่น วูเชอเรีย (Vaucheria) เฮอเทอโรคอกคัส<br />

(Heterococcus) และโบไทรโอคลอริส (Botryochloris) เป็นต้น<br />

3. ดิวิชันคริสโทไฟตา หรือสาหร่ายสีทอง<br />

สาหร่ายในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ด ารงชีวิตแบบเซลล์เดี่ยว แต่อาจมีบางชนิดที่มีลักษณะ<br />

เป็นโคโลนี หรือมีรูปร่างกลม เป็นเส้นสายที่ไม่เคลื่อนที่ บางชนิดเคลื่อนที่โดยอาศัยแฟล<br />

เจลลา บางชนิดเป็นอะมีบอยด์ที่มีขาเทียม (pseudopod) ท าให้สามารถกินอาหารด้วย<br />

ขาเทียมได้ การสืบพันธุ์มีทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ซึ่งสาหร่ายในกลุ่มนี้ส่วน


ใหญ่จะสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งสองส่วน แต่อาจมีการผสมกันของแกมีต<br />

แบบไอโซแกมัส<br />

สารสีที่พบในสาหร่ายกลุ่มนี้ ประกอบด้วยคลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์ซี แคโรทีน<br />

และฟิวโคแซนทิน (flucoxanthin) ส่วนอาหารสะสม คือ น้ ามัน และคริสโซลามินาริน<br />

ตัวอย่างของสาหร่ายในดิวิชันนี้ เช่น โอโชรโมแนส (Ochromonas) ซึ่งเป็น<br />

สาหร่ายเซลล์เดียว ที่มีแฟลเจลลาที่ยาวไม่เท่ากัน และ ไครซามีบา<br />

(Chrysamoeba) ซึ่งเป็นสาหร่ายที่มีเซลล์คล้ายอะมีบา และมีไรโซโพเดียมยื่นออกมาจาก<br />

โพรโทพลาซึม เป็นต้น<br />

4. ดิวิชันฟีโอไฟโคไฟตา หรือสาหร่ายสีน้ าตาล<br />

สาหร่ายในกลุ่มนี้มีขนาดใหญ่ที่สุด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทะเล และมักอยู่ในน้ า<br />

เย็น สาหร่ายสีน้ าตาลนี้มีแฟลเจลลา 2 เส้น ขนาดไม่เท่ากันอยู่ด้านข้างของเซลล์ มี<br />

โครงสร้างที่ซับซ้อน หลายชนิดมีส่วนยึดเกาะคล้ายรากพืช (holdfast) บางชนิดมีถุง<br />

อากาศ (air bladder) หรือเคลบ(kelp) ขนาดใหญ่ท าให้ลอยตัวอยู่ในน้ าได้ ส่วนการ<br />

สืบพันธุ์มีทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจะเป็นแบบไอ<br />

โซแกมัส และเฮเทอโรแกมัส ขณะที่การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ จะสร้างซูโอสปอร์<br />

ภาพที่ 7.8 สาหร่ายสีทอง<br />

ที่มา (http://vietsciences.free.fr/khaocuu/nguyenlandung/vitao02.htm,<br />

2008)<br />

สารสีที่พบในสาหร่ายกลุ่มนี้ ประกอบด้วยคลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์ซี คาโรทีน<br />

และฟิวโคแซนทิน ส่วนอาหารสะสม คือ น้ าตาลลามินาริน (lamiinarin) คาร์โบไฮเดรต<br />

ที่ละลายน้ า และน้ ามัน


ตัวอย่างของสาหร่ายในดิวิชันนี้ เช่น เพอริสปอโรชนัส<br />

(Perisporochnus) ซาร์กาสซัม (Sargassum) และแลนด์สเบอเกีย (Landsburgia)<br />

เป็นต้น<br />

เคลบ<br />

ภาพที่ 7.9 สาหร่ายสีน้ าตาล<br />

ที่มา (Bauman, 2003, p. 369)<br />

4. ดิวิชันบาซิลลาริโอไฟโคตา หรือไดอะตอม<br />

สาหร่ายในกลุ่มนี้มีการเจริญเป็นเซลล์เดี่ยว โคโลนี หรือเส้นสายที่มี<br />

รูปร่างแตกต่างกันหลายแบบ เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้มีแฟลเจลลาหนึ่งเส้นที่ด้านหน้าเซลล์<br />

