ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

12.07.2015 Views

การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ของประเทศไทยประเทศไทยมีการใช้แผงรับความร้อนแสงอาทิตย์ทั้งชนิด Flat plate และ Evacuated tube อย่างแพร่หลาย เทคโนโลยีทั้งสองชนิดมีความคงทน ประสิทธิภาพและราคาที่ไม่ต่างกันมาก โดยมากเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ การผลิตในประเทศมีเฉพาะชนิด Flat plate ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาสารเคลือบแผ่นดูดกลืนความร้อนชนิด Super selective ทำให้มีประสิทธิภาพและอุณหภูมิสูงทัดเทียมกับแผง Evacuatedcollector แต่มีราคาสูงขึ้นเช่นกัน แผง Flat plate ชนิดไม่มีกระจกครอบ (Unglazed flat plate) มีราคาถูกติดตั้งง่าย แม้ทำอุณหภูมิไม่สูงมาก (~50 องศาเซลเซียส) แต่สามารถใช้ทำน้ำร้อนสำหรับ Pre-heat boilerได้ ซึ่งมีศักยภาพสูงสำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้อุณหภูมิต่ำแต่ใช้น้ำในประมาณมาก ในปัจจุบันเริ่มมีการนำเข้าจากต่างประเทศ และมีการติดตั้งใช้งาน แต่ยังไม่แพร่หลายในประเทศไทย การผลิตในประเทศ ทั้งโดย กฟผ. และผู้ผลิตรายย่อยอื่นๆ มีราคาถูกกว่าแผงจากต่างประเทศแต่ประสิทธิภาพยังด้อยกว่า นอกจากนั้น ผู้ผลิตไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยพัฒนา ทำให้แม้มีการผลิตมานานแต่ไม่มีการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันและในอนาคต 10-20 ปีข้างหน้า ในประเทศไทยได้มีการส่งเสริมระบบการผลิตน้ ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานกับความร้อนเหลือทิ้ง การใช้พลังงานไฟฟ้าในการผลิตน้ ำร้อนถือว่าเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมกับคุณค่าของพลังงานไฟฟ้าทางเลือกหนึ่งของการผลิตน้ำร้อน คือ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และความร้อนเหลือทิ้ง (waste-heat) เช่น ความร้อนทิ้งจากชุดระบายอากาศของเครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความเย็นหรือปล่องไอเสีย เป็นต้น สำหรับกิจการโรงแรม โรงพยาบาล อาคารธุรกิจหรือโรงงานบางแห่งนั้น สามารถใช้ระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานกับระบบผลิตน้ำร้อนจากความร้อนเหลือทิ้ง เพราะกิจการเหล่านี้ล้วนมีการใช้ระบบปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น เตาเผา หม้อไอน้ำ ที่มีความร้อนเหลือทิ้งอยู่มากการใช้พลังงานผสมผสานดังกล่าว สามารถลดความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงหรือพลังงานไฟฟ้า และสิ่งที่สำคัญคือเป็นการใช้พลังงานธรรมชาติและพลังงานเหลือทิ้งนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง สำหรับในประเทศไทยโดยทางกระทรวงพลังงานให้การสนับสนุนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ให้การสนับสนุนในการติดตั้งระบบระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานกับระบบผลิตน้ำร้อนจากความร้อนเหลือทิ้ง จนถึงปี พ.ศ. 2565โดยมีเป้าหมายการติดตั้งระบบผลิตน้ำร้อนประมาณ 300,000 ตารางเมตร63

