13.07.2015 Views

Download File - ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย

Download File - ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย

Download File - ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

THAI JOURNAL OTOLARYNGOLOGY HEAD NECK SURGERYVol 10 No.3 : July - Sep. 200947การผ่าตัดต่อมน้ำาลายชนิด submandibular เป็นหนึ่งในหัตถการที่แพทย์หู คอ จมูก ทุกคนต้องมีความคุ้นเคย สามารถทำาได้ดี และยังเป็นการผ่าตัดที่ทำากันอยู่มากในเวชปฏิบัติปัจจุบัน ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดมีความหลากหลายต่างกันไป เช่น มีการอักเสบเรื้อรังของต่อมนำา้ลาย, พบนิ่วในตำาแหน่งที่ไม่สามารถเอาออกได้ผ่านทางช่องปาก, พบลักษณะที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง(ก้อนโตเร็ว, มีต่อมน้ำาเหลืองโตร่วมด้วย) ในปัจจุบันจากการพัฒนาด้านเครื่องมือและเทคนิคการผ่าตัด ได้เริ่มมีการผ่าตัด minimal invasive submandibulargland excision ด้วยอุปกรณ์ endoscope โดยมุ่งหวังให้ได้ผลเทียบเท่ากับการผ่าตัดแบบดั้งเดิมแต่มีแผลเป็นพรางตาได้ดีกว่า (1) อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดลักษณะดังกล่าวยังไม่แพร่หลายนักในประเทศไทยจากความสัมพันธ์ทางด้านกายวิภาคกับอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง การผ่าตัดอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อเส้นประสาท facial, lingual และ hypoglossalได้แม้จะมีความเสี่ยงไม่มากนักก็ตาม ผู้ทำาการผ่าตัดจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับตำาแหน่งทางกายวิภาคต่างๆ เพื่อให้ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนลงให้น้อยที่สุด (2) การผ่าตัดแบบดั้งเดิมที่เปิดเข้าที่ใต้คางยังเป็นวิธีมาตรฐานในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และในประเทศไทยวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อทบทวนถึงการผ่าตัด submandibular gland excision ในภาควิชา โสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยบรรยายถึงลักษณะผู้ป่วยทางระบาดวิทยา, ผลของการตรวจวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาแบบต่างๆ ( FNA /Frozen / Pathology), รวบรวมภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัด และวิเคราห์ถึงความสัมพันธ์ของโรคกับปัจจัยต่างๆวิธีการศึกษาผู้เขียน ได้ทำาการรวบรวมแฟ้มประวัติผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด submandibular gland excisionsที่ทำาในภาควิชา โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2542 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551(รวมเป็นเวลา 10 ปี), การค้นหาเวชระเบียน ทำาโดยใช้รหัสการผ่าตัด 2630 : submandibular gland excisionจากฐานข้อมูลดิจิตอลในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ข้อมูลที่ทำาการบันทึก ได้แก่ข้อมูลทั่วไป (demographicdata), ผลการตรวจทางพยาธิวิทยาทั้งหมด,เวลาที่นอนโรงพยาบาล และ เวลาที่ทำาการผ่าตัด ชนิดของ drain ที่ใช้ และ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นภายใน24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดการผ่าตัด submandibular gland excisionแบบดั้งเดิม ทำาโดยลงมีดที่ใต้คางตามรอยย่นของผิวหนังใต้ต่อขอบล่างของกระดูกขากรรไกรล่างอย่างน้อย 2 เซนติเมตร เลาะใต้ชั้นกล้ามเนื้อ platysma,หา ผูก แล้วตัด facial vein โดยดึงส่วนปลายขึ้นไปแนบกับกระดูกขากรรไกรล่างเพื่อป้องกัน mandibularbranch ของเส้นประสาท facial ไว้แล้วจึง excisiongland ออก โดยต้องหาและรักษาเส้นประสาท lingualและ hypoglossal ไว้ด้วย (3)เกณฑ์การคัดเลือกเข้า1. เป็นผู้ป่วยที่ทำาผ่าตัดในภาควิชา โสต ศอนาสิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์2. เป็นการผ่าตัดแบบ conventional submandibulargland excision (external approach)

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!