13.07.2015 Views

เรื่องในฉบับ - สถาบันพระปกเกล้า

เรื่องในฉบับ - สถาบันพระปกเกล้า

เรื่องในฉบับ - สถาบันพระปกเกล้า

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

จดหมายข่าวเดือนตุลาคม ๒๕๕๒อุ ป ส ร ร คในการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นต่อเนื่องจากฉบับที่แล้วที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น สำหรับฉบับนี้ตามที่ได้สัญญากับผู้อ่านว่าจะนำเสนออุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ท่านผู้อ่านจะได้ทราบว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มีหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติอย่างไร ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดบ้างที่ประชาชนเข้าเชื่อเพื่อลงคะแนนเสียงถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และพระราชบัญญัติดังกล่าวมีปัญหาที่เป็นอุปสรรคในเชิงข้อกฎหมายขัดขวางการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างไรบ้างปัจจุบันการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นนั้นอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ๑ ซึ่งหากประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดเห็นว่าไม่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นไม่สมควรดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อีกต่อไปก็สามารถดำเนินการตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดไว้ ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติดังนี้ในการเข้าชื่อเพื่อให้มีการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นนั้นให้ยึดถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งของแต่ละท้องถิ่น ต่อจำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อ ดังต่อไปนี้ถ้ามีผู้มีสิทธิเลือกตั้งในท้องถิ่นจำนวนไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ คนต้องมีผู้เข้าชื่อไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๕ ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน อปท.นั้นถ้ามีผู้มีสิทธิเลือกตั้งในท้องถิ่นเกิน ๑๐๐,๐๐๐ คนแต่ไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ คนต้องมีผู้เข้าชื่อไม่น้อยกว่า ๒๐,๐๐๐ คนของฉัตรระวี ปริสุทธิญาณ*จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน อปท.นั้นถ้ามีผู้มีสิทธิเลือกตั้งในท้องถิ่นเกิน ๕๐๐,๐๐๐ คนแต่ไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน ต้องมีผู้เข้าชื่อไม่น้อยกว่า ๒๕,๐๐๐ คนของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน อปท.นั้นถ้ามีผู้มีสิทธิเลือกตั้งในท้องถิ่นเกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ คนต้องมีผู้เข้าชื่อไม่น้อยกว่า ๓๐,๐๐๐ คนของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในอปท.นั้นทั้งนี้ ในการเข้าชื่อนั้นจะต้องร้องขอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ยกเว้นกรณีของการถอดถอนสมาชิกสภาหรือผู้บริหารของกรุงเทพมหานครซึ่งจะต้องยื่นเรื่องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และการนับจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ถือตามจำนวนในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นครั้งหลังสุดที่ใช้สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นแล้วแต่กรณี สำหรับคำร้องขอให้มีการลงคะแนนเสียงถอดถอน มีข้อกำหนดถึงรายละเอียดในคำร้อง ได้แก่(๑) ชื่อ ที่อยู่ ลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อทุกคน พร้อมด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ที่หมดอายุแล้วก็ใช้ได้) หรือหลักฐานอื่นใดที่มีรูปถ่ายแสดงตนและออกให้โดยหน่วยงานราชการ(๒) รายละเอียดของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์เสื่อมเสียของผู้ที่ต้องการให้ถอดถอน(๓) รายชื่อผู้แทนของผู้เข้าชื่อ(๔) คำรับรองของผู้แทนของผู้เข้าชื่อตามข้อ ๓ ว่าผู้เข้าชื่อทุกคนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นและร่วมเข้าชื่อด้วยตนเอง* นักวิชาการ วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า๑พระราชบัญญัติฉบับนี้ถูกตราขึ้นตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้ให้อำนาจไว้ใน มาตรา ๒๘๖ ซึ่งระบุว่า ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดมีจำนวนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียง เห็นว่าสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้ใดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไป ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติการลงคะแนนเสียงตามวรรคหนึ่งต้องมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาลงคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!