13.07.2015 Views

Download File - ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย

Download File - ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย

Download File - ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

42วารสาร หู คอ จมูก และ ใบหน้าปีที่ 10 ฉบับที่ 4 ต.ค. - ธ.ค. 2552บทนำาอาการปวดบริเวณใบหน้า เป็นอาการที่พบได้บ่อย ซึ่งพยาธิสภาพของโพรงจมูกและไซนัสเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำาให้เกิดอาการปวดบริเวณใบหน้า โดยผ่านเส้นประสาทที่รับความรู้สึกหลักของจมูกคือ เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5แขนง 1 และ 2 1, 2มีการศึกษาเกี่ยวกับความแปรปรวนทางกายภาพ (anatomical variation) ของโพรงจมูกและไซนัส จากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดไซนัสหลายการศึกษา 3-5 พบว่า ความแปรปรวนทางกายภาพของโครงสร้างกระดูกของโพรงไซนัส ไม่มีความ สัมพันธ์ หรือ เสี่ยงต่อการเกิดการอักเสบของโพรงไซนัสการศึกษาของ Chow 6 พบว่า การผ่าตัดไซนัสลดอาการปวดตำาแหน่ง contact trigger headacheได้ร้อยละ 83 และ septal spur ก็พบเป็นสาเหตุที่ทำาให้ปวดศีรษะได้บ่อย นอกจากนี้มีการผ่าตัดแก้ไขการแปรปรวนทางกายภาพในผู้ป่วยที่มีอาการทางจมูก ปวดใบหน้า ที่ CT scan ไม่มีไซนัสอักเสบ พบว่าอาการผู้ป่วยบางส่วนดีขึ้นแต่โดยมากอาการปวดคงอยู่ ซึ่งพบว่าอาจเกิดจากการปวดของโรคทางระบบประสาท6-9จากการสืบค้นฐานข้อมูลทางการแพทย์ไม่พบการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการแปรปรวนทางกายภาพของโพรงจมูก และไซนัส ระหว่างผู้ป่วยที่ไม่มีอาการปวดใบหน้า และผู้ป่วยที่มีอาการปวดใบหน้าที่มิได้เกิดจากไซนัสอักเสบการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ของลักษณะการแปรปรวนทางกายภาพของโพรงจมูกและไซนัสในผู้ป่วยปกติที่ไม่มีอาการปวดบริเวณใบหน้า และในผู้ป่วยที่มีอาการปวดบริเวณใบหน้า และเพื่อศึกษาถึงชนิดและตำาแหน่งที่เกิดการแปรปรวนทางกายภาพของโพรงจมูกและไซนัสวัสดุและวิธีการวิจัยขวัญชนก บุญศรารักษพงศ์ พ.บ., สายสวาท ไชยเศรษฐ พ.บ., ไพลิน เลิศทำานองธรรมเป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective) แบบมีกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม (case – control) โดยเลือกผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มารับการตรวจ CT scan บริเวณโพรงจมูกและไซนัส ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ตั้งแต่ 1มกราคม พ.ศ. 2544 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2551กลุ่มผู้ป่วยควบคุม (control) มารับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่โรคทางจมูกและไซนัส ไม่มีอาการปวดบริเวณใบหน้า ไม่พบไซนัสอักเสบ โดยรังสีแพทย์ได้ทำาการสแกนครอบคลุมบริเวณโพรงจมูกไซนัส ดูภาพจากเครื่อง CT scan และจากฟิล์มเอกซเรย์ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการปวดบริเวณใบหน้า ที่มารับการตรวจรักษาในหน่วยไซนัสและภูมิแพ้ ดูภาพจากฟิล์มเอกซเรย์โดยคัดผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดช่องจมูกและไซนัส เคยได้รับบาดเจ็บบริเวณใบหน้าได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเนื้องอก หรือ ริดสีดวง ในโพรงจมูกและไซนัส และผู้ป่วยที่เป็นไซนัสอักเสบ หรือ มี Lund score มากกว่า 4 ออก

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!