13.07.2015 Views

Download File - ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย

Download File - ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย

Download File - ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

THAI JOURNAL OTOLARYNGOLOGY HEAD NECK SURGERYVol 10 No.4 : Oct. - Dec. 200917การศึกษาปัจจัยทางคลินิกที่พยากรณ์ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับที่เกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจสุวิวรรณ นกหนู พ.บ.*, ชลธิชา จันทิวาสน์ พ.บ.*, หทัยทิพย์ ธรรมวิริยกุล พ.บ.**บทคัดย่อที่มาและวัตถุประสงค์ : การหยุดหายใจขณะนอนหลับที่เกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่งผลเสียต่อสุขภาพและมีความสัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวาน ขณะที่วิธีการตรวจการนอนตลอดทั้งคืน (Standard polysomnography: PSG) ที่เป็นมาตรฐานเพื่อการวินิจฉัยนั้น เป็นวิธีที่ประชากรกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาปัจจัยทางคลินิกที่พยากรณ์การหยุดหายใจขณะนอนหลับที่เกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยในการคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงวิธีการ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาตัดขวางในกลุ่มประชากรที่มีอาการนอนกรนที่มารับการตรวจที่โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ จำานวน 85 ราย ในช่วงระหว่างเดือน มิถุนายน 2551 ถึงเดือนมิถุนายน 2552 โดยการศึกษาประวัติการหยุดหายใจโดยการสอบถามคู่นอน การประเมินอาการง่วงนอน การตรวจร่างกายทางหู คอ จมูก โรคร่วมและพฤติกรรมด้านสุขภาพผู้เข้าร่วมทุกรายจะได้รับการตรวจการนอนตลอดทั้งคืน โดยใช้เกณฑ์คะแนนการเกิดการหยุดหายใจหรือมีการหายใจแผ่ว (Apnea-hypopnea index:AHI) มากกว่าหรือเท่ากับ 5 หมายถึงเป็นผู ้ที ่หยุดหายใจขณะนอนหลับผลลัพธ์ : ปัจจัยทางคลินิกที่สามารถพยากรณ์การหยุดหายใจขณะนอนหลับที่เกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจในผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรนอย่างมีความสำาคัญทางสถิติ ได้แก่ ค่าดัชนีมวลกายสูงกว่า 30 [OR (95% CI) :25.72(1.96-337.93); p = 0.013], ขนาดรอบคอมากกว่าหรือเท่ากับ 15 นิ้ว [OR (95% CI) 8.26(1.24-54.86); p= 0.018] Mallampati ระดับ 3-4 [OR (95% CI) 6.18(1.16-33.03); p = 0.022] การตื่นมาปัสสาวะ [OR(95% CI) 45.91(3.81-552.73); p < 0.001] ไขมันในโลหิตสูง [OR (95% CI) 7.95(1.48-42.59);p = 0.008]ขณะที่ขนาดทอนซิลที่ระดับ 3 - 4 โรคเบาหวาน และการสูบบุหรี่ ควรศึกษาเพิ่ม เนื่องจากมีขนาดตัวอย่างน้อยจึงไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์สรุป : ค่าดัชนีมวลกายสูงกว่า30 ขนาดรอบคอมากกว่าหรือเท่ากับ 15 นิ้ว Mallampati ระดับ 3 - 4 การตื่นมาปัสสาวะ และไขมันในโลหิตสูง ใช้ในการพยากรณ์การหยุดหายใจขณะนอนหลับที่เกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจในคนไทยที่มีอาการนอนกรน และประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษานี้นำาไปใช้คัดกรองผู้ที่นอนกรนที่สมควรรับการตรวจด้วยเครื่องตรวจประสิทธิภาพการนอนแบบทั้งคืน*กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่**กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!