13.07.2015 Views

Download File - ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย

Download File - ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย

Download File - ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

THAI JOURNAL OTOLARYNGOLOGY HEAD NECK SURGERYVol 10 No.3 : July - Sep. 200923การมีเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดหลังการผ่าตัดต่อมทอนซิลจิระศักดิ์ อังกลมเกลียว พ.บ.*บทคัดย่อวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของสภาวะการมีเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดต่อมทอนซิลและศึกษาหายาปฏิชีวนะที่เหมาะสมกับเชื้อที่พบในกระแสเลือดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดต่อมทอนซิลระเบียบวิธีการวิจัย : งานวิจัยแบบ prospective study นี้ ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการของโรงพยาบาลนางรอง กระทรวงสาธารณสุขแล้ว ทำาการวิจัยในผู้ป่วยที่มาเข้ารับการผ่าตัดต่อมทอนซิลโดยวิธีใช้เครื่องจี้ไฟฟ้าในโรงพยาบาลนางรอง ระหว่างวันที่ 1 พ.ค. 2552 ถึง 31 ก.ค. 2552 ผู้ป่วยทุกคนได้รับทราบวิธีการวิจัยและยินยอมเข้าร่วมการวิจัยโดยสมัครใจ พร้อมทั้งลงชื่อเป็นหลักฐาน จำานวน 20 คน จากผู้ป่วย 22 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของผลการตรวจเพาะเชื้อจากกระแสเลือดหลังผ่าตัดกับผลการตรวจเพาะเชื้อจากแกนกลางเนื้อทอนซิลความชุกของเชื้อที่พบและความไวต่อยาปฏิชีวนะแต่ละชนิดถูกวิเคราะห์โดยใช้วิธี percentileผลการวิจัย : จากการศึกษาในผู้ป่วยทั้งหมด 20 ราย พบว่า เชื้อที่มีความชุกสูงสุดจากการตรวจเพาะเชื้อจากแกนกลางเนื้อทอนซิลคือ P. aeruginosa (35%, 7ใน 20 คน), S. aureus (25%, 5 ใน 20 คน), S. pyogenes(20%, 4 ใน 20 คน) / K. pneumoniae (20%, 4 ใน 20 คน) / P. mirabilis (20%, 4 ใน 20 คน) ตามลำาดับ พบมีการติดเชื้อแบบผสม 6 คน (30%) ยาปฏิชีวนะที่มีความไวสูงสุดคือ gentamicin, 3 rd generation cephalosporins,ciprofloxacin (65.4%, 17 ใน 26 เชื้อ) และ Cotrimoxazole (50%, 13 ใน 26 เชื้อ) ตามลำาดับ ยาปฏิชีวนะที่พบการดื้อยาสูงสุดคือ ampicillin (30.8%, 8 ใน 26 เชื้อ) พบมีความเสี่ยงที่จะเกิดสภาวะการมีเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดในผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดต่อมทอนซิล 5% (P. aeruginosa, 1 ใน 20 คน) เชื้อที่พบมีความไวต่อยาgentamicin, 3 rd generation cephalosporins, ciprofloxacin และไม่พบการดื้อยาบทสรุป : สรุปว่าพบมีความเสี่ยงต่ำาที่จะเกิดสภาวะการมีเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดในผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดต่อมทอนซิล (5%) และยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมกับการให้เพื่อป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดก่อนผ่าตัดต่อมทอนซิลคือ gentamicin, 3 rd generation cephalosporins หรือ ciprofloxacin* แผนกโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!