ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

12.07.2015 Views

ในปัจจุบัน งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรมของไทยยังมีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากต้องอาศัยการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศดังที่ได้กล่าวไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีเฉพาะของแต่ละอุตสาหกรรม (Industry-specific technologies) ซึ่งต้องนำเข้าทั้งกระบวนการแบบ Turn-keyทำให้ประเทศไทยขาดขีดความสามารถเชิงวิศวกรรมในการที่จะพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นของตนเอง ยกเว้นอุตสาหกรรมแป้งและน้ำตาลอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร รวมถึงการออกแบบและสร้างระบบทำความเย็นสำหรับเทคโนโลยีของระบบและเครื่องจักรพื้นฐาน (Cross-cutting technologies) ประเทศไทยต้องอาศัยการนำเข้าเป็นหลักเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คอมเพรสเซอร์และเครื่องทำน้ำเย็น ในปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตและประกอบหม้อไอน้ำ ปั๊มน้ำ พัดลม มอเตอร์ ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เครื่องจักรเหล่านี้ติดตั้งใช้งานในโรงงานขนาดกลางและเล็ก สำหรับโรงงานขนาดใหญ่ซึ่งมักมีบริษัทข้ามชาติเป็นเจ้าของ เครื่องจักรที่ใช้จะเป็นเครื่องจักรประสิทธิภาพสูงที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบุคลากรในโรงงาน ดังนั้น โรงงานขนาดใหญ่จึงค่อนข้างมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว เครื่องจักรที่ผลิตและประกอบในประเทศส่วนใหญ่ขาดการประยุกต์ความรู้ทางวิชาการ การผลิตอาศัยการลอกแบบ โดยให้ความสำคัญกับมาตรฐานความปลอดภัยเป็นหลัก อุปกรณ์จึงขาดประสิทธิภาพพลังงาน การส่งเสริมทั้งด้านเทคโนโลยีและนโยบายเพื่อให้เครื่องจักรที่ผลิตและประกอบในประเทศมีการพัฒนาประสิทธิภาพให้สูงขึ้น นอกจากจะอนุรักษ์พลังงานแล้ว ยังช่วยให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็กมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น สามารถอยู่รอดในตลาดได้ระบบผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วมหรือ Combined Heat and Power (CHP) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่มีศักยภาพสูงในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศไทย เทคโนโลยี CHP ที่มีความเหมาะสมมี 2 ประเภท คือ เทคโนโลยีกังหันก๊าซ (Gas turbine) และเครื่องยนต์ก๊าซ (Gas engine) อนึ่งในการผลิตเครื่องต้นกำลังประเภท Gas engine และ Gas turbine และเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้น ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การดำเนินการของบริษัทที่มีชื่อเสียงเพียงไม่กี่บริษัทในประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศกำลังพัฒนาที่มีบทบาทอยู่บ้าง คือ จีน และอินเดีย สำหรับประเทศไทยจำเป็นต้องนำเข้าเทคโนโลยีเหล่านี้จากต่างประเทศ ดังนั้นช่องว่างสำหรับการวิจัยและพัฒนาในประเทศจึงอยู่ที่การใช้ความร้อนทิ้ง (Waste heat) และ การออกแบบระบบควบคุมและการ Optimize การปฏิบัติการของทั้งระบบการวิจัยพัฒนา วิศวกรรม และเทคโนโลยีที่ประเทศไทยควรส่งเสริม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม ได้แก่(1) การวิจัยประยุกต์ที่บูรณาการอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าและความร้อนในระบบ เช่น ระบบมอเตอร์(Motor systems) ที่รวมการควบคุมมอเตอร์กับอุปกรณ์ที่ถูกขับเคลื่อนไว้ด้วย และระบบไอน้ ำที่รวมการควบคุมหม้อไอน้ำกับอุปกรณ์ใช้ไอน้ำต่างๆ ไว้ด้วย เป็นต้น(2) การวิจัยประยุกต์ที่ช่วยให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าและความร้อนในประเทศสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น มอเตอร์ ปั้มน้ำ พัดลม และหม้อไอน้ำ โดยเฉพาะให้มีประสิทธิภาพที่สูงกว่ามาตรฐานขั้นต่ำ (Minimum Energy Performance Standards หรือ MEPS) ที่ทางราชการกำหนด97