สาหร่ายในกลุ่มนี้ถูกน ามาใช้ประโยชน์เป็นสารขัดต่าง ๆ เช่น ยาสีฟัน น้ ายาขัดรถ และ<br />

น้ ายาขัดโลหะ<br />

สารสีที่พบในสาหร่ายกลุ่มนี้ ประกอบด้วยคลอโรฟิลล์เอ<br />

คลอโรฟิลล์ซี แคโรทีน และฟิวโคแซนทิน (fucoxanthin) ส่วนอาหารสะสม คือ น้ ามัน<br />

และคริสโซลามินาริน (chrysolaminarin )<br />

ตัวอย่างของสาหร่ายในดิวิชันนี้ เช่น คอคโดนีอีส พลาเซนทูลา<br />

(Cocconeis placentula) และมีโลซิรา วาเรียนส์ (Melosira varians) เป็นต้น


ภาพที่ 7.10 ไดอะตอม<br />

ที่มา (http://botit.botany.wisc.edu/images/130/Protista_I/Diatom_Images/<br />

Grouped _diatoms_MC_.html, 2007)<br />

5. ดิวิชันยูกลีโนไฟโคไฟตา หรือยูกลีนอยด์<br />

สาหร่ายในกลุ่มนี้เป็นสาหร่ายเซลล์เดียว สีเขียวอ่อน ที่มีลักษณะ<br />

คล้ายพืชและสัตว์ ลักษณะที่คล้ายเซลล์สัตว์คือ เป็นเซลล์เดี่ยว เคลื่อนโดยใช้ แฟล<br />

เจลลา ซึ่งอาจมีหนึ่ง สอง หรือสามเส้นที่ปลายด้านบนของเซลล์ ผนังเซลล์ไม่มี<br />

เซลลูโลสเป็นส่วนประกอบ มีจุดรับแสง (eyespot หรือ stigma) คอนแทรกไทล์แวคิว<br />

โอล (contractile vacuole) และไฟบริลภายในเซลล์ แต่จะคล้ายพืชตรงที่มี<br />

คลอโรพลาสต์ ท าให้สามารถสังเคราะห์แสงได้<br />

สารสีที่พบในสาหร่ายกลุ่มนี้ ประกอบด้วยคลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์<br />

บี และเบตาคาโรทีน (-carotene) ส่วนอาหารสะสมจะอยู่ในรูปของแป้งที่ไม่ละลายน้ า<br />

ชื่อพาราไมลอน (paramylon) และน้ ามัน<br />

ตัวอย่างของสาหร่ายในดิวิชันนี้ เช่น ยูกลีนา แอสคัส (Euglena<br />

ascus) และทราชีโลโมแนส (Trachelomonas) เป็นต้น<br />

6. ดิวิชันคลอโรไฟโคไฟตา หรือสาหร่ายสีเขียว<br />

สาหร่ายสีเขียวถือเป็นสาหร่ายกลุ่มใหญ่ที่สุดในสาหร่ายทั้งหมด พบ<br />

อาศัยอยู่ในน้ าจืด น้ าเค็ม และบนบก มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน เช่น รูปถ้วย


ตาข่าย และขดดาว เป็นต้น อาจอยู่ในลักษณะเซลล์อิสระ อยู่รวมกันเป็นโคโลนี เป็น<br />

กลุ่มหรือเป็นสาย มีทั้งที่เคลื่อนที่ได้ โดยอาศัยแฟลเจลลา ซึ่งอาจมีหนึ่ง สอง สี่เส้น<br />

หรือมากกว่า และพวกเคลื่อนที่ไม่ได้ สามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศ โดยวิธีไอโซ<br />

