13.07.2015 Views

เรื่องในฉบับ - สถาบันพระปกเกล้า

เรื่องในฉบับ - สถาบันพระปกเกล้า

เรื่องในฉบับ - สถาบันพระปกเกล้า

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

จดหมายข่าวเดือนตุลาคม ๒๕๕๒กรณีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าแฝก อ.พรเจริญ จ.หนองคายกรณีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหาดสูง อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์กรณีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ อ.เชียงกลาง จ.น่านกรณีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเสียว อ.เมือง จ.ชัยภูมิกรณีนายกเทศมนตรีตำบลบ้านเกาะ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ในจำนวน ๘ กรณีดังกล่าวข้างต้น มีการถอดถอนสำเร็จเพียง ๒กรณีคือ กรณีของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโก๋น และกรณีของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเสียว ส่วนที่เหลืออีก ๖ กรณีถอดถอนไม่สำเร็จ เนื่องจากบางแห่งมีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังเช่นการถอดถอนนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงามนายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าแฝก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหาดสูง และนายกเทศมนตรีตำบลบ้านเกาะ บางแห่งมีผู้มาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่กลับมีคะแนนเสียงที่เห็นด้วยกับการถอดถอนไม่ถึง ๓ ใน ๔ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนน ขณะที่บางแห่งมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อน้อยกว่า ๑ ใน ๕ ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งไม่สามารถจัดให้มีการลงคะแนนได้ ข้อสังเกตสำคัญประการหนึ่งคือ การเข้าชื่อถอดถอนจำนวน ๘ กรณีดังกล่าวนั้นพบว่าเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กคือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทั้งหมด ไม่พบการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่อย่างเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) พัทยา และกรุงเทพ-มหานครแต่อย่างใด ทั้งนี้สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะการกำหนดจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่สามารถเข้าชื่อถอดถอนตามพระราชบัญญัติการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ ค่อนข้างสูง และในส่วนของการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นก็เป็นปัญหา เพราะเกณฑ์การเข้าชื่อจะต้องใช้เขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ใช่เขตเลือกตั้งหรือเขตหมู่บ้าน จึงทำให้การเข้าชื่อของประชาชนตามจำนวนที่กฎหมายกำหนดสำหรับการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นเป็นไปได้ยากนอกจากจำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อถอดถอนจะเป็นอุปสรรคแล้ว ยังพบว่าอุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้การลงคะแนนเสียงถอดถอนไม่ประสบความสำเร็จคือ การกำหนดเงื่อนไขในเรื่องของจำนวนผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงถอดถอนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงทั้งหมดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจะต้องมีผู้มาลงคะแนนเสียงเห็นด้วยกับการถอดถอนไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนน เงื่อนไขดังกล่าวถือเป็นเงื่อนไขที่ยากและเป็นอุปสรรคในการถอดถอนให้สำเร็จได้โดยสรุป อุปสรรคในเชิงข้อกฎหมายที่ส่งผลให้การถอดถอนไม่สำเร็จมีอยู่ ๓ ประการคือ ๑) จำนวนผู้เข้าชื่อร้องขอเพื่อให้มีการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ ในการรวบรวมผู้เข้าชื่อให้ได้ตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ๒) เงื่อนไขในการกำหนดคะแนนเสียงที่เห็นด้วยกับการถอดถอน ๓) กรณีของการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ใช้เขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแทนเขตเลือกตั้งนั้น ทำให้การเข้าชื่อเป็นอุปสรรคอย่างมากดังเช่นกรณีของการถอดถอนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนภิบาล เป็นต้นอย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ พบว่ามาตรา ๒๘๕ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น แม้ว่าจะมิได้กำหนดคะแนนเสียงที่ใช้ในการถอดถอนว่ามีจำนวนเท่าใด เฉกเช่นที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีการแก้ไขกฎหมายให้มีความสอดคล้องตามที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา๒๘๕ กำหนดแต่อย่างใด ดังนั้น จึงควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นพ.ศ. ๒๕๔๒ ให้มีความสอดคล้องและมีความยืดหยุ่นตามขนาดและประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นในเรื่องของจำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อ และการกำหนดคะแนนเสียงที่จะถือว่าการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นสำเร็จ เพื่อให้กฎหมายฉบับนี้มีความเป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติ ไม่เป็นกลไกทางการเมือง และสามารถเป็นเครื่องมือที่ให้อำนาจแก่ประชาชนในการตรวจสอบผู้แทนที่ตนเองเลือกเข้าไปทำหน้าที่แทนได้อย่างแท้จริงสำหรับฉบับหน้า ผู้อ่านสามารถติดตามผลของการศึกษาวิจัยเพื่อยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ... ซึ่งมีเนื้อหาส่วนหนึ่งกล่าวถึงการเสนอขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นและการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!