13.07.2015 Views

Download File - ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย

Download File - ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย

Download File - ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

้THAI JOURNAL OTOLARYNGOLOGY HEAD NECK SURGERYVol 10 No.4 : Oct. - Dec. 200945การศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะการแปรปรวนทางกายภาพบริเวณโพรงจมูกและไซนัสเมื ่อเปรียบเทียบอายุของทั ้ง 2 กลุ่ม พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำ าคัญทางสถิติ (p < 0.001) โดยกลุ่มที ่มีอาการปวดใบหน้าอายุเฉลี ่ย 33.08 ± 10.9 ปี (พิสัย 19-60 ปี) ส่วนกลุ่มที ่ไม่มีอาการปวดใบหน้าอายุเฉลี ่ย56.121± 14.7 ปี (พิสัย 22-86 ปี) แต่เนื ่องจากไซนัสเจริญเต็มที ่เมื ่อผ่านช่วงวัยรุ่น ความแตกต่างนี ้จึงไม่น่าจะมีผลในการศึกษาเปรียบเทียบนีBolger และคณะ 3 ได้ศึกษาเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ไซนัสของผู ้ป่วย 202 คน โดยได้ศึกษาความแปรปรวนทางกายภาพของโพรงจมูกและไซนัสได้แก่ pneumatization ของ middle turbinate, paradoxical curvature ของmiddle turbinate, Haller cells, และ pneumatization ของ uncinate process ผลการศึกษาพบความแปรปรวนทางกายภาพของโพรงจมูกและไซนัส 131 คน(ร้อยละ 64.9) และพบว่าในกลุ่มผู ้ป่วยไซนัสมีความแปรปรวนดังกล่าวไม่แตกต่างกับกลุ่มผู ้ป่วยที ่ไม่ใช่โรคทางไซนัส ซึ ่งการศึกษาของ Tonai และคณะ 10 ก็พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำาคัญระหว่างการเกิดความแปรปรวนทางกายภาพในกลุ่มผู ้ป่วยไซนัสอักเสบเรื ้อรัง กับกลุ่มผู ้ป่วยที ่ไม่มีอาการของไซนัส จากการศึกษาของ Lloyd และคณะ 11 สรุปว่า ความแปรปรวนทางกายภาพใน middle meatus ไม่สัมพันธ์กับการเพิ ่มขึ ้นของไซนัสอักเสบ และ ไม่พบว่าการเกิดความผิดปกตินี ้จะมีผลต่อการเกิดโรคของไซนัสด้วยการทำ าให้รูเปิดไซนัสตีบในประเทศไทย พญ.สุปราณีและคณะ 5 ได้ศึกษา ความแปรปรวนทางกายภาพของโพรงจมูกและไซนัสในเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ในผู ้ป่วยไซนัสอักเสบเรื ้อรัง 100 คน พบว่า ความแปรปรวนทางกายภาพไม่สัมพันธ์กับการขุ่นของไซนัส และไม่มีผลต่อโรคไซนัสอักเสบ การศึกษาของพญ.เบญจพร และคณะ4 ก็ได้สรุปว่า ความแปรปรวนทางกายภาพ ได้แก่ Haller cell หรือ concha bullosa ไม่ได้เป็นปัจจัยเสี ่ยงต่อการเกิดการอักเสบของไซนัสแมกซิลลารีมีการศึกษาพบว่า การผ่าตัดไซนัสโดยไม่รวมถึงการผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นจมูกคด ช่วยลดอาการปวดบริเวณใบหน้าในผู้ป่วยที่มีผลตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ปกติ แต่อาจยังคงมีอาการปวดใบหน้าเหลืออยู่ไม่หายสนิทหลังการผ่าตัดไซนัส 7,9,12-14

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!