ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

12.07.2015 Views

รูปที่ 17 สถานภาพของเทคโนโลยีการผลิตพลังงานความร้อนและไฟฟ้าจากชีวมวล [15]การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานชีวมวลปัจจุบันงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการเปลี่ยนรูปชีวมวลซึ่งเป็นพลังงานเคมีให้อยู่ในรูปพลังงานความร้อนและไฟฟ้ามีหลายประเภท ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ได้แก่ กระบวนการเตรียมชีวมวลก่อนการแปรรูปเป็นพลังงาน กระบวนการแปรรูปชีวมวลเป็นพลังงาน และกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าหรือความร้อน จากการรวบรวมข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพลังงานชีวมวลในช่วงปี 2539-2555จำนวน 173 งานวิจัย พบว่าหน่วยงานหลักที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับพลังงาน 4 หน่วยงานคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยงานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มงานวิจัยที่1 การวิจัยเกี่ยวกับศักยภาพวัตถุดิบ เป็นกลุ่มที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาศักยภาพโดยภาพรวมของชีวมวลที่จะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย และการวิเคราะห์หาวัตถุดิบชนิดใหม่ที่มีศักยภาพสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนได้กลุ่มงานวิจัยที่ 2 การศึกษากระบวนการเตรียมชีวมวลก่อนการแปรรูปเป็นพลังงาน เป็นการศึกษาหาแนวทางการปรับปรุงคุณภาพของชีวมวลชนิดต่างๆ เพื่อให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการนำมาผลิตเป็นพลังงานความร้อนและไฟฟ้า เช่น การลดขนาดโดยการตัด (Chipping) บด (Grinding) ทำให้เป็นผง (Pulverizing)อัดก้อน (Briquetting) หรืออัดเม็ด (Pelletizing) การลดความชื้นโดยการตากแห้งหรืออบแห้ง79

กลุ่มงานวิจัยที่ 3 การวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนจากชีวมวลเป็นศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการผลิตและปรับปรุงคุณภาพเทคโนโลยีสำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนจากชีวมวลกลุ่มงานวิจัยที่4 การวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชีวมวล เป็นการศึกษาเกี่ยวกับต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการปล่อยมลพิษจากการผลิตชีวมวลประเภทต่างๆ รวมทั้งแนวทางในการลดต้นทุนและลดผลกระทบของกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนจากชีวมวลงานวิจัยโดยส่วนใหญ่ของประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่ 3 โดยเป็นการศึกษาหาแนวทางการพัฒนากระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนจากชีวมวล รวมทั้งการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพเทคโนโลยีสำหรับการผลิตพลังงานจากชีวมวล เช่น Gasification เป็นต้น รองลงมาเป็นงานวิจัยในกลุ่มที่ 1และ 2 คือการศึกษาศักยภาพของวัตถุดิบชีวมวลในการผลิตพลังงานและการแสวงหาวัตถุดิบชีวมวลชนิดใหม่ที่จะสามารถนำมาผลิตพลังงานได้ รวมทั้งการพัฒนากระบวนการเพิ่มคุณสมบัติของวัตถุดิบก่อนเข้ากระบวนการผลิตพลังงานเพื่อให้กระบวนการผลิตพลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนการศึกษาเกี่ยวกับต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตพลังงานจากชีวมวลมีอยู่ในสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับประเด็นอื่นๆ งานวิจัยในกลุ่มนี้จะเน้นวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตพลังงานและแนวทางในการลดต้นทุนดังกล่าวแนวทางการพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวมวลที่ควรส่งเสริมแบ่งตามลักษณะของงานวิจัยและพัฒนาได้เป็น 4 ด้าน คือ(1) ด้านทรัพยากรชีวมวลเน้นการศึกษาการเก็บรวบรวมและขนส่งชีวมวลที่ยังมี ศักยภาพในการนำไปผลิตพลังงาน และการศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ของการปลูกพืชโตเร็วเพื่อใช้ผลิตพลังงาน(2) ด้านการวิจัยและพัฒนาการเตรียมเชื้อเพลิงให้เหมาะสม เน้นงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับคุณลักษณะของเชื้อเพลิงชีวมวลแต่ละชนิดและจัดทำฐานข้อมูลของเชื้อเพลิงชีวมวลในประเทศไทย และการศึกษาวิจัยกระบวนการผลิตชีวมวลอัดแท่งซึ่งอาจรวมไปถึงการปรับปรุงชีวมวลก่อนอัดแท่ง(3) ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการเปลี่ยนชีวมวลเป็นพลังงานที่เหมาะสมเน้นการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบผลิตพลังงานจากชีวมวลในกลุ่มโรงงานที่มีศักยภาพและการศึกษาถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องประสิทธิภาพที่ลดลง ทั้งสำหรับระบบที่ดำเนินการอยู่และระบบในอนาคต การสร้างองค์ความรู้เรื่องการเผาไหม้ร่วมระหว่างถ่านหินกับชีวมวลและการศึกษาและวิจัยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี(4) การพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในด้านบุคลากรและอุปกรณ์ภายในประเทศสำหรับเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจและมีศักยภาพในการพัฒนาไปสู่เชิงพาณิชย์เพื่อรองรับการใช้ในอนาคตอันใกล้และพัฒนาสร้างโรงงานต้นแบบขึ้นภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการผลิตเทคโนโลยีเพื่อส่งออกด้วย80

