ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

12.07.2015 Views

การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานนำ้ำประเทศไทยได้มีการตกลงร่วมกันเพื่อแบ่งความรับผิดชอบในการพัฒนาแหล่งพลังงานน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก และเล็กมากในระหว่าง 3 หน่วยงานหลักคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดยยึดหลักว่าโครงการใดที่มีความคุ้มทุนในเชิงเศรษฐกิจ ให้การไฟฟ้าฯ หรือเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ ส่วน พพ. จะดำเนินการเฉพาะโครงการที่มีความเหมาะสมทางด้านสังคม แต่ไม่มีความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ และมีกำลังการผลิตไม่เกิน 6 MWe โดยมีที่ตั้งของโครงการอยู่นอกเขตวนอุทยานแห่งชาติและเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ปัจจุบันทั้ง 3 หน่วยงานได้กำหนดแผนหลักในการพัฒนาโครงการน้ำขนาดเล็ก และเล็กมากประกอบด้วยโครงการของ กฟผ. จำนวน 3 โครงการ มีกำลังผลิตรวม 28 MW กฟภ. จำนวน 4 โครงการมีกำลังผลิตรวม 27 MWโครงการของ พพ. จำนวน 98 โครงการมีกำลังผลิตรวม 350 MWeพพ. ได้พัฒนาโครงการพลังงานน้ำในระดับหมู่บ้านรวม 75 โครงการมีกำลังผลิตรวมประมาณ 2,500 kWeมีหลักเกณฑ์การดำเนินงานโดย พพ. เป็นผู้ก่อสร้างและเปิดโอกาสให้ชุมชนในพื้นที่มีส่วนเป็นเจ้าของในรูปแบบสหกรณ์ โดย พพ. เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง พร้อมจัดหาเงินลงทุน วัสดุ และเทคโนโลยีหลักส่วนชุมชนเป็นผู้ลงทุนด้านแรงงาน และวัสดุก่อสร้างประเภทที่มีในท้องถิ่น เช่น หิน ทราย คาดว่าหากมีการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำจากเขื่อนที่มีอยู่แล้วประมาณ 50 แห่งและของฝายชลประทานอีก 400 แห่งน่าจะให้กำลังการผลิตได้เกิน 190 MW พร้อมกันนี้ถ้ามีการเพิ่มประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำที่มีอยู่แล้วโดยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เครื่องกลไฟฟ้าให้ดีขึ้นภายในแผน 10 ปี คาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มอีกประมาณ 86 MWeปัจจุบันประเทศไทยมีความรู้ความสามารถในการสำรวจแหล่งน้ำอุทกศาสตร์การออกแบบงานโครงสร้างโยธา และก่อสร้างตัวเขื่อนทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ในระดับเกินกว่า 100 MWe ได้ทั้งหมด แต่มีศักยภาพในการออกแบบ สร้างและผลิตตัวกังหันน้ำ และระบบเครื่องกลไฟฟ้าต่ำ พพ. สามารถสร้างกังหันน้ำแบบRadial flow ที่มีขนาดเล็กว่า 6 MWe ได้โดยว่าจ้างผู้ประกอบการเอกชนในประเทศได้บางราย แต่ยังไม่สามารถออกแบบและผลิตกังหันน้ำแบบ Axial flow ล่าสุดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมได้ออกแบบพัฒนา และสร้างกังหันน้ำขนาดเล็กเพื่อติดตั้งท้ายเขื่อนโดยทำงานที่แรงดันระดับน้ำต่ำเพียง 2.5-3 เมตรได้ โดยมีกำลังผลิตที่ประมาณ 28 kWe และมีประสิทธิภาพร้อยละ 75 โดยอุปกรณ์หลักเกือบทั้งหมดได้แก่ใบพัด ชุดกำเนิดไฟฟ้าซึ่งดัดแปลงจากมอเตอร์ชำรุดและระบบเชิงกลเกือบทั้งหมดพัฒนาขึ้นในประเทศโดยทีมงานวิจัยและกรมอู่ทหารเรือ73

พลังงานขยะและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเทคโนโลยีการผลิตพลังงานจากขยะสามารถแบ่งออกเป็น 8 เทคโนโลยีดังนี้1) Incineration Technology เป็นเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นต่อชนิดขยะสูงทำให้ลดมวลและปริมาตรได้มากและเวลากำจัดสั้นผลิตพลังงานได้มากที่สุดและระบบใช้พื้นที่น้อยที่สุดโดยสามารถใช้งานร่วมกับ RDF แต่ใช้เงินลงทุนและO&M สูง ซึ่งขนาดเล็กสุดที่คุ้มค่าต่อการลงทุนและสามารถผลิตพลังงานได้เพียงพอคือ 250 ตันต่อวันอีกทั้งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง ประเทศไทยยังไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้เองและมีปัญหาเรื่อง PublicPerception ทำให้ต้องมีระบบบำบัดมลพิษที่มีประสิทธิภาพ และจำเป็นต้องใช้ผู้มีความรู้เฉพาะทาง2) Gasification Technology เป็นเทคโนโลยีสะอาด ลดมวลและปริมาตรได้ดี ใช้เวลากำจัดสั้น ผลิตพลังงานได้มากและระบบใช้พื้นที่น้อยโดยระบบขนาดเล็ก (น้อยกว่า 1 MW) สามารถพัฒนาได้เองในประเทศและใช้งานร่วมกับ RDF แต่ต้องมีการจัดการขยะเบื้องต้นก่อน เช่น การทำให้ขยะอยู่ในรูปของ Refuse derived fuel (RDF) แต่ใช้เงินลงทุนและ O&M สูง และยังขาดข้อมูลอ้างอิงในเชิงพาณิชย์ ระบบขนาดใหญ่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งประเทศไทยยังไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้เอง และค่าการลงทุนเทคโนโลยียังแพงอยู่3) Pyrolysis Technology เป็นเทคโนโลยีสะอาด ลดมวลและปริมาตรได้ดี ใช้เวลากำจัดสั้นผลิตพลังงานได้มากและระบบใช้พื้นที่น้อย โดยระบบขนาดเล็ก (น้อยกว่า 1 MW) สามารถพัฒนาได้เองในประเทศ สามารถใช้งานร่วมกับ RDF ได้ แต่ใช้เงินลงทุนและ O&M สูง และยังขาดข้อมูลอ้างอิงในเชิงพาณิชย์ระบบขนาดใหญ่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งประเทศไทยยังไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้เอง และค่าการลงทุนเทคโนโลยียังแพงอยู่4) Plasma Arc Technology สามารถรองรับขยะมูลฝอยหรือของเสียได้หลากหลายประเภทแม้ว่าของเสียแต่ละประเภทจะมีจุดหลอมเหลวที่ต่างกันเป็น ปริมาณก๊าซที่ปล่อยออกจากระบบมีปริมาณน้อยจึงมีค่าลงทุนระบบบำบัดมลพิษทางอากาศน้อย ลดปัญหาการเกิดไดออกซินได้ รวมทั้งเกิดกระบวนการสลายสารอินทรีย์โดยใช้ความร้อนอย่างสมบูรณ์ ในห้องปฏิกรณ์ที่สองด้วย แต่การใช้งานกับขยะมูลฝอยชุมชนยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก โดยยังอยู่ในขั้นของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งระบบขนาดใหญ่ยังมีไม่มากนักอีกทั้งระบบขนาดใหญ่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงและประเทศไทยยังไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้เอง74

การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานนำ้ำประเทศไทยได้มีการตกลงร่วมกันเพื่อแบ่งความรับผิดชอบในการพัฒนาแหล่งพลังงานน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก และเล็กมากในระหว่าง 3 หน่วยงานหลักคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดยยึดหลักว่าโครงการใดที่มีความคุ้มทุนในเชิงเศรษฐกิจ ให้การไฟฟ้าฯ หรือเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ ส่วน พพ. จะดำเนินการเฉพาะโครงการที่มีความเหมาะสมทางด้านสังคม แต่ไม่มีความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ และมีกำลังการผลิตไม่เกิน 6 MWe โดยมีที่ตั้งของโครงการอยู่นอกเขตวนอุทยานแห่งชาติและเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ปัจจุบันทั้ง 3 หน่วยงานได้กำหนดแผนหลักในการพัฒนาโครงการน้ำขนาดเล็ก และเล็กมากประกอบด้วยโครงการของ กฟผ. จำนวน 3 โครงการ มีกำลังผลิตรวม 28 MW กฟภ. จำนวน 4 โครงการมีกำลังผลิตรวม 27 MWโครงการของ พพ. จำนวน 98 โครงการมีกำลังผลิตรวม 350 MWeพพ. ได้พัฒนาโครงการพลังงานน้ำในระดับหมู่บ้านรวม 75 โครงการมีกำลังผลิตรวมประมาณ 2,500 kWeมีหลักเกณฑ์การดำเนินงานโดย พพ. เป็นผู้ก่อสร้างและเปิดโอกาสให้ชุมชนในพื้นที่มีส่วนเป็นเจ้าของในรูปแบบสหกรณ์ โดย พพ. เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง พร้อมจัดหาเงินลงทุน วัสดุ และเทคโนโลยีหลักส่วนชุมชนเป็นผู้ลงทุนด้านแรงงาน และวัสดุก่อสร้างประเภทที่มีในท้องถิ่น เช่น หิน ทราย คาดว่าหากมีการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำจากเขื่อนที่มีอยู่แล้วประมาณ 50 แห่งและของฝายชลประทานอีก 400 แห่งน่าจะให้กำลังการผลิตได้เกิน 190 MW พร้อมกันนี้ถ้ามีการเพิ่มประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำที่มีอยู่แล้วโดยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เครื่องกลไฟฟ้าให้ดีขึ้นภายในแผน 10 ปี คาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มอีกประมาณ 86 MWeปัจจุบันประเทศไทยมีความรู้ความสามารถในการสำรวจแหล่งน้ำอุทกศาสตร์การออกแบบงานโครงสร้างโยธา และก่อสร้างตัวเขื่อนทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ในระดับเกินกว่า 100 MWe ได้ทั้งหมด แต่มีศักยภาพในการออกแบบ สร้างและผลิตตัวกังหันน้ำ และระบบเครื่องกลไฟฟ้าต่ำ พพ. สามารถสร้างกังหันน้ำแบบRadial flow ที่มีขนาดเล็กว่า 6 MWe ได้โดยว่าจ้างผู้ประกอบการเอกชนในประเทศได้บางราย แต่ยังไม่สามารถออกแบบและผลิตกังหันน้ำแบบ Axial flow ล่าสุดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมได้ออกแบบพัฒนา และสร้างกังหันน้ำขนาดเล็กเพื่อติดตั้งท้ายเขื่อนโดยทำงานที่แรงดันระดับน้ำต่ำเพียง 2.5-3 เมตรได้ โดยมีกำลังผลิตที่ประมาณ 28 kWe และมีประสิทธิภาพร้อยละ 75 โดยอุปกรณ์หลักเกือบทั้งหมดได้แก่ใบพัด ชุดกำเนิดไฟฟ้าซึ่งดัดแปลงจากมอเตอร์ชำรุดและระบบเชิงกลเกือบทั้งหมดพัฒนาขึ้นในประเทศโดยทีมงานวิจัยและกรมอู่ทหารเรือ73

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!