แกมมัสและเฮเทอโรแกมมัส และแบบไม่อาศัยเพศ โดยสร้างซูโอสปอร์ ตลอดจนการ<br />

แบ่งสองส่วน<br />

สารสีที่พบในสาหร่ายสีเขียว ประกอบด้วยคลอโรฟิลล์เอ<br />

คลอโรฟิลล์บี และแคโรนีน ส่วนอาหารสะสมจะอยู่ในรูปของแป้ง และน้ ามัน<br />

ตัวอย่างของสาหร่ายในดิวิชันนี้ เช่น คลาไมโดโมแนส<br />

(Chlamydomonas) คลอเรลลา (Chlorella) วอลว็อก (Volvox) สไปโรไจรา<br />

(Spirogyra) อัลวา (Ulva) อะเซทาบูลาเรีย (Acetabularia) และไมคราสเทียรีอัส<br />

(Micrasterias) เป็นต้น<br />

แฟลเจลลา<br />

รีเซอวอร์<br />

สทิกมา<br />

คลอโรพลาสต์<br />

เพอริพลาสต์<br />

สทิกมา<br />

คลอโรพลาสต์<br />

เพอริพลาสต์<br />

พาราไมลอน<br />

ข<br />

นิวเคลียส<br />

ภาพที่ ก 7.11 ยูกลีนอยด์<br />

ก ยูกลีนา แอสคัส<br />

ข ทราชีโลโมแนส<br />

ที่มา (Perry and Morton, 1996, p. 18)


ก ข ค<br />

ง ภาพที่ 7.12 สาหร่ายสีเขียว จ ฉ<br />

ก คลอเรลลา ข วอลว็อก ค สไปโรไจรา<br />

ง อัลวา จ อะเซทาบูลาเรีย ฉ ไมโครสเทียรีอัส<br />

ที่มา (Prescott, Harley and Klein, 2005, p. 558)<br />

7. ดิวิชันคริปโทไฟโคไฟตา หรือคริปโทโมแนด<br />

สาหร่ายกลุ่มนี้ด ารงชีวิตแบบเซลล์เดี่ยว มีรูปร่างแบนทั้งด้านบนและ<br />

ล่างคล้ายรองเท้าแตะ อาจมีผนังเซลล์ หรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับแต่ละชนิด มีแฟลเจลลา<br />

สองเส้นออกจากฐานร่อง (groove) สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการสร้างซูโอสปอร์<br />

ซีสต์ หรือแบ่งสองส่วนตามยาว<br />

สารสีที่พบในสาหร่ายกลุ่มนี้ ประกอบด้วยคลอโรฟิลล์เอ<br />

คลอโรฟิลล์ซี แคโรทีน ไฟโคอิริทริน และไฟโคไซแอนิน ส่วนอาหารสะสมจะอยู่ในรูป<br />

ของแป้ง และน้ ามัน<br />

ตัวอย่างของสาหร่ายในดิวิชันนี้ เช่น คริปโทโมแนส ซิมิลิส<br />

(Cryptomonas similis) และชิโลโมแนส พารามีเซียม (Chilomonas paramecium)<br />

เป็นต้น


ภาพที่ 7.13 คริปโทโมแนส<br />

ที่มา (http://www.chdiagnostic.com/H_Photo%20Gallery.htm,2008)<br />

ดิวิชันไฟร์โรไฟโคไฟตา หรือไดโนแฟลเจลเลต<br />

สาหร่ายกลุ่มนี้ด ารงชีวิตแบบเซลล์เดี่ยว พบทั้งในน้ าเค็ม น้ ากร่อย และน้ าจืด<br />

ส่วนมากไม่มีผนังเซลล์ บางชนิดอาจมีแผ่นเซลลูโลส (cellulose plate) ในเยื่อหุ้มเซลล์<br />

ท าให้มีลักษณะคล้ายเกราะ เรียกว่า ธีคัลเพลท (thecal plates) ไดโนแฟลเจลเลตมี<br />

ลักษณะรูปร่างแบน มีร่องตามขวางและตามยาว และมีแฟลเจลลาสองเส้นอยู่ในร่องทั้ง<br />

สองนี้ สารสีที่พบในสาหร่ายกลุ่มนี้ ประกอบด้วยคลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์ซี และแคโรทีน<br />

ส่วนอาหารสะสมจะอยู่ในรูปของแป้ง และน้ ามัน ตัวอย่างของสาหร่ายในดิวิชันนี้ เช่น<br />

Gymnodinium neglectum และCeratium เป็นต้น


ภาพที่ 7.14 ไดโนแฟลเจลเลต<br />

ที่มา (Nester, Anderson, Roberts and Nester, 2007, p. 299)<br />

สรุป<br />

สาหร่ายเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์เป็นยูคาริโอติกเซลล์ สามารถสร้างอาหารได้จากการ<br />