พลังงานลม และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยมีหลายหน่วยงานเช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และหน่วยงานอื่นๆ ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับการนำกังหันลมมาใช้ผลิตไฟฟ้าโดยส่วนใหญ่เป็นงานศึกษาโดยอาศัยข้อมูลทุติยภูมิเพื่อคำนวณและประเมินโครงการโดยอาศัยหลักการทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ทดลองผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมที่แหลมพรหมเทพจังหวัดภูเก็ตจากกังหันลมยี่ห้อ Nordtank รุ่น NTK 150/25 ขนาด 150 kW ซึ่งจากงานศึกษาของมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมพบว่ามี Capacity Factor เท่ากับร้อยละ14 และมีค่าลงทุนประมาณ 82.3 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์ ต้นทุนอื่นๆ เช่น ค่าบำรุงรักษา เท่ากับ 1.67 บาทต่อหน่วย ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเท่ากับ 9.44บาทต่อหน่วย ซึ่งจัดว่าสูงเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิล ผลการศึกษาดังกล่าวคล้ายคลึงกับงานศึกษาความเป็นไปได้ในการนำพลังงานลมมาผลิตกระแสไฟฟ้า กรณีศึกษา โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม เกาะพงันจังหวัดสุราษฏร์ธานี [17] โดยทำการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินและทางเศรษฐศาสตร์ผลการศึกษาทางด้านการเงินพบว่า โครงการไฟฟ้าพลังงานลมจะให้ผลตอบแทนไม่คุ้มกันกับค่าใช้จ่ายของโครงการ คือ NPV ติดลบ และ B/C Ratio น้อยกว่า 164

การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ของประเทศไทยประเทศไทยมีการใช้แผงรับความร้อนแสงอาทิตย์ทั้งชนิด Flat plate และ Evacuated tube อย่างแพร่หลาย เทคโนโลยีทั้งสองชนิดมีความคงทน ประสิทธิภาพและราคาที่ไม่ต่างกันมาก โดยมากเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ การผลิตในประเทศมีเฉพาะชนิด Flat plate ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาสารเคลือบแผ่นดูดกลืนความร้อนชนิด Super selective ทำให้มีประสิทธิภาพและอุณหภูมิสูงทัดเทียมกับแผง Evacuatedcollector แต่มีราคาสูงขึ้นเช่นกัน แผง Flat plate ชนิดไม่มีกระจกครอบ (Unglazed flat plate) มีราคาถูกติดตั้งง่าย แม้ทำอุณหภูมิไม่สูงมาก (~50 องศาเซลเซียส) แต่สามารถใช้ทำน้ำร้อนสำหรับ Pre-heat boilerได้ ซึ่งมีศักยภาพสูงสำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้อุณหภูมิต่ำแต่ใช้น้ำในประมาณมาก ในปัจจุบันเริ่มมีการนำเข้าจากต่างประเทศ และมีการติดตั้งใช้งาน แต่ยังไม่แพร่หลายในประเทศไทย การผลิตในประเทศ ทั้งโดย กฟผ. และผู้ผลิตรายย่อยอื่นๆ มีราคาถูกกว่าแผงจากต่างประเทศแต่ประสิทธิภาพยังด้อยกว่า นอกจากนั้น ผู้ผลิตไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยพัฒนา ทำให้แม้มีการผลิตมานานแต่ไม่มีการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันและในอนาคต 10-20 ปีข้างหน้า ในประเทศไทยได้มีการส่งเสริมระบบการผลิตน้ ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานกับความร้อนเหลือทิ้ง การใช้พลังงานไฟฟ้าในการผลิตน้ ำร้อนถือว่าเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมกับคุณค่าของพลังงานไฟฟ้าทางเลือกหนึ่งของการผลิตน้ำร้อน คือ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และความร้อนเหลือทิ้ง (waste-heat) เช่น ความร้อนทิ้งจากชุดระบายอากาศของเครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความเย็นหรือปล่องไอเสีย เป็นต้น สำหรับกิจการโรงแรม โรงพยาบาล อาคารธุรกิจหรือโรงงานบางแห่งนั้น สามารถใช้ระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานกับระบบผลิตน้ำร้อนจากความร้อนเหลือทิ้ง เพราะกิจการเหล่านี้ล้วนมีการใช้ระบบปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น เตาเผา หม้อไอน้ำ ที่มีความร้อนเหลือทิ้งอยู่มากการใช้พลังงานผสมผสานดังกล่าว สามารถลดความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงหรือพลังงานไฟฟ้า และสิ่งที่สำคัญคือเป็นการใช้พลังงานธรรมชาติและพลังงานเหลือทิ้งนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง สำหรับในประเทศไทยโดยทางกระทรวงพลังงานให้การสนับสนุนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ให้การสนับสนุนในการติดตั้งระบบระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานกับระบบผลิตน้ำร้อนจากความร้อนเหลือทิ้ง จนถึงปี พ.ศ. 2565โดยมีเป้าหมายการติดตั้งระบบผลิตน้ำร้อนประมาณ 300,000 ตารางเมตร63

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!