(3) การวิจัยประยุกต์ในด้านการควบคุมกระบวนการผลิต (Industrial process control) การใช้ความร้อนทิ้ง (Waste heat recovery) ให้เป็นประโยชน์ รวมทั้งการทำ Benchmarking ของอุตสาหกรรมแต่ละประเภท(4) การศึกษาเชิงเทคนิคและเศรษฐศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงเชื้อเพลิง (Fuel switching) และการใช้ระบบ CHP เพื่อประหยัดพลังงานและลดมลพิษ ซึ่งเป็นแนวโน้มที่สำคัญในการรองรับภาวะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นงานวิจัยและพัฒนาในภาคอาคารธุรกิจและบ้านอยู่อาศัยควรให้การสนับสนุนการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านพลังงานที่เกี่ยวกับอาคารอย่างจริงจัง เนื่องจากอาคารที่สร้างขึ้นในระยะ 60 ปี ที่ผ่านมาไม่สอดคล้องกับภูมิอากาศร้อนชื้น ภาระการปรับอากาศสูง และใช้แสงจากหลอดประดิษฐ์ในช่วงกลางวันทั้งที่แสงธรรมชาติมีอย่างเพียงพอ ส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ขณะเดียวกันความรู้จากการวิจัยในปัจจุบันทำให้ทราบว่ามีโอกาสและศักยภาพที่จะออกแบบและสร้างอาคารที่มีสมรรถนะพลังงานสูงมากกว่าปัจจุบันมาก อีกทั้งมีความคุ้มค่าเชิงต้นทุน งานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยในการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงานโดยรวมของทั้งอาคาร การแสวงหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของระบบและอุปกรณ์ การวิจัยเกี่ยวกับตัวอาคาร รูปทรง ทิศทาง ภูมิอากาศ และวิธีวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ของความคุ้มค่าเชิงประสิทธิภาพพลังงานของทั้งอาคาร การวิจัยประสิทธิภาพเชิงพลังงานของกรอบอาคารการวิจัยด้านความสบายเชิงอุณหภาพและการปรับอากาศ การวิจัยการให้แสงสว่างและการใช้แสงธรรมชาติควรมีการกำหนดเป้าหมายระดับความรู้และความสามารถของการวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาและออกแบบระบบของอาคารให้ได้ประสิทธิภาพพลังงานตามกำหนดไว้ให้เป็นรูปธรรม นอกจากนั้น งานวิจัยเชิงนโยบายและการสนับสนุนการบริหารงานอนุรักษ์พลังงานในภาคอาคาร มีส่วนสำคัญทำให้เกิดการติดตามสถานภาพและการหาวิธีการเพิ่มประสิทธิผลของการบริหารงานอนุรักษ์พลังงานในส่วนอาคาร การพัฒนา การปรับปรุงและการแก้ไขวิธีบริหารมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของอาคารและระบบ โดยเฉพาะ การทำให้เกิดการบริหารงานการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของอาคารใหม่ที่ยังไม่ได้ก่อสร้างหรืออาคารเก่าที่มีการปรับปรุงใหม่งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงานในภาคขนส่งในประเทศไทยที่ผ่านมายังมีไม่มากนักเมื่อเทียบกับสัดส่วนปริมาณการใช้พลังงานในภาคขนส่ง ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากประเทศไทยไม่ใช่เจ้าของเทคโนโลยียานยนต์โดยตรง อุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ในประเทศเป็นแค่การผลิตชิ้นส่วนและประกอบเท่านั้นเทคโนโลยีเครื่องยนต์ยังเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ผลิตต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของยานยนต์สามารถดำเนินการด้วยมาตรการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานและส่งเสริมการใช้ยานยนต์ที่มีประสิทธิภาพพลังงานสูงผ่านมาตรการทางภาษี ซึ่งการดำเนินมาตรการต่างๆ ดังกล่าว มีความต้องการงานวิจัยเชิงนโยบายเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอต่อการดำเนินการมาตรการดังกล่าวให้มีประสิทธิผลรวมถึงเพื่อให้สามารถติดตามและประเมินผลได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ที่ผ่านมาการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งของประเทศได้เน้นความสำคัญของการเดินทางทางถนนเป็นหลักซึ่งเป็นรูปแบบการเดินทางที่มีประสิทธิภาพพลังงานต่ำ ดังนั้น ควรมีการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานขนส่งที่มีประสิทธิภาพพลังงานสูง แนวทางและเทคโนโลยีการลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก98

