12.07.2015 Views

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

หน่วยงานที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่เพาะปลูกพืชพลังงานสำหรับผลิตเอทานอลทั้งอ้อยและมันสำปะหลังและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ตามลำดับ โดยงานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น4 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มงานวิจัยที่1 การวิจัยเกี่ยวกับศักยภาพวัตถุดิบ เป็นกลุ่มที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาศักยภาพโดยภาพรวมของวัตถุดิบที่สามารถการผลิตเอทานอล เช่น การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ในการปลูกพืชรวมทั้งการศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการด้าน Logistic ในการรวบรวมวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิตเอทานอลการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตวัตถุดิบ เช่น การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืช นอกจากนั้นยังมีการวิเคราะห์หาวัตถุดิบชนิดใหม่ที่มีศักยภาพสามารถน ำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลในรุ่นที่ 2 เช่น Lignocellulosic ethanolเป็นต้นกลุ่มงานวิจัยที่ 2 การวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตเอทานอล เป็นศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการผลิตและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเอทานอลจากวัตถุดิบชนิดต่างๆกลุ่มงานวิจัยที่ 3 การศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้เอทานอลกับยานยนต์ เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาผลกระทบของเครื่องยนต์ต่อการใช้เอทานอลผสมกับน้ำมันเบนซินในสัดส่วนต่างๆ รวมทั้งการส่งเสริมให้ใช้เอทานอลแทนน้ำมันดีเซลในเครื่องยนต์ดีเซลกลุ่มงานวิจัยที่ 4 การวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการผลิตเอทานอลเป็นการศึกษาเกี่ยวกับต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการปล่อยมลพิษจากการผลิตเอทานอลจากวัตถุดิบและเทคโนโลยีประเภทต่างๆ รวมทั้งแนวทางในการลดต้นทุนและลดผลกระทบจากการผลิตเอทานอลงานวิจัยโดยส่วนใหญ่ของประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่ 1 และ 2 โดยเป็นการศึกษาหาศักยภาพของวัตถุดิบชนิดต่างๆ ในการผลิตเอทานอลและการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเอทานอลจากวัตถุดิบชนิดต่างๆ โดยเฉพาะวัตถุดิบที่ไม่ได้ใช้เป็นพืชอาหาร ในขณะที่งานวิจัยในกลุ่มที่ 3 และ 4 มีสัดส่วนของงานวิจัยน้อยกว่าโดยเฉพาะการศึกษาเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรการผลิตเอทานอลจากวัตถุดิบชนิดต่างๆแนวทางในการส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาสำหรับการผลิตเอทานอลแบ่งได้เป็น 5 ด้าน ดังนี้ด้านที่ 1 การพัฒนาพันธุ์พืชและเขตกรรมพืชที่ใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยมีตัวอย่างประเด็นงานวิจัย ได้แก่1) การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืช อันได้แก่ มันสำปะหลังและอ้อยโตเร็ว ที่ให้ผลผลิตและปริมาณแป้งและน้ำตาลสูง โดยทำการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ทั้งโดยวิธีดั้งเดิมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวโมเลกุลเช่น Marker-assisted selection เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย2) การพัฒนาการจัดการเขตกรรมพืช และถ่ายทอดความรู้เรื่องการปลูก เก็บเกี่ยว และดูแลรักษาแก่เกษตรกรเพื่อให้ได้มาตรฐาน GAP88

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!