กลุ่มงานวิจัยที่ 3 การวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนจากชีวมวลเป็นศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการผลิตและปรับปรุงคุณภาพเทคโนโลยีสำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนจากชีวมวลกลุ่มงานวิจัยที่4 การวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชีวมวล เป็นการศึกษาเกี่ยวกับต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการปล่อยมลพิษจากการผลิตชีวมวลประเภทต่างๆ รวมทั้งแนวทางในการลดต้นทุนและลดผลกระทบของกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนจากชีวมวลงานวิจัยโดยส่วนใหญ่ของประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่ 3 โดยเป็นการศึกษาหาแนวทางการพัฒนากระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนจากชีวมวล รวมทั้งการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพเทคโนโลยีสำหรับการผลิตพลังงานจากชีวมวล เช่น Gasification เป็นต้น รองลงมาเป็นงานวิจัยในกลุ่มที่ 1และ 2 คือการศึกษาศักยภาพของวัตถุดิบชีวมวลในการผลิตพลังงานและการแสวงหาวัตถุดิบชีวมวลชนิดใหม่ที่จะสามารถนำมาผลิตพลังงานได้ รวมทั้งการพัฒนากระบวนการเพิ่มคุณสมบัติของวัตถุดิบก่อนเข้ากระบวนการผลิตพลังงานเพื่อให้กระบวนการผลิตพลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนการศึกษาเกี่ยวกับต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตพลังงานจากชีวมวลมีอยู่ในสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับประเด็นอื่นๆ งานวิจัยในกลุ่มนี้จะเน้นวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตพลังงานและแนวทางในการลดต้นทุนดังกล่าวแนวทางการพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวมวลที่ควรส่งเสริมแบ่งตามลักษณะของงานวิจัยและพัฒนาได้เป็น 4 ด้าน คือ(1) ด้านทรัพยากรชีวมวลเน้นการศึกษาการเก็บรวบรวมและขนส่งชีวมวลที่ยังมี ศักยภาพในการนำไปผลิตพลังงาน และการศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ของการปลูกพืชโตเร็วเพื่อใช้ผลิตพลังงาน(2) ด้านการวิจัยและพัฒนาการเตรียมเชื้อเพลิงให้เหมาะสม เน้นงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับคุณลักษณะของเชื้อเพลิงชีวมวลแต่ละชนิดและจัดทำฐานข้อมูลของเชื้อเพลิงชีวมวลในประเทศไทย และการศึกษาวิจัยกระบวนการผลิตชีวมวลอัดแท่งซึ่งอาจรวมไปถึงการปรับปรุงชีวมวลก่อนอัดแท่ง(3) ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการเปลี่ยนชีวมวลเป็นพลังงานที่เหมาะสมเน้นการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบผลิตพลังงานจากชีวมวลในกลุ่มโรงงานที่มีศักยภาพและการศึกษาถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องประสิทธิภาพที่ลดลง ทั้งสำหรับระบบที่ดำเนินการอยู่และระบบในอนาคต การสร้างองค์ความรู้เรื่องการเผาไหม้ร่วมระหว่างถ่านหินกับชีวมวลและการศึกษาและวิจัยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี(4) การพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในด้านบุคลากรและอุปกรณ์ภายในประเทศสำหรับเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจและมีศักยภาพในการพัฒนาไปสู่เชิงพาณิชย์เพื่อรองรับการใช้ในอนาคตอันใกล้และพัฒนาสร้างโรงงานต้นแบบขึ้นภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการผลิตเทคโนโลยีเพื่อส่งออกด้วย80

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!