12.07.2015 Views

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ปฏิกิริยาทรานส์เอสเตอริฟิเคชันภายใต้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นด่างนอกจากนั้นยังมีการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาของแข็ง รวมถึงเอนไซม์ไลเปสเพื่อใช้ทดแทนตัวเร่งปฏิกิริยากรดจำพวกกรดซัลฟิวริกซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการกัดกร่อนต่อระบบการผลิตอนึ่งนอกเหนือจาก 2 ปฏิกิริยาดังกล่าวในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อผลิตไบโอดีเซลเช่นกัน ได้แก่ กระบวนการเลี้ยงสาหร่ายเพื่อผลิตน้ำมันและกระบวนการHydrogenatedbiodiesel (ใช้ก๊าซไฮโดรเจนในการแปรสภาพไตรกลีเซอไรด์และกรดไขมันไปเป็นเชื้อเพลิง)ในส่วนของไบโอดีเซลนั้น วัตถุดิบที่มีความเป็นไปได้สำหรับใช้ผลิตไบโอดีเซล ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน สบู่ดำมะพร้าว และน้ำมันพืชใช้แล้ว โดยวัตถุดิบที่มีศักยภาพสูงสุด คือ ปาล์มน้ำมัน สำหรับการปลูกสบู่ดำนั้นปัจจุบันมีต้นทุนสูงไม่จูงใจเกษตรกร และต้นทุนการผลิตไบโอดีเซลก็สูงเช่นกัน ในส่วนของการใช้มะพร้าวเป็นวัตถุดิบผลิตไบโอดีเซลนั้นต้องเผชิญกับภาวะผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์มะพร้าวและต้นทุนการเก็บที่สูง ส่วนน้ำมันพืชใช้แล้วมีปริมาณน้อยมากจนไม่มีนัยสำคัญเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนการผลิตไบโอดีเซลจากวัตถุดิบชนิดต่างๆ แสดงได้ดังรูปที่ 20โดยจำแนกเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบัน และเทคโนโลยีที่พัฒนาและคาดว่าจะมีการใช้งานในอนาคต เทคโนโลยีที่ใช้กับปฏิกิริยาทรานส์เอสเตอริฟิเคชั่นแบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้สารเร่งปฏิกิริยา ได้แก่ กระบวนการ Conventional(Base/acid catalysis), Continuous deglycerolization, Lipase-catalysis และ Microwave และกลุ่มที่ไม่ใช้สารเร่งปฏิกิริยาคือ Supercritical methanol ส่วนปฏิกิริยาเอสเตอริฟิเคชั่น จะแบ่งเป็นแบบกะ (Batch)และต่อเนื่อง (Continuous) เมื่อวัตถุดิบทำปฏิกิริยาแล้วสารประกอบที่ได้จากปฏิกิริยาเคมีจะถูกแยกเป็นสองส่วนคือ ส่วนของเมทิล/เอทิลเอสเตอร์ดิบ ซึ่งจะถูกทำให้บริสุทธิ์ขึ้นให้ได้ตามมาตรฐานไบโอดีเซลรวมถึงแยกแอลกอฮอล์ที่ตกค้างออกเพื่อนำกลับไปใช้งานใหม่ และส่วนกลีเซอรอลดิบ ซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้และสามารถทำให้บริสุทธิ์ขึ้นเพื่อจำหน่ายต่อไปรูปที่ 20 สถานภาพของเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงไบโอดีเซล [15]92

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!