ในปัจจุบัน งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรมของไทยยังมีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากต้องอาศัยการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศดังที่ได้กล่าวไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีเฉพาะของแต่ละอุตสาหกรรม (Industry-specific technologies) ซึ่งต้องนำเข้าทั้งกระบวนการแบบ Turn-keyทำให้ประเทศไทยขาดขีดความสามารถเชิงวิศวกรรมในการที่จะพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นของตนเอง ยกเว้นอุตสาหกรรมแป้งและน้ำตาลอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร รวมถึงการออกแบบและสร้างระบบทำความเย็นสำหรับเทคโนโลยีของระบบและเครื่องจักรพื้นฐาน (Cross-cutting technologies) ประเทศไทยต้องอาศัยการนำเข้าเป็นหลักเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คอมเพรสเซอร์และเครื่องทำน้ำเย็น ในปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตและประกอบหม้อไอน้ำ ปั๊มน้ำ พัดลม มอเตอร์ ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เครื่องจักรเหล่านี้ติดตั้งใช้งานในโรงงานขนาดกลางและเล็ก สำหรับโรงงานขนาดใหญ่ซึ่งมักมีบริษัทข้ามชาติเป็นเจ้าของ เครื่องจักรที่ใช้จะเป็นเครื่องจักรประสิทธิภาพสูงที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบุคลากรในโรงงาน ดังนั้น โรงงานขนาดใหญ่จึงค่อนข้างมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว เครื่องจักรที่ผลิตและประกอบในประเทศส่วนใหญ่ขาดการประยุกต์ความรู้ทางวิชาการ การผลิตอาศัยการลอกแบบ โดยให้ความสำคัญกับมาตรฐานความปลอดภัยเป็นหลัก อุปกรณ์จึงขาดประสิทธิภาพพลังงาน การส่งเสริมทั้งด้านเทคโนโลยีและนโยบายเพื่อให้เครื่องจักรที่ผลิตและประกอบในประเทศมีการพัฒนาประสิทธิภาพให้สูงขึ้น นอกจากจะอนุรักษ์พลังงานแล้ว ยังช่วยให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็กมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น สามารถอยู่รอดในตลาดได้ระบบผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วมหรือ Combined Heat and Power (CHP) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่มีศักยภาพสูงในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศไทย เทคโนโลยี CHP ที่มีความเหมาะสมมี 2 ประเภท คือ เทคโนโลยีกังหันก๊าซ (Gas turbine) และเครื่องยนต์ก๊าซ (Gas engine) อนึ่งในการผลิตเครื่องต้นกำลังประเภท Gas engine และ Gas turbine และเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้น ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การดำเนินการของบริษัทที่มีชื่อเสียงเพียงไม่กี่บริษัทในประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศกำลังพัฒนาที่มีบทบาทอยู่บ้าง คือ จีน และอินเดีย สำหรับประเทศไทยจำเป็นต้องนำเข้าเทคโนโลยีเหล่านี้จากต่างประเทศ ดังนั้นช่องว่างสำหรับการวิจัยและพัฒนาในประเทศจึงอยู่ที่การใช้ความร้อนทิ้ง (Waste heat) และ การออกแบบระบบควบคุมและการ Optimize การปฏิบัติการของทั้งระบบการวิจัยพัฒนา วิศวกรรม และเทคโนโลยีที่ประเทศไทยควรส่งเสริม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม ได้แก่(1) การวิจัยประยุกต์ที่บูรณาการอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าและความร้อนในระบบ เช่น ระบบมอเตอร์(Motor systems) ที่รวมการควบคุมมอเตอร์กับอุปกรณ์ที่ถูกขับเคลื่อนไว้ด้วย และระบบไอน้ ำที่รวมการควบคุมหม้อไอน้ำกับอุปกรณ์ใช้ไอน้ำต่างๆ ไว้ด้วย เป็นต้น(2) การวิจัยประยุกต์ที่ช่วยให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าและความร้อนในประเทศสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น มอเตอร์ ปั้มน้ำ พัดลม และหม้อไอน้ำ โดยเฉพาะให้มีประสิทธิภาพที่สูงกว่ามาตรฐานขั้นต่ำ (Minimum <strong>Energy</strong> Per<strong>for</strong>mance Standards หรือ MEPS) ที่ทางราชการกำหนด97

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!