สังเคราะห์แสง เนื่องจากมีคลอโรฟิลล์เช่นเดียวกับพืชชั้นสูง มีรูปร่างและชนาดหลายแบบ<br />

ด้วยกัน เช่น ทรงกลม ท่อน รูปร่างคล้ายกระบอง รูปเกลียว รูปเรียวแหลม และโค้งงอ<br />

คล้ายพระจันทร์เสี้ยว เป็นต้น มีการด ารงชีวิตทั้งแบบเซลล์เดี่ยว เป็นโคโลนี เป็นเส้นสาย<br />

บางชนิดอาจเคลื่อนที่ได้โดยอาศัยแฟลเจลลา การสืบพันธุ์ของสาหร่ายมีทั้งแบบไม่อาศัย<br />

เพศ เช่น การแบ่งสองส่วน การแตกเป็นชิ้นส่วน และการสร้างสปอร์ เป็นต้น และแบบ<br />

อาศัยเพศ ทั้งแบบไอโซแกมี และเฮเทอโรแกมี<br />

นอกจากสารสีคลอโรฟิลล์แล้ว สาหร่ายยังมีสารสีอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ และ ไฟ<br />

โคบิลิน เป็นต้น และยังมีเม็ดแป้ง หยดน้ ามัน และแวควิโอล ซึ่งเป็นอาหารสะสมภายใน<br />

เซลล์อีกด้วย ปัจจุบันได้จ าแนกสาหร่ายออกเป็น 9 ดิวิชัน คือ ดิวิชัน ยูกลีโนไพโคไฟตา ดิวิ<br />

ชันคลอโรไฟโคไฟตา ดิวิชันแซนโธไฟโคไฟตา ดิวิชัน บาซิลลาริโอไฟโคไฟตา ดิวิชันคริสโซ<br />

ไฟโคไฟตา ดิวิชันไพร์โรไฟโคไฟตา ดิวิชัน คริปโทไฟโคไฟตา ดิวิชันฟีโอไฟโคไฟตา และดิวิ<br />

ชันโรโดไฟโคไฟตา<br />

บรรณานุกรม<br />

มัณฑนา นวลเจริญ. 2547. สาหร่าย: สิ่งมหัศจรรย์ในแหล่งน้ า. มหาวิทยาลัยราชภัฏ<br />

ภูเก็ต. ภูเก็ต. 128หน้า.<br />

Bauman R. W. 2003. Microbiology. Pearson Education, Inc. San<br />

Francisco.<br />

http://botit.botany.wisc.edu/images/130/Protista_I/Diatom_Images/ Grouped<br />

_diatoms_MC_.html, 25/8/2007.<br />

http://vietsciences.free.fr/khaocuu/nguyenlandung/vitao02.htm, 14/9/2008.<br />

http://www.chdiagnostic.com/H_Photo%20Gallery.htm, 28/8/2008.<br />

Nester E. W., D.G. Anderson, C. E.Roberts Jr. and M. T. Nester. 2007.<br />

Microbiology: A Human Perspective. 5 th edition. McGraw-Hill.<br />

New York.


Perry J. W. and D. Morton. 1996. Photo Atlas for Biology. Wadsworth<br />

Publishing Company. USA. 160p.<br />

Perry J. W. and D. Morton. 1996. Photo Atlas for Biology. Wadsworth<br />

Publishing company. United States of America.<br />

Prescott L. M., J. P. Harley and D. A. Klein. 2005. Microbiology, 6 th<br />

edition. McGraw-Hill Companies, Inc. United States of<br />

America.<br />

Leliaert F., Smith D.R., Moreau H., Herron M.D., Verbruggen H., Delwiche C.F.<br />

& De Clerck O. Phylogeny and molecular evolution of the green<br />

algae. (2012) Critical Reviews in Plant Sciences 31: 1-46.<br />

Rindi F., Allali H. A., D. W. Lam and López-Bautista J. M. (2009) An overview<br />

of the biodiversity and biogeography of terrestrial green algae. In<br />

Vittore Rescigno et al. Biodiversity Hotspots